Life



‘สื่อกับการเปลี่ยนความคิดพลเมือง’ ปริพนธ์ นำพบสันติ นักเล่าเรื่องเมืองที่เชื่อว่าเราคือผลผลิตของเมืองที่อาศัยอยู่

09/03/2022

ในโลกปัจจุบัน ไม่เพียงแค่ทุกคนสามารถเข้าถึงแหล่งความรู้ใหม่ๆ ได้ไม่รู้จบ ทั้งจากการอ่านหนังสือ ดูหนัง หรือข่าวสารต่างๆ ผ่านสื่อกระแสหลักและสื่อออนไลน์เท่านั้น ในขณะเดียวกัน ไม่ว่าใครก็สามารถผันตัวเองจากการเป็นผู้รับสาร เป็น ‘สื่อ’ ได้เองผ่านเทคโนโลยีที่อยู่ในมือ หากไม่นับช่วงเวลาที่เกิดโรคระบาดโควิด-19 การเดินทางออกไปเปิดหูเปิดตายังประเทศต่างๆ ยังเป็นอีกหนึ่งวิธีการที่หลายคนเลือกออกไปมองโลกกว้าง การได้เห็นบ้านเมืองที่เจริญแล้วทั้งทางกายภาพและผู้คน ยังช่วยให้เราหันกลับมาตั้งคำถามถึงปัญหาที่เราพบเจอในชีวิตประจำวัน โบ๊ท-ปริพนธ์ นำพบสันติ คือชายหนุ่มที่เลือกทำอย่างนั้น เขาเดินทางไปญี่ปุ่นหลายต่อหลายครั้ง แต่ท่ามกลางนักท่องเที่ยวไทยที่ชื่นชมซากุระ ภูเขาไฟฟูจิ หรือคาเฟ่ฮิปเก๋ ปริพนธ์กลับมีสายตามองเห็น ‘การออกแบบเมือง’ ที่ซ่อนอยู่ในทุกซอกมุมและถนนหนทางของญี่ปุ่น เขานำกลับมาเล่าผ่านเพจเฟซบุ๊กส่วนตัว JapanPespective ตั้งแต่ปี 2558 และเฟซบุ๊กเพจ ญี่ปุ่นแบบโบ๊ทโบ๊ท ก่อนที่จะขยายต่อมาเป็นหนังสือ Livable Japan ใส่ใจไว้ในเมือง ให้เราได้อ่านกันเมื่อปีที่แล้ว โบ๊ทเล่าเรื่องการพัฒนาเมืองของญี่ปุ่นไว้อย่างเข้าใจง่ายและสนุกมาก ตั้งแต่เรื่องพื้นฐานในชีวิตประจำวันของชาวญี่ปุ่นอย่างการออกแบบฟุตบาท ทางม้าลาย การคัดแยกขยะ ไปจนถึงประเด็นใหญ่ๆ ที่ชาวญี่ปุ่นร่วมใจกันต่อสู้ทวงคืนสิทธิของพลเมืองอย่างปัญหามลพิษในเมืองและอากาศสะอาด กระบวนการพัฒนาเมืองของญี่ปุ่นจึงสอดประสานไปพร้อมกับการสร้างจิตสำนึกพลเมืองอย่างแยกไม่ออก เป็นจุดเริ่มต้นให้เราอยากชวนเขามาคุยกัน ในฐานะสื่อคนหนึ่งที่บอกเล่าเรื่องราวการออกแบบเมืองอย่างเข้าใจและใส่ใจในสิทธิของพลเมือง เพราะเขาก็คือพลเมืองคนหนึ่งที่อยากเห็นสังคมไทยขับเคลื่อนไปสู่เมืองที่ดีเช่นกัน เริ่มมีสายตามองเห็นการออกแบบเมืองของญี่ปุ่นเมื่อไหร่ เป็นความสนใจส่วนตัวแต่แรกเลยหรือเปล่า ต้องบอกว่าผมไม่ได้เรียนมาทางด้านเมืองเลย ช่วงแรกที่ไปญี่ปุ่น เราก็เป็นนักท่องเที่ยวธรรมดาๆ แต่จำได้ว่าเหตุการณ์ที่จุดประกายครั้งแรกก็ตอนที่ไปซัปโปโร เราเดินอยู่บนฟุตบาทข้างถนนตอนเช้า […]

