Public Realm



บทเรียนฟื้นฟูเมืองลียง : ส่วนผสมของการวางแผนและการออกแบบที่ดี ภายใต้กลไกจัดการที่เหมาะสม

14/05/2021

หลายครั้งที่อาจารย์นิรมล (ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง) มักหยิบยกกรณีศึกษา Lyon Part-Dieu หรือ โครงการพัฒนาย่านศูนย์กลางเศรษฐกิจใจกลางเมืองลียง (Lyon) ประเทศฝรั่งเศส มาแลกเปลี่ยนในชั้นเรียน อาจารย์นิรมลจะเน้นย้ำเสมอว่า Lyon Part-Dieu คือหนึ่งในโครงการฟื้นฟูเมืองที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก จึงนับเป็นโอกาสที่ดีสำหรับโครงการบรรยายสาธารณะ MUS x UddC International Lecture Series 2021 ที่ได้รับเกียรติจากสองผู้เชี่ยวชาญในโครงการ Lyon Part-Dieu อย่าง Mr. François Decoster ผู้ก่อตั้ง Founder of I’AUC Architectes Urbanistes ชาวฝรั่งเศส และ คุณพีรวิชญ์ ขันติสุข ที่ปรึกษา EUPOP ASEAN ณ ประเทศเบลเยี่ยม ร่วมบรรยายเมื่อวันก่อน การบรรยาย “Lyon Part-Dieu, Contemporary Metropolitan Hub” โดย François […]

จัดการเมืองอย่างไรก่อนเตียงโรงพยาบาลไม่เพียงพอ ชวนมองฉากทัศน์เมืองในอนาคตหากมีโควิดระลอก 4 กับ ผศ.คมกริช ธนะเพทย์

05/05/2021

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัส 2019 ระลอกที่ 3 ในประเทศไทย ได้ส่งผลให้เกิดการระบาดครั้งใหญ่ในพื้นที่ทั่วประเทศไทยอย่างรวดเร็วจนน่าตกใจ ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมีผู้ติดเชื้อรวมทะลุกว่า 1 แสนคน แน่นอนว่าสถานการณ์ดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อเมืองโดยเฉพาะวิถีชีวิตของคนเมือง การประกอบอาชีพ กิจการร้านค้าต่าง ๆ มากมายทั่วประเทศ ในหลายพื้นที่ที่เป็น “คลัสเตอร์” การแพร่ระบาด เมื่อมีผู้ติดเชื้อมากยิ่งขึ้น แน่นอนว่าส่งผลกระทบให้โรงพยาบาลอาจมีเตียงไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นวันละ 1,000-2,000 คนหรือมากกว่านั้น จึงนำมาสู่การตั้งโรงพยาบาลสนาม ที่กล่าวได้ว่า อาจเป็นความหวังในการจัดการกับจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในเขตเมือง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คมกริช ธนะเพทย์ ประธานหลักสูตรสถาปัตยกรรมผังเมือง และผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชวนมองฉากทัศน์การจัดการเมืองในภาวะโรคระบาด โดยย้ำว่าต้องมองถึงการระบาดระลอกที่ 4 ตั้งแต่ยังมีการระบาดระลอกที่ 3 ก่อนที่เตียงผู้ป่วยจะไม่เพียงพอต่อความต้องการ และสัปเหร่อไม่พอจะทำศพ! หมายเหตุ : สัมภาษณ์เมื่อปลายเดือนเมษายน 2564 ปัจจัยและสาเหตุกับจำนวนผู้ติดเชื้ออย่างรวดเร็วในประเทศไทย   จากที่ติดตามดูสถานการณ์การแพร่ระบาดระลอกที่ 3 ในครั้งนี้ ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา นับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน […]

