Public Realm



พื้นที่สาธารณะในนามสนามหลวง : จากทุ่งพระเมรุ สนามกอล์ฟ ลานเล่นว่าว สู่พื้นที่สัญลักษณ์

05/12/2019

ใครเกิดทันได้เล่นว่าวที่สนามหลวงบ้าง?  ครั้งหนึ่ง ก่อนที่สนามหลวงจะมีรั้วล้อมรอบ สนามหลวงเคยเป็นพื้นที่สาธารณะผืนใหญ่ใจกลางเมืองที่มีฉากหลังเป็นพระบรมมหาราชวัง วิวสวยที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย ที่จริงแล้ว สนามหลวงเคยเป็นอะไรต่อมิอะไรมาหลายอย่าง ทั้งลานเล่นว่าว ตลาดนัด ฉายหนังกลางแปลง ท้องนา ยุ้งฉาง ทุ่งพระเมรุ ลานประหาร สนามกอล์ฟ สนามม้า ไฮด์ปาร์ค ลานจอดรถ ห้องนอนชั่วคราวของคนไร้บ้าน และพระราชพิธีสำคัญต่างๆ  กูดเซลล์ นักผังเมือง เคยอธิบายถึงพื้นที่สาธารณะว่า มีความเกี่ยวข้องกับการสร้างพื้นที่เปิดโล่งทางกายภาพเพื่อทำให้เกิดความสัมพันธ์กับลักษณะการใช้ที่เป็นสาธารณะและเป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีให้กับคนเมือง ดังนั้น สนามหลวงจึงน่าจะเข้าข่ายเป็น ‘พื้นที่สาธารณะ’ แห่งแรกๆ ของมหานครแห่งนี้มาก่อน แต่ถ้าย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์ สนามหลวง หรือ ทุ่งพระเมรุ มีการใช้งานครั้งแรกในงานพระเมรุพระบรมอัฐิพระชนกแห่งรัชกาลที่ 1 และเป็นสถานที่เพื่อถวายพระเพลิงพระบรมศพพระเจ้าแผ่นดินและพระบรมวงศานุวงศ์มาโดยตลอด  นอกจากกิจกรรมพระราชพิธี สนามหลวงยังเคยเป็นผืนนา แสดงความอุดมสมบูรณ์ของสยามประเทศ ให้สมกับคำว่า อู่ข้าว อู่น้ำ การทำนาที่ท้องสนามหลวงเกิดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ทำนา เพื่อเป็นการแสดงให้นานาประเทศเห็นว่า เมืองสยามบริบูรณ์ด้วยข้าวปลาอาหาร มีไร่นาไปจนใกล้ ๆ พระบรมมหาราชวัง จนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงโปรดเกล้าให้ใช้ […]

