Public Realm



ก้าวข้ามวังวนและมายาคติ การขับเคลื่อนเมืองด้วยข้อมูล

19/08/2021

เรียบเรียงโดย คุณอดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ รองผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ฝ่าย Urban Intelligence จากการนำเสนอสาธารณะ ฟื้นเมืองบนฐานความรู้ (Knowledge-based City Remaking) ภายใต้โครงการเมืองกับบทบาทและศักยภาพในการขับเคลื่อนนโยบายเมืองแห่งการเรียนรู้ จากข้อสังเกต ประสบการณ์การทำงานโครงการขับเคลื่อนเมืองด้วยฐานความรู้และประสบการณ์การทำงานเรื่องของการพัฒนาพื้นที่โดยใช้ข้อมูลและความรู้เป็นฐานผ่านโครงการเชิงพื้นที่และเชิงประเด็นของศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง เน้นย้ำให้เห็นว่า แต่ละเมืองมีเอกลักษณ์ความเฉพาะตัว ที่มีความผันผวน ไม่แน่นอน ซับซ้อนและคลุมเครือ (VUCA: volatility, uncertainty, complexity, ambiguity) ซึ่งทำให้การพัฒนาเมืองหรือการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงเมืองแต่ทางกายภาพเป็นไปไม่ได้ ที่จะปราสจากมิติทางด้านสังคม วัฒนธรรม หรือเศรษฐกิจ ยิ่งบริบทของความเป็นเมืองในปัจจุบันที่เป็นสังคมของการเรียนรู้หรือการพัฒนาบนฐานความรู้ก็ยิ่งเป็นไปได้ยากหากมองเพียงมิติกายภาพเพียงอย่างเดียว ความท้าทายในการบริหารจัดการเมืองสมัยใหม่นั้น เป็นเรื่องของกระบวนทัศน์ในการบริหารจัดการเมืองที่เปลี่ยนไป จากรูปแบบของการสั่งการและการตัดสินใจจากผู้มีอำนาจ (hierarchic government-based modes of urban decision-making with command logic) แต่ฝ่ายเดียวนั้น ไม่สามารถใช้การได้ในสภาพสังคมและเมืองที่มีลักษณะข้างต้น แนวคิดการบริหารจัดการเมืองสมัยใหม่จึงให้ความสำคัญกับการจัดการความสัมพันธ์ของเครือข่ายผ่านกระบวนการเจรจาต่อรอง (hierarchic governance network-based modes with negotiation logic) อีกประเด็นสำคัญของเมืองในฐานะที่เป็นพื้นที่ที่มีส่วนเกินทางเศรษฐกิจ (economic […]

เมืองกับศักยภาพการเป็นโรงพยาบาลสนามในภาวะฉุกเฉิน ย้อนมองไทย สหรัฐฯ และอินเดีย

30/06/2021

ภาพปกบทความ โดย สำนักประชาสัมพันธ์ กรุงเทพมหานคร สถานการณ์ฉุกเฉินอย่างการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ผู้คนมองเห็นคุณค่าของพื้นที่สาธารณะและพื้นที่กึ่งสาธารณะของเมืองในมุมมองที่แตกต่างจากภาวะปกติ ดังเห็นว่าพื้นที่บางประเภท เช่น หอประชุม สนามกีฬาในร่ม อาคารเรียน ถูกปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้งานเพื่อรองรับความต้องการของเมืองในยามคับขัน เช่น ถูกปรับเป็นโรงพยาบาลสนามเพื่อเพิ่มพื้นที่รองรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพื่อเเบ่งเบาภาระของสถานพยาบาลที่มีจำนวนไม่เพียงพอกับผู้ติดเชื้อ ไทยกับปรากฏการณ์เตียงผู้ป่วย ห้อง ICU ที่ไม่เพียงพอ ข้อมูลจากสำนักข่าวบีบีซีไทย (28 เมษายน 2564) พูดถึงประเด็นน่ากังวลเรื่องการจัดหาเตียงให้ผู้ป่วยโควิด-19 และจำนวนเตียงสำหรับผู้ป่วยไอซียูห้องความดันลบเริ่มจะเต็มกำลังการรองรับของระบบสาธารณสุข ภายหลังเกิดการระบาดระลอกเดือนเมษายน 2564 โดยศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) รายงานยอดผู้ป่วยสูงขึ้นสู่ระดับ 2,000 คนต่อวัน โดยระหว่างวันที่ 24-28 เมษายน 25644 ผู้ป่วยอาการหนักเพิ่มขึ้นจาก 418 ราย เป็น 695 ทำให้สถานการณ์เตียงสำหรับผู้ป่วยอาการหนักหรือไอซียู เกิดสภาวะที่เรียกว่า “เตียงตึง” โดยกรมการแพทย์ให้ข้อมูลว่า มีผู้ป่วยครองเตียงไปแล้ว 70-80% ทั่วประเทศ ไม่เพียงเตียงผู้ป่วยและเตียงผู้ป่วยไอซียูที่ไม่เพียงพอ แต่เครื่องช่วยหายใจและระบบความดันลบก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะหากมีผู้ป่วยหนักย่อมแสดงว่าความต้องการใช้เครื่องช่วยหายใจก็มีมากขึ้น ขณะนี้เครื่องช่วยหายใจที่ต้องมีระบบออกซิเจนเริ่มมีไม่เพียงพอ อีกทั้งการที่มีผู้ป่วยเพิ่มจำนวนมากขึ้นยังทำให้พื้นที่โรงพยาบาลไม่สามารถรองรับผู้ป่วยรายใหม่ได้อย่างเพียงพอ สถานการณ์ไทยเทียบกับอินเดียแล้วหรือไม่? สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 […]

