Environment



บ้านเจ้าชายผัก: ปลูกเมืองให้เติบโตด้วยภูมิปัญญา และนวัตกรรมเกษตร

07/05/2025

จากความหลงใหลในเกษตรกรรมได้พัฒนาแนวคิด “บ้านเจ้าชายผัก” สู่การขับเคลื่อนเกษตรในเมือง บ้านเจ้าชายผัก มีจุดเริ่มต้นมาจากความสนใจในเรื่องการทำเกษตรของคุณนคร ลิมปคุปตถาวร ตั้งแต่ช่วงเรียนด้านการทำเกษตรกรรมอย่างยั่งยืนเป็นเวลานานระหว่างช่วงเรียนรู้เกษตรกรรมคุณนครอยากทำเกษตรจึงได้ลองเริ่มปลูกผักไว้บริโภคเองจากที่บ้านด้วยเมื่อทำไปสักพัก คุณนครได้ค้นพบตัวเองว่าหลงใหลกับการทำเกษตรโดยได้แนวคิดการทำสวนเกษตรในบ้านมาระหว่างการทำวิทยานิพนธ์และได้เริ่มมีบทบาทในการส่งเสริมการทำสวนเกษตรในพื้นที่ต่าง ๆ ทำให้คุณนคร เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น  ย้อนกลับไปในปี 2554 คุณนครเป็นหนึ่งในสมาชิกโครงการสวนผักคนเมือง ช่วยส่งเสริมให้คนเมืองหันมาสนใจการปลูกผัก ทั้งสร้างการตระหนักรู้ให้เห็นถึงความสำคัญของการปลูกผักและการทำเกษตรในเมือง แม้ในช่วงแรกโครงการจะยังไม่ได้รับความสนใจมากเท่าที่ควร แต่เมื่อเวลาผ่านไปผู้คนเริ่มหันมาสนใจการทำเกษตรในเมืองมากยิ่งขึ้น ถือเป็นความสำเร็จก้าวแรกของคุณนครในการทำงานด้านเกษตรกรรม ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเกษตรในเมืองและงานด้านเกษตรทั้งหมด เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนเมืองกับคนชนบท และเชื่อมโยงการผลิตทางการเกษตรสู่การบริโภค เราต้องทำให้ผู้คนเห็นว่าทุกสิ่งที่พวกเขาเลือกนั้น ไม่ใช่เพียงการเลือกสินค้า แต่คือการเลือกวิถีชีวิต หากเลือกแนวทางหนึ่งก็จะนำไปสู่เส้นทางหนึ่ง หากเลือกอีกแนวทางก็จะนำไปสู่อีกเส้นทางหนึ่ง ดังนั้น การตัดสินใจของแต่ละคนล้วนมีความหมาย  นอกจากนี้ เราพยายามเชื่อมโยงอดีตกับปัจจุบัน เพื่อให้การพัฒนานั้นไม่ขาดรากเหง้าทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญา ซึ่งปัญหานี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในภาคเกษตรกรรม แต่สะท้อนให้เห็นในหลายแวดวง รวมถึงด้านสุขภาพ จากการทำงานร่วมกับเพื่อนในสายงานต่าง ๆ เราพบว่าสังคมไทยเผชิญกับภาวะที่ขาดรากฐานทางความคิดอย่างชัดเจน โดยมักมีการแบ่งขั้วอย่างสุดโต่ง หากเป็นแนวอนุรักษ์นิยม ก็ขาดการพัฒนาให้เข้ากับยุคสมัย ขณะที่ฝั่งหัวก้าวหน้าก็อาจละเลยรากฐานของตนเอง ดังนั้น การสร้างสมดุลระหว่างอดีตและปัจจุบัน คือแนวทางที่เราพยายามผลักดัน เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและมีรากฐานที่มั่นคง จากโครงการปันอยู่ปันกินสู่สหกรณ์เพื่อเกษตรกรในเมือง ในช่วงโควิด-19 คุณนครได้ทดลองทำตลาดสีเขียวในเมืองอย่างโครงการปันอยู่ปันกิน ซึ่งเป็นตลาดที่ส่งเสริมให้เกษตรกรมีช่องทางในการพบผู้ผลิตรายอื่นเดือนละ 1 ครั้ง โดยโครงการนี้ทำให้ได้เห็นความสำคัญของการช่วยเหลือผู้คนในเวลาที่ยากลำบากอย่างช่วงโควิด-19 และคิดวิธีเชื่อมโยงผู้ผลิตและผู้บริโภค คุณนครจึงเริ่มทำสหกรณ์เพื่อเกษตรกรในเมืองขนาดย่อม […]

