Life



เพราะแฟชั่นสัมพันธ์กับเมือง : คุยกับ ‘อุ้ง-กมลนาถ องค์วรรณดี’ ถึงมิติหลากหลายของเมืองและแฟชั่นที่ยั่งยืน

06/08/2020

เสื้อผ้าคือหนึ่งในปัจจัยสี่ที่มนุษย์เราขาดไม่ได้ และสำหรับบางคนเสื้อผ้าไม่ใช่แค่เพียงเครื่องนุ่งห่มเท่านั้น แต่ยังเป็นเครื่องมือที่ใช้แสดงออกซึ่งตัวตน เอกลักษณ์บางอย่าง รวมถึงจุดยืนทางสังคมและการเมือง ดังนั้น ‘แฟชั่น’ จึงเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวพวกเราทุกคน ซึ่งไม่ต่างอะไรจาก ‘ความเป็นเมือง’ เลย เพราะมนุษย์เราต่างมีปฏิสัมพันธ์กับเมืองตลอดเวลา ความสัมพันธ์ของ ‘คน’ ‘แฟชั่น’ และ ‘เมือง’ จึงเกี่ยวโยงกันไปโดยปริยาย หลายครั้งที่เมืองและแฟชั่นส่งผลซึ่งและกัน และกระทบไปยังผู้คน โดยที่เราอาจจะรู้สึกหรือไม่รู้สึก เราจึงชวน ‘อุ้ง-กมลนาถ องค์วรรณดี’ ที่ปัจจุบันทำงานร่วมกับกลุ่ม “Fashion Revolution Thailand” ซึ่งเป็นเครือข่ายเคลื่อนไหวเพื่อแฟชั่นที่เป็นธรรมและยั่งยืน ซึ่งมีมากกว่า 100 ประเทศทั่วโลก มาพูดคุยถึงเรื่องความสัมพันธ์ระหว่าง ‘เมือง’ กับ ‘แฟชั่น’ และด้วยความที่อุ้งทำงานเกี่ยวกับแฟชั่นยั่งยืน หรือ Sustainable Fashion เราจึงถือโอกาสพูดคุยเรื่องนี้ไปด้วย เพราะอีกเทรนด์ที่อาจเรียกได้ว่าเป็น Mega Trend ที่ส่งผลไปยังทุกบริบทของสังคมโลกคือเรื่อง Sustainability หรือความยั่งยืนนั่นเอง คนเมืองต่างหันมาให้ความสำคัญกับความยั่งยืน และแน่นอนว่าอุตสาหกรรมแฟชั่นเองด้วยเช่นกัน เมื่อได้ยินคำว่า Sustainable Fashion สิ่งแรกที่คนส่วนใหญ่ (รวมถึงตัวเราเองด้วย) มักจะนึกถึงคือเรื่อง ‘การคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม’ แต่อุ้งบอกกับเราว่าจริงๆ แล้ว ความยั่งยืนหรือ […]

วินของคนเมือง ฟันเฟืองที่ขาดไม่ได้

21/07/2020

ภาพ : พี่เขียว (วินมอเตอร์ไซค์) หากเปรียบเมืองเป็นเครื่องจักรใหญ่ๆ สักเครื่อง ระบบขนส่งมวลชนก็คงเป็นฟันเฟืองที่ทำให้คนเมืองสามารถไปทำสิ่งต่างๆ ได้อย่างบรรลุเป้าหมาย ด้วยผังเมืองที่ไม่ได้ออกแบบให้เราเดินทางได้สะดวกนัก ผู้ช่วยที่ดีที่สุดในยามที่เราต้องเข้าซอยลึกหรือรีบเร่งไปทำงานคงจะหนีไม่พ้น “พี่วินมอเตอร์ไซค์” ที่จะยืนรอผู้โดยสารประจำจุดเดิมในทุกๆ วัน บทบาทของวินมอเตอร์ไซค์ในกรุงเทพมหานคร ไม่ใช่แค่เพียงขับรถรับ – ส่งผู้โดยสารเท่านั้น แต่วินบางคนยังทำหน้าที่เป็นตัวแทนในการช่วยจัดการเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ในชีวิตประจำวัน จนไปถึงเรื่องใหญ่ๆ ที่ต้องอาศัยความไว้ใจด้วย ความสัมพันธ์แบบนี้เองที่หาไม่ได้ในขนส่งมวลชนประเภทอื่นๆ จึงไม่แปลกใจที่วินมอเตอร์ไซค์จะได้ใจคนเมือง ชวนคุยและดูภาพถ่ายของ ‘พี่เขียว’ วินมอเตอร์ไซค์รับจ้างที่ทำอาชีพนี้ด้วยหัวใจมายาวนานนับ 10 ปี ตั้งแต่ประสบการณ์ชีวิต มุมมองต่อการทำงาน ไปจนถึงเปิดอกคุยปัญหาและตอบทุกข้อสงสัย  ผลกระทบจากโควิดที่วินมอเตอร์ไซค์ได้เจอ / ทำไมวินต้องมีปัญหากับคนขับบริษัทขนส่งเอกชน / โดนผู้โดยสารผู้ชายคุกคามทางเพศทำอย่างไรได้บ้าง / ชอบชวนคุยตอนขับรถแล้วได้ยินเสียงลูกค้าไหม ฯลฯ ชื่อ : พี่เขียวอายุ : 37 ปีอาชีพ : มอเตอร์ไซค์รับจ้างประสบการณ์ : 10 ปี ตารางประจำวัน5:30 น. รับลูกค้าประจำเจ้าแรก6:00 – 7:00 […]