เมืองแห่งการเรียนรู้และถกเถียง ณ ยุคแห่งแสงสว่างทางปัญญา (The Enlightenment)

23/06/2021

ยุคสมัยแสงสว่างทางปัญญาเกิดขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17-18  เป็นยุคสมัยแห่งกระบวนการทางปรัชญา การเมืองและสังคม ที่เชื่อว่ามนุษย์สามารถประยุกต์ให้เหตุผล และจิตวิญญาณแห่งการวิพากษ์ วิจารณ์กับประเด็นปัญหาต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้ อันเป็นรากฐานของความคิดแบบประชาธิปไตยที่ผู้คนสามารถวิจารณ์การทำงานของรัฐบาลได้ ตามหลักการสำคัญจากคำพูดของ Immanuel Kant นักปรัชญาชาวเยอรมัน ที่กล่าวว่า “Sapere Aude: sich seines Verstandes ohne Leitung anderer zu bedienen”  จงกล้าที่จะใช้ปัญญาญาณแห่งตน โดยปราศจากการชี้นำจากผู้อื่น หมายความว่า ใช้สติปัญญาตนเองในการคิด การใช้เหตุผล (individual reasoning) และนำเหตุผลของตัวเองไปใช้ในการแสดงความเห็น ในสังคมที่มีเสรีภาพในการพูด และอื่นๆ  วัฒนธรรมการถกเถียง เป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของชนชั้นกลาง (bourgeois) ที่ส่วนมากจะอาศัยอยู่ในพื้นที่เมืองที่กำลังเติบโตในยุคสมัยแสงสว่างทางปัญญา ชนชั้นกลางเหล่านี้มักเป็นพวกประกอบอาชีพเกี่ยวกับการค้า การลงทุน และอุตสาหกรรม รวมถึงประกอบอาชีพที่ต้องใช้ความรู้วิชาชีพเฉพาะทาง (the professionals) เช่น แพทย์ ทนายความ ข้าราชการระดับล่าง ถือเป็นกลุ่มหลักที่รับผิดชอบการเสียภาษีอากรให้แก่รัฐบาล มีรายได้สัมพันธ์กับระบบตลาดและการผันผวนของระบบการค้าและระบบเศรษฐกิจ และเป็นกลุ่มคนที่มีบทบาทในด้านการคิดค้นวิทยาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความชำนาญของตนเอง ด้วยบทบาทที่มากเช่นนี้ในสังคม […]