จากขยะอาหารสู่แปลงเกษตร โมเดลธุรกิจยั่งยืนของฟาร์มลุงรีย์

02/05/2025

หลังจากครั้งที่แล้วพาทุกคนไปทำความรู้จักกับคุณปูเป้ทำเอง จุดเริ่มต้นของการแปรรูปอาหารโดยเริ่มต้นจากการทำสวนเกษตรเล็ก ๆ ริมระเบียง และนำผลผลิตจากสวนเกษตรมาแปรรูปอาหาร  วันนี้ The Urbanis จะพาทุกคนไปรู้จักในอีกมุมมองเรื่องของการเชื่อมโยงอาหารกับการทำเกษตร ในมิติของการพลิกวิกฤตปัญหาจากเศษอาหารเหลือทิ้ง มาสร้างเป็นเม็ดเงิน จนกลายเป็นทั้งศูนย์การเรียนรู้เกษตรกรรมและโมเดลธุรกิจ ขับเคลื่อนประเด็นปัญหาเรื่อง food waste พูดคุยกับ “คุณชารีย์ บุญญวินิจ” เจ้าของฟาร์มลุงรีย์ Uncleree farm จุดเริ่มต้นของลุงรีย์ฟาร์ม “ขยะจากเศษอาหาร สร้างเม็ดเงิน” ในโลกที่วิกฤติขยะจากเศษอาหารเป็นปัญหาที่ใหญ่ขึ้นทุกวัน คุณชารีย์ได้มองเห็นโอกาสจากปัญหานี้ และสร้างฟาร์มที่ไม่เพียงแต่เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตร ยังเชื่อมโยงการจัดการขยะให้เกิดมูลค่าใหม่ ฟาร์มลุงรีย์จึงเริ่มต้นจากการใช้เศษอาหารจากการทำครัว มาเป็นต้นทุนในการเลี้ยงไส้เดือน เพื่อบำรุงดินและสร้างการเกษตรที่ยั่งยืนในพื้นที่เมือง ทั้งนี้คุณชารีย์ตั้งต้นแนวคิดการเปลี่ยนขยะให้กลายเป็นเม็ดเงินจากความเสียดาย เนื่องจากขยะที่เราเห็นคนทิ้งทุกวันเกิดการสะสมมากขึ้นจนกลายเป็นปัญหาขยะ หากเราเอาขยะมาใช้ประโยชน์ เช่น รีไซเคิลขยะ หรือ การเปลี่ยนเป็นปุ๋ย   ดังนั้นขยะตรงนี้จะไม่ใช่แค่การกำจัดแบบถูกฝังกลบอย่างไร้ค่า แต่เป็นการเปลี่ยนขยะให้เป็นไอเดีย โดยตลอดเวลา 10 ปีที่ทำงานตรงนี้คุณชารีย์ทำงานกับพวกของเหลือมาอยู่ตลอด คิดหาวิธีเอาขยะออกจากชุมชนและสร้างรายได้ให้ชุมชนเพื่อเอาขยะมาหมุนเวียนเป็นทรัพยากรในฟาร์มอยู่ตลอด ‘แพชชั่นของเราเกิดจากของเหลือ เพราะทุกครั้งที่เห็นขยะ เรามองเห็นความเป็นไปได้เสมอ นี่คือแรงผลักดันให้เราคิดและสร้างสรรค์ไอเดียใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา’ การเลี้ยงไส้เดือน ทำเกษตรในเมือง หนึ่งในแนวคิดที่คุณชารีย์ได้พัฒนา คือการใช้ไส้เดือนเป็นตัวช่วยในการเปลี่ยนเศษอาหารให้เป็นปุ๋ยที่มีคุณภาพ ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายและเหมาะสมกับคนเมืองที่มีเวลาจำกัดในการทำเกษตร […]

สวนปูเป้ทำเอง: ปลูกเอง กินเอง แปรรูปเอง จุดเริ่มต้นจากความขี้เกียจสู่พื้นที่สีเขียวกินได้ในบ้าน

