Life



มองเมืองจากมุมสูง ธเนศ วงศ์ยานนาวา + ปรารถนา จันทรุพันธุ์

21/04/2020

เรานัดกันบนชั้นที่ 21 ของโรงแรมนิกโก้ ย่านทองหล่อ ความตั้งใจของการพบปะกันครั้งนี้ นอกเหนือจากการรวมตัวของเพื่อนต่างวัยในแวดวงวิชาการแล้ว ยังเป็นการนัดกันสังสรร ดื่มไวน์ และชมเมืองกรุงเทพฯ จากมุมสูง  ธเนศ วงศ์ยานนาวา หรือาจารย์ตู่ อดีตอาจารย์ประจำภาควิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปัจจุบัน เขียนคอลัมน์ ทำงานวิชาการอยู่บ้าง สอนหนังสือ เที่ยวเสาะหาของกินและเลี้ยงลูกเล็กๆ สองคน  ส่วนปรารถนา จันทรุพันธุ์ หรืออาจารย์กวาง ปัจจุบันเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์อยู่ที่ภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มาวิทยาลัยศิลปากร เป็นแม่ลูกหนึ่ง ที่ทั้งต้องเรียนหนังสือ(เธอกำลังศึกษาต่อปริญญาเอกด้านมานุษยบวิทยา) ต้องเลี้ยงลูก สอนหนังสือและทำงานวิจัย ทั้งอาจารย์ตู่และอาจารย์กวางเป็นเพื่อนต่างวัยทั้งในวงวิชาการวงเวียนชีวิตและวงการเลี้ยงลูก  เราชวนทั้งคู่มาคุยเรื่องของเมือง เรื่องกรุงเทพฯ และอีกหลายๆ เรื่องที่ทำให้กรุงเทพฯ ทั้งน่าอยู่ น่าตั้งคำถามและน่าสนใจขึ้นมากเลยทีเดียว  มองจากมุมนี้เราเห็นทั้งเมืองที่มีตึกสูงๆ กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีตึกสูงเกิน 23 ชั้นติดอันดับ 6 ของเอเชีย มีตึกสูงอยู่เกือบสองพันแห่งแต่ถัดไปไม่กี่บล็อกเราก็เห็นสลัม เห็นตลาดสดแบบเก่าๆ ที่ยังไม่ค่อยมีการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม เห็นชีวิตคนที่แตกต่างกันราวกับไม่ได้อยู่ในเมืองเดียวกัน แถมมีข่าวอีกว่าอีกไม่เกิน 30 ปีนี้กรุงเทพฯ อาจจะจมน้ำ คุณคิดอย่างไรกับกรุงเทพฯ  ธเนศ: […]

บ้านเกิด เมืองใด เรือนใจ เมืองงาม ถามและตอบ ปลอบประโลมเรื่องชีวิตกับสมบูรณ์ หอมเทียนทอง

