Life



Dominique Alba ราชินีผังเมืองแห่งปารีส ว่าด้วยการจัดสรรงบประมาณมหาศาล เพื่อให้พลเมืองสร้างสรรค์โครงการเมืองด้วยตัวเอง

26/04/2021

จะดีแค่ไหนหากงบประมาณประจำปีจำนวนมหาศาลของเมือง จะถูกจัดสรรไว้ก้อนหนึ่ง จะแปลงเป็นโครงการพัฒนาเมืองโดยภาคพลเมือง ที่ตอบโจทย์ความต้องการอันหลากหลายของเมืองด้วยตัวเอง “ราชินีผังเมืองแห่งปารีส” เป็นสมญานามที่ ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ยกย่อง Dr. Dominique Alba ผู้อำนวยการ Paris Urbanism Agency (APUR) ประเทศฝรั่งเศส ผู้อยู่เบื้องหลังการวางยุทธศาสตร์การฟื้นฟูเมืองปารีสหลายโครงการ ล่าสุดให้เกียรติบรรยายสาธารณะโครงการ MUS x UDDC International Lecture Series โดยแบ่งปันประสบการณ์จากการทำงานในฐานะเบื้องหลังโครงการฟื้นฟูเมืองปารีสมากมาย หลายคนอาจคุ้นเคยกับเจ้าของฉายา “ราชินีผังเมืองแห่งปารีส” เป็นที่เรียบร้อย เนื่องจากเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย สมาคมฝรั่งเศสกรุงเทพ และ ศูนย์วิจัยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ร่วมสมัย (IRASEC) ร่วมกับศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) มูลนิธิ Heinrich Boll และ UN WOMEN ได้ร่วมเสวนาโต๊ะกลมในหัวข้อ “การเปลี่ยนแปลงของเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: อะไรคือบทบาทของพลเมือง” (Urban Changes in Southeast Asia: what […]

เป็นคนแรกที่ถูกลืมและเป็นคนสุดท้ายที่ถูกนึกถึง: ทางเท้าสำหรับทุกคนผ่านมุมมอง กฤษนะ ละไล

21/04/2021

“คนพิการมักเป็นกลุ่มแรกที่ถูกลืม และเป็นกลุ่มสุดท้ายที่ถูกนึกถึงในการพัฒนาทางเท้า”   ส่วนหนึ่งจากบทสนทนาของ กฤษนะ ละไล ประธานมูลนิธิอารยสถาปัตย์เพื่อคนทั้งมวล (Friendly Design for All Foundation) ผู้ที่บอกว่าตนเองเป็น “คนสำคัญที่มักถูกลืมในการพัฒนาทางเท้า” เราได้แลกเปลี่ยนมุมมองว่าด้วยเรื่องทางเท้า และโครงการฟื้นฟูทางเท้าย่านรัตนโกสินทร์ 33 เส้นทาง ผ่านบทความสัมภาษณ์ฉบับนี้ สภาพแวดล้อมพิการ: ภาพสะท้อนความลำบากของคนสำคัญที่มักถูกลืม อดีตนั้นเราอาจยังไม่มีความรู้สึกกับปัญหาสภาพแวดล้อมทางเท้า หรือให้ความสนใจมากขนาดนี้ จนกระทั่งเราได้มานั่งบนเก้าอี้วีลแชร์ ได้ทราบปัญหา ได้สัมผัสกับความยากลำบาก ได้ประสบกับบทโหดของชีวิตในการออกเดินทางผจญภัยนอกบ้าน ซึ่งสภาพแวดล้อมไม่เป็นมิตรกับเราเลย โดยเฉพาะทางเท้าหรือฟุตพาทอย่างที่เราเห็น คนปกติเดินยังไม่ Friendly คนนั่งวีลแชร์ไม่ต้องนึกถึงเลย คือ มันไม่ได้ไปใช้แน่นอน ยิ่งตัวเองเป็นแบบนี้ ยิ่งทำให้เราเห็นและรู้ถึงปัญหาเพราะปัญหาเหล่านี้อยู่ในสิ่งแวดล้อมของเมือง ไม่ใช่แค่ทางเท้าแต่มันทุกอย่างเลย ตึกอาคาร สถานที่ แหล่งท่องเที่ยวทุกอย่างมันมีอุปสรรคสำหรับชาววีลแชร์มาก รวมถึงทางเท้าเป็นปัญหาใหญ่ ที่กล่าวได้ว่าเป็น “สภาพแวดล้อมที่พิการ“ การดำเนินชีวิตในสภาพแวดล้อมพิการ ลดทอนความภูมิใจ และคุณค่าความเป็นมนุษย์  เมื่อหลาย 10 ปีก่อน พอเราประสบปัญหากับตัวเอง เราพบว่า การเดินทางไปไหนมาไหนช่างลำบากเหลือเกิน ขึ้นรถสาธารณะต้องมีคนยกคนแบก ขึ้นเครื่องบินต้องมีคนอุ้มขึ้น เรากลายเป็นตัวประหลาด กลายเป็นภาระของคนที่ไปด้วย […]