09/04/2025

ชีวิตเร่งรีบและทุกอย่างต้องแข่งขันกับเวลา ลองคิดดูว่าคุณใช้เวลาเท่าไรในการออกไปซื้ออาหาร หรือรอสั่งเดลิเวอรี 10 นาที? 30 นาที? หรืออาจถึง 1 ชั่วโมง? แล้วหากเรามีวัตถุดิบพร้อมในบ้าน แค่เดินไปที่ระเบียงก็สามารถเก็บผักมาทำอาหารได้ทันที จะช่วยประหยัดเวลา และทำให้การกินอาหารเป็นเรื่องง่ายขึ้นหรือไม่? ความขี้เกียจที่ต้องออกไปซื้ออาหารกลับกลายเป็นแรงผลักดันให้ คุณสุพัตรา อุสาหะ หรือ คุณปูเป้ หันมาสนใจการปลูกผักบนระเบียงคอนโดของตัวเอง จุดเริ่มต้นเล็ก ๆ ที่ไม่ได้มีเป้าหมายใหญ่โต แต่กลับนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง ทั้งในเรื่องของการใช้ชีวิต การเรียนรู้ธรรมชาติ และแม้กระทั่งการสร้างรายได้ เกษตรไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป The Urbanis จึงขอชวนชาวเมืองมาคุยกับ คุณสุพัตรา อุสาหะ เจ้าของ “สวนปูเป้ ทำเอง” ผู้เริ่มต้นการปลูกผักกินเองจากความขี้เกียจ แต่กลับค้นพบว่าวิถีเกษตรเล็ก ๆ นี้ ไม่เพียงช่วยให้ชีวิตง่ายขึ้น แต่ยังสร้างประโยชน์ได้มากกว่าที่คิด จุดเริ่มต้นของสวนเกษตรมาจากความขี้เกียจ?  คุณสุพัตรา อุสาหะ หรือ คุณปูเป้ เล่าว่าการต้องใช้เวลาเป็นชั่วโมงอาบน้ำแต่งตัวเพื่อออกไปข้างนอกในทุกๆวัน ขับรถออกไปฝ่าฟันกับรถติดเพื่อออกไปซื้ออาหาร กว่าจะกลับถึงห้องก็หิวอีกรอบ แต่ถ้าหากมีวัตถุดิบที่พร้อมทำอยู่แล้วตื่นมาเราหิวก็สามารถทำได้เลย ทำให้ไม่จำเป็นต้องออกไปซื้ออาหารบ่อย ๆ จึงเปลี่ยนระเบียงมาเป็นพื้นที่ในการปลูกผัก เริ่มจากการปลูกอะไรง่าย […]

บอกเล่าเรื่องราวการพัฒนา “สวนท่าน้ำสรรพาวุธ” กับ “คุณปรีชญา นวราช” P-NUR URBAN ARCHITECT