เมืองรับใช้คน หรือคนรับใช้เมือง คำตอบที่ซ่อนในผังเมืองบาร์เซโลน่า

08/11/2019

“Down with the walls!”“ทุบกำแพงนั่นออกไปซะ!”  เสียงประท้วงของผู้อยู่อาศัยในบาร์เซโลน่าปี 1843 อาจทำให้ใครต่อใครประหลาดใจที่ได้รู้ว่าเมืองที่ได้รับการชื่นชมนักหนาว่าเป็นเมืองที่มีผังเมืองดีที่สุดเป็นลำดับต้นๆ ของโลกอย่างบาร์เซโลน่านั้นจะมีผู้คนออกมาประท้วงไปทั่วเมือง ด้วยความไม่พอใจเรื่องความตกต่ำของคุณภาพชีวิตผู้อยู่อาศัยในเวลาไม่กี่ร้อยปีก่อนหน้า  จากสถานะเมืองขนส่งท่าน้ำที่รุ่งโรจน์ในยุคอุตสาหกรรม กลายมาเป็นเมืองที่เกือบล่มสลาย จากการขยายตัวอย่างรวดเร็วของจำนวนผู้อยู่อาศัยพอๆกับการเติบโตของโรงงานที่ผุดขึ้นทั่วยุโรปในช่วงเวลานั้น  ในยุคอุตสาหกรรม บาร์เซโลน่าเปลี่ยนสถานะจากเมืองท่ามาเป็นเมืองที่มีอัตราการเติบโตเร็วกว่าเมืองใดในสเปน โตเร็วเสียจนแทบจะเรียกได้ว่าเป็นเมืองหลวงของยุโรป แต่การพัฒนาของเมืองที่ก้าวกระโดดกลับสวนทางกับคุณภาพชีวิตของผู้คนที่ค่อยๆดิ่งลงเรื่อยๆ เมื่อจำนวนผู้อยู่อาศัยเพิ่มมากขึ้นจนเกือบแตะสองแสนคนในพื้นที่แคบๆของเมืองที่ไม่ขยายตัวตาม ด้วยความที่ถูกล้อมรอบไปด้วยกำแพงเมืองที่ห่อหุ้มเมืองไว้ตั้งแต่ยุคกลาง (Medieval Walls) ในวันนั้นที่การพัฒนาเปลี่ยนไป แต่กายภาพเมืองไม่เปลี่ยนตาม กำแพงที่ครั้งหนึ่งเคยปกป้องผู้คนไว้ เกือบจะกลายเป็นกำแพงเดียวกันที่ฆ่าผู้คนให้ตายอย่างช้าๆขาดอากาศหายใจ จากผู้อยู่อาศัยร้อยกว่าคนต่อเฮคเตอร์ (1 เฮคเตอร์ = 0.01 ตารางกิโลเมตร) ในยุคก่อนอุตสาหกรรม กลายมาเป็น 856 คนต่อเฮคเตอร์ จำนวนนี้มากกว่าความหนาแน่นของเมืองที่ว่าใหญ่แล้วอย่างปารีสถึงเท่าตัว  คุณภาพชีวิตที่ต่ำลงไม่ได้เป็นแค่เรื่องที่ผู้คนพูดกัน ทึกทักกันไปเอง แต่มีหลักฐานชัดเจน ทั้งเรทอายุเฉลี่ยที่ลดลงฮวบฮาบ โรคติดต่อ โรคระบบทางเดินหายใจต่างๆ ฯลฯ ที่ในการประท้วงปี 1843 นั้นผู้คนต่างส่งเสียงกันว่ากำแพงเมืองสูงหนาที่บีบรัดล้อมคอกพวกเขาไว้ จะทำให้ผู้คนหายใจไม่ออกตายกันไปหมดทั้งเมือง ถ้าไม่ทุบทำลายมันลง ปัญหาเรื่องคุณภาพชีวิตทั้งสุขภาพ และความสะอาดในเมือง ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในบาร์เซโลน่าเท่านั้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 แต่เป็นประเด็นที่พบร่วมกันในหลายเมืองทั่วยุโรป อันเป็นผลต่อเนื่องมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมที่ทำให้โรงงานเพิ่มขึ้น ถนนสายหลักแออัดกันอยู่ในย่านเศรษฐกิจ ผู้คนแห่กันเข้ามาตามการพัฒนาที่กระจุกอยู่ใจกลางเมือง […]

ใช้เทคโนโลยีเปลี่ยนเมืองให้ดีขึ้น : เทรนด์ออกแบบเมืองที่ตอบโจทย์ความยั่งยืนของโลก

04/11/2019

คุณเคยสงสัยไหมว่า – เมืองที่ดีควรเป็นอย่างไร?  มีอาคารสวยล้ำสมัย? ระบบขนส่งสาธารณะที่ครอบคลุม? หรือเอื้อให้คนเดินได้เดินดี? ใช่แล้ว – เมืองที่ดีควรมีคุณสมบัติทั้งหมดที่ว่ามานั่นแหละ แต่โลกทุกวันนี้ที่ทรัพยากรมีจำกัด ปัญหาสิ่งแวดล้อมดูจะเป็นเรื่องใหญ่ขึ้นทุกที และภายในปี 2040 อัตราการใช้พลังงานทั่วโลก 80% จะเกิดขึ้นในพื้นที่เมือง ดังนั้น หน้าที่ของนักออกแบบเมืองจึงไม่ได้หยุดแค่การสร้างอาคารสวยๆ สร้างระบบขนส่งสาธารณะดีๆ หรือพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนให้ดีขึ้นเท่านั้น แต่ยังต้องทำให้โครงสร้างพื้นฐานของเมืองสามารถใช้ทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่าและยั่งยืนที่สุดด้วย แต่จะทำอย่างไรเล่า? หนึ่งคีย์เวิร์ดสำคัญที่ตอบโจทย์นี้ คือ ‘เทคโนโลยี’ ที่จะเข้ามาเปลี่ยนเมือง แทนศรี พรปัญญาภัทร ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) ฝ่าย Urban Technology เล่าไว้ในการบรรยายสาธารณะเรื่อง ‘โลกรอบสถาปัตยกรรมผังเมือง’ เมื่อ19 กันยายน 2562 ว่าเทคโนโลยีจะมามีบทบาทต่อการพัฒนาเมืองในอนาคตอย่างไรบ้าง ก่อนอื่น อยากชวนคุณมาทำความเข้าใจเสียก่อนว่า คุณภาพชีวิตในเมืองเกิดจาก  1) โครงสร้างพื้นฐานเมือง (Urban Infrastructure) ที่มีประสิทธิภาพ  และ 2) การบริการในเมืองที่คนเข้ามามีปฏิสัมพันธ์ ซึ่งเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วในยุคนี้จะเข้ามาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเมืองให้ดีขึ้นนั่นเอง แทนศรเล่าถึง 5 เทรนด์สำคัญของโครงสร้างพื้นฐานเมืองที่ต้องจับตามอง และมีผลต่อเกมการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริหารเมือง […]

1 13 14 15