Life



เป็นอยู่ เรียนรู้ และมีสุขอย่างคนญี่ปุ่น : ไขข้อสงสัยเกี่ยวกับสังคมแห่งความรู้ กับ ผศ.ดร.ณัฐพงศ์ พันธ์น้อย

14/09/2021

สัมภาษณ์โดย ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) การพัฒนาเมืองบนฐานความรู้เป็นสิ่งที่กำลังส่อเค้าจะเกิดขึ้นในประเทศไทยในปัจจุบัน องค์ความรู้ ภูมิปัญญาจากชุมชนหลายแห่งกำลังถูกรวบรวม เพื่อสร้างขึ้นเป็นโครงข่ายที่สนับสนุนการเรียนรู้นอกระบบ  แต่กระนั้น สิ่งเหล่านี้อาจไม่ใช่สิ่งใหม่นักในประเทศญี่ปุ่น ที่แนวคิดของ Living Museum แนวคิดที่ให้ความสำคัญกับการรู้จักวิถีชีวิตของท้องถิ่นอย่างถ่องแท้ เป็นสิ่งที่อยู่คู่สังคมมาหลายทศวรรษ ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) และ The Urbanis ได้พูดคุยกับ ผศ.ดร.ณัฐพงศ์ พันธ์น้อย อาจารย์ประจำภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักเรียนเก่าในสาขา Urban Engineering จากมหาวิทยาลัยโตเกียว เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับสภาวะ และความเป็นมาของการสร้างและพัฒนาสังคมเมืองแห่งการเรียนรู้ของประเทศญี่ปุ่น ที่เป็นรากฐานของความเจริญทางวัฒนธรรมแบบญี่ปุ่นๆ อย่างที่เราเห็นกันทุกวันนี้ รากฐานจากเอโดะ: เพราะการเรียนรู้อยู่คู่สังคมมานานแล้ว ก่อนที่เราจะพูดถึงนโยบายการจัดการเมืองในโลกปัจจุบัน เราต้องเข้าใจบริบทของสังคมเมืองในประเทศญี่ปุ่นเสียก่อน ความเป็นเมืองในญี่ปุ่นเริ่มเกิดขึ้นอย่างเข้มข้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 ในเมืองเอโดะ ซึ่งในช่วงเวลาหนึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลก เมืองแห่งนี้รวมผู้คนมากมายเข้ามาอยู่เป็นสังคมใหญ่อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน การรวมกลุ่มทางสังคมนี้ เช่นเดียวกับมหานครสมัยใหม่ในโลกปัจจุบัน ทำให้เกิดปัญหาที่ซับซ้อนมากขึ้น และเกิดความมั่งคั่งที่มากขึ้นเช่นกัน    ปัญหาและความมั่งคั่งในเอโดะนี้เอง ที่ขับเคลื่อนความสงสัยใคร่รู้ของสังคมญี่ปุ่น เป็นรากฐานของการส่งเสริมการเรียนรู้มาจนถึงทุกวันนี้ 2 ประการด้วยกัน คือ ความมั่นคงทางสังคมและอิสระทางการแข่งขัน […]

20 ปี สสส. กับ ภารกิจจัดการองค์ความรู้และสร้างเครือข่ายส่งเสริมสุขภาวะเมือง

30/08/2021

สัมภาษณ์โดย ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ชีวิตและสุขภาวะของผู้คนในเมืองต้องดีขึ้นได้ แนวคิดนี้ถูกส่งต่อผ่านการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือที่คุ้นหูกันว่า สสส. แม้ สสส. จะไม่ได้มีความเชี่ยวชาญหลักในประเด็นเมืองและการพัฒนาพื้นที่สาธารณะ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า สสส. คือหน่วยงานสำคัญที่สนับสนุนให้ภาคประชาสังคมต่างๆ ได้ขับเคลื่อนงาน สร้างองค์ความรู้เชิงวิชาการ รวมถึงทำโครงการทดลองมากมายที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาวะดีขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลักขององค์กร นอกจากนี้ ปีนี้ยังเป็นปีที่ สสส. ครบรอบ 20 ปี นับตั้งแต่ปี 2544 ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่เกิดขึ้นในสังคมไทยจากความคิดริเริ่มโครงการ สนับสนุน และผลักดัน ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) และ The Urbanis ใช้โอกาสนี้พูดคุยกับดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุน สสส. และรักษาการผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ เพื่อเรียนรู้แนวทางการจัดการข้อมูลเกี่ยวกับเมืองสุขภาวะ รวมถึงการร่วมผลักดันให้นโยบายเมืองสุขภาวะเกิดขึ้นจริง ในฐานะที่เป็นผู้สนับสนุนประเด็นนี้อย่างต่อเนื่อง สสส.มีข้อมูลความรู้เมืองสุขภาวะในมือแบบไหนบ้าง ในภาพรวม สสส. ปัจจุบันน่าจะแบ่งได้เป็น 3 แบบ หนึ่งคือข้อมูลดาต้า ที่เป็นฐานข้อมูลที่ต้องนำไปวิเคราะห์ก่อนนำใช้ เช่น ข้อมูลเมืองเดินได้เดินดีของ UddC ข้อมูลส่วนที่สองคือข้อมูลต้นแบบพื้นที่ซึ่งอันนี้ภาคีเครือข่ายดำเนินการไว้เยอะและมีความหลากหลายในแต่ละบริบท […]

