Public Realm



เมื่อข้อมูลดิจิทัลในเมืองคือสายสืบชั้นดี : จัดการ COVID-19 แบบเกาหลีใต้

28/04/2020

มาถึงวันนี้ ผู้คนในเกาหลีใต้เริ่มกลับมาใช้ชีวิตปกติ หลายคนออกไปเดินดูดอกไม้บานต้นฤดูใบไม้ผลิ (แม้จะยังมีคำเตือนจากรัฐบาลว่ายังไม่ควรออกไปในที่ชุมชน) ผิดกับเมื่อเดือนมีนาคมที่คนเกาหลียังอยู่ในภาวะหวาดกลัวโรคระบาด COVID-19 จากตัวเลขที่พุ่งสูงต่อเนื่อง หลังเกิดเหตุการณ์แพร่เชื้อจำนวนมากในเมืองแทกูเมื่อช่วงปลายเดือนกุมภาฯ  วันนี้ตัวเลขได้ลดระดับลงแล้วในระดับหลักสิบ จนรู้สึกเหมือนไม่มีผลอะไรกับชีวิต เมื่อมองย้อนกลับไป ตัวเลขผู้ติดที่แซงหน้าประเทศอื่นๆ หลายประเทศอย่างรวดเร็วในกราฟระดับโลก มองแง่หนึ่ง คือความน่าสะพรึงกลัวของโรคระบาด แต่มองในอีกแง่ ตัวเลขเดียวกันนี้คือตัวเลขที่สะท้อนการจัดการอย่างเป็นระบบของเกาหลี ที่ทำให้เจอผู้ติดเชื้อได้ไวกว่าใครๆ  โรคไม่ได้หยุดแพร่ระบาดแค่เพียงเพราะเรามองไม่เห็นมัน หนึ่งในปัจจัยความสำเร็จที่เกาหลีใต้ในการจัดการกับการระบาดของโควิด-19 คือการติดตามค้นหาตัวผู้ที่มีความเสี่ยงจะติดเชื้อได้จำนวนมาก เพื่อมาเข้ากระบวนการตรวจสอบเชื้อได้อย่างครอบคลุม  ว่าแต่ว่าเขาทำได้อย่างไร? เพราะเข้าใจจึงมั่นใจ ทางการเกาหลี เรียกกลยุทธ์ที่พวกเขาใช้จัดการกับภาวะวิกฤตนี้ว่า TRUST ซึ่งมาจากคำว่า ความโปร่งใส (transparency) ความรับผิดชอบ (responsibility) การทำงานสอดรับกัน (united actions) วิทยาศาสตร์และความเร็ว (science and speed) และการร่วมกันใจเป็นหนึ่ง (together in solidarity) เมื่อมองเจาะได้ด้านความโปร่งใส ซึ่งเน้นไปที่การสืบหาตัวผู้เข้าข่ายติดเชื้อได้เร็วและรีบเผยแพร่ข่าวสารทันทีที่ได้รับการยืนยัน คือกุญแจสำคัญที่ประชาชนหลายคนเชื่อว่ารัฐรับมือได้ เพราะพวกเขาเองก็ได้รู้ทั้งสถานที่ที่ผู้ติดเชื้อผ่านในช่วงเวลาต่างๆ และได้รู้สถานการณ์ในละแวกบ้านว่าร้ายแรงระดับไหน ส่วนหนึ่งที่ต้องยกความดีความชอบให้คือภาคเอกชนที่คิดชุดตรวจสอบโรค (test kit) ได้รวดเร็ว แต่อีกส่วน ต้องยกให้ความสามารถของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคเกาหลี หรือ […]