กรุงเทพฯ ในมุมที่ช้าลง ของคนวิ่ง City Run ส่งกาแฟ กรีฑา รัตนโพธิ

20/07/2020

ถ้าเข้าไปดูในเฟซบุ๊คส่วนตัวของ กรีฑา รัตนโพธิ จะเจอข้อความที่คล้ายเป็นม็อตโต้ของเขาอย่าง “เดินให้ช้าลง ชีวิตมีสุขมากขึ้น” แนวคิดของข้อความนี้หลายคนคงเห็นด้วยว่ามันฟังดูดี แต่คำถามคือ มีใครบ้างที่ลงมือปฏิบัติ ทำชีวิตตัวเองให้ช้าลง และได้รับความสุขที่เพิ่มขึ้นจริงๆ กรีฑาไม่ได้แปะข้อความไว้เท่ๆ อย่างเดียว แต่เขาลงมือทำให้ชีวิตช้าลง ด้วยการลาออกจากงานประจำที่ทำมายี่สิบกว่าปี เพราะความอิ่มตัวและชีวิตที่คร่ำเครียดจนเกือบส่งผลร้ายต่อสุขภาพ และออกมาเป็นคนคั่วเมล็ดกาแฟด้วยมือขายภายใต้แบรนด์ “กม กาแฟ” กรีฑาไม่มีชื่อเล่น เขามีชื่อที่เข้ากับกีฬาวิ่งนี้มาตั้งแต่เกิด ก่อนที่จะเริ่มวิ่งเมื่อประมาณ 6 ปีก่อน และขยับมาวิ่งซิตี้รันครั้นเมื่อเห็นว่าไหนก็ต้องไปส่งกาแฟให้ลูกค้าอยู่แล้ว ก็เลยวิ่งซิตี้รันไปส่งกาแฟให้ลูกค้าเสียเลย จนกระทั่งทุกวันนี้กลายเป็นกิจวัตร ที่เหมือนเป็นทั้งการทำงานและการพักผ่อนไปในตัว การวิ่งซิตี้รันก็คือการทำชีวิตให้ช้าลงอีกอย่างหนึ่งของกรีฑา เพราะมันทำให้เขาได้เห็นเมืองอย่างกรุงเทพฯ ในอีกมุมหนึ่ง ที่วิถีของการเดินทางปกติไม่อาจเห็น และยังนำความรื่นรมย์มาให้ชีวิต เรามาทำความรู้จักเมืองในอีกมุมมอง ผ่านชีวิตที่เคลื่อนไปช้าๆ ของผู้ชายคนนี้กัน ประสบการณ์การวิ่งซิตี้รันครั้งแรกเป็นอย่างไรบ้าง ผมเริ่มวิ่งมาประมาณ 6 ปี เริ่มจากวิ่งในสวน ขยับมาวิ่งงานซึ่งปีแรกก็เบื่อแล้ว ขี้เกียจตื่นเช้าเกินไปเลยวิ่งบนถนนเสียเลย ผมวิ่งซิตี้รันมาน่าจะประมาณ 5 ปีแล้ว วิ่งซิตี้รันครั้งแรกไม่ประทับใจเลย อย่างแรกคือควัน ฝุ่น สภาพฟุตบาท ผมวิ่งจากบ้านแถวจรัญสนิทวงศ์ ข้ามสะพานซังฮี้ไปวชิระ เลี้ยววนกลับ ได้ประมาณ 5 […]

จากการเมืองโลก ถึง วิกฤตเมืองเชียงใหม่ : มองโลกหลัง COVID-19 ผ่านสายตา ‘ฟูอาดี้ พิศสุวรรณ’

30/06/2020

บทความนี้ให้สัมภาษณ์เมื่อ 27 พฤษภาคม 2563 ไม่มีใครคาดคิดมาก่อนว่าปี 2020 จะเริ่มต้นด้วยการมาของไวรัส COVID-19 ที่แพร่ระบาดไปทั่วทุกมุมโลก แต่อีกแง่หนึ่งวิกฤตครั้งนี้ก็เป็นเหมือนบทพิสูจน์ในการทดสอบศักยภาพที่แท้จริงของผู้นำหรือรัฐบาลแต่ละประเทศในการจัดการกับปัญหา ซึ่งก็มีทั้งที่ประสบความสำเร็จจนได้รับความชื่นชม และที่น่าผิดหวังจนได้รับเสียงก่นด่าจากประชาชนจำนวนมาก ไม่เพียงแค่ความเชื่อมั่นของคนในชาติที่สั่นคลอน แต่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่มีรอยร้าวอยู่แล้ว ก็เด่นชัดขึ้นหลายกรณี ไม่ว่าจะเป็นจีนกับสหรัฐ ไต้หวันกับจีน หรือสหภาพยุโรปที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าตอบสนองต่อวิกฤตได้ไม่ค่อยดีนัก The Urbanis ชวนมองปัญหาที่เกิดขึ้นผ่านการสนทนากับ ‘ฟูอาดี้ พิศสุวรรณ’  Pre-Doctoral Fellow แห่งสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กับดีกรีจบปริญญาโทด้านนโยบายสาธารณะจาก Harvard Kennedy School และกำลังศึกษาปริญญาเอก สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ University of Oxford  อีกทั้งเขายังเป็นนักพัฒนากาแฟไทยที่ทำงานคลุกคลีกับชาวสวนกาแฟในภาคเหนือ จึงเห็นปัญหาของการจัดการของรัฐบาลตั้งแต่ปัญหาไฟป่าและฝุ่นละออง ไปจนถึงความบกพร่องของมาตรการเยียวยาจากภาครัฐอย่างใกล้ชิด  บทสนทนาในวันนี้จึงว่าด้วยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สถานการณ์การเมืองโลก ไปจนถึงปัญหาเชิงสังคมที่เปลี่ยนวิถีชีวิตผู้คนและมิติของเมืองในอนาคต  COVID-19 เหมือนเป็นบททดสอบที่เผยศักยภาพการทำงานที่แท้จริงของผู้นำและรัฐบาลแต่ละประเทศออกมา สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นอะไรบ้าง  ฟูอาดี้ : ประสิทธิภาพของรัฐบาลที่เมื่อก่อนพอถูๆ ไถๆ ครั้งนี้มันโดนเปิดเผยออกมา เหมือนปัญหาที่อยู่ใต้ดินโดนเอาขึ้นมาบนดินหมดเลยว่าเรามีปัญหาอะไรบ้าง อย่างเรื่องความสับสนในการระบุเกณฑ์อย่างเจาะจงว่า ใครควรจะได้รับสิทธิ์เงินเยียวยา 5,000 บาท หรือเมื่อมีนโยบายออกมาเเล้วว่าใครที่ควรได้รับเงิน […]