ทางเท้าแบบไหนถูกใจหลวงพี่ สนทนากับ พระมหาใจ เขมจิตฺโต ว่าด้วยเสียงสะท้อนจากผู้สัมผัสเมืองด้วยเท้าเปล่า

09/04/2021

เรื่อง : นรวิชญ์ นิธิปัญญา, อวิกา สุปินะ ภาพ : ชยากรณ์ กำโชค ก่อนฟ้าสว่างบนถนนจักรพงษ์ หน้าวัดชนะสงคราม เป็นเวลาและจุดนัดพบของเรากับ พระมหาใจ เขมจิตฺโต ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร ซึ่งกรุณาให้เราเดินติดตามขณะบิณฑบาต พร้อมกับคณะภิกษุ-สามเณร ไปตามเส้นทางย่านถนนข้าวสารและตลาดบางลำพู ภาพที่เรามองเห็น คือ ภิกษุ-สามเณรทุกรูปเดินเรียงแถวอุ้มบาตรด้วยอาการสำรวม และเดินด้วยเท้าเปล่า หากจะอนุมานว่าสงฆ์คือคนเมืองที่ใกล้ชิดกับทางเท้าและเมืองมากที่สุด คงไม่ผิดนัก นี่เป็นที่มาของบนสนทนาว่าด้วยทางเท้าและเมือง และโครงการฟื้นฟูทางเท้าย่านรัตนโกสินทร์ 33 เส้นทาง กับพระมหาใจ ในฐานะ “ผู้สัมผัสเมืองด้วยเท้าเปล่า” การบิณฑบาตกับทางเดินเท้าที่เปลี่ยนไป           ตอนเช้านี่เดินลำบากมาก ทั้งพระสงฆ์ สามเณร ต้องเดินหลบร้านที่ตั้งอยู่บนทางเท้า ซึ่งเป็นร้านที่ตั้งอยู่มานานแล้ว   พระภิกษุสงฆ์ และสามเณร ต้องคอยเดินหลบสิ่งกีดขวาง หรือบางครั้งต้องเดินหลบลงถนน หนักไปกว่านั้น คือ พระอาจารย์ไม่สามารถเดินทางเท้ารอบวัดได้แล้ว เพราะว่าด้วยผังเมืองทำให้วัดชนะสงครามแทบไม่มีทางเท้า เพราะทางเท้ากลายเป็นร้านค้ามากมาย พอมีโควิด-19 ร้านค้าทยอยลดลง แต่ยังคงมีอุปกรณ์ของร้านค้าหลงเหลืออยู่ ถึงแม้จะแยกจากทางเท้าชัดเจน แต่พระก็ไม่สามารถเดินได้อยู่ดี เพราะพื้นที่เหล่านี้กลายเป็นพื้นที่ต้องห้ามในการเดินบิณฑบาต กล่าวได้ว่า “พระห้ามเดินในพื้นที่อโคจร” […]

ข้อเสนอสู่เมืองที่ดีกว่าโดยนักรัฐศาสตร์: ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ และ ปลดล็อกโครงสร้างบริหารจัดการ

