Economy



สำรวจภูมิทัศน์ย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ไทย

20/06/2023

ในห้วงทศวรรษที่ผ่านมา เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) เป็นหนึ่งในแนวทางการพัฒนาระบบเศรษฐกิจที่นานาอารยประเทศให้ความสำคัญ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศหลังอุตสาหกรรม เช่น สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฯลฯ เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ซบเซา และการเผชิญหน้ากับการแข่งขันทางด้านทรัพยากรธรรมชาติและแรงงานต้นทุนต่ำ ทำให้หลายประเทศทั่วโลกอาศัย “ความคิดสร้างสรรค์” เข้าไปมีส่วนช่วยในจากการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าและบริการ ตัวอย่างเช่นนโยบาย “Cool Britannia” ของสหราชอาณาจักร ในการผลักดันอุตสาหกรรมสร้างสรรค์อย่าง วง Spice Girls, ซีรีย์ Doctor Who หรือแบรนด์เฟอร์นิเจอร์อย่าง Habitat และนโยบาย “CreaTech” ของอังกฤษในการผสมผสานระหว่างอุตสาหกรรมสร้างสรรค์กับการพัฒนาด้านเทคโนโลยี อีกกรณีศึกษา ได้แก่ นโยบาย “Cool Japan” ของญี่ปุ่น และ “Creative Korea” ของเกาหลีใต้ ที่ประสบความสำคัญอย่างมากในกลุ่มอุตสาหกรรมบันเทิงและการท่องเที่ยว ที่สร้างรายได้กับประเทศอย่างมหาศาล เป็นที่น่าสนใจว่านอกเหนือจากการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในการผลิตสินค้าและบริการต่าง ๆ แล้ว แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์จะมีบทบาทอย่างไรต่อการพัฒนาเมือง ? ที่มาภาพ: Creative Economy – British […]

สังคมออนไลน์ เทคโนโลยีที่ช่วยให้การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน เป็นเรื่องง่ายขึ้น

16/06/2023

ปัจจุบัน เมื่อกล่าวถึงสื่อสังคมออนไลน์ที่ได้รับความนิยมของคนไทยในปัจจุบันนั้น ก็คงหนีไม่พ้น Facebook, Instagram, Twitter และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งสื่อเหล่านี้มีบทบาทสำคัญต่อระบบการสื่อสารอย่างมาก ทำให้เราสามารถเชื่อมต่อกัน สร้างความสัมพันธ์กันได้อย่างกว้างขวาง ไม่จำกัดเวลา และสถานที่ นอกเหนือจากด้านการสื่อสารแล้ว สื่อสังคมออนไลน์ยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างหลากหลาย เช่น ห้องเรียนออนไลน์ ที่เกิดขึ้นในช่วงที่มีการระบาดของไวรัสโควิด-19 หรือแม้กระทั่งตลาดนัดออนไลน์ ที่เป็นแหล่งรวมสินค้านานาชนิด สังคมออนไลน์ ทำได้มากกว่าแค่คุยกัน ที่มาภาพ Jonas Leupe เทคโนโลยีหนึ่งที่มีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของมนุษย์เมืองอย่างเรา ๆ อย่างหนึ่งคือ สมาร์ทโฟน ซึ่งปฏิเสธไม่ได้เลยว่าได้เปลี่ยนแปลงโลกแทบทุกแง่มุม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การมีสมาร์ทโฟน ช่วยให้การติดต่อสื่อสารของคนทำได้หลากหลายช่องทางและสะดวกรวดเร็วขึ้นกว่าเดิม ผ่านการใช้งานสังคมออนไลน์หลากหลายรูปแบบให้เลือกใช้งาน และแพร่หลายอย่างมากตลอดช่วง 10 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะแอปพลิเคชัน Line ที่เชื่อว่าแทบทุกคนจะต้องมีบัญชีผู้ใช้เป็นของตัวเอง จนกลายเป็นหนึ่งช่องทางหลักในการสื่อสารสำหรับคนไทยไปแล้ว เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป สังคมออนไลน์ต่าง ๆ ก็มีการปรับตัวเพื่อตอบสนองการใช้งานที่หลากหลายรูปแบบมากยิ่งขึ้น บางชนิดไม่ใช่แค่มีไว้เพียงแค่พูดคุยสนทนากัน แต่ยังสามารถแบ่งปันเรื่องราว ร่วมแสดงความคิดเห็น หรือเกิดเป็นพื้นที่ (space) สำหรับการทำกิจกรรมได้มากมาย การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว จนทำให้หลายคนตามไม่ทัน และอาจพลาดการเข้าถึง […]