15/04/2020

“คุณค่าและหน้าที่ของงานศิลปะ มันอยู่ตรงที่มันได้สร้างความหมาย  สร้างอารมณ์ให้กับพื้นที่นั้นๆ” เรานัดเจอกันที่ JWD Art Space แกลอรี่ใหม่เอี่ยมหลังจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ปลายเดือนมีนาคมที่ดูเหมือนว่าจะร้อนกว่าทุกปี และยิ่งกว่านั้นปีนี้เป็นปีที่เรามีวิกฤตของการแพร่ระบาดไวรัสโคโรน่า อะไรๆ ก็ดุจะร้อนระอุขึ้นกว่าเดิม  เราพบกันก่อนการเปิดนิทรรศการเดี่ยวในรอบหลายปี “Die Schöne Heimat” หรือในชื่อภาษาไทยว่า “บ้านเกิด เมืองใด เรือนใจ เมืองงาม” จะเริ่มขึ้นในวันที่ 24 มีนาคม คุณสมบูรณ์มารออยู่ก่อนแล้ว  เมื่อเทียบกับคนอายุเจ็ดสิบก็ถือว่ายังดูกระฉับกระเฉงแต่ก็สุขุม เหมือนน้ำเย็นๆ ใส่น้ำแข็ง ที่ช่วยดับบรรยากาศยามร้อนแบบนี้ได้ดีนัก “แกลอรี่ที่นี่ดีนะ ผมว่าเสปซเขาดีเลย จัดงานแล้วสวย” ตามประสาของศิลปินที่สนใจเรื่องงานจัดวางและผ่านการแสดงงานในแกลอรี่มามาก ดูเขาพอใจกับการจัดวางและชื่นชมกับจังหวะจะโคนของห้องแสดงที่นี่ไม่น้อย  หากใครยังไม่รู้จักสมบูรณ์ หอมเทียนทอง เรื่องย่อๆ ของเขาก็คือ เขาเป็นศิลปินไทยที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในยุโรป หลังจบการศึกษาที่ The Academy of Fine Arts ที่มิวนิค ประเทศเยอรมนี เขาทำงานศิลปะในยุโรปอย่างต่อเนื่องในช่วงปลายทศวรรษที่ 1980-2000 เขามีโอกาสได้แสดงงานเดี่ยวหลายต่อหลายครั้งทั้งในเยอรมนีและอีกหลายประเทศในยุโรป เรียกว่าตั้งแต่สมัยยังเรียนไม่จบก็มีภัณฑารักษ์และเจ้าของแกลอรี่ชวนเขาไปแสดงงาน   สมบูรณ์ใช้ชีวิตในมิวนิคตั้งแต่อายุ 24 ปี กระทั่งตัดสินใจย้ายกลับมาอยู่ที่ […]

เบนซ์-ธนชาติ ศิริภัทราชัย : เพราะเมืองไม่ดี จึงมีอะไรให้เล่า

26/02/2020

บ่ายวันนั้นเรานัดกันที่ออฟฟิศในซอยเล็ก ๆ อย่าง ‘รัชดาซอย 3’ ศูนย์รวมของความจอแจและไม่น่าอภิรมณ์เอาไว้ เราทักทายกันด้วยความคุ้นเคย ธนชาติออกตัวก่อนว่าเสียงเขาแปลก ๆ ไปหน่อย ไม่ค่อยสบายเพราะฝุ่น แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่ได้ทำให้บทสนทนาในวันนี้จืดลงไป กว่าเราจะเข้าเรื่องกันจริง ๆ ก็หัวเราะกับเรื่องสัพเพเหระกันไปหลายตลบ ธนชาติ ศิริภัทราชัย หรือ เบนซ์  เป็นผู้กำกับ / ช่างภาพ / นักเขียน ประจำ Salmon House ไม่ว่าจะผลิตผลงานชิ้นไหน ๆ ก็มักจะเรียกเสียงหัวเราะได้เพราะความตลกร้ายของเขาอยู่เสมอ  สำหรับคนที่ทำงานสายสร้างสรรค์กับเมือง เขาไม่ได้มองเมืองเหมือนกับคนทั่วไป ไม่ว่าใครจะทุกข์กับความไม่สมบูรณ์ของเมืองนี้ขนาดไหน แต่เขากลับรู้สึกสนุกที่ได้หยิบจับสิ่งเหล่านั้นมาเล่าให้พวกเราฟัง  ชีวิตประจำวันของธนชาติ “เราเป็นมนุษย์เดิน ชอบเดินในเมือง ชอบใช้ขนส่งสาธารณะ ขับรถไม่เป็น ไม่เคยจับพวงมาลัย เพื่งมาจับตอนอายุ 31 เพราะฉะนั้นเราค่อนข้างใกล้ชิดกับความเป็นเมือง ผู้คน การเดินถนน” “ทุกวันนี้เราขับรถแล้วแต่ก็ยังขับในจำนวนที่น้อยกว่านั่งรถไฟฟ้าหรือขนส่งมวลชน  วันไหนอยากสบาย หรือต้องไปพบลูกค้าก็ขับรถ ถ้าดูไลฟ์สไตล์เราจริง ๆ เราเหมาะกับการขับรถมากกว่า เพราะที่ทำงานเราเริ่มงาน 11 โมง เลิก […]