30/03/2021

กว่า 2 ชั่วโมงของการบรรยาย “Complex Public Governance in City Rehabilitation and Reconstruction toward Resilience” โดย ผศ.ดร.ทวิดา กมลเวชช คณบดี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มี 2 ประเด็นหลักที่เราสนใจ ประการแรก ผู้บรรยายชี้ให้เห็นกลไกการดำเนินงานของ กทม. ซึ่งมีกลไกที่สลับซับซ้อนและแฝงไปด้วยปัญหาที่หยั่งรากลึกมาอย่างยาวนาน ประการที่สอง คือ เสนอข้อชวนคิดที่จะนำมาปรับมุมมองปรับกลไกการทำงานของ กทม. ปัญหาเชิงโครงสร้างการบริหารจัดการที่หยั่งรากลึก ชุดปัญหาหนึ่งที่ ผศ.ดร.ทวิดา หยิบยกขึ้นมาบรรยาย คือ ชุดปัญหาของยุทธศาสตร์ที่ไม่สมบูรณ์ของของกรุงเทพมหานคร (Dysfunctional Strategy) ได้แก่ 1) ไม่สามารถตีความยุทธศาสตร์ของเมืองออกมาได้เพราะหลายคนคนมองไม่เห็นวิสัยทัศน์ร่วมของยุทธศาสตร์ 2) กำหนดยุทธศาสตร์ที่ไม่ยืดหยุ่น ยุทธศาสตร์ของ กทม. ถูกสร้างมาในปี 2555 และถูกนำมาใช้ในปี 2556 ซึ่งกระบวนการดำเนินการสร้างยุทธศาสตร์ในปี 2555 นั้นเจ้าหน้าที่ กทม. ได้มีการลงพื้นที่ไปสอบถามประชาชน มีการทำ […]

นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม: เราต้องทำการเดินให้เป็นเรื่องปกติของชีวิตประจำวัน

23/03/2021

“เราต้อง normalize การเดิน ปัจจุบันการเดินกลายเป็นเรื่องพิสดาร กลายเป็นว่าต้องไม่มีรถแล้วสิถึงต้องเดิน นี่ทำให้การเดินกลายเป็นทางเลี่ยง ทั้งที่การเดินเป็นวิถีชีวิต ในชีวิตปกติเราเดินอยู่แล้ว ”   คือบทสนทนาส่วนหนึ่งของ ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ รักษาการผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ (สำนัก 5) สสส. ที่เราได้มีโอกาสในการแลกเปลี่ยนพูดคุยมุมมองเกี่ยวกับประเด็นการเดินกับภารกิจสร้างเสริมสุขภาวะ ในฐานะที่เป็นหนึ่งในผู้บริหารคนสำคัญของ สสส. และ ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของโครงการเมืองเดินได้-เมืองเดินดี (GoodWalk) โดย ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ซึ่งดำเนินอย่างต่อเนื่องเข้าปีที่ 8 แล้ว บทสนทนาของเราและ “คุณหมอไพโรจน์” เกิดขึ้นภายหลัง ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการ UddC-CEUS และหัวหน้าโครงการ GoodWalk นำเสนอความคืบหน้าโครงการซึ่งปัจจุบันได้ขยายผลการดำเนินงานทั้งในกรุงเทพฯ และเมืองรองอย่างเป็นรูปธรรม ในการประชุมผู้อำนวยการ UddC-CEUS ยกให้ สสส. เป็น Change Agent ที่สนับสนุนกระบวนการศึกษาและกระบวนการร่วมมือในโครงการเมืองจำนวนมากทั่วประเทศ การเดินมีความสำคัญอย่างไร? การเดินสร้างเมืองสุขภาวะได้อย่างไร? ทำไมถึงต้อง […]

ดร.เดชรัต สุขกำเนิด: มองเมืองผ่านมุมเศรษฐศาสตร์ และการสร้างมูลค่าจากเมืองแห่งการเรียนรู้

