Public Realm



Bologna: เมืองเรียนรู้เดินได้ มหาวิทยาลัยมีชีวิต

05/11/2020

ถนนอิฐที่ทอดเป็นแนวยาว อาคารบ้านช่องสีอิฐ พร้อมประตูไม้บานใหญ่ที่เห็นอยู่ตลอดทาง ผสมผสานกับลวดลายกราฟฟิตี และเสียงหัวเราะของเหล่านักเรียนนักศึกษา เป็นภาพที่ชินตาของ Bologna เมืองทางตอนเหนือของประเทศอิตาลี ที่อยู่กึ่งกลางระหว่างนครแห่งศิลปะฟลอเรนซ์ และเมืองแห่งแฟชั่นอย่างมิลาน Bologna เป็นเมืองขนาดย่อมๆ ที่ผสมผสานทั้งประวัติศาสตร์ยาวนานและความทันสมัย ประชากรในตัวเมืองจำนวนเกือบ 4 แสนคน และกว่า 1 ล้านคนทั่วทั้งจังหวัด ประกอบด้วยชาวต่างชาติและนักศึกษาจำนวนมาก ทำให้ Bologna กลายเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยวัฒนธรรมและความหลากหลาย ชื่อของเมือง Bologna อาจคุ้นหูใครหลายๆคน เพราะเป็นชื่อเดียวกับมหาวิทยาลัย Bologna หรือ Alma Mater Studiorum หนึ่งในมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดชองโลก ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปีค.ศ. 1088 แต่มหาวิทยาลัยแห่งนี้ไม่เหมือนกับที่เราคุ้นชินกัน เพราะตึกเรียนของสาขาวิชาต่างๆ กระจัดการจายไปทั่วทั้งเมือง เรียกได้ว่าทั้งเมืองคือมหาวิทยาลัย ไม่ว่าเดินไปที่ไหนก็จะเจอนักเรียนเข้าออกชั้นเรียนอยู่ทุกซอกมุมเมือง และด้วยความที่ไม่มีรั้วรอบกำหนดพื้นที่ของมหาวิทยาลัย ทำให้การเข้าเรียนในแต่ละวันของนักศึกษา คือการเดินไปยังห้องเรียนทั่วเมืองตามแต่วิชาที่ตัวเองเลือก และสิ่งที่ช่วยอำนวยความสะดวกแก่นักศึกษาให้สามารถเข้าเรียนได้ทุกคาบในทุกสภาวะอากาศไม่ว่าจะฝนตกหรือแดดออก ก็คือทางเดินมีหลังคาที่เรียกว่า Portici ที่เชื่อมต่อทุกอาคารบนถนนสายหลักในเมืองที่เริ่มจากใจกลางเมืองคือบริเวณจตุรัสกลางเมือง Piazza Maggiore และหอเอนคู่สัญลักษณ์ของเมือง กระจายออกไปสู่ประตูเมืองทั้ง 12 ประตู ที่ทำหน้าที่เป็นกำแพงล้อมเมืองและทางเข้าออกดั้งเดิม ทางเดินเหล่านี้เมื่อรวมทั้งในกำแพงเมืองและบางส่วนที่อยู่นอกเมือง […]