08/09/2023

ชวนรู้จักพื้นที่สวนท่าน้ำสรรพาวุธ สวนท่าน้ำสรรพาวุธนี้ เป็นที่ดินของสำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร มีขนาดประมาณ 52 ตารางวา ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณท่าเรือวัดบางนานอก แม้จะเป็นพื้นที่ขนาดเล็กแต่ก็เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพสูง ทั้งเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายการสัญจรที่ในอนาคตจะมีพร้อมทั้ง รถ ราง และเรือ ดังนั้นการพัฒนาพื้นที่แห่งนี้ควรบูรณาการเชื่อมต่อระหว่างพื้นที่ท่าน้ำสรรพาวุธ พื้นที่กิจกรรมของชุมชนอย่างตลาดและร้านค้าแผงลอย รวมถึงการขยายตัวของรถไฟฟ้าที่กำลังจะมาถึงพื้นที่ ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนให้พื้นที่แห่งนี้กลายเป็นหมุดหมายใหม่สำหรับนักท่องเที่ยว ความท้าทายของการพัฒนาสวนท่าน้ำสรรพาวุธ ท่าน้ำสรรพาวุธเป็นสถานที่ที่มีผู้คนเข้ามาใช้งานอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายการสัญจร พื้นที่นี้จึงเหมาะสำหรับการพัฒนาให้เป็นสวนสาธารณะขนาดเล็ก หากแต่การออกแบบพื้นที่นี้ยังมีความท้าทายอยู่ 2 ประการ ได้แก่ (1) ความปลอดภัยในการเข้ามาใช้งานพื้นที่ เนื่องด้วยท่าน้ำสรรพาวุธเป็นประตูสู่บางกระเจ้า ทำให้มีการเปลี่ยนถ่ายการสัญจรของนักท่องเที่ยวตลอดเวลา อีกทั้งมีพื้นที่ราชการและพื้นที่โรงงานทำให้ตั้งแต่ต้นทางจนไปถึงกลางทางเต็มไปด้วยรถบรรทุกที่สัญจรผ่านกัน ส่งผลให้ผู้คนไม่กล้าเข้ามาใช้งานพื้นที่ ทั้งจากความอันตรายของรถบรรทุก รวมถึงการกลายเป็นพื้นที่ที่มีฝุ่นควันและมลพิษ ดังนั้นการพัฒนาพื้นที่สวนแห่งนี้จึงควรคำนึกถึงการสร้างความปลอดภัยให้ผู้คนสามารถเข้ามาใช้งานได้มากยิ่งขึ้น (2) การออกแบบที่ต้องมีความยืดหยุ่น จากการทำกระบวนการการมีส่วนร่วม พบว่าพื้นที่แห่งนี้เชื่อมต่อกับชุมชนและหน่วยงานราชการ อีกทั้งมีมรดกวัฒนธรรมที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังของถนนสรรพาวุธ ทั้งจากชุมชนวัดบางนานอก ตลาดเก่าของชุมชน และเป็นพื้นที่ศาสนสถานที่ผู้คนเข้ามากราบไหว้บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ รวมถึงความเห็นของคนในย่านที่อยากให้มีพื้นที่จัดงานกิจกรรมร่วมกันในชุมชน เช่น งานตลาด งานดนตรี และพื้นที่สวนสาธารณะ การออกแบบพื้นที่แห่งนี้จึงต้องมีความยืดหยุ่น สามารถใช้ประโยชน์จากพื้นที่ได้อย่างหลากหลาย ถือเป็นความท้าทายที่สำคัญสำหรับการพัฒนาสวนท่าน้ำสรรพาวุธในครั้งนี้ การพัฒนา “สวนท่าน้ำสรรพาวุธ” ท่าน้ำ 3 […]

บอกเล่าเรื่องราวการพัฒนาสวนเกษตรวชิรธรรมสาธิต 35 “สวนเกษตร 15 นาที พื้นที่สีเขียวกินได้” แห่งย่านพระโขนง-บางนา

07/09/2023

ชวนรู้จักพื้นที่สวนวชิรธรรมสาธิต 35 พื้นที่ขนาด 14 ไร่ ตั้งอยู่บริเวณซอยวชิรธรรมสาธิต 35 แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร ที่ได้รับมอบพื้นที่จากคุณนวลปรางค์ แสนสุข และครอบครัว เพื่อให้สำนักงานสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานครปรับปรุงพื้นที่เป็นสวนสาธารณะสำหรับชุมชน ระยะเวลารวม 8 ปี ภายใต้นโยบาย Green Bangkok 2030 ตั้งแต่ปี 2563 กำลังจะพัฒนาเป็นพื้นที่สีเขียวแห่งใหม่ที่จะเพิ่มค่าเฉลี่ยพื้นที่สีเขียวให้ย่านพระโขนง-บางนา และตอบรับความต้องการของชาวชุมชนและผู้คนที่เข้ามาทำงานในย่าน ผ่านความร่วมมือของภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และภาคีเครือข่าย ในรูปแบบจตุรภาคี (4Ps) “โจทย์” สำคัญของการออกแบบ UDDC RAFA และภาคีเครือข่าย ได้รับโจทย์จากชาวย่านที่ต้องการพื้นที่ทำกิจกรรมหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ พื้นที่นันทนาการ พื้นที่ลานกีฬา และพื้นที่เรียนรู้นอกห้องเรียน ตลอดจนการผสานการออกแบบสวนสาธารณะร่วมกับแนวคิดการทำเกษตรในเมือง จึงต้องคำนึงถึงความยืดหยุ่นของการใช้พื้นที่ และความปลอดภัย รวมถึงระบบระบายน้ำ พร้อมทั้ง 3 โจทย์สำคัญสำหรับการออกแบบสวนวชิรธรรมสาธิต 35 ดังนี้  (1) พื้นที่สวนล้อมด้วยชุมชน แม้ว่าตำแหน่งของพื้นที่สวนนี้อยู่ในซอยวชิรธรรมสาธิต 35 […]