25/01/2021

เรื่อง : สหธร เพชรวิโรจน์ชัย ภาพปก : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) / นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ “ตราบใดที่ยังมองว่าข้าวคือข้าว เราก็ไม่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ เมืองก็เช่นกัน ถ้าเรามองเมืองคือเมืองเหมือนกัน มันก็ไม่สามารถสร้างมูลค่าได้” นี่คือคำพูดส่วนหนึ่งของ ดร.เดชรัต สุขกำเนิด อาจารย์ประจำภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่เราได้พูดคุยแลกเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับเมืองแห่งการเรียนรู้ ในฐานะที่เขาเป็นทั้งนักเศรษฐศาสตร์ และเป็นทั้งคุณพ่อที่สนใจเรื่องกระบวนการเรียนรู้นอกห้องเรียน เพราะทุกวันนี้การเรียนรู้ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในห้องเรียนอีกต่อไป แต่ได้ขยับขยายออกมาสู่นอกห้องเรียนอย่างเมืองที่เราอาศัยอยู่ สอดคล้องกับแนวคิดเรื่องเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ที่เน้นย้ำถึงความสำคัญของการเรียนรู้ตลอดชีวิตและการเรียนรู้สำหรับทุกคน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจต่อไป แล้วกระบวกการเรียนรู้สำคัญกับเมืองอย่างไร? มีกลไกลอะไรบ้างที่เราสามารถเปลี่ยนเมืองธรรมดาให้กลายเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้? เมืองในประเทศไทยพร้อมไหมกับการเปลี่ยนแปลง? ลองฟังความคิดเห็นจากนักเศรษฐศาสตร์ที่สามารถเข้ามาช่วยออกแบบเมืองให้เกิดมูลค่าได้จากบทสัมภาษณ์นี้ อาจารย์เริ่มสนใจเรื่องกระบวนการเรียนรู้ตั้งแต่ตอนไหน จริงๆ สนใจเรื่องการศึกษามานานแล้วเพราะเราเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย แต่นอกเหนือจากหน้าที่การงาน บทบาทสำคัญก็คือการเป็นพ่อครับ เพราะเวลาเป็นอาจารย์ เราจะเห็นการเรียนรู้แค่ในห้องเรียน แต่เวลาเราเป็นพ่อ เราจะเห็นการเรียนรู้ในอีกมุมว่า ลูกสามารถเรียนรู้ได้ในบางโอกาสซึ่งเราไม่คิดว่ามันคือการเรียนรู้ด้วยซ้ำ เช่น การดูนก การเล่นเกม การออกแบบเกม หรือการแต่งกลอน สิ่งเหล่านี้ทำให้เห็นว่า กระบวนการเรียนรู้ในห้องเรียนถูกจำกัดไปหน่อย ผมก็เลยนำสิ่งที่ได้จากลูกมาประยุกต์ใช้ในห้องเรียน […]

10 ปี BIGTrees Project เครือข่ายที่ทำให้คนเมืองเรียนรู้ที่จะรักต้นไม้และสิ่งแวดล้อมเมือง

10/12/2020

4 ธันวาคมของทุกปีเป็นวันสิ่งแวดล้อมไทย แต่เมื่อ 4 ธันวาคมปี 2553 กลับเป็นวันที่สิ่งแวดล้อมถูกทำลาย เมื่อเกิดเหตุการณ์ต้นจามจุรีอายุกว่า 100 ปี บนพื้นที่กว่า 5 ไร่ ในซอยสุขุมวิท 35 ถูกโค่นลง แม้ว่าจะมีการขอเจรจากับเจ้าของที่ดินไม่ให้ตัดต้นไม้แล้วก็ตาม ความเจ็บช้ำในวันนั้น ทำให้เกิดกลุ่มคนรักต้นไม้รวมตัวกันในนาม BIGTrees Project เพื่อเน้นเรื่องการสื่อสาร สร้างการเรียนรู้ และจัดกิจกรรมให้คนในเมืองได้ไปสัมผัสธรรมชาติใกล้ตัว โดยมีบทบาทสำคัญในการอนุรักษ์พื้นที่สีเขียวในป่าคอนกรีตแห่งนี้ และกลายเป็นศูนย์กลางในการส่งเรื่องร้องเรียน หากมีการตัดต้นไม้ในที่สาธารณะ เพราะการตัดต้นไม้ไม่ใช่แค่เรื่องของ “ความใหญ่” แต่เป็น “เรื่องใหญ่” ที่ทุกคนควรตระหนักรู้ วันนี้ The Urbanis จึงมาพูดคุยกับคุณ สันติ โอภาสปกรณ์กิจ และคุณ อรยา สูตะบุตร สองผู้ร่วมผู้ก่อตั้งกลุ่ม BIGTrees Project ณ Luka Cafe Siri House คาเฟ่และร้านอาหารท่ามกลางร่มไม้ใหญ่ในซอยสมคิด ย่านเพลินจิต ในวาระครบ 10 ปีที่สนับสนุนให้เมืองรักษาต้นไม้ และอนุรักษ์พื้นที่สีเขียวให้งดงามมาถึงปัจจุบัน […]