แนวโน้มในการเรียนรู้ในรั้วมหาวิทยาลัย

04/11/2020

ในอดีตการศึกษาเป็นการยกระดับชีวิต เลื่อนสถานะทางสังคม ใบปริญญาหลังจบการศึกษาจึงล้ำค่าเพราะแปลว่าโอกาสที่จะก้าวเท้าสู่การทำงานสว่างไสวในพริบตา แต่ปัจจุบันด้วยจำนวนบัณฑิตที่จบการศึกษามากขึ้น และการจบการศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัยไม่ได้การันตีการมีงานทำอีกต่อไป แถมกรอบการเรียนรู้แบบเดิมก็มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์จนหลายคนไม่ได้ค้นหาความถนัดของตนเอง เมื่อวันเวลาผ่านไป เทคโนโลยีพัฒนามากขึ้น คุณค่าการศึกษาและการเรียนรู้จึงมีการขยับปรับเปลี่ยน ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980 เป็นต้นมา ทิศทางการเรียนรู้ได้เปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ด้วยอิทธิพลของโลกาภิวัตน์ที่ทวีความเข้มข้นขึ้นจากการปฏิวัติเทคโนโลยีและการสื่อสาร โลกได้เคลื่อนออกจาก “ยุคอุตสาหกรรม” เป็น “ยุคหลังอุตสาหกรรม” ที่เศรษฐกิจสังคมตั้งอยู่บน “ฐานของความรู้” ข้อมูลข่าวสาร ความรู้และนวัตกรรมเป็นตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ซึ่งหมายถึงความต้องการทักษะของทรัพยากรมนุษย์อันพึงประสงค์ที่แตกต่างไปจากเดิม จากการศึกษาเนื้อหาเรื่องการศึกษาและการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สามารถอธิบายสัญญาณการเปลี่ยนแปลงที่มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นในองค์กรมหาวิทยาลัย ซึ่งถือเป็นสถาบันหลักระดับอุดมศึกษา โดยแบ่งออกเป็น 3 ด้าน คือ ด้านสาระการเรียนรู้ (substance) ด้านวิธีการและเครื่องมือ (methods and tools) และด้านองค์กร (organization) หมายเหตุ เนื้อหาเรียบเรียงจากโครงการจัดทำผังแม่บทฯ ศตวรรษที่ 2 : เขตการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 1. หมวดสาระการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ในอนาคตจะเปลี่ยนแปลงไปจากปัจจุบันใน 5 ทิศทาง ได้แก่ 1.1 การเรียนรู้ตลอดชีวิตและการเรียนรู้เชิงกว้างในอนาคต ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย และประสบปัญหาเด็กเกิดน้อยลง […]

เมืองแห่งการเรียนรู้คืออะไร เมื่อการเรียนรู้ > การศึกษา

03/11/2020

เรียบเรียงจากการบรรยายวิชาการ โดย ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2563 ณ อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และข้อเสนอโครงการศึกษาบทบาท ศักยภาพ และพัฒนาดัชนีชี้วัดการขับเคลื่อนเมืองการเรียนรู้แห่งอนาคต (The Future of Learning City) โดย ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล / อดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ / ธนพร โอวาทวรวรัญญู  กิจกรรม การเรียนรู้ > การศึกษา โดย ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ถือเป็นจุดเริ่มต้นของโครงการ “เมืองการเรียนรู้แห่งอนาคต” (The Future of Learning City) ที่เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงการเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นผู้สนับสนุนการเรียนรู้/พื้นที่เรียนรู้ (Learning Provider) กับผู้เรียนรู้ได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนนิยามและกำหนดความหมายของคำว่า “เมืองแห่งการเรียนรู้” (Learning City) ผ่านกระบวนการสนทนากลุ่ม […]

บ้านสูง เมืองต่ำ : ถอดความหนังเอเชียรางวัลออสการ์ ผ่านงานสร้าง ‘ขั้นบันได’ แบบ ‘ชนชั้นปรสิต’

06/10/2020

เชื่อว่าคุณผู้อ่านหลายคนคงรู้จัก หรือได้ยินชื่อภาพยนตร์ หนังแนวธริลเลอร์/ตลกร้ายสัญชาติเกาหลีใต้อย่าง Parasite (หรือ ‘ชนชั้นปรสิต’ ในบ้านเรา) ของผู้กำกับ บงจุนโฮ (Bong Joon-ho) ซึ่งสร้างประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญด้วยการคว้ารางวัลใหญ่สุดในสาขา ‘ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม’ ในงานประกาศผลรางวัลออสการ์ (Oscars หรือที่เรียกอย่างเป็นทางการว่า Academy Awards) ครั้งที่ 92 เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา มาครอง นับเป็นหนังจากเอเชียเรื่องแรกที่สามารถทำได้บนเวทีรางวัลชั้นนำด้านภาพยนตร์ของสหรัฐอเมริกา โดยถือเป็นการตอกย้ำปรากฏการณ์ความนิยมข้ามทวีปของตัวหนังอย่างสวยสดงดงาม หลังชนะรางวัล ‘ปาล์มทอง’ (Palme d’Or) อันทรงเกียรติจากเทศกาลหนังเมืองคานส์มาเมื่อกลางปี 2019 และจนถึงตอนนี้ Parasite ก็กวาดเงินจากการออกฉายทั่วโลกไปมากกว่า 266 ล้านเหรียญสหรัฐฯ! ความยอดเยี่ยมของหนังทำให้การดูซ้ำ หรือดูช้ากว่ากระแส ไม่ได้เป็นปัญหาเลย แถมยังได้เห็นอะไรใหม่ๆ เสียด้วยซ้ำ   นอกจากความสำเร็จครั้งมโหฬารของหนังร่วมทวีปเรื่องนี้จะเกิดจากฝีไม้ลายมือของทั้งผู้กำกับที่เล่าเรื่อง ‘ครอบครัวคนจนที่แฝงตัวมารับใช้ครอบครัวคนรวยเพื่อหวังปอกลอก’ ได้อย่างแยบคาย และทีมนักแสดงหลากรุ่นที่ถ่ายทอดตัวละครทุกตัวได้อย่างเปี่ยมมิติแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ช่วยเสริมแรงให้ตัวหนังออกมาทรงพลังจนสามารถจับใจผู้ชมได้ในวงกว้างขนาดนี้ ก็คือ ‘งานสร้าง’ สุดปราณีตบรรจง โดยเฉพาะการสร้างสรรค์ ‘บ้าน’ สำหรับตัวละครต่างครอบครัว และการออกแบบ ‘เมือง’ แวดล้อม ที่ดูจะสอดรับกับ ‘ความหมาย’ ของเรื่องเล่าใน Parasite จนแนบสนิทเป็นเนื้อเดียวกัน […]

