Life



The Education Next Gen การศึกษานอกห้องสี่เหลี่ยม ผ่านมุมมอง ดร. สรชัย กรณ์เกษม และ อ.ปรารถนา เกลียวปฏินนท์

18/05/2020

เมื่อปี 1918 หรือ 100 ปีที่แล้ว ใครจะคิดว่าห้องเรียนในช่วงที่เกิด Spanish flu กับห้องเรียนในปัจจุบันแทบไม่ได้มีหน้าตาต่างกันเลย การคิดถึงห้องเรียนกับการสอนทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ที่ไม่สามารถสร้างได้จากกระบวนการที่ใช้ในห้องเรียนแบบเดิม ห้องเรียนจะเปลี่ยนไปในรูปแบบไหนเมื่อมนุษย์มีเทคโนโลยีเข้ามาเป็นตัวช่วยสำคัญในยุคของการเกิดโรคระบาดอีกครั้ง  องค์กร World Economic Forum ได้พูดถึงทักษะในศตวรรษที่ 21 ไว้ทั้งหมด 16 ทักษะ โดยแบ่งเป็น 3 หมวด ซึ่งตอบโจทย์ในเรื่องของ ทักษะพื้นฐานในการเรียนรู้และการใช้ชีวิตให้เหมาะกับบริบทของโลกปัจจุบัน เช่น การคำนวณ การใช้ภาษา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ การเงิน วัฒนธรรม  ทักษะในการจัดการกับความท้าทายในชีวิต เช่น การคิดเชิงวิพากษ์ (Critical thinking) การแก้ปัญหา ความคิดสร้างสรรค์ รวมไปถึงการสื่อสาร และทักษะการรับมือกับโลกที่เปลี่ยนไป เช่น ความริเริ่มสิ่งใหม่ ความพยายาม การปรับตัว ความเป็นผู้นำ โดยกระบวนการที่ใช้ในการสร้างทักษะเหล่านี้ไม่สามารถสร้างได้จากจากกระบวนการที่ใช้ในห้องเรียนแบบเดิมๆ ในช่วงที่ทุกสถานศึกษาต้องหยุดชะงักลง การเรียนออนไลน์เป็นช่องทางเดียวในการแก้ปัญหาระยะสั้นตอนนี้ อยากชวนทุกคนไปคุยกับ ดร. สรชัย กรณ์เกษม รองผู้อำนวยการสาขาวิชาการออกแบบสถาปัตยกรรม […]

กรุงเทพมหานคร: เมืองมอเตอร์ไซค์ชั่วกาลปาวสาน คุยกับ อ.ดร.เปี่ยมสุข สนิท ในวันที่ถนนของเมืองเต็มไปด้วยมอเตอร์ไซค์