Walkability, Livable Cities and New Opportunities โดย ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล

15/07/2021

เรียบเรียงจาก เวทีเสวนา Smarter Together โดย เครือข่ายเชียงใหม่สร้างสรรค์ (Creative Chiang Mai) ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ร่วมเสวนา เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2564 UddC-CEUS มักจะโดนถาม 2 คำถาม : ทำไมเราจึงควรอยากให้เมืองเราเดินได้เดินดี และเราจะสร้างให้เมืองเราเดินได้เดินดีได้อย่างไร? เนื่องจากมีเวลาเพียง 5 นาที จึงขอกล่าวเฉพาะส่วนแรกว่า ทำไมเราอยากให้ถนนในเมืองเราเดินได้เดินดี แม้ว่าดิฉันสอนและทำงานเกี่ยวข้องกับสถาปัตย์ผังเมือง แต่ต้องบอกว่าเหตุผลพื้นฐานที่จะยกมานำเสนอแก่ทุกท่าน แทบไม่มีเรื่องความงาม แต่เป็นเรื่องความจำเป็นล้วน การเดินเป็น necessity ไม่ใช่ aesthetic หรือ luxury แต่อย่างใด การที่เราอาศัยในเมือง แล้วจำเป็นต้องเดินทางในเมืองได้ด้วยการเดินอย่างสะดวก สบาย ปลอดภัยนั้น ข้อโต้แย้งพื้นฐานที่โลกพูดมาตั้งแต่ทศวรรษ 80  ได้แก่ เหตุผลด้านสิ่งแวดล้อม ด้านความเท่าเทียมทางสังคม ด้านสุขภาพทั้งระดับสาธารณะและปัจเจก ซึ่งทุกท่านคงทราบกันดีแล้ว หรือล่าสุดด้านความปลอดภัยสาธารณะยามฉุกเฉิน เช่น หากมีเหตุระเบิดที่สมุทรปราการ […]

THE POST-PANDEMIC CITY WE WANT เมืองแบบไหนที่ฉันอยากอยู่หลังโควิด

17/06/2021

เรียบเรียงจากเวที TEDxBangkok: ประเทศไทยในจินตนาการ นำเสนอโดย ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ร่วมด้วย คุณบรรยง พงษ์พานิช และคุณพิเชษฐ กลั่นชื่น เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2564 เพื่อชวนสังคมไทยระดมไอเดียหาทางออกหลังวิกฤตโควิด-19 ผ่านมุมมองเศรษฐกิจ ศิลปวัฒนธรรม และเมือง ขอพูดถึงสถานการณ์ปัญหา ก่อนพูดถึงความฝันหรือจินตนาการ ดังที่ นักวิชาการหลายท่านกล่าวว่า โควิด-19 เผยให้เห็นปัญหาของเมืองที่มีอยู่เดิมให้ปรากฏชัดขึ้น เช่น ดร. สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ได้ชี้ว่า ปัญหาการแพร่ระบาดในประเทศไทยมาจาก ความอปกติปัจจุบัน หรือ CURRENT ABNORMAL ของเมือง เช่น ปัญหาแรงงานต่างด้าว ปัญหาแรงงานนอกระบบ ปัญหาเศรษฐกิจที่ถูกเรียกว่า สีเทา ซึ่งแรงงานในภาคเหล่านี้มีจำนวนมหาศาล และล้วนเป็นแรงงานที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ขับเคลื่อนเมือง แต่เมืองทำเหมือนว่าไม่มีพวกเขาอยู่ เป็นกลุ่ม INVISIBLE คือ ไม่ถูกมองเห็น หรือแย่กว่านั้นคือกลุ่ม UNVISIBLE […]

