Public Realm



เมือง Łódź : ปรับโรงงานร้าง สร้างการเรียนรู้

29/08/2020

เมื่อ “คน” คือโจทย์สำคัญของเมือง คุณอาจจะไม่ค่อยคุ้นชื่อกับเมือง Łódź (ออกเสียงว่า “วูช”) ประเทศโปแลนด์เท่าไหร่นัก อาจเพราะไม่ใช่เมืองหลวงของประเทศ แต่ด้วยแผนพัฒนาเมืองในปี 2020 ที่เริ่มวางแผนและดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2012 เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตคนเมือง ดึงดูดนักลงทุนและพัฒนาด้านเศรษฐกิจของเมือง ด้วยการทุ่มพละกำลังในการฟื้นฟูเมืองซึ่งมิได้มุ่งเน้นแต่การปรับโครงสร้างและส่วนประกอบของเมือง แต่ยังให้ความสำคัญกับการเริ่มจาก “พลเมือง” ที่จะเป็นทั้งฟันเฟือนในการขับเคลื่อนและผู้ที่จะใช้งานพื้นที่เมือง จึงทำให้เมืองนี้มีความน่าสนใจและอาจนำมาเป็นบทเรียนสำคัญให้กับเราได้เป็นอย่างดี เมือง Łódź เป็นเมืองอุตสาหกรรมสิ่งทอเก่าที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของประเทศโปแลนด์ มีประชากรประมาณ 700,000 คน ห่างจากเมือง Warsaw เมืองหลวงของโปแลนด์ประมาณ 119 กิโลเมตร มีสิ่งปลูกสร้าง และส่วนประกอบที่หลากหลาย อาทิ ที่พักอาศัยแบบตึกแถว พระราชวังกว่า 27 แห่ง พื้นที่สีเขียวทั้งในรูปแบบของสวนสาธารณะ สวนขนาดหย่อม พื้นที่ระหว่างอาคารที่ถูกปรับปรุงให้บรรยากาศโดยรอบของเมืองน่ามองยิ่งขึ้น และโรงงานเก่ากว่า 200 แห่งที่บางส่วนกลายมาเป็นไฮไลต์สำคัญของเรื่องราวในครั้งนี้ สังคมได้เรียนรู้ คือ ผลตอบแทนทางสังคมที่คุ้มค่าที่สุด จากงานวิจัยในหลายส่วนในเมืองนี้ชี้ให้เห็นว่า คนมีความเข้าใจในเมือง Łódź และองค์ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเมืองค่อนข้างน้อย ซึ่งส่งผลต่อเนื่องไปทั้งความรู้สึกรับผิดชอบต่อเมือง และการใช้งานเมืองในลักษณะต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้าไปใช้พื้นที่สาธารณะของเมือง ยกตัวอย่างว่า […]

มุมไบเปลี่ยนสัญญาณไฟคนข้ามถนน ก้าวแรกเพื่อเสริมพลังให้ผู้หญิงกล้าใช้ชีวิตสาธารณะของเมือง