ออกแบบคอนโด เทรนด์ที่อยู่อาศัยใหม่ของผู้สูงอายุในอนาคตอย่างไรให้ปัง

14/09/2020

เด็กในวันนี้เป็นผู้ใหญ่ในวันหน้า คนเกินวัยรุ่นก็ย่อมกลายเป็นคนวัยเก๋าเข้าสักวัน ทั้งปัจจัยเรื่องความเปลี่ยนแปลงของครอบครัวที่มีครอบครัวเดี่ยวเพิ่มขึ้น การเป็นคนโสดของคนเมือง และคู่รัก LGBTQ+ นอกจากนี้ราคาที่ดินยังพุ่งสูงขึ้น รวมถึงความต้องการเข้าถึงแหล่งงานและสิ่งอำนวยความสะดวก ทำให้หลายคนตัดสินใจอาศัยอยู่ในคอนโดจนถึงวัยทำงานตอนปลาย และก้าวเข้าสู่วัยชรา แม้ว่าหลายคนจะติดภาพวัยเกษียณใช้เวลาในบ้าน แต่การอาศัยในแนวตั้งก็มีผลดีไม่น้อยสำหรับผู้สูงอายุ ไล่เรียงมาตั้งแต่ความสะดวกในการทำความสะอาด ไม่จำเป็นต้องทำงานบ้านนอกจากห้องของตัวเอง, ลดโอกาสการเกิดอาการบาดเจ็บ เนื่องจากห้องนอนส่วนใหญ่ มีลักษณะราบระนาบเดียวกัน ไม่จำเป็นต้องขึ้นลงบันได แถมยังมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยคอยสอดส่องมีนิติบุคคลคอยอำนวยความสะดวก หากเกิดความชำรุดของอุปกรณ์ภายในห้อง โดยไม่ต้องออกแรงซ่อมเอง รวมถึงมีสิ่งอำนวยความสะดวก ทั้งฟิตเนส สระว่ายน้ำ ร้านสะดวกซื้อ และร้านซักรีดที่เข้าถึงได้ง่าย ปัจจุบันมีคอนโดจำนวนหนึ่งที่หันมาเจาะตลาดผู้สูงอายุ หลังจากเห็นเทรนด์โครงสร้างประชากรที่ประเทศไทยจะขยับเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ หรือมีผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปีคิดเป็น 20% ของประชากรทั้งหมดในประเทศในปีพ.ศ.2564 และตัวเลขจะขยับสูงขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นโครงการเดอ ซองเต้ ประชาอุทิศ-พระราม 3, สวางคนิเวศ จ.สมุทรปราการ, ซีเนียร์ คอมเพล็กซ์ จ.สมุทรปราการ, วิลลา มีสุข เรสซิเดนท์เซส จ.เชียงใหม่ และกมลา ซีเนียร์ ลิฟวิ่ง จ.ภูเก็ต ฯลฯ เรียกได้ว่าตลาดที่อยู่อาศัยแนวตั้งของผู้สูงอายุถือเป็นโอกาสสำหรับนักพัฒนาในอนาคต The Urbanis […]

