Public Realm



ใครล้ำแดนใคร? รัฐศาสตร์ผังเมืองหรือผังเมืองในฐานะธรรมนูญการพัฒนา

15/02/2022

“ประเทศไม่ได้ Run ด้วยการด่านะ อย่าไปเข้าใจผิด ประเทศมัน Run ด้วยการติเพื่อก่อ” ในขณะที่วาทกรรม “ประเทศขับเคลื่อนด้วยการด่า” กำลังเป็นที่กล่าวขานถึงกันอย่างกว้างขวาง เหมือนว่า ผศ.ดร.ทวิดา กมลเวชช จะไม่เห็นด้วยเช่นนั้น อาจารย์ทวิดาให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับโครงสร้างอำนาจ โครงสร้างความรับผิดชอบ และบทบาทหน้าที่ของสมาชิกและองค์กรในสังคมเมือง โครงสร้างทางการเมืองเหล่านี้ประกอบกันขึ้นเป็นระบบที่คอยบริหารจัดการ พัฒนา และแก้ไขปัญหาในสังคม ในทำนองเดียวกันนั้น คำ “ติเพื่อก่อ” ที่ได้ถูกกล่าวขึ้นก็คือแนวทางการแก้ไข ที่ได้ถูกแบ่งปันและส่งต่อจากสมาชิกหนึ่งไปยังอีกสมาชิกหนึ่งในโครงสร้างทางการเมืองนั้นเอง ด้วยเหตุนี้ การพัฒนาเมืองไม่ใช่แค่การออกแบบ วางแผน วางผัง และการคิดเครื่องมือแก้ปัญหา แต่เป็นการทำงานที่ต้องอาศัยศาสตร์ของการเมืองการปกครอง อาศัยกลไกของอำนาจที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงขึ้นได้ในสังคม ในจุดนี้ “รัฐศาสตร์ผังเมือง” จะต้องเป็นอีกศาสตร์ที่เข้ามามีส่วนสำหรับการทำงานด้านการพัฒนาเมือง เข้ามาทำงานร่วมกับงานด้านผังเมืองในทุก ๆ ส่วน จึงจะเกิดเป็นการพัฒนาที่มีหลักการรองรับและสามารถนำออกไปใช้ได้ในโครงสร้างการปกครองจริงของรัฐ กล่าวคือเป็น “ธรรมนูญ” ของการพัฒนา ผศ.ดร.ทวิดา กมลเวชช ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการทำงานร่วมกันของรัฐศาสตร์และการผังเมืองอย่างรอบด้าน ในการบรรยายหัวข้อ “ใครล้ำแดนใคร? รัฐศาสตร์ผังเมืองหรือผังเมืองในฐานะธรรมนูญการพัฒนา” เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ.2564 โจทย์การพัฒนาแสนซับซ้อน ทำได้จริงหรือไม่ การพัฒนาเมืองในปัจจุบันมีแนวคิดและโจทย์ใหม่ […]

เธอ เขา เรา เมือง เมืองแบบไหนที่คนเมืองจะรัก?

