Life



“นิเวศแห่งการเรียนรู้” : บนเส้นทางการเติบโตของฮับ – เหมวิช เด็กชายอายุ 13 เจ้าของ นวัตกรรมเพื่อช่วยคนหูหนวก

20/09/2020

เรื่อง : เมธิรา เกษมสันต์ ภาพ/สัมภาษณ์ : ชยากรณ์ กำโชค 11 ปี คืออายุของเด็กชายคนหนึ่ง ที่เดินไปบอกพ่อแม่ว่า “ผมอยากทำเครื่องช่วยฟังเพื่อคนหูหนวก”   12 ปี คืออายุของเด็กชายคนนั้น ที่กำลังนั่งหาข้อมูลวิทยาศาสตร์ ต่อวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และเขียนบทคัดย่อโครงการ เพื่อเตรียมส่งสิ่งประดิษฐ์ที่เขาคิดค้นเข้าประกวดในโครงการ Google Science Fair 13 ปี คืออายุเมื่อเขาได้เข้ารอบ 20 คนสุดท้าย ซึ่งถือเป็นเด็กไทยคนแรกที่ได้เข้ามาถึงรอบนี้ และเป็นผู้มีอายุน้อยที่สุดของผู้เข้าร่วมโครงการ เด็กชายคนนั้นมีชื่อว่า เหมวิช วาฤทธิ์ หรือ ฮับ สิ่งประดิษฐ์ของเขา คือเครื่องช่วยฟัง EarZ สำหรับผู้พิการทางการได้ยิน ที่ใช้หลักการการนำเสียงผ่านกระดูก (Bone Conduction) และโปรแกรมฝึกการเปล่งเสียง EZ Speak เพื่อช่วยให้พวกเขาออกเสียงได้ชัดถ้อยชัดคำมากขึ้น   สิ่งที่น่าสนใจของเด็กชายคนนี้ ไม่ได้อยู่ที่ความอัจฉริยะเหนือเด็กทั่วไป แต่อยู่ที่วิธีการคิด วิธีการเรียนรู้ และสภาพแวดล้อมที่เด็กชายคนนี้เติบโตมา อะไรคือสิ่งที่ทำให้เด็กอายุ […]

สภากาแฟกลางย่านกะดีจีน-คลองสาน ที่อยากสะท้อนภาพย่านเก่าผ่านพลังคนรุ่นใหม่ รูท-ฐานพงศ์ จิตปัญโญยศ