‘ปลายทางคือเราอยากอยู่ในประเทศที่มีระบบที่ดี’ อวัช รัตนปิณฑะ และคำถามของเขาในฐานะพลเมือง

02/03/2022

สำนึกในหน้าที่พลเมืองคือเนื้อหาที่เราร่ำเรียนกันมาตั้งแต่ประถมศึกษา แต่เคยสงสัยไหมว่า เราได้พึงตระหนัก ใช้สิทธิและทำหน้าที่ของพลเมืองที่ดีอย่างเต็มที่แล้วหรือยัง? ท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมือง ปัญหาเชิงโครงสร้าง และเรื่องช่วยบั่นทอนคุณภาพชีวิตในเมืองที่เราพบเจออยู่ทุกวัน คงไม่แปลกหากเราเริ่มตั้งคำถามว่าในฐานะพลเมืองหนึ่งคนของประเทศไทย เราทำอะไรได้บ้างเพื่อชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ไม่ใช่แค่เพื่อตัวเราเอง แต่เป็นเพื่อสังคมทั้งหมด อัด-อวัช รัตนปิณฑะ หนึ่งนักแสดงหนุ่มรุ่นใหม่ที่เราเห็นเขาออกมาแสดงความคิดเห็น ตั้งคำถาม และอธิบายต่อปรากฏการณ์สังคมที่ส่งผลกระทบต่อสาธารณะอย่างสม่ำเสมอ ท่ามกลางคนรอบข้างที่บอกว่าไม่ควรยุ่งเกี่ยวเรื่องการเมือง เสียงของอวัชจึงยิ่งดังและสร้างการเปลี่ยนแปลงให้คนรุ่นใหม่ๆ ได้ตระหนักในสิทธิพลเมืองที่เรามีกันอยู่ในตัวทุกคนไม่น้อย ถ้าใครติดตามอวัช เขายังมีโปรเจกต์ส่วนตัวที่สื่อสารเรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติทางทะเลในเพจ Save Thailay และเร็วๆ นี้เขาเพิ่งไปร่วมโปรเจกต์ให้ความรู้แก่เยาวชนเกี่ยวกับขยะทะเลกับเครือข่ายคนรักทะเล Sustainable Ocean Alliance Thailand (SOA Thailand) เป็นอีกพาร์ทหนึ่งที่เขาตั้งใจและจริงจังกับมันไม่แพ้งานในวงการบันเทิง ระหว่างที่คุยกัน อวัชย้ำตลอดว่าการที่เขาออกมาพูดและตั้งคำถามกับปรากฎการณ์ผิดปกติในสังคม ไม่ใช่ในฐานะคนผู้มีชื่อเสียง แต่คือการใช้สิทธิในฐานะพลเมืองคนหนึ่งที่ใครๆ ก็ทำได้ปกติโดยไม่มีพริวิเลจใดเหนือกว่ากัน ชวนอ่านบทสนทนาระหว่างเรากับอวัชข้างล่างนี้ แล้วมาทำให้เมืองที่ทุกคนใช้สิทธิพลเมืองอย่างเต็มที่ไม่ใช่แค่ภาพมายา จุดเริ่มต้นของการสื่อสารสาธารณะในประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมคืออะไร จุดเริ่มต้นเกิดจากผมชอบเที่ยวธรรมชาติอยู่แล้วและชอบดำน้ำมากๆ ทุกครั้งที่ไปทะเลเราจะได้พลังอะไรกลับมาเสมอ ผมก็เที่ยวแบบนี้มาตลอดโดยไม่ได้คิดเลยว่าผลกระทบที่มีต่อทะเลมีมากขึ้น หลังเรียนจบ ช่วงนั้นเราก็ไปดำน้ำบ่อยขึ้น เริ่มเห็นข่าวเยอะขึ้นและเจอขยะที่หาดกับตัวเองมากขึ้นด้วย ก็เริ่มกระตุกเราว่าที่ผ่านมาเราไม่เคยทำอะไรตอบแทนธรรมชาติเลย เราเอาแต่ take จากเขาอย่างเดียว  ตอนนั้นผมเริ่มคิดจากว่าเราควรพูดประเด็นไหนที่คนธรรมดาสามารถทำได้เลย เรามีคนติดตามอยู่ประมาณหนึ่ง อย่างน้อยถ้าเราได้พูดเรื่องนี้ออกไปในแพลตฟอร์มของเรา ก็อาจจะเป็นส่วนหนึ่งให้คนเริ่มหันมาตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ผมรู้สึกว่ามีอีกหลายคนที่ยังไม่เห็นปัญหาหรือยังไม่รู้เรื่องนี้ เลยเป็นจุดเริ่มต้นที่เริ่มทำเพจ […]