พินิจพิศเรื่องเมืองกับพิชญ์ พงษ์สวัสดิ์

24/06/2020

“คุณจะถามอะไรผมอีก ผมพูดบ่อยมากเรื่องเมือง ไม่รู้จะพูดอะไรแล้ว” นั่นเป็นปฎิกิริยาแรกของ ผศ.ดร.พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ หรือ ‘จารย์พิชญ์’ ของนิสิต นักศึกษาและแฟนๆ รายการของอาจารย์ที่มักรู้ถึงสมญานามของฝีปากของอาจารย์ว่าเด็ดดวงถึงเพียงใด แม้ว่าอาจารย์พิชญ์ พื้นเพเป็นนักรัฐศาสตร์ แต่ความสนใจของอาจารย์อาจเรียกได้ว่าเป็นนักรัฐศาสตร์พหูสูตรเพราะอาจารย์สนใจความรู้ในหลากหลายแขนง และเรื่องเมืองก็เป็นหนึ่งในสิ่งที่อาจารย์มักลุกมาวิพากษ์เสมอ ส่วนหนึ่งอาจเพราะความเป็นรัฐและความเป็นเมืองนั้นล้วนเป็นเรื่องคู่กันมานับตั้งแต่มนุษย์เราเริ่มตั้งถิ่นฐานเลยก็ว่าได้ ครั้งนี้เราชวนอาจารย์พิชญ์มาคุยเรื่องเมืองกรุงเทพฯ ในยุคหลังโควิดมาอ่านความคิดของอาจารย์ดูว่า หลังจากนี้โฉมหน้าของกรุงเทพฯ จะเป็นอย่างไร มุมมองของนักรัฐศาสตร์อย่างคุณ โรคระบาดสะท้อนให้เห็นปัญหาอะไรในสังคมไทยบ้าง เราเห็นภาพของการเน้นใช้ระบบราชการเป็นหลักในการแก้ปัญหา จนจบงานนี้เราก็ยังไม่เห็นว่าชุมชนหรือสังคมจะเข้มแข็งขึ้นได้ด้วยอะไร ทุกอย่างมันเอื้อไปที่การใช้อำนาจของระบบราชการ ปัญหาคือรอบนี้เนื่องจากมันเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน มีการลองผิดลองถูกเยอะ ซึ่งการลองผิดลองถูกคนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดก็คือประชาชน แล้วปัญหามันหลากหลายเพราะเมืองอย่างกรุงเทพฯ กับต่างจังหวัดมันแตกต่างกันมาก กรุงเทพฯเป็นจังหวัดเดียวที่มีพื้นที่ความเป็นเมืองหนาแน่น ขณะที่ต่างจังหวัดความเป็นเมืองมันมีเป็นหย่อมๆ ไม่มีจังหวัดไหนที่มีพื้นที่เมืองแบบร้อยเปอร์เซ็นต์ หากคุณอยู่ในแวดวงรัฐศาสตร์อาจพอเห็นภาพว่า คนที่ดูแลต่างจังหวัดจริงๆ ไม่ใช่ตัวผู้ว่าฯ มันจะเป็นเป็นนายกเทศมนตรี ผู้ว่าฯ ​ถูกส่งจากส่วนกลาง หลายคนก็ไม่ได้มีความรู้เรื่องพื้นที่ เดี๋ยวก็เปลี่ยนตัว เขาก็ทำดีที่สุดเท่าที่เขาทำได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่ต้องมีกระทรวงมหาดไทยนะ แต่เราเห็นบทบาทขององค์กรท้องถิ่นน้อย อย่างอบจ. (องค์การบริหารส่วนจังหวัด) ไม่เห็นบทบาทของเทศบาล ไม่เห็นการทำงานร่วมกันของหน่วยงานท้องถิ่นกับส่วนกลางเท่าไหร่ ผู้ว่าฯ ถูกส่งจากส่วนกลาง ถึงเวลารัฐออกออก พรก.ฉุกเฉินปุ๊บก็ overrule สิ่งที่ท้องถิ่นเขาคิดไว้ทั้งหมด จะเห็นว่าการบริหารจัดการส่วนกลางมันไม่แคร์เรื่องความหลากหลายของท้องถิ่น บางจังหวัดไม่มีคนติดเชื้อก็สั่งหยุด โรงเรียนก็ไม่ให้เปิด จะบอกว่าการแก้ปัญหาในครั้งนี้ ทำให้เรายิ่งเห็นข้อเสียของการรวมศูนย์อำนาจ เราไม่สามารถเข้าใจปัญหาของท้องถิ่นจริงๆ เพราะทุกอย่างถูกมองจากส่วนกลาง คุณไม่เห็นเลยว่าท้องถิ่นเขาบริหารจัดการดูแลตัวเองได้อย่างไร หรือแม้กระทั่งการจัดการศึกษาในท้องถิ่น ไม่มีการสร้างเงื่อนไขให้ชุมชนหารือกับส่วนกลาง วิธีคิดในการจัดการปัญหามาจากส่วนกลางจากระบบราชการอย่างเดียว ตั้งตารอส่วนกลางอสม.ปูพรม แต่คุณไม่เห็นบทบาท อบต. ไม่เห็นภาพของเทศบาล ทำได้ดีสุดก็คือออกไปแจกของ เพราะยิ่งทำอะไรมากส่วนกลางก็มองว่าเป็นการซื้อเสียงหรือเปล่า แจกเงินเดี๋ยวก็ผิดระเบียบไหม ทุกคนก็นิ่งไว้ก่อน ต่อให้ผู้ว่าฯ เริ่มเข้าใจในพื้นที่ ก็ถูกส่วนกลาง overrule อยู่ดี ในกรุงเทพฯ สภาพก็ไม่แตกต่างกันเท่าไหร่ เราไม่เห็นบทบาทของแต่ละเขตเลยว่าจะทำอะไร สภาเขตในแต่ละเขตเขาจะมีส่วนร่วมในการช่วยกระจายอะไรไหม ไม่มี ทุกอย่างเป็นการสั่งการโดยระบบราชการส่วนกลางทั้งหมด ที่น่าสนใจอีกอย่างก็คือ มันมีเมืองอีกประเภทหนึ่งที่ไม่ค่อยถูกพูดถึงก็คือ จังหวัดตามชายแดน ซึ่งคนพูดถึงน้อย อาจารย์ชลิดา ทาเจริญศักดิ์ ที่อยู่ภาคใต้ เคยยกประเด็นนี้มาพูด  คือจังหวัดชายแดนมีพลวัตแบบหนึ่ง คนมันเคลื่อนย้ายกันไปมา ซึ่งควบคุมไม่ง่ายเมื่อเทียบกับการเข้าเมืองหลวง เพราะจังหวัดชายแดนมันเข้ามาแล้ว แม้ว่าจะมีการกักตัวตามด่านตรวจฯ แต่กักได้ไม่หมดหรอก เพราะความไม่พร้อมหลายอย่าง  