ผศ.ดร.ภาวิกา ศรีรัตนบัลล์ เหตุผลที่เราควรมีบทสนทนาเรื่อง ‘ความตาย’ กันมากขึ้น

25/02/2020

นี่ไม่ได้พูดถึงการถกกันเรื่องความตายในเชิงปรัชญา ความหมายของการมีชีิวิต หรือตายแล้วไปไหนอะไรแบบนั้น แต่หมายถึงว่าคนส่วนใหญ่ไม่เคยคุยกับคนในครอบครัวเลยว่า ถ้าเราตายต้องทำอย่างไร ถ้าป่วยระยะสุดท้ายสื่อสารอะไรไม่ได้ให้ญาติตัดสินใจอย่างไร เราอยากตายที่ไหน บ้านหรือโรงพยาบาล คุยแบบบอกกล่าวกันไว้จริงๆ จังๆ  สุดท้ายสิ่งที่เกิดขึ้นคือเรามักพบว่ามีคนจำนวนมากถูกเจาะคอถูกปั๊มหัวใจยื้ออยู่ชีวิตในโรงพยาบาล ซึ่งท้ายที่สุดก็ตายไปแบบน่าหดหู่ที่โรงพยาบาลนั่นเอง ซึ่งถ้าถามทุกคนว่าอยากตายที่ไหน แทบทุกคนคงตอบว่าที่บ้าน  ในอีกมุมหนึ่ง สังคมไทยกำลังเดินหน้าสู่สังคมผูู้สูงอายุ เราพูดถึงการออกแบบอะไรต่างๆ ของเมืองที่จะรองรับผู้สูงอายุ แล้วหลังจากผู้สูงอายุเหล่านั้นตายไปแล้วล่ะ ยังไม่มีเรื่องความตายเข้าไปอยู่ในสมการ ขณะเดียวกันวิถีชีิวิตของเมืองก็ทำให้มีคนอยู่ตัวคนเดียวมากขึ้น ทำให้เกิดการที่มีคนตายอยู่เพียงลำพังกว่าจะมีคนมาพบ มีศพไร้ญาติอยู่ตามมูลนิธิต่างๆ ซึ่งนี่ไม่ใช่เรื่องที่ควรมองเป็นเหตุการณ์ปกติ แต่เป็นเรื่องที่เมืองควรมีอยู่ในแผนของการจัดการ เหล่านี้คือบางส่วนของเหตุผลที่เราควรมีบทสนทนาเรื่อง ‘ความตาย’ กันมากขึ้น สืบเนื่องจากการที่เราได้สนทนาเรื่องความตายกับ ผศ. ดร. ภาวิกา ศรีรีตนบัลล์ เจ้าของหัวข้อวิจัย ‘การตายและความตายในเมือง’ งานวิจัยในโครงการ ‘คนเมือง 4.0’ อนาคตชีวิตคนเมืองของไทย ซึ่ง ผศ. ดร. ภาวิกา (และวรากร วิมุตติไชย ผู้ช่วยวิจัย) ศึกษาเรื่องความตายผ่านสองประเด็นหลัก ได้แก่ การมีชีวิตช่วงสุดท้าย และการจัดการร่างหลังเสียชีวิต อาจารย์ภาวิกาชี้ให้เราเห็น มากกว่าเพื่อจะจัดการกับความตายและการตายแล้ว การเปิดพื้นที่พูดคุยเรื่องความตายยังให้อะไรเรามากกว่านั้น Q: ตอนที่ได้รับโจทย์หัวข้องานวิจัยนี้มา […]