18/09/2020

            ภายใต้บรรยากาศขรึมขลังของย่านเก่าอย่างกะดีจีน-คลองสาน ด้วยตึกเก่าและวัดวาอารามอายุร่วมศตวรรษ ยังไม่นับคนเก่าคนแก่ที่แทรกตัวอาศัยอยู่ในย่านจนกลายเป็นเหมือนหนังสือประวัติศาสตร์มีชีวิต และก็ด้วยบรรยากาศเช่นนี้เอง ที่ทำให้หลายคนนึกไม่ถึงว่าจะมีพลังงานของคนรุ่นใหม่แทรกตัวสร้างความเปลี่ยนแปลงอันน่าสนใจให้ค่อยๆ เกิดขึ้นในละแวกนี้             ทว่ามุมเล็กๆ ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณใต้ร่มไม้ใหญ่ใกล้กับสำนักงานเขตคลองสาน ยังมีร้านกาแฟขนาดกะทัดรัดซ่อนตัวเปิดรอรับมิตรภาพอยู่อย่างกลมกลืน ‘Deep Root Cafe’ คือร้านดังกล่าว ชื่อซึ่งสะท้อนถึงตัวศิลปินหนุ่มผู้ก่อตั้ง รูท-ฐานพงศ์ จิตปัญโญยศ และหมายรวมถึงรากเหง้าของชาวธนบุรี ที่หยั่งลึกลงในย่านเก่าแห่งนี้มาแสนนาน (1)             บ่ายวันแดดร่มลมตก เราจึงถือโอกาสเข้ามาสัมผัสกับเรื่องราวของรูทพร้อมคำถามที่เก็บไว้ในใจ ว่าทำไมคนรุ่นใหม่วัยสามสิบต้นๆ จึงตัดสินใจพาตัวเองและครอบครัวย้ายมาลงหลักปักฐานในย่านกะดีจีน-คลองสาน มานานหลายปี แม้บางคนจะสะกิดเตือนเขาว่าบริเวณนี้อาจไม่ใช่ทำเลทองสำหรับทำธุรกิจสักเท่าไหร่ หากประเมินจากความง่ายในการสัญจร             “ถ้าถามว่าทำไม ก็ต้องบอกว่ามันเกิดจากความชอบตั้งแต่เด็ก เพราะเราเคยใช้ชีวิตอยู่ริมแม่น้ำ ก็จะมีภาพความประทับใจในวิถีชีวิต ในบรรยากาศอะไรต่างๆ ฝังอยู่ในใจ พอโตขึ้นและเริ่มมองหาบ้าน โจทย์แรกๆ ที่คิดคืออยากมีบ้านริมแม่น้ำ ที่บรรยากาศสงบเงียบพอให้เราได้พักผ่อน แต่ด้วยอาชีพที่ต้องเดินทางเข้าไปทำงานกลางเมืองทุกวัน โจทย์นี้เลยไม่ง่ายเท่าไหร่”             เขาเล่าเรื่อยๆ ระหว่างชงกาแฟแก้วแรกของวันส่งให้เราจิบ ก่อนขยายความว่าในระยะแรกของการมองหาบ้านนั้น ย่านเก่าของกรุงเทพฯคือบริเวณแรกๆ ที่เขาหมายตา ด้วยช่วงชีวิตหนึ่งเคยใช้เวลาอยู่ในย่านการค้าอย่างเยาวราช และเกิดความรักในบรรยากาศแบบ ‘คนบ้านใกล้เรือนเคียง’ มาจนวันนี้             “เราว่าบรรยากาศของย่านเก่ามันเป็นเสน่ห์ที่เกิดจากความจริง […]

The new world in the COVID-19 era: Cities have to change because the virus has changed them

16/09/2020

Excerpted from the interview: “Cities and the Pandemic” conducted by Al Jazeera as a part of its program Voice GO, online, and the report: The Secret Sauce: Executive Espresso, The Standard online What does the novel coronavirus tell urban planners? For me, urban planning designers are professionals who design appropriate urban environments so that all […]

คุยกับศศิน เฉลิมลาภ: จากเมืองถึงป่า จากป่าถึงเมือง

09/09/2020

ในช่วงให้หลังมาเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นประเด็นที่ผู้คนตื่นตัว ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก อันเนื่องมาจากภัยพิบัติและผลกระทบที่เห็นเป็นรูปธรรม ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วม ภัยแล้ง น้ำแข็งขั้วโลกละลาย ซึ่งล้วนสร้างความเสียหายให้กับชีวิตและทรัพย์สินของคนทั่วโลก มาวันนี้หลากหลายองค์กรทำงานเพื่อรณรงค์สิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น ทั้งการรณรงค์เรื่องการกำจัดขยะให้ถูกต้อง การหันมาใส่เสื้อผ้าแบบยั่งยืนที่ขับเคลื่อนโดยกลุ่มคนรุ่นใหม่ ยังมีอีกองค์กรที่ทำงานเพื่ออนุรักษ์พื้นที่ป่าและสัตว์น้อยใหญ่ด้วยหัวใจมาอย่างยาวนาน อย่างมูลนิธิสืบ นาคะเสถียร เพิ่งครบรอบการก่อตั้งมูลนิธิสืบฯ 30 ปี เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา The Urbanis พูดคุยกับศศิน เฉลิมลาภ  ประธานมูลนิธิสืบ นาคะเสถียรคนปัจจุบันถึงเรื่องป่ากับเมือง และความท้าท้ายของมูลนิธิในการทำงานเรื่องสิ่งแวดล้อม ทำไมถึงสนใจเรื่องป่า ทั้งที่ตัวเองก็ใช้ชีวิตในเมือง ก็เพราะมันไม่มีป่าไง เราเรียนหนังสือในเมือง เด็กๆ ผมเกิดกลางทุ่งนา มีแม่น้ำ มีทุ่ง แล้วก็ไม่เคยเห็นป่า ป่าเป็นเรื่องไกลๆ เรื่องลึกลับ เรื่องบนภูเขา ผมอยู่บนที่ราบภาคกลางแล้วก็รู้สึกว่ามันต้องมีหุบเขา มันต้องมีทะเล มันถึงจะเป็นที่ไกลๆ บ้าน ที่ๆ เราไม่รู้ ไอ้ความไม่รู้เนี่ยแหละถึงทำให้เราอยากเรียนรู้ อยากสัมผัส พอไปเรียนรู้ถึงรู้ว่ามันสำคัญนี่นา ก็ไปเรื่อยๆ ความรู้สึกอยากเรียนรู้แบบนี้เริ่มต้นเมื่อไหร่ มันบอกไม่ถูกว่าเริ่มเมื่อไหร่ เริ่มเมื่อวันที่เราเริ่มมีความรู้ อย่างเช่นก่อนอายุ 20 ที่มันเริ่มมีกระแสสิ่งแวดล้อมเข้ามา มีการเรียนรู้ว่าป่ามันมีคุณค่ายังไง มีรุ่นพี่ๆ เขาประท้วงเขื่อนน้ำโจนก็จะมีข้อมูลมา […]