และเมืองชายแดนเหล่านี้เราไม่ได้โฟกัสเท่าไหร่ ทั้งๆ ที่เรื่องราวมีมากโดยเฉพาะฝั่งที่ติดกับเพื่อนบ้านของเรา ทั้งพม่า กัมพูชา จังหวัดแบบนี้น่าเป็นห่วง สรุปคือในทัศนะของคุณเอง มองว่าชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาครั้งนี้น้อยมาก มีส่วนแต่แบบตามมีตามเกิดไง แต่คุณไม่ได้มีโครงสร้างให้เขาทำอะไรได้มากกว่านี้ คุณลองไปดูคู่มือโรคระบาดขององค์กรอนามัยโลก (WHO: World Health Organization) ดูส่วนสำคัญตัวที่เขาบอกไว้เลยก็คือ ในการแก้ปัญหาโรคระบาดคุณต้องมีชุมชนในการเข้ามาร่วมบริหารจัดการตั้งแต่ต้น หากมองในแง่ของการควบคุมโรค ระหว่างกรุงเทพฯ กับจังหวัดอื่นมีช่องว่างอยู่มากไหมในการจัดการปัญหา เรื่องนี้อาจมองได้จากสองมุม ด้านหนึ่งดูในเชิงพื้นที่ อีกด้านหนึ่งดูผู้บริหารจัดการ ในแง่หนึ่งกรุงเทพฯ เป็นเมืองเปิด เมืองที่มีความลื่นไหล คนเดินทางเข้าออกมาก แต่ศูนย์กลางอำนาจในกรุงเทพฯกลับน้อย คนสั่งการไม่เป็นระบบ เพราะกรุงเทพฯ ไม่มีกลไกที่เป็นจังหวัดจริงๆ ซึ่งไม่ได้แปลว่ามันดี กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีระบบการปกครองที่ไม่สมบูรณ์แบบเท่าไหร่ เป็นหน่วยงานที่ออกแบบมาเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้จัดการเสียมากกว่า วิกฤตครั้งนี้เราจะเห็นเลยว่า ผู้ว่ากรุงเทพฯ พยายามทำหน้าที่เป็น ‘ผู้ว่าราชการจังหวัด’ แต่ตัวกรุงเทพฯ ไม่ได้มีสถานภาพแบบนั้น ฉะนั้นจริงๆ แล้วผู้ว่ากรุงเทพฯ ทำอะไรได้ไม่มากเท่าผู้ว่าราชการจังหวัดเสียด้วยซ้ำ เพราะโดนรัฐส่วนกลางกลบความสำคัญ เทียบกับผู้ว่าราชการจังหวัดในส่วนภูมิภาค ในความหมายนี้ผู้ว่าฯ มีเครื่องไม้เครื่องมือครบกว่ามีระบบราชการ มี อสม. มีสาธารณสุขแต่ละระดับคอยกำกับดูแล ทำงานภายใต้ system command ของผู้ว่าฯ แต่ผู้ว่ากรุงเทพฯ ไม่สามารถทำอย่างนั้น เพราะรัฐบาลกลางนั้นข่มความเป็นเมืองของกรุงเทพฯ ไว้หมด กรุงเทพฯ ยังมีผู้เล่นคนสำคัญอีกหน่วยคือโรงพยาบาลของมหาวิทยาลัย วิกฤตการระบาดของโควิดคราวนี้ คุณจะเห็นภาพว่ามีกลุ่มคุณหมออยู่สองกลุ่มที่ไม่เหมือนกัน คือกลุ่มคุณหมอที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุขกับที่สังกัดโรงเรียนแพทย์ สังเกตว่าช่วงแรกที่เริ่มมีการระบาด ระบบการดูแลถูกแต่งตั้งดูแลโดยกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสั่งการไปตามโรงพยาบาลในสังกัด ซึ่งในกรุงเทพฯ เข้าใจว่ามีแต่โรงพยาบาลราชวิถี ซึ่งการทำงานมันก็จะมันอยู่ในโครงสร้างของโรงพยาบาลราชวิถีกับโรงพยาบาลบำราศนราดูรเท่านั้น แล้วก็ไม่ได้ให้โรงพยาบาลอื่นรับผู้ป่วย เพราะโรงพยาบาลอื่นๆ ส่วนมากก็เป็นโรงพยาบาลเอกชน กับโรงพยาบาลที่สังกัดกับมหาวิทยาลัย หรือหน่วยอื่นๆ เช่น ทหาร ซึ่งไม่ได้รายงานตรงต่อกระทรวงสาธารณสุข เราจะเห็นวันที่อาจารย์หมอมารวมตัวกันเข้าพบคุณประยุทธ์ (พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ) แล้วช่วงที่ประยุทธ์เริ่มยึดอำนาจ ก็ดึงเอาคุณหมอปิยะสกล สกลสัตยาทร (อดีตคณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล) กลับมาซึ่งเคยเป็นรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขช่วงที่คุณประยุทธ์ทำรัฐประหาร (พ.ศ. 2558 – 2562) การทำงานก็เริ่มเปลี่ยน กระแสที่ออกมาว่าประเทศไทยอาจมีคนติดระดับสามแสนคนซึ่งนำมาไปสู่การปิดเมืองก็เป็นสายที่มาจากอาจารย์หมอเหล่านั้น ซึ่งมันเป็นคนละกลุ่มคนที่จัดการการระบาดในตอนแรก วิธีการเข้าถึงการแก้ปัญหาจึงเป็นคนละแบบ กระทรวงสาธารณสุข อยากเน้นตรวจเยอะๆ เน้นเฝ้าระวัง เน้นการเข้ามารักษาที่โรงพยาบาล อีกสายหนึ่งเขาเห็นว่าไม่พอ ต้องปิดเมือง คุณต้องเข้าใจว่าตัวละครที่เข้ามา มันมีวิธีการจัดการที่แตกต่างกัน ฉะนั้นกรุงเทพฯ ตัวหลักจริงๆ คือทีมโรงพยาบาลของโรงเรียนแพทย์นี่แหละที่เป็น game changer แต่สุดท้ายคุณประยุทธ์เขาก็ยึดอำนาจ เพราะต้องการสั่งทุกคน มันก็นำไปสู่คำถามที่ทุกคนอยากรู้ว่าตกลงเราจำเป็นที่ต้องมี พรก.