กรุงเทพฯ แสงสุดจ้า! กับจรรยาพร จุลตามระ

17/02/2020

เอกศาสตร์ สรรพช่าง ทั้งชื่อ (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จรรยาพร จุลตามระ) และงาน (นักวิจัยและนักออกแบบแสงสว่างจาก ศูนย์วิจัยนวัตกรรมเพื่อการส่องสว่าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี)  ของเธอไม่ได้เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากนักเหมือนนักออกแบบสาขาอื่น ทว่าในแวดวงของคนที่ทำงานเรื่องการออกแบบแสง (Lighting Design) แล้ว เธอเป็นไม่กี่คนในไทย ที่มีบทบาทโดดเด่นในเรื่องของการออกแบบแสงกับเมือง โดยเฉพาะประเด็นเรื่องแสงบนพื้นที่สาธารณะ  นักออกแบบแสงกับเมืองนั้นมีความสำคัญมากเพราะเกี่ยวโยงเข้ากับหลายมิติของคนที่อยู่อาศัย ใต้ความสว่าง ทั้งเรื่องความปลอดภัย เรื่องการใช้พลังงาน สิ่งแวดล้อม สุขภาพและอัตลักษณ์ของเมือง แต่ผู้คนส่วนมากมักมองเห็นแสงไฟในมุมของการใช้งานแต่เพียงอย่างเดียว  เรามีโอกาสได้พูดคุยกับเธอบนโถงกิจกรรมที่ชั้น 6 ของตึก KX Connect ซึ่งราวกับมาผิดที่เพราะไฟทุกดวงปิด และเราหาสวิตช์กันอยู่นานกว่าจะเจอ บทสนทนาเรื่องแสงเริ่มต้นในห้องสลัว มีเพียงแสงแดดจากภาพนอกที่ลอดเข้ามาทางหน้าต่างให้พอได้เห็นท่าทีสบายๆ แผงแววตาของความมุ่งมั่น สนุกสนานและ เอาจริงๆ เราแอบเห็นความปลงนิดๆ แบบคนเข้าใจโลกอยู่ในนั้นด้วย Q: คุณเริ่มสนใจเรื่องการออกแบบแสงสว่าง(lighting design) ได้อย่างไร ผมว่าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีบุคลากรที่สนใจเรื่องนี้อยู่ไม่มากนัก A: ครั้งแรกจริงๆ ไม่ได้คิดอะไรมาก คือจบการออกแบบอุตสาหกรรม(Industrial Design) จากจุฬาฯ หลังจากเรียนจบก็หาที่เรียนที่เป็นเฉพาะทาง ซึ่งตอนนั้นก็ไม่มีทางเลือกมาก มีแค่ […]

ม.ร.ว.นริศรา จักรพงษ์ – คนเมืองกับเรื่องโลกร้อน Take action แต่อย่าเครียดเกินไป

01/02/2020

“Take action แต่อย่าเครียดเกินไป” กิจกรรมดีๆ ที่น่าสนใจอย่าง เทศกาลบางกอกแหวกแนว 2563 จะจัดขึ้นในวันที่ 1-2 กุมภาพันธ์นี้ ที่มิวเซียมสยามและจักรพงษ์วิลล่า เป็นเทศกาลทางความคิดที่ให้ไอเดียบันดาลใจสำหรับชีวิตในเมือง มีกิจกรรมทั้งเสวนา เวิร์คช็อป เปิดตัวหนังสือ ฉายภาพยนตร์ และคอนเสิร์ต (ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทาง www.bangkokedge.com) เราจึงถือโอกาสนี้เดินทางไปยังวังจักรพงษ์เพื่อพูดคุยกับ ม.ร.ว.นริศรา จักรพงษ์ ผู้อำนวยการเทศกาล แต่แน่นอนว่า ในฐานะที่คุณหญิงเป็นนักสิ่งแวดล้อมผู้ก่อตั้งและอดีตประธานมูลนิธิโลกสีเขียว และท่ามกลางบรรยากาศสถานการณ์ที่โลกและประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาสิ่งแวดล้อมที่หนักหนาสาหัสขึ้นทุกวัน หัวข้อสนทนาของเราจึงว่าด้วยเรื่องราวตั้งแต่ โลกร้อน, เกรต้า ธุนแบร์ก, บริโภคนิยม, วีแกน, การลดลงของผึ้ง ไปจนถึงทางเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา สิ่งที่เราสัมผัสได้ก็คือ คุณหญิงนริศรา take action ต่อปัญหาโลกร้อนและพูดถึงมันด้วยท่าทีสบายๆ ซึ่งนี่น่าจะเป็นความ ‘นิ่ง’ ของคนที่ทำงานด้านสิ่งแวดล้อมมานาน และความนิ่งนี้เองที่เราคิดว่ามันน่าจะช่วยให้คนรุ่นใหม่ๆ ที่อยากจะ take action มีกำลังใจขึ้นบ้าง  Q: เรื่องการตระหนักเกี่ยวกับโลกร้อนในปัจจุบัน เราจะเห็นว่ามีคนอย่าง เกรต้า ธุนแบร์ก (Greta Thunberg) ที่ไม่นั่งเครื่องบินไปร่วมประชุมยูเอ็น […]