ต่อจิกซอว์หาคำตอบเรื่องสถาปนิก เมือง และการสร้างการเปลี่ยนแปลงสังคม กับคุณณัฐพงษ์ จารุวรรณพงศ์

08/09/2020

บางช่วงบางตอนของชีวิตคนเราคงคล้ายกับบทละครที่โลดแล่น หลายคนพยายามหาคำตอบบางอย่างในชีวิต เหมือนอย่างคุณณัฐพงษ์ จารุวรรณพงศ์ ผู้อำนวยการศูนย์การออกแบบเพื่อสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่บอกเล่าเรื่องราวชีวิตของตัวเอง โดยเกริ่นไว้ตอนเริ่มต้นของบทสนทนาว่า “สารภาพว่าตอนเรียนจบไม่ได้รู้เรื่องที่ตอนนี้รู้ ก็ค่อยๆ ลองผิดลองถูกมาเรื่อยๆ ผมก็ลองผิดมากกว่าลองถูก” “สารภาพว่าตอนเรียนจบไม่ได้รู้เรื่องที่ตอนนี้รู้ ก็ค่อยๆ ลองผิดลองถูกมาเรื่อยๆ ผมก็ลองผิดมากกว่าลองถูก” คุณณัฐพงษ์ จารุวรรณพงศ์ ผ่านทั้งบทบาทการเป็นบัณฑิตจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาปนิกไฟแรงในช่วงเริ่มต้นของวัยทำงาน การไปเรียนต่อการวางผังเมืองเชิงนิเวศ (urban ecological planning) ที่ประเทศนอร์เวย์ และกลับมาหยิบจับงานอีกหลากหลายด้านกระทั่งมีบทบาทในการผลักดันพรบ. ส่งเสริมวิสาหกิจแห่งชาติในปีพ.ศ. 2562 จนมาถึงปัจจุบันในตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์การออกแบบเพื่อสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การทำงานหลากหลายวงการที่ผ่านมาเป็นดั่งเส้นทางที่ช่วยให้เขาต่อจิ๊กซอว์ค้นหาคำตอบว่าการทำงานสถาปนิกจะเปลี่ยนแปลงสังคมได้อย่างไร? องค์ที่ 1 สถาปนิก เมือง และการสร้างการเปลี่ยนแปลงสังคม ความสามารถในการออกแบบ + PERSPECTIVE + ลูกค้าดีมีวิสัยทัศน์ = การเปลี่ยนแปลงทางสังคม คือสมการที่คุณณัฐพงษ์เชื่อมั่นในตอนแรกว่าจะเป็นคำตอบของสิ่งที่เขาตามหา “เริ่มต้นชีวิตด้วยสถาปนิก ผมเหมือนกับทุกคนเลยผมก็เข้าใจว่าการเปลี่ยนแปลงสังคมก็คือใช้ความรู้ที่เราเรียนมา ตอนจบผมก็พุ่งเข้าไปสู่บริษัทใหญ่อยากทำโปรเจกต์ใหญ่ ตอนผมจบมีโครงการ Bangkok Terminal Project (1997) ตรงหมอชิตเก่า ตอนนั้นเศรษฐกิจมันบูมมาก ผมได้ทำทุกอย่างที่อยากทำในขณะที่เพิ่งจบปริญญาตรี […]