มหานครและสรรพสัตว์ในเมือง

16/08/2023

คงปฏิเสธไม่ได้ว่า การกลายเป็นเมืองและความเป็นเมืองสมัยใหม่ของเมืองต่างๆ ทั่วโลก มีส่วนที่สร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับระบบและนิเวศวิทยาของพืชและสัตว์ที่เคยอยู่อาศัย หรืออาศัยอยู่โดยรอบพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาเมืองหรือการขยายตัวของเมือง (urban sprawl) กรุงเทพฯ  ในอดีตเคยมีสัตว์ป่าอาศัยอยู่มากมาย เช่น โขลงช้างป่า แรด จระเข้ สมัน และมีนกขนาดใหญ่อย่าง กระเรียนพันธุ์ไทยและอีแร้ง และอีกมากมาย ก่อนที่เมืองจะมีการเติบโตลุกล้ำพื้นที่อยู่อาศัยของสัตว์ ทำให้สัตว์เหล่านี้ ลดจำนวนลง บ้างก็สูญพันธุ์ไป เหลือให้เราได้พบเห็นอยู่เพียงไม่กี่ชนิด อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าสัตว์ป่าจะหายไปจากพื้นที่เมือง แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเมืองยังคงเป็นระบบนิเวศที่มีความหลากหลายและซับซ้อน มีความวุ่นวายของกิจกรรมและผู้คน และในมุมหนึ่งก็ยังมีโลกของสรรพสัตว์ (ที่หลงเหลืออยู่) ที่มีบทบาทหลากหลาย ทั้งในเชิงของการเป็นตัวชี้วัดระบบนิเวศเมือง ตัวชี้วัดความสกปรกและการจัดการสุขาภิบาลเมือง รวมไปถึงการเป็นเพื่อนของมนุษย์เมืองที่โดดเดี่ยว สรรพสัตว์ในเมืองกับบทบาทการเป็นตัวชี้วัดระบบนิเวศเมือง จากตัวอย่างผลตัวชี้วัดความหลากหลายทางชีวภาพในเมืองของกรุงเทพมหานคร มีสัดส่วนพื้นที่ธรรมชาติของเมืองร้อยละ 19.7 ของพื้นที่ทั้งหมดของเมือง ความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่เมืองพบจำนวนชนิดพันธุ์นก 32 ชนิดพันธุ์ และสัดส่วนพื้นที่ธรรมชาติที่ได้รับการคุ้มครองอยู่ที่ร้อยละ 1.7 ของพื้นที่ทั้งหมดของเมือง ซึ่งพื้นที่เหล่านี้เป็นตัวที่จะช่วยดึงดูดเหล่าสัตว์ในเมือง ในเมืองใหญ่ที่มองไปทางไหนก็เจอแต่อาคาร บ้านเรือน สัตว์บางชนิดนั้นถือได้ว่าเป็นตัวชี้วัดว่าระบบนิเวศบริเวณนั้นมีความสมดุล หรืออุดมสมบูรณ์มากน้อยแค่ไหน อย่างแมลงชีปะขาวนั้นชอบอยู่ในบริเวณที่มีน้ำสะอาด พอถึงช่วงผสมพันธุ์จะบินออกมา เวลาเราขับรถไปบริเวณที่มีแหล่งน้ำสะอาดก็จะเจอชีปะขาวชนติดอยู่เต็มกระจกรถ แต่หากกระจกรถสะอาด แสดงให้เห็นว่าแหล่งน้ำบริเวณนั้นกำลังมีปัญหา เช่นเดียวกันประชากรแมลงปอ และผีเสื้อ […]

คุยเรื่องการออกแบบสวนเพลินพระโขนง กับ คุณสมเกียรติ โชควิจิตรกุล ภูมิสถาปนิก จาก LANDSCAPE COLLABORATION