15/05/2020

ถ้าย้อนเวลากลับไปก่อนหน้าที่ Covid-19 จะเข้ามามีส่วนเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของเรา ลองหลับตาแล้วนึกถึงปัญหาของการเดินทางในกรุงเทพมหานครดูหน่อยสิว่า คุณนึกถึงอะไรบ้าง? การจราจรแออัดแบบติดท็อป 10 ของโลก, รถไฟฟ้าแพง, รถเมล์ไม่เคยพอ, มอเตอร์ไซค์ย้อนศรเรื่องปกติ หรือบางทีก็วิ่งบนทางที่คนควรจะได้เดิน, จากบ้านไปที่ทำงานต้องขึ้นวิน โหนรถเมล์ ลงเรือ แล้วต่อแท็กซี่ และยังมีอีกมากมายที่เอ่ยได้ไม่รู้จบสำหรับปัญหาการเดินทางในเมือง ซึ่งดูสวนทางกับป้ายใต้ราง BTS ที่เงยหน้ามองอยู่ทุกวัน ในประโยคที่ว่า ‘กรุงเทพฯ ชีวิตดีๆ ที่ลงตัว’ ภาพของการเดินทางในเมืองแบบสภาวะปกติ เชื่อว่าทุกคนน่าจะจดจำปัญหาที่ต้องเผชิญได้เป็นอย่างดี แต่ทว่าตั้งแต่มีเหตุการณ์ Covid-19 ระบาด การเดินทางในเมืองและวิถีชีวิตที่จำต้องยอมเปลี่ยนแปลงเพื่อรับมือกับวิกฤตหนักหน่วง เราอาจจะนึกไม่ออกว่าอนาคตจะเปลี่ยนโฉมออกมาหน้าตาแบบไหน ในวันที่ต้องอยู่บ้านและเดินทางไปไหนก็ลำบาก จึงอยากชวนทุกคนไปคุยกับ อ.ดร.เปี่ยมสุข สนิท อาจารย์ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หนึ่งในทีมผู้ร่วมวิจัยในโครงการวิจัย ชื่อว่า ‘คนเมือง 4.0 อนาคตชีวิตเมืองในประเทศไทย’ ที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในเรื่องของ ‘การเดินทางในเมือง’ กรุงเทพมหานคร: เมืองมอเตอร์ไซค์ชั่วกาลปาวสาน, มอเตอร์ไซค์รับจ้าง: เส้นเลือดฝอยของคนเมือง,มอเตอร์ไซค์รุ่งโรจน์ในยุคอีคอมเมิร์ซ ทั้งหมดคือบางส่วนในหัวข้อที่อาจารย์ใช้ในงานวิจัย ชี้ให้เห็นว่า มอเตอร์ไซค์ถูกยกให้มีบทบาทสำคัญสำหรับการเดินทางในเมือง และอาจารย์ยังบอกอีกว่า […]

ว่าด้วยการซื้อของในเมืองเบื้องต้น คุยกับ อ.ดร. พรสรร วิเชียรประดิษฐ์ ในช่วงที่การเดินทางเป็นเรื่องลำบาก

13/05/2020