ฟื้นฟูย่านเมืองเก่าไชน่าทาวน์ให้ตอบโจทย์คนหลายรุ่นโดย จุฤทธิ์ กังวานภูมิ จากกลุ่มปั้นเมือง

25/08/2021

สัมภาษณ์โดย อดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ เรียบเรียงโดย สรวิชญ์ อังศุธาร, ภาณุพันธ์ วีรวภูษิต หากพูดถึงย่านในกรุงเทพมหานครที่แสนเก่าแก่แต่เก๋าพอให้คนรุ่นใหม่นึกถึง เชื่อได้ว่าหนึ่งในคำตอบต้องมีย่านตลาดน้อย-ไชน่าทาวน์อยู่ในนั้น เพราะย่านนี้มีเอกลักษณ์ชัดเจน ผู้คนส่วนใหญ่มีเชื้อสายจีน ชุมชนและตึกรามบ้านช่องที่ยังคงกลิ่นอายดั้งเดิมไว้มาก ขณะเดียวกันมีองค์ประกอบของศิลปะ งานสื่อสารสมัยใหม่ และพื้นที่การเรียนรู้แทรกอยู่เป็นจังหวะ  โจ-จุฤทธิ์ กังวานภูมิ ผู้ที่มีสวมหมวกหลายใบ เป็นทั้งคนในพื้นที่ เป็นนักวิชาชีพด้านสถาปนิกชุมชน และ เป็นประธานชุมชน คือหนึ่งในคนสำคัญที่ช่วยกระตุ้นให้ย่านนี้มีพลวัตที่น่าสนใจตลอดทศวรรษที่ผ่านมา โจขับเคลื่อนบ้านเกิดผ่านกลุ่มฟื้นฟูเมืองที่ชื่อ ปั้นเมือง แม้พื้นที่ทำงานหลักของปั้นเมืองจะอยู่ในโซนตลาดน้อย แต่เป้าหมายของทีมปั้นเมืองมองครอบคลุมทั้งย่านไชน่าทาวน์ การทำงานฟื้นฟูเมืองในย่านชุมชนเก่าที่ค่อนข้างแข็งตัวมีโจทย์เฉพาะแบบไหน ทีมปั้นเมืองเข้าหาชุมชนด้วยวิธีการใด ก้าวต่อไปของพื้นที่นี้ขึ้นอยู่กับอะไรบ้าง ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) และ The Urbanis พูดคุยกับโจเพื่อหาคำตอบ ย้อนกลับไปที่จุดเริ่มต้น ปั้นเมือง มีที่มาที่ไปอย่างไร            พวกเราเป็นกลุ่มสถาปนิกและนักสังคมศาสตร์ที่มีความสนใจและเป้าหมายคล้ายๆ กัน โดยเฉพาะในเรื่องการฟื้นฟูเมือง ก่อนหน้านี้พวกเราเคยทำงานด้วยกันมาประมาณสัก 9-10 ปีแล้วจึงตัดสินใจตั้งเป็นกลุ่มปั้นเมืองได้ 6-7 ปี  เราเริ่มต้นจากการทำโปรเจกต์ย่านไชน่าทาวน์ แม้ตอนแรกจะไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจนในแต่ละด้าน นอกจากความเชื่อที่ว่า ถ้าย่านนี้จะต้องฟื้นฟู ก็ควรจะมาจากการมีส่วนร่วมของชุมชน เพราะเราเริ่มเห็นประเด็นปัญหาเรื่องของเมืองที่กำลังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง คนที่เติบโตมาในเมืองรุ่นหลังย้ายออกจากเมืองไปอยู่ตามย่านชานเมืองมากขึ้น […]