11/08/2020

ทันทีที่รัฐบาลท้องถิ่นนครมุมไบติดตั้งสัญญาณไฟจราจรคนข้ามถนนรูปแบบใหม่บริเวณย่านศูนย์กลางเมือง ก็ทำให้เกิด ทอล์ก ออฟ เดอะ ทาวน์ ในทันที และส่งแรงกระเพื่อมเป็น เวิลด์ อเจนด้า จากความสนใจของสื่อระดับโลก ที่พุ่งเป้ามาที่นครมุมไบ มหานครด้านการเงินแห่งประเทศอินเดีย เมืองหลวงของรัฐมหาราฏระ เมืองซึ่งมีประชากรอาศัยอยู่จริงกว่า 20 ล้าน สูงสุดเป็นอันดับ 7 ของโลก   สัญลักษณ์รูปคนเพศชายบนไฟคนข้ามถนน ถูกเปลี่ยนเป็นรูปคนเพศหญิงสวมกระโปรง จำนวน 240 จุดทั่วเมือง ถือเป็นเมืองแรกของอินเดียที่ดำเนินโครงการนี้ แม้ฟังดูไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะหลายเมืองในยุโรปก็เคยดำเนินการมาก่อน หากประเด็นที่ทำให้โลกสนใจก็เพราะว่าความเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นในประเทศอินเดีย ประเทศที่ได้ชื่อว่าการใช้ชีวิตสาธารณะของผู้หญิงเสี่ยงอันตรายมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก นาย Aaditya Thackeray รัฐมนตรีกระทรวงการท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อมของรัฐมหาราฏระ ได้โพสต์ภาพสัญญาณไฟจราจรรูปแบบใหม่ในย่าน Dadar ผ่านทวิตเตอร์ พร้อมแคปชัน  “ถ้าคุณผ่าน Dadar คุณจะมองเห็นบางสิ่งที่จะทำให้คุณรู้สึกภาคภูมิใจ ซึ่งรัฐบาลท้องถิ่นนครมุมไบได้ดำเนินการเพื่อรับประกับความเท่าเทียมกันทางเพศ ผ่านไอเดียง่ายๆ อย่างการใช้สัญลักษณ์บนไฟจราจรที่เดี๋ยวนี้มีรูปผู้หญิง” ทวีตดังกล่าวก่อให้เกิดการแสดงความคิดเห็นตามมาจำนวนไม่น้อย  เช่น มีผู้แสดงความคิดเห็นว่า นี่คือก้าวเล็ก ๆ แต่เด็ดเดี่ยว ของการเริ่มต้นการยุติการแบ่งแยกทางเพศที่ฝังอยู่ในจิตสำนึกผู้คน ด้วยการออกแบบสภาพแวดล้อมของเมือง อีกความเห็นทวีตว่า นี่คือสัญลักษณ์ที่ยืนยันว่าผู้หญิงจะมีตัวตนและจะได้รับการยอมรับในภาวะปกติใหม่ ขณะที่ผู้นำพรรคการเมืองท้องถิ่นคนหนึ่งได้ทวีตว่า การเปลี่ยนสัญญาณไฟจราจรเป็นก้าวย่างสำคัญของการเสริมพลังสตรี ชาวเมืองและผู้ใช้สื่อสังคมล้วนชื่นชมการเปลี่ยนแปลงเชิงสัญลักษณ์นี้ ซึ่งจะมีส่วนปรับความเข้าใจของสาธารณะใหม่ ทั้งยังเป็นการท้าทายความปกติทางเพศเดิม […]

เมื่อ Apple Store ขยับจากร้านค้าเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ศูนย์กลางเมือง

03/08/2020

เปิดตัวไปแล้วสำหรับแอปเปิ้ลสโตร์ สาขาที่สองในเมืองไทยหน้าลานเซ็นทรัลเวิลด์ ต่อจากสาขาแรกที่ไอคอนสยามที่เปิดตัวในปี พ.ศ.2561 แต่สิ่งที่ทำให้สาวกใจเต้นเป็นพิเศษจนคิวเข้ารับชมเต็มในวันแรกๆ คือสาขานี้เป็นหน้าร้านที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ได้รับการออกแบบโดดเด่นด้วยไอเดีย “Tree Canopy” สรรสร้างพื้นที่ให้มีรูปแบบเหมือนแกนลำต้นของต้นไม้ขนาดใหญ่ และโลเกชั่นใหม่ใจกลางกรุงเทพ โดยแอปเปิ้ลเปิดเผยว่าสาขานี้จะเป็น “สี่แยกแห่งความคิดสร้างสรรค์และแรงบันดาลใจ” สอดคล้องกับแนวคิดของแอปเปิ้ลที่ต้องการสร้างทาวน์สแควร์ พื้นที่สาธารณะที่ช่วยแบ่งปันประสบการณ์ให้กับผู้คน “เดิมทีเหตุผลที่ร้านค้าของแอปเปิ้ลถูกสร้างขึ้นมาก็เพื่อเสริมสร้างการใช้ชีวิต” Angela Ahrendts “เดิมทีเหตุผลที่ร้านค้าของแอปเปิ้ลถูกสร้างขึ้นมาก็เพื่อเสริมสร้างการใช้ชีวิต” Angela Ahrendts รองประธานอาวุโสฝ่ายค้าปลีกของแอปเปิ้ลเปิดเผยแนวคิดเริ่มแรกของแอปเปิ้ลสโตร์ เธอได้เข้ามามีส่วนดูแลให้มีความเป็นพื้นที่สาธารณะให้คนได้มามีปฏิสัมพันธ์มากยิ่งขึ้น สร้างทาวน์สแควร์ในรูปแบบ Multi-use destinations ดึงคนจากหลากหลายความสนใจเข้ามาในพื้นที่ เป็นศูนย์รวมกิจกรรม ตั้งแต่ช้อปปิ้ง ไปจนถึงพักผ่อนหย่อนใจ โดยบอกเล่าเพิ่มเติมว่า แอปเปิ้ลจะตัดสินความสำเร็จของร้านค้าใหม่ในแบบที่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับยอดขาย แต่ขึ้นอยู่กับจำนวนคนที่เดินเข้ามาใช้บริการ และเวลาที่พวกเขาใช้ไปกับสถานที่นี้ แอปเปิ้ลสโตร์ สาขา Union Square ในซานฟรานซิสโกที่เปิดเมื่อปี พ.ศ.2559 ออกแบบโดยบริษัทสถาปนิกชื่อดัง Foster+Partners เป็นหนึ่งในตัวอย่างชั้นดี โดยเป็นสาขาแรกที่ออกแบบให้ตรงกับความเป็นทาวน์สแควร์ ตัวสถานที่ตั้งอยู่ตรงข้ามจัตุรัสสำคัญใจกลางเมือง ออกแบบให้กลมกลืนไปกับสภาพแวดล้อมของชุมชน โดยมีสนามสีเขียวด้านหลัง พร้อมฟรีไวไฟ ให้คนได้เข้ามาพักผ่อนหย่อนใจ ทำกิจกรรมร่วมกัน นอกจากนี้ยังมี Genius Grove พื้นที่รายล้อมด้วยต้นไม้ที่มีสินค้าของแอปเปิ้ลวางเรียงราย พร้อมผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาและความช่วยเหลือ […]