คุยเรื่อง เมืองไม่น่าอยู่อาจไม่เพียงพอ แต่ต้องอยู่รอดจากโลกร้อนด้วย

23/02/2022

‘เมือง’ เป็นบ้านของผู้คนนับล้านคน  การกิน การอยู่ การใช้ ล้วนมีส่วนต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศโลกที่นำมาสู่วิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือภาวะโลกร้อน วาระเร่งด่วนของมนุษยชาติ นักวิทยาศาสตร์ต่างชี้ไปในทิศทางเดียวกันว่า ‘มนุษย์อาจรอดจากโควิด-19 แต่ไม่รอดจากโลกร้อน’ และโควิด-19 ฉายตัวอย่างให้เห็นแล้วว่าเมืองเปราะบางได้ขนาดไหนเมื่อเจอกับวิกฤตไม่คาดฝัน เมื่อทศวรรษหน้าบ้านของผู้คนหลายล้านคนในเขตเมืองทั่วโลกมีแนวโน้มจะจมอยู่ใต้น้ำ กรุงเทพฯ หนึ่งในเมืองติดโผ พร้อมรับมือขนาดไหนต่อประเด็นนี้  The Urbanis ชวน ‘พรหม’-พรพรหม วิกิตเศรษฐ์ ที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อมแห่ง UN Environment Programme (UNEP) และอาจารย์ด้านการพัฒนายั่งยืน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มามองประเด็นนี้ร่วมกัน พร้อมร่วมเสนอแนะหาแนวทางที่เหมาะสมสำหรับกรุงเทพฯ ในการพัฒนาเมืองให้ไม่เพียง ‘น่าอยู่’ แต่ต้อง ‘อยู่รอด’ ด้วย  หลากเมืองใหญ่ สะท้อนกรุงเทพฯ ชีวิตที่โลดแล่นไปหลายเมืองใหญ่ผ่านการเรียนปริญญาตรีด้านรัฐศาสตร์และการต่างประเทศ จาก King’s College London ประเทศอังกฤษ และปริญญาโทด้านนโยบายพลังงานเเละสิ่งแวดล้อมต่อที่ New York University ซึ่งต่อยอดมาจากประสบการณ์ทำงานเป็นผู้ช่วย ไมค์ ฮนดะ (Mike Honda) ส.ส.รัฐแคลิฟอร์เนียขณะนั้น […]

รศ.ดร.วีระศักดิ์ เครือเทพ: เลือกตั้ง อบต. ครั้งแรกในรอบ 8 ปี สะท้อนอะไรต่อการพัฒนาเมือง