14/02/2022

เมื่อความรักไม่ได้เกิดขึ้นได้แค่กับเธอ เขา เรา ฉัน แต่สามารถเกิดขึ้นได้กับเมืองที่เราอาศัยอยู่ทุกวันนี้ ความรักต่อเมืองจากชาวเมืองหรือพลเมืองนั้น ก็เหมือนกับที่คุณรักใครสักคน ไม่ว่าเกิดจากรักแรกพบ ใช้เวลาศึกษาดูใจ ชอบที่ภายนอก ชอบที่นิสัยใจคอ หรือแม้กระทั่งคลุมถุงชนอยู่ ๆ กันไปก็รักกันเอง ฯลฯ แล้วเมืองแบบไหนกันที่จะทำให้คุณตกหลุมรัก หวงแหน และรู้สึกเป็นเจ้าของร่วม? เมืองแบบไหนที่คนเมืองจะรัก? เป็นคำถามและโจทย์สำคัญของทั้งผู้นำเมือง นักผังเมือง นักออกแบบเมือง นักวิจัยสังคม ฯลฯ มาโดยตลอด ในการสร้างความสุขและความเป็นเจ้าของร่วมของพลเมือง ดึงดูดผู้คนจากภายนอกให้เข้ามาทำกิจกรรมในเมือง ให้เกิดพลวัตของเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงลดโอกาสการเกิดภาวะสมองไหล ย้ายเมืองย้ายประเทศ ที่จะส่งผลอย่างมากต่อสถานการณ์เศรษฐกิจสังคมของเมืองหรือประเทศ ซึ่งหากถามว่าเมืองแบบไหนที่จะทำให้พลเมืองรักได้นั้น เราก็คงหนีไม่พ้นแนวคิดเมืองน่าอยู่ เมืองสุขภาวะ เมืองสำหรับทุกคน การสร้างความเป็นสถานที่ ฯลฯ ที่พยายามให้แนวทางในการพัฒนาเมืองให้ผู้คนที่อยู่อาศัยมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความหลากหลายของกิจกรรม พื้นที่ ผู้คน และเศรษฐกิจ มีความปลอดภัยในการใช้ชีวิต ตลอดจนสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจต่างๆ จากพลเมืองและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน วันนี้เราเลยสรุปจากแนวคิดและข้อมูลต่างๆ ได้ออกมาเป็น 9 คุณลักษณะของเมือง ทั้งมิติกายภาพ เศรษฐกิจ และสังคม ที่จะทำให้คุณหรือชาวเมืองจะรัก หวงแหน และรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของร่วม […]

“ใครเคลื่อนเมือง?” เมกะโปรเจกต์กับบทบาทกำหนดทิศทางเมือง

11/02/2022

หลายคนคงอาจเคยได้ยินคำว่า “คนสร้างเมือง แล้วต่อไปเมืองจะสร้างคน” ของญาน เกห์ล แล้วเคยคิดหรือไม่ว่าถ้าเมืองมีส่วนในการสร้างคน แล้วคนสามารถสร้างและกำหนดทิศทางของเมืองได้จริงหรือ? มาทำความรู้จักกับโครงการเมกะโปรเจกต์ ในฐานะบทบาทสำคัญที่เปลี่ยนทิศทางของเมือง มันมีความสำคัญไม่เพียงแต่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเท่านั้น แต่ยังรวมถึงสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมภายในเมืองอีกด้วย ลักษณะของเมกะโปรเจกต์ คือ การลงทุนขนาดใหญ่และมีความซับซ้อน ใช้เงินลงทุนหลายพันล้าน และมีความร่วมมือจากหลากหลายภาคส่วน ในกรุงเทพฯ เองนั้น จะมีทั้งที่เป็นโครงการของภาครัฐ เช่น สถานีกลางบางซื่อ สวนสาธารณะคลองช่องนนทรี คลองโอ่งอ่าง โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองผดุงกรุงเกษม หรือโครงการของภาคเอกชน เช่น ไอคอนสยาม สิงห์ คอมเพล็กซ์ สินธร วิลเลจ วิสซ์ดอม 101 เดอะ ฟอเรสเทียส์ วัน แบ็งค็อก ตึกมหานคร เป็นต้น หากยังนึกภาพไม่ออกว่าเมกะโปรเจกต์เหล่านี้มันกำหนดทิศทางของเมืองได้อย่างไร เราจะพาไปดูตัวอย่างของต่างประเทศกัน ตัวอย่างจากต่างประเทศ สะพานฮ่องกง-จูไห่-มาเก๊า (Hong Kong – Zhuhai – Macao Bridge) เป็นโครงการสร้างสะพานและอุโมงค์ในบริเวณ Greater Bay […]