รู้จัก Gay Village และพลวัตเมืองจากการเคลื่อนไหวเพื่อส่งเสริมความหลากหลายทางเพศ

14/06/2021

เรียบเรียง : สรวิชญ์ ธรรมระติวงศ์, หฤษฎ์ ทะวะบุตร ภาพปก : ภาณุพันธ์ วีรวภูษิต เมืองอัจฉริยะ หรือ Smart City ที่หลายเมืองให้ความสนใจและกำหนดเป็นเป้าหมายของการพัฒนานั้น นอกจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน กลไกการบริหารจัดการ ระบบเศรษฐกิจ ตลอดจนเทคโนโลยีสารสนเทศ หากประกอบที่สำคัญไม่แพ้กันคือการพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้เป็น Smart People และสภาพที่แวดล้อมที่เอื้อต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดี เช่น สภาพแวดล้อมที่มีความหลากหลายทางสังคมและวัฒนธรรม ตลอดจนส่งเสริมให้ผู้คนที่หลากหลายอยู่ร่วมกันได้อย่างปลอดภัยและเป็นสุข บทความชิ้นนี้ตั้งใจบอกเล่าเกี่ยวกับย่านและเมืองของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศในเมืองบนโลกปัจจุบัน ที่กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศนิยมอยู่อาศัยและเดินทางเข้ามาท่องเที่ยว เพราะเป็นย่านในเมืองหรือเมืองที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับพวกเขาในสภาพสังคมปัจจุบันที่หลายๆ ประเทศ อาจจะยังไม่เปิดกว้างในเรื่องความหลากหลายทางเพศมากนัก Gay Village กำเนิดย่านของผู้มีความหลากหลายทางเพศ พื้นที่เมืองอันเป็นย่านของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า “Gay Village” พบได้ทั่วไปในมหานครทั่วโลก มีลักษณะสำคัญคือเป็นพื้นที่ที่มีกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก (LGBTQ+ Urban Space) และมีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้มีความหลากหลายทางเพศอย่าง คลับ บาร์ ซาวน่า ร้านจำหน่ายเสื้อผ้า ร้านหนังสือ ร้านอาหาร และอื่น ๆ อีกมากมาย ในช่วงแรก Gay Village […]

Hudson Yards ย่านพัฒนาแบบผสมผสานแห่งมหานครนิวยอร์ก ส่วนผสมที่ลงตัวของ luxury และ creativity

09/06/2021

การวางผังพัฒนาพื้นที่แบบผสมผสาน (mixed-use development) เป็นเทรนด์การพัฒนาเมืองที่มหานครทั่วโลกให้ความสนใจ ด้วยหลายสาเหตุ เช่น พื้นที่เมืองที่จำกัดทำให้การใช้ที่ดินอย่างคุ้มค่าจึงเป็นเรื่องสำคัญ หรือการสร้างกลุ่มอาคารสูงและทันสมัยของสำนักงานขนาดใหญ่ หรืออื่น ๆ ด้วยสาเหตุเหล่านี้เองการพัฒนาพื้นที่ mixed-use ในมหานครยุคปัจจุบัน จึงมีแนวโน้มที่จะมีขนาดใหญ่มาก และประกอบอาคารสูงหลายแห่งเกาะกลุ่มรวมกัน ซึ่งตัวอย่างที่ผู้เขียนอยากจะนำเสนอวันนี้คือ Hudson Yards ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาพื้นที่แบบ mixed-use ขนาดใหญ่บริเวณทางตะวันตกของ Midtown Manhattan ซึ่งถือเป็นโครงการพัฒนาพื้นที่ mixed-use ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา ที่ตั้งของโครงการ Hudson Yards เดิมเป็นทางผ่านของทางรถไฟ Hudson River Railroad เชื่อมระหว่างมหานครนิวยอร์กกับพื้นที่ตอนบนของรัฐนิวยอร์ก (Upstate New York) ที่ตั้งของ Hudson Yards จึงเคยเป็นลานขนส่งสินค้ามาก่อน (freight yards) ภายหลังเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง การใช้รถไฟในสหรัฐอเมริกาเริ่มเสื่อมความนิยม แทนที่ด้วยการเกิดขึ้นของทางหลวงเชื่อมระหว่างรัฐ (Interstate Highways) ที่ทำให้การขนส่งสินค้าสะดวกสบายกว่าโดยรถไฟแบบเดิม ลานขนส่งสินค้าที่เคยพลุกพล่านก็เงียบเหงาลง พื้นที่ Hudson Yards ก็เช่นเดียวกัน […]

