Public Realm



อ่านเชียงใหม่ผ่านสถาปัตยกรรมเมือง ประวัติศาสตร์และพัฒนาการบนทางสาธารณะ

04/07/2023

การทำความเข้าใจเมืองหนึ่งเมืองใด อาจเป็นเรื่องยากต่อการศึกษาได้อย่างถ่องแท้ เนื่องจากเมืองมีลักษณะเฉพาะที่มีความสลับซับซ้อน มีกิจกรรมต่าง ๆ ที่เคลื่อนไหวและไม่หยุดนิ่งอยู่ตลอดเวลาเช่นเดียวกันกับมนุษย์ จึงมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการผ่านการสั่งสมประสบการณ์และการเรียนรู้ในแต่ละช่วงระยะเวลาแตกต่างกัน โดยเฉพาะกับเมืองประวัติศาสตร์ที่มีพัฒนาการทางเศรษฐกิจและสังคมมาอย่างยาวนาน บทความนี้จะชวนผู้อ่านไปสำรวจสถาปัตยกรรมในเขตเมือง ตลอดสองฝั่งถนนสายวัฒนธรรมของเมืองประวัติศาสตร์เชียงใหม่ เพื่อทำความเข้าใจประวัติความเป็นมาและพัฒนาการของเมืองเชียงใหม่ผ่านสถาปัตยกรรม เมืองเก่า นิยามและความหมายในบริบทประเทศไทย เมืองประวัติศาสตร์ โดยทั่วไปเป็นคำที่ถูกกล่าวถึงไม่มากนัก แต่หากกล่าวถึง “เมืองเก่า” ในบริบทของประเทศไทย อาจเป็นคำที่ผู้อ่านคุ้นเคย ทั้งในแง่การตีความหมายและถูกกล่าวถึงอยู่บ่อยครั้งในบริบทการอนุรักษ์เมือง “เมืองเก่า” อ้างอิง ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ตามประกาศคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่า พ.ศ. 2546 หมายถึง “เมืองหรือบริเวณของเมืองที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะแห่ง สืบต่อมาแต่กาลก่อน มีลักษณะเป็นเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมท้องถิ่น หรือมีลักษณะจำเพาะของสมัยหนึ่งในประวัติศาสตร์ เมืองหรือบริเวณของเมืองที่มีรูปแบบผสมผสานสถาปัตยกรรมท้องถิ่น หรือมีลักษณะเป็นรูปแบบวิวัฒนาการทางสังคมที่สืบต่อมาในยุคต่าง ๆ เมืองหรือบริเวณของเมืองที่เคยเป็นตัวเมืองดั้งเดิมในสมัยหนึ่ง และยังคงมีลักษณะเด่นประกอบด้วยโบราณสถาน เมืองหรือบริเวณของเมืองซึ่งโดยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ หรือโดยอายุ หรือโดยลักษณะแห่งสถาปัตยกรรมหรือคุณค่าในทางศิลปะ โบราณคดี หรือประวัติศาสตร์” คำว่า “เมืองเก่า” อาจให้นิยามและความหมายของเมืองประวัติศาสตร์ได้อย่างครอบคลุม ทั้งในแง่ลักษณะทางกายภาพ สุนทรียศาสตร์ สังคม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปัจจุบัน เมืองเชียงใหม่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นเมืองเก่า ตามประกาศคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่า เมื่อวันที่ 13 […]