เมือง (ลอนดอน) กับมาตรการรับมือ Covid-19

24/04/2020

อังกฤษกลายเป็นที่โด่งดังหลังจากออกมาตรการ Herd Immunity เมื่อช่วงปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา มาตรการนี้เหมือนจะเป็นแนวคิดใหม่ แลดูท้าทาย ผสมผสานความเสียดสีว่ารัฐบาลไม่ใส่ใจ ปล่อยให้แต่ละคนแบกรับชีวิตตนเอง แต่ก็เป็นวิธีที่มีใช้กันมานาน ได้ผลและมีหลักการทางวิทยาศาสตร์รองรับ ตั้งแต่ Boris Johnson นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรประกาศ Lock Down และเริ่ม Social Distancing เมื่อ 23 มีนาคม ลอนดอนที่เป็นเมืองศูนย์กลางเมืองหนึ่งของโลกก็เริ่มเงียบเหงาลง ชาวต่างชาติทยอยเดินทางกลับบ้าน คนที่ยังอยู่ก็เริ่มทำงานจากบ้าน (Work from home : WFH) ไม่ต่างจากเมืองไทย จากที่เคยออกจากบ้านวันละหลายครั้ง กลายเป็นหลายวันต่อหนึ่งครั้ง คนในเมืองใหญ่อย่างลอนดอนต่างผูกชีวิตไว้กับซุปเปอร์มาร์เก็ตซึ่งแม้จะสั่งออนไลน์ให้มาส่งได้แต่หากเป็นของสดก็จำเป็นต้องออกไปเลือกซื้อด้วยตัวเอง หลายมาตรการรับมือ Covid-19 ในสหราชอาณาจักรและลอนดอนเป็นที่รับรู้กันดี และใช้กันตามเมืองที่มีผู้คนพลุกพล่านทั่วโลก ทั้งการรักษาระยะห่าง 2 เมตร และอยู่รวมกันได้ไม่เกิน 3 คน ในที่สาธารณะ ภาคเอกชนให้ความร่วมมือกับภาครัฐด้วยการทำสัญลักษณ์ตามทางเดินและฝากำแพงเพื่อบอกให้รู้ว่าระยะ 2 เมตร คือระยะประมาณนี้นะ รวมถึงมีการแบ่งเวลาเข้าซื้อของในซุปเปอร์มาร์เก็ตชัดเจนว่าให้ความสำคัญ (Priority) กับกลุ่มคนที่มีความเสี่ยง (Vulnerable people) กับคนที่ทำงานให้ […]