18 พฤษภา วันพิพิธภัณฑ์สากล ย้อนรอยความสำคัญย่านกะดีจีน-คลองสาน

01/09/2020

หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่าวันที่ 18 พฤษภาคม ถูกจัดให้เป็นวันพิพิธภัณฑ์สากล หรือ International Museum Day เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของสถานที่แห่งนี้ นับว่าเป็นสถานที่สำหรับการเรียนรู้และจัดเก็บเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ไว้มากมาย และเนื่องในวันพิพิธภัณฑ์สากลเราจะขอพูดถึงเรื่องราวความงดงามเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ย่านกะดีจีน-คลองสาน วันพิพิธภัณฑ์สากลเกิดขึ้นได้อย่างไร ? วันพิพิธภัณฑ์สากลถูกสถาปนาครั้งแรกในปี 1977 โดยสภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างประเทศ หรือ International Council of Museum : ICOM เพื่อให้ประชาชนได้กลับมาสนใจเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ และให้ความสำคัญกับสถานที่แห่งนี้ ซึ่งชาวพิพิธภัณฑ์ในหลายๆ ประเทศมีการจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองในวันนี้ด้วย พิพิธภัณฑ์ในย่านกะดีจีน – คลองสาน อยู่ตรงไหนบ้าง ? พื้นที่ย่านกะดีจีน – คลองสานถือเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์ ซึ่งแน่นอนว่าที่แห่งนี้มีเรื่องราวมากมายที่สามารถเข้าไปเรียนรู้ โดยในบทความนี้จะขอพูดถึงความงดงามของพิพิธภัณฑ์ในย่าน 4 แห่งด้วยกันดังนี้ พิพิธภัณฑ์บ้านกุฎีจีน ที่แรกคือพิพิธภัณฑ์บ้านกุฎีจีน ซึ่งด้านล่างของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ถูกจัดเป็นร้านกาแฟเล็กๆ เพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยว ส่วนชั้นบนจะเป็นพื้นที่เก็บรวบรวมประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาจนถึงปัจจุบัน ข้อมูลส่วนหนึ่งจะเกี่ยวกับชุมชนชาวสยาม – โปรตุเกส รวมไปถึงประวัติแม่นางมารี กีมาร์หรือท้าวทองกีบม้า นอกจากนี้ยังมีห้องจัดแสดงประวัติข้าวของเครื่องใช้ของชาวโปรตุเกสที่เข้ามาในสยามอดีต เช่น โมเดลจำลองเรือสินค้าที่เข้ามาค้าขายในสยาม ข้าวของเครื่องใช้ในสมัยอยุธยา และยังมีเรื่องราวอีกมากมายที่รอให้เราได้เข้าไปเรียนรู้ประวัติศาสตร์ พิพิธภัณฑ์บ้านกุฎีจีนตั้งอยู่ที่ […]

เพราะเป็นคนกรุงเทพฯ จึงเจ็บปวด : เมืองไร้แสง ภัยจึงมี

01/09/2020

เคยไหม? เวลาเดินกลับบ้านคนเดียวในซอยเปลี่ยวตอนกลางคืน จู่ๆ คุณก็รู้สึกขนลุก ใจหวิว เสียวสันหลัง เหมือนมีใครเดินตามตลอดเวลา พอหันกลับไปก็ไม่มีอะไร นานเข้าคล้ายว่าเราเป็นโรคหวาดระแวงไปเสียแล้ว มันไม่ใช่เรื่องแปลกที่คุณจะรู้สึกเช่นนั้น เพราะจากสถิติการรับแจ้งกลุ่มคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ ภายในพื้นที่กรุงเทพฯ ช่วง พ.ศ. 2554 – 2558 พบว่า คดีวิ่งราวทรัพย์, กรรโชกทรัพย์, ชิงทรัพย์ และปล้นทรัพย์ ไม่ได้มีแนวโน้มลดลงแต่อย่างใด หนำซ้ำบางคดียังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อยอีกด้วย เช่น คดีปล้นทรัพย์ที่มีจำนวนรับแจ้ง 56, 106, 105 , 113 และ 114 คดีตามลำดับ สอดคล้องกับผลสำรวจจากหน่วยวิจัยระดับโลก Economist Intelligence Unit ที่จัดอันดับกรุงเทพฯ ติดกลุ่มเมืองไม่ปลอดภัยที่สุดในโลก 12 ลำดับสุดท้าย และติดอันดับ 4 เมืองที่เกิดก่อการร้ายบ่อยและรุนแรงสูง เมื่อเทียบกับผลสำรวจสภาพปัญหาการเดินเท้าในพื้นที่กรุงเทพฯ ปี 2558 ของศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) ก็พบว่า ปัญหาสำคัญต่อการเดินเท้าในกรุงเทพฯ คือ ปัญหาด้านความปลอดภัย ประกอบด้วยปัญหาอันตรายจากอาชญากรรม […]