เบื้องหลังการพัฒนาย่าน Marunouchi จากยุทธศาสตร์ co-creation ของรัฐบาลและเอกชน

29/04/2021

ภาพปกโดย City photo created by tawatchai07 – www.freepik.com เคยสงสัยไหมว่าถ้ารัฐบาลทำโปรเจกต์ร่วมกับเอกชนหน้าตาจะออกมาเป็นอย่างไร?  เราอยากชวนทำความรู้จักโครงการพัฒนา ย่านมารูโนอูจิ (Marunouchi) ย่านศูนย์กลางเศรษฐกิจใจกลางเมืองโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างรัฐบาลและเอกชน ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักย่านนี้คร่าวๆ กันก่อน  Marunouchi เป็นย่าน office builing แห่งแรกของญี่ปุ่น ตั้งอยู่ระหว่างพระราชวังอิมพีเรียล และสถานีรถไฟสำคัญอย่างสถานีรถไฟโตเกียว สถานีรถไฟที่มีจำนวนรถไฟระหว่างเมืองเข้าออกคับคั่งที่สุดอันดับหนึ่งของญี่ปุ่น (มากกว่า 3,000 เที่ยวต่อวัน) Marunouchi ยังอยู่ติดกับย่านกินซา (Ginza) ย่านพานิชยกรรมขนาดใหญ่ที่มีชื่อเสียงระดับโลก และย่านคาซูมิงาเซกิ (Kasumigaseki) อันเป็นที่ตั้งของสำนักงานราชการจำนวนมาก ย่านคันดะ (Kanda) ที่เป็นย่านการศึกษา และย่านนิฮงบาชิ (Nihonbashi) ที่เป็นย่านการค้าขายและย่านประวัติศาสตร์  ปัจจุบัน Marunouchi มีอาคารในพื้นที่ทั้งหมดราวๆ 700 เฮกตาร์ มีอาคารกว่าร้อยอาคาร มีธุรกิจในพื้นที่กว่า 4,000 ธุรกิจ และมีผู้คนเข้ามาทำงานในพื้นที่นี้กว่า 230,000 คนต่อวัน เห็นได้ว่าย่านมารูโนอูจิ Marunouchi […]

8 โจทย์การฟื้นฟูสะพานเขียว สู่แนวคิดการออกแบบโครงสร้างเชื่อมต่อ 3 มิติ: เชื่อมการสัญจร เชื่อมระบบนิเวศ เชื่อมสังคมเศรษฐกิจ

06/04/2021

“สีเขียวเชื่อมย่าน สะพานเชื่อมเมือง”  เป็นแท็กไลน์ของโครงการฟื้นฟูสะพานเขียวกรุงเทพฯ (Bangkok Green Bridge) ที่ศูนย์แบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ใช้สื่อสารกับสาธารณะตั้งแต่ปี 2562 แท็กไลน์ 8 พยางค์สะท้อนหัวใจของแนวคิดการฟื้นฟูโครงสร้างลอยฟ้าอายุกว่า 20 ปีแห่งนี้ได้พอสังเขป เช่น การเพิ่ม “ความเขียว” และสร้างการเชื่อมต่อระหว่างสองสวน ชุมชน และเมือง   จุดเริ่มต้นของโครงการฟื้นฟูสะพานเขียวมาจากการที่ กทม. เห็นปัญหาของพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นสภาพทรุดโทรมของสภาพแวดล้อมใต้สะพาน และสภาพเน่าเสียของคลองไผ่สิงห์โต การเป็นพื้นที่ “เกือบอโคจร” ไม่ค่อยมีผู้คนสัญจรผ่าน เนื่องจากจุดขึ้นลงมีน้อยและอยู่ไกลกัน ส่งผลให้สะพานเขียวเคยเป็นพื้นที่เสี่ยงที่ได้รับการร้องเรียนเข้ามามากเป็นอันดับ 2 ของกรุงเทพฯ  เบื้องต้น ความเขียว ความปลอดภัย การเชื่อมต่อ จึงเป็นโจทย์สำคัญของภารกิจเพื่อเมืองในครั้งนี้ ทว่า การเจรจาหารือระหว่าง สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร (สนย.) ตลอดจนการปฏิบัติการออกแบบร่วมกับชาวชุมชนโปโล-ชุมชนร่วมฤดี ภาคีวิชาชีพสถาปนิก และ UddC-CEUS ที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาเกือบ 2 ปีที่ผ่านมา ได้ทำให้โจทย์การออกแบบและฟื้นฟูเพิ่มแง่มุมที่หลากหลาย และทวีความซับซ้อนยิ่งขึ้น  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิรมล เสรีสกุล […]

