Insight



รู้จักเมือง รู้จักย่านกะดีจีน-คลองสาน

19/01/2023

ย่านกะดีจีน-คลองสาน ย่านเก่าแก่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ราชธานีสมัยกรุงธนบุรี ที่มีหลักฐานการตั้งถิ่นฐาน และการทำการค้าของผู้คนจากหลากหลายชาติพันธุ์เกิดเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม สู่ย่านที่มีความหลากหลายมากขึ้นทั้งวิถีชีวิต พื้นที่ และกิจกรรมไม่ว่าจะเป็น แหล่งที่พักอาศัย ชุมชนดั้งเดิม แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ที่อุดมไปด้วยมรดกวัฒนธรรม ที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ (Tangible and Intangible Cultural Heritage) รวมไปถึงมีการใช้งานเป็นสถานที่ราชการ สถานศึกษามากมาย เรียกได้ว่า มีศักยภาพในการเปิดเป็นย่านที่ส่งเสริมให้เข้ามาเรียนรู้ของเมือง เปรียบเสมือนพิพิธภัณฑ์มีชีวิต ที่ถือเป็นหนึ่งในพื้นที่ยุทธศาสตร์ของกรุงเทพมหานครในการพัฒนาเป็นพื้นที่อนุรักษ์มรดกวัฒนธรรม จากสินทรัพย์ทางมรดกวัฒนธรรมดั้งเดิมกว่า 121 รายการ วันนี้ The Urbanis จะพาผู้อ่านทุกท่านมาส่องข้อมูลการวิเคราะห์ในย่านประวัติศาสตร์แห่งนี้ เพื่อทำความเข้าใจและค้นพบศักยภาพของย่านที่เราอาจจะยังไม่เคยรู้มาก่อน เศรษฐกิจในย่าน เศรษฐกิจภายในย่านกะดีจีน-คลองสาน มีการกระจุกตัวอยู่ที่บริเวณถนนใหญ่ เช่น ถนนอิสรภาพ และบริเวณท่าดินแดง ที่ใกล้กับท่าเรือข้ามฟากไปยังฝั่งพระนคร โดยเศรษฐกิจภายในย่านส่วนใหญ่จะเป็น ธุรกิจขนาดเล็กที่ตอบสนองความต้องการของคนในย่านเป็นหลัก ยังไม่มีการเชื่อมโยงเข้ากับเศรษฐกิจฐานความรู้ รวมถึงยังไม่ดึงดูดให้คน ภายนอกเข้ามาจับจ่ายใช้สอย พื้นที่สีเขียวในย่าน  จากข้อมูลพบว่าพื้นที่สีเขียวต่อหัวประชากรในย่านเท่ากับ 3.3 ตารางเมตร/คน ซึ่งต่ํากว่ามาตราฐานองค์การอนามัยโลกที่ระบุว่า ค่าเฉลี่ยอัตราพื้นที่สีเขียวต่อจํานวนประชากรควรอยู่ที่ 9 ตารางเมตรต่อคนหรือมากกว่า อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการเพิ่มพื้นที่สีเขียวสามารถเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น จากการเปลี่ยนพื้นที่รกร้างสู่สวนสาธารณะที่สามารถใช้งานได้จริงอย่าง […]