ความสัมพันธ์ระหว่างเรา : คนกับพื้นที่เมือง และการพัฒนาพื้นที่สาธารณะอย่างมีชีวิตชีวา

01/09/2020

พื้นที่สาธารณะคืออะไร ใช้ทำอะไรได้บ้าง ‘พื้นที่สาธารณะ’ (Public Space) เป็นการใช้พื้นที่ทำกิจกรรมร่วมกันโดยไม่ได้จำกัดว่าจะเป็นรูปแบบไหน เช่น ถนน ทางเดิน สวนสาธารณะ สนาม ลานชุมชน ลานเมืองเป็นต้น ซึ่งสามารถเข้าใช้พื้นที่ได้โดยไม่ต้องขออนุญาต ทั้งยังเป็นพื้นที่ที่สามารถเข้าถึงได้หรือแบ่งปันร่วมกันสมาชิกทุกๆ คน พื้นที่สาธารณะจึงเป็นพื้นที่ที่สามารถเข้าถึงได้ในเชิงกายภาพซึ่งสามารถมองเห็นได้จากทุกคนและมีการเข้าถึงได้มากกว่าพื้นที่ส่วนตัว นอกเหนือจากพื้นที่ทางกายภาพแล้ว จะต้องสร้างความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันระหว่างคนกับสถานที่ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะสร้างให้พื้นที่สาธารณะเกิดการใช้งานอย่างมีชีวิตชีวาคือ การสร้างให้เกิดปฏิสัมพันธ์ของผู้คน ดังนั้นพื้นที่สาธารณะจะต้องมีการเข้าถึงพื้นที่ การเชื่อมต่อที่ดี ความรู้สึกสบาย ปลอดภัย บรรยากาศที่เชื้อเชิญ และมีกิจกรรมเพื่อสนับสนุนให้เกิดการเข้าสังคมของผู้ใช้พื้นที่ กรุงเทพฯ vs วอร์ซอ กรุงเทพมหานครเป็นเมืองขนาดใหญ่มีพื้นที่กว่า 1,569 ตร.กม. และมีประชากรกว่า 10 ล้านคน เมื่อเปรียบเทียบแล้วเมืองวอร์ซอมีพื้นที่ 517 ตร.กม. มีประชากร 2.5 ล้านคน กล่าวคือวอร์ซอมีขนาดเล็กกว่ามาก เห็นได้ว่าเมื่อเปรียบเทียบพื้นที่เมืองต่อจำนวนประชากรกรุงเทพฯ มีพื้นที่ต่อคนน้อยกว่าคนวอร์ซอถึงร้อยละ 25 อีกทั้งเมืองวอร์ซอยังมีพื้นที่สีเขียวโดยรวมกว่าร้อยละ 40 ของพื้นที่เมืองและสัดส่วนของพื้นที่สาธารณะยังมีสูงถึงถึง 62 ตร.ม.ต่อคน แต่คนกรุงเทพฯ มีเพียง 6.2 ตร.ม.ต่อคน หรือต่างกันกว่า […]

