Life



The Better City ของ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ “เราคือเมือง เมืองคือประชาชน”

29/11/2019

แม้การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ยังมาไม่ถึง แต่คนที่เรารู้อย่างแน่ชัดแล้วว่าจะลงแข่งขันในศึกชิงตำแหน่งครั้งนี้แน่นอนก็คือ ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ อดีตรองศาสตราจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  และอดีตรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมผู้ได้รับสมญานามว่า ‘รัฐมนตรีผู้แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี’  บ่อยครั้งที่ใครๆ ก็พบเห็นชายผู้แข็งแกร่งที่สดในปฐพีคนนี้ไปวิ่งออกกำลังกายที่สวนลุมฯ และถ้าเข้าไปทักทายของถ่ายรูปด้วย ก็จะได้รับปฏิกิริยาตอบกลับแบบยิ้มแย้มแจ่มใสเป็นมิตรเสมอ ไลฟ์สไตล์ติดดิน เข้าถึงง่าย ชัชชาติเป็นหนึ่งในนักการเมืองไม่กี่คนที่ประชาชนรู้สึกคุ้นเคย รวมไปถึงพื้นที่โซเชียลมีเดียด้วย ดังนั้น ชัชชาติจึงเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวสำหรับผู้ท้าชิงตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม. โดยเฉพาะเมื่อเขาตัดสินใจลงในนามอิสระ ด้วยเหตุผลที่ว่า ‘สามารถทำงานกับทุกภาคส่วนได้มากกว่าลงสมัครในนามพรรคการเมือง’  ว่าแต่ว่า วิสัยทัศน์ในเรื่อง ‘เมือง’ ของผู้ชายคนนี้จะเป็นอย่างไร The Urbanis อยากชวนคุณไปพูดคุยกับเขาหลังการบรรยายครั้งสำคัญในหัวข้อ “Better City จะทำเมืองให้ดีขึ้นได้อย่างไร”  การบรรยายนี้จัดขึ้นโดย ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง (CUURP) คณะสถาปัตยกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) ซึ่งนอกจากจะเปิดมุมมองใหม่ในการพัฒนาเมืองให้แก่นิสิต นักศึกษาและบุคคลทั่วไปที่เข้าร่วมกิจกรรมแล้ว ยังทำให้เรา ‘เห็น’ ชัดเจนอีกด้วย ว่าชัชชาติมีวิสัยทัศน์ต่อกรุงเทพฯ อย่างไร รวมทั้งเขาอยากทำอะไรบ้าง – เพื่อให้กรุงเทพฯ ดีขึ้น ชัชชาติเริ่มการบรรยายด้วยการตั้งคำถามว่า ‘เมืองที่ดีคืออะไร’ เพราะการจะวัดผลว่าดีหรือไม่ดีนั้น […]

Why so democracy on public space ประชาธิปไตยบนที่สาธารณะของ ไอติม – พริษฐ์ วัชรสินธุ