ฉุกเฉินไหม โรคระบาดคราวนี้ถูกโยงไปเกี่ยวกับการเมืองมากเกินไปหรือเปล่า มันเป็นเรื่องการเมืองอยู่แล้วตั้งแต่แรก เราชวนตั้งคำถามว่าตกลงปัญหาคราวนี้เรามีกระบวนการแก้ปัญหายังไง คนที่เป็นคนกำหนดมาตรการการแก้ปัญหากลุ่มแรกๆ เลยคือสาธารณสุข แต่สาธารณสุขก็มีลักษณะตั้งรับมากเกินไป ให้ความสำคัญกับการรักษา ไม่ได้โฟกัสที่การระบาด พอมันระบาดจริงๆ เขาก็ถูกแทรกแซงโดยทีมของนายกฯ บวกกับอาจารย์หมอจากคณะแพทย์ต่างๆ  เลยทำให้การแก้ปัญหาครั้งนี้มีลักษณะที่อนุรักษ์นิยมมากจนกระทบกับเรื่องเศรษฐกิจ ทั้งหมดคือมันก็เกี่ยวพันกับการเมืองตั้งแต่แรกอยู่แล้ว ในความคิดของคุณการใช้ พรก. ฉุกเฉิน ในการแก้ปัญหาครั้งนี้ มันไม่จำเป็น?  พรก.ฉุกเฉินทำหน้ารวบอำนาจเข้าสู่นายกรัฐมนตรี มันไม่ได้ทำหน้าที่สำคัญในประเด็นอื่นๆ เพราะประเด็นอื่นๆ มันสามารถใช้อำนาจที่นายกรัฐมนตรีมีอยู่ ทำได้อยู่แล้วตั้งแต่ต้น ตอนแรกๆ ที่คุณอนุทิน (นายอนุทิน ชาญวีระกูล-รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข) เข้ามาดูแลช่วงแรกๆ ภายใต้พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 เขาก็เสนอให้ปิดสนามบินอยู่แล้ว แต่คณะรัฐมนตรีไม่อนุมัติ ซึ่งมันก็เห็นแล้วว่านายกรัฐมนตรีไม่มีความสามารถในการบริหารจัดการ พูดง่ายๆ คือนายกฯ คุม ครม.ไม่ได้ก็เลยต้องใช้ธีนี้แทน ส่วนการประกาศเคอร์ฟิว มันก็เป็นคำถามว่าการประกาศเคอร์ฟิวจำเป็นต้องใช้พรก.ฉุกเฉินหรือเปล่า ความสำคัญมันอยู่ที่ว่า นี่คือเรื่องทางการเมืองหรือไม่ที่นายกรัฐมนตรีไม่สามารถสื่อสารข้ามหน่วยงานที่เขาไม่ได้รับผิดชอบโดยตรงได้ มันก็เลยกลายเป็นปัญหาทาง ‘การเมือง’ แทนที่จะเป็นการแก้ปัญหา ‘เมือง’ คิดว่าพรก.ฉุกเฉิน เมื่อไรจะเลิก อาจจะไม่เลิกง่ายๆ ปัจจุบันมันก็ไม่มีความหมายอะไรนอกจากการรวบอำนาจไว้ที่นายกรัฐมนตรีอีกทางหนึ่งมันก็เป็นการสร้างความมั่นใจว่าคุณสามารถบริหารจัดการประเทศนี้ได้โดยไม่ต้องทำให้นักการเมืองที่ร่วมรัฐบาลมีฐานะเท่าเทียมกับคุณ อีกทางหนึ่งนี่ก็เป็นเงื่อนไขห้ามการการรวมตัวจุดชนวนของนักศึกษาได้ มันเลยถูกมองว่าการแก้ปัญหาครั้งนี้มันมีนัยยะทางการเมือง เพราะข้อหนึ่งที่สำคัญคือเมื่อออกกฎหมายนี้มาแล้ว คนสั่งไม่ต้องรับผิด ทำอะไรไปแล้วคุณฟ้องไม่ได้ แต่ถ้าคุณออกคำสั่งในพรบ.ปกติ คุณฟ้องศาลปกครองได้ว่ามันเป็นคำสั่งไม่ชอบธรรม เป็นคำสั่งที่เกินเลย พอมองเห็นตัวอย่างว่ามีที่ไหนที่สร้างสมดุลได้ดีระหว่างการควบคุมกับการรักษาเสถียรภาพ ปล่อยวางให้เศรษฐกิจมันเดินได้ ผมว่าส่วนใหญ่เขาก็ทำกัน อย่างสิงคโปร์ใช้ตรรกะแบบตลาดหุ้นคือแก้ปัญหาแบบ circuit breaker หมายความว่าเวลาที่คุณจะปิดหรือเปิดเมือง ต้องมีเงื่อนไขว่าด้วยเหตุผลอะไรคุณถึงจะปิดหรือกลับมาเปิดเช่นว่า ถึงระดับที่ระบาดมากขึ้นก็ปิดทีหนึ่ง พอดีขึ้นก็เปิดเมือง แต่ของเรามันเป็นลักษณะที่ว่าปิดแล้วไม่ได้บอกเงื่อนไขที่เป็นรูปธรรมว่าจะเปิดเมื่อไร ผมถามว่าเวลาที่คุณเปิดจากขั้นหนึ่งไปเป็นขั้นสองและสามรัฐบาลบอกประชาชนหรือเปล่าว่าอะไรเป็นตรรกะเงื่อนไข แต่คุณเปิดเหมือนเป็นความเมตตากรุณาของผู้ปกครอง ทำไมไม่กำหนดไปว่าถ้ามีคนติดต่ำกว่า 5% ภายในกี่วัน เราจะเปิดหรือมีมาตรการต่อไปเป็นแบบนี้ๆ หรือคำนวณผู้ป่วยกับจำนวนเตียงที่เรามี โรงพยาบาลมีกำลังแบกรับเท่าไร ฯลฯ ไม่ใช่ว่าคุณมาบอกอย่างเดียวว่า การ์ดอย่าตกๆ แต่ไม่บอกว่ากำลังตัดสินใจทำอะไรอยู่ ยิ่งเป็นแบบนี้ ยิ่งทำให้รู้สึกว่าประชาชนไม่มีบทบาทอำนาจอะไรเลย  รัฐไม่ได้สร้างความรู้สึกร่วมกับประชาชนว่าถ้าเราร่วมมือกันทำตรงนี้จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ในช่วงเวลาที่เราโดนจำกัดเรื่องพื้นที่ทั้งในแง่ของกายภาพและในเชิงความคิดเห็นในการแสดงออกมันสร้างผลกระทบอย่างไรบ้าง มันทำให้เราเห็นว่าสังคมเรามีความเหลื่อมล้ำสูง ความเหลื่อมล้ำมันฉายภาพชัดขึ้น คนรวยไม่เดือดร้อนเพราะเขาบริหารจัดการชีวิตได้ แต่คนจนเขาต้องอยู่กันเป็นกลุ่มเป็นก้อน ต้องพึ่งพากันสูงอยู่แล้ว มันก็กระทบหนักกับอีกชนชั้นหนึ่งค่อนข้างมาก […]