เมือง เด็ก และพื้นที่นอกบ้าน

30/06/2023

ในยุคสมัยที่ทุกคนตื่นตัวเรื่องสิทธิ และความเท่าเทียม เข้าใจในความแตกต่างหลากหลาย โอกาสของการเรียนรู้จึงมีอยู่ในทุกที่และแทบจะตลอดเวลาอย่างที่ไม่จำเป็นต้องจำกัดอยู่แต่เพียงในกล่องสี่เหลี่ยมที่ไม่ได้เพิ่มทักษะในทุกๆด้านของเด็กเพราะในโรงเรียนไม่สามารถสอนเด็กอย่างครอบคลุมได้ ดังนั้นการทำกิจกรรมนอกห้องเรียน จะช่วยส่งเสริมต่อยอดทักษะและประสบการณ์ใหม่ๆ ที่รองรับคนทุกวัย และทำให้การเรียนรู้เข้าถึงทุกคนอย่างเท่าเทียม เพราะ “ความรู้” มาคู่ “ประสบการณ์” การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ไม่จำเป็นต้องเกิดจากกิจกรรมทางวิชาการ แต่อาจเกิดจากประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน การสัมผัสสิ่งรอบตัว การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนรอบข้าง การวิ่งเล่นในสนามเด็กเล่นหรือสนามกีฬา หรือการไปแหล่งเรียนรู้ต่างๆนอกบ้าน เหมือนกับคำกล่าวที่ว่า “การศึกษาไม่ควรจะเป็นเสื้อไซส์เดียวที่ใส่ได้สำหรับทุกคน”(Long, 2012)  ฉะนั้นการเรียนรู้นอกห้องเรียนจึงเป็นการผลักดันให้เด็กเกิดการเรียนรู้ในเรื่องของการลงมือทำ (active) มากกว่าการเป็นผู้รอรับ (passive) สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่จะช่วยหล่อหลอมให้เด็กเกิดทักษะในการใช้ชีวิตประจำวันได้จริง เช่น ทักษะการเข้าสังคม การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ หรือแม้แต่การได้ค้นพบตัวเอง ฉะนั้นการเรียนรู้นอกห้องเรียน เป็นสิ่งจำเป็นในการช่วยเติมเต็มให้เด็กได้เรียนรู้ในสิ่งที่สนใจหรือสงสัย เปิดโลกและเปิดมุมมองต่างๆที่ทำให้เด็กๆได้เรียนรู้ผ่านสัมผัสทั้ง 6 ของตัวเอง ความเหลื่อมล้ำของสาธารณูปการด้านการเรียนรู้ในแนวราบ จากบทความ กรุงเทพฯ สู่การเป็นมหานครแห่งการเรียนรู้ (โดยนิรมล เสรีสกุล อดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ และ พรรณปพร บุญแปง) ที่ว่าด้วย กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองที่ที่อุดมไปด้วยสถานศึกษาที่หนาแน่น เต็มไปด้วยพื้นที่เรียนรู้หลากหลายรูปแบบ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้น คือ ความเหลื่อมล้ำด้านโอกาสการเข้าถึงระบบการศึกษาอย่างเท่าเทียม โดยพื้นที่เรียนรู้นอกระบบและสาธารณูปการศักยภาพเพื่อการเรียนรู้อย่าง […]