บางประทุน(นิยม) ในวันที่ชีวิตริมคลองต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลง

24/07/2020

ภาพ : พูลสวัสดิ์ สุตตะมา จากวันนั้นจนถึงวันนี้ เสียงคำรามของเครื่องยนต์ดังลั่นลอยมาให้ได้ยิน ไม่กี่อึดใจเรือหางยาวก็แล่นฝ่าน้ำเข้ามาเทียบท่า  เท้าเหยียบซีเมนต์ก่อนจะก้าวข้ามไปบนพื้นเรือ  “บางประทุนเปลี่ยนไปมาก” คำทักทายแรกที่ได้ยิน “ทางที่ดีใช่ไหมพี่” ผมเอ่ยถาม  …! รับรู้ความหมายได้จากรอยยิ้มอ่อนพร้อมอาการส่ายหน้าน้อยๆ ของเขา เรือแล่นไปข้างหน้า ผมเหลือบมองสายน้ำทั้งสองฝั่ง สีของน้ำที่เปลี่ยนไป ขยะเกลื่อนลอยปะปน ผิดกับเมื่อครั้งที่ผมเคยมาเยือนคลองนี้เพื่อสำรวจความอุดมสมบูรณ์ ระยะเวลาแค่ปีเดียวเหมือนจะไม่นานแต่นั่นมากพอจะทำให้บางประทุนเปลี่ยนไปมากตามคำเขาว่า เขาในวันนี้ไม่ต่างจากวันที่เจอกันครั้งแรก รูปร่างกำยำท้วมสูง ทะมัดทะแมง มองดูก็รู้ว่าเป็นลูกชาวสวนที่ใช้แรงเป็นกิจวัตรประจำวัน เขาที่ว่าผู้ใหญ่ในชุมชนเรียก ไอ้ ส่วนเด็กๆ เรียก ครู เป็นคนในชุมชนบางประทุนที่คอยเป็นกระบอกเสียงของคนริมคลอง บอกเล่าความสำคัญของชีวิตริมสายน้ำ เก็บรักษาวิถีชีวิตดั้งเดิม ปลูกฝังรากฐานให้เยาวชนรุ่นใหม่ได้ตระหนักถึงวิถีชีวิต พยายามรักษาบางประทุนให้คงอยู่พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เข้ามาของความศิวิไลซ์ เคลื่อนเรือไปไม่ถึงนาที เสียงเครื่องยนต์สงบลง จอดเทียบท่าให้ก้าวขึ้นฝั่งอีกครั้ง เขาเปิดประตูนำเข้าไปในบ้านไม้สองชั้นอายุมาก ที่ก่อนหน้านี้เคยตั้งใจจะทำเป็นพิพิธภัณฑ์สำหรับเก็บวัตถุมีคุณทางจิตใจของชาวชุมชน จำพวกภาพถ่ายในครั้งอดีต อุปกรณ์ข้าวของเครื่องใช้ ตลอดจนสิ่งต่างๆ ทั้งหลายที่สะสมไว้เป็นเครื่องเตือนความทรงจำ เมื่อวันใดวันหนึ่งที่ความเจริญจะเข้ามาสร้างการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่มากกว่าที่เคยเป็น แต่ความตั้งใจนั้นต้องถูกพับเก็บ เเพราะที่ดินแปลงนี้มีเจ้าของโฉนดเป็นคนนอกชุมชน เมื่อไหร่เจ้าของที่ดินเรียกคืน พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ก็จะสูญเปล่า บ้านหลังนี้ไร้สมบัติประเภท เงิน ทอง แต่มรดกอย่างหนึ่งซึ่งตกทอดมาจนถึงปัจจุบันคือ พื้นที่สวน ว่ากันว่านี่คือ สวนซึ่งดูจะสมบูรณ์มากที่สุดในย่านบางประทุน แต่อย่างที่บอกไป สวนแห่งนี้เจ้าของโฉนดไม่ใช่คนในชุมชนบางประทุนอีกแล้ว  “สวัสดีลุง” ผู้นำทางเอ่ยทักทายเจ้าของสวนที่กำลังขะมักเขม้นอยู่กับการพรวนดิน  […]