สนทนากับ อรรถ บุนนาค ย้อนวัฒนธรรมการเรียนรู้ญี่ปุ่น กับบทบาทโรงเรียนเชื่อมร้อยครอบครัวและชุมชน

23/08/2021

สัมภาษณ์โดย ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล เรียบเรียงโดย ชยากรณ์ กำโชค, สรวิชญ์ อังศุธาร สูญสิ้นความเป็นคน, เมียชายชั่ว, อาทิตย์สิ้นแสง ฯลฯ คือตัวอย่างวรรณกรรมคลาสสิกของญี่ปุ่นที่ได้รับการแปลเป็นภาษาไทยอย่างยอดเยี่ยมโดยสำนักพิมพ์ JLIT โดยมี อรรถ บุนนาค เป็นผู้ก่อตั้ง บรรณาธิการ ลงมือแปลด้วยตัวเอง หลายคนอาจคุ้นเคยคุณอรรถจากบทบาทอดีตพิธีกรร่วมในรายการ “คิดเล่นเห็นต่าง” ทางวอยซ์ทีวีเมื่อเกือบ 10 ปีก่อน เช่นเดียวกับบทบาทผู้รักการอ่านและผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรมญี่ปุ่น ย้อนไปเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2560 ดิฉันได้รับเชิญจากสำนักพิมพ์ JLIT ร่วมงานเสวนาเปิดตัวหนังสือ ซันชิโร ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซันชิโรเป็นผลงานชิ้นโบว์แดงของโซเซกิ ว่าด้วยเรื่องคู่ขัดแย้ง เมือง-ชนบท ความขัดแย้งทางจิตใจ และคุณค่าความเป็นมนุษย์ งานนี้ทำให้ดิฉันทราบว่านอกจากความเชี่ยวชาญด้านวรรณกรรม วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นแล้ว คุณอรรถยังเป็นผู้สนใจและเชี่ยวชาญเรื่องเมืองอีกด้วย ในฐานะหัวหน้าโครงการอนาคตเมืองแห่งการเรียนรู้ (The Future of Learning City) ดิฉันจึงขอความกรุณาจากคุณอรรถในการถ่ายทอดองค์ความรู้ของญี่ปุ่น เพื่อหาคำตอบว่าเพราะเหตุใด ญี่ปุ่นจึงมีวัฒนธรรมของการเรียนรู้ที่เข้มข้น และจัดการองค์ความรู้อย่างไรให้เกิดประโยชน์ต่อการฟื้นฟูเมือง ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมอะไรที่ทำให้คนแปรความรู้เป็นสินทรัพย์และพัฒนาให้เกิดผลผลิตทางเศรษฐกิจได้ บางคนบอกว่าสังคมไทยกับสังคมญี่ปุ่นคล้ายกัน […]