ประท้วง-ช่วงชิง-เกทับ คุยกับธนาวิ โชติประดิษฐ เรื่องพื้นที่การชุมนุมและการเมือง

19/10/2020

การเมืองของมวลชนดูคุกรุ่น ร้อนแรงขึ้นทุกขณะ ประเด็นรุดหน้าไปอย่างที่หากมองย้อนอาจจะไม่มีใครคาดคิดว่าจะมาถึงจุดนี้ ยามบ่ายของวันหนึ่ง ในวันที่สนามหลวงยังไม่มีอีกชื่อว่าสนามราษฎร เรามีนัดกับธนาวิ โชติประดิษฐ อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร เจ้าของวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาเอกเรื่อง ‘พลังทางการเมืองของศิลปกรรมที่สร้างขึ้นในสมัยคณะราษฎร’ เพื่อพูดคุยในเรื่องพื้นที่ของเมืองกับการชุมนุม การช่วงชิงอำนาจในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ ไปจนถึงหมุดคณะราษฎร  (1) ประท้วง Q: สังเกตว่าช่วงที่ผ่านมาการชุมนุมเริ่มเกิดบ่อยครั้งขึ้นและมักเข้ามาเสนอข้อเรียกร้องในเมือง ทำไมเป็นเช่นนั้น มีปัญหาที่ชุมชนแห่งใดแห่งหนึ่งแล้วทำไมเขาต้องมาเรียกร้องในเมืองแบบนี้ใช่ไหม ถ้าพูดอย่างนี้ก็เหมือนกับว่าไม่มีการเรียกร้องหรือชุมนุมในพื้นที่ที่เป็นปัญหาเลย แต่ในความเป็นจริง ไม่ใช่อย่างนั้นนะคะ  อย่างไรก็ดี ถึงจุดหนึ่งก็จะต้องมีการชุมนุมในเมืองด้วย อย่างที่เราเห็นกันบ่อยๆ คิดว่ามันไม่ได้มีประเด็นซับซ้อนมากไปกว่าเรื่องที่ว่าการชุมนุมเรียกร้องอะไรบางอย่าง นั้นจำเป็นต้องเป็นที่รับรู้ในวงกว้าง คือต้องให้สาธารณชนรับรู้ว่ามีประเด็นนี้อยู่ เป็นปัญหาที่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งอยากจะส่งเสียง  พื้นที่ทำหน้าที่เป็นตัวรองรับในเชิงกายภาพก็จริง แต่ว่ามันก็ไม่ได้เป็นแค่สถานที่ที่บรรจุคน มันมีบทบาทอย่างอื่นด้วย พื้นที่การชุมนุมจะต้องเป็นที่ๆ คนเห็นได้ในวงกว้าง ในหลายกรณี พื้นที่ที่คนไปชุมนุมอาจจะไม่ได้เกี่ยวอะไรกับพื้นที่ที่เป็นต้นตอของปัญหาเลยก็ได้ แต่มันก็จะมีความสำคัญในแบบอื่น เช่น มันเป็นพื้นที่หน้าทำเนียบรัฐบาล หรือว่าอยู่หน้าโรงงานอะไรสักอย่างที่เขาจะไปประท้วง ซึ่งพื้นที่พวกนี้มันอยู่ในเมือง คนก็ไม่ได้ไปประท้วงเรื่องป่ารอยต่อในป่าใช่ไหม Q: ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจจะสะท้อนว่าการตัดสินใจส่วนใหญ่มาจากเมืองด้วยไหม มันก็ขึ้นอยู่ว่าเรื่องนั้นคนที่ต้องจัดการมันอยู่ที่ไหน หน่วยงานที่ต้องจัดการอยู่ที่ไหน เรื่องมันใหญ่ขนาดไหน ถ้าคุณต้องการที่จะประท้วงโรงงานก. ที่อยู่ในอำเภอข. คุณก็อาจจะไปประท้วงหน้าโรงงานนั้น มันก็อาจไม่จำเป็นต้องไปประท้วงที่กรุงเทพฯ ก็ได้ แต่ถ้าหน่วยงานที่คุณต้องสื่อสารเรื่องนี้ด้วยมันอยู่ในเมือง […]