จากม่านรูดสู่ออฟฟิศสร้างสรรค์ : มุมมองเมืองผ่านสายตานักออกแบบ

01/09/2020

ภาพ : หฤษฎ์ ธรรมประชา เมื่อเอ่ยถึงชื่อ ถ.ประดิพัทธิ์ นอกจากภาพจำอย่างการเป็นถนนสายของกินที่คึกคักแหล่งรวมโรงแรมที่พักของชาวต่างชาติ และสถานสังสรรค์ยามราตรีแล้ว ประดิพัทธิ์ในทศวรรษที่ผ่านมายังเต็มไปด้วยการเปลี่ยนผ่านเชิงกายภาพและการไหลเวียนของผู้คนที่สำคัญจนอาจนำไปสู่การปรับประสานเป็นย่านประดิพัทธิ์ใหม่เช่นปัจจุบัน หมุดหมายสำคัญหนึ่งของการเปลี่ยนผ่านบริเวณโดยรอบนี้คือการตัดผ่านของรถไฟฟ้าสายสุขุมวิทที่ไม่เพียงเอื้อให้เกิดการเชื่อมต่อการเดินทางเท่านั้น แต่ยังดึงดูดให้เกิดการลงทุนและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ที่พื้นที่ ประดิพัทธิ์ในวันนี้จึงเต็มไปด้วยโปรเจ็กน้อยใหญ่ เช่น คอนโด ร้านอาหาร คาเฟ่ชิคๆ ที่เริ่มเข้ามาเปิดตัวและแทบไม่น่าเชื่อที่ ซ.ประดิพัทธิ์ 17 นี้มีโครงการอาคารสำนักงานอย่าง 33 Space ในบรรยากาศเป็นกันเองซ่อนตัวอยู่ก่อนกระแสพื้นที่สร้างสรรค์จะเริ่มเป็นที่สนใจในประเทศไทย ถ้าจะพูดให้จ๊าบสมวัยหน่อยก็ต้องบอกว่า ที่ 33 Space นี้ช่าง Hipster before it was cool! ในเชิงพื้นที่ 33 Space เป็นอาคารสำนักงานที่มีขอบเขตแน่ชัดและอยู่ผสมกลมกลืนกับ ซ.ประดิพัทธิ์ 17 มานานจนเป็นส่วนหนึ่งของคนในย่านไปแล้ว อีกทั้งที่นี่ยังวางแผนระบบการอยู่ร่วมกันที่ค่อนข้างเอื้อให้คนทำงานใช้ชีวิตอย่างครบวงจร ทั้งการมีโรงอาหารกลาง มีลานจอดรถ มีแม่บ้านช่วยทำความสะอาด และมีพนักงานรักษาความปลอดภัยดูแลตลอด 24 ชม. บรรยากาศภายในจึงดึงดูดทั้งผู้ประกอบการรวมถึงคนทำงาน และความคึกคักของถนนสายของกินอย่างประดิพัทธิ์ก็ช่วยเติมสีสันให้การทำงานและการใช้ชีวิตในย่านนี้ จากม่านรูดสู่พื้นที่สร้างสรรค์ แรกเริ่มเดิมที 33 space เกิดขึ้นจากการปรับปรุงพื้นที่ม่านรูดและห้องพักรับรองแขกระดับสูงที่หมดสัญญาเช่ามาแปลงโฉมเป็นออฟฟิศขนาดกะทัดรัดที่ยังคงรูปแบบสถาปัตยกรรมเก่าไว้ ความเป็นมิตรของพื้นที่ […]