อ่านเมืองร้อยเอ็ดด้วยข้อมูล: ฟื้นใจเมืองร้อยเอ็ดด้วยเมืองเดินได้เมืองเดินดี

21/10/2022

เมืองร้อยเอ็ด เคยเป็นเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรืองในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งรู้จักกันในชื่อ “สาเกตนคร” หรือ เมืองร้อยเอ็ดประตู อันเนื่องมาจากเป็นเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรื่องโดยที่มีเมืองขึ้นจํานวนมาก ชื่อของเมืองร้อยเอ็ดนั้นได้มาจากเป็นเมืองที่มีประตูล้อมรอบเป็นกําแพง การตั้งชื่อเมืองให้มีความใหญ่เกินเพื่อให้เป็นสิริมงคล ถือเป็นเรื่องธรรมดาของการตั้งชื่อเมืองโบราณ ในบทความนี้ทีมงาน TheUrbanis จะพาทุกท่านมาทำความรู้จักเมืองร้อยเอ็ดด้วยการเล่าเรื่องผ่านข้อมูล ว่าเหตุใดเมืองร้อยเอ็ดจึงมีศักยภาพเป็น “เมืองเดินได้-เมืองเดินดี” ซึ่งบทความนี้เป็นผลการศึกษาบางส่วนจากโครงการ ฟื้นใจเมืองร้อยเอ็ดด้วยเมืองเดินได้เมืองเดินดี ภายใต้ชุดโครงการห้องปฎิบัติการเมืองเดินได้เมืองเดินดีประเทศไทย (Good Walk Lab Thailand) เมืองเก่าที่ถูกออกแบบและวางผังมาแต่โบราณ เมืองเก่าร้อยเอ็ดมีลักษณะโดดเด่นคือเป็นชุมชนที่มีคูน้ำคันดินล้อมรอบซึ่งยังคงหลงเหลือร่องรอยอย่างชัดเจนในปัจจุบัน ทำให้สามารถจะกำหนดขอบเขตของวัฒนธรรมในสมัยโบราณได้ไม่ยากนัก สัญนิษฐานว่าภายในเมืองเก่าอาจมีร่องรอยการอยู่อาศัยของมนุษย์ในอดีต ตั้งแต่ช่วงก่อนประวัติศาสตร์ และน่าจะมีการใช้พื้นที่นี้มากขึ้นในช่วงสมัยทวารวดี ซึ่งอาจมีการขุดคูน้ำคันดินขึ้น เพื่อประโยชน์ในการจัดการน้ำและการอุปโภค-บริโภค ร่องรอยหลักฐานของศิลปะทวารวดีนั้น พบกระจายอยู่ตามวัดหลายแห่ง คือ ใบเสมาหินทราย ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของวัฒนธรรมทวารวดีในภาคอีสาน กำหนดอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 – 16 หรือราว ปี พ.ศ. 1100 – 1500.เมืองร้อยเอ็ด มีกำแพงเมือง–คูเมือง ลักษณะเป็นคูน้ำคันดินในผังรูปสี่เหลี่ยมมุมมนล้อมรอบ ขนาด 1,700 x 1,800 เมตร โดยคูเมืองอยู่ด้านนอก และด้านในมีคันดินก่อสูงเป็นกำแพงเมือง อย่างไรก็ตาม […]

