Public Realm



เมื่อรณรงค์ อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ สวนทางกับความปกติของชีวิตเมือง เราจะอยู่ได้ในภาวะโรคระบาดกันจริงหรือ?

25/03/2020

ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา รัฐบาลเกือบทุกประเทศรณรงค์ให้พลเมือง #StayHome หรือ “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” เพราะเป็นหนทางเดียวในขณะนี้ที่จะทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ลดต่ำลง อันนำไปสู่การควบคุมสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเมืองอันเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเชื่อมต่อ และความสร้างสรรค์ ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อให้ประชากรอยู่เฉยๆ ในที่พักอาศัย เมื่อเป็นเช่นนี้ “ชีวิตเมือง” จะอยู่รอดได้หรือในสถานการณ์โรคระบาดแบบนี้?  บทความจะชวนคิดเรื่องการเว้นระยะห่างทางสังคมของสัตว์สังคมผู้ต้องการระยะห่าง…ที่ใกล้ชิด โดยเฉพาะคนเมืองที่แม้ไม่ต้องการความใกล้ชิด แต่ชีวิตของพวกเราก็บังคับให้มีปฏิสัมพันธ์กัน เชื่อว่าตอนนี้หลายคนกำลังปรับตัวให้เคยชินกับกักตัวเอง และ ตั้งหน้าตั้งตาทำงานจากบ้าน โดยหวังใจลึกๆ ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จะคลี่คลายในเร็ววัน หากเปรียบเทียบกับวิกฤตที่เกิดขึ้นในเมืองหลายๆ ครั้งก่อนหน้า คนไทยน่าคุ้นหูมากกว่ากับคำว่า “ร่วมแรงร่วมใจ” “ร่วมด้วยช่วยกัน” “ฝ่าภัยไปด้วยกัน”  ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวเท่านั้นที่จะฝ่าวิกฤตได้ แต่ในทางกลับกัน การ “เอาชนะ” วิกฤตไวรัสโคโรนาที่ดีที่สุดดังหลายคนทราบคือการแยกกันใช้ชีวิต บทความ Can City Life Survive Coronavirus? โดย The New York Times นำเสนอสาระและข้อคิดเห็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา ที่ได้ทำลายแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ชีวิตเมือง” ที่จำเป็นต้องพึ่งพาและอยู่อาศัยร่วมกัน ดังนักประวัติศาสตร์กล่าวว่าเมืองถือกำเนิดขึ้นเมื่อหลายพันปีก่อนด้วยเหตุผลด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ตลอดจนตอบสนองมนุษย์ในฐานะสัตว์สังคม […]

เส้นทางแผนที่โรคระบาด จากยุคศตวรรษที่ 17 ถึง Big Data

20/03/2020

ในขณะที่การติดเชื้อโคโรน่าไวรัสกระจายตัวไปทั่วโลกและปรากฏจำนวนผู้ติดเชื้อมากขึ้นเรื่อยๆ ความกังวลมักมากขึ้นเป็นปกติ หนึ่งในรูปแบบข้อมูลที่เราติดตามกันอย่างหนักช่วงนี้คือ แผนที่แบบ Interactive จากหลายสำนัก ที่แสดงให้เห็นว่าโรคนี้กระจายตัวอย่างไร มีที่ไหนได้รับผลกระทบบ้าง และข้อมูลที่แท้จริงเป็นอย่างไร เพราะข้อมูลที่แท้จริงและเพียงพอจะช่วยให้เราไม่ตระหนกและระมัดระวังตัวได้อย่างเหมาะสม หนึ่งในตัวอย่างเด่น คือ แพลตฟอร์มที่สร้างขึ้นโดย  Johns Hopkins University’s Center for Systems Science and Engineering งานออกแบบสีแดงตัดดำชิ้นนี้ใช้ซอฟต์แวร์จากบริษัท Esri โดยทาง Johns Hopkins รวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานสาธารณสุขของทางการจากทั่วโลกแบบเรียลไทม์ ยิ่งวงกลมสีแดงใหญ่มากขึ้นเท่าไหร่ นั่นแปลว่าพื้นที่ตรงนั้นมีเคสผู้ติดเชื้อเยอะ ขณะนี้ยอดรวมผู้เสียชีวิตจาก COVID-19 มากกว่าโรค SARS ที่ระบาดในปี 2003 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว Metabiota บริษัทที่เชี่ยวชาญด้านการจัดการภัยคุกคามจากการระบาดใหญ่ได้เพิ่มโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ลงในรายการเชื้อโรคที่ทางบริษัทติดตามอยู่กว่า 130 ตัวทั่วโลก หากเข้าไปดูในเว็บไซต์ https://www.epidemictracker.com/ จะพบว่าจุดสีส้มที่กระพริบอยู่ใช้แทนข้อมูลไวรัสที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน การทำแผนที่ลักษณะนี้เป็นเรื่องใหม่ไหม? การฉายภาพการระบาดเหล่านี้มีมาแล้วเนิ่นนาน มีความพยายามทำมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 แต่ในไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมานี้ การทำแผนที่ทางการแพทย์ก้าวหน้าและเป็นประชาธิปไตยยิ่งขึ้นเพราะมีคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ อินเทอร์เน็ตยังเป็นตัวเร่งให้การแบ่งปันและรวบรวมข้อมูลทำได้ง่ายขึ้นด้วย เป็นเวลากว่าศตวรรษที่นักภูมิศาสตร์และสาธารณสุขใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ในการทำแผนที่เพื่อร่างทฤษฎีขึ้นมาว่าเพราะเหตุใดการระบาดชนิดใดชนิดหนึ่งจึงเกิดขึ้นโดยดูจากกลุ่มคนที่บาดเจ็บล้มตาย ทุกวันนี้สามารถคาดการได้ว่าการระบาดที่เกิดขึ้นจะมีวิวัฒนาการอย่างไรและสามารถกำหนดนโยบายตามข้อมูลที่คาดการณ์นี้ […]