ลองนึกถึงสินค้าชิ้นล่าสุดที่คุณเพิ่งซื้อ คุณซื้อจากที่ไหน แล้วถ้าหากเป็นช่วงก่อนโควิด-19 จะระบาด ของชิ้นที่ว่า เดิมทีคุณจะซื้อจากที่ไหน คำตอบสำหรับภาพการซื้อของในเมืองมีได้หลากหลาย ทั้งจากซุปเปอร์มาร์เก็ตที่มีสาขามากมายมหาศาล ห้างสรรพสินค้าใหญ่โตมหึมา หรือใช้นิ้วสั่งผ่านช่องทางออนไลน์ก็มีให้เลื่อนให้ไถกันไม่หยุด รวมถึง ตลาดนัด และอื่นๆ  แต่การมาของโควิด-19 โรคระบาดครั้งใหญ่ที่ถูกทั้งโลกบันทึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ ได้เปลี่ยนภาพการซื้อของในเมืองไปอย่างเห็นได้ชัดเจน ผู้คนไม่สามารถไปกินข้าวที่ร้านประจำได้ ถูกงดช็อปปิ้งในห้าง อยู่บ้านมากขึ้นกักตัวพร้อมกักตุนอาหาร และอีกหลายๆ อย่างที่ทำให้พฤติกรรมการซื้อของต้องเปลี่ยนไป  ในวันที่ทุกอย่างไม่เหมือนเดิม อยากชวนทุกคนไปคุยกับ อ.ดร.พรสรร วิเชียรประดิษฐ์ อาจารย์ประจำภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ร่วมวิจัยในโครงการวิจัย ‘คนเมือง 4.0 อนาคตชีวิตเมืองในประเทศไทย’ ที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยงานในส่วนที่อาจารย์เป็นผู้วิจัยคือ โครงการย่อยที่ 5 ซึ่งพูดถึงเรื่อง ‘อนาคตของการซื้อของในเมือง’ การมาเยือนของโควิด-19 ส่งผลให้อนาคตการซื้อของของคนเมืองในงานวิจัยนั้นเปลี่ยนแปลงไปเช่นไร สมมติฐานถึงอนาคตทั้งใกล้ไกลจะเบนเข็มไปในทิศทางไหน ทุกๆ อย่างกำลังเปลี่ยน เปลี่ยนไปจากความคุ้นชิน เปลี่ยนไปในทิศทางบังคับที่ทุกคนต้องปรับตัวตาม และยังไม่รู้เลยว่า คลื่นลมของการเปลี่ยนแปลงที่เรากำลังเผชิญอยู่ตอนนี้ จะสงบลงได้ในวันไหน การพูดถึงเรื่องการเปลี่ยนแปลงจึงเป็นความสำคัญลำดับต้นๆ ในช่วงเวลาแบบนี้ เมืองควรมีร้านสะดวกซื้อเพราะอะไร เมืองเกิดจากตลาดแล้วก็วิวัฒนาการไปเรื่อยๆ ร้านค้าจึงเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับเมืองมาตั้งแต่ต้น การค้าในเมืองในยุค 1.0 […]