ย้อนมองย่านปทุมวัน: ประวัติศาสตร์และอนาคตที่วาดฝันของเมืองมหาวิทยาลัยแห่งสยาม

02/06/2021

ภาพโดย สำนักกายภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อพูดถึงเขตปทุมวัน ภาพที่ปรากฏขึ้นในมุมมองของชาวเมืองหลวงคงไม่พ้นแหล่งห้างสรรพสินค้าชั้นนำ ย่านแห่ง Lifestyle แหล่งกินเที่ยวแบบชิค ๆ และศูนย์กลางรถไฟฟ้าอันสะดวกสบาย แต่ที่ขาดไม่ได้เลยคือพื้นที่ของมหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษา ที่เฉพาะอาคารเรียนและวิทยาเขตต่าง ๆ ก็ครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 1 ใน 5 ของเขต และคิดเป็นมากกว่า 50% ของพื้นที่ในแขวงวังใหม่และปทุมวัน เหล่านี้เมื่อรวมเข้ากับพื้นที่ของหอพัก ร้านค้า และพื้นที่ต่าง ๆ ที่คอยรองรับกิจกรรมของนักเรียนนักศึกษาแล้ว พื้นที่เขตปทุมวัน โดยเฉพาะในสองแขวงดังกล่าว อาจเรียกได้ว่าเป็น College Town หรือ College Neighbourhood ที่สำคัญที่สุดย่านหนึ่งของกรุงเทพมหานคร ก่อนจะเป็นศูนย์กลางเมือง การเกิดขึ้นของ “เมืองมหาวิทยาลัย” ในพื้นที่นี้มีมาก่อนหน้าการเกิดศูนย์กลางความเจริญใหม่ เพราะตั้งแต่ พ.ศ.2439 ก็เริ่มมีการใช้วังใหม่เป็นพื้นที่ของสถานศึกษามาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่โรงเรียนการแผนที่ โรงเรียนสำหรับกระทรวงเกษตราธิการ โรงเรียนข้าราชการพลเรือน และมาจนถึงจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งอาคารเรียนแห่งอื่นนอกจากตัววังก็ได้ก่อสร้างและใช้งานมาตั้งแต่ พ.ศ. 2459 เป็นต้นมา เป็นเวลานานก่อนการเกิดศูนย์กลางเศรษฐกิจนอกกำแพงพระนคร กระทั่งปัจจุบันจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก็ยังคงเป็นสถานศึกษาที่มีอิทธิพลต่อพื้นที่วังใหม่-ปทุมวัน เหล่านี้แสดงว่าโครงสร้างของย่านนี้ถูกสร้างขึ้นมาโดยผูกพันกับสถานศึกษาแต่แรกเริ่ม  พัฒนาการและปัญหาหลังยุคแห่งนคราภิวัฒน์ จากประวัติศาสตร์อันยาวนานของการสถาปนาเป็นพื้นที่ของสถาบันการศึกษา […]

The Underline Miami เพราะเห็นคุณค่าพื้นที่ร้าง ประชาชนจึงอยากสร้างความเปลี่ยนแปลง

31/05/2021

ใต้เส้นทางรถไฟฟ้าเป็นพื้นที่สาธารณะที่คนมักมองข้าม ความเป็นจริงแล้วพื้นที่ประเภทนี้สามารถฟื้นฟูให้เกิดประโยชน์กับเมืองได้ หลายคนอาจจะเคยเห็นการเปลี่ยนพื้นที่ว่างใต้ทางด่วนเป็นสนามกีฬา บูธจำหน่ายสินค้า หรือเป็นพื้นที่จอดรถกันมาบ้าง จริง ๆ แล้วพื้นที่ว่างเหล่านี้ อาจมีศักยภาพที่จะเป็นได้มากกว่านั้น ยกตัวอย่างเช่นโครงการ The Underline โครงการเปลี่ยนแปลงพื้นที่รกร้างใต้เส้นทางรถไฟฟ้า ที่ล่าสุดเพิ่งได้รับรางวัล The Monocle Design Awards 2021 ในสาขาสุดยอดนวัตกรรมเมือง (Best Urban Intervention) ไปสด ๆ ร้อนๆ The Underline โครงการเปลี่ยนพื้นที่รกร้างสู่การใช้งานที่หลากหลาย The Underline คือ โครงการปรับปรุงพื้นที่สาธารณะรกร้างว่างเปล่ากว่า 120 เอเคอร์ ใต้เส้นทางรถไฟฟ้าเส้นยาว 10 ไมล์ ให้เป็นสวนสาธารณะเส้นตรง (linear park) เพื่อเป็นทางสาธารณะของเมือง (urban trail) ที่มีการใช้งานที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเส้นทางปั่นจักรยาน ทางเดินในเมือง สนามบาสเก็ตบอล สนามฟุตบอล ยิมกลางแจ้ง สวนผีเสื้อ พื้นที่นั่งเล่น ทั้งยังเพื่อเป็นจุดหมายปลายทางของศิลปะมีที่มีชีวิต และเป็นพื้นที่เชื่อมต่อระบบขนส่งสาธารณะ กิจกรรมที่เกิดขึ้นล้วนส่งเสริมสุขภาวะของคนเมือง […]