เบื้องหลังการพัฒนาชุมชนเชิงทดลองสุดสร้างสรรค์กับ ผศ.ดร.สุพิชชา โตวิวิชญ์

11/08/2021

สัมภาษณ์โดย ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล เรียบเรียงโดย ชยากรณ์ กำโชค, สรวิชญ์ อังศุธาร, ภาณุพันธ์ วีรวภูษิต งานพัฒนาฟื้นฟูชุมชน เป็นตัวอย่างงานออกแบบทางสถาปัตยกรรมที่เราเห็นกันได้บ่อยๆ โดยเฉพาะในชุมชนเล็กๆ ที่มักมีคนนอกพื้นที่เข้าไปช่วยปรับปรุงให้สวยงามน่ามอง แต่บ่อยครั้ง สิ่งที่ตามมามักเป็นประเด็นถกเถียงระหว่างคนนอก ตั้งแต่สถาปนิก นักผังเมือง นักออกแบบ กับ ‘คนในพื้นที่ผู้อยู่อาศัย’ ที่ตั้งคำถามกับงานที่ไม่ได้ช่วยแก้ไขปัญหาใดๆ ให้ชุมชน ซ้ำยังอาจเข้าไปเปลี่ยนวิถีชีวิตเดิมให้เสน่ห์สูญหายไป ทำให้งานพัฒนาชุมชนเป็นงานที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องไม่เพียงต้องใช้ทักษะในการออกแบบเท่านั้น แต่ต้องเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์และเข้าใจสิ่งที่ชุมชนต้องการอย่างแท้จริง ซึ่งเป็นทักษะที่อาศัยองค์ความรู้ร่วมกันระหว่างคนนอกและคนในพื้นที่ไม่น้อยเลย อาจารย์หน่อง-ผศ.ดร.สุพิชชา โตวิวิชญ์ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร คือหนึ่งในสถาปนิกผู้คลุกคลีกับงานพัฒนาชุมชน และมักตั้งต้นโครงการฟื้นฟูย่านต่างๆ ในกรุงเทพฯ ในเชิงทดลองที่ไม่เหมือนใครออกมาอยู่เสมอ อย่างโครงการพัฒนาชุมชนคลองบางหลวง นิทรรศการ ‘New เวิร์ล โอล Town’ ที่ชุมชนบางลำพู หรือโครงการต่อยอดจากเพจ Humans of Flower Market ที่ชุมชนปากคลองตลาด สิ่งที่น่าสนใจในกระบวนการลงพื้นที่ของอาจารย์หน่องและคณะนักศึกษา ก็คือการฟังเสียงความต้องการของชุมชนและดึงชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ ผลลัพธ์ที่ได้จึงล้วนเป็นโครงการพัฒนาชุมชนที่น่าสนุก และเป็นปรากฏการณ์ที่ชักชวนให้คนสนใจทั้งในในโลกออนไลน์และออฟไลน์  โอกาสนี้ ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) […]

ชัยรัตน์ ถมยา : เคล็ดลับผู้ประกอบการญี่ปุ่น เมื่อธุรกิจต้องอยู่รอดและชุมชนต้องอยู่ด้วย

09/08/2021

สัมภาษณ์โดย ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) เรียบเรียงโดย ชยากรณ์ กำโชค, สรวิชญ์ อังศุธาร, ภาณุพันธ์ วีรวภูษิต หากใครติดตามข่าวสารต่างประเทศเป็นประจำ คงจะคุ้นกับชื่อ ชัยรัตน์ ถมยา กันบ้าง แต่สำหรับคนที่ไม่คุ้นนัก เราขอแนะนำสั้นๆ ว่าชัยรัตน์คือนักข่าวและผู้ประกาศข่าวต่างประเทศที่ลงพื้นที่รายงานข่าวได้น่าติดตามและจับประเด็นได้ลึกซึ้งเคยเป็นผู้ดำเนินรายการทันโลกกับ ชัยรัตน์ ถมยาทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ปัจจุบัน ชัยรัตน์เป็นเจ้าของเพจ ‘ย่อโลก’ ที่หยิบจับข่าวจากทุกมุมโลกมาเล่าอย่างสนุก ควบคู่ไปกับการเป็นที่ปรึกษาเพจข่าวออนไลน์ ‘The Opener’ นอกไปจากมุมมองต่อโลกกว้างซึ่งชัยรัตน์สะสมจากการคลุกคลีในวงการข่าวต่างประเทศมากว่า 20 ปี ตัวเขาเองยังเคยมีโอกาสไปศึกษาปริญญาตรีที่คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย Hitotsubashi กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประตูบานแรกให้เขาได้ออกไปสัมผัสวัฒนธรรมและความเป็นอยู่ของสังคมญี่ปุ่น ประเทศที่มีวัฒนธรรมการเรียนรู้แข็งแรงไม่แพ้ใครอย่างใกล้ชิด ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) และ The Urbanis เลยชวนชัยรัตน์มาพูดคุยเกี่ยวกับวัฒนธรรมการเรียนรู้ของญี่ปุ่นเฉพาะตัวที่สืบทอดกันมายาวนาน ยกตัวอย่างกรณีศึกษาผ่านผู้ประกอบการตัวเล็กๆ ที่หยิบเอาของดีและความรู้ที่มีในย่านมาใช้ฟื้นฟูชุมชนไปพร้อมกัน เพื่อร่วมกันถอดบทเรียนนี้ออกมาพัฒนาเมืองในบริบทสังคมไทยบนฐานขององค์ความรู้ต่อไป ในฐานะคนที่เคยไปอาศัยอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่นมา คุณคิดว่าอะไรคือวัฒนธรรมการเรียนรู้ที่เข้มแข็งของสังคมญี่ปุ่น จริงๆ แล้ว ตอนที่ไปเรียนยังไม่ค่อยได้สัมผัสเรื่องนี้มากนัก แต่ช่วงหลังที่ได้ไปเที่ยวเองบ่อยมากขึ้นในหลายจังหวัด ได้ดูรายการทีวีญี่ปุ่น […]