ส่องนโยบายเมืองน่าอยู่ของโลก

10/02/2022

หลายคนคงรู้อยู่แล้วว่ากรุงเทพฯ ได้รับเลือกให้เป็น “เมืองน่าเที่ยว” อันดับ 1 ของโลกหลายปีซ้อน หากแต่ในแง่ของ “ความน่าอยู่” จากการจัดอันดับเมืองน่าอยู่โดย The Economist Intelligence Unit (EIU) กรุงเทพฯ อยู่ในอันดับที่ 98 จาก 140 เมืองทั่วโลก เพื่อตอบโจทย์ทั้งการเป็นเมืองน่าอยู่และน่าท่องเที่ยว บทความนี้จึงจะชวนผู้อ่านมาส่องนโยบาย วิสัยทัศน์ และยุทธศาสตร์ของเมืองที่ติดอันดับต้นๆของเมืองน่าอยู่ และกรุงเทพฯ ในปัจจุบัน ว่ามีความคล้ายคลึงหรือแตกต่างกันอย่างไร และทำไมเมืองเหล่านั้นถึงมีบทบาทเป็นเมืองน่าอยู่ของโลกได้ ต้องมีอะไรบ้าง ถึงจะเป็นเมืองน่าอยู่ของโลก? การวัดระดับความเป็นเมืองน่าอยู่นั้น มีดัชนีชี้วัดการพัฒนาจากหลากหลายองค์กรทั่วโลก โดยดัชนีชี้วัดอันดับเมืองน่าอยู่ของโลก (Global Liveability Ranking) ของ EIU เป็นหนึ่งในข้อมูลที่ได้มาตรฐานและถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย ที่ได้มีการสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลเมืองกว่า 140 เมือง ผ่านตัวชี้วัดมากกว่า 30 ตัวชี้วัด ครอบคลุม 5 หมวดหลัก ได้แก่ (1) ความมั่นคง 25% (2) สาธารณสุข 20% […]

ฟื้นฟูเมืองเรื่องของพวกเรา

10/02/2022

วันนี้ The Urbanis จะชวนคุณมาอ่านเรื่องราวของกระบวนการฟื้นฟูพัฒนาเมือง จากการทำงานร่วมกันหลากหลายศาสตร์ เพื่อหาคำตอบว่าการผลักดันโครงการพัฒนาเมืองให้เกิดขึ้นจะต้องมีการทำงานอย่างไรบ้าง บทความนี้เป็นหนึ่งในการบรรยายสาธารณะโลกรอบสถาปัตยกรรมผังเมือง ปี 5 ในหัวข้อ ฟื้นฟูเมืองเรื่องของพวกเรา โดยทีมงานจากศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ทั้งหมด 5 ท่าน ได้แก่ คุณอดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ รองผู้อำนวยการฝ่าย Urban Intelligence คุณปรีชญา นวราช รองผู้อำนวยการฝ่าย Urban Design and Development คุณธนพร โอวาทวรวรัญญู ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่าย Urban Solunition and Operation คุณชยากรณ์ กำโชค ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่าย Urban Communication และคุณสุภาพร อินทรภิรมย์ ผู้จัดการทั่วไป Urban General Management ปฐมบทการทำงานร่วมกันของสหศาสตร์ งานฟื้นฟูพัฒนาเมืองไม่เพียงแค่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น แต่ต้องนำเอาความเชี่ยวชาญของสหศาสตร์มาปฏิบัติให้เกิดผลลัพธ์จริง รวมไปถึงส่วนสำคัญที่สุดของโครงการ นั่นคือการอาศัยแรงขับเคลื่อนจากประชาชน ความร่วมมือร่วมใจของทุกภาคส่วน เพื่อให้สามารถผลักดันโครงการให้เกิดการพัฒนาได้ตั้งแต่ต้นจนสำเร็จ ด้วยเหตุนี้ […]