Where we belong ในช่องว่างของความไม่รัก

20/04/2020

6 ปีของคุณยาวนานแค่ไหน ? เท่าที่มองเห็น 6 ปีที่ผ่านมานี้ได้เปลี่ยนแปลงหลายสิ่งเกี่ยวกับใครต่อใครไปมากทีเดียว จากนักเรียนสู่นักศึกษา จากนักศึกษาสู่พนักงาน จากต่างจังหวัดสู่เมืองหลวง และอาจยาวนานมากพอที่จะเปลี่ยนให้เด็กหลายคนเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่โกรธเกรี้ยว เศร้าโศก สิ้นหวัง และกำลังจะเฉยชาอย่างมากได้ในเวลาเดียวกัน และท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้กลับมีหลายสิ่งเช่นเดียวกันที่แทบจะไม่เปลี่ยนแปลงไปเลย ‘กรุงเทพมหาคร’ เมืองใหญ่ที่ใหญ่กว่าปทุมธานีแค่สี่สิบกว่าตารางกิโลเมตร แต่กลับมีประชากรมากเกือบ 6 ล้านคน แม้คนจะมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่การเติบโตของเมืองกลับไม่ได้ช่วยใครเข้าถึง ‘ชีวิตดีๆที่ลงตัว’ ได้มากขึ้นเท่าไหร่นัก ช่องว่างของความเหลื่อมล้ำไม่เคยลดน้อยลง ความเจริญผูกเป็นปมหนาอยู่กลางเมือง และคนส่วนใหญ่ก็ยังคงต้องทำงานอย่างหนักเพื่อชดเชยในส่วนที่สวัสดิการจากรัฐไม่สามารถทำหน้าที่ของตัวมันเองได้ดีพอ การเดินทางในกรุงเทพฯไม่เคยเป็นเรื่องง่ายสำหรับใครก็ตาม  การเดินออกไปสำรวจเมืองในวันนี้ ฉันเลือกที่จะเดินทางด้วยขนส่งสาธารณะ อย่างรถตู้ รถเมล์ รวมถึงรถไฟฟ้า  แม้จะมีเงินไม่มากนัก แต่บางครั้งการจ่ายค่ารถเมล์ในราคาหลักสิบก็อาจเป็นเรื่องที่ต้องคิดแล้วคิดอีก เพราะเงินจำนวนน้อยเท่านี้อาจไม่คุ้มค่าเลยเมื่อเทียบกับสิ่งที่คุณจะได้รับจากการบริการของขนส่งมวลชน รวมถึงเวลามากพอสมควรที่ต้องสูญเสียไปบนท้องถนน  และหากจะเปลี่ยนไปใช้รถไฟฟ้าคุณก็อาจต้องจ่ายราว 30 – 120 บาท ต่อการโดยสารไปและกลับในหนึ่งรอบจากรายได้เฉลี่ย 620 บาท (อ้างอิงโดยประมาณจากเว็บไซต์ลงทุนศาสตร์ 2018) จริงอยู่ที่ในปัจจุบันรถไฟฟ้านั้นสามารถเข้าถึงพื้นที่ส่วนอื่นๆได้มากขึ้น แต่ราคาของมันก็ยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกัน นี่จึงทำให้ความไม่ปกติอย่างการต้องจ่ายเงินจำนวนมากเพื่อซื้อการคมนาคมที่ดีตามมาตรฐานนี้เป็นเรื่องที่ไม่เคยเปลี่ยนไปเลย พื้นที่ในอีกฟากของเมืองนำเราไปรู้จักกับเมืองอีกแบบที่เราอาจไม่คุ้นเคย  ราคาของที่อยู่อาศัยที่แพงเกินกว่าค่าครองชีพไปหลายเท่านั้นทำให้หลายคนเลือกที่จะเช่าบ้าน รวมถึงพึ่งพาสวัสดิการด้านที่อยู่อาศัยจากภาครัฐที่ดูเหมือนจะไม่ดีเท่าไหร่นัก ฝุ่นควันจากการคมนาคมบนทางด่วนตกลงสู่หลังคาเบื้องล่าง คนในชุมชนยังคงใช้ชีวิตอย่างเป็นปกติแม้ว่าฝุ่นที่ว่าอาจกระจายอยู่แทบทุกอณูในอากาศ และระยะถนนระหว่างสองบ้านที่ห่างกันเพียงหนึ่งก้าวเล็ก […]