Rattanakosin Henge มุมมองอัสดงสาธารณะจากเกาะรัตนโกสินทร์

16/04/2021

ภาพปกโดย donamtykl “There is nothing more musical than a sunset.” – Claude Debussy สโตนเฮนจ์ ไม่ใช่ “เฮนจ์” เดียวในโลก หากหลายเมืองทั่วโลกล้วนมีเฮนจ์เป็นของตัวเอง เพื่อส่งเสริมสุนทรียะ ความโรแมนติก และความคึกคักทางเศรษฐกิจ แล้วย่านท่องเที่ยวอันดับต้นของไทยอย่างย่านรัตนโกสินทร์จะมีเฮนจ์ได้บ้างหรือไม่? “Henge” มาจากคำว่า สโตนเฮนจ์ (stonehenge) 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ด้านสถาปัตยกรรมของโลก ที่มีความสัมพันธ์โดยตรงกับการเดินทางของดวงอาทิตย์ ซึ่งในอดีตเคยใช้เป็นเครื่องคำนวนปฎิทินดาราศาสตร์ แต่ปัจจุบัน henge เป็นการสร้างความจดจำของพื้นที่เชิงวัน เวลา และสถานที่ อีกทั้งยังเป็น destination ด้านการท่องเที่ยวที่แต่ละเมืองใช้เป็นจุดขายอีกด้วย เช่น Manhattan Henge เมืองแมนฮัตตัน สหรัฐฯ มีรูปแบบผังเมืองเป็นแบบกริด (grid plan) ซึ่งเป็นสันฐานเมืองที่มีโอกาสเกิด henge ได้มากที่สุด ที่เป็นเช่นนี้พราะองศาของถนนจะต้องตรงกับองศาการตกของดวงอาทิตย์พอดี ประกอบกับการมี องค์ประกอบของเมือง (urban […]

ส่องเมืองอาเซียนจากหนังสารคดี “มะละกา-สีหนุวิลล์” ผลจากการพัฒนาขนาดใหญ่ของภาครัฐ

19/02/2021

เมืองเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา แม้อาจจะไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงใหญ่โตในช่วงระยะเวลาสั้นๆ แต่เมื่อมองภาพรวมจะเห็นได้ว่า เมืองที่เราอยู่ค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ โดยที่เราอาจจะค่อยๆ ปรับตัวไปจึงไม่ทันรับรู้ได้ว่าสิ่งที่เป็นอยู่คือผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ความเปลี่ยนแปลงต่อเมืองหลายครั้งมาจากการพัฒนาของภาครัฐ ที่พยายามยกเอาผลกระทบเชิงบวก เช่น การสร้างรายได้ การปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์ ความทันสมัย เข้ามาเป็นตัวโน้มน้าวใจผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง แต่สิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ คือ ทุกการเปลี่ยนแปลงย่อมนำมาซึ่งผลกระทบทั้งแง่บวกและแง่ลบ เพียงแต่ผลกระทบในแง่ลบอาจไม่สามารถวัดได้จากการกวาดตาเพียงครั้งเดียว แต่ต้องอาศัยระยะเวลาในการสังเกต ซึ่งจนกว่าจะสรุปออกมาได้ก็อาจจะสายเกินไป ลองดูตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงในเมืองทั้ง 3 เมืองในอาเซียน ที่อาจสะท้อนให้เห็นว่าบางครั้งสิ่งที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาเมืองและสภาพแวดล้อมคือการรับฟังซึ่งกันและกันของทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และคนในพื้นที่ เพื่อนำไปสู่สมดุลของการพัฒนาทั้งเชิงเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตไปจนถึงความเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนของเมืองที่เราอยู่อาศัย หมายเหตุ: เรียบเรียงเนื้อหาจากเวทีเสวนาโต๊ะกลม “การเปลี่ยนแปลงของเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: อะไรคือบทบาทของพลเมือง” (Urban Changes in Southest Asia: what is the citizen’s role?) และภาพยนตรสารคดีซึ่งฉายบางส่วนในกิจกรรมค่ำคืนแห่งกรุงเทพฯ Bangkok’s Night of Idea ณ สมาคมฝรั่งเศสกรุงเทพ วันที่ 28 มกราคม 2563 เมืองยะโฮร์และเมืองมะละกา, มาเลเซีย มาเลเซียเป็นประเทศที่รายล้อมไปด้วยทะเล […]