ภาพย่านเก่าในโลกยุคใหม่ ผ่านสายตาของ ‘เฮียเสก’ เจ้าของตำรับขนมจีบต้มแห่งย่านกะดีจีน-คลองสาน

06/10/2020

            สำหรับคนยุคนี้คงเป็นเรื่องยากจะจินตนาการถึงการอยู่อาศัยในพื้นที่สักที่นานหลายสิบปี แต่ถ้าย้อนมองกลับไป จะพบว่าในสังคมเรายังมีคน ‘อยู่ติดที่’ ในความหมายว่าทั้งผูกพันกับสถานที่และมีวิถีชีวิตสอดคล้องกับตำแหน่งแห่งที่ที่พวกเขาใช้ชีวิตมาตั้งแต่เกิด คุณเสก หรือเฮียเสก-นัทธวัฒน์ กิตติวณิชพันธุ์ ของคนย่านกะดีจีนคือหนึ่งในนั้น ด้วยเขาเติบโตในครอบครัวชาวจีนเชื้อสายแต้จิ๋ว ในบ้านไม้หลังกะทัดรัดติดกับวัดกัลยาณ์ที่เปลี่ยนด้านล่างเป็นร้านขายก๋วยเตี๋ยวเป็ดรสเด็ด ครอบครัวที่ถ่ายทอดสูตรความอร่อยให้เขาจนกลายมาเป็นอาชีพทุกวันนี้             ปัจจุบันเฮียเสกเป็นเจ้าของกิจการ ‘ขนมจีบต้มเฮียเสก’ ขนมจีบต้มเจ้าแรกในประเทศไทย เนื่องจากสูตรที่ใช้นั้นเป็นสูตรประจำตระกูลของเขาเอง “จริงๆ มันเป็นสูตรที่ครอบครัวทำกินกันมานานแล้ว เป็นขนมจีบต้มเนื้อแน่นๆ ที่ไส้จะรสจัดจ้านหน่อย เป็นตำรับของชาวแต้จิ๋ว แต่เราก็เอามาปรับสูตรให้ถูกปากคนไทยมากขึ้น พอทำกินกันในบ้านบ่อยเข้า ก็เริ่มอยากลองขาย สุดท้ายก็กลายเป็นกิจการครอบครัวมาจนวันนี้” และไม่ใช่เพียงกิจการธรรมดา แต่เรียกว่าเป็นกิจการหนึ่งที่เป็นหน้าเป็นตาของย่าน กะดีจีน-คลองสาน ก็ว่าได้ เพราะนอกจากขนมจีบต้มสูตรเฮียเสกจะโด่งดังขนาดต้องโทรสั่งจอง ขนมจีบต้มเจ้านี้ยังช่วยทำให้เรารู้จักย่านนี้ได้อย่างลึกซึ้งขึ้นด้วย             “เมื่อก่อนย่านนี้ของกินเยอะกว่านี้มาก ยิ่งในยุคที่ยังไม่ตัดถนนจะมีพ่อค้าแม่ค้าพายเรือมาขายกับข้าวกับปลาในคลองกันเต็มไปหมด บนทางเท้าก็มีคนหาบของขาย มีอาหารให้เลือกไม่หวาดไม่ไหว” เขาย้อนความหลังให้เราฟังทั้งรอยยิ้ม ก่อนเล่าประสบการณ์สมัยวัยเด็กเมื่อครั้งยังอาศัยอยู่ในบ้านไม้ใกล้วัดกัลยาณ์ให้ฟังว่า ละแวกท่าน้ำหน้าวัดกัลยาณ์เป็นแหล่ง ‘มะม่วงอร่อย’ อย่างที่บางคนอาจไม่เคยรู้มาก่อน “สัก 40-50 ปีก่อน ถ้าใครอยากกินมะม่วงอร่อยต้องมาแถววัดกัลยาณ์ ช่วงฤดูมะม่วงประมาณเดือนกุมภาพันธ์จะมีเรือล่องมาจากดำเนินสะดวก จอดขายมะม่วงบริเวณปากคลองบางหลวงกันเป็นร้อยลำ เพราะเมื่อก่อนไม่มีตลาดผักผลไม้ใหญ่ เหมือนทุกวันนี้ เป็นอันรู้กันว่าใครอยากกินมะม่วงต้องมารอซื้อแถวหน้าวัดกัลยาณ์” เฮียเสกเล่าเรื่อยๆ ระหว่างชวนให้เราชิมขนมจีบต้มตำรับประจำบ้าน ก่อนเสริมถึงบรรยากาศของย่านในวันวานให้เราฟังอย่างออกรสไม่แพ้กัน […]