เติบโตจากการใช้ชีวิตในต่าง ‘เมือง’ : คุยกับลูกเรือในวันที่ COVID-19 ทำให้ต้องหยุดบิน

15/06/2020

หากนึกดูให้ดี ‘สายการบินระหว่างประเทศ’ แท้จริงแล้วคือ ‘สายการบินระหว่างเมือง’ ไฟลท์บินระหว่างไทย – อังกฤษ ส่วนใหญ่คือ การเชื่อมต่อระหว่างกรุงเทพฯ – ลอนดอน เช่นเดียวกับไฟลท์บินไทย – สิงคโปร์ ย่อมไม่ใช่อะไรอื่นใดระหว่างการเชื่อมสองมหานครหลวงของทั้งสองประเทศ นี่คือเหตุผลหนึ่งที่อาชีพบนเครื่องบินเป็นอาชีพในฝันของใครหลายคน เพราะอาชีพนี้เปิดโอกาสให้เราได้เห็น ‘บ้าน’ และ ‘เมือง’ หลายแบบ การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ทำให้อุตสาหกรรมการบินได้รับผลกระทบโดยตรงทุกประเทศทั่วโลก บางสายการบินถึงกับล้มละลาย เนื่องจากมีปัญหาสภาพคล่องทางการเงินและต้องแบกรับค่าใช้จ่ายโดยไม่มีรายได้เข้ามา การปรับลดต้นทุนและใช้มาตราการฉุกเฉินอาจทำให้รอดจากสภาวะนี้ หากแต่เรายังไม่รู้ว่าเหตุการณ์แพร่ระบาดจะจบลงตรงไหน นับว่าเป็นอีกวิกฤตที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่อุตสาหกรรมและบุคลากรทางการบินได้เผชิญ ในขณะที่ใครหลายคนสามารถ work from home ได้ แต่ดูเหมือนว่า โอปอล์ – ศศินันท์ บุญเฉียน ลูกเรือสายการบินแห่งหนึ่งไม่สามารถทำแบบนั้นได้ ดูเผินๆ ก็ไม่มีอะไรแปลก เพราะเมื่อเครื่องบินบินไม่ได้ ลูกเรือก็ต้องหยุดงาน ทว่าโอปอล์ต้องประจำอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ ‘เมือง’ ที่ไม่ใช่ ‘บ้าน’ ของเธอ อย่างผู้อยู่อาศัย แม้จะมีทางเลือกให้เธอกลับ ‘บ้าน’ ได้แต่ก็มีหลายเหตุผลให้โอปอล์เลือกที่จะอยู่ที่นี่ น่าสนใจว่า มุมมองต่อ […]

ป่วยใจ : สึนามิลูกที่ 4 หลังโรคระบาด เมืองจะรับมืออย่างไร? คุยกับ นพ.ภุชงค์ เหล่ารุจิสวัสดิ์