อ่านเมืองลำพูนด้วยข้อมูล: ฟื้นใจเมืองลำพูนด้วยเมืองเดินได้เมืองเดินดี

27/07/2022

เมืองลำพูน หรือที่รู้จักกันในท้องถิ่นว่า “เมืองหละปูน” เมืองขนาดเล็ก ที่มีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนาน รู้จักกันชื่อในนาม “นครหริภุญชัย” ซึ่งถือเป็นเมืองที่เก่าแก่ที่สุดของภาคเหนือ อายุราว 1,400 ปี อาณาจักรหริภุญชัย รุ่งเรืองในยุคพุทธศตวรรษที่ 15 ในฐานะราชธานีแห่งแรกของภาคเหนือ เป็นรากฐานความเจริญรุ่งเรืองในทุกด้านต่ออาณาจักรล้านนา ทั้งด้านเศรษฐกิจ การทหาร ประเพณี วัฒนธรรม และเป็นรากฐานทางด้านภาษา โดยมีต้นแบบจากวัฒนธรรมทวารวดีทางฝั่งลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เมืองลำพูนจึงถือเป็นเมืองที่มีคุณค่าทั้งในเชิงประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรมที่ถูกสืบทอดมาอย่างยาวนาน จวบจนถึงปัจจุบัน ในบทความนี้ทีมงาน The Urbanis จะพาทุกท่านมาทำความรู้จักเมืองลำพูนด้วยการเล่าเรื่องผ่านข้อมูล ว่าเหตุใดเมืองลำพูนจึงมีศักยภาพเป็น “เมืองเดินได้-เมืองเดินดี” ซึ่งบทความนี้เป็นผลการศึกษาบางส่วนจากโครงการ ฟื้นใจเมืองลำพูนด้วยเมืองเดินได้เมืองเดินดี ภายใต้ชุดโครงการห้องปฎิบัติการเมืองเดินได้เมืองเดินดีประเทศไทย (Good Walk Lab Thailand) เวียงหละปูน ภายหลังการเติบโตของเมืองลำพูน ถูกขับเคลื่อนด้วยเศรษฐกิจฐานอุตสาหกรรม ซึ่งเข้ามาทำให้มีการขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะบริเวณพื้นที่โดยรอบนิคมอุตสาหกรรม ประกอบกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ซึ่งเชื่อมโยงไปยังเมืองเชียงใหม่ ซึ่งเป็นศูนย์กลางระดับภูมิภาคในปัจจุบัน แต่ทว่า เมืองลำพูนในฐานะ “เมืองแฝดเชียงใหม่-ลำพูน” ยังคงความมีอัตลักษณ์ของพื้นที่ วิถีชีวิตของผู้คน และวัฒนธรรมที่มีความเฉพาะตัว กอปรกับเมืองเก่าลำพูน ถือเป็น 1 […]

พระโขนง-บางนา ย่านโอกาสแห่งใหม่ใกล้ศูนย์กลางเมือง

20/07/2022

​จบกันไปแล้วกว่า 1 เดือนกับงานนำเสนอสาธารณะพระโขนง-บางนา 2040: อนาคต ความฝัน ย่านของเรา ที่ทางศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านยุทธศาสตร์เมือง (UddC-CEUS) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้นำเสนอถึงยุทธศาสตร์ โครงการพัฒนา และแนวทางความร่วมมือสำหรับการพัฒนาขับเคลื่อนย่านพระโขนง-บางนา วันนี้ The Urbanis จึงอยากพาผู้อ่านทุกท่านมาเก็บตกเนื้อหาการนำเสนอที่ผ่านมาเสียหน่อย โดยในบทความนี้ จะขอนำเสนอเนื้อหาการบรรยายช่วงต้น ในประเด็นชิงพื้นที่ และภาพอนาคตของย่านพระโขนง-บางนา โดยผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล อาจารย์ประจำภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่จะทำให้ทุกท่านรู้จักย่านพระโขนง-บางนามากขึ้น กรุงเทพมหานคร ย่านศักยภาพ และการพัฒนา ​ขณะนี้กรุงเทพมหานครของเราได้เดินทางมาถึงครึ่งหนึ่งของวิสัยทัศน์การพัฒนากรุงเทพฯ 20 ปี เพื่อมุ่งสู่การเป็น “มหานครแห่งเอเชีย” เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมืองที่มีประชากรตามทะเบียนกว่า 5.5 ล้านคน และ 15 ล้านคนหากนับถือรวมประชาการแฝงในพื้นที่ปริมณฑลร่วมด้วย มหานครแห่งนี้จึงมีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องพัฒนาพื้นที่โดยรอบให้สามารถรองรับการขยายตัวของเมือง ตลอดจนกระจายกิจกรรมทางเศรษฐกิจออกสู่พื้นที่โดยรอบเพื่อลดความแออัดของเมือง นี่จึงเป็นสาเหตุที่พื้นที่ย่านทั่วทั้งกรุงเทพฯ จะต้องถูกศึกษา และวางยุทธศาสตร์ในการพัฒนาอย่างจริงจัง “ย่านพระโขนง-บางนาในอดีตเรียกได้ว่าเป็นย่านชายขอบ ย่านที่อยู่อาศัย และย่านอุตสาหกรรมที่ห่างไกล แต่สถานการณ์กำลังจะเปลี่ยนไปเพราะย่านชายขอบแห่งนี้กำลังที่จะพลิกบทบาทของตนเองเป็นเกตเวย์ของกรุงเทพ” ประโยคนี้คือใจความสำคัญซึ่งผศ.ดร. นิรมล เสรีสกุล […]

ขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ: ฮาร์ดแวร์ (Where?) ที่มีไม่ครบ

18/07/2022

กรุงเทพฯ เมืองใหญ่ที่ขึ้นชื่อเรื่องรถติดจนกลายเป็นภาพจำของทั้งต่อผู้อยู่อาศัยและนักท่องเที่ยว สภาพการจราจรที่สาหัส ส่งผลเสียต่อคุณภาพชีวิตคนกรุงมาอย่างยาวนาน โดย TomTom Traffic Index ระบุว่า ในปี 2562 กรุงเทพเป็นเมืองที่มีสภาพการจราจรติดขัดมากเป็นอันดับ 11 ของโลก และเป็นอันดับ 3 ของอาเซียน รองจากกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ และกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างก็พยายามแก้ปัญหานี้มาทุกยุคสมัย เพื่อหวังจะยกระดับคุณภาพชีวิตด้านการเดินทางสัญจรในเมือง และไม่ต้องเจอกับปัญหารถติดอีกต่อไป ทั้งการตัดถนนสายใหม่ ขยายถนนสายเดิม หรือการพัฒนาขนส่งสาธารณะ ทำให้กรุงเทพฯ และปริมณฑล เป็นเมืองที่มีรูปแบบการเดินทางให้เลือกหลากหลาย ทั้งขนส่งสาธารณะระบบหลัก (mass transport) เช่น รถไฟฟ้า รถเมล์ และเรือ และขนส่งสาธารณะระบบรอง (feeder) เช่น รถตู้ รถสองแถว แท็กซี่ ตุ๊กตุ๊ก และวินมอเตอร์ไซค์ ซึ่งในบทความนี้ จะขอกล่าวถึงเฉพาะขนส่งสาธารณะระบบหลักหรือขนส่งมวลชน ซึ่งสามารถขนส่งคนได้ครั้งละมาก ๆ มีการกำหนดเส้นทาง จุดรับ-ส่ง เวลาให้บริการ และค่าโดยสารที่แน่นอน นับตั้งแต่รถไฟฟ้า BTS […]

เมื่อเจียงใหม่เฮาต้องก๋านขนส่งสาธารณะ: “บ่ายเดือนพฤษภาที่ฝนตกหนักในวันเปิดภาคเรียน”