ความจำเป็นของบ้านสุดท้ายของชีวิตคนเมือง

12/03/2020

สถานการณ์สมมติ –  ชีวิตประจำวันของคนเมือง A “ฉันตื่นเช้าไปทำงานตั้งแต่หกโมงเพราะกลัวรถติด เลิกงานแล้วก็ยังต้องหาอะไรทำอยู่ข้างนอก ทำโอทีบ้าง ไปสังสรรค์กับเพื่อนบ้าง เลี่ยงรถติดตอนเย็นอีกเหมือนกัน กว่าจะกลับถึงบ้านก็ปาเข้าไปสามสี่ทุ่มแล้ว ไปถึงก็อาบน้ำนอนดูซีรี่ย์ สักตีหนึ่งค่อยหลับ อยู่คอนโดเล็ก ๆ อย่างฉันไม่มีอะไรให้ทำมากหรอก ทำอาหารเลี้ยงสัตว์ก็ไม่ได้” นิยามของคำว่า “บ้าน” ถ้าให้เราลองนิยามคำว่า “การใช้ชีวิตในเมือง” หนึ่งในนั้นก็คงหนีไม่พ้น ความเร่งรีบ ความวุ่นวาย หรือการผ่าฟันความลำบากทั้งหลายแหล่ในชีวิตประจำวัน ยิ่งเฉพาะกรุงเทพมหานคร จ้าวแห่งความโกลาหลแล้ว ไม่ว่าจะรถติดบนโลเคชั่นสี่แยกดาวอังคาร กำลังนั่งยานกลับดาวพลูโต หรือเดินอยู่บนฟุตพาทพร้อมแฮชแท๊ก #ชีวิตดีดีที่ลงตัว ก็ตาม ไม่ว่าใครก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าคนกรุงเทพต้องแข็งแกร่งอยู่เสมอ  และด้วยวิถีชีวิตเช่นนี้เอง “บ้าน” ของคนเมืองก็ต้องถูกปรับให้สอดคล้องกับการใช้ชีวิตด้วยเช่นกัน บ้านของคนเมืองที่ว่าเป็นได้ทั้งห้อง ๆ หนึ่งบนคอนโดสูง หอพักรายวัน ห้องเช่า ทาวน์เฮ้าส์ อาคารพาณิชย์ บ้านแฝด ไปจนถึงบ้านเดี่ยวชานเมือง เราทุกคนเลือกบ้านที่สะดวกต่อการดำเนินชีวิตอันเร่งรีบวุ่นวายนี้ คำว่า “บ้าน” ที่คนเมืองใช้เรียกหาจึงเป็นพื้นที่ที่เอื้อให้เราไปทำงานได้สะดวกขึ้น มีอาณาบริเวณใช้สอยตามความจำเป็นและราคาที่เรากล้าแบก เป็นพื้นที่ที่ให้เราสามารถพักใจพักกายจากความเหนื่อยล้า นอนเล่นโทรศัพท์บนฟูกนุ่มและรดน้ำต้นไม้กระถางเล็ก ๆ ที่มุมห้อง “บ้าน” ในบริบทนี้ […]