Globalization of suffering โลกาภิวัตน์ของความทุกข์ทรมาน โรคระบาด และการปลดเปลื้องมายาคติแห่งความตาย

16/07/2020

เรื่อง: ผศ.ดร.ภาวิกา ศรีรัตนบัลล์ เป็นเวลานับเดือนที่เรื่องราวและเรื่องเล่าว่าด้วยการตาย ความตาย และการจัดการร่างผู้วายชนม์จากโรคระบาด COVID-19 ทั่วโลก ถูกถ่ายทอดออกมาในรูปแบบข่าวโทรทัศน์ ข่าวหนังสือพิมพ์ และอีกมากมายในสื่อกระแสหลักแนวใหม่อย่างโซเชียลมีเดีย  เรายังได้ทำความรู้จักโฉมหน้าที่เราไม่ค่อยได้จินตนาการถึงเกี่ยวกับความตาย และการจัดการกับร่างผู้วายชนม์ผ่านภาพนิ่งหรือวีดิโอคลิป ที่มีพลังสื่อสารได้ชัดและแรงพอทำให้เราทุกคนปลดปล่อยพลังแห่งความเป็นมนุษย์ในตัวเอง ด้วยการเป็นส่วนหนึ่งของคนมากมายในโลกนี่ ผู้กำลังสะเทือนใจจากการได้รับรู้ถึงการตายอย่างโดดเดี่ยว และไม่ทันตั้งเนื้อตั้งตัว นอกจากการตายที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาล หรือแม้แต่ในบ้านท่ามกลางผู้คนมากมาย เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นยังทำให้เราได้เห็นศพจำนวนมากถูกลำเลียงออกจากโรงพยาบาลไปพักในตู้เก็บศพเฉพาะกิจที่จอดเรียงรายบนถนนสาธารณะ ศพจำนวนมากถูกนำมาวางซ้อนๆ กันอย่างรีบร้อนและผิดที่ผิดทางอย่างไม่มีทางเลือก เพราะพื้นที่สำหรับความตาย – ห้องเก็บศพในโรงพยาบาล สุสาน วัด และที่เผาศพ มีไม่เพียงพอที่จะจัดการกับความตายได้อย่างทันท่วงที และในวิถีที่อ่อนโยนกว่าที่เป็น     คงไม่เกินจริงนักหากจะกล่าวว่า โรคระบาดอย่าง COVID-19 มีพลังในการเปลี่ยนโลก ตีแผ่สัจธรรมแห่งชีวิตและสรรพสิ่ง ตลอดจนความสัมพันธ์ที่ผุพังระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติออกมาอย่างคมชัด  นักคิด นักวิชาการชั้นนำของโลกต่างออกมาชี้ชัดว่า COVID-19 ได้ทำลายโลกาภิวัตน์ในฐานะระเบียบโลกลงแล้ว โลกจะแคบลง ยากจนขึ้น ชีวิตจะดำรงอยู่อย่างยากลำบาก ทุกคนต้องปรับตัวเข้ากับวิถีใหม่ หรือ New normal (บ้างเรียกความปกติใหม่ ความปกติที่เคยไม่ปกติ และนววิถี เป็นต้น)  ให้ได้เร็วที่สุด แม้จะมีทุนมนุษย์และทุนทางสังคมที่แตกต่างกันลิบลับก็ตาม แน่นอนว่าสิ่งแวดล้อมและขนบใหม่เช่นนี้ย่อมต้องส่งผลโดยตรงต่อชีวิตเราทุกคน นับตั้งแต่การอยู่อาศัย การดำรงชีวิต […]