Coronavirus : เทคโนโลยีดิสรัปชั่นแบบทวีคูณ ที่อาจส่งผลต่อเมือง

17/04/2020

ขอเริ่มต้นด้วยข้อสังเกตที่ปัจจุบันพบว่ามีความเป็นไปได้สูง ผนวกกับสถานการณ์ที่ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญ  “การเกิดโคโรนาไวรัส (Coronavirus) อาจมีนัยสำคัญถึงการเปลี่ยนผ่านของยุคสมัย ในมุมมองการวิเคราะห์ถึงการดิสรัปชั่นของเทคโนโลยี” เหตุใดจึงกล่าวเช่นนั้น? แล้วทำไมนักออกแบบเมืองถึงให้ความสำคัญต่อเหตุการณ์หรือสถานการณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเกิดโรคระบาด (Pandemic) ของโคโรนาไวรัส (Coronavirus) และการเข้ามาดิสรัปชั่นของเทคโนโลยี (Technology disruption) ทั้ง ๆ ที่ผู้คนกลุ่มนี้ทำอยู่ก็เพียงแค่ออกแบบเชิงกายภาพเท่านั้น รูปแบบทางกายภาพมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมมนุษย์ รวมถึงวิธีการทำงานของเมืองยังมีความสอดคล้องกับรูปแบบการใช้งาน ซึ่งในปัจจุบันไม่สามารถเอาปัจจัยการเข้ามาดิสรัปชั่นของเทคโนโลยีออกจากกระบวนการคิดในการออกแบบเมืองได้เลย การเข้ามาของเทคโนโลยีอาจทำให้การออกแบบเปลี่ยนแปลงไปบ้าง และได้ส่งผลอย่างชัดเจนขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่าพื้นที่ในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่สาธารณะอาจจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่ชัดเจน แต่รูปแบบเชิงธุรกิจหรือห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ ได้ปิดตัวหรือทำยอดขายได้น้อยลง เนื่องจากมีการเข้าถึงเทคโนโลยีที่เพิ่มมากขึ้น กับความสะดวกรวดเร็วของการขนส่ง ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และอาจจะส่งผลต่อวิถีชีวิตประจำวัน แล้ว Coronavirus เกี่ยวอะไรกับ Technology Disruption? การเข้ามาของเทคโนโลยีดิสรัปชั่นในปัจจุบัน (ก่อนเกิดโรคระบาดโคโรนาไวรัส) สามารถมองเห็นได้ประหนึ่งว่าสังคมเมืองในปัจจุบันกำลังก้าวข้ามไปสู่ยุคสมัยของเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายสัญญาณโทรศัพท์ 5G บล็อกเชน (Block chain) ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence) ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data) […]

‘Pandemic & The City’ จามครั้งเดียว สะเทือนไปทั้งเมือง

10/04/2020

การระบาดของเชื้อโรคและโรคภัยไข้เจ็บไม่ได้ส่งผลแค่เฉพาะกับสุขภาพ แต่ยังเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคน และนำพาเมืองไปสู่บริบทใหม่ทั้งในเชิงประชากร โครงสร้างทางสังคม และโครงสร้างทางกายภาพ ชุมชนเมืองมีการบริหารจัดการ รับมือ เรียนรู้ ปรับตัวและเดินต่ออย่างไร ในการอุบัติของโรคระบาด WHO ได้เผยข้อมูลที่สำคัญว่า การรระบาดของไข้หวัดใหญ่ที่เป็นโรคระบาดระดับโลก (Pandemic) เกิดขึ้นทุกๆ 10 – 50 ปี โรคระบาดและเมืองมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด เมือง ในฐานะศูนย์รวมของกิจกรรมทางเสรษฐกิจ สังคม การเมือง ความหนาแน่นของประชากรที่ประกอบกิจกรรมร่วมกันภายในเมือง สร้างโอกาสให้เกิดการติดเชื้อของโรคต่างๆได้อย่างไม่ยากนัก การรับมือต่อโรคติดต่อนั้นๆก็สะท้อนให้เห็นถึงโครงสร้างทางสังคม ความเปราะบางของสังคม และสิ่งที่สังคมนั้นให้คุณค่าหรือมองข้าม เมื่อเกิดการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ นั่นก็หมายถึงผลกระทบต่อชีวิตของผู้คนในเมืองในทุกระดับชนชั้น ที่ไม่ใช่แค่ผลกระทบต่อชีวิต แต่รวมไปถึงระบบเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง และบาดแผลของความเสียหายที่เกิดขึ้นก็มักจะส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อระบบของเมืองในด้านใดด้านหนึ่ง  แล้วการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ในครั้งนี้ ที่ได้เปลี่ยนวิถีชีวิตประจำวันของเราอย่างเด่นชัด ความเปลี่ยนแปลงในระยะสั้นนี้จะสั่นสะเทือนเมืองและเปลี่ยนแปลงระเบียบโลกในระยะยาวหลังจากที่วิกฤติครั้งนี้จบลงอย่างไร  การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสังคม เศรษฐกิจ การเมือง จากโรคระบาด ในช่วงปลาย ศตวรรตที่ 12 หรือปลายยุคกลาง  เกิดกระบวนการทำให้เป็นเมืองในบางส่วนของทวีปยุโรป ปัจจัยจากการค้าขายหรือจากแรงดึงดูดของแหล่งงานช่วยดึงดูดคนให้เข้ามาอยู่อาศัยรวมกันในพื้นที่เมืองต่างๆ เมื่อเกิดโรคติดต่อ ความหนาแน่นของประชากรเมืองยิ่งทำให้การแพร่ระบาดขยายวงกว้างออกไปได้อย่างไม่ยากเย็น  การระบาดของกาฬโรค หรือที่เรียกกันว่า […]