เมือง เปลี่ยน ย่าน ? ย่านจะอยู่อย่างไร เมื่อคนรอบข้างเปลี่ยนไป : ชวนพูดคุยกับ ธีรนันท์ ช่วงพิชิต

01/09/2020

ในยุคสมัยที่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทกับมนุษย์มากขึ้น เป็นเหมือนหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดการขยายตัวของเมือง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเดินทาง การติดต่อสื่อสารและการอยู่อาศัย แต่ในขณะเดียวกันตัวแปรสำคัญนี้ก็ได้เข้ามาเปลี่ยนวิถีชีวิตของผู้คนให้เปลี่ยนไปจากเดิม จากชุมชนเล็กๆ กลายมาเป็นชุมชนเมืองขนาดใหญ่ ลองตั้งคำถามดูว่าย่านชุมชนเก่าแก่ จะสามารถรักษามรดกวัฒนธรรมไปพร้อมๆ กับการยกระดับย่านได้หรือไม่ และจะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงนี้อย่างไรเพื่อไม่ให้ถูกกลืนกิน วันนี้จะชวนพูดคุยกับ คุณธีรนันท์ ช่วงพิชิต ผู้ก่อตั้งศูนย์ข้อมูลประวัติศาสตร์ชุมชนธนบุรีและประธานมูลนิธิประชาคมย่านกะดีจีน-คลองสาน หนึ่งในผู้ผลักดันเพื่อการพัฒนาย่านควบคู่ไปกับรักษามรดกวัฒนธรรมของชุมชนเก่าแก่ใน กรุงเทพมหานคร คุณมีความคิดเห็นอย่างไรกับความแตกต่างระหว่างกรุงเทพฝั่งพระนครกับกรุงเทพฝั่งธนฯ ในแง่ของ วิถีชีวิต เศรษฐกิจ ตึกรามบ้านช่อง รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ “เบื้องต้นต้องทำความเข้าใจบริบททางสังคมศาสตร์ให้ได้ก่อนว่าไม่ใช่ฝั่งธนฯ คือฝั่งตะวันตก พระนครคือฝั่งตะวันออก อันนี้เราเข้าใจผิดทันที ประวัติศาสตร์จริงๆ คือ สังคมกับวัฒนธรรมทั้งสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นวัฒนธรรมชุดเดียวกัน แต่ช่วงระยะเวลามันจะเหลื่อมกันประมาณ 15 ปี ในช่วงของ พ.ศ.2310-2325 เป็นเวลาของกรุงธนบุรี แต่ในขณะเดียวกันเวลาของกรุงรัตนโกสินทร์ หรือที่เราเรียกกันว่าบางกอกก็คือ ปี 2325 จนถึงแง่ใดแง่หนึ่งมันจะเป็นการใช้พื้นที่ที่ทับซ้อนกันอยู่ “ธนบุรีเป็นเมืองทั้งสองฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยา ที่เราเรียกว่าเมืองอกแตก จึงไม่ใช่เมืองฝั่งตะวันตก ถ้าเรียกว่าเมืองอกแตกแล้วเรียกฝั่งธนฯ เป็นฝั่งตะวันตกแสดงว่าผิด เพราะมันคือทั้งสองฝั่ง กรุงเทพฯ คือเมืองที่ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกภายหลัง ฉะนั้นการใช้ประวัติศาสตร์ลักษณะนี้จะทำให้เราเข้าใจถึงเรื่องของมิติทางประวัติศาสตร์ที่ทำให้เราเข้าใจตัวตนเรามากขึ้นว่าเป็นเมืองที่มีทั้งสองฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยา” ในแง่ของวิถีชีวิต การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดเกิดจากการชะลอประวัติศาสตร์ของพื้นที่ ที่เกิดจากความเจริญทางกายภาพที่เข้ามาไม่ถึงในช่วง […]