26/11/2021

วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน 2564 นับเป็นอีกหน้าประวัติศาสตร์ที่สำคัญของการเลือกตั้งท้องถิ่นของประเทศไทย เนื่องจากเป็นวันเลือกตั้ง นายกองค์การบริหารส่วนตำบล หรือ นายก อบต. ครั้งแรกในรอบ 8 ปี แน่นอนว่า 8 ปีก่อน กับ วันนี้ บ้านเมืองเรามีพลวัตและเปลี่ยนแปลงไปหลายมิติ The Urbanis ชวน รองศาสตราจารย์ ดร.วีระศักดิ์ เครือเทพ อาจารย์ประจำภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมนวัตกรรมและธรรมาภิบาลท้องถิ่น ตอกย้ำถึงความสำคัญของ อบต. กับการพัฒนาประเทศในภาพรวม, การกระจายอำนาจ, อำนาจที่ยังไม่ได้ถูกปลดล็อค, ภาคพลเมืองเข้มแข็งกับการตรวจสอบ และ มายาคติว่าด้วยการเมืองท้องถิ่นกับคอร์รัปชัน ความน่าสนใจของการเลือกตั้ง อบต. ครั้งแรกในรอบ 8 ปี  ผมคิดว่ามีความแตกต่างที่น่าสนใจ 2-3 ประเด็น ประการที่หนึ่งแน่นอนเลยไม่พูดคงไม่ได้ คือโดยปกติ การเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นจะเกิดขึ้นทุกๆ 4 ปี แต่ด้วยเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงของบ้านเมือง ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่าสภาวะการสะดุดหรือว่าหยุดลงของการเลือกตั้งท้องถิ่นมาเป็นเวลาหลายปี แล้วจึงเพิ่งมีการปลดล็อกเมื่อประมาณปีเศษๆ ที่ผ่านมา […]

อ.ชัยวุฒิ ตันไชย: อย่าให้เมืองแห่งการเรียนรู้เป็นแค่อีก buzzword ที่เราใช้แล้วทิ้ง

19/11/2021

สัมภาษณ์โดย ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ปัญหาของการสร้างเมืองแห่งการเรียนรู้ในไทยจากมุมมองของอาจารย์ชัยวุฒิ ตันไชย อาจารย์ชัยวุฒิ ตันไชย นักวิชาการอิสระที่มีประสบการณ์ทำงานกับหลายหน่วยงานผ่านการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการ และการขับเคลื่อนด้านนโยบายเกี่ยวกับการส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ในฐานแนวคิด และ “กระแส” ที่อาจารย์นิยามว่ามันเป็น buzzword หรือ วาทกรรมที่สวยหรูอยู่หลายๆ ได้เล่าประสบการณ์ของตนเองที่ได้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำแนวความคิดเรื่องเมืองแห่งการจัดการการศึกษาและการสร้าง Learning Ecosystem ในระดับเมือง ผ่านการทำเรื่องเมืองอัจฉริยะ (Smart City) เนื่องจากว่าหากมองลงไปลึก ๆ เกี่ยวกับเมืองอัจฉริยะก็จะพบว่า ในหลายๆ เมืองอัจฉริยะทั่วโลก มีมิติของการศึกษาและการเรียนอยู่มาก อาจารย์เลยได้ไปสังเกตการณ์ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในหลายประเทศ ต่อมาอาจารย์มีโอกาสได้เริ่มคุยกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)  เกี่ยวกับการนำเมืองแห่งการเรียนรู้มาใช้ในบริบทของประเทศไทย ว่ามีความเป็นไปได้หรือไม่ และถ้าจะนำมาใช้จำเป็นต้องสร้างกระบวนการในการปริวรรตแนวคิดอย่างไร อาจารย์เลยได้ไปศึกษาและพบว่าหน่วยงานที่นำแนวความคิดเกี่ยวกับการสร้างเมืองแห่งการเรียนรู้เข้ามาใช้ในไทยมี 3 หน่วยงาน คือ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (บพท.)  สำนักงานหน่วยนโยบายการศึกษา สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ และกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ที่เพิ่งนำเข้ามาใช้เมื่อปีที่แล้ว และที่สำคัญคือท่านมีความเห็นว่า เมืองแห่งการเรียนรู้ยังเป็นไปได้ยากที่จะสามารถนำมาปรับใช้กับประเทศไทยได้ เนื่องจากเหตุผลหลัก […]