‘ขจรศักดิ์ กิตติเมธาวีนันท์’ กับเสียงในเมือง : คนไทยคุ้นเคยกับเสียงดังที่เป็นอันตรายมากเกินไปหรือเปล่า

15/01/2020

เสียงโฆษณาบนรถไฟฟ้าเป็นหัวข้อยอดฮิตที่มีเสียงบ่นจากผู้ใช้งานอยู่เสมอ อาจจะเพราะไม่เคยได้รับการแก้ไขเสียที หรือเพราะมีเสียงที่แตกออกเป็นหลายความคิดเห็นจนหาข้อสรุปไม่ได้  เสียงโฆษณาจะอย่างไรก็แล้วแต่ แต่เสียงหนึ่งที่เรามักมองข้ามไปอย่างสิ้นเชิงก็คือ ‘เสียงเตือนปิดประตูบนรถไฟฟ้า’  หลายคนไม่รู้เลยว่าเสียงเตือนปิดประตูบนรถไฟฟ้านั้น มีระดับความดังที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการสูญเสียการได้ยิน หากสัมผัสเป็นเวลานานตามข้อกำหนดระดับเสียงที่ปลอดภัยขององค์การอนามัยโลก และกรมควบคุมมลพิษ ซึ่งเรื่องนี้เป็นหัวข้อวิจัยที่นักศึกษาของวิทยาลัยวิศวกรรมสังคีต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังเคยศึกษาเอาไว้  ด้วยเหตุนี้ เราจึงชวน ‘ขจรศักดิ์ กิตติเมธาวีนันท์’ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา ที่ดูแลโปรเจกต์ดังกล่าว มาร่วมสนทนากัน ขจรศักดิ์เรียนจบด้านการอำนวยเพลงขับร้องประสานเสียงจาก California State University, Los Angeles สหรัฐอเมริกา ก่อนจะกลับมาเป็นอาจารย์ที่วิทยาลัยวิศวกรรมสังคีต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ซึ่งตอนนี้เขาเป็นหนึ่งในทีมผู้ร่วมก่อตั้ง ‘สมาคมเสียงและการสั่นสะเทือนแห่งประเทศไทย’ ร่วมกับอาจารย์ นักวิชาการ นักวิทยาศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญจากทั้งภาครัฐและเอกชนหลายท่าน เพื่อผลักดันปัญหาเรื่องเสียงต่างๆ ที่คนเมืองต้องเจอ  หัวข้อการสนทนาในครั้งนี้จึงไม่ได้จำกัดอยู่แค่เรื่องเสียงรบกวนบนรถไฟฟ้าเท่านั้น แต่ยังพูดคุยถึงปัญหาของเสียงรบกวนต่างๆ จากที่อยู่อาศัย จากยานพาหนะ และเสียงที่ไม่ได้ยินจากกังหันลม (Wind Turbine Infra Sound) รวมถึงอันตรายที่ใกล้ตัวเรากว่าที่คิดอย่างการใส่หูฟัง   เสียงดัง เเค่ไหนเรียกว่า ‘มลพิษทางเสียง’ ในเมื่อบางครั้งความดังนั้นน่ารำคาญหรับเรา แต่กลับเป็นสิ่งปกติสำหรับคนอื่น  ข้อกําหนดขององค์การอนามัยโลกสําหรับระดับเสียงที่ปลอดภัยคือ ไม่เกิน 80 เดซิเบลเอ เมื่อสัมผัสวันละ […]