ความเท่าเทียมที่ไม่เท่าเทียม: ความเสี่ยงและอนาคตของคนไร้บ้านในยุคโควิด-19

09/04/2020

คนไร้บ้านเป็นกลุ่มเปราะชากรที่เปราะบางที่สุดกลุ่มหนึ่งของเมือง การแพร่ระบาดของโควิด 19 แม้หลายคนจะบอกว่าโรคระบาดเป็นสิ่งที่ไม่เลือกหน้าไม่ว่าจะเป็นยากดีมีจน แต่ดูเหมือนว่าคนจนและคนเปราะบางจะได้รับผลกระทบจากการสถานการณ์ในระดับมากกว่าคนทั่วไป ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 คนไร้บ้านคือกลุ่มที่ต้องเผชิญความเสี่ยงจากไวรัสเช่นเดียวกัน ทว่าพวกเขากลับไม่สามารถรับมือกับมันได้มากเทียบเท่ากับคนทั่วไป …เราเผชิญไวรัสเท่ากัน แต่ป้องกันได้ไม่เท่ากัน คนไร้บ้านอยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่มีความเสี่ยงต่อการโรคระบาด ทั้งในพื้นที่สาธารณะและศูนย์พักคนไร้บ้าน เข้าไม่ถึงสุขอนามัยขั้นพื้นฐาน และความรู้ที่เท่าทันในการป้องกันตัวเองจากความเจ็บป่วย ปัจจัยต่างๆเหล่านี้ส่งผลต่อคุณภาพชึวิตและสุขภาพของคนไร้บ้านแทบทั้งสิ้น คนไร้บ้านคือประชากรกลุ่มเปราะบาง ด้วยตัวของพวกเขาเองแล้วนอกจากจะจัดเป็นกลุ่มคนที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อมากที่สุดกลุ่มหนึ่งแล้ว ยังเป็นกลุ่มที่สามารถรับมือกับโรคดังกล่าวได้น้อยที่สุดเช่นเดียวกัน พวกเขาขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคและมาตรการป้องกัน หรือแม้จะตื่นตัวแล้ว แต่ยังไม่สามารถเข้าถึงอุปกรณ์ป้องกันโรคได้ วันนี้เราจะลองมาดูกันว่าพวกเขามีความเสี่ยงมากไปกว่าคนทั่วไปอย่างไรบ้าง? เพื่อที่เป็นข้อมูลในการจัดการช่วยเหลือและป้องกันทั้งในเชิงสุขภาพและเศรษฐกิจ ในยุคโควิด 19 และยุคหลังโควิด 19 ซึ่งเราอาจสามารถแบ่งความเสี่ยงที่จะเกิดกับคนไร้บ้านเป็น 2 ส่วนหลักด้วยกัน คือ ความเสี่ยงทางสุขภาพ และความเสี่ยงทางสังคมเศรษฐกิจ ความเสี่ยงด้านสุขภาพ (Health Risk) ในประด็นความเสี่ยงด้านสุขภาพของคนไร้บ้านในภาวะการระบาดของโควิด-19 จากการประเมินสถานการณ์ของทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาจจำแนกเป็นประเด็นได้ดังต่อไปนี้ มาตราการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) และอยู่กับบ้าน (Stay Home) แม้จะเป็นมาตรการที่ดีเพื่อลดอัตรการแพร่ระบาดของไวรัส แต่สำหรับคนไร้บ้านและกลุ่มเปราะบางในเมืองหลายกลุ่มดูเหมือนจะเป็นไปได้ยาก ประการแรก ต้องไม่ลืมว่าคนไร้บ้าน ‘ไม่มีบ้าน’ ให้กักเก็บตัวแต่อย่างใด คนไร้บ้านส่วนใหญ่ออกมาใช้ชีวิตบนพื้นที่สาธารณะ หรือบางส่วนอาศัยอยู่ร่วมกัน รวมตัวในที่ๆ […]