กว่าจะถึงห้องพักในชั้นที่ 73

04/06/2020

73 จำนวนชั้นของคอนโดมิเนียมที่สูงที่สุดจากย่านที่ถือได้ว่าดีที่สุดของกรุงเทพมหานครด้านหนึ่งของห้องหันหน้าเข้าสู่ผืนน้ำที่สะท้อนแดดระยับตาในเวลากลางวัน และอีกด้านในมุมที่สูงกว่าใครนั้นก็เผยให้เห็นถึงความงดงามจากทิวทัศน์ของเมืองที่ไม่เคยหลับใหล เมืองที่ความเจริญกำลังแผ่ขยายออกไปอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย โดยคุณสามารถเป็นเจ้าของห้องพักที่กว้างขวาง สวยงาม และสะดวกสบายที่ว่านี้ ได้ในราคา 336,000 บาทต่อ ‘ตารางเมตร’ มากกว่าค่าแรงโดยเฉลี่ย ‘ต่อปีต่อครัวเรือน’ ของคนไทยแค่ราว 12,000 บาทเท่านั้น (อ้างอิงข้อมูลโดยเฉลี่ยจากสถิติแห่งชาติในปี 2560) แล้วห้องพักแต่ละชั้นในตึกอื่นๆ เป็นอย่างไรบ้าง? ‘พญาไท-ราชเทวี’ พื้นที่ชุมชนที่คราคร่ำไปด้วยผู้คนและแหล่งพักอาศัย หากมองจากสถานีรถไฟฟ้าคุณก็จะเห็นคอนโดมิเนียมจำนวนมากที่เบียดแน่นอยู่ทั่วบริเวณ แต่หากคุณลองเดินเข้าซอยลึกลงไปอีกหน่อย คุณจะพบว่าที่จริงแล้วคอนโดมิเนียมเหล่านั้นต่างหากที่กำลังแทรกตัวอยู่ระหว่าง ‘ห้องเช่า’ จำนวนมาก ใต้ร่มเงาของคอนโดมิเนียมสูงใหญ่ เราจะพบกับอาคารพาณิชย์หลายคูหาที่ซ้อนตัวติดกันเป็นล็อกๆ ระเบียงของแต่ละชั้นแน่นขนัดไปด้วยเสื้อผ้าที่ถูกซักและตากรายวัน หน้าห้องพักและเสาไฟฟ้าแต่ละต้นมักถูกจับจองด้วยป้าย ‘ว่างให้เช่า’ จากห้องพักบริเวณใกล้เคียงทั้งที่เขียนด้วยภาษาไทยและภาษาอื่นๆ โดยเฉพาะภาษาพม่าและกัมพูชา หลายปีมาแล้วที่ธุรกิจอย่างห้องเช่าในเมืองเกิดขึ้นและยังคงเป็นที่ต้องการอยู่เรื่อยมา โดยผู้ที่เข้าพักอาศัยมีตั้งแต่นักศึกษา ลูกจ้างชั่วคราว ไปจนถึงเหล่าพนักงานออฟฟิศ บันไดชันที่กว้างราวสามกระเบื้องเล็กๆ พาเราขึ้นสู่อาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งที่ถูกดัดแปลงและเปิดเป็นห้องพักให้เช่าในราคาเพียง 3,200 บาทต่อเดือนเท่านั้น อาคารแห่งนี้มีทั้งหมด 5 ชั้น ชั้นล่างสุดเปิดเป็นร้านขายของชำ ส่วนอีก 4 ชั้นที่เหลือจะถูกแบ่งออกเป็นห้องพักขนาดย่อมราว 8-12 ตารางเมตรพร้อมห้องน้ำในตัว โดยในแต่ละชั้นจะประกอบไปด้วยห้องพัก 3 – 4 […]

สร้าง ‘เมือง’ เพื่อสร้าง ‘หนัง’ … ศิลปะสุดทะเยอทะยานหรืออีกหนึ่งเผด็จการในโซเวียตรัสเซีย?