แรงงานนอกระบบกับเมืองเป็นของคู่กัน เมืองยิ่งใหญ่แรงงานยิ่งเยอะ

26/06/2023

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองที่โตเดียวของประเทศไทย และแน่นอนว่าสิ่งที่มีมากตามการเติบโตของเมืองคือ “แรงงาน” ที่เปรียบเสมือนได้กับเหล่ามดงานที่คอยทำงานหล่อเลี้ยงเมือง เพื่อให้เศรษฐกิจ และสังคมภายในเมืองเติบโตยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานนอกระบบ จากผลการสำรวจของ WIEGO พบว่าไทยมีการจ้างงานนอกระบบมากกว่าครึ่ง สูงถึงร้อยละ 55 ของการจ้างงานทั้งหมด และกรุงเทพฯ มีการจ้างงานนอกระบบมากถึงร้อยละ 28 ของการจ้างงานภายในเมือง จากกระแสโลกาภิวัฒน์ที่ผันเปลี่ยนไป การที่หลาย ๆ คนเริ่มริเริ่มหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานเป็นแรงงานนอกระบบมากขึ้น หรือกล่าวโดยอีกนัยคือมีการทำงานประเภท “ฟรีแลนซ์ (Freelance)” กันมากขึ้น และไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตามแนวโน้มจำนวนแรงงานนอกระบบยังสูงกว่าแรงงานในระบบ จากผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2564 The Urbanis อยากเสนอถึงเรื่องราวของแรงงานนอกระบบกับโอกาส และความผันผวนภายในเมือง แนวคิด VACU และ BANI มีส่วนสำคัญมากน้อยเพียงใดสำหรับความผันผวนที่เกิดขึ้น ใครคือแรงงานนอกระบบ สำหรับการให้นิยามแรงงานนอกระบบนั้น ก็มีหลากหลายแล้วแต่จะนิยามหรือการใช้ความจำกัดความ เนื่องจากแต่ละความหมายหรือแต่ละคำจำกัดความย่อมมีความแตกต่างในบริบทของตัวมันเอง สำหรับบทความนี้ใช้การนิยามตามสำงานสถิติแห่งชาติ ซึ่งกล่าวไว้ว่า “แรงงานนอกระบบ คือผู้มีงานทำที่ไม่ได้รับความคุ้มครอง หรือไม่มีหลักประกันทางสังคมจากการทำงาน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าเป็นผู้ที่ทำงานส่วนตัวโดยจะมีลูกจ้างหรือไม่ก็ได้ หรือลูกจ้างที่ไม่มีประกันสังคมหรือสวัสดิการพนักงานของรัฐ” (สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2563) ดังนั้นแล้ว หากถามว่าใครคือแรงงานนอกระบบ ถ้าอ้างอิงตามความหมายในข้างต้นคงมีกลุ่มอาชีพไม่น้อยที่ตรงตามความหมายที่ได้กล่าวมา […]

ESPACE CANIN สวนเพื่อสุขภาวะน้องหมา

23/06/2023

กลุ่มผู้ใช้งานสวนสาธารณะในเมืองปารีสให้ความสำคัญกับนโยบายเพิ่มพื้นที่สีเขียว ไม่เพียงแต่เรื่องความเพียงพอต่อความต้องการของประชากรกว่า 2.1 ล้านคน แต่ให้เพียงพอสำหรับประชากรน้องหมา 200,000 ตัวด้วย บางคนเวลาเลือกอะพาร์ตเมนต์ จะมองหาที่ที่สามารถพาน้องหมาไปเดินเล่นในสวนใกล้บ้านได้ด้วยเพราะว่าสงสารที่น้องหมาของเธอต้องเดินเล่นบนทางเท้าแข็งๆ เท่านั้น ไม่ใช่แค่คน แต่น้องหมาก็ต้องการพื้นที่สีเขียว หญ้า ต้นไม้ ให้วิ่งเล่น ดมอะไรเพลินๆ รวมทั้งต้องการ พื้นที่สำหรับพบปะและวิ่งเล่นกับหมาตัวอื่นๆ ในอดีต สวนสาธารณะปารีสห้ามน้องหมาเข้า แต่ในปัจจุบันสวนส่วนใหญ่เริ่มอนุญาตให้น้องหมาเข้าได้ แต่ต้องมีเจ้าของจูง และห้ามเข้าไปเล่นในพื้นที่ที่มีความเปราะบาง เช่น Biodiversity Space แต่กระนั้น ก็ยังไม่พอใจเจ้าของ เพราะน้องหมาต้องการพื้นที่สำหรับเล่นกับน้องหมาตัวอื่นๆ ได้อย่างอิสระ เมืองปารีสจึงออกแบบ Espace Canin (Dog Space) หรือ “สนามหมาเล่น” ที่เจ้าของสามารถปล่อยน้องหมาให้วิ่งเล่นได้ เช่น สวน Square Jacques Antoine เขต 14 หนึ่งในสนามหมาเล่นโดยไม่ต้องมีสายจูง สวนนี้ตั้งอยู่ระหว่างสวนใหญ่ 3 สวน คือ Luxembourg, Montsouris, Plantes และสุสาน Montparnasse […]