COVID-19 ชีวิตที่ไม่มีวันเหมือนเดิม

02/04/2020

แปลและเรียบเรียงโดย กัญรัตน์ โภไคยอนันต์ “กินร้อน ช้อนฉัน ห่างกัน 2 เมตร” หรือ “อยู่บ้านเพื่อชาติ”  กลายเป็นบรรทัดฐานใหม่ของสังคมไทยในเวลานี้  มนุษย์จะไม่มีวันกลับไปเป็นเหมือนเดิมอีกต่อไป การเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) กำลังเป็นมาตรการที่จะยาวนานมากกว่าแค่ 2-3 อาทิตย์ แต่กำลังเปลี่ยนวิถีชีวิตของมนุษย์ไปไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง  ในการร่วมกันหยุดยั้งการแพร่ระบาดของ Corona ไวรัสนั้น รัฐบาล หน่วยงาน กรมควบคุมโรค และสาธารณสุขของทุกประเทศได้ออกมาตราการขอความร่วมมือจากประชาชนในการเปลี่ยนรูปแบบพฤติกรรมแทบจะทุกมิติ  นับตั้งแต่การทำงาน การออกกำลังกาย การพบปะสังสรรค์ การซื้อของ การเรียนการสอน ไปจนถึงการดูแลสมาชิกในครอบครัว  ทุกคนเฝ้ารอให้สังคมได้กลับไปใช้ชีวิตปกติแบบเดิม แต่มีสิ่งหนึ่งที่  Gideon Lichfield บรรณาธิการของนิตยสาร MIT Technology Review ได้เขียนไว้อย่างน่าสนใจว่า หลังจากนี้อีก 2-3 เดือน หรืออาจจะไม่มีทางเกิดขึ้นเลยที่มนุษย์จะกลับไปใช้ชีวิตแบบเดิมก่อนที่จะเกิดการแพร่ระบาดของ COVID-19 นี้  สถานการณ์ตอนนี้ทุกประเทศต่างยอมรับว่าต้องชะลอการระบาดของผู้ป่วยให้มากที่สุดเพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อระบบสาธารณะสุข (Healthcare system) เหมือนที่กำลังเกิดขึ้นที่ประเทศอิตาลีตอนนี้ ด้วยการประกาศขอความร่วมมือใช้มาตรการต่างๆ ทั้ง ระยะห่างทางสังคม (Social […]