สัปเหร่อนอกสายตา เมรุแตก พิธีกรรมการจากลาที่หายไป ฯลฯ : บทสนทนาว่าด้วยโควิดกับการตายและการจัดการร่าง กับ รศ.ดร.ภาวิกา ศรีรัตนบัลล์

02/08/2021

ไอซียูใกล้แตก เมรุใกล้เต็ม คนวงการแพทย์ไม่ไหวจะแฉ ย่ำแย่มานาน แต่ไม่มีการแก้ไข (ผู้จัดการ, 24 มิ.ย. 64) อลหม่านงานศพตาวัย 85 พระกำลังสวดวงแตก เจ้าหน้าที่ขออายัดหลังพบติดโควิด (ไทยรัฐ, 5 ก.ค. 64) ศพโควิดล้น หลวงพี่ควบหน้าที่สัปเหร่อ สวดเองเผาเอง (อมรินทร์ทีวี, 14 ก.ค. 64) สลด! ดับ 3 ราย นอนตายข้างถนน-คาบ้าน รอ จนท. เก็บศพนานหลายชั่วโมง (กรุงเทพธุรกิจ, 21 ก.ค. 64) เผาจนเมรุถล่ม! วัดบางน้ำชนวอนบริจาคสร้างใหม่ (ทีเอ็นเอ็น24, 23 กรกฎาคม 64) บางส่วนของพาดหัวข่าวในช่วงการระบาดของโควิด-19 ระลอกปี 2564 ของประเทศไทย ที่สะท้อนให้เห็นผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ที่เชื่อมโยงกับความตายและเมือง ปฏิเสธไม่ได้ว่าในภาวะโรคระบาด ความตายได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของผู้คนอย่างยากจะหลีกเลี่ยง อย่างเช่นข้อมูลการเสียชีวิตจากโควิด-19 ที่กลายเป็นการเริ่มต้นบทสนทนาระหว่างครอบครัว เพื่อนฝูง และบุคคลใกล้ชิด เป็นโอกาสพิเศษอีกครั้งที่ […]

เปิดตำรา Better Bangkok กับ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ สร้างเมืองที่ดีกว่าจากโครงข่ายผู้คน องค์ความรู้ และความผูกพันด้วยการทำงาน ทำงาน ทำงาน

29/07/2021

สัมภาษณ์โดย ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) เรียบเรียงโดย ชยากรณ์ กำโชค / ณิชากร เรียงรุ่งโรจน์ ในระยะ 1-2 ปีที่ผ่านมา ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และรองศาสตราจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีบทบาทในด้านการพัฒนาเมืองผ่านการมีส่วนร่วมของผู้คนหลายภาคส่วน ด้วยการจัดตั้งกลุ่ม Better Bangkok โดยคิกออฟที่ชุมชนโรงหมู คลองเตย ไปเมื่อปลายปี 2562 ก่อนจะตะลุยพื้นที่ทั่วกรุงเทพฯ รับรู้ปัญหาและความต้องการของชุมชน ทั้งในเชิงคุณภาพชีวิตและด้านกายภาพ โดยเฉพาะในช่วงโควิด-19 ระบาดก็ได้เป็นหนึ่งในกลไกสำคัญที่จะนำอาหารและสิ่งจำเป็นที่ภาคเอกชน และกลุ่มต่างๆ ได้ร่วมสมทบไปแจกให้แก่ชุมชนต่างๆ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนที่เกิดขึ้น เป็นโอกาสพิเศษอีกครั้งที่อาจารย์ชัชชาติให้เกียรติศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) และ The Urbanis ถอดบทเรียนการทำงานของกลุ่ม Better Bangkok และ กลุ่มเพื่อนชัชชาติ ที่มีเป้าหมายสร้างเมืองที่ดีกว่าจากโครงข่ายผู้คนและองค์ความรู้ เชิญอ่านตำรา Better Bangkok ว่าด้วย จุดเริ่มต้นและโครงสร้างการทำงาน, โอกาส ปัญหา และอุปสรรค ในการผลักดันการพัฒนาเมืองบนฐานความรู้ของผู้คน, […]