13/11/2019

ชื่อของ ‘ไอติม’ – พริษฐ์ วัชรสินธุ ถูกจับตามองว่าเป็นนักการเมืองเลือดใหม่ไฟแรงมาตั้งแต่ช่วงก่อนการเลือกตั้ง ’62  แม้ว่าผลการเลือกตั้ง ส.ส. ของเขาจะไม่เป็นไปอย่างใจหวัง แต่อดีตนักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์คนนี้ยังคงเดินหน้าเรียกร้องประชาธิปไตยต่อไปภายใต้การเป็นนักการเมืองอิสระ, แกนนำกลุ่มรัฐธรรมนูญก้าวหน้า และบทบาทใหม่ล่าสุดของเขากับการเขียนหนังสือ ‘Why So Democracy ประชาธิปไตยมีดีอะไร’ หนังสือที่ตั้งคำถามเกี่ยวกับประชาธิปไตย บนพื้นฐานความเคลือบแคลงใจทางการเมืองที่หลายคนอาจเคยตั้งคำถามกับตัวเอง เมื่อคำถามเป็นบ่อเกิดของหนังสือเล่มนี้ เราจึงอยากตั้งคำถามไอติมกลับว่า “Why so democracy on public space ” เพื่อเป็นบ่อเกิดของความเข้าใจว่าพื้นที่สาธารณะนั้นสัมพันธ์อย่างไรกับประชาธิปไตย  และเมื่อเราขาดแคลนพื้นที่สาธารณะ เราจึงขาดความเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริงหรือเปล่า  พื้นที่สาธารณะมีความเกี่ยวข้องกับประชาธิปไตยอย่างไร ไอติม : มันมีความเชื่อมโยงกันพอสมควรนะครับ  อย่างแรกคือเรื่องการลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงพื้นที่ทำมาหากิน เพราะว่าท้ายที่สุดแล้วประชาธิปไตย คือการที่ประชาชนทุกคนมีสิทธิมีเสียงเท่าเทียมกัน แน่นอนถ้าแปลโดยตรง มันคือการมีสิทธิที่เท่าเทียมกันทางการเมืองในการกำหนดประเทศ แต่ว่าในภาษาอังกฤษเนี่ยเขาจะใช้คำว่า Democratize Education Democratize Healthcare คือทำให้การศึกษาและสาธารณสุขเป็นประชาธิปไตย หมายความว่าการทำให้คนมีสิทธิเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพมากขึ้น เข้าถึงการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพมากขึ้นบนพื้นฐานของความเท่าเทียมกัน  เพราะฉะนั้นเรื่องที่ดิน เรื่องพื้นที่สาธารณะก็เป็นเช่นนั้นเหมือนกัน ปัจจุบันถ้าเราไปดูความเหลื่อมล้ำของประเทศไทยเนี่ย อันที่สูงสุดน่าจะเป็นความเลื่อมล้ำของที่ดิน คือคนแค่ไม่กี่เปอร์เซ็นต์คุมที่ดินหลายเปอร์เซ็นของประเทศ เพราะงั้นถ้าเกิดมันไม่มีพื้นที่สาธารณะเลย หรือถ้าไม่ได้เกิดมาในครอบครัวที่ร่ำรวยและมีที่ดินมันก็ลำบาก   […]

โลกสีเขียวใบจิ๋ว (แต่แจ๋ว) กลางกรุงฯ ของคำ ผกา

01/11/2019

เมื่อพูดถึงชื่อ คำ ผกา หรือ แขก – ลักขณา ปันวิชัย เราอาจจะมองเห็นเธอสวมบทบาทของนักเขียนหรือจับไมค์วาดฝีปากเป็นพิธีกรอยู่เสมอ คงมีเพียงไม่กี่คนที่รู้ว่าเธอยังมีอีกหนึ่งบทบาทที่หากเราไม่ไปหาเธอถึงที่บ้าน ก็คงไม่มีทางรู้เช่นกัน ‘Urban farmer’ คือคำที่เรานิยามให้คำ ผกา หลังจากได้เห็นสวนเล็ก ๆ บริเวณหน้าบ้านของเธอ ใครจะไปคิดว่าภายในพื้นที่หน้าทาวน์โฮมแค่ประมาณ 7 – 10 ตารางเมตร กลางกรุงเทพฯ เช่นนี้จะสามารถปลูกต้นอะไรต่อมิอะไรได้มากมายตั้งแต่ไม้ประดับยันผักสวนครัว! 01 ปลูกต้นไม้คือการหา survivor “เราไม่จำเป็นต้องปลูกแยก ในพื้นที่กระจุกหนึ่งเราสามารถปลูกต้นไม้ได้ 5-6 พันธุ์” คำ ผกาบอกกับเราก่อนจะแนะนำพืชพรรณแต่ละชนิดให้รู้จักคร่าว ๆ  ตั้งแต่ ใบอ่อมแซ่บ (เธอบอกว่ารสชาติเหมือนตำลึง) ใบย่านาง ผักไชยา วอเทอร์เครส ตำลึง ตะไคร้ เสาวรส ใบเตย อัญชัน ไทม์ ต้นกล้วย ไปจนถึงไม้ประดับอีกบางส่วน เช่น กุหลาบ พิกุล พะยับหมอก ฯลฯ  “กระถางหนึ่งอันพี่ก็ปลูกมันรวมไว้ทุกอย่าง มีกระเจี๊ยบ มีพิกุล มีพริก” สำหรับคำ ผกา เธอไม่ได้มองว่าการปลูกต้นไม้ให้เบียด ๆ กัน ในพื้นที่เล็ก ๆ เช่นนี้จะเป็นปัญหา แต่กลับกลายเป็นการเรียนรู้  “พี่ว่ามันเหมือนเราเรียนรู้ไปพร้อมกัน เราลองผิดลองถูก แล้วเราก็ปล่อยให้เขา survive ด้วยตัวเอง” “แล้วอย่างนี้มันจะแย่งกันโตไหมคะ” เราถาม […]