5 เคล็ดลับการประกอบธุรกิจด้วยหัวใจของสถาปนิกผังเมือง

27/08/2020

จะมีสักกี่คนที่กล้าตัดสินใจเปิดบริษัทของตัวเองทั้งที่อายุยังน้อย ไม่ได้มีความพร้อมมากนัก และประสบความสำเร็จ หนึ่งในนั้นคือคุณพงษ์พิพัฒน์ ช้างพันธ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท เออร์เบิ้น สเปซ จำกัดที่กล้าแผ้วถางทางสถาปนิกผังเมืองด้วยตัวเอง คุณพงษ์พิพัฒน์ ช้างพันธ์ บอกเล่าถึงประสบการณ์การทำงานผังเมืองของตัวเอง โดยเล่าให้ฟังว่าแรงบันดาลใจแรกๆ ที่ทำให้สนใจเกี่ยวกับสถาปนิกเกิดจากความชื่นชอบแปลนเมือง ผังหมู่บ้านที่ปรากฏอยู่ในหน้าปกหนังสือเรียนภาษาไทย หลังจากนั้นความชอบก็พัฒนามาเรื่อยๆ จนตัดสินเลือกเรียนปริญญาตรี คณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยรังสิต โดยเข้าเรียนในปีพ.ศ. 2540 ช่วงเวลานั้นคณะสถาปัตยกรรมยังเป็นคณะยอดนิยมที่ติด 1 ใน 5 อันดับ สายงานอสังหาริมทรัพย์รุ่งเรือง หลังจบการศึกษาในปีพ.ศ.2545 เพียงไม่นานจึงเริ่มศึกษาต่อปริญญาโทเกี่ยวกับการวางผังเมือง มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยได้เรียนรู้จากอาจารย์ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญมากมาย หนึ่งในอาจารย์ที่เป็นจุดเปลี่ยนในชีวิต คือคุณกำธร กุลชล ผู้เขียนหนังสือ “การออกแบบชุมชนเมืองคืออะไร” เมื่อได้ทำงานสักพัก ด้วยความที่โตมากับยุคเพลง Alternative สร้างความรู้สึกของการเป็นผู้ประกอบการ ในช่วงอายุ 28 ปีจึงเริ่มต้นเปิดบริษัทของตัวเองเริ่มแรกในชื่อ ออกแบบท้องถิ่น จนเปลี่ยนชื่อมาเป็นบริษัท เออร์เบิ้น สเปซ จำกัดในปัจจุบัน เส้นทางการเป็นผู้ประกอบธุรกิจด้วยตัวเองตั้งแต่อายุยังน้อย ผ่านทั้งความสมหวังและผิดหวัง และนี่คือ 5 เคล็ดลับการประกอบธุรกิจ 1.ไขว้คว้าทุกโอกาส ในช่วงแรกคุณพงษ์พิพัฒน์ยังไม่ได้มีงานเข้ามามากนักจึงเข้าร่วมการแข่งขันโครงการประกวดแนวคิด […]