วิศวกรรมสร้างสรรค์กับการพัฒนาเมือง

03/02/2022

ในโลกที่เทคโนโลยีและนวัตกรรม ถูกพัฒนาอย่างก้าวกระโดดและต่อยอดอยู่เสมอ เมืองเองก็ต้องมีการปรับตัวให้ทันกับโลกยุคใหม่ คือการนำเทคโนโลยี นวัตกรรม มาใช้ในการแก้ปัญหาและตอบโจทย์ของเมือง วิศวกรรมสร้างสรรค์จึงมีความจำเป็นอย่างมากสำหรับการพัฒนาเมืองที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนเมืองรุ่นใหม่และปัญหาเมืองใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น เพราะโลกแห่งนวัตกรรมไม่เคยหยุดนิ่งเมืองจึงต้องไม่หยุดพัฒนา วันนี้ The Urbanis จะชวนคุณมาติดตามการบรรยายจากกระบวนวิชาโลกรอบสถาปัตยกรรมปี 5 นำเสนอโดย ดร.เอกรินทร์ วาสนาส่ง รองกรรมการผู้อำนวยการ กลุ่มยุทธศาสตร์และพัฒนาเมือง บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ร่วมเสวนาในหัวข้อ “วิศวกรรมสร้างสรรค์สำหรับการพัฒนาเมือง” เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2564  อะไรคือวิศวกรรมสร้างสรรค์ ดร.เอกรินทร์ เปิดด้วยคำพูดของนักปรัชญาชาวกรีก เพลโต เมื่อสองพันปีที่แล้ว “Our need will be the real creator” ถอดความได้ว่า ความต้องการของเราเป็นตัวกำหนดว่าเราจะสร้างอะไรใหม่ๆขึ้นมา หรือความจำเป็นคือบ่อเกิดของนวัตกรรมนั่นเอง Creative engineering หรือวิศวกรรมเชิงสร้างสรรค์ ประกอบไปด้วย ความคิดสร้างสรรค์ (Creative) นวัตกรรม (Innovative) และวิศวกรรม (Engineering) โดยการกระบวนการคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ มีกระบวนการสำคัญ […]

อสังหาริมทรัพย์ นวัตกรรมเมือง และการพัฒนาที่ยั่งยืน

27/01/2022

หากเราพูดถึงการพัฒนาเมือง อีกหนึ่งภาคส่วนที่มีความสำคัญต่อขับเคลื่อนเมืองในอนาคตที่มองข้ามไปไม่ได้ อีกทั้งเป็นผู้ที่มีผลต่อการสร้างแรงผลักดันไปสู่การพัฒนาเมืองในวงกว้างโดยตรงนั้นคือภาคการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ วันนี้ The Urbanis จะชวนคุณมาอ่านเรื่องราวของการทำงานพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ นวัตกรรมเมืองและการพัฒนาที่ยั่งยืน ในมุมมองของผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ นำโดยคุณศารัตน์ นิศารัตน์ ผู้บริหารสูงสุดฝ่ายวิจัยและพัฒนา บริษัทอนันดา ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด มาเล่าเรื่องราวในหัวข้อ “อสังหาริมทรัพย์ นวัตกรรมเมือง และการพัฒนาที่ยั่งยืน” เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 ในกระบวนวิชาโลกรอบสถาปัตยกรรมปี 5 ทำเลที่ตั้ง หนึ่งในกลยุทธ์หลักของโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้น จำกัด เป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นผู้นำด้านที่อยู่อาศัย ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2542 โดยคุณชานนท์ เรืองกฤตยา ปัจจุบันมีโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์อยู่ 64 โครงการ กว่า 47,000 ยูนิต มูลค่ารวมกว่า 1.92 แสนล้านบาท ด้วยการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่มีคุณภาพ รองรับไลฟ์สไตล์ของคนยุคใหม่ ส่งผลให้เป็นที่รู้จักและมีชื่อเสียงในฐานะนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของประเทศไทย หลายท่านอาจจะรู้จักบริษัทอนันดาในฐานะผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ด้วยนวัตกรรมสำหรับที่อยู่อาศัยที่ทันสมัย ที่มีการเดินทางที่สะดวกสบาย หนึ่งในวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ที่สำคัญของโครงการนั่นคือการเลือก “ทำเลที่ตั้ง” เป็นปัจจัยสำคัญของผู้บริโภคที่จะตัดสินใจซื้อเป็นอย่างมาก เนื่องจากข้อดีหลายด้าน […]