ชุมนุมอย่างไรให้อยู่บนพื้นฐานของกฎหมาย คุยกับ ‘เป๋า-ยิ่งชีพ อัชฌานนท์’ เมื่อประเทศขาดพื้นที่สาธารณะ ในการแสดงออกทางการเมือง

12/05/2020

ช่วงที่ผ่านมาคำว่า ‘ลงถนน’ ดูจะเป็นคำที่เราได้ยินกันบ่อยขึ้น  อาจนับตั้งแต่ผลการเลือกตั้งปี 62 ถูกประกาศ จนกระทั่งศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคอนาคตใหม่บวกกับความไม่พอใจในการบริหารของรัฐบาลชุดปัจจุบันได้แปรเปลี่ยนเป็นการชุมนุมแบบ ‘แฟลชม็อบ’ ในหมู่นักเรียน นักศึกษาทั่วประเทศ น่าเสียดายที่การเคลื่อนไหวครั้งนั้นต้องยุติลงเพราะการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ภาพการลงถนนที่คาดว่าอาจเกิดขึ้นจึงเริ่มเลือนลางไป แต่คำว่า ‘ลงถนน’ กลับมาเด่นชัดขึ้นอีกครั้ง เมื่อรัฐบาลขาดศักยภาพในการรับมือกับ COVID-19 จนสร้างผลกระทบต่อประชาชนทุกย่อมหญ้า แม้ตอนนี้สถานการณ์ COVID-19 จะยังไม่คลี่คลาย แต่หลายฝ่ายต่างลงความเห็นตรงกันว่า ‘สิ้น COVID-19 นี้อาจเกิดการชุมนุมทางการเมืองครั้งใหญ่’   อย่างไรก็ตามการชุมนุมที่ต้องอยู่บนพื้นฐานของพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 ถือว่าไม่ง่ายเลย ทั้งในแง่ของการปฏิบัติและในเชิงพื้นที่ แต่จะทำอย่างไรให้การชุมนุมดำเนินไปได้ ?  หากจะมีใครสักคนให้คำตอบได้ ‘เป๋า’ ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้จัดการโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) น่าจะเป็นคนนั้น  จากประสบการณ์เคลื่อนไหวทางการเมืองมาตั้งแต่สมัยยังเป็นนักศึกษา และการทำงานภาคประชาสังคมที่หยิบจับประเด็นทางกฎหมายมาสื่อสารให้เกิดการตั้งคำถาม ไปจนถึงการทำงานรณรงค์ด้านสิทธิเสรีภาพอย่างแข็งขัน เมื่อเอ่ยถึงเรื่องกฎหมายที่พ่วงมากับการเคลื่อนไหวทางการเมืองทีไร ชื่อของเขามักปรากฎขึ้นมาเสมอ  บทสทนาระหว่าง The Urbanis กับ เป๋า ยิ่งชีพ ในวันนี้ จึงว่าด้วยการชุมนุมประท้วงอย่างไรให้ไม่ให้ผิดกฎหมาย พร้อมพูดคุยถึงปัญหาเรื่องพื้นที่สาธารณะหรือพื้นที่ชุมนุม […]