MOOC โอกาสใหม่ในการส่งต่อองค์ความรู้ของเมืองด้วยเทคโนโลยี

03/11/2021

สัมภาษณ์โดย ผศ.คมกริช ธนะเพทย์ คุณอดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ และคณะ การเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการสร้างองค์ความรู้ให้ฝังในตัวคน และในสังคม เป็นองค์ประกอบที่สำคัญไม่แพ้ไปจากการศึกษาในระบบ การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นส่วนหนึ่งที่ระบบการศึกษาสมัยใหม่ยึดถือและมุ่งเน้นทำโดยกว้างขวางอยู่แล้ว ไม่ว่าจะผ่านการจัดกิจกรรม ผ่านพื้นที่เปิดสำหรับการเรียนรู้ หรือการศึกษาเฉพาะด้านที่เปิดให้ผู้สนใจทุกคนสามารถเข้ามาเรียนได้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คมกริช ธนะเพทย์ ประธานหลักสูตรสถาปัตยกรรมผังเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมด้วย คุณอดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ คุณธนพร โอวาทวรวรัญญู คุณมัชชุชาดา เดชาคณีวงศ์ สนทนากับศาสตรจารย์ ดร.จินตวีร์ คล้ายสังข์ ศาสตราจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เกี่ยวกับระบบ MOOC ที่จะส่งเสริมให้การเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นสิ่งใกล้ตัวทุกคนมากขึ้นกว่าที่เคย ส่งเสริมให้องค์ความรู้ทุก ๆ เรื่องถูกส่งต่อได้อย่างกว้างไกล และคงอยู่ต่อไปคู่กับสังคม รู้จักกับ MOOC MOOC เรียกเต็ม ๆ ได้ว่า Massive Open Online Course เป็นระบบสำหรับการเรียนการสอนทางออนไลน์ ที่เป็นเสมือนพื้นที่ให้ผู้ที่มีความรู้ความสามารถนำวิชา หรือหลักสูตรที่ตนสอนมาวางไว้ เพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถมาเลือกหยิบไปเรียนรู้ได้ การเรียนรู้จะเกิดขึ้นผ่านทางสื่อที่สามารถใช้งานทางออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นวิดีโอ อินโฟกราฟิก […]

โจทย์ 4 ข้อ สู่การสร้างเมืองบนฐานความรู้ จากมุมมองจากนักสังคมศาสตร์ อนรรฆ พิทักษ์ธานิน

12/10/2021

สัมภาษณ์โดย ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) เมื่อนิยามเมืองแห่งการเรียนรู้ไม่ใช่แค่การสร้างห้องสมุดหรือการพัฒนาการศึกษาในระบบ แต่ยังหมายถึงบริบทที่เกี่ยวข้องกับผู้คนและการจัดการองค์ความรู้ของเมือง ดังนั้น มุมมองทางสังคมศาสตร์จึงเป็นมุมมองที่สำคัญของการพัฒนาเมืองบนฐานความรู้ (knowledge-based city making) ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ได้รับเกียรติจาก อ.อนรรฆ พิทักษ์ธานิน นักวิจัยศูนย์แม่โขงศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ผู้จัดการแผนงานสนับสนุนองค์ความรู้ฯ คนไร้บ้านและคนจนเมือง สสส. ให้สัมภาษณ์ ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) เสนอโจทย์ 4 ข้อของการพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้ในประเทศไทยจากการนำองค์ความรู้ของผู้คนมาพัฒนาเมือง  โจทย์ที่ 1: การสร้าง common place and sense of common โจทย์ใหญ่ของการสร้างเมืองแห่งการเรียนรู้ในไทยคือการมีพื้นที่ส่วนรวม ในหลายประเทศแถบยุโรปจะมีจัตุรัสตามเมืองต่าง ๆ มากมาย ผมเลยเกิดคำถามที่ว่า ที่ดินของจัตุรัสเหล่านี้นั้นเป็นของใคร ใครเป็นผู้ถือโฉนด ผมได้คำตอบว่าพื้นที่ดินของจัตุรัสนี้เป็นของเมือง ไม่ใช่ของรัฐ ซึ่งผมว่าการที่ประชาชนมีสิทธิในการถือครองทรัพย์สินส่วนกลางมันทำให้คนในเมืองเขามีความรู้สึกของพื้นที่ส่วนรวมหรือความเป็นส่วนรวมของเมือง  เมื่อกลับมามองที่ประเทศไทย พบว่าเรายังไม่มีพื้นที่เหล่านี้ ซึ่งผมมองว่าเมืองแห่งการเรียนรู้จะประสบความสำเร็จได้ ส่วนหนึ่งจะต้องมีการสร้าง […]