เมืองพุงกระเพื่อม

21/06/2023

คนกรุงเทพฯ มีภาวะอ้วนลงพุงถึงร้อยละ 56.1 ซึ่งถือได้ว่าอยู่ในอัตราที่สูงเป็นอย่างมาก แล้วอะไรคือสาเหตุที่ทำให้คนกรุงเทพมหานครอ้วนขนาดนี้ ? เราอาจจะคิดว่าเพราะการบริโภคอาหารจึงทำให้อ้วน เนื่องมาจากการที่กรุงเทพฯ ถือว่าเป็นหนึ่งในเมืองที่มีตัวเลือกทางด้านอาหารอย่างหลากหลายให้เราได้เลือกบริโภคเกือบตลอด 24 ชั่วโมง อีกทั้งอาหารอร่อยที่ถูกปากใครหลาย ๆ คน แต่การบริโภคอาหารอาจไม่ใช่สาเหตุเดียวที่ทำให้ผู้คนอ้วน บทความนี้จึงจะนำเสนอให้ผู้อ่านได้เห็นว่านอกจากการบริโภคอาหารแล้ว ในเรื่องของการออกแบบเมืองจะมีส่วนทำให้คนอ้วนได้อย่างไร กินหวาน กินเค็ม สาเหตุที่ทำให้อ้วน ในกรุงเทพมหานครนั้น มีจำนวนร้านอาหารอย่างร้านยำ ร้านกาแฟ และร้านชานมเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะจุดไหนก็ตามก็จะมีร้านเหล่านี้ อีกทั้งพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้คนที่เปลี่ยนแปลงไป ที่ในปัจจุบันมักจะบริโภคอาหารรสเผ็ด รสหวาน และรสเค็มมากขึ้น ทำให้คนไทยบริโภคอาหารเหล่านี้เพิ่มมากยิ่งขึ้น จึงไม่แปลกเลยที่จะมีภาวะอ้วนลงพุงที่สูง ซึ่งจากผลการสำรวจพบว่า คนไทยบริโภคน้ำตาลมากถึงวันละ 25 ช้อนชา ซึ่งมากกว่าปริมาณที่องค์กรอนามัยโลก (WHO) กำหนดไว้ ซึ่งได้กำหนดให้บริโภคไม่เกินวันละ 6 ช้อนชา และปี 2562 พบว่า คนไทยดื่มเครื่องดื่มที่ผสมน้ำตาลเฉลี่ยกว่า 3 แก้ว (สำนักสารนิเทศ สำนักงานกระทรวงสาธารณสุข, 2564) อีกทั้งบริโภคโซเดียมเฉลี่ย 3,636 มิลลิกรัมต่อวันหรือเท่ากับเกลือถึง 1.8 ช้อนชา […]