Back to (home-based) school : ในวันที่กลับไปโรงเรียนไม่ได้ คุยกับ อรรถพล อนันตวรสกุล

08/05/2020

เหลือเวลาอีกไม่เกิน 60 วันตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการในการเปิดภาคเรียนประจำปี 2563 ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 หลังจากที่เด็กนักเรียนได้หยุดเรียนตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม ณ ตอนนี้การเรียนออนไลน์และการเรียนทางไกลถูกพูดถึงเป็นวงกว้างและเป็นหนทางแก้ปัญหาจากการเว้ยระยะห่าง แต่จริงๆ แล้วสถานการณ์การศึกษาเปรียบเหมือนคลื่นใต้น้ำที่กำลังรอการแก้ปัญหาอย่างรอบด้าน การเตรียมพร้อมรับมือกับการระบาดที่อาจจะเกิดขึ้นได้อีกทุกเมื่อจะเป็นอย่างไร รูปแบบการเรียนการสอนจะเปลี่ยนไปในทิศทางไหนที่จะเข้าถึงเด็กทุกคน วิกฤตที่รออยู่จะเป็นโอกาสในการเปลี่ยนรูปแบบการศึกษาไทยเลยหรือไม่ วันนี้เรามาชวน ผศ.ดร.อรรถพล อนันตวรสกุล อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนพูดคุยว่าด้วยเรื่อง การปรับตัวระบบการศึกษาหลังจากสถานการณ์โรคระบาด ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนที่อาจารย์ ตั้งมา 12 ปีแล้ว ภารกิจหลักตอนนี้ ทำหน้าที่ติดตามการศึกษาทั่วโลกว่ามีการเคลื่อนไหวยังไงบ้างที่การศึกษาจะมีส่วนในการสร้างสังคมที่ยั่งยืนและคุณภาพการศึกษาสำหรับทุกคนอย่างผู้ใหญ่จะสามารถเรียนรู้ตลอดชีวิตได้พลเมืองโลกเป็นอย่างไร เน้นการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ Quality Education For All การศึกษาในประเทศไทยอยู่จุดไหน ก่อนอื่นต้องยอมรับว่าประเทศไทยเป็นรัฐราชการรวมศูนย์ การตัดสินใจมีความยืดหยุ่นน้อย ในด้านการศึกษาก็เช่นกัน ปฏิเสธไม่ได้เรื่องความมั่นคงทางการเมืองมีส่วนสำคัญอย่างมาก อย่างเช่น ในอินโดนีเซีย มีประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง ทำให้นโยบายด้านการศึกษาเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ประเทศไทยตรงกันข้าม ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาการศึกษาในประเทศไทยมีความไม่ต่อเนื่องสูงเปลี่ยนไปตามผู้กำหนดนโยบาย และในช่วง 5 ปีที่ผ่านจะเห็นได้ว่าขาดการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ เป็นการบริหารจัดการเชิง top down ถึงแม้ก่อนหน้านั้นจะเป็นในเชิง top down […]

Our common (safe) future ?