การพัฒนาย่านนวัตกรรม: กรณีศึกษา CyberTech District กรุงเทพฯ

22/03/2021

ความท้าทายของการพัฒนาย่านนวัตกรรมในทุกวันนี้ คงหนีไม่พ้นโจทย์ที่ว่า จะทำอย่างไรให้นวัตกรรมและเมืองถูกรวบเข้ามาไว้ด้วยกัน ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) กล่าวในการบรรยาย MUS x UDDC International Lecture Series 2021 ไว้ว่า นวัตกรรมที่เรามักคุ้นเคยกันดีที่สุดนั่นก็คือ นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (product innovation) อย่าง smartphone และ smart gadgets ต่าง ๆ และ นวัตกรรมด้านกระบวนการ (process innovation) หากในส่วนของกรอบแนวคิดสำหรับย่านนวัตกรรมที่วิทยากรได้นำเสนอนั้น Area Base Innovation (ABI) ถือได้ว่าเป็นจักรวาลสำคัญของการริเริ่มพัฒนาย่านนวัตกรรม ซึ่ง ABI มีลักษณะที่มีความซับซ้อนซึ่งต้องอาศัยทักษะจากหลากหลายสหสาขาวิชามารวมเข้าด้วยกัน ทั้งนี้ มีองค์ประกอบพื้นฐาน 5 องค์ประกอบ ได้แก่  1) achieve paradigm shift 2) attract investment 3) create job for […]

สะพานเขียวเหนี่ยวทรัพย์: เมื่อการฟื้นฟูเมืองคือโอกาสกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากของเมือง

17/03/2021

ทอดยาวลอยฟ้าทาพื้นสีเขียวจากสี่แยกสารสิน ถ.วิทยุ ถึงปากซอยโรงงานยาสูบ คือ “สะพานเขียว” เชื่อมสวนลุมพินีและสวนเบญจกิติ ตลอดระยะทางกว่า 1.3 กิโลเมตร ขนาบด้วยบ้านเรือนหลายร้อยหลังคาเรือนของชาวชุมชนร่วมฤดีและชุมชนโปโล ชุมชนเมืองที่ได้ชื่อว่าเป็นชุมชนเก่าแก่แห่งท้ายๆ ของกรุงเทพมหานคร ที่ตั้งในพื้นที่ศูนย์กลางเศรษฐกิจใจกลางเมือง โครงสร้างลอยฟ้าแห่่งนี้อยู่คู่กับชุมชนมานานกว่า 20 ปี ทำหน้าที่เป็นพื้นที่สัญจรด้วยการเดินเท้า เป็นสถานที่ออกกำลังกายและทางปั่นจักรยาน ล่าสุดยังเป็นที่นิยมของคนรุ่นใหม่ ที่เดินทางมาถ่ายรูปเก็บบรรยากาศช่วงยามเย็น แสงอาทิตย์ กลุ่มอาคารสูงใจกลางเมือง ฯลฯ หลายคนบอกว่าสะพานเขียวมี “ฟิลเตอร์ญี่ปุ่น” อย่างที่เคยเห็นในสื่อภาพยนตร์และการ์ตูน ปรากฏการณ์ “สะพานเขียวฟีเวอร์” เพิ่งจะเกิดขึ้นหลังการระบาดของโควิด-19 นี่เอง ย้อนไปเมื่อกลางปี 2562 สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร (สนย.) ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) และภาคีวิชาชีพสถาปนิก ได้สำรวจพื้นที่และจัดกระบวนการร่วมหารือกับชาวชุมชนเพื่อเริ่มต้นโครงการฟื้นฟูสะพานเขียว ให้แข็งแรง ปลอดภัย ร่มรื่น เชื่อมกับชุมชนอย่างไร้รอยต่อ และทำให้สะพานเขียวสร้างโอกาสให้กับเมืองยิ่งขึ้นไปอีก หากความเปลี่ยนแปลงใดๆ นำมาซึ่ง “การปรับตัว” คงพอจะกล่าวได้ว่า ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากโครงการฟื้นฟูสะพานเขียว จะไม่มีผลต่อชาวชุมชนเลย คงเป็นไปไม่ได้ คำถามของเราคือชาวชุมชนมีแผนการปรับตัวอย่างไรเพื่อคว้าโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคมจากความเปลี่ยนแปลงในอนาคต จากอดีตในความเงียบเหงา สู่ ปัจจุบันแห่งการเปลี่ยนแปลง […]