สถาปัตยกรรมผังเมืองกับมาตรฐานการประกอบวิชาชีพ

18/01/2022

วันนี้ The Urbanis ขอมาเล่าสาระสำคัญเกี่ยวกับแนวทางวิชาชีพสถาปนิกผังเมือง จากการบรรยายสาธารณะโลกรอบสถาปัตยกรรมผังเมือง ปี 5 ในหัวข้อ มาตรฐานการประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม โดย คุณแทนศร กรรมการผู้จัดการบริษัท เออเบิ้น รูม จำกัด และบริษัท ทรีดอท ดีไซน์ จำกัด ได้เข้ามาเล่าเรื่องราวผ่านมุมมองของผู้ที่ทำงานในด้านการพัฒนาเมืองมาราว 10 ปี ตั้งแต่ขอบเขตงานสถาปัตยกรรมผังเมือง มาตรฐานการประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมผังเมือง ไปจนถึงประสบการณ์ของการก่อตั้งบริษัทพัฒนาเมืองและลักษณะทั่วไปของการเริ่มต้นให้บริการวิชาชีพสถาปัตยกรรมผังเมือง พร้อมชี้ให้เห็นถึงโอกาสของเส้นทางในการประกอบวิชาชีพ ที่มีความท้าทายรออยู่ในอนาคต สถาปนิกผังเมือง กับขอบเขตงานสถาปัตยกรรมผังเมือง คุณแทนศรได้อธิบายถึงนิยามของวิชาชีพสาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง โดยอ้างอิงตามกฎกระทรวงกำหนดวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม ปี 2549 ไว้ว่าเป็นวิชาชีพสถาปัตยกรรมที่ใช้ศาสตร์และศิลป์ในการออกแบบวางผังเพื่อสร้างสรรค์องค์ประกอบและสภาพแวดล้อมทางกายภาพของเมือง ชุมชนเมือง ชุมชน และโครงการกลุ่มอาคารที่มีการใช้งานประเภทเดียวกันหรือหลายประเภท รวมถึงการวางผัง เพื่อกำหนดกิจกรรม พื้นที่ ขนาด ความหนาแน่น ความสูง ที่โล่งหรือที่ว่างระหว่างอาคาร และโครงสร้าง ระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการภายในพื้นที่ดังกล่าว งานสถาปัตยกรรมผังเมืองเป็นงานที่มีขนาดใหญ่ ตั้งแต่ระดับกลุ่มอาคารไปจนถึงระดับเมือง ซึ่งขอบเขตงานที่จำเป็นจะต้องให้สถาปนิกผังเมืองเข้าไปดูแลรับผิดชอบ มี 7 สิ่ง ดังนี้ 1) พื้นที่ที่มีการใช้บังคับผังเมืองรวมและจัดทำผังเมืองเฉพาะตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง2) […]