ทรงจำในย่านกะดีจีน-คลองสานของวีรพร นิติประภา

25/08/2020

ผมสีดอกเดา ชุดดำ และปากแดง เอกลักษณ์ของวีรพร นิติประภา นักเขียนหญิงดับเบิ้ลซีไรต์ จากนิยาย ‘ไส้เดือนตาบอดในเขาวงกต’ ในปีพ.ศ. 2558 และเรื่อง ‘พุทธศักราชอัสดงกับทรงจำของทรงจำของแมวกุหลาบดำ’ ในปีพ.ศ. 2561 ในผลงานเรื่องหลังเธอบอกเล่าเรื่องราวของชาวจีนโพ้นทะเลบนแผ่นดินสยามที่ต้องดิ้นรน ขยับขยายสถานะผ่านความไม่แน่นอนทั้งทางการเมือง และวัฒนธรรม ซึ่งกว่าจะทำคลอดผลงานชิ้นนี้ เธอเดินย่ำพื้นที่ชุมชนย่านเก่าที่มีประวัติอันยาวนานจนผูกพันและนำไปสู่บทบาทการเป็นที่ปรึกษาฝ่ายศิลปวัฒนธรรมให้กับเทศกาลศิลป์ในซอยครั้งที่ 6 ‘กะดีจีน-คลองสาน ย่านรมณีย์ วิถีเจ้าพระยาในพยับแสง-สี-ศิลป์’ หนึ่งในโปรเจ็กต์ที่ช่วยอนุรักษ์และคืนชีวิตชีวาแก่ชุมชน แสงแดดเริ่มแยงตา เวลาเริ่มสาย เธอใช้เวลาวันอังคารวันหนึ่งในการบอกเล่า“ความงดงามของย่านกะดีจีนคลองสาน” ที่เคยพานพบ ในห้องเรียนวิชาสตูดิโอวางผังชุมชน (NEIGHBORHOOD PLANNING STUDIO) ของนิสิตชั้นปีที่ 4 ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนี่คือ ทรงจำในย่านกะดีจีน-คลองสานของวีรพร นิติประภา เมืองฉากหลังของนิยายสำคัญกับเนื้อเรื่องอย่างไร “เวลาเราเขียนนิยายเราไม่ได้ทำอะไร เราแค่ visualize คอนเซปต์ขึ้นมา เพราฉะนั้นพี่ถึงบอกว่าเราต้องมาเดินตามย่าน ตอนที่ทำเรื่องไส้เดือนตาบอดในเขาวงกตก็ต้องไปที่แม่น้ำนครชัยศรี ตอนที่มาย่าน มาเพื่อที่เราจะ shape ตัวละครมากกว่า ถ้าคุณไม่ไปเดินคุณจะนึกไม่ออกเลยว่าเขาอยู่กันยังไง ห้าโมงเย็นบานเฟี้ยมไล่ปิด อันนี้คือซีนที่อยู่ในหนังสือ เรามีความรู้สึกว่าทุกอย่างมันสงบลง สี่ห้าโมงเย็นร้านใครร้านมันปิด ละแวกก็จะเงียบ ก็จะมีเด็กวิ่งเล่นนิดหน่อย เราก็ต้องจินตนาการเอา […]

คุยกับ รศ.ดร.ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์ เมื่อเพศสภาพไม่ได้มีแค่หญิงชาย เมืองจึงสะท้อนและตอกย้ำความไม่เท่าเทียมในสังคม

17/08/2020

เรื่อง : สหธร เพชรวิโรจน์ชัย ‘เมือง’ เป็นศูนย์กลางของความหลากหลาย ผู้คนต่างฐานะ เชื้อชาติ ศาสนา และรวมถึงเพศสภาพต่างเข้ามาสังสรรค์และสัมพันธ์ภายในเมือง และความหลากหลายเหล่านี้เองที่ทำให้โลกมองเห็นความ ‘ไม่เท่าเทียม’ ระหว่างกลุ่มคนได้แจ่มชัดขึ้น แต่ในด้านกลับ สมรภูมิของการต่อสู้เพื่อความหลากหลายจึงเกิดในพื้นที่เมืองเป็นสำคัญ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ประเด็นความไม่เท่าเทียมเป็นสิ่งที่ถูกยกมาพูดอย่างจริงจังในทุกมิติของสังคม หนึ่งในนั้นคือมิติเรื่องเพศที่มีการเรียกร้องสิทธิ เสรีภาพ และความเท่าเทียมมาทุกยุคทุกสมัย ซึ่งไม่ใช่เพียงเฉพาะความเท่าเทียมระหว่างหญิงชายเท่านั้น แต่ยังรวมถึงกลุ่มคนเพศหลากหลายด้วยเช่นกัน เพราะแท้จริงแล้วเพศสภาพมีความลื่นไหลได้หลากหลาย ทว่ามนุษย์เรากลับมองเห็นเพียงแค่สองเพศหญิงชายเท่านั้น ช่วงเวลาที่ผ่านมาประเด็นเหล่านี้จึงกลายเป็นที่ถกเถียงมากขึ้น การเรียกร้องต่างๆ ในปัจจุบันจึงมีรายละเอียดซับซ้อนยิ่งกว่าเดิม เราจึงชวนคุยกับ รศ.ดร.ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ สาขาวิชาการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้ที่ศึกษาด้านเพศสภาพมาอย่างยาวนาน ประเด็นพูดคุยในวันนี้ว่าด้วยความไม่เท่าเทียมทางเพศที่เกิดในเมือง เพศสภาพกับบทบาทต่อการสร้างเมือง ไปจนถึงปัญหาพื้นที่สาธารณะที่เกิดจากการมองแค่สองเพศ เพื่อหาคำตอบว่าเมืองที่เท่าเทียมควรมีหน้าตาอย่างไร  ไม่นานมานี้คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต แต่ก็มีการถกเถียงว่ามันไม่ใช่การสมรสเท่าเทียม ทำให้มีคนกลุ่มหนึ่งออกมาแสดงความคิดเห็นว่า “ขนาดหญิงชายยังไม่เท่าเทียมเลย แล้วเพศหลากหลายจะเท่าเทียมได้ยังไง” อาจารย์มีความคิดเห็นกับเรื่องนี้อย่างไร ต้องเริ่มมองจากวิธีที่รัฐไทยจัดการเรื่อง “ครอบครัว” ในความหมายของเพศก่อน เพราะกลุ่มกฎหมายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่พูดถึงการหมั้นและการสมรสยังมีปัญหาอยู่ แปลว่าคนที่ไม่ใช่รักต่างเพศ (non-heterosexual) ที่จะมาสมรสกัน คุณก็จะเจอปัญหาแบบเดียวกับที่รักต่างเพศ (heterosexual) เจออยู่ตอนนี้ ถ้าคุณดูวิธีที่รัฐนิยามครอบครัว ทั้งในเชิงกฎหมายและนโยบายต่างๆ ครอบครัวจะหมายถึงหญิงชายที่แต่งงานกัน รวมไปถึงลูกของหญิงชายนั้น พูดง่ายๆ คือสามี […]