เมื่อ Smart City คือเมืองที่เต็มไปด้วยคนสมาร์ต เมืองซูวอนผลักดันให้คนเข้าถึงการเรียนรู้ทุกที่ทุกเวลาอย่างไร

25/05/2021

“เรากำลังสร้างอนาคตที่สดใสให้กับพลเมืองซูวอนในเมืองที่เห็นแก่ผู้อื่นที่เน้นการเรียนรู้และการแบ่งปันเป็นศูนย์กลาง” Mr.Tae-young Yeom นายกเทศมนตรีเมืองซูวอน ประเทศเกาหลีใต้ ปัจจุบันเทรนด์ของการพัฒนาเมืองในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก ต่างสอดรับกับการพัฒนาเทคโนโลยีในด้านต่าง ๆ ที่เข้ามามีส่วนร่วมในชีวิตประจำวันมากขึ้น การพัฒนาเมืองจึงเน้นในการด้านการนำเทคโนโลยีเข้ามาร่วมในการบริหาร การออกแบบ และการใช้ชีวิตในเมือง หรือมีเทรนด์การพัฒนาเมืองที่เรารู้จักกันในชื่อว่า “เมืองอัจฉริยะ” (Smart City)  การที่เมืองแห่งหนึ่งจะกลายเป็นเมืองอัจฉริยะได้ เมืองแห่งนั้นต้องมีองค์ประกอบหลัก ๆ 6 ประการ (Six Dimensions of Smart City) หากมีเพียงองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งเมืองแห่งนั้นก็จะถือว่าเป็น Smart City ได้แล้ว โดยในบทความนี้จะกล่าวเกี่ยวกับองค์ประกอบหนึ่งได้แก่ Smart People  จากไดอะแกรมข้างต้น คำว่า Smart People เกี่ยวโยงกับผู้คนที่อาศัยอยู่ในเมือง ในเมืองอัจฉริยะนั้นผู้คนจะต้องมีความรู้ มีความสามารถในการปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยี มีความสามารถที่จะอยู่ร่วมกันกับสังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมได้ ซึ่งการที่ผู้คนในเมืองจะมีคุณสมบัติดังกล่าว สามารถทำได้ผ่านการเรียนรู้ในสิ่งต่าง ๆ จึงเกิดเป็นคำพูดว่า “Lifelong Learning” หรือ “การเรียนรู้ตลอดชีวิต” การที่ผู้คนในเมืองจะสามารถเรียนรู้ตลอดชีวิตได้นั้นก็ต้องอาศัยการพัฒนาเมืองให้เหมาะสมแก่การเรียนรู้ จึงเกิดสิ่งที่เรียกว่า “เมืองแห่งการเรียนรู้” (Learning […]

ส่อง 6 ฮอตสปอต นครโฮจิมินห์ซิตี เครื่องมือสร้างเมืองนวัตกรรมแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