ART SPACE กระจกสะท้อนความสำคัญของศิลปะในมุม อุทิศ เหมะมูล

06/01/2020

ปกติ ‘อุทิศ เหมะมูล’ เป็นที่รู้จักในฐานะนักเขียนมือดีเจ้าของผลงานวรรณกรรมเปี่ยมคุณภาพหลายเล่มโดยเฉพาะนวนิยายเรื่อง ‘ลับแล, แก่งคอย’ ที่ส่งให้เขาได้รับรางวัลซีไรต์ประจำปี พ.ศ. 2552 และในปี พ.ศ. 2561 เขาก็ได้รับรางวัลศิลปาธร สาขาวรรณศิลป์ จากความเพียรพยายามในการสร้างสรรค์ผลงานมาอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 15  ปี แต่หลังจากอุทิศลุกขึ้นมาจัดแสดงนิทรรศการ ‘ภาพร่างของปรารถนา’ ที่รวมผลงานจิตรกรรมของ ‘เข้าสิง’ ตัวละครเอกในนวนิยายเรื่อง ‘ร่างของปรารถนา’ มาจัดแสดง พร้อมกับเปลี่ยนเรื่องราวบนหน้ากระดาษไปสู่ละครเวที ‘ปรารถนา : ภาพเหมือนการเข้าสิง’ ซึ่งเป็นการร่วมงานกับ ‘โทชิกิ โอคาดะ’ (Toshiki Okada) ผู้กำกับละครเวทีชื่อดังชาวญี่ปุ่น และออกตะเวนแสดงไปทั่วโลก ทั้งกรุงเทพฯ โตเกียว และปารีส ชื่อของ ‘อุทิศ เหมะมูล’ ก็ถูกพูดถึงในฐานะ ‘ศิลปิน’ ที่ทำงานศิลปะขนานกันไปกับงานวรรณกรรม  ผลงานครั้งนั้นไม่เพียงแค่พิสูจน์ว่าอุทิศยังคงมีฝีไม้ลายมือด้านศิลปะ แต่เป็นใบเบิกที่บอกว่าเขาหวนกลับมาทำงานศาสตร์นี้เต็มตัวหลังจากจบการศึกษาระดับปริญญาตรี จากคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากรหรือเมื่อประมาณ 20 ปีที่แล้ว   หลังจากนั้นเราก็ได้เห็นผลงานของเขาอีกครั้งในนิทรรศการ ‘ความสุขของแสง The Light of […]

Wonderfruit Festival ดนตรี ศิลปะ ความยั่งยืน และเมืองในอุดมคติของพีท-ประณิธาน และ เจ-มณฑล