“การศึกษาต้องช่วยยกระดับเมือง” พูดคุยกับ ผศ.คมกริช ธนะเพทย์ ว่าด้วยการศึกษา ความเหลื่อมล้ำ และแนวคิดการศึกษาละแวกย่าน

07/08/2020

โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตเมืองของผู้คนอย่างพร้อมหน้าในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน การเดินทาง การจับจ่าย ฯลฯ ดังที่หลายคนกำลังปรับตัวสภาวะดังกล่าวอยู่เสมอ นับตั้งแต่เกิดการระบาดของโรค หากประเด็นที่สำคัญไม่แพ้เรื่องใด เหตุเพราะเกี่ยวข้องกับประชากรเมืองนับพันล้านคนทั่วโลกคือเรื่อง การศึกษา ข้อมูลจาก UNESCO ระบุว่า ในช่วงการระบาดอย่างรุนแรงประมาณเดือนเมษายน 2563 มีผู้เรียนในระดับอนุบาล ประถม มัธยม และอุดมศึกษาเกือบ 1,300 ล้านคน จากเกือบ 186 ประเทศทั่วโลก หรือคิดเป็นผู้เรียนกว่า 73.8 % ได้รับผลกระทบจากการปิดการเรียนการสอนในระบบ เฉพาะในประเทศไทยเองมีนักเรียนได้รับผลกระทบกว่า 15 ล้านคน โดยกลุ่มใหญ่ที่สุดเป็นนักเรียนมัธยมและนักเรียนประถม ตามลำดับ นักเรียนประถมและมัธยมถือเป็นผู้เรียนในระบบการศึกษาภาคบังคับ ที่ต้องปรับรูปแบบการเรียนตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ เรียกได้ว่าเป็น “หนู” ในกระบวนการทดลองอันแสนท้าทาย ด้วยการเรียนออนไลน์และเคเบิลทีวี สลับกับการเข้าเรียนในห้องโดยผลัดกันเป็นกลุ่ม ไม่หยุดวันเสาร์ งดกิจกรรมทางกายที่ต้องปฏิบัติในระยะประชิด ฯลฯ ปฏิเสธไม่ได้ว่าการปรับตัวดังกล่าวได้ก่อให้เกิดปัญหาในหลายพื้นที่ ดังที่ปรากฏในข่าวแม้จะเปิดเทอมมาแล้วหลายสัปดาห์  The Urbanis พูดคุยกับ ผศ.คมกริช ธนะเพทย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประธานหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต […]

1 3 4 5 6 7 9