20/05/2021

ภาพปกโดย Photo by Q.U.I on Unsplash รู้หรือไม่ กรุงเทพฯ มีแผนการพัฒนาย่านนวัตกรรมมากมายหลายพื้นที่ อาทิ ย่านรัตนโกสินทร์ ราชเทวี กล้วยน้ำไท ลาดกระบัง ปุณณวิถี ฯลฯ โดยมีเป้าหมายสำคัญให้ย่านนวัตกรรมเป็นเครื่องมือขับเคลื่อนเศรษฐกิจของเมืองและประเทศ เช่นเดียวกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างเวียดนาม ที่มีแนวคิดในการพัฒนาย่านนวัตกรรมเช่นเดียวกัน วันนี้เราจะพาไปดูการสร้างย่านนวัตกรรมในเมืองที่ใหญ่ที่สุดของเวียดนามอย่าง “นครโฮจิมินห์ซิตี้” (Ho Chi Minh City) หลายคนอาจสงสัยว่าย่านนวัตกรรมมันคืออะไร? ข้อมูลของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) ระบุว่า ย่านนวัตกรรม (Innovation District) เป็นแนวคิดใหม่ของการวางแผนและออกแบบพื้นที่และสังคมเมืองบนหลักการของการพัฒนาเมือง หรือย่านที่ดึงดูดกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมให้รวมกันเป็นคลัสเตอร์ โดยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เครื่องมือและกลไกที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้พักอาศัยและผู้ดำเนินกิจกรรมในย่าน เพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อผู้คนและไอเดียภายในย่าน (connecting) รวมถึงการมีกลไกที่ส่งเสริมการสร้างสรรค์นวัตกรรม สร้างสรรค์สิ่งใหม่ร่วมกัน (co-creation) แบ่งปันความรู้ระหว่างกัน (knowledge sharing) ของชุมชน ธุรกิจ และหน่วยงานในพื้นที่  โมเดลย่านนวัตกรรมแบบเกลียว 3 สาย (triple helix model of innovation […]

สำรวจ 5 พื้นที่และสถาปัตยกรรมสร้างสรรค์เพื่อสรรสร้างแหล่งเรียนรู้ของเมือง

18/05/2021

ภาพโครงการ Weiliu Wetland Park จาก http://landezine.com/ เมืองของเรามีพื้นที่หรืออาคารสาธารณะที่ช่วยส่งเสริมให้คนในเมืองเกิดการเรียนรู้อยู่บ้าง แต่ก็เรียกได้ว่ายังไม่เพียงพอ โดยเฉพาะผู้อาศัยนอกพื้นที่เขตเมืองชั้นในที่ยากจะเข้าถึงพื้นที่สาธารณะเพื่อการเรียนรู้ ซึ่งมักจะกระจายในเมืองชั้นใน จากข้อมูลของศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) โดยโครงการอนาคตเมืองแห่งการเรียนรู้ (The Future of Learning City) พบว่า กรุงเทพฯมีสาธารณูปการสนับสนุนการเรียนรู้เฉลี่ยเพียง 35 % เท่านั้น จากบทความ กรุงเทพฯ สู่การเป็นมหานครแห่งการเรียนรู้ อ่านต่อ เป็นไปได้หรือไม่ว่า พิพิธภัณฑ์ สวนสาธารณะ ศาลากลางจังหวัด ห้องสมุด แม้แต่สนามเด็กเล่น พื้นที่หรืออาคารสาธารณะเหล่านี้ จะมีบทบาทที่มากกว่าและหลากหลายกว่าที่เป็นอยู่ วันนี้เราจะพาไปดูเหล่าโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะที่ช่วยส่งเสริมให้คนเกิดการเรียนรู้ ควบคู่ไปกับฟังก์ชันการใช้งานอื่นๆ ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น สวนสาธารณะที่เป็นแหล่งเรียนรู้ทางชีวภาพและวิถีชีวิตของชุมชน พิพิธภัณฑ์ที่เป็นทั้งที่แสดงผลงานศิลปะ วัฒนธรรมและเป็นทั้งแหล่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจชาวแอฟริกัน-อเมริกันในพื้นที่ไปพร้อมๆกัน อาคารศูนย์การเรียนพุทธศาสนาที่เปิดให้คนในชุมชนมาทำกิจกรรมร่วมกัน ศูนย์กลางการเรียนรู้ชุมชนที่เป็นทั้งโรงเรียนและพื้นที่สาธารณะ และการเปลี่ยนแปลงอาคารประวัติศาสตร์สู่ศูนย์วัฒนธรรมครบวงจร Weiliu Wetland Park โครงสร้างสีเขียวเชื่อมโยงชุมชนกับธรรมชาติ Weiliu Wetland Park เป็นพื้นที่สวนสาธารณะ สร้างขึ้นบนพื้นที่ราบลุ่มของแม่น้ำ Wei […]

1 6 7 8 9 10 15