สวนดาดฟ้าในโรงพยาบาลห้าศตวรรษ: พื้นที่เชื่อมชีวิตใหม่ในเมืองมิลาน

05/03/2020

“get well soon”  คำอวยพรเรียบง่ายที่หลายคนเลือกใช้เมื่อไปเยี่ยมไข้คนที่เรารักที่โรงพยาบาล แต่ในอีก 3 ปีข้างหน้า โรงพยาบาลอายุกว่า 500 ปี แห่งเมืองมิลาน ประเทศอิตาลี เตรียมเปิดตัว “หลังคาสีเขียว” ที่ทำให้ชาวเมืองมิลาน “get well soon” ไปด้วยกัน ถ้าพูดถึงโครงสร้างสาธารณูปโภค-สาธารณูปการเพื่อสุขภาพอย่าง สนามกีฬา สวนสาธารณะ ลานแอโรบิค โรงยิมเนเซียม ฟิตเนส ฯลฯ หลายคนคงไม่ปฏิเสธว่าโรงพยาบาลน่าจะเป็นสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของเมือง ที่พวกเราปรารถนาจะใช้งานด้วยระยะเวลาที่สั้นที่สุดอย่างแน่นอน แต่ “สเตฟาโน โบเอริ” สถาปนิกชาวอิตาลี ผู้ขึ้นชื่อเรื่องการออกแบบ “สถาปัตยกรรมสีเขียว” กำลังปรับเปลี่ยนโรงพยาบาลเก่าแก่ที่สุดของเมืองมิลานผ่านโปรเจกต์ “The New Policlinico”  ให้โรงพยาบาลกลายเป็นสถานที่ที่ชาวมิลานอยากใช้งาน และเปิดโอกาสให้ “ผู้ไม่ป่วย” ได้ใช้งานด้วย  ทลายกำแพงโรงพยาบาลด้วยหลังคาสีเขียว หลังคาสีเขียวเป็นรูปแบบการใช้ประโยชน์พื้นที่ดาดฟ้าอาคาร ที่ถูกนำไปปรับใช้ในหลายเมือง มีเป้าหมายให้ดาดฟ้าสีเขียวช่วยลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมต่อเมือง เช่น ลดปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก ดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ช่วยสะท้อนความร้อนไม่ให้เข้าสู่อาคารโดยตรง ที่สำคัญคือเป็นอีกทางเลือกที่ทำให้คนเมืองได้ใกล้ชิดกับ “ความเขียว” โดยไม่ต้องง้อสวนบนพื้นราบเท่านั้น  แต่สำหรับสถาปนิกชื่อดังชาวอิตาลี ผู้มีความฝันอยากเห็น […]