โรงเรียนใกล้บ้าน โอกาสการสร้างย่านที่ปลอดภัย

20/06/2023

โรงเรียนใกล้บ้าน โอกาสการสร้างย่านที่ปลอดภัย ความรู้สึกปลอดภัยในพื้นที่ละแวกบ้านเป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินชีวิต ในขณะเดียวกันการมีโรงเรียนใกล้บ้านถือเป็นโอกาสหนึ่งในการสร้างย่านที่ปลอดภัยได้ เนื่องจากโรงเรียนทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และการขัดเกลาทางสังคม และยังมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมความรู้สึกถึงการเป็นเจ้าของพื้นที่ของคนในชุมชน ทำให้เกิดความรู้สึกหวงแหน โดยสิ่งแวดล้อมและกายภาพจะช่วยกระตุ้นให้มีการเฝ้าระวังและจับตาคนแปลกหน้าหรือผู้บุกรุกที่ผ่านเข้ามาในพื้นที่ ทำให้สามารถควบคุม และลดปริมาณการเกิดเหตุอันตรายและอาชญากรรมต่างๆ ได้ เกิดเป็นความปลอดภัยในพื้นที่ (Newman, 1973) ซึ่งในประเทศไทยอาจมองเห็นภาพได้ยากว่าโรงเรียนใกล้บ้านจะสามารถสร้างย่านที่ดีได้อย่างไร แต่เมื่อมองกรณีศึกษาในต่างประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่น การเดินไปเรียนโรงเรียนใกล้บ้านนับว่าเป็นต้นแบบในการส่งเสริมและพัฒนาย่านปลอดภัย และเมื่อมองย้อนกลับมาที่ประเทศไทย โรงเรียนใกล้บ้านในกรุงเทพฯ อาจมีข้อจำกัดและอุปสรรค์หลายอย่าง ทั้งเรื่องค่านิยมของคนไทย และนโยบายจากภาครัฐ โรงเรียนใกล้บ้าน สร้างย่านที่ปลอดภัยได้อย่างไร? ก่อนอื่น จะขอกล่าวถึงข้อดีของการมีโรงเรียนใกล้บ้านกันเสียก่อน  โดยเฉพาะที่เห็นได้ชัดเจนเลยคือ ประหยัดเวลาในการเดินทาง ทำให้เด็กเหลือเวลาในการทำกิจกรรมหลังเลิกเรียนซึ่งช่วยพัฒนาทักษะและความสามารถตามความสนใจของแต่ละคนได้ ในขณะเดียวกัน เมื่อโรงเรียนอยู่ใกล้บ้านในระยะทางที่นักเรียนสามารถเดินไปโรงเรียนได้ สิ่งนี้ถือเป็นโอกาสในการพัฒนาย่านที่อยู่โดยรอบโรงเรียนนั้น เกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้เดินทางได้อย่างปลอดภัยมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น สภาพทางเท้า ทางข้าม ป้ายหรือสัญญาณไฟ ซึ่งช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุ และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่างโรงเรียนกับชุมชน เช่น อาสาสมัคร กิจกรรม และโครงการต่างๆ ยังทำให้เกิดความรู้สึกการเป็นเจ้าของและผูกพันกับพื้นที่ชุมชนซึ่งจะทำให้ย่านมีความปลอดภัย และเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยลดการเกิดอาชญากรรมได้ ที่มาภาพ note thanun เด็กญี่ปุ่นเดินไปโรงเรียนได้อย่างปลอดภัย ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่เด็กเกือบทั้งหมดเดินไปโรงเรียน มีรายงานว่ามีนักเรียนไม่ถึง 2% ที่นั่งรถบัสไปโรงเรียน […]

พื้นที่สุขภาวะ: กับการเติมเต็มชีวิตผู้สูงอายุ

19/06/2023

ทุกคนเคยสังเกตกันไหมว่าทำไมละแวกบ้าน และชุมชนของเราถึงไม่มีพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ พื้นที่สำหรับการออกกำลังกาย หรือแม้กระทั่งพื้นที่ที่สามารถทำกิจกรรมร่วมกัน ซึ่งแน่นอนว่าหากเรามีพื้นที่เหล่านี้ จะช่วยส่งเสริมให้ผู้คนมีความแข็งแรงทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจไม่มากก็น้อย แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถไปออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมได้อย่างสม่ำเสมอ เนื่องด้วยปัจจัยที่หลากหลายและแตกต่างกันไป เช่น ไม่มีเวลา สวนสาธารณะอยู่ไกลจากที่พักอาศัย หรือถ้าจะออกกำลังกายที่บ้านก็มีพื้นที่ที่จำกัด โดยเฉพาะหากเป็นผู้สูงอายุ การที่จะให้ไปออกกำลังกายที่สวนสาธารณะยิ่งเป็นเรื่องที่ยาก ด้วยสภาพร่างกายที่ไม่ได้พร้อมและปัจจัยอื่น ๆ ทั้งนี้ จากข้อมูลบริการสถิติข้อมูล กรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย พบว่า ในปี 2565 จำนวนผู้สูง มีจำนวน 12,116,199 คน คิดเป็น 18.3% ของประชากรทั้งหมดในประเทศ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2564 อยู่ 0.5% แสดงให้เห็นว่าในอนาคตสังคมไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ดังนั้น เมืองควรมีพื้นที่กลางสำหรับการพักผ่อนหย่อนใจ ออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ อย่างไร ? ที่จะสามารถเชื่อมโยงหรือรองรับกับกลุ่มคนสูงอายุที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข และอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างไม่เหงาหงอย บทความนี้จะพาทุกท่านส่อง 3 เมือง ทั้งในไทยและต่างประเทศ ที่มีพื้นที่สุขภาวะที่ดี ที่ส่งเสริมการสร้างและพัฒนาสิ่งแวดล้อมทั้งทางกายภาพและทางสังคม ที่นอกจากจะส่งเสริมผู้สูงอายุสุขภาพกายแข็งแรงแล้วนั้น ยังส่งเสริมมิติด้านจิตใจ สติปัญญา และทางสังคม […]