20 ปีของการพัฒนาเมือง : บทเรียนที่แสนเจ็บปวด La Confluence และ มักกะสัน

01/09/2020

หลายคนคงคุ้นเคยกับพื้นที่ขนาดใหญ่ใจกลางเมืองกรุงเทพฯ อย่างพื้นที่สวนลุมพินีซึ่งมีขนาด 360 ไร่ หรือพื้นที่สนามหลวงใจกลางเกาะรัตนโกสินทร์ เเต่อาจจะมีไม่กี่คนที่รู้จักพื้นที่ขนาดใหญ่อย่างพื้นที่มักกะสันที่มีขนาดใหญ่กว่า 700 ไร่ โดยมีขนาดเป็น 1.3 เท่าของพื้นที่สวนลุมพินี หรือเปรียบได้กับสนามหลวง 9 เเห่งด้วยกัน เเต่ปัจจุบันพื้นที่มักกะสันยังถูกปล่อยให้ร้างท่ามกลางการพัฒนาของพื้นที่อื่นๆ โดยรอบ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับพื้นที่ La Confluence ในประเทศที่พัฒนาเเล้วอย่างฝรั่งเศส ซึ่งเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมเก่าเเก่ใจกลางเมืองที่เคยถูกปล่อยให้ร้างเเละส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเชื่อมต่อกับเนื้อเมืองโดยรอบ โดยในบทความนี้จะอธิบายถึงขั้นตอนเเละเเนวคิดในการเเก้ไขปัญหาพื้นที่ลักษณะนี้ ผ่านกระบวนการวางผังเเละออกเเบบเมืองจนเป็นรูปธรรมภายในระยะเวลาเพียงเเค่ 20 ปี โครงการพัฒนาและฟื้นฟูพื้นที่เมืองลียงหรือ “La Confluence” นั้นตั้งอยู่ในพื้นที่อุตสาหกรรมเก่าเเก่ที่มีขนาดใหญ่กว่า 1.5 ตร.กม. โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากการที่โรงงานอุตสาหกรรมที่เคยตั้งอยู่บริเวณพื้นที่เริ่มมีการปิดกิจการเเละย้ายออกจากพื้นที่ จึงเป็นผลให้พื้นที่กลายเป็นพื้นที่รกร้าง เสื่อมโทรมเเละไม่น่าอยู่อาศัย ผู้คนต่างพยายามหลีกเลี่ยงการเดินทางมายังพื้นที่บริเวณนี้ เพราะนอกจากจะเป็นที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรมเเล้ว ยังเป็นย่านที่อยู่อาศัยของชนชั้นเเรงงาน รวมถึงคุก St.Paul ทั้งๆ ที่บริเวณนี้นอกจากจะมีสถาปัตยกรรมของสถานีรถไฟเก่าเเก่อย่างสถานี Perrache เเล้ว ยังเป็นพื้นที่ที่อยู่บริเวณเเหลมของเกาะใจกลางเมืองลียง ที่เป็นจุดตัดของเเม่น้ำสายสำคัญอย่างเเม่น้ำโซน (Saone) เเละแม่น้ำโรน (Rhone) ที่มีมุมมองของคุ้งน้ำที่สวยงามซึ่งเป็นทำเลที่มีศักยภาพมาก จากทำเลที่ตั้งที่เชื่อมต่อกับตัวเมืองทั้งฝั่งตะวันตกเเละฝั่งตะวันออกได้ จากการที่พื้นที่ที่มีศักยภาพระดับนี้ เเต่กลับถูกทิ้งร้างเเละเป็นที่หลีกเลี่ยงของผู้คนในเมือง ทางภาครัฐจึงได้มีการเสนอให้มีการบูรณะฟื้นฟูเมืองบริเวณนี้ โดยนอกจากจะเป็นการใช้พื้นที่ให้เหมาะสมกับศักยภาพที่มีอยู่เเล้ว ยังเป็นโอกาสในการเชื่อมต่อพื้นที่บริเวณนี้กับพื้นที่ด้านข้าง รวมถึงเป็นการขยายศูนย์กลางเมือง ไปทางใต้ของเกาะมากขึ้น ซึ่งจากเดิมการพัฒนาของเมืองลียงจะหยุดอยู่เเค่ที่สถานี Perrache ที่เปรียบเสมือนกำเเพงที่เเบ่งเกาะออกเป็น 2 ส่วน นั่นคือส่วนเหนือเเละส่วนใต้ ซึ่งผลจากการพัฒนาฟื้นฟูพื้นที่บริเวณนี้ จะเป็นการเชื่อมเเกนเหนือ-ใต้ของเมือง โดยจุดประสงค์หลักคือ การเพิ่มความหนาเเน่นพร้อมกับการสร้างพื้นที่สาธารณะเเละพื้นที่สีเขียวให้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชนทุกเพศ ทุกวัยเเละทุกกลุ่มรายได้ให้สามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียม รวมถึงการสร้างความสมดุลระหว่างจำนวนของประชากรกับการใช้งานของพื้นที่โดยมีธีมหลักในการออกเเบบคือ เเม่น้ำสายสำคัญทั้ง 2 สายที่ขนาบข้างพื้นที่โครงการ โดยโครงการเเบ่งออกเป็น 2 ระยะ เเละมีระยะเวลาในการดำเนินงานทั้งหมด 20 ปี ซึ่งในระยะเเรก จะเป็นการพัฒนาพื้นที่ฝั่งตะวันตก หรือพื้นที่ที่อยู่ติดกับเเม่น้ำโซน (Saone) โดยมีเเนวคิดหลักคือ การพัฒนาให้กลายเป็นเมืองตัวอย่าง ผ่านการผสมผสานการใช้งานของพื้นที่ที่มีความหลากหลาย ซึ่งประกอบไปด้วย พื้นที่อยู่อาศัยเเละสำนักงาน รวมถึงพื้นที่สาธารณะ โดยลักษณะสัณฐานเดิมของพื้นที่บริเวณริมเเม่น้ำโซน (Saone) นั้น […]

1 8 9 10 11 12 15