เมืองในเรื่องเล่าแห่งจิตวิญญาณ

27/02/2020

1 เมืองบางเมืองมีความหมายทางจิตวิญญาณ  หรือถ้าจะกล่าวให้ตรงกว่านั้นคือมันถูกสร้างขึ้นไม่ว่าจะเป็นไปในลักษณะยูโทเปียผ่านจินตนาการหรือเรื่องเล่า  สถาปัตยกรรมหรือรูปธรรมแห่งเมืองจริงๆ ก็จากแปลนแห่งจิตวิญญาณ   การเดินทางไปสู่เมืองเหล่านี้  ในเบื้องลึกของความรู้สึกคล้ายเรากำลังแกะรอยทางแห่งจิตวิญญาณอันสูงส่ง  หรือถ้าเรามีความปรารถนาหรือการแสวงหาในมิตินี้ความหมายก็จะมากขึ้นไปในระดับที่ว่าเราได้วางเท้าก้าวย่างไปบนเส้นทางที่เราใฝ่ฝันแล้ว 2 ลองนึกภาพพระราชวังโปตาลาในธิเบตหรือบรรดาเมืองในเทือกเขาหิมาลัย อย่างเนปาล  ภูฏาน หรืออื่นๆ  ไม่ว่าเราจะเห็นผ่านรูปหรือผ่านประสบการณ์ตรงจากการเดินทางไปเยือน  เราจะประจักษ์และถูกตรึงไว้กับความงามทั้งตัวอาคารบ้านเรือน  สภาพแวดล้อมและวิถีชีวิตผู้คนราวกับเป็นส่วนผสมอันลงตัวของบทเพลงอันไพเราะ  ในส่วนลึก  ผมอดคิดไม่ได้ว่าเบื้องหลังการสร้างบ้านเมืองแบบนี้มาจากแปลนแห่งจิตวิญญาณบางอย่างซึ่งผมกำลังหมายถึงได้รับแรงบันดาลใจจาก ชัมบาลาเมืองในตำนานซึ่งเป็นต้นตอแห่งศิลปศาสตร์และอารยธรรมหิมาลัย   ตามตำนานกล่าวว่าพระพุทธเจ้า (ฝ่ายมหายานเรียกว่า ศากยมุนีพุทธ) ได้แสดงธรรมว่าด้วยตันตระขั้นสูงแก่ปฐมกษัตริย์แห่งชัมบาลานาม ดาวะ  สังโป  ซึ่งถือว่าเป็นปรีชาญาณที่ลึกซึ้งที่สุดของพุทธศาสนาแบบธิเบต  ภายหลังที่ธรรมเทศนานี้ได้แสดงออกไปอาณาประชาราษฎรก็ดำเนินชีวิตตามพุทธมรรคาด้วยการปฏิบัติสมาธิภาวนา  เจริญเมตตาจิตและใส่ใจต่อทุกข์สุขแห่งชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย อาณาจักรที่รุ่งเรืองและสันติสุขนี้ปกครองโดยผู้ทรงสติปัญญาและการุณย์  ทั้งอาณาประชาราษฎร์ก็ล้วนแล้วรอบรู้และเมตตาปราณี    มีนักวิชาการชาวตะวันตกบางคนได้สันนิษฐานว่า  อาณาจักรชัมบาลาอาจจะเป็นอาณาจักรโบราณแห่งใดแห่งหนึ่งซึ่งมีบันทึกอยู่ในเอกสารทางประวัติศาสตร์ดังเช่นอาณาจักรชางซุงในอาเชียกลาง  แต่ก็มีนักวิชาการหลายคนที่เชื่อว่าเรื่องราวเกี่ยวกับชัมบาลาเป็นเพียงเรื่องเล่าขานซึ่งไม่มีมูลความจริง หากแต่ชาวธิเบตเชื่อว่าอาณาจักรชัมบาลานี้ซ่อนตัวอยู่ที่ใดที่หนึ่งในความลี้ลับแห่งเทือกเขาหิมาลัย (ไกรลาส)  เพราะมีบันทึกไว้ในคัมภีร์พุทธศาสนาว่า  ชัมบาลาตั้งอยู่ทางเหนือของแม่น้ำสิตะ  ดินแดนแห่งนี้ถูกแบ่งออกโดยแนวเทือกเขาทั้งแปด  พระราชวังของริกเดนหรือราชันผู้ปกครองชัมบาลานั้น  สร้างอยู่บนยอดเขาทรงกลมซึ่งตั้งอยู่ตรงกึ่งกลางดินแดน  ขุนเขาลูกนี้ชื่อว่าไกรลาส  พระราชวังซึ่งมีชื่อว่ากัลปะกว้างยาวหลายร้อยเส้น  เบื้องหน้าพระราชวังทางทิศใต้มีสวนรุกขชาติอันงดงามที่ชื่อว่ามาลัย  ตรงกึ่งกลางสวนรุกขชาตินี้มีวิหารซึ่งสร้างอุทิศถวายแด่กาลจักรโดยดาวะ  สังโป แต่ในบางตำนานบอกว่า  อาณาจักรชัมบาลานี้ได้สาบสูญไปจากโลกหลายร้อยปีแล้ว  เมื่อมาถึงจุดที่ทั้งอาณาจักรได้บรรลุถึงการตรัสรู้จึงได้สูญสลายไปดำรงอยู่ในมิติอื่น    3 สำหรับคนลุ่มน้ำโขงหรือกลุ่มคนในวัฒนธรรมลาวซึ่งมีแผ่นดินถิ่นเกิดโดยมีภูพานเป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์แล้ว  เมืองเล็กๆ ริมแม่น้ำโขงที่มีองค์พระธาตุเจดีย์บรรจุอุรังคธาตุหรือกระดูกหัวอกของพระพุทธเจ้าตั้งเป็นหัวใจของดินแดน  เบื้องหลังเป็นเทือกเขาภูพานยาวเหยียดสุดสายตา  เบื้องหน้าเป็นแม่น้ำโขงกว้างใหญ่ไหลเรื่อยมาแต่ปางบรรพ์  […]