19/07/2023

ชวนรู้จักพื้นที่สวนเพลินพระโขนง พื้นที่ราชพัสดุของกรมธนารักษ์ริมถนนสุขุมวิท ขนาด 2 ไร่ ใกล้สถานี BTS บางจากเพียง 180 เมตร ที่รอการพัฒนา กำลังจะมีการปรับปรุงให้กลายเป็น “สวนเพลินพระโขนง” พื้นที่สีเขียวแห่งใหม่ที่จะช่วยเพิ่มค่าเฉลี่ยพื้นที่สีเขียวของเขตพระโขนง ยกระดับคุณภาพชีวิต และตอบรับความต้องการของชาวชุมชนและผู้คนที่เข้ามาทำงานในย่าน กว่าจะมาเป็นเพลินพระโขนง ชาวย่านและสำนักงานเขตพระโขนงได้พยายามขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงพื้นที่ว่างนี้ให้กลายเป็นลานกีฬาและสวนสาธารณะกว่า 15 ปีที่ผ่านมา จนปลายปี 2565 ทางกรมธนารักษ์ได้อนุญาตให้ใช้ที่ราชพัสดุเพื่อพัฒนาเป็นพื้นที่สาธารณะ ขณะนี้ UDDC ร่วมกับกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตพระโขนง ทีมภูมิสถาปนิกจาก LANDSCAPE COLLABORATION และภาคีเครือข่าย ได้ดำเนินกระบวนการออกแบบอย่างมีส่วนร่วมร่วมกับชาวพระโขนง-บางนา เพื่อออกแบบให้พื้นที่นี้สอดคล้องกับความต้องการของชาวย่านพระโขนง-บางนา และชาวเมืองที่สัญจรผ่าน “โจทย์” สำคัญของการออกแบบสวนเพลินพระโขนง UDDC x LANDSCAPE COLLABORATION และภาคีเครือข่าย ได้รับโจทย์จากชาวย่านที่ต้องการพัฒนาให้พื้นที่นี้ เป็นพื้นที่สีเขียวที่สามารถทำกิจกรรมได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ พื้นที่นันทนาการพื้นที่ลานกีฬา และพื้นที่เรียนรู้นอกห้องเรียน โดยให้คำนึงถึงเรื่องของความปลอดภัย การปรับปรุงระบบระบายน้ำ และป้องกันมลภาวะ ฝุ่นควันจากท้องถนนเป็นหลัก พร้อมทั้ง 2 ความท้าทายสำคัญสำหรับการออกแบบสวนเพลินพระโขนง ดังนี้  (1) […]

เปลี่ยนพื้นที่รก “ร้าง” ให้เป็นพื้นที่ “เล่น” แห่งใหม่ของย่าน

30/06/2023

เปลี่ยนพื้นที่รก “ร้าง” ให้เป็นพื้นที่ “เล่น” แห่งใหม่ของย่าน ช่วงชีวิตวัยเด็ก ในยุค 80-90 ภารกิจของเราคือ การเล่น และการได้รับอนุญาตให้ออกนอกบ้าน ออกไปวิ่งเล่น ปั่นจักรยาน คือ สิ่งที่คุ้นชินและเห็นได้บ่อยครั้ง “พื้นที่เล่นอย่างไม่เป็นทางการ” เช่น ลานวัด ลานว่างกลางชุมชน สวนหลังบ้านของใครสักคน แทรกตัวอยู่ตามชุมชนและย่าน มาถึงตอนนี้พื้นที่เล่นเหล่านั้น ค่อยๆ เลือนหายไป พร้อม ๆ กับวิถีชีวิตวัยเด็กที่เปลี่ยนไป อยู่กับตัวเองมากขึ้น ออกนอกบ้านน้อยลง ท่องโลกกว้างผ่านโลกอินเตอร์เนต และเล่นเกมส์ออนไลน์ เปลี่ยนแก๊งโดดหนังยางในวันวานเป็นตี้ ROV ในวันนี้ ชีวิตในเมืองกับการเล่นที่เปลี่ยนไป: จากแก๊งโดดหนังยาง ถึงตี้ ROV ที่มาภาพ: MI PHAM การเล่น ถือเป็นกิจกรรมทางสังคมของเด็ก และถือเป็นกิจกรรมที่สำคัญของการใช้ชีวิตในสังคม ย่าน หรือชุมชน สำหรับเด็ก ช่วงชีวิตที่ได้มีโอกาสออกไปเล่นนอกบ้าน กับเหล่าเพื่อนๆ น่าจะเป็นช่วงเวลาที่มีความสุข สนุกสนาน และเป็นตัวเองที่สุด แต่นั่น น่าจะเป็นภาพจำของการเล่นเมื่อ 30-40 […]