ไมล์สโตนความสำเร็จในการพัฒนาย่านกะดีจีน-คลองสาน ของวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร

06/10/2020

จากสะพานด้วนมาจนถึงสวนลอยฟ้าเจ้าพระยา ใช้เวลาเดินทางกว่า 30 ปี สถาปัตยกรรมทิ้งร้างจึงแล้วเสร็จเป็นสะพานข้ามแม่น้ำให้ผู้คนเดินได้ในวันนี้  “ในการก่อสร้างเราก็ดูกันอยู่ทุกวัน มันอยู่ตรงนี้ มันเป็นความหวังของชาวบ้าน” ศาสตราจารย์ ดร.พระพรหมบัณฑิต  เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร พูดถึงการเกิดขึ้นของสวนลอยฟ้า  วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ตั้งอยู่ใกล้กับเชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า ทางฝั่งธนบุรี เป็นโบราณสถานที่ใครผ่านไปปากคลองตลาดหรือข้ามสะพานพุทธจะต้องมองเห็น พระบรมธาตุมหาเจดีย์สีขาวเด่นเคียงคู่ริมน้ำเจ้าพระยา นอกจากเป็นมรดกทางโบราณสถานแล้ว ยังเป็นแกนหลักสำคัญในการเชื่อมหน่วยงานราชการ เชื่อมชุมชน เชื่อมศาสนสถานในละแวก เชื่อมโรงเรียนและจากอีกหลายภาคส่วนเข้าด้วยกัน เพื่อพัฒนา เปลี่ยนแปลง ให้เกิดความยั่งยืนในย่านกะดีจีน-คลองสานเสมอมา  หลักวิธีคิดเช่นนี้ทำให้ ในปี 2556 วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมจากโครงการประกวดรางวัลเพื่อการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชีย และแปซิพิค (ยูเนสโก)  มาในปี 2563 สวนลอยฟ้าเจ้าพระยาที่ทอดเชื่อมระหว่างสองฝั่งแม่น้ำ ก็กลายเป็นอีกหนึ่งโครงการที่วัด ศาสนสถาน ชุมชน ราชการ โรงเรียน หน่วยงานจากรัฐและเอกชนทุกฝ่ายต่างได้มีส่วนร่วมทำให้สวนลอยฟ้าเสร็จสมบูรณ์ได้ตามที่ตั้งใจออกแบบวางแผน จนเกิดเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ข้ามสวนลอยฟ้ามาฝั่งธนบุรี เมื่อลงจากสะพาน สิ่งแรกที่จะแวะพักหลบร้อนคงหนีไม่พ้นวัดประยุรฯ ได้ทีจึงอยากพาทุกคนไปฟังทัศนะของพระพรหมบัณฑิต ต่อภาพของกะดีจีน-คลองสาน ในสายตาของพระนักพัฒนา ท่านมองเห็นการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างจากครั้งเก่าก่อนมาจนถึงตอนนี้  จากสะพานด้วนสู่สวนลอยฟ้า ท่านมองเห็นการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง ชาวบ้านเขานำเสนอว่าอยากจะให้ปรับปรุงสะพานด้วน มันเป็นอนุสรณ์แห่งความล้มเหลวอยู่ประจานเรา เห็นอยู่ทุกวันๆ มาตั้ง 30 ปี ชาวบ้านเขาไม่ได้คิดอะไรไกล คิดแค่ว่าทำยังไงที่จะปรับเปลี่ยนตรงนี้ให้มันเป็นทัศนียภาพที่ดี ทางวัดมองเห็นว่า ถ้ามีสะพานนี้เป็นจุดดึงดูด สามารถพัฒนาอย่างที่ออกแบบมา คนที่เดินข้ามสะพานเขาก็ต้องมาเจอวัดประยุรฯ […]

1 2 3 4 5 6 9