Viaduc Des Arts และ Promenade Plantée เมืองเปลี่ยนสะพาน สะพานเปลี่ยนเมือง

19/02/2020

ทุกวันนี้เมื่อพูดถึงสวนยกระดับ (Elevated Park) หลายคนอาจเริ่มคุ้นเคยและนึกออกอยู่หลายที่ อย่างเช่น Manhattan’s Highline สวนสูงใจกลางนิวยอร์ก  แต่หากเจาะจงถึงต้นฉบับของการพัฒนาสวนในพื้นที่ยกระดับ ต้องยกให้ Viaduc Des Arts และ Promenade Plantée ของเมืองปารีสในประเทศฝรั่งเศส ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 1993 แถมยังเป็นสวนแรกของโลกที่เกิดจากการปรับปรุงรางรถไฟรกร้างอีกด้วย แรกเริ่มเดิมทีรางรถไฟที่ตั้งอยู่ในเขตที่ 12 (12th arrondissement) นี้เคยเป็นรางที่เชื่อมรถไฟจากจัตุรัส ปาสเดอลาบาสตีย์  (Place de la Bastille) ในเมืองปารีส สู่ด้านตะวันออกของเมือง รถไฟขบวนนี้รับส่งผู้คนหลายต่อหลายยุค รวมระยะเวลาใช้งานมากว่าร้ายปี แต่แล้วในปี 1969 รางรถไฟนี้ก็เลิกใช้งาน เพราะระบบรถไฟที่พัฒนาใหม่ เปลี่ยนมาใช้เป็นรถ RER ที่วิ่งใต้ดิน ทำให้เส้นทางรถไฟส่วนนี้ได้รับผลกระทบไปด้วย  เมื่อเส้นทางรถไฟเปลี่ยนไป เมืองก็เปลี่ยนแปลง จากที่ทางรถไฟนั้นเคยเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่เป็นตัวแสดงถึงความรุ่งเรืองในยุคอุตสาหกรรม ความรถกร้าง ผุพัง เริ่มเข้ามาแทนที่เมื่อถูกปล่อยทิ้งร้างมาราวสิบปี หนึ่งในแผนในการจัดการกับความเสื่อมโทรมนี้คือการกำจัดรางรถไฟที่รกหูรกตานี้ทิ้งไปเสียทว่า City of Paris ก็ผุดอีกไอเดียหนึ่งที่ได้ทำจริงขึ้นมา นั่นคือการเปลี่ยนรางร้างนี้ให้เป็น ด้านบนสวน […]

เมืองใหม่ยุค Baby Boomer และ การชุมนุมในปี 1968

18/02/2020

ปี 2019 ที่ผ่านมามีการชุมนุมประท้วงในหลากหลายเมืองทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นการชุมนุมในฮ่องกงที่มีสาเหตุจากความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ การประท้วงการขึ้นค่าระบบขนส่งในซานติอาโกของชิลี การชุมนุมต่อต้านการเปลี่ยนระบบสวัสดิการในปารีสฝรั่งเศส เมื่อขมวดปมของหลายเหตุการณ์  คำถามก็คือ การวางแผนรูปแบบเมืองนำไปสู่การชุมนุมประท้วงได้อย่างไร? เพื่อตอบคำถามนี้ จึงอยากจะพาย้อนกลับไปยังเหตุการณ์ชุมนุมประท้วงในปี 1968 ซึ่งเกิดจากการวางแผนเมืองรูปแบบใหม่ในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง การวางผังเมืองหลังสงครามและ Baby Boomers  เมื่อย้อนกลับไปยังสงครามโลกครั้งที่สองซึ่งสร้างความเสียหายให้กับเมืองและผู้คนเป็นจำนวนมาก ถือได้ว่าเป็นช่วงที่รัฐบาลต้องฟื้นฟูเศรษฐกิจให้กลับมาเดินหน้าและซ่อมแซมเมืองให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง จึงได้เกิดการวางแผนเมืองรูปแบบใหม่ ที่ตั้งอยู่บนความสัมพันธ์ทางการทหารกับการจัดการพื้นที่ที่ใหญ่กว่าเมืองแบบเดิม สหรัฐอเมริกาที่ไม่ได้เสียหายจากสงครามมากนักต้องการกระจายเมืองไปยังพื้นที่ใหม่ๆ หรือที่รู้จักกันในชื่อ ‘New Towns Movement’ เพื่อลดความแออัดในเมืองอุตสาหกรรม มีการย้ายโรงงานผลิตยุทโธปกรณ์ทางทหาร รวมทั้งการสร้างโครงการที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่เพื่อรองรับประชากรที่จะเป็นกำลังทางทหาร เพราะแม้จะสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นจุดเริ่มต้นของสงครามเย็น สหรัฐได้ส่งทหารหลายแสนนายไปประจำการในประเทศพันธมิตร ฉะนั้นจึงเกิดลักษณะการขยายเมืองไปพร้อมกับการขยายอุตสาหกรรมทางทหาร เช่น Willow Run ในมิชิแกนที่กลายเป็นเมืองผลิตเครื่องบินทิ้งระเบิด B-24 Los Alamos ในนิวเม็กซิโกกลายเป็นเมืองพัฒนาระเบิดปรมาณู รวมไปถึงการเปลี่ยนเมืองตอนกลางฝั่งตะวันตกให้เป็นเมืองอุตสาหกรรมเครื่องบิน เมื่อสภาคองเกรสได้เห็นชอบ G.I.Bill. หรือกฎหมายที่สนับสนุนให้ทหารเข้าศึกษาต่อในระดับ ปวส. หรือ อุดมศึกษา จึงได้เกิดแนวคิดการปรับเมืองทหารสู่เมืองการศึกษา (College Town) ถือเป็นยุคทองของสถาบันอุดมศึกษาในสหรัฐอเมริกา มีวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้นหลายร้อยแห่ง โดยมุ่งหวังว่าการเรียนและการทำวิจัยจะช่วยให้สหรัฐฯเข้าใจสถานการณ์ในช่วงสงครามเย็นมากขึ้น ทำให้เกิดการกระจายแคมปัสของมหาวิทยาลัยไปพื้นที่ต่างๆที่อยู่ไม่ไกลจากฐานทัพ เช่น […]