07/05/2020

ผมและเรียวเป็นนักศึกษาใหม่ของมหาวิทยาลัย KU Leuven ในเบลเยียม เรามาถึงเบลเยียมกันในเดือนกันยายน 2019 ทุกอย่างสวยงามเพราะเบลเยียมกำลังก้าวเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วง แสงแดดที่มีมากกว่าฤดูอื่นๆ ทำให้เบลเยียมดูสวยงามเป็นพิเศษ โรงเรียนของผมอยู่ในปราสาทอเรนแบร์ก ซึ่งเป็นอาคารเก่าตั้งอยู่นอกเมืองเลอเวิน ส่วนโรงเรียนของเรียวมีชื่อที่เรียกกันติดปากว่า Sint-Lucas Gent เป็นโรงเรียนที่มีการสอนสถาปัตยกรรมยาวนานมาตั้งแต่ปี 1862 ชีวิตเราดำเนินแบบนี้มาเรื่อยๆ จนผ่านฤดูใบไม้ร่วงเข้าสู่ฤดูหนาวจนแดดเริ่มออกอีกครั้งในเดือนมีนาคม แต่เราก็มีเรื่องชวนปวดหัวเล็กน้อยในวันที่ประเทศเริ่มมีการประกาศว่าประชาชนเริ่มติดไวรัสโคโรนา วันที่มีคนติดกันคนสองคน ผมยังคุยกับเรียวว่ามันไกลตัวมาก แต่ที่ไหนได้ วันนี้มีมากกว่าสามหมื่นคนแล้ว เมื่อเริ่ม lockdown ผมเดินทางไปหาเรียว แต่เพราะรัฐบาลสั่งห้ามการเดินทางที่ไม่จำเป็น บรรยากาศบนรถไฟจึงดูแปลกตาไป การนั่งรถไฟจากเลอเวินมาเกนต์นั้น ใช้เวลาประมาณหนึ่งชั่วโมง ซึ่งหากใครเคยดูหนังเรื่อง Train to Busan บรรยากาศบนรถไฟช่างเหมือนหนังเรื่องนั้น เพียงแค่ไม่มีซอมบี้เท่านั้นเอง ผมแทบจะเป็นผู้โดยสารเพียงคนเดียวบนรถไฟ พนักงานไม่กล้าเดินมาตรวจตั๋ว ที่สถานีรถไฟเองก็ปลอดผู้คนจนน่าใจหาย เมืองมาถึงที่เกนต์ หนึ่งในเมืองท่องเที่ยวที่โด่งดังที่สุดของเบลเยียมก็ช่างเงียบเหงาอย่างแปลกตา เรียวเป็นนักเรียนปริญญาโท ในโรงเรียนสถาปัตย์ (Sint-Lucas Gent, Faculteit Architectuur) ในหลักสูตร Sustainable Architecture การมาหาเรียวในช่วงนี้น่าสนุกกว่าเคย เพราะในฐานะที่เรียวเป็นนักเรียนสถาปัตย์และกำลังทำโปรเจ็กต์เรื่องสวนสาธารณะในเมือง Brussels ผมเลยชวนเรียวนั่งคุยและถามว่าเขามีมุมมองที่เปลี่ยนไปกับสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นอย่างไร ชีวิตปกติก่อน […]

ว่าน ฉันทวิลาสวงศ์ โลกการทำงานหลังยุคโควิด-19 เมื่อ ‘งาน’ ไม่ได้ติดอยู่กับ ‘เมือง’ อีกต่อไป

05/05/2020

โลกหลังวิกฤตโควิด-19 จะเป็นอย่างไร เป็นเรื่องที่ทุกคนอยากรู้ หนึ่งในเรื่องที่หลายคนอยากรู้ก็คือ โฉมหน้าของการทำงานในเมืองนับจากนี้ ซึ่งหนึ่งใน New Normal ยุคโควิด-19 ก็คือการทำงานที่บ้าน หรือ Work From Home  เราอยากรู้ว่าหลังจากนี้ บริษัทต่างๆ จะมีทิศทางในการทำงานอย่างไร ความจำเป็นของการมีออฟฟิศจะเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะไหน เพราะทำงานที่ไหนก็ได้ หรือวิถีเช่นนี้จะไปกระตุ้น Gig Economy ซึ่งก่อนหน้านี้กำลังมีบทบาทอย่างมากอย่างไร นี่เป็นเรื่องของคนทำงานในเมืองจำนวนหนึ่ง ขณะเดียวกันไม่ใช่ทุกคนจะย้ายตัวเองไปทำมาหากินบนแพลตฟอร์มออนไลน์ได้ ดังที่เราเห็นว่า คนที่อาศัยอยู่ในเมืองอีกจำนวนมากต้องตกงานและระเห็จกลับภูมิลำเนา สิ่งนี้สะท้อนอะไรเกี่ยวกับเมืองบ้าง และในเมื่อเมืองไม่มีงานไม่มีเงินอีกต่อไป คนเหล่านี้ยังมีความจำเป็นต้องเดินทางเข้ามาอาศัยอยู่ในเมืองอีกหรือไม่   เราชวน อ.ว่าน ฉันทวิลาสวงศ์ หนึ่งในนักวิจัยจากโครงการวิจัย ‘คนเมือง 4.0 : อนาคตชีวิตเมืองในประเทศไทย’ พูดคุยถึงสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการทำงานในเมืองในยุคโควิด-19 และประเด็นที่เกี่ยวข้อง ผ่านทางแอปพลิเคชัน Zoom ซึ่งน่าจะกลายเป็น New Normal ของการสัมภาษณ์เช่นกัน หลังจากเกิดโควิด-19 ผลกระทบกับตัวคุณเองในแง่การทำงานเป็นอย่างไรบ้าง และมีประสบการณ์ต่อการ Work from home อย่างไร ส่วนตัวไม่ได้ประสบปัญหามาก […]