22/05/2020

บ่อยครั้งที่ ‘เมือง’ (Urban) หรือแม้แต่ ‘ความเป็นเมือง’ (Urbanization) มักถูกนำเสนอผ่านสื่อภาพยนตร์ในฐานะของ ‘ฉากหลัง’ ที่ช่วยส่งเสริมเรื่องเล่าให้ออกมาเปี่ยมเสน่ห์จนสามารถดึงดูดความสนใจจากผู้ชมได้ ทว่าไม่บ่อยนักที่พวกมันจะถูกก่อร่างสร้างสรรค์ขึ้นมาโดยเฉพาะในฐานะของอีกหนึ่ง ‘ตัวละคร’ ที่มีความสำคัญต่อการเล่าเรื่องไม่แพ้บรรดาตัวละครมนุษย์ กรณีศึกษาที่โดดเด่นที่สุดแห่งยุคสมัยคงหนีไม่พ้น DAU โปรเจ็กต์หนังศิลปะสุดทะเยอทะยานที่ผู้กำกับชาวรัสเซียอย่าง อีล์ยา คาร์ซานอฟสกี (Ilya Khrzhanovsky) ลงทุนปลูกสร้างฉาก ‘สถาบัน’ (The Institute) อันเป็นภาพแทนของสังคมเผด็จการสหภาพโซเวียตระหว่างยุค 30-60 บนโลเคชั่นถ่ายทำขนาดใหญ่ในยูเครน รวมถึงใช้เวลาปลุกปั้นผลงานภายใต้กฎกองถ่ายอันแสนเข้มงวดเป็นเวลานานกว่าหนึ่งทศวรรษ! ที่สำคัญ, ตัวหนังและวิธีการ ‘สร้างเมือง’ ของคนทำหนังอย่างคาร์ซานอฟสกียังนำเราไปสู่ประเด็นถกเถียงทางสังคมอันเผ็ดร้อน ทั้งการตั้งคำถามถึงจริยธรรมการทำงาน และการส่องสังเกตพฤติกรรมเผด็จการของมนุษย์ ด้วยเหตุนี้ สถาบันวิจัยลับอันน่าเกรงขามที่มีขนาดเทียบเท่าเมืองจริงๆ รวมถึงความเป็นเมืองที่ค่อยๆ ก่อตัวขึ้นในกองถ่าย DAU จึงก้าวไปไกลกว่าการเป็น ‘แค่ฉากหลัง’ ดาษดื่นในหนังทั่วไป และกลายเป็นปรากฏการณ์ที่น่าศึกษาต่อยอดในหลากหลายมิติอย่างไม่ต้องสงสัย  1 ในแวดวงนักดูหนัง คาร์ซานอฟสกีคือคนทำหนังที่ถูกพะยี่ห้อด้วยคำว่า ‘เฮี้ยน’ มาตั้งแต่ผลงานเรื่องแรกอย่าง 4 เมื่อปี 2004 สืบเนื่องจากพล็อตที่เต็มไปด้วยความสับสนอลหม่านอันเกี่ยวพันกับหนุ่มสาวสี่คนในบาร์เหล้า แผนการโคลนนิ่งมนุษย์ และรัฐบาลอันไม่น่าไว้วางใจของ วลาดิเมียร์ ปูติน […]

Back to School and Say Hello to New Learning Ecosystem เมืองไทยพร้อมหรือยังกับระบบการศึกษาที่จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป

06/05/2020

#เลื่อนเปิดเทอม กลายเป็นแฮชแท็กที่ชาวทวิตเตอร์พูดถึงมากที่สุด จนขึ้นเทรนด์อันดับ 1 ในประเทศไทย หลังมีกระแสข่าวว่า ส.ส.อุบลราชธานี เสนอเลื่อนวันเปิดเทอมภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 ออกไปเป็นวันที่ 1 สิงหาคม 2563 หรือเลื่อนออกไปจากประกาศเดิมของกระทรวงศึกษาธิการประกาศในวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ และขยายเวลาให้ทั้งโรงเรียน ผู้ปกครอง และผู้เรียน ได้มีเวลาเตรียมตัวกับการเรียนการสอนรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งที่จะแตกต่างออกไปจากเดิม  แม้สุดท้ายแล้ว กระทรวงศึกษาธิการจะยังคงประกาศเปิดเรียนในวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 หรือช้ากว่ากำหนดเดิม 45 วัน แต่กระแส #เลื่อนเปิดเทอม ก็สะท้อนให้เห็นปรากฏการณ์ทางสังคม ที่ให้ความสำคัญในประเด็นการศึกษาที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ไม่แพ้ประเด็นด้านการแพทย์-สาธารณสุข การจับจ่ายใช้สอย และการจัดการเมืองแม้แต่น้อย เหตุการณ์ดังกล่าวก็บอกเราว่า เด็ก-เยาวชนเอง ก็เป็นผู้ส่งเสียงสะท้อนได้ดังก้องไม่แพ้กลุ่มผู้มีปากมีเสียงกลุ่มใดๆ ในสังคมเลย  ชะตากรรมร่วมของผู้เรียนทั่วโลก นอกจากจะเป็นปิดเทอมที่ยาวนาน (และเหงา) ที่สุดของนักเรียนไทย สถานการณ์ที่ผู้เรียนในทุกระดับชั้นกำลังเผชิญในขณะนี้ ยังถือเป็นสถานการณ์ร่วมกันของนักเรียนทั่วโลก เพราะขณะนี้รัฐบาลในหลายประเทศต่างใช้มาตรการปิดสถานศึกษา เพื่อป้องกันการระบาดของโรคโควิด-19 โดยพร้อมเพรียงกัน ถือเป็นการยุติการเรียนการสอนชั่วคราวพร้อมกันทั่วโลกครั้งแรก นับแต่เหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2 […]

จากวันแรงงานถึงหาบเร่แผงลอย – เหรียญสองด้านที่มีทั้งปัญหาและโอกาส

01/05/2020

May Day & May Day  1 พฤษภาคมของทุกปี วันแรงงานแห่งชาติถูกตั้งขึ้นเพื่อระลึกถึงความสำคัญของแรงงานในการขับเคลื่อนประเทศในมิติต่างๆ รวมถึงยกย่องความกล้าหาญของกลุ่มแรงงานในการลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อสิทธิของตนเอง แต่ในประเทศไทยเองยังมีแรงงานอีกกว่า 54.3% ของผู้มีงานทำทั้งหมดที่เป็นแรงงานนอกระบบ (สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2562) ที่ยังไม่ได้รับสิทธิเท่าเทียมกับแรงงานในระบบ โดยมีแรงงานนอกระบบ 5 กลุ่มใหญ่ คือ 1. กลุ่มคนทำงานที่บ้าน (home-based worker)2. กลุ่มคนทำงานบ้าน (domestic worker)3. กลุ่มวินมอเตอร์ไซค์4. กลุ่มหาบเร่แผงลอย5. กลุ่มผู้ค้าขาย คิดเป็นประชากรรวมกว่า 5 ล้านคนทั่วประเทศ  (WIEGO, 2562) กลุ่มแรงงานเหล่านี้ถือเป็นผู้มีบทบาทในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ  สถานการณ์การปิดเมืองเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อคนทุกกลุ่ม ปฏิเสธไม่ได้ว่ากลุ่มแรงงานนอกระบบเป็นอีกกลุ่มคนเปราะบางที่ได้รับผลกระทบสูงเช่นกัน สัญญาณขอความช่วยเหลือถึงปัญหาปากท้องถูกนำเสนอตามสื่อทุกวัน เช่นเดียวกับมาตรการการรับมือที่ไม่ชัดเจน วันนี้เราจึงขอพูดถึงกลุ่มหาบแร่แผงลอย ที่เป็นกลุ่มแรงงานนอกระบบกลุ่มใหญ่ของเมืองที่เป็นทั้งปัญหาและทางออก ภายใต้วิกฤตการณ์โควิด-19 หากมีการจัดการอย่างเหมาะสม แผงลอยจะไม่ใช่ปัญหาในตัวเอง หากมีการจัดการที่เหมาะสม  ปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนแผงลอยมากถึง 805,083 แผง (WIEGO, 2562) ที่เป็นเหมือนเหรียญสองด้าน กล่าวคือ สำหรับบางคนแผงลอยอาหารคือเสน่ห์และเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมการกินของคนไทยมาอย่างยาวนาน นอกจากนี้แผงลอยยังเป็นแหล่งจับจ่ายอาหารราคาถูกของเมือง […]