ช็องเซลีเซ vs รัตนโกสินทร์ เมื่อทิศทางการพัฒนาถนนสำคัญของเมือง มุ่งสู่การ “เดินได้ เดินดี เดินร่ม เดินเย็น” และ หวังให้คนรักเมืองมากขึ้น

15/01/2021

หลังเข้าศักราชใหม่ได้ไม่ถึง 2 สัปดาห์ แอนน์ ฮิดาลโก นายกเทศมนตรีกรุงปารีส เจ้าของนโยบาย “ปารีส 15 นาที” ที่ทำให้ผู้สนใจด้านเมืองพูดถึงกันทั่วโลกเมื่อปี 2020 ว่าจะออกแบบเมืองโดยให้ชาวปารีเซียงสามารถเดินและปั่นจักรยาน ไปยังจุดหมายการเดินทางสำคัญในชีวิตประจำวันโดยใช้เวลาไม่ถึง 15 นาที  ล่าสุด นางฮิดาลโก ได้ประกาศเมกะโปรเจกต์ Champs-élysées Revamp โดยทุ่มงบประมาณกว่ 305 ล้านดอลลาร์ หรือกว่า 9,000 ล้านบาท ออกแบบถนนซ็องเซลีเซระยะทางประมาณ 2.3 กิโลเมตร ที่ได้ชื่อว่าเป็นถนนที่มีชื่อเสียงและสวยที่สุดในโลกเส้นหนึ่ง ให้กลายเป็นสวนและพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่พิเศษกลางกรุงปารีส โดยมีเป้าหมายลดขนาดพื้นผิวจราจรของรถยนต์ เพิ่มขนาดทางเดินเท้า-เส้นทางจักรยาน และเพิ่มต้นไม้ใหญ่และพื้นที่สีเขียว ไม่เพียงต้องการส่งเสริมคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมเมือง หากเป้าหมายของโปรเจ็กต์ยังหวังกระตุ้นเศรษฐกิจของเมือง ผ่านร้านค้าขนาดเล็กที่จะเพิ่มขึ้นตลอดแนวถนน Feargus O’Sullivan นักเขียนประจำ Bloomberg Citylab เขียนว่า แม้ถนนช็องเซลีเซจะมีชื่อเสียงระดับโลก แต่สำหรับชาวเมืองปารีสเอง ถนนสายสำคัญเส้นนี้กลับไม่เป็นที่รักของคนเมืองเท่าไหร่นัก เนื่องจากขนาดที่ใหญ่ มีสภาพการจราจรติดขัด ก่อมลพิษมหาศาล และมีราคาเช่าสูง ผลสำรวจเมื่อปี 2019 พบว่า ชาวเมืองปารีสกว่า […]

“ขนมฝรั่ง โบสถ์ซางตาครู้ส ชุมชนกุฎีจีน” เทศกาลคริสต์มาสฉบับชาวย่านกะดีจีน-คลองสาน