ห้องสมุดที่ไม่ใช่ “ห้องเงียบ” แต่คือพื้นที่สร้างนิเวศการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของพลเมือง

15/02/2021

คุณเข้าห้องสมุดครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่…ยังจำได้ไหม? อะไร ๆ ก็เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในยุคดิจิทัล อย่างการค้นคว้าหาความรู้ ทุกวันนี้เราสามารถเข้าถึงองค์ความรู้มหาศาลทุกที่ทุกเวลา ผ่านทุกอุปกรณ์การสื่อสาร ห้องสมุดและหนังสือนั้นอาจจะเป็นสิ่งที่ใครหลายคนมองข้ามมันไป แน่นอนการเข้าถึงข้อมูลความรู้ในวันนี้ไม่ใช่ของฟรี กว่าแต่ละคนจะมีสมาร์ทโฟนหรือคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัย ล้วนต้องอาศัยต้นทุนและปัจจัยหลากหลายด้าน อีกด้านหนึ่งถ้าหากตั้งคำถามว่าจะเป็นอย่างไรหรือหากคนในสังคมสามารถเข้าถึงทรัพยากรความรู้เหล่านี้ โดยที่แต่ละคนมีค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ การสร้างห้องสมุดสาธารณะเป็นอีกหนึ่งคำตอบสำหรับการจัดสรรพื้นที่แห่งการเรียนรู้ให้กับคนในสังคมได้เข้ามาใช้ประโยชน์ มาเข้าถึงองค์ความรู้ แม้การมาใช้บริการห้องสมุดจะมีค่าเดินทาง และยังไม่ได้รวมถึงค่าเสียโอกาสที่ต้องเสียไป แต่เมื่อพิจารณาดี ๆ จะพบว่าเพราะหนังสือและความรู้ทำให้คนเราดีขึ้น การมีห้องสมุดสำหรับทุกคนย่อมส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของคนในสังคมให้ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ประเทศที่ให้ความสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างฟินแลนด์ (Finland) และออสเตรเลีย (Australia) หอสมุดสาธารณะคือพื้นที่สำคัญในการสร้างต้นทุนของสังคมสำหรับชาวเมือง ห้องสมุดของทั้งสองประเทศคือพื้นที่ที่เป็นมากกว่าสถานที่ที่มีไว้เพื่อนั่งอ่านหนังสือและพออ่านจบก็เดินทางกลับบ้าน แต่คือโรงงานที่สร้างความเป็นพลเมืองให้กับคนในสังคม เป็น “พื้นที่” สำหรับการเรียนรู้และการใช้ชีวิตที่มีไว้ให้ทุกคน ฟินแลนด์ หนึ่งในประเทศที่มั่งคั่งที่สุดในยุโรป และขึ้นชื่อเรื่องความเป็นเลิศด้านการรู้หนังสือ การมีหอสมุดกลางแห่งใหม่ของเมืองเฮลซิงกิ (Helsinki) ที่มีชื่อเรียกว่า Oodi ซึ่งในภาษาอังกฤษคือ ode ที่แปลบทกวีสรรเสริญเปรียบเหมือนโมเมนต์ขณะเหยียบดวงจันทร์ของชาวเมืองเฮลซิงกิ เปิดทำการเดือนธันวาคม 2018 ในวาระครบรอบ 100 ปีการประกาศเอกราชของฟินแลนด์ ช่วงแรกที่เปิดให้ใช้บริการมีผู้สนใจใช้งานรวมกว่า 420,000 คน หรือ 2 ใน 3 ของชาวเมืองทั้งหมด Oodi […]