We!Park แพลตฟอร์มสร้างพื้นที่สาธารณะที่กระตุ้นให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม

08/10/2021

สัมภาษณ์โดย อดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ รองผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) พื้นที่สาธารณะในประเทศไทย มีไม่พอ และ ที่พอมีก็ดีไม่พอ ไม่ว่าจะวัดด้วยประสบการณ์ตรงจากประชาชนผู้ใช้พื้นที่จริง หรือจะเปรียบเทียบกับหลักสากล วลีข้างต้นก็ยังคงเป็นข้อเท็จจริง ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเริ่มมีการพูดถึงการพัฒนาพื้นที่สาธารณะกันเป็นวงกว้างมากขึ้น หนึ่งในผู้ที่ปลุกปั้นและขับเคลื่อนประเด็นนี้อย่างต่อเนื่องคือบริษัท ฉมา จำกัด ที่มี ยศ-ยศพล บุญสม เป็นหนึ่งในหัวเรือใหญ่ ฉมาเองทำงานสองขา ขาหนึ่งเป็นบริษัทภูมิสถาปนิกรับออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีให้อาคารและโครงการต่าง ๆ อีกขาหนึ่ง ฉมาโซเอ็น บริษัทที่ใช้องค์ความรู้ด้านภูมิสถาปัตยกรรมเช่นกัน แต่มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาพื้นที่สาธารณะโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมที่ใส่มิติด้านสังคมเข้าไปในตัวงานเสมอ ล่าสุด ยศ ได้ริเริ่ม We!Park โครงการทดลองเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับเมือง โดยต่อยอดจากองค์ความรู้และเครือข่ายที่ยศและทีมสะสมมาตลอดชีวิตการทำงาน We!Park มีรากฐานว่าจะสร้างพื้นที่สาธารณะจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่หลากหลาย วางตัวเองเป็นน้ำมันหล่อลื่นที่จะทำให้ทั้งรัฐ เอกชน คนในพื้นที่ รวมถึงคนทั่วๆ ไปที่มีทรัพยากรหลากหลายรูปแบบในมือมาเจอกัน และกระตุ้นให้ได้พื้นที่สาธารณะหนึ่งๆ เกิดขึ้นจริง โอกาสนี้ ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) และ The Urbanis จึงชวนยศมาพูดคุยว่า We!Park ใช้เครื่องมือแบบใดในการสรรสร้างพื้นที่สาธารณะ องค์ความรู้แบบไหนที่นำมาปรับใช้ และบทเรียนแบบไหนที่ยศได้จากงานครั้งนี้ We!Park มีจุดเด่นอย่างไร […]

อธิปัตย์ บำรุง: การกระจายอำนาจ และ การบริหารท้องถิ่น เครื่องมือเปลี่ยนท้องถิ่นสู่เมืองแห่งการเรียนรู้