02/06/2020

ผลสำรวจพบว่าประชาชน 51.85% มีความเครียดและความวิตกกังวล และจำนวนผู้ที่โทรมาขอคำปรึกษากับ กรมสุขภาพจิต ทางสายด่วน 1323 เพิ่มขึ้นจาก 20-40 ราย ในช่วงเดือน ม.ค.-ก.พ.63 เป็น 600 รายในเดือน มี.ค.63  กรมสุขภาพจิต ตัวเลขทางสถิติข้างต้นที่ยังไม่นับรวมความรุนแรงภายในครอบครัว และอัตราการฆ่าตัวตายที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานับตั้งแต่เกิดการระบาดของโควิด-19 ความเครียดสะสมจากปัญหาเศรษฐกิจสังคมในประเทศไทยที่เรื้อรังมายาวนานและมาตรการในการควบคุมโรคโควิด-19 ทั้งการรักษาระยะห่าง การปิดสถานประกอบการ การลดการติดต่อทางกายภาพ ล้วนส่งผลให้คนจำนวนมากตกอยู่ในภาวะเครียด วิตกกังวล ซึ่งเกิดขึ้นกับคนทุกกลุ่ม ตั้งแต่แม่ค้าในตลาด เด็กนักเรียน ไปจนถึงบุคลากรทางการแพทย์เอง ที่ต่างเจอกับปัญหาทางสุขภาพจิตและอาจถึงขั้นเข้าได้กับอาการผิดปกติทางจิตเวช  จากการถอดบทเรียนในหลายประเทศพบว่าแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นจากผลกระทบระยะยาวจากโรคโควิด-19 นั้น แบ่งได้เป็นคลื่น 4 ลูก คือ คลื่นลูกที่ 1 ในช่วง 1-3 เดือนแรกที่เริ่มมีโรคระบาด และอาจยาวนานถึง 9 เดือนหากมีการกลับมาระบาดซ้ำเป็นช่วงที่สร้างผลกระทบกับสุขภาพของคนและขีดความสามารถของโรงพยาบาล เพราะพบผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตต่อเนื่อง คลื่นลูกที่ 2 คือ ช่วง 2-4 เดือนหลังเริ่มมีโรคระบาด เป็นช่วงที่ผู้ป่วยเร่งด่วนที่ไม่ได้ติดเชื้อโควิด-19 เช่น ผู้ป่วยผ่าตัดที่รอได้ต้องได้รับการดูแลหลังจากชะลอการพบแพทย์ไปก่อนหน้านี้ และอาจกลับมาสู่หน่วยบริการแบบ […]

How’s it going? : ฟรีแลนซ์ชาวไทยในอเมริกา กับชีวิตในเมืองที่ล็อกดาวน์มากว่า 2 เดือน

28/05/2020

มากกว่า 1,600,000 คือจำนวนผู้ติดเชื้อโคโรน่าไวรัสในสหรัฐอเมริกา ณ ปลายเดือนพฤษภาคม 2563 ตอนนี้อเมริกาเป็นประเทศที่มีผู้ติดเชื้อมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งของโลก มียอดผู้เสียชีวิตเกือบหนึ่งแสนคน โดยนิวยอร์กเป็นรัฐที่มีผู้ติดเชื้อมากที่สุดในประเทศ ตามมาด้วยนิวเจอร์ซีย์ อิลลินอยส์ และแมสซาชูเซตส์ ชีวิตของชาวเมืองที่ต้องอยู่ในเมืองที่ผู้ติดเชื้อมากที่สุดอันดับต้นๆ ของประเทศจะเป็นอย่างไร? เราได้พูดคุยกับฟรีแลนซ์ชาวไทยที่อาศัยอยู่ในเมืองบอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ‘ส้ม-กันยารัตน์ สุวรรณสุข’ ถึงการใช้ชีวิตในบอสตันในช่วงนี้ จริงๆ แล้ว ส้มบอกกับเราว่ากำลังอยู่ในช่วง gap year และมีแผนจะไปเรียนต่อ แต่ก็มีสถานการณ์โควิดเข้ามาเสียก่อน ตอนนี้เลยได้แต่เตรียมตัวไปพลางๆ และการอาศัยอยู่ในบอสตันที่ล็อกดาวน์มาแล้วกว่า 2 เดือน ก็ทำให้ชีวิตเปลี่ยนไปไม่น้อยเลย ‘โอ้มายก็อด ปิดเมืองมานานขนาดนี้แล้วเหรอ’ ส้มอุทานออกมาเมื่อเราถามว่าบอสตันเริ่มล็อกดาวน์ตั้งแต่เมื่อไหร่ เราคุยกันผ่านทางวิดีโอคอล ส้มเล่าให้เราฟังว่าจากเดิมบอสตันเป็นเมืองแห่งการศึกษา มีนักเรียน นักศึกษาจากหลายชาติทั่วโลกหลั่งไหลเข้ามาเสมอ ยิ่งในช่วงที่เริ่มจะเข้าซัมเมอร์เช่นนี้แล้ว ถ้าเป็นในปีก่อนๆ จะเริ่มเห็นผู้คนหลากหลายเชื้อชาติทั้งอเมริกัน ยุโรป รวมถึงเอเชีย ออกมาเดินเล่นรับอากาศดีๆ หลังจากหน้าหนาวผ่านพ้นไป แต่ซัมเมอร์ปีนี้เงียบเหงาและเศร้ากว่าทุกปี สถานที่ที่ไม่จำเป็นในการดำรงชีวิตขั้นพื้นฐานถูกปิดลง จะเหลือก็แต่ซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านอาหาร และร้านขายยาเท่านั้นที่ยังพอมีให้เห็นกันอยู่บ้าง ซึ่งเป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัสที่ไม่รู้จะสิ้นสุดเมื่อไหร่ แม้ว่าอเมริกาจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง โดยเฉพาะในเมืองและรัฐที่ส้มอาศัยอยู่ ทำให้ในช่วงนี้ไม่มีรายได้เลยก็ตาม […]

คุยเรื่องห้องเรียนในอนาคต กับ ยรรยง บุญ-หลง สถาปนิกเบื้องหลังแนวคิดพื้นที่เรียนรู้แบบไฮบริดในซิลิคอนแวลลีย์