‘เมืองเสี่ยงภัย’ กับโรคระบาด จากมุมมองของสังคมวิทยาความตาย

01/04/2020

“เมืองเสี่ยงภัย” กับโรคระบาด จากมุมมองของสังคมวิทยาความตาย บทบาทสำคัญของสังคมวิทยาความตาย คือ การพยายามทำความเข้าใจและศึกษากลไกทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับความตาย เราสนใจใคร่รู้ว่าสังคมให้ความหมาย จัดการ และประกอบสร้างความตายขึ้นมาอย่างไร เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และท้ายที่สุดอาจสามารถจุดประกายบางอย่างแก่สังคมที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงด้านความตายได้ ในสภาวะวิกฤตเช่นการกำเนิดขึ้นของโรคอุบัติใหม่ Covid-19 การพยายามศึกษาความตายจากโรคระบาดย่อมเป็นความท้าทายในตัวมันเองอย่างหนึ่ง และเมื่อโยงเข้ากับ “ความเป็นเมือง” แล้วก็ยิ่งสร้างความท้าทายขึ้นอีกขั้นหนึ่งไม่แพ้กัน ในขั้นแรกของการท้าวความ จึงขอแสดงภาพความข้องเกี่ยวกันของเมือง ความเสี่ยง และโรคระบาดเสียก่อน Living on the volcano of civilization – ใช้ชีวิตอยู่บนภูเขาไฟแห่งความเจริญ หากจะพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส ก็คงเป็นการพลิกประสบการณ์ในสถานการณ์วิกฤตให้กลายเป็นการสร้างองค์ความรู้และกระบวนทัศน์การมอง “เมือง” ที่ต่างออกไปจากเมืองในวิถีปกติ  แม้ว่าเมืองในแบบปกติของมันจะมีปัญหามากพออยู่แล้วก็ตาม แต่ความเป็นเมืองยังมีองค์ประกอบอื่น ๆ แอบแฝงอยู่เพื่อรอวันปะทุขึ้นราวภูเขาไฟที่ยังไม่ดับสนิท หนึ่งในนั้นก็คือองค์ประกอบเรื่อง “ความเสี่ยง” ที่นักสังคมวิทยา Ulrick Beck เคยประกาศกร้าวจนสะเทือนวงการสังคมวิทยาไปครั้งหนึ่งแล้วในหนังสือชื่อ Risk society: towards a new modernity ตีพิมพ์ครั้งแรกในภาษาเยอรมันเมื่อปี 1989 Beck กล่าวว่า ความเป็นสมัยใหม่นอกจากจะนำไปสู่การกระจายถ่ายโอนความมั่งคั่ง (distribution of […]

Work From Home: เมื่อพื้นที่เมืองและพื้นที่ทำงานถูกผลักเข้าพื้นที่บ้าน

31/03/2020

เมื่อคอนโดเป็นที่อยู่อาศัยของคนเมือง พื้นที่เมืองจึงกลายเป็นห้องนั่งเล่น อาจถือได้ว่าเป็นเรื่องของปกติของชาวกรุงเทพวัยทำงานไปแล้ว สำหรับการย้ายที่พักจากบ้านเดี่ยวมาพักอาศัยที่คอนโดตามแนวรถไฟฟ้า BTS และ MRT เพื่อให้สะดวกต่อการเดินทางจากที่พักไปยังที่ทำงาน ด้วยเหตุผลที่สุดจะทนกับระยะเวลาเดินทางไป – กลับที่แสนจะยาวนาน หรือจะเป็นความสะดวกสบายในการเดินทาง การเข้าถึงสถานที่ และบริการต่างๆ ที่ทำให้การพักอาศัยที่คอนโดในเมืองเป็นทางเลือกของชาวกรุงเทพ หลังจากการพัฒนาด้านต่างๆ ขยายตัวไปตามพื้นที่แนวรถไฟฟ้า ราคาคอนโดโดยรอบสถานีต่อตารางเมตรดีดตัวสูงขึ้น ในขณะที่ขนาดห้องเล็กลงเกินครึ่ง ภายในช่วงระยะเวลาเพียง 10 ปี จากเดิมขนาดเฉลี่ยคอนโด 1 ห้องนอน คือ 65 ตร.ม. ในปัจจุบันกลับเฉลี่ยเหลือเพียง 28 ตร.ม.  ขนาดห้องสี่เหลี่ยมที่จำกัด ส่งผลให้เกิดการผลักความต้องการการใช้พื้นที่บางส่วนที่หายไป ไปสู่พื้นที่เมือง ผู้อยู่อาศัยในคอนโดจำนวนมากใช้พื้นที่ส่วนกลางคอนโดหรือพื้นที่ของเมืองทดแทนพื้นที่ที่หายไป พื้นที่ส่วนกลางของคอนโดหลายแห่งมักมีบริการฟิตเนส สวนหย่อม ห้องสมุด หรือห้องนั่งเล่น เพื่อตอบรับความต้องการ  รวมถึงการเติบโตและพัฒนาของพื้นที่ส่วนต่างๆของเมืองเอง ก็พยายามผลิตและพัฒนาพื้นที่ที่สามารถตอบรับการใช้ชีวิตของคนเมือง เช่น พื้นที่ร้านกาแฟ พื้นที่ co-working space หรือสวนสาธารณะ ก็กลายเป็นพื้นที่ทางเลือกให้กับการเปลี่ยนบรรยากาศในการทำงาน อ่านหนังสือ หรือการพักผ่อนหย่อนใจ เสมือนเป็นห้องนั่งเล่นและห้องทำงานของคนเมือง เมื่อห้องนั่งเล่นและห้องทำงานหายไปเพราะ COVID-19 หลังจากที่องค์การอนามัยโลก […]