พินิจเมือง – ส่องข่วงเจียงใหม่กับนักภูมิศาสตร์เมือง

31/01/2020

ข่วงท่าแพ หรือ ลานกว้างหน้าประตูท่าแพ  เป็นสถานที่สำคัญที่ใครหลายคนต้องแวะไปถ่ายรูปเมื่อมีโอกาสไปเยือนจังหวัดเชียงใหม่  ข่วงในภาษาเหนือแปลว่า สถานที่ ลานกว้าง ตั้งแต่ระดับพื้นที่ของบ้านไปจนถึงพื้นที่ของเมือง ข่วงท่าแพ ประกอบไปด้วยประตูเมือง กำแพงเมือง ลาน ส่วนเชื่อมต่อระหว่างถนนคชสารและถนนท่าแพ และอาคารห้างร้าน  ข่วงท่าแพไม่เพียงแค่เป็นลานกิจกรรมของคนเมืองเท่านั้น แต่ยังมีลักษณะการใช้งานที่ตอบสนองต่อทั้งคนและสัตว์ ดังที่ คือ อ.ดร.ญาณิน จิวะกิดาการ หุยากรณ์ อาจารย์ประจำภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ทำการสำรวจเวียงเจียงใหม่เมื่อครั้งมีโอกาสได้นั่งทำงานที่ร้านกาแฟรอบข่วงท่าแพแห่งนี้  จากมุมมองของ “นักภูมิศาสตร์เมือง” ที่ได้ศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างคน ชุมชนกับกายภาพเมืองผ่านมุมมอง Midnight Flaneur โดยส่องเวียงเจียงใหม่ผ่านการนั่งมองชีวิต หรือที่เรียกว่า นั่งทอดหุ่ย และผู้คนที่เข้ามาใช้พื้นที่ข่วงท่าแพด้วยความบังเอิญจากการหาร้านกาแฟนั่งทำงานที่เปิด 24 ชั่วโมงในตัวเมืองเชียงใหม่และพบว่าข่วงท่าแพหรือพื้นที่ลานกว้างหน้าประตูท่าแพมีการแบ่งปันการใช้งานพื้นที่ทั้งมนุษย์และสัตว์ โดยนับตั้งแต่เวลาหัวค่ำไปจนพระอาทิตย์แรกแย้มของวันใหม่  ข่วงท่าแพ ผลัดเปลี่ยนผู้ใช้งานตามกาลและเวลา นับตั้งแต่พระอาทิตย์เริ่มลับขอบฟ้า ในคืนวันอาทิตย์ที่มีการสัญจรของผู้คนพลุกพล่านเนื่องจากเป็นวันที่มีการปิดถนนและมีถนนคนเดินเป็นประจำทุกวันอาทิตย์ ตั้งแต่ในช่วงหัวค่ำเป็นช่วงเวลาการใช้งานของมนุษย์ อย่างการเล่นดนตรี เปิดการแสดง จนถึงช่วงเวลา 21.00 น. จึงเปลี่ยนรูปแบบเป็นการใช้งานของสัตว์หากินกลางคืนอย่าง “ค้างคาว” ที่มีความสำคัญต่อนิเวศของเมืองอยู่หลายประการ ทั้งเป็นผู้ควบคุมประชากรแมลง ช่วยขยายพืชพันธุ์ผ่านการช่วยกระจายเกสรและเมล็ด รวมถึงขี้ค้างคาที่เป็นปุ๋ยอย่างดีให้กับต้นไม้ในเมือง และเมื่อถึงเวลาเที่ยงคืนข่วงจะเปลี่ยนหน้าที่เป็นลานจอดของรถแดงและรถตุ๊กตุ๊กเพื่อรอรับส่งผู้โดยสารกลับสู่ที่พัก  ในช่วงเวลาหลังเที่ยงคืนวันอาทิตย์ก้าวเข้าสู่เช้าวันจันทร์ […]