27/05/2020

“ผมมองว่าหลังโควิด-19 คนในแคลิฟอร์เนียก็ยังจะกลับมาเข้าเรียนเหมือนเดิม แต่ที่ไม่เหมือนเดิมคือกรอบคิดของพวกเขาเกี่ยวกับเรื่องการเชื่อมต่อกับผู้คน หลัง COVID-19 แม้เมื่อมียารักษาแล้ว ผู้คนก็ยังไม่ลืมว่าเขาเคยสามารถทำงานที่บ้านได้ เคยเรียนและคุยกับคนทั้งห้องที่บ้านผ่านออนไลน์ได้ และเขาก็จะเริ่มถามว่า ทำไมเราจึงมีห้องว่างและสิ่งปลูกสร้างจำนวนมากมายนัก ทั้งที่บางส่วนสามารถย้ายไปอยู่ Online ได้” ยรรยง บุญ-หลง ผลกระทบที่เกิดขึ้นของโควิด-19 นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาแทบทุกประเทศอย่างฉับพลัน ทั้งในระดับโรงเรียนและมหาวิทยาลัย การปรับตัวในระยะสั้นด้วยการเรียนทางไกลส่งผลให้นักเรียนและโรงเรียนต้องเผชิญกับความท้าทาย โดยเฉพาะด้านโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยี นอกจากนี้ วิกฤตโควิด-19 ยังทำให้เกิดความปกติใหม่ ที่ทำลายแนวคิดการเรียนรู้แบบเก่าที่ผูดขาดการเรียนการสอนในระบบไว้ในห้องเรียนสี่เหลี่ยมเท่านั้น  The Urbanis ชวน ยรรยง บุญ-หลง สถาปนิกชุมชนชาวไทย ผู้เป็นสมาชิกของสมาคมสถาปนิกอเมริกัน (The American Institute of Architects) พูดคุยเรื่องการเรียนรู้ในอนาคต ทั้งรูปแบบการเรียนการสอน คุณภาพการศึกษา รวมไปถึงการออกแบบพื้นที่การเรียนรู้แห่งอนาคต ที่ยังคงไว้ซึ่งปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ และสนับสนุนแนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต  ปัจจุบัน ยรรยงอาศัยในสหรัฐอเมริกา เพื่อทำงานวิจัยและออกแบบโรงเรียนของรัฐในเขตซิลิคอนแวลลีย์ รัฐแคลิฟอร์เนีย แน่นอนว่าแนวคิดที่ยรรยงให้ความสนใจและทำการศึกษาออกแบบอยู่ อาจถูกเร่งปฏิกิริยากลายเป็นความจริงได้เร็วขึ้นเพราะวิกฤตโควิด-19 ที่สั่นสะเทือนไปทุกวงการ ไม่เว้นแม้แต่แวดวงทางการศึกษา เมื่อพูดถึงซิลิคอนแวลลีย์ หลายคนคิดถึงภาพศูนย์รวมของบริษัทและสตาร์ตอัปด้านเทคโนโลยีระดับโลกที่ต่างแข่งขันกันนำเสนอนวัตกรรมเปลี่ยนโลก เช่นเดียวกัน โรงเรียนในเขตซิลิคอนแวลลีย์ก็ย่อมมีความพิเศษไม่แพ้กัน ซิลิคอนแวลลีย์ การศึกษาส่วนผสมของแพลตฟอร์มการเรียนรู้เป็นอย่างไรบ้าง […]

การอยู่อาศัยแนวตั้งในเมืองชั่วคราว เมื่อ Covid-19 ทำให้เห็นภาพปัญหาชัดขึ้น

25/05/2020

2020 ถือเป็นปีที่ทำให้ใครหลายคนได้หยุดการทำงานและกลับไปอยู่บ้านนานกว่าปีไหนๆ เพราะการเข้ามาของโรคระบาดอย่างไวรัส Covid-19 ทำให้โลกทั้งโลกที่เคยหมุนปกติ สะดุดเสียจังหวะ วิถีชีวิตที่เคยดำเนินมานั้นต้องพลิกผันยากควบคุม  จากวิกฤตนี้ทำให้คนต่างจังหวัดที่ต้องมาทำงานและอาศัยในเมืองกลับไปอยู่บ้านที่ต่างจังหวัดได้นานขึ้น ใกล้ชิดกับครอบครัว มีเวลาทำอย่างอื่น อาจได้มองเห็นเส้นทางตัวเลือกใหม่ที่จะต่อยอดให้ชีวิตได้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี แต่ยังมีอีกหลายคนที่กลับบ้านไม่ได้ และยังต้อง work from home ผ่านหน้าจออยู่ในห้องพักอาศัยสี่เหลี่ยมอย่างคอนโดหรืออพาร์ตเมนต์ สถานที่ที่เป็นดั่งที่อยู่อาศัยของชีวิต แม้จะเป็นการเช่าอยู่ก็ตาม  กรุงเทพฯ ถือเป็นเมืองที่มีผู้คนมากมายทั้งไทยและต่างชาติ เข้ามาทำงาน ท่องเที่ยว ใช้ชีวิต วนเวียนและจากไป ในช่วงที่เกิดการระบาดของ Covid-19 ก็ทำให้ได้เห็นว่า กรุงเทพฯ เป็นเมืองชั่วคราวมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม ในวันที่กรุงเทพฯ เพิ่งปลดล็อกดาวน์ อยากชวนทุกคนไปคุยกับ อาจารย์ภัณฑิรา จูละยานนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ร่วมวิจัยในโครงการวิจัย ‘คนเมือง 4.0 อนาคตชีวิตเมืองในประเทศไทย’ ด้วยความสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยงานในส่วนที่อาจารย์เป็นผู้วิจัยคือโครงการย่อยที่ 2 พูดถึงเรื่อง ‘การอยู่อาศัย’ ชวนไปคุยกันถึงบ้านอาจารย์ แต่ผ่านวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ ปรับเปลี่ยนไปกับวิถีชีวิตใหม่ที่เราทุกคนกำลังเผชิญ มีการคาดเดามากมายว่าหลัง Covid-19 ผ่านพ้นไป ผู้คนจะย้ายออกจากเมืองมากขึ้น […]

1 4 5 6 7 8 9