พลอากาศตรี หม่อมหลวงประกิตติ เกษมสันต์ นายกสภาสถาปนิก ว่าด้วยสถาปนิกกับแผนการพิชิตโควิด

04/05/2020

ทันที่เราได้ยินโครงการ Zero Covid ซึ่งเป็นความร่วมมือของสภาสถาปนิกกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อช่วยบุคลากรทางการแพทย์และสังคมในการพิชิตโรคระบาดที่กำลังเป็นปัญหาบาดอกบาดใจเราทุกวันนี้ อดสงสัยไม่ได้เหล่าสถาปนิกเหล่านี้จะเข้าไปช่วยส่วนไหน แบบไหนได้บ้าง  The Urbanis มีโอกาสได้พูดคุยกับพลอากาศตรี หม่อมหลวงประกิตติ เกษมสันต์ นายกสภาสถาปนิกถึงที่มาของโครงการ ว่าทำไมสถาปนิกถึงมีบทบาทที่จำเป็นไม่น้อยในการช่วยเหลือสังคมให้ผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ไปได้ แรกเริ่ม Zero Covid Project เกิดขึ้นมาได้อย่างไรมาจากอะไร และทำไมงานสถาปัตยกรรมถึงเข้าไปเกี่ยวข้องกับโรคระบาด  เรื่องเริ่มมาจากว่า ศูนย์การออกแบบเพื่อสังคมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งทำงานเรื่องการสนับสนุนการเอาวิชาชีพและเทคโนโลยีด้านการออกแบบมารับใช้สังคม พอมีเหตุการณ์เรื่องสถานการณ์โควิด-19 ทางศูนย์ฯ ก็เข้าไปทำวิจัยเพื่อสร้างแบบจำลองของผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับสังคม ก็พบว่ามันมีแนวโน้มที่โรคนี้จะมีการระบาดเพิ่มขึ้น จำนวนผู้ติดเชื้อจะเพิ่มขึ้น ซึ่งเมื่อเทียบกับเคสจากต่างประเทศในตอนที่เริ่มทำวิจัยเมื่อหลายเดือนก่อน เราก็เห็นว่าเมืองไทยก็น่าจะไปทางนั้น ซึ่งหากสถานการณ์เป็นอย่างนั้นจำนวนผู้ติดเชื้อจะเพิ่มมากกว่าจำนวนเตียงหรือมากกว่าขีดความสามารถในการรักษาพยาบาลที่ประเทศเรามีอยู่ ก็เลยมีความคิดว่าน่าจะจัดตั้งโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อช่วยโรงพยาบาล พอตั้งโครงการนี้เสร็จ ก็เสนอไปที่คณะสถาปัตย์จุฬาฯ ผ่านทางสมาคมนิสิตเก่าคณะสถาปัตย์จุฬา​ฯ​ เพราะแนวทางที่จะใช้แก้ปัญหานี้คือการออกแบบอาคารของโรงพยาบาล ซึ่งก็เข้ามาเกี่ยวข้องกับวิชาชีพสถาปัตย์โดยตรง จากนั้นก็เริ่มมีการประสานงานกับนักออกแบบที่มีความรู้ความสามารถที่เกี่ยวข้องกับอาคารทางการแพทย์ การพยาบาล  ส่วนสภาสถาปนิกเองเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยก็เพราะว่า ระหว่างที่เกิดวิกฤตนี้ขึ้นมา ก็มีหลายหน่วยงานติดต่อเราเข้ามาเหมือนกัน เพราะเรามีหน้าที่โดยตรงเพราะเป็นหน่วยงานตามพระราชบัญญัติที่มีหน้าที่ต้องให้ความช่วยเหลือประชาชนในด้านที่เกี่ยวข้องกับงานสถาปัตยกรรม เราเข้าไปช่วยประสานงานไปยังสมาชิกของเราที่มีความรู้ความชำนาญเกี่ยวกับงานออกแบบโรงพยาบาล พอเริ่มมีการติดต่อก็พบว่ามันก็ไปทับซ้อนกับโครงการซีโร่โควิดซึ่งเขาก็ประสานงานไว้เหมือนกัน พอเป็นอย่างนั้น หากเราจะต่างคนต่างทำเรื่องเดียวกันก็มาทำด้วยกันเลยน่าจะดีกว่า สุดท้ายก็กลายเป็นความร่วมมือกันระหว่าง สภาสถาปนิก สมาคมนิสิตเก่าคณะสถาปัตย์จุฬา​ฯ​ ร่วมกับและศูนย์​การออกแบบเพื่อสังคมจุฬา​ลง​กร​ณ์ ปัจจุบันประเทศไทยมีสถาปนิกที่เชี่ยวชาญการออกแบบโรงพยาบาลมากแค่ไหน มีไม่มากนัก ส่วนมากจะเป็นสำนักงานสถาปนิกขนาดใหญ่อยู่สามสี่แห่งเท่านั้น อีกที่หนึ่งก็คือกระทรวงสาธารณสุขโครงกาสรนี้เราดึงทุกคนที่ว่าเข้ามาช่วยกันทั้งหมด […]