บทถอดเรียนการส่งเสริมบทบาทพลเมืองต่อการพัฒนาฟื้นฟูเมือง กรณีศึกษา กรุงเทพ-ปารีส

03/02/2021

เพราะเมืองคือพื้นที่ซับซ้อน… มาไขความซับซ้อนจากเวทีเสวนา “การเปลี่ยนแปลงของเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: อะไรคือบทบาทของพลเมือง” (Urban Changes in Southest Asia: what is the citizen’s role?) โดย ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS)  และผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขา ณ สมาคมฝรั่งเศสกรุงเทพ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม 2564 สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย สมาคมฝรั่งเศสกรุงเทพ และ ศูนย์วิจัยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ร่วมสมัย (IRASEC) ร่วมกับ UddC-CEUS มูลนิธิ Heinrich Boll และ UN WOMEN ได้ร่วมเสวนาโต๊ะกลมในหัวข้อ “การเปลี่ยนแปลงของเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: อะไรคือบทบาทของพลเมือง” (Urban Changes in Southeast Asia: what is the citizen’s role?) ส่วนหนึ่งของเทศกาล Night Of Ideas […]

มหาวิทยาลัยสิงคโปร์รับมือโควิด-19 อย่างไรให้ยอดผู้ติดเชื้อเป็นศูนย์มาแล้วเกือบ 1 ปี

19/01/2021

เมื่อปีที่ผ่านมา หลายคนคงได้ยินคำพูดคุ้นหูที่ว่า “อะไร ๆ ก็เกิดขึ้นได้ในปี 2020” การระบาดของโควิด-19 ในปี 2020 ส่งผลให้ความสัมพันธ์ของผู้คนและเมืองเปลี่ยนแปลงไป ทั้งการเดินทางสัญจรที่ทำได้ยาก และผู้คนพึ่งพาเทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด การดำเนินชีวิตของผู้คนจึงตั้งอยู่ความปกติใหม่ (New Normal) สิ่งนี้นับเป็นการเรียนรู้ครั้งสำคัญของสังคมโดยรวม การปิดทำการของสถานที่หลายแห่งเพื่อควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อ โดยเฉพาะสถานศึกษา โรงเรียน และมหาวิทยาลัย พื้นที่การเรียนรู้หลักของผู้คนในเมือง ก่อให้เกิดวิธีการเรียนรู้รูปแบบใหม่อย่างการเรียนการสอนออนไลน์ นับเป็นปรับตัวครั้งใหญ่ของทั้งผู้เรียนและผู้จัดการศึกษา อย่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ล่าสุดได้ประกาศปิดที่ทำการทั้งในและนอกเขตกรุงเทพมหานครเป็นการชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 3-31 มกราคม 2564 และให้มีการจัดการเรียนการสอนทุกรายวิชาในรูปแบบออนไลน์ถึงวันที่ 31 มกราคม 2564 (ตามประกาศวันที่ 2 มกราคม 2564) ตัวอย่างมาตรการรับมือกับโรคโควิด-19 ในสถานศึกษา ที่สำนักข่าว The New York Times ยกเป็นให้กรณีศึกษา คือมหาวิทยาลัยหลักทั้งสามแห่งของประเทศสิงคโปร์ ได้แก่ มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (National University of Singapore: NUS) มหาวิทยาลัยการจัดการแห่งสิงคโปร์ (Singapore Management […]