เศรษฐศาสตร์พฤติกรรมกับการออกแบบพัฒนาเมือง

07/01/2022

“เมือง” คืออะไร?  “เมือง” คืออะไร การตั้งคำถามเล็กๆ โดย อ.ธานี ในช่วงเวลา 2-3 เดือนที่ผ่านมา เพื่อทดสอบการรับรู้ (perception) คำว่าเมือง จากผู้คนประมาณ 50 คน ทั้งการสัมภาษณ์และการพูดคุยเล็กๆ คำตอบที่ได้ออกมา ปรากฏกลุ่มที่นิยามคำว่าเมืองจากผู้คนอยู่ 4 กลุ่มคำสำคัญ คนกลุ่มแรกตอบว่าเมือง ก็คือเมือง อ.ธานี ได้วิเคราะห์ให้เราฟังในฐานะนักเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม ว่านั่นเป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นได้ว่าผู้คนจำนวนมากอาจไม่ได้รู้สึกถึง หรือมีการรับรู้ถึงเมืองเลย ในขณะเดียวกันคนกลุ่มที่สองให้คำตอบว่าเมือง คือกรุงเทพฯ สะท้อนว่าการรับรู้ของคนกรุงเทพฯ ในประเทศไทยคนนึกถึงกรุงเทพฯ ว่าเป็นเมือง คนกลุ่มที่สามตอบว่าเมือง คืออาคาร ห้างสรรพสินค้า รถติด และคนกลุ่มที่สี่มีจำนวนน้อยที่สุด ตอบว่าเมือง คือ ความแออัด หนาแน่น รีบ ซึ่งเป็นที่น่าสนใจว่าคนทั้งสี่กลุ่มมีการรับรู้ถึงเมืองที่แตกต่างกัน มีความคิดเรื่องเมืองหลากหลาย โดยจัดกลุ่มเอาไว้ 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่หนึ่งและสอง กลุ่มที่ตอบว่าเมืองคือเมือง และเมืองคือกรุงเทพฯ คือกลุ่มที่อาจไม่ได้รับรู้คำว่าเมืองอยู่ในหัว ไม่มีรายละเอียดและการเปรียบเทียบสิ่งโดยรอบ ในขณะที่คนกลุ่มที่สามและสี่ นึกถึงภาพจำ รายละเอียดที่เกิดขึ้นในความเป็นกรุงเทพฯ […]

ปืน เชื้อโรค เหล็กกล้า กับดาต้าเมือง

05/01/2022

“ทำไมคนผิวขาวอย่างคุณถึงพัฒนาสินค้าได้มากมายและส่งมายังนิวกินีแต่พวกเราคนผิวดำมีสินค้าเพียงน้อยนิดเป็นของเราเอง” — จาเร็ด ไดมอนด์ คำถามเมื่อ พ.ศ.2515 ของยาลี นักการเมืองและนักเคลื่อนไหวชาวปาปัวนิวกินี ได้จุดประกายให้จาเรต ไดมอนด์ เขียนหนังสือ “ปืน เชื้อโรค และเหล็กกล้า ชะตากรรมของสังคมมนุษย์” ขึ้นใน พ.ศ.2540 ในหนังสือดังกล่าว เขาได้วิพากษ์ถึงเหตุผลในความเหนือกว่าของชาวยูเรเชียและแอฟริกาเหนือ ที่ทำให้พวกเขาสามารถยึดครองผลประโยชน์จากผู้คนที่เหลือบนโลก ไดมอนด์เสนอว่าความเป็นสังคมเกษตรกรรมตั้งแต่สมัยโบราณทำให้กลุ่มอารยธรรมนี้พัฒนาเทคโนโลยีและวิถีชีวิตที่แข็งแกร่ง คนกลุ่มนี้สามารถเข้าถึงปืน เชื้อโรค และเหล็กกล้า ซึ่งต่างก็เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เอาชนะคนกลุ่มอื่น ๆ ได้อย่างง่ายดาย โดยมีปืนอยู่ในฐานะกำลังรบ เชื้อโรคอยู่ในฐานะสิ่งสร้างภูมิคุ้มกัน และเหล็กกล้าอยู่ในฐานะเทคโนโลยีที่สนับสนุนจักรวรรดินิยมในการล่าอาณานิคม จากการบรรยายเรื่อง “ปืน เชื้อโรค เหล็กกล้า กับดาต้าเมือง” เมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ.2564 บรรยายโดยคุณอดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ รองผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ฝ่าย Urban Intelligence คุณอดิศักดิ์นำเสนอความสัมพันธ์ระหว่าง เชื้อโรค พัฒนาการ และระบบการบริหารจัดการเมือง  พร้อมทั้งชี้ให้เห็นความสำคัญของการใช้ข้อมูลเข้ามาประยุกต์เพื่อการบริหารจัดการเมืองในปัจจุบันที่มีความซับซ้อน ให้เกิดการคลี่คลายและวางแผนแก้ไขปัญหาได้ โรคระบาดอยู่คู่อารยธรรม เชื้อโรค เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ถูกกล่าวถึงในหนังสือของไดมอนด์ […]

1 4 5 6 7 8 15