เกิดน้อยในเมืองใหญ่ การเกิดคือเรื่องของใคร

30/01/2020

Editorial team ‘เมื่อไหร่จะมีลูก’ ‘เมื่อไหร่จะได้อุ้มหลาน’ คำถามเหล่านี้กลายเป็นคำถามยอดฮิตของหลายครอบครัวในประเทศไทย ส่วนในระดับนโยบายไม่กี่ปีมานี้เริ่มมีการพูดถึงเรื่อง‘มีลูกเพื่อชาติ’รัฐบาลที่แล้วได้ ออกโครงการอย่าง‘สาวไทยแก้มแดง’ที่แจกจ่ายวิตามินแก่หญิงวัยเจริญพันธุ์เพื่อ กระตุ้นการมีบุตร ไปจนถึงการลดหย่อนภาษีให้ผู้ที่มีบุตร เหตุการณ์หลายอย่างในหลากระดับกำลังสะท้อนให้เห็นว่าอัตราการเพิ่มประชากรในไทยกำลังลดน้อยลงเรื่อยๆแต่เราไม่ได้กำลังเผชิญสิ่งนี้เพียงลำพังเพราะอัตราการเกิดที่กำลังน้อยลงคือความเป็นไปของยุคปัจจุบันและรวมถึงอนาคตทั่วทั้งมวลมนุษยชาติคนเกิดน้อยลงเพราะอะไรสัมพันธ์อย่างไรไหมกับความเป็นเมืองและจะเป็นไปได้ไหมที่อัตราการเกิดจะฟื้นคืนในอนาคต รศ. ดร.อภิวัฒน์ รัตนวราหะ ผู้วิจัยเรื่อง ‘การเกิดในเมือง’ภายใต้โครงการวิจัยคนเมือง4.0:อนาคตชีวิตคนเมืองในประเทศ ไทยกำลังศึกษาหาคำตอบและมองความเป็นไปได้ในเรื่องนี้ เมืองใหญ่ไม่ไหวจะท้อง ในขณะที่คนอยู่อาศัยในพื้นที่เมืองมากขึ้นเรื่อยๆน่าสนใจว่าคนในเขตเมืองกลับมีอัตราเจริญพันธ์ุน้อยลงมีสถิติบางตัวที่สัมพันธ์กับเรื่องนี้เช่นตัวเลขการหย่าร้างในเขตกรุงเทพมหานครที่เพิ่มสูงขึ้นถึง30%ในรอบสิบปีอาจเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สัมพันธ์กับตัวเลขการเกิดที่น้อยลงไปด้วยหรือแม้แต่เรื่องที่ว่าในเมืองมีคนโสดมากกว่าเขตนอกเมืองเมื่อมองรูปแบบการอยู่อาศัยและการเลี้ยงลูกในปัจจุบัน รศ. ดร.อภิวัฒน์ชี้ให้เห็นว่าอาจส่งผลต่อการตัดสินใจมีลูกด้วย กล่าวคือการที่พ่อแม่ในเมืองปัจจุบันเน้น คุณภาพในการเลี้ยงลูกทำให้ต้องทุ่มเทเวลากับลูกสูงในขณะที่อยู่กันแบบครอบครัวเดี่ยวซึ่งไม่มีปู่ย่าตายายหรือญาติๆที่จะไหว้วานให้ช่วยเลี้ยงดูพ่อแม่จึงตัดสินใจมีบุตรภายใต้ข้อจำกัดที่ตนจะเลี้ยงดูไหวเท่านั้น ส่วนในเมืองหนาแน่นสูงอย่างฮ่องกงความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดที่ลดน้อยถอยลงนั้นสัมพันธ์กับลักษณะเมืองอย่างชัดเจนเพราะฮ่องกงเป็นเมืองที่มีค่าใช้จ่ายด้านที่อยู่อาศัยสูงลิบสูงเกินกว่าที่คนในวัย 20-30 ปีที่เพิ่งมีครอบครัวจะลงทุนครอบครองหรือเช่าที่อยู่อาศัยเองได้ผลก็คือคนที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์และกำลังก่อร่าง สร้างครอบครัวจำเป็นต้องอาศัยอยู่กับพ่อแม่ในพื้นที่ที่จำกัดจึงขาดพื้นที่ส่วนตัวหรือพื้นที่ที่จะปฏิสัมพันธ์กันอย่างอิสระ หรือกรณีที่มีบุตรสักหนึ่งคนแล้ว พื้นที่เพียง 20 กว่าตร.ม. ทำให้พ่อแม่หลายรายต้องคิดหนักเมื่อจะมีลูกคนต่อๆ ไป นอกจากเรื่องพื้นที่และรูปแบบการอยู่อาศัยสิ่งแวดล้อมในเมืองอาจมีผลต่อความสามารถในการเจริญพันธุ์ได้เช่นกันกล่าวคือความเครียดหรือมลพิษจากการใช้ชีวิตในเมืองอาจส่งผลต่อจำนวนสเปิร์มและการตกไข่ทำให้โอกาสในการมีบุตรน้อยลงไปอีก ยังไม่รวมถึงสภาพแวดล้อมที่อาจส่งผลไปถึงเรื่องการตัดสินใจมีความสัมพันธ์เชิงสังคม มีเพศสัมพันธ์ และมีครอบครัวอีกด้วย จากอดีตสู่ปัจจุบัน หากมองย้อนกลับไปดูเหมือนจะเป็นเรื่องปกติที่คนวัยประมาณ 60 ในปัจจุบันจะมีพี่น้องมากถึงราว 5-10 คน ในปี 2517 อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี มีชัย วีระไวทยะ เคยประสบความสำเร็จในการรณรงค์ใช้ถุงยางอนามัยเพื่อคุมกำเนิดและเพื่อความปลอดภัย ถึงขั้นที่ถุงยางอนามัยได้รับฉายาว่า ‘ถุงมีชัย’ ซึ่งนับได้ว่าเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ลดจำนวนประชากรได้สำเร็จ ทว่ามาถึงวันนี้ ประชากรที่น้อยเกินไปกลับกลายเป็นปัญหา ปัจจัยที่ทำให้เรื่องนี้เปลี่ยนไป ได้แก่ […]