แหม่ม-วีรพร นิติประภา การเดินทางครึ่งชีวิตบนเมืองฝันสลาย

31/10/2019

บางคนนิยามกรุงเทพฯว่า เป็นเมืองคนเหงา บ้างก็ว่าเป็นเมืองแห่งโอกาส ส่วนบางคนก็เรียกเมืองแห่งสีสัน แต่สำหรับ ‘แหม่ม-วีรพร นิติประภา’ นักเขียนดับเบิ้ลซีไรต์ผู้ใช้ชีวิตอยู่ในเมืองหลวงแห่งนี้เกือบทั้งชีวิต เธอให้นิยามกรุงเทพฯ ไว้ว่า‘เมืองฝันสลาย’ “ถามว่าพี่รักเมืองนี้ไหม..พี่เรียกมันว่าเมืองฝันสลายเวลาพี่เขียนนิยาย เพราะพี่รู้ว่ามันเป็นเมืองที่ไม่มีอะไรให้ใครฝันถึง มันเป็นเมืองที่ผู้คนวิ่งเข้ามาหาโอกาสแล้วก็อกหักกลับไป”  น้ำเสียงแผ่วเบาที่อ่อนลงเรื่อยๆ จากความเหนื่อยใจ คือคำตอบที่ว่าทำไมกรุงเทพฯ ไม่ใช่เมืองในฝันสำหรับวีรพร แต่ในขณะเดียวกัน เธอก็มองว่านี่อาจเป็นเสน่ห์ของมัน เมืองที่มีทั้งความรวย ความจน ความสวยงาม และความน่าเกลียดผสมรวมกันอยู่ในพื้นที่เดียว ตลอดระยะเวลากว่า 57 ปีในชีวิตของวีรพรบนเมืองฝันสลาย  เธอเห็นการเปลี่ยนผ่านของกรุงเทพฯ อย่างไรบ้าง และอะไรคือเหตุผลที่ทำให้กรุงเทพฯ ยังคงเป็นบ้านสำหรับเธอ หรือเพราะอีกฝากความวุ่นวายยังมีความอบอุ่นของย่านเมืองเก่าที่หล่อเลี้ยงจิตวิญญาณของกรุงเทพฯ รวมทั้งจิตวิญญาณของวีรพรใช่หรือเปล่า เมื่อได้ยินคำว่ากรุงเทพฯ ภาพความทรงจำแรกที่ขึ้นมาคืออะไร แหม่ม : รถติด จริงๆ มันก็เป็นเมืองที่มีทุกอย่างนะ เวลาที่พี่ไปเมืองอื่นๆ ไม่ใช่แค่เมืองนอกนะ แต่ในเมืองไทยเองพี่ก็มักจะมองหาเมืองที่มีด้านสองด้าน และพี่ก็พบว่ากรุงเทพฯ มันอาจจะมีด้านอย่างนั้นอะนะ ก็อาจจะเป็นอย่างนี้ก็ได้ที่พี่ทนอยู่กรุงเทพฯ ได้มาอย่างยาวนาน เพราะมันมีทั้งส่วนที่ดีที่สุดเท่าที่เมืองๆ หนึ่งควรจะมีกับส่วนที่แย่ที่สุดเท่าที่เมืองๆหนึ่งควรจะมีได้เช่นกัน มีความรวย มีความจน มีความสวยงามกับน่าเกลียดพอๆ กัน ในฐานะที่อยู่กรุงเทพฯ มานาน เห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างไรของกรุงเทพฯ […]

1 7 8 9