30/12/2019

‘วันเดอร์ฟรุตไม่ใช่แค่เทศกาลดนตรี แต่เป็นเทศกาลศิลปะ’ พีท-ประณิธาน พรประภา และ เจ-มณฑล จิรา ผู้ก่อตั้งทั้งสองของงานวันเดอร์ฟรุตได้กล่าวไว้ เมื่อเราค้นหาคำว่า “Wonderfruit Festival” ภาพผู้คนแต่งตัวจัดๆ สีสันฉูดฉาด หลากหลายสไตล์โผล่ขึ้นมาในหน้าอินเทอร์เน็ตมากมาย แต่ไม่ใช่แค่ดนตรี ศิลปะ การแต่งตัวเท่านั้น จากที่ผ่านๆ มา Wonderfruit Festival เป็นงานที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนมาตลอด และปีนี้มาในคอนเซ็ปต์ pop-up city ซึ่งจะใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากกว่าเดิม ใช้เวลาขับรถประมาณครึ่งชั่วโมงจากพัทยากลาง ถนนคดเคี้ยวก็พาเรามาถึงสถานที่จัดงานวันเดอร์ฟรุต พื้นดินลูกรังฝุ่นตลบจนต้องมีรถคอยฉีดน้ำลงพื้น เป็นสัญญาณบอกว่าเราอยู่ห่างจากตัวเมืองพอสมควร ยิ่งเข้าไปใกล้กับบริเวณงาน ยิ่งเหมือนเราหลุดเข้าไปอยู่ใน ‘อีกเมืองหนึ่ง’ เมื่อเดินผ่านโครงสร้างไม้ไผ่ขนาดใหญ่ ตกแต่งด้วยผ้าหลากหลายสีสัน มีตัวอักษรเขียนว่า ‘WONDERFRUIT’ ซึ่งเป็นประตูทางเข้าหลักของงาน บรรยากาศโดยรอบก็ครึกครื้นไปด้วยผู้คน เคล้าคลอเสียงเพลงหลากหลายแนวจากหลายเวที ซุ้มอาหารที่มีอยู่รายรอบ ไม่ต้องกลัวว่าจะท้องร้อง มีซุ้มเวิร์คช็อปศิลปะที่น่าสนใจมากมาย มีจุดให้นั่งพักผ่อน มีโต๊ะ เก้าอี้ ไปจนถึงเปลที่ผูกอยู่กับต้นไม้ใหญ่ หรือกระทั่งศาลาพักผ่อนกลางน้ำ นอกจากส่วนหลักๆ เหล่านั้นแล้ว เราแอบสังเกตถึงเรื่อง Sustainability ที่เป็นอีกหนึ่งหัวใจหลักของงาน รอบงานมีถังขยะที่แยกเป็นส่วนๆ ทั้งขยะรีไซเคิล […]

รศ.ดร.พนิต ภู่จินดา City Lab สีลม กับเส้นทางไปสู่เมืองที่มีพื้นที่ส่วนรวมมากกว่าพื้นที่ส่วนตัว

19/12/2019

ใครที่สัญจรไปมาบริเวณถนนสีลมในช่วงเดือนธันวาคม จะเห็นว่าถนนเส้นนี้ดูแปลกตาออกไปในพื้นที่หลายๆ จุด ไม่ว่าจะเป็นป้ายรถเมล์ที่มีอุปกรณ์ออกกำลังกาย ที่นั่งพักริมถนน ทางม้าลายสีฟ้าสด ทางเท้าที่ออกแบบตีตารางให้สามารถกระโดดเล่นได้ กระดานหมากฮอสยักษ์ ไฟส่องสว่างรูปทรงหวือหวา สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นนี้อยู่ภายใต้โครง City Lab สีลม โดยความร่วมมือและการสนับสนุนจากหลายหน่วยงาน ทั้งสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), ศูนย์ส่งเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum), กลุ่มคนรักสีลม, กรุงเทพมหานคร (อนุญาตให้ใช้พื้นที่โดยไม่ได้ใช้งบประมาณของกทม.) City Lab หรือ ‘ห้องทดลองเมือง’ คือกระบวนการนำเมืองที่เราอาศัยอยู่มาเป็นห้องทดลอง ศึกษาความต้องการและพฤติกรรมของคนเมือง เพื่อนำไปเป็นแนวทางการพัฒนางานออกแบบพื้นที่สาธารณะ ที่จะส่งเสริมสุขภาวะที่ดีให้แก่คนเมือง รวมไปถึงเพื่อพัฒนาอัตลักษณ์ของเมือง เมื่อโครงการทดลองนี้ถูกเผยแพร่ออกไปในสื่อต่างๆ โดยเฉพาะโลกออนไลน์ แน่นอนว่ามีเสียงตอบรับทั้งในทางลบและบวก เรามีโอกาสได้สนทนากับ รศ.ดร. พนิต ภู่จินดา ผู้อำนวยการศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมืองและหัวหน้าภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้อยู่เบื้องหลังการขับเคลื่อนนี้ เพื่อที่จะได้เข้้าใจภาพใหญ่และเจตนารมณ์ของสิ่งที่เรียกว่า City Lab ให้มากขึ้น  หลักการของสิ่งที่เรียกว่า City Lab คืออะไร หลักการของ City Lab […]

1 6 7 8 9