เมืองยุงชุม: เมืองแห่งอาณาจักรยุง

23/06/2023

หากนึกถึงสัตว์ที่สร้างความรำคาญใจอันดับต้น ๆ ก็คงไม่พ้นเรื่องของ “ยุง” ที่ไม่ว่าจะอาศัยในสถานที่ต่าง ๆ หรือแม้เเต่บ้าน ที่พัก ก็ต้องเผชิญกับสัตว์เหล่านี้อยู่เสมอ ซึ่งยุงบางชนิดไม่เพียงแต่ก่อความรำคาญโดยการดูดกินเลือดคน และสัตว์เลี้ยงเป็นอาหารเท่านั้น แต่ยังเป็นพาหะนำโรคร้ายแรงต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นไข้มาลาเรีย ไข้เลือดออก ไข้สมองอับเสบ โรคเท้าช้าง ฯลฯ ทั้งนี้ โรคร้ายที่มี “ยุง” เป็นพาหะนำโรค นับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ของพื้นที่เขตเมือง โดยในปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการพูดถึงเรื่องไข้เลือดออกตลอดเวลา โดยเฉพาะพื้นที่กรุงเทพฯ ที่มีแนวโน้มได้รับผลกระทบที่เกิดจากยุงมากขึ้น จากข้อมูลการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรคสถานการณ์โรคไข้เลือดออก พบว่า กรุงเทพฯ ในปี 2565 มีผู้ป่วย 8,162 ราย และผู้เสียชีวิต 5 ราย คิดเป็นอัตราป่วยตายอัตราร้อยละ 0.06 ซึ่งมากกว่าปี 2564 ในช่วงเวลาเดียวกันถึง 5 เท่าเลยทีเดียว นอกจากนี้ ยังพบโรคอุบัติใหม่ “ไข้เลือดออกชิคุนกุนยา” หรือ โรคไข้ปวดข้อยุงลาย ซึ่งนับเป็นอีกหนึ่งโรคที่น่าจับตามอง เพราะในปี 2565 กรุงเทพฯ […]

‘Metaverse’ กับการพัฒนาเมือง

16/06/2023

โลกของเราได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย โดยได้มีการนำเทคโนโลยีมาพัฒนาสิ่งต่าง ๆ ที่อำนวยความสะดวกต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน อีกทั้งนำมาเพิ่มประสิทธิภาพ เพิ่มโอกาสในการทำสิ่งต่าง ๆ และในปัจจุบันนี้ยังคงมีกระแสเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามามากมายให้เราได้ตื่นตัวและติดตาม แต่ ณ ตอนนี้เทคโนโลยีที่กำลังมาแรงและได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากผู้คนหลาย ๆ คน ซึ่งนั่นก็คือ “Metaverse” Metaverse คืออะไร? Metaverse มาจากคำว่า Meta และคำว่า Verse มารวมกัน และได้ความหมายว่า “จักรวาลนฤมิต” โดยจุดเริ่มต้นของ Metaverse ได้ปรากฎเป็นครั้งแรกในปี 1992 จากหนังสือนิยายวิทยาศาสตร์เรื่อง “Snow Crash” ของ Neal Stephenson โดยหนังสือเล่มนี้เล่าเรื่องราวของโลกยุคอนาคต ที่มนุษย์และคอมพิวเตอร์ตอบโต้กันผ่านเทคโนโลยีและซอฟต์แวร์ต่าง ๆ โดยอาศัยอยู่ในโลกเสมือนจริงที่ล้ำสมัย เกินจินตนาการของ คนยุค ’90s (สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล, ม.ป.ป.) โดย Metaverse เป็นการผสานเทคโนโลยีแห่งโลกเสมือน ที่สร้างสิ่งแวดล้อมของโลกจริง ๆ และเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน เพื่อให้ผู้คนเข้ามามีปฏิสัมพันธ์และทำกิจกรรมร่วมกัน ผ่านตัวตนที่เป็นอวตาร (Avatar) […]

1 2 3 9