06/07/2022

กลายเป็นเรื่องสยอง 1 บรรทัดที่ชาวเชียงใหม่สัมผัสถึงบรรยากาศรถติดยืดยาวในวันเปิดเรียนวันแรกที่ฝนโปรยปรายลงมา กับสภาพจราจรที่เลวร้ายนานหลายชั่วโมง “รถติดในเมืองเชียงใหม่” กลายเป็นความปกติใหม่ของเมือง เป็นภาพจำของทั้งคนอยู่และคนเที่ยว ยิ่งในช่วงเปิดภาคเรียนของน้อง ๆ นักเรียน ประกอบกับการเป็นช่วงฤดูฝนตกที่มีฝนกระหน่ำลงมา ทำให้ทัศนวิสัยในการขับขี่ลดลง ผู้คนต้องระมัดระวังในการใช้รถใช้ถนนเป็นพิเศษ ก็คงต้องเจอกับสภาพปัญหาการจราจรที่ติดขัดขั้นสุด โดยเฉพาะบริเวณแยกรินคำ ถนนเส้นซุปเปอร์ไฮเวย์ขาออก เชื่อมไปยังเเยกศาลเด็ก และเส้นถนนแก้วนวรัฐ แต่ทำไมต้องเป็น “แยกศาลเด็กและถนนแก้วนวรัฐ” ที่ขึ้นชื่อเรื่องรถติด ติดจนกลายเป็นจุดเช็คอินยอดนิยมน่าขำขัน อมยิ้ม แบบเป็นตลกร้าย พอ ๆ กับ แยกประชานุกุล หรือ แยกเเคราย ในมหานครกรุงเทพฯ ความจริงคำถามนี้ คงง่ายมาก ๆ หากคนเป็นคนเชียงใหม่หรืออยู่อาศัยในเมืองเชียงใหม่ นั่นเป็นเพราะเส้นทางแยกศาลเด็กเชื่อมกับถนนเเก้วนวรัฐนี้ ถือเป็น “ถนนรัศมี” ที่ทำหน้าที่นำผู้คนเข้าออกเมืองที่สำคัญเส้นทางหนึ่ง ที่ถูกใช้เป็นเส้นทางการเดินทางจากบ้านที่พักอาศัยบริเวณชานเมืองและอำเภอใกล้เคียงเข้าสู่พื้นที่ใจกลางเมืองเชียงใหม่ผ่านเส้นทางสะพานเนาวรัฐ-ถนนท่าแพ และอีกหนึ่งความสำคัญของถนนเเก้วนวรัฐ คือ เป็นเส้นทางของจุดหมายปลายทางของการเดินทางไปโรงเรียนชั้นนำในเชียงใหม่หลายแห่งที่ตั้งอยู่บนถนนเส้นนี้ บทความนี้ทีมงาน The UrbanIs จะพาทุกท่านไปสำรวจประเด็นหาการเดินทาง การจราจรที่ติดขัด และการเรียกร้องระบบขนส่งสาธารณะในเมืองเชียงใหม่ พร้อมจำลองการวิเคราะห์ว่า หากเมืองเชียงใหม่มีระบบขนส่งสาธารณะจริง ๆ จะครอบคลุมไปถึงตรงไหนกันบ้าง “บ่ายเดือนพฤษภาที่ฝนตกหนักในวันเปิดภาคเรียน” หากดูการกระจุกตัวของโรงเรียนขนาดใหญ่ในเมืองเชียงใหม่จะพบว่า […]

“เดินสร้างย่าน” สร้างย่านพระโขนง-บางนา ด้วยเมืองเดินได้

03/06/2022

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า การที่มหานครกรุงเทพเป็นเมืองที่พึ่งพารถยนต์ ส่งผลเสียหลายด้านไม่ว่าจะเป็นต้นทุนด้านเวลาและค่าเดินทางที่สูง รวมทั้งปัญหาสุขภาพ จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พ.ศ. 2556 พบว่า ผู้คนใช้จ่ายไปกับค่าเดินทางเฉลี่ยต่อครัวเรือนประมาณร้อยละ 20 ของรายจ่ายทั้งหมด หรือประมาณ 6,500 บาทต่อเดือน ซึ่งดูมีแนวโน้มที่ดีขึ้น หากเปรียบเทียบกับ พ.ศ. 2564 (ในช่วง 6 เดือนแรก) ที่ใช้จ่ายด้านค่าเดินทางเฉลี่ย ต่อครัวเรือนลดลงอยู่ที่ร้อยละ 16 หรือประมาณ 5,200 บาทต่อเดือน (สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2564) ค่าเดินทางนี้หมายรวมถึง ค่าซื้อยานพาหนะ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับยานพาหนะ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง และค่าเดินทางอื่น ๆ แต่หากเปรียบเทียบกับประเทศที่มี ระบบขนส่งสาธารณะที่มีประสิทธิภาพ ผู้คนจะมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางเพียงแค่ ร้อยละ 10 ของรายได้ทั้งหมด นอกจากนี้ การเดินทางด้วยระบบรถไฟฟ้าก็ยังมีราคาแพง จากการสำรวจค่าเดินทางของระบบขนส่งประเภทรางแบบรายเดือนของคนกรุงเทพฯ โดย Numbeo (2015) พบว่า คนกรุงเทพฯ ใช้จ่ายไปกับตั๋วเดือนคิดเป็นสัดส่วนรายได้ประมาณร้อยละ 4 ในขณะที่ประเทศอื่น ๆ กลับมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 3 […]