เมืองในโรคระบาด : ยิ่งเหลื่อมล้ำ ยิ่งเปราะบาง

26/03/2020

มากกว่าครึ่งของประชากรโลกอาศัยในเมือง ศูนย์กลางของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและกิจกรรมทางสังคมเกิดขึ้นอย่างคึกคักระหว่างผู้คน ความเป็นเมืองจึงเป็นปัจจัยกระตุ้นการแพร่ระบาดของโรคระบาดอย่างยากจะปฏิเสธ มีการศึกษาน่าสนใจพบว่า เมืองที่มีความไม่เท่าเทียมระหว่างประชากรสูงมีความเปราะบางต่อโรคมากกว่าเมืองที่มีโครงสร้างพื้นฐานคุณภาพและเข้าถึงคนอย่างทั่วถึง  ในขณะที่รัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่นควรจะใช้ประโยชน์จาก “ดัชนีเตรียมการรับมือโรคระบาด” เพื่อการวางแผนและตอบสนองปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ  ดัชนีดังกล่าวคืออะไร สามารถศึกษาได้จากบทความนี้  เมือง: พื้นที่กระตุ้นวิกฤตโรคระบาด ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค เมืองคือพื้นที่กระตุ้นให้สถานการณ์น่าเป็นห่วง ยิ่งเมืองที่มีประชากรหนาแน่น ยิ่งทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรค โดยเฉพาะการติดต่อระหว่างคนสู่คน  ปัจจุบัน ประชากรโลกกว่า 4,000 คน อาศัยในเมือง ซึ่งมากกว่าครึ่งของประชากรโลกทั้งหมด กิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมที่เข้มข้นในเมือง วัดได้ชัดเจนจากขนาดผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) ราว 2 ใน3 ของทั้งหมด ล้วนเกิดขึ้นในเมืองกว่า 600 แห่งทั่วโลก ดังนั้น เมืองซึ่งเป็นศูนย์กลางของกิจกรรมการค้าและการเดินทาง มีความหนาแน่นของประชากรและกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างเข้มข้น ส่งผลให้เมืองเป็นพื้นที่กระตุ้นวิกฤตโรคระบาดอย่างยากจะเลี่ยง แล้วไม่เพียงเมืองขนาดใหญ่เท่านั้นที่เป็นพื้นที่เสี่ยง หากยังหมายรวมถึงเมืองรองและเมืองขนาดเล็กในท้องถิ่นอีกด้วย สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา อาทิ ซาร์ส, H5N1 และโควิด-19 ที่กำลังประสบกันถ้วนหน้าในขณะนี้ ล้วนเกิดในเมืองทุกขนาด  นักวิจัยของ Center for Global Health Science and Security มหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ […]

1 10 11 12 13 14 15