เมื่อโลกไม่แน่นอน เมืองจะพัฒนาอย่างไร ภาพอนาคตย่านกะดีจีน-คลองสานปี 2030 มีคำตอบ

02/12/2020

“ไม่มีฮีโร่คนเดียวในการขับเคลื่อนผลักดัน” เสียงของ ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) หรือ “อาจารย์แดง” ของเหล่าลูกศิษย์วิชาสตูดิโอวางผังชุมชนเมือง ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่คุ้นเคยกันดีมาตลอดภาคการศึกษาที่ผ่านมา พยายามเน้นย้ำ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมงาน ‘การนำเสนอสาธารณะร่างผังยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูย่านกะดีจีน-คลองสาน’ ได้เข้าใจการทำงานของนักออกแบบผังเมือง ที่ต้องให้ความสำคัญต่อกระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากคนในชุมชน เพราะพวกเขาไม่ใช่แค่เพียงผู้อยู่อาศัยและใช้งานเท่านั้น แต่ยังเป็นเพราะนักออกแบบเองก็อาจจะตกหล่นหรือลืมบางไอเดียที่อาจนำมาต่อยอดได้ เช่น โครงการสวนลอยฟ้าเจ้าพระยา ที่ริเริ่มมาจากความคิดอันตรงไปตรงมาของ “ลุงประดิษฐ์ ห้วยหงส์ทอง” ประธานชุมชนวัดบุปผาราม ย่านกะดีจีน จนพัฒนามาเป็นสวนลอยฟ้าที่เชื่อมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าด้วยกัน และทำให้ดัชนีเมืองเดินได้สูงขึ้นมาทันตา อ้างอิงจากผลการศึกษาของ โครงการเมืองเดินได้-เมืองเดินดี (GoodWalk) โดย UddC-CEUS และ สสส. พบว่า ดัชนีเมืองเดินได้ในพื้นที่โดยรอบโครงการสวนลอยฟ้าเจ้าพระยา เพิ่มสูงขึ้นจาก 49 เป็น 76 คะแนนเต็มร้อย 12 ปีแห่งความร่วมมือฟื้นฟูย่านกะดีจีน-คลองสาน 12 ปีผ่านไปนับตั้งแต่ริเริ่มโครงการฟื้นฟูย่านกะดีจีน-คลองสาน วันนี้การพัฒนายังไม่สิ้นสุด ไอเดียจากนิสิตได้เข้ามาต่อยอดความร่วมมือของทั้ง UddC-CEUS กรุงเทพมหานคร และชุมชนชาวกะดีจีน-คลองสานที่เข้ามาร่วมชมนิทรรศการและแสดงความคิดเห็นต่อผลงานของนิสิต ณ สุราลัยฮอลล์ ศูนย์การค้าไอคอนสยาม […]

มารู้จัก Interaction Design และทำไม Google Maps ถึงรับมือรถเมล์ไทยไม่ได้

25/11/2020

เมื่อพูดถึง Interaction Design หรือ การออกแบบที่เน้นปฎิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างสิ่งที่ออกแบบและผู้ใช้งาน ฟังดูกว้าง และจับจุดได้ยากหากเราไม่ใช่นักออกแบบเสียเอง จริงๆ แล้ว Interaction Design ก็คลุมความหมายที่กว้างจริงๆ แต่ถ้ายกตัวอย่างที่ใกล้ตัวอย่างเช่นแอปพลิเคชันต่างๆ หลายคนคงร้องอ๋อ ด้วยความหมายที่กว้างทำให้ศาสตร์ของ Interaction Design เชื่อมโยงและสอดคล้องกับการออกแบบอื่นๆ อย่างที่ Einar Sneve Martinussen ผู้เชี่ยวชาญด้าน Interaction Design จาก Oslo School of Architecture and Design บอกกับเรา อย่างไรก็ตาม Einar ชี้ให้เราเห็นว่าหัวใจหลักของ Interaction Design ที่กลายเป็นความแตกต่างจากการออกแบบโดยทั่วไป คือการออกแบบที่อยู่บนพื้นฐานว่าผู้ใช้งานจะมีปฏิกิริยาอย่างไร และวัตถุหรือผลงานการออกแบบนั้นจะโต้ตอบอย่างไร การสื่อสารไปมาระหว่างกันและกัน ดังนั้นคงจะไม่ผิดนักหากเมื่อเรามองในภาพกว้าง Interaction Design และ Urban Design หรือ การออกแบบเมือง จึงหนีกันไม่พ้น และต้องการการพัฒนาไปควบคู่กัน เพราะหากเราต้องการการออกแบบที่มุ่งตอบสนองผู้ใช้ในระดับเมือง สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ ผู้คนที่พร้อมใช้งาน […]