เศรษฐกิจใหม่ เปลี่ยนเมือง ขับเคลื่อนโลก

30/05/2022

ระบบเศรษฐกิจของเมือง ถือเป็นหนึ่งตัวชี้วัดระดับความเจริญและการเติบโตของเมืองได้ โดยดูจากระบบเศรษฐกิจของเมืองว่ามีฐานเศรษฐกิจในประเภทไหน เช่นเดียวกับการพิจารณาโครงสร้างและจำนวนประชากร ดังนั้น วิธีการทำความเข้าใจเศรษฐกิจของเมืองหรือม้องถิ่น จะทำให้เราสามารถเข้าใจเมือง เข้าใจเมือง เข้าใจย่านของเรามากขึ้น โดยทั่วไป นักผังเมืองหรือนักวางแผน ในการเข้าใจโครงสร้างเศรษฐกิจของเมือง เราจะดูจาก ข้อมูลการจ้างงาน หรือรายได้ ซึ่งจำแนกจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจ หรือกิจกรรมการผลิต ที่แยกออกเป็นหลายสาขา หรือที่รู้จักกันดี อย่างข้อมูล ผลิตภัณฑ์มวลรวม ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือที่เรียกว่า สภาพัฒน์ ซึ่งจำแนกกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามประเภทฐานอุตสาหกรรม รวมทั้งหมด 16 สาขา นอกจากนี้ หากพิจารณาในเชิงทำเลที่ตั้ง เราสามารถพิจารณาจากขนาดและจำนวนนิติบุคคล ซึ่งขึ้นทะเบียนธุรกิจ ซึ่งแยกประเภทในรูปแบบเดียวกันนี้ ปัจจุบันการจัดประเภทธุรกิจนิติบุคคล จำนวน 21 หมวดใหญ่ (จากเดิมกำหนดไว้ที่ 17 หมวดตามประเภทมาตรฐานอุตสาหกรรม) บทความนี้ ทีมงาน The UrbanIs และ เพจ ร่วมสร้างย่านพระโขนง-บางนา จะพาทุกท่านสำรวจเศรษฐกิจมหานครกรุงเทพและย่านพระโขนง-บางนา กันว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรกันบ้าง FIRE STEM TAMI3 กลุ่มเศรษฐกิจชั้นแนวหน้า อยู่ที่ไหนของ มหานครกรุงเทพ […]