30/09/2021

สัมภาษณ์โดย ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) หากพูดถึงการส่งเสริมการเรียนรู้ในประเทศไทย หน่วยงานที่มีบทบาทโดดเด่นหน่วยงานหนึ่งต้องยกให้ สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) หรือ OKMD ผู้ผลักดันให้เกิดแหล่งเรียนรู้รูปแบบใหม่อย่าง มิวเซียมสยาม และอุทยานการเรียนรู้ (TK Park) ห้องสมุดและพื้นที่จัดกิจกรรมภายในศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ก่อนกระจายไปสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ทั่วประเทศในเวลาต่อมา ภารกิจตลอดระยะเวลา 15 ปีของ OKMD ในการสร้างแหล่งเรียนรู้ พบปัญหาและอุปสรรคหลายประการ อาทิ กฎหมายและกฎระเบียบที่ตีกรอบให้ท้องถิ่นไม่สามารถพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ตลอดจนปัญหาด้านงบประมาณและการบริหารจัดการท้องถิ่น ดร.อธิปัตย์ บำรุง ผู้อำนวยการ OKMD ได้ถ่ายทอดประสบการณ์การสร้างเมืองแห่งการเรียนรู้ในประเทศไทย แก่ ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) เมืองที่มีศักยภาพเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ในประเทศไทย ตามมุมมอง OKMD ขอแยกกรุงเทพฯออกไปก่อน เนื่องจากมีเงื่อนไขที่ค่อนข้างพิเศษมาก จึงขอเปรียบเทียบท้องถิ่นกับท้องถิ่น ยกตัวอย่างโครงการที่ OKMD โดย TK Park (อุทยานการเรียนรู้) เข้าไปดำเนินการในพื้นที่ต่างจังหวัด เช่น ยะลา ความโดดเด่นที่พบคือผู้นำเทศบาล หรือ ท่านนายกเทศมนตรีนครยะลามีบทบาทสูงมาก […]

“เพราะเรารอต่อไปไม่ได้อีกแล้ว” ขอนแก่นพัฒนาเมือง บริษัทเอกชนที่ลุกขึ้นเปลี่ยนโฉมบ้านเกิด

27/09/2021

สัมภาษณ์โดย ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) รถไฟฟ้ารางเบาขอนแก่น เป็นหนึ่งในโครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางโครงการแรกๆ  ในประวัติศาสตร์ไทย ที่ไม่ได้ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ไม่เพียงเท่านั้น โครงการนี้ยังมีชื่อเสียง อย่างมาก ในแง่ที่เป็นการร่วมลงทุนของภาคเอกชน โดยไม่ต้องรองบประมาณจากภาครัฐอีกด้วย โครงการที่โดดเด่นและเต็มไปด้วยความหวังนี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไร อะไรที่ทำให้โครงการชะลอมาแสนนาน และอะไรที่แสดงว่าการพัฒนาท้องถิ่นตาม “ขอนแก่นโมเดล” นี้ ยังคงเต็มไปด้วยความหวังเพื่ออนาคตของเมือง ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ได้พูดคุยกับ คุณสุรเดช ทวีแสงสกุลไทย ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท ขอนแก่นพัฒนาเมือง (เคเคทีที) จำกัด ผู้มีส่วนสำคัญในการผลักดันโครงการรถไฟฟ้านี้มาตั้งแต่ปี 2558 ที่จะมาไขข้อสงสัยเกี่ยวกับการพัฒนาในขอนแก่น และแบ่งปันบทเรียนให้กับนักพัฒนาท้องถิ่นที่อื่นๆ ในประเทศไทย   อะไรบันดาลใจ และอยากเห็นอะไรในขอนแก่น คุณสุรเดชชี้ให้เห็นปัญหาการพัฒนาในโครงสร้างแบบเดิมๆ ในประเทศไทยทันทีที่ถามถึงประเด็นนี้ กล่าวว่าโครงสร้างแบบเดิมนั้นไม่ค่อยมีกลุ่มในพื้นที่เข้ามาลงมือพัฒนาเมือง และภูมิภาคของตนมากเท่าใดนัก ลักษณะเช่นนี้ทำให้หน้าที่หลักตกไปอยู่ในมือของภาครัฐ กลายเป็นว่างานพัฒนาหลายๆ อย่างมักจะถูก “ทำให้จบๆ ไป” การถูกกดทับด้วยโครงสร้างอำนาจต่อกันลงมาเป็นทอดจากส่วนกลาง มากกว่าจากท้องถิ่น อาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาในการทำงานของหน่วยงานรัฐในภูมิภาคเช่นนี้ด้วย หากมองดูจากชื่อเต็มของ KKTT หรือคือ Khon Kaen […]

1 2 3 4 9