ฤา จะเป็นความปกติที่ไม่ปกติ

05/11/2020

หมายเหตุ บทความเผยแพร่ครั้งแรกเมื่อปีค.ศ. 2018 [ว่าด้วยเรื่องความปกติของถนนและทางเท้า] เมื่อต้นปีมีข่าวว่าทางราชการท้องถิ่นได้มอบเกียรติบัตรให้เก็บเด็กหญิงผู้มีมารยาทงามในการถอนสายบัวขอบคุณรถยนต์ที่หยุดให้เด็กหญิงคนนั้นเดินข้ามถนน มันเป็นข่าวที่น่าขบขันและเป็นตลกร้ายที่เราต้องหันกลับมาดูว่านี่ “มันคือสิ่งปกติที่มันไม่น่าจะปกติ” ความปกติของการใช้ถนนและทางเท้า เว็บไซต์ www.j-campus.com ได้ยกตัวอย่างข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายจราจรในประเทศญี่ปุ่นอันเข้มงวด ดังนี้ ไม่หยุดรถตามป้ายสัญญาณ มีโทษหักคะแนน 2 แต้ม เสียค่าปรับ 5,000-9,000 เยนตามขนาดของรถ ตั้งแต่จักรยานยนต์ไปจนถึงรถบรรทุก กฎหมายของญี่ปุ่นจะดูแลคนเดินเท้าเป็นพิเศษ โดยมีกฎหมายที่เอาผิดผู้ขับที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ เช่น ขัดขวางการข้ามถนนของคนเดินเท้า ขัดขวางการสัญจรของเด็กเล็ก ไม่รักษาขัดขวางการข้ามถนนของคนเดินเท้า ไม่รักษาระยะห่างจากคนเดินเท้าในระยะที่ปลอดภัย จริงๆ แล้วคนเดินเท้าและจักรยานจะเป็นกลุ่มเดียวกันกับคนใช้ระบบขนส่งสาธารณะ เพียงแต่แยกเรื่องความปลอดภัยออกมาในแง่ของการเดินตามถนนและเดินข้ามถนน ซึ่งที่ญี่ปุ่น (รวมถึงประเทศที่พัฒนาแล้วทุกที่) คนกลุ่มนี้จะมีศักย์ใหญ่กว่าคนใช้รถ หมายความว่ารถต้องหยุดและให้ทางกับคนเดินเท้าเพื่อข้ามถนน ด้วยความที่มีศักย์และสิทธิมากกว่าผู้ใช้รถยนต์ รวมถึงการจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมสำหรับคนทุกกลุ่มทุกวัย ทำให้คนเดินเท้าและจักรยานมีความปลอดภัยมากในประเทศญี่ปุ่น     จริงๆ แล้วในชีวิตประจำวันของเราต้องมีซักช่วงหนึ่งของวันที่เราเป็นคนเดินเท้า แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นอุปสรรคและทำให้บ้านเราแก้ปัญหานี้ได้ยาก คือ คนที่ได้ประโยชน์กับคนที่เสียประโยชน์เป็นคนเดียวกัน เราบ่นว่าเค้าขายของขวางทาง แต่เราก็ยังมีความต้องการที่ซื้อของจากร้านค้าหาบเร่แผงลอยเหล่านี้ ความย้อนแย้งและวาทะกรรมของทางเท้าและหาบเร่แผงลอยยังไม่หมดเท่านั้น จากการวิจัยและผลการสำรวจของ UddC พบว่า หาบเร่แผงลอยเปรียบเสมือนเหรียญสองด้านที่ต่างมุมมองก็ต่างแง่คิด เพราะมันเป็นทั้งสิ่งที่ดึงดูดให้คนเดินเท้า คือเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้การเดินเท้าในเมืองเป็นไปได้ง่ายขึ้นเมื่อสองข้างทางมีร้านค้าหาบเร่แผงลอยให้แวะชม แวะซื้อ แต่อย่างไรก็ตามต้องอยู่ในระยะและจำนวนที่เหมาะสม ไม่เช่นนั้นมันก็จะกลายเป็นสิ่งที่บั่นทอนและลดทอน […]

1 7 8 9 10 11 15