เมืองกับสุขภาพจิต: สำรวจ 5 พื้นที่ลดความเครียดในเมือง

19/06/2023

เมืองและปัญหาสุขภาพจิตดูเป็นสิ่งที่มีความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกันในหลายมิติ ปัจจุบันผู้คนที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองต้องดำเนินชีวิตอย่างเร่งรีบอยู่ตลอดเวลา ทำให้เราสามารถสัมผัสกับบรรยากาศของความเครียดจากผู้คนรอบข้างได้อยู่เสมอ หนึ่งในสาเหตุสำคัญเกิดจากปัญหาสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน อาทิ ปัญหาการจราจรติดขัด ความแออัดของเมือง สภาพแวดล้อมที่ไม่ดี ฯลฯ จนส่งกระทบให้เกิดความเครียดสะสม The Urbanis จะนำพาทุกท่านติดตามสถานการณ์ผ่านบทความและมองหาแนวทางการพัฒนาเมือง เพื่อช่วยลดความเครียดจากการดำเนินชีวิตและเพิ่มความน่าอยู่ของเมืองไปด้วยกัน เมืองกับสุขภาพจิต จากบทความ ‘เรื่องร้ายของคนเมือง’ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นิรมล กุลศรี ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง อธิบายว่า “ตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 ซึ่งการพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรมดึงดูดให้คนกระจุกตัวในเมือง ความหนาแน่นแออัดจึงเริ่มขึ้น จากเดิมสังคมชนบทมักจะมีความสัมพันธ์ที่ดีร่วมกัน แต่พอมาเป็นสังคมเมืองที่มีความปัจเจก การวางเฉย ระยะห่างและยังเต็มไปด้วยสิ่งเร้าทำให้เราเกิดโรค โดยเฉพาะโรคทางจิต” ชี้ให้เห็นว่าสภาพปัญหาและรูปแบบทางสังคม ถือเป็นสิ่งเร้าของสภาวะเครียดที่เกิดขึ้นในสังคมเมือง สอดคล้องกับข้อมูลจากรายงานองค์การอนามัยโลกในปี 2014 อภิปรายถึงบริบททางเศรษฐกิจสังคมและการเมืองการปกครองว่า “ประวัติศาสตร์ของประเทศ-สถานการณ์ทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน และบรรทัดฐานทางวัฒนธรรมและสังคมที่อยู่ในสังคม เป็นสิ่งกำหนดคุณภาพชีวิตของประชาชน ดังนั้นประเทศที่มีเสรีภาพทางการเมืองต่ำ มีสภาพแวดล้อมทางการเมืองไม่มั่นคง และมีระบบบริการและระบบกำกับดูแลที่ไม่ดี จะเพิ่มความเสี่ยงให้ประชาชนและส่งผลต่อสุขภาวะทางจิตใจ” เห็นได้ว่าปัญหาสุขภาพจิตเป็นปัญหาที่ไม่อาจมองข้ามได้และมีความซับซ้อนของปัญหา (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, 2014, หน้า 30) นอกจากนี้องค์การอนามัยโลกยังชี้เห็นว่า การเข้าถึงสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและพื้นที่กลางแจ้งเป็นสิ่งสำคัญต่อสุขภาพจิต […]