แสงสว่าง ส่องวิถีชีวิตชุมชนคลองไผ่สิงโต และสะพานเขียว

24/01/2020

บุษยา พุทธอินทร์   แสงไฟที่ส่องสว่างในซอยละแวกบ้านคุณ อาจเป็นเพียงสิ่งเดียวที่ช่วยให้คุณรู้สึกอุ่นใจ และรู้สึกปลอดภัยเมื่อต้องเดินกลับบ้านในยามค่ำคืน แสงไฟในเมืองและชุมชน แสงไฟมีผลต่อ อารมณ์ ความรู้สึก ความกลัว และการรับรู้ของคน แต่น่าสนใจว่า เคยมีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างไฟถนนและการเกิดอาชญากรรมในลอนดอน ปี 2554 พบว่า อันที่จริงแล้วแสงไฟไม่ได้ลดอาชญากรรมโดยตรง  แล้วเหตุใดเราถึงรู้สึกปลอดภัยเมื่อมีแสงไฟสลัวๆ ในยามค่ำคืน แม้ว่าแสงไฟบนทางเท้าจะไม่ใช่อุปกรณ์ที่สามารถลดอาชญากรรมได้โดยตรง แต่แสงไฟที่ส่องสว่างบนพื้นที่สาธารณะ ตามตรอก ซอย มีส่วนช่วยในการมองเห็น รับรู้เส้นทาง สภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้น ทำให้ผู้คนรู้สึกปลอดภัยเมื่อต้องดำเนินชีวิตประจำวันในช่วงเวลากลางคืน  อีกทั้งยังนำมาซึ่งกิจกรรม ความหลากหลายของผู้คน ช่วยเสริมสร้างบรรยากาศที่ดี และเกิดพลวัตการใช้งานพื้นที่ที่ยาวนานมากขึ้น กล่าวคือ ผู้คนที่สัญจรเท้าผ่านไปผ่านมานั้นทำให้เมืองมีชีวิตชีวา ระแวดระวังเป็นหูเป็นตาให้กัน หรือที่เรียกว่า “สายตาเฝ้าระวัง” (eyes on street) ซึ่งจะช่วยป้องกันการเกิดอาชญากรรม (Jacobs, 1961) สร้างกลไกความปลอดภัยให้แก่ชุมชน หรือพื้นที่ ส่องสว่าง สร้างชีวิตชีวาให้สะพานเขียวและชุมชนคลองไผ่สิงโต แสงสว่างมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อวิถีชีวิตของผู้คนในเมืองที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะละแวก ชุมชน พื้นที่เปลี่ยวบริเวณใต้สะพานที่มืด บนสะพานที่ไม่มีทางหนี และพื้นที่มุมอับลับตา มีลักษณะคล้ายคลึงพื้นที่อย่าง “ชุมชนคลองไผ่สิงโต และสะพานเขียว” […]

1 11 12 13 14 15