จักรวาลการค้าปลีกเมืองเชียงใหม่ กับบทบาทในการเปลี่ยนแปลงเมือง

19/05/2022

หลังการปิดกิจการ(ชั่วคราว) แบบสายฟ้าเเลบของห้างดังในเมืองเชียงใหม่ ยิ่งเป็นตัวตอกย้ำสถานการณ์ด้านธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่ (big box retail) ได้อย่างชัดเจน ปรากฏการณ์นี้ไม่ได้เกิดขึ้นในเมืองเชียงใหม่เท่านั้น หากแต่ยังปรากฏให้เห็นในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพมหานคร และเมืองในต่างประเทศอีกด้วย อย่างไรก็ตามปรากฏการณ์ของการลดขนาดของกิจการค้าปลีกขนาดใหญ่นี้ ความจริงแล้วเริ่มมีให้เห็นได้แต่ช่วงปี 2550 ซึ่งมีการลดขนาด(down size) ของกิจการค้าปลีกโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกลุ่มธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ (modern trade) ซึ่งมีการเปิดประเภทธุรกิจค้าปลีกประเภทใหม่ ๆ ที่มีขนาดเล็กลง ผนวกกับการเข้ามาของกลุ่มร้านสะดวกซื้อที่กระจายเป็นดอกเห็ดทั่วเมือง จนเป็นวาระของธุรกิจค้าปลีกดั้งเดิม ร้านโชห่วยต่าง ๆ ที่ต้องหาหนทางของการอยู่รอด ไม่เว้นในเมืองเชียงใหม่ บทความนี้ทีมงาน TheUrbanIs จะชวนทุกท่านมาสำรวจจักรวาลการค้าปลีกของเมืองเชียงใหม่ ซึ่งมีรูปแบบและพัฒนาการเปลี่ยนแปลงตามบริบททางเศรษฐกิจ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของเมือง ผ่านการเปลี่ยนแปลงธุรกิจการค้าปลีกสมัยใหม่ ทั้งกิจการค้าปลีกขนาดใหญ่ กลุ่มธุรกิจร้านสะดวกซื้อ อันเป็นกระแสธารการพัฒนาเศรษฐกิจที่สำคัญของเมืองเชียงใหม่ จักรวาลค้าปลีกในเมืองเชียงใหม่ ธุรกิจการค้าปลีกกับการพัฒนาเมืองนั้นเป็นของคู่กัน เพราะถือเป็นฟันเฟืองขับเคลื่อนเศรษฐกิจระดับท้องถิ่นนั้นๆ โดยทั่วไปพัฒนาการของการค้าปลีกในเมือง สามารถแบ่งได้เป็น 3 ช่วง คือช่วงแรกของภูมิทัศน์การค้าปลีกหรือพื้นที่การค้าปลีกของเมือง จะประกอบไปด้วยร้านค้าปลีกโดดๆ เป็นร้าน ๆ ไปร้านค้าเหล่านี้มักกระจุกตัวอยู่บริเวณรอบ ๆ ตลาดสดใจกลางเมือง ขั้นที่ 2 ร้านค้าปลีกในเมืองจะเพิ่มจำนวนขึ้น ตามการเพิ่มขึ้นของประชากร […]

“พื้นที่ส่งเสริมการเรียนรู้” ของย่านพระโขนง-บางนา อยู่ที่ไหน? ย่านศักยภาพ แต่ขาดการรับรู้และเข้าถึง

11/05/2022

การเรียนรู้ตลอดชีวิต และการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของย่านและเมือง ถือเป็นโจทย์สำคัญอีกโจทย์หนึ่งในการพัฒนาย่าน เมือง และประเทศ ที่จำเป็นจะต้องพัฒนาทั้งในด้านปริมาณ จำนวนและการกระจาย รวมถึงด้านคุณภาพของแต่ละพื้นที่ ที่จะช่วยสร้างรากฐานให้กับชาวย่านและชาวเมือง สามารถตอบรับกับความต้องการของสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้และการเปลี่ยนแปลงในอนาคต สร้างโอกาสใหม่ ๆ รวมถึงเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจ หากมองที่ย่านพระโขนง-บางนา จะเห็นได้ว่า ย่านนี้มีพื้นที่ส่งเสริมการเรียนรู้อยู่ถึง 324 แห่ง เข้าถึงได้ในระยะทางเฉลี่ยประมาณ 350 เมตร และบริเวณที่ห่างไกลจากพื้นที่สิ่งเสริมการเรียนรู้ของย่านมากที่สุด มีระยะการเข้าถึงประมาณ 4 กิโลเมตร โดยสามารถแบ่งพื้นที่ส่งเสริมการเรียนรู้ได้ 2 ประเภทหลัก คือ 1. การเรียนรู้ในระบบหรือสถานศึกษา คือ การเรียนรู้ตามหลักสูตรการเรียนการสอนที่จัดขึ้นโดยสถาบันการศึกษา เช่น โรงเรียน วิทยาลัย และมหาวิทยาลัย เป็นต้น ย่านพระโขนง-บางนา มีพื้นที่ประเภทนี้จำนวน 116 แห่ง เป็นศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 37 แห่ง โรงเรียนทั่วไป 63 แห่ง โรงเรียนนานาชาติ 8 แห่ง และสถาบันอาชีวะศึกษา 8 แห่ง เข้าถึงได้ในระยะทางเฉลี่ยประมาณ […]

1 2 3 4