Big Data ที่ดี คือทางเลือกหนึ่งของการแก้ปัญหาภัยพิบัติ คุยกับ ผศ. ดร. ทวิดา กมลเวชช ในวันที่ไวรัสป่วนเมือง

23/04/2020

จนถึงตอนนี้การระบาดของไวรัสโควิด-19 คร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกไปแล้วเกือบสองแสนชีวิต ภัยพิบัติครั้งนี้ส่งผลกระทบให้โลกทั้งโลกเกิดการเปลี่ยนแปลง เป็นภัยพิบัติหน้าใหม่ที่ทั้งโลกกำลังหาวิธีการรับมือ เป็นภัยพิบัติที่ทุกคนต้องเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง  สำหรับประเทศไทย ตัวเลขของผู้เสียชีวิตจากโรคระบาดชนิดนี้กำลังเข้าสู่จำนวนครึ่งร้อย หากเทียบตัวเลขกับนานาประเทศแล้ว ประเทศไทยมีตัวเลขที่สะท้อนให้เห็นถึงการเตรียมพร้อมรับมือที่ดี  แต่ทว่าเสียงบ่นระงมถึงมาตรการต่างๆ ที่รัฐยื่นมาช่วยเหลือเยียวยาประชาชนนั้นดูจะเป็นการแก้ไขปัญหาที่ทำได้ไม่ทั่วถึง ยังมีความไม่ชัดเจนในเรื่องการสื่อสารสั่งการ หรือกระทั่งการปิดเมืองที่ไม่ได้วางแผนล่วงหน้า ตลอดจนการวิ่งไล่ตามหลังปัญหาเสมอมาของการจัดการแบบประเทศไทย การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เป็นสถานการณ์ร้อนๆ ที่ยังหาบทสรุปไม่ได้ จึงมีเรื่องให้ต้องเปลี่ยนแปลงกันวันต่อวัน  ส่วนวันนี้คุยกับ ผศ.ดร.ทวิดา กมลเวชช คณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการความเสี่ยงภัยพิบัติ  ทบทวนว่าที่ผานมาเราพลาดอะไรกันไป แล้วต่อไปเราจะแก้ไขอะไรได้บ้าง  นัดพบครั้งนี้ไม่ต้องใส่หน้ากากเข้าหากันเพราะเราต่างต้อง social distancing และ physical distancing หยุดเชื้อ เพื่อชาติ…   งานภัยพิบัติในประเทศไทยไม่เคยได้รับความสำคัญในลำดับแรกๆ เพราะอะไร หนึ่ง เราโฟกัสกับการพัฒนาเรื่องอื่นอยู่ อย่างที่สองเราเจอภัยแรงๆ ที่ทำให้เสียหายน้อยครั้ง มันเลยเกิดอาการที่ไม่ได้ใส่ใจกับปัญหามากหนัก จนมาถึงสาเหตุที่ 3 ระดับความรู้ในเรื่องนี้ของประเทศมันไปให้ความสนใจกับวิทยาศาสตร์มากกว่าสังคมศาสตร์ ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลก ไม่ใช่ความผิด การเรียนรู้เรื่องภัยพิบัติในแบบคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ ในแบบคำอธิบายทางวิศวกรรม ทางกายภาพหรือทางเครื่องไม้เครื่องมือนั้นง่ายกว่าอยู่แล้ว เพราะจับต้องได้มากกว่า  ส่วนเรื่องสุดท้ายที่ทำให้ประเทศไทยไม่ค่อยให้ความสำคัญในเรื่องนี้ เป็นเรื่องที่บอกไม่ได้ว่าผลของมันคืออะไร คำว่าผลของมันคืออะไร ลองนึกถึงว่า ถ้าอยากให้ตัวเลขทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นก็ทำได้ด้วย […]

โลกใหม่หลังโควิด-19 : เมืองที่ต้องเปลี่ยนไปเพราะไวรัสเข้ามาเปลี่ยนแปลง

22/04/2020

เรียบเรียงจากบทสัมภาษณ์ประเด็น “เมืองกับโรคระบาด” ในสำนักข่าว Al Jazeera, รายการ Voice GO ทางวอยซ์ออนไลน์ และรายการ The Secret Sauce: Executive Espresso สำนักข่าวออนไลน์ The Standard การระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่บอกอะไรแก่นักวางผังออกแบบเมือง?  สำหรับดิฉัน นักออกแบบวางผังเมืองคือผู้ที่มีวิชาชีพออกแบบสภาพแวดล้อมของเมืองให้เหมาะสมเพื่อให้คนทุกกลุ่ม ให้สามารถ live work play อยู่อาศัย ทำงาน ใช้ชีวิต ได้อย่างมีความสุขในเมือง ซึ่งก็พูดกันว่าตอนนี้ นักผังเมืองเองก็กำลังมีปัญหา Existential crisis เหมือนกำลังวิชาชีพอื่นด้วยคำถามในใจที่ว่า แล้วฉันช่วยอะไรได้บ้าง? ความรู้ที่ฉันมี ณ ตอนนี้ มีประโยชน์กับสถานการณ์นี้อย่างไรบ้าง? การระบาดของ COVID-19 บอกเรา 2 สิ่ง :  หนึ่ง ข้อมูลความรู้ที่มีอยู่ ยังไม่พอจะอธิบายปรากฏการณ์การระบาดของไวรัสกับเมืองได้อย่างชัดเจน นั่นเป็นเพราะ เราเพิ่งอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการระบาดแค่สามสี่เดือน คำถามเช่น สภาพแวดล้อมกายภาพมีผลต่อการระบาดอย่างไร? ไวรัสจะส่งผลอย่างไรต่อเมือง ต่อรูปแบบที่อยู่อาศัย ที่ทำงาน […]

1 5 6 7 8 9