เมืองกับฉัน: สภาวะเมืองซึมเศร้า และเราต้องกลายเป็นคนเศร้าซึม

19/06/2023

“โรคซึมเศร้า” อาจเป็นคำที่หลายคนคุ้นชินหรือคุ้นหูกันเป็นอย่างดี ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่ปี 2558 – 2564 พบว่าประเทศไทยมีอัตราการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยจิตเวชสูงเกือบ 2 เท่า จาก 1.3 ล้านคน เพิ่มเป็น 2.3 ล้านคน โดยผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษามาด้วยอาการวิตกกังวล และอาการซึมเศร้ามากที่สุด ถึงแม้ว่าโรคซึมเศร้าหรือภาวะซึมเศร้า เป็นอาการที่รักษาได้ แต่ต้องใช้เวลาและความพยายามเป็นอย่างมาก รวมไปถึงความช่วยเหลือจากคนรอบข้างทั้งครอบครัว เพื่อน จนไปถึงสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสภาพแวดล้อมภายในเมือง ที่เป็นพื้นที่อยู่อาศัย พื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ หรือสภาพแวดล้อมอากาศภายในเมือง ล้วนจะส่งผลกระทบทั้งเชิงบวกและเชิงลบต่อตัวบุคคล The urbanis จึงอยากชวนทุกท่านมาส่องและทำความรู้จักพื้นที่ที่สามารถส่งเสริมสุขภาวะทางจิตภายในเมือง ว่าเมืองหรือพื้นที่รูปแบบไหนที่จะช่วยลดอาการซึมเศร้าได้บ้าง เราเศร้า เมืองก็เศร้าตาม ที่มาภาพ Damir Samatkulov อย่างที่รู้กันดีว่า “โรคซึมเศร้า” คือโรคทางจิตเวชประเภทหนึ่ง ที่เกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมองที่ชื่อว่า เซโรโทนิน (Serotonin) มีปริมาณลดลง ทำให้ผู้ป่วยมีอาการป่วยทั้งร่างกาย จิตใจ และความคิด รู้สึกว่าตัวเองไม่มีความสุข มีแต่ความวิตกกังวล ร้ายแรงสุดผู้ป่วยอาจคิดสั้นฆ่าตัวตายได้ สาเหตุและปัจจัยหลักเกิดจาก สภาพแวดล้อมที่ประสบพบเจอทั้งทางกายภาพ และทางสังคม จากผลการศึกษาของสถาบันสุขภาพจิตแห่งชาติ […]

ขยะเมืองลดลงได้ เริ่มต้นได้ที่ ‘ต้นทาง’

17/06/2023

ปัญหาขยะ กับเมืองขนาดใหญ่อย่างกรุงเทพมหานครเป็นปัญหาที่แก้ไม่ตก อันเนื่องมาจากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการขาดการคัดแยกขยะจากต้นทาง การขนย้าย การจัดการขยะ ด้วยความที่กรุงเทพฯ เป็นเมืองขนาดใหญ่ที่มีประชากร 5 ล้านกว่าคน ยังไม่นับรวมประชากรแฝงและนักท่องเที่ยวต่างชาติอีก 4 ล้านกว่าคน เมื่อเทียบกับเมืองหลวงในประเทศอื่นๆ จึงไม่แปลกใจเลยที่ปัญหาขยะจะเป็นปัญหาใหญ่ที่สุดเรื่องหนึ่งของกทม. ทราบกันหรือไม่ว่าเมื่อปลายปีที่ผ่านมา กรุงเทพฯ มีขยะปริมาณขยะมูลฝอยที่เก็บได้จำนวนทั้งหมด 3 ล้านตัน เมื่อเทียบเป็นรถบรรทุกสิบล้อแล้ว ในแต่ละวันเราทิ้งขยะเท่ากับรถบรรทุกสิบล้อกว่า 360 คันเลยทีเดียว และเมื่อดูงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 พบว่ากทม.มีแผนงานจัดการมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล งบประมาณจำนวน 4,639,731,855 บาท อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการจัดการขยะจะต้องอาศัยโครงสร้างในการบริหารจัดการในกระบวนการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเก็บภาษี การคัดแยก การเดินรถ การกำจัด แต่สิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้ขั้นตอนอื่นๆ ก็คือการสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง วันนี้ The Urbanis จึงอยากพาผู้อ่านมาชมกรณีศึกษาจากประเทศต่างๆ ว่าเขาทำอย่างไรให้ ‘ต้นทาง’ มีการคัดแยกขยะมากขึ้น เพื่อลดภาระปัญหาขยะในกระบวนการต่อๆ ไป The Green Dot ประเทศเยอรมัน ที่มาภาพ Legislation: a final […]

1 2 3 15