FOOD PLACE : Please mind the gap between you and me ร้านอาหาร : พื้นที่ระหว่างเรา ที่อาจจะเปลี่ยนไป

29/04/2020

ย้อนกลับไปเมื่อช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ใครจะจินตนาการออกว่า ภาพร้านอาหารที่แน่นขนัดไปด้วยผู้คน ต่อคิว เบียดเสียดเพื่อรับประทานอาหารร้านยอดนิยมนั้น อาจจะเปลี่ยนแปลงไปตลอดกาล การศึกษาและวิจัยมากมายได้ถูกหยิบยกขึ้นมาเพื่อหาคำตอบและเสนอแนวทางปรับตัวต่อสถานการณ์โควิด-19 สิ่งหนึ่งที่แน่ชัด คือ กลยุทธ์ทางสาธารณสุขที่นำมาใช้เพื่อลดและป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคจากมนุษย์สู่มนุษย์ทั้งผลการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดล และสถาบันทั่วโลกที่ได้กำหนดมาตรการเพื่อควบคุมสถานการณ์ชี้เป้าไปที่ ความหนาแน่น (Density) และ การเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล (Social Distancing) ร้านอาหาร หนึ่งในธุรกิจฝากท้องของชาวเมือง ขณะเดียวกันก็เป็นหนึ่งในพื้นที่เสี่ยงต่อการแพร่กระจายและติดเชื้อโรค ทั้งจากสภาพความหนาแน่น ระยะระหว่างบุคคล (Proximity)  ผนวกกับพฤติกรรมการรับประทานอาหารและปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างรับประทานอาหารที่ล้วนเพิ่มโอกาสในการสัมผัส (Contact) ติดต่อกันทั้งทางตรงและทางอ้อม ด้วยประเด็นดังกล่าว ทำให้การดำเนินการธุรกิจด้านร้านอาหารถูกจับตามองไม่ใช่น้อย ร้านอาหารจะสามารถกลับมาเปิดให้บริการตามปกติได้ไหม มาตรการอะไรที่ร้านอาหารควรปรับใช้ในช่วงสถานการณ์โควิด ไปจนถึงอะไรคือมาตรฐานใหม่ที่จะสร้างสุขอนามัยให้กับร้านอาหารในระยะยาว วันนี้เราจึงขอเสนอแนวคิดในการปรับตัวของเหล่าร้านอาหารในช่วงสถานการณ์ ซึ่งสะท้อนออกมาเป็นข้อคำนึงใหม่ที่ควรนำมาปรับใช้ในการออกแบบร้านอาหารในอนาคต การกำหนดความหนาแน่นของร้านอาหาร  ร้านอาหาร แหล่งรวมความหนาแน่น และกระจุกตัวของผู้คนโดยเฉพาะในช่วงเวลารอบมื้ออาหาร ด้วยต้นทุนทางการดำเนินธุรกิจ ร้านอาหารต่างมีการออกแบบเพื่อให้มีความจุ (Capacity) ในการรองรับการเข้ารับประทานอาหารในแต่ละรอบได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด เพื่อตอบโจทย์ด้านผลตอบแทนในการลงทุน จึงไม่แปลกที่ร้านอาหารจะมีความเบียดเสียด และแออัด แต่เมื่อเกิดสถานการณ์ดังกล่าว แนวคิดการออกแบบร้านอาหารในอนาคตอาจจะต้องถูกนำมาประเมินอีกครั้ง ร่วมกับการคำนวนความจุที่เหมาะสมต่อการรองรับลูกค้า ไปถึงค่ามาตรฐาน ตารางเมตรต่อคน ที่เคยอ้างอิงตามตำราเล่มเก่า อาจจะถูกนำกลับมาพิจารณาอีกครั้ง  นอกจากความหนาแน่นที่เกิดขึ้นภายในร้านแล้ว จุดที่สร้างให้เกิดการกระจุกตัวอีกแห่ง […]

1 9 10 11 12 13 15