07/12/2020

ลมหนาวพัดมาเป็นสัญญาณว่าเริ่มเข้าฤดูเทศกาล และหนึ่งในเทศกาลสำคัญของชาวคริสต์ทั่วโลกคงหนีไม่พ้น ‘คริสต์มาส’ ที่เต็มไปด้วยสีสันทั้งมิติวัฒนธรรม ความเชื่อ รวมถึงสิ่งละอันพันละน้อยตลอดช่วงเวลามงคล แน่นอนว่า ‘กะดีจีน-คลองสาน’ ย่านเก่าแก่ที่เป็นสถานพำนักของชาวคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกซึ่งเก่าแก่และใหญ่เป็นลำดับต้นๆ ของไทยจึงย่อมมีสีสันน่าสนใจไม่แพ้ใคร โดยเฉพาะในชุมชนกุฎีจีนที่มีโบสถ์เก่าอย่างซางตาครู้สเป็นศูนย์รวมศรัทธาและสานสัมพันธ์ของชาวย่านมานานหลายร้อยปี คราวนี้เราจึงอยากชวนมาชมสีสันวันคริสต์มาสในย่านเก่า ผ่านรสชาติของอาหารที่มีต้นทางมาจากชาวคาทอลิกเชื้อสายโปรตุเกส ที่พิเศษทั้งเรื่องของรสชาติและเรื่องราว เริ่มจาก ‘ขนมฝรั่งกุฎีจีน’ ที่หลายคนคงคุ้นชื่อและรส ทว่าบางคนอาจยังไม่รู้ว่าต้นทางของขนมฝรั่งนั้นเกี่ยวพันกับเทศกาลคริสต์มาสอย่างน่าสนใจ เพราะมีข้อมูลทางประวัติศาสตร์สายหนึ่งระบุว่าขนมฝรั่งกุฎีจีนมีพัฒนาการมาจาก ‘King’s Cake’ ขนมเค้กโรยน้ำตาลเชื่อมที่ชาวยุโรปนิยมทำกินกันช่วงหลังเทศกาลคริสต์มาส มีกิมมิคน่าสนใจอยู่ตรงเนื้อขนมจะซ่อนสัญลักษณ์เกี่ยวข้องกับพระราชาเล็กๆ เอาไว้ให้ผู้ร่วมล้อมวงกินเค้กลุ้นกันว่าให้จะได้ไป และได้เป็นพระราชาในงานฉลองวันนั้น เมื่อรสนิยมการกินเค้กติดสอยห้อยตามพ่อค้าชาวโปรตุเกสมาถึงสยาม จากขนมเค้กโรยน้ำตาลเชื่อมก็ปรับเป็นขนมเค้กเนื้อร่วนทำจากแป้งสาลี ไข่เป็ด และน้ำตาลทราย กลายเป็นขนมฝรั่งที่อบด้วยเตาถ่านโบราณที่ให้กลิ่นหอมเป็นพิเศษ และเป็นขนมที่จะปรากฎตัวบ่อยครั้งในหน้าเทศกาลงานมงคลของคริสตชนชาวย่านมาตั้งแต่อดีตจนถึงทุกวันนี้ นอกจากขนมฝรั่ง สีสันของย่านกะดีจีน-คลองสานช่วงเทศกาลคริสมาสต์ยังรวมถึงการตกแต่งประดับประดาบ้านเรือนบริเวณใกล้กับโบสซางตาครู้สด้วยรูปพระคริสต์หรือพระแม่มารี รวมถึงต้นคริสมาสต์สีสดใสที่ช่วยให้บรรยากาศชุมชนเก่าแก่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาคึกคักเป็นพิเศษ โดยเฉพาะวันคริสต์มาสอีพ ที่โบสถ์ซางตาครู้สจะมีกิจกรรมให้ชาวย่านได้ร่วมทั้งในแง่พิธีกรรมทางศาสนา รวมถึงกิจกรรมสนุกๆ อย่างการสอยดาว จับสลาก และแน่นอนว่าต้องมีขนมฝรั่งกุฎีจีนเป็นหนึ่งในพระเอกประจำงานด้วยเช่นกัน หมายเหตุ: ภาพและข้อมูลเป็นส่วนหนึ่งของโครงการตำราอาหารย่านกะดีจีน-คลองสาน โดย มูลนิธิประชาคมย่านกะดีจีน-คลองสาน ไอคอนสยาม และศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS)

1 2 3 4