ทำไมอยู่ในเมืองถึง “เปราะบาง” กว่าอยู่ในชนบท คุยปัญหาคนสูงอายุในวิกฤตโควิด-19 กับ ศ.ดร.วิพรรณ ประจวบเหมาะ

28/06/2021

หลายคนทราบดีว่ากลุ่มคนเปราะบาง เช่น คนพิการ คนไร้บ้าน คนสูงอายุ ฯลฯ เป็นผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 มากที่สุด ไม่ว่าผลกระทบด้านการทำงาน สุขภาพและปากท้อง และเชื่อหรือไม่ว่า คนสูงอายุที่อยู่อาศัยในเขตเมืองประสบปัญหามากกว่าผู้สูงอายุในเขตชนบท  การศึกษาผลกระทบของการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ต่อประชากรสูงอายุในประเทศไทย โดยวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA) พบข้อมูล อาทิ ผู้สูงอายุที่ทำแบบสำรวจประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจมากกว่าด้านสุขภาพ  1 ใน 3 ระบุว่ามีรายได้ไม่เพียงพอในช่วงวิกฤตโควิด-19 ขณะที่สัดส่วนผู้สูงอายุที่มีรายได้หลักจากการทำงานลดลงจาก 40% เหลือเพียง 22% จากผลการสำรวจผู้สูงอายุที่ทำงานพบว่า 81% เจออุปสรรคในการทำงานที่เป็นผลมาจากการระบาดใหญ่ของโควิค-19 และในสัดส่วนดังกล่าว 36% สูญเสียอาชีพ พื้นที่ค้าขาย หรือถูกปรับลดเงินเดือน นอกจากนี้ผู้สูงอายุยังมีรายได้จากการทำงานและดอกเบี้ยเงินออมลดลงในช่วงการระบาดใหญ่ของโควิด-19 อีกด้วย ในด้านสุขภาพร้อยละ 20 ของผู้สูงอายุระบุว่าตนเองมีอาการทางสุขภาพจิตอย่างน้อย 1 อาการเป็นบางครั้งหรือตลอดเวลา ได้แก้ วิตกกังวล ไม่อยากอาหาร เหงาและไม่มีความสุข สัดส่วนดังกล่าวทั้งหมดแตกต่างกันเล็กน้อยระหว่างผู้สูงอายุชายและหญิง แต่มีค่าสูงกว่าสำหรับผู้สูงอายุที่อยู่อาศัยในเขตเมืองเปรียบเทียบกับเขตชนบท นอกจากนี้ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตามลำพังมีแนวโน้มที่จะมีอาการเหงามากกว่าผู้สูงอายุที่มีลักษณะการอยู่อาศัยในรูปแบบอื่นๆ  ศาสตราจารย์ ดร. […]

THE POST-PANDEMIC CITY WE WANT เมืองแบบไหนที่ฉันอยากอยู่หลังโควิด

17/06/2021

เรียบเรียงจากเวที TEDxBangkok: ประเทศไทยในจินตนาการ นำเสนอโดย ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ร่วมด้วย คุณบรรยง พงษ์พานิช และคุณพิเชษฐ กลั่นชื่น เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2564 เพื่อชวนสังคมไทยระดมไอเดียหาทางออกหลังวิกฤตโควิด-19 ผ่านมุมมองเศรษฐกิจ ศิลปวัฒนธรรม และเมือง ขอพูดถึงสถานการณ์ปัญหา ก่อนพูดถึงความฝันหรือจินตนาการ ดังที่ นักวิชาการหลายท่านกล่าวว่า โควิด-19 เผยให้เห็นปัญหาของเมืองที่มีอยู่เดิมให้ปรากฏชัดขึ้น เช่น ดร. สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ได้ชี้ว่า ปัญหาการแพร่ระบาดในประเทศไทยมาจาก ความอปกติปัจจุบัน หรือ CURRENT ABNORMAL ของเมือง เช่น ปัญหาแรงงานต่างด้าว ปัญหาแรงงานนอกระบบ ปัญหาเศรษฐกิจที่ถูกเรียกว่า สีเทา ซึ่งแรงงานในภาคเหล่านี้มีจำนวนมหาศาล และล้วนเป็นแรงงานที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ขับเคลื่อนเมือง แต่เมืองทำเหมือนว่าไม่มีพวกเขาอยู่ เป็นกลุ่ม INVISIBLE คือ ไม่ถูกมองเห็น หรือแย่กว่านั้นคือกลุ่ม UNVISIBLE […]

1 2 3 4 5 9