Public Realm



Urban Dataverse เพราะเมืองกำลังขับเคลื่อนด้วยข้อมูล

15/12/2021

ข้อมูลเมืองมีความสำคัญต่อการพัฒนาเมืองเป็นอย่างมาก หากเปรียบเมืองเป็นบ้านหนึ่ง การจะสร้าง ออกแบบหรือต่อเติมบ้านให้ออกมาดูดีตรงใจได้นั้น ก็จำเป็นที่จะต้องรู้ในทุกมิติตั้งแต่ขนาด โครงสร้าง วัสดุที่ใช้ ศึกษาว่าจะมีคนเข้ามาอยู่อาศัยกันกี่คน ห้องไหนจะใช้งบประมาณในการต่อเติมมากหรือห้องไหนจะใช้งบประมาณน้อย และอีกมากมาย หากกลับมาดูในบริบทของเมืองที่มีความซับซ้อนเป็นอย่างมาก แน่นอนว่าจำเป็นที่จะต้องใช้ข้อมูลในมิติที่หลากหลาย ข้อมูลเมืองมีหลายประเภท หลายรูปแบบและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการแก้ปัญหาการจราจร การแก้ปัญหาคุณภาพอากาศ การแก้ปัญหาน้ำท่วม ช่วยในการออกแบบเมืองให้น่าอยู่และมีอัตลักษณ์ ข้อมูลเมืองจะช่วยให้ผู้มีอำนาจตัดสินใจลงทุนหรือกำหนดนโยบายที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เองก็จะเป็นตัวขับเคลื่อนให้เมืองพัฒนาไปได้อย่างยั่งยืน The Urbanis สรุปสาระงานเสวนา Urban Dataverse: The verse of data-driving urbanism จากวิทยากรทั้ง 4 ท่าน ได้แก่ ผศ.ดร.จิรันธนิน กิติกา ทีมผู้อยู่เบื้องหลังเพจ “เชียงใหม่ฉันจะดูเเลคุณ” คุณอดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ นักภูมิศาสตร์เมือง คนเล่นแร่แปรธาตุข้อมูลเชิงพื้นที่เมือง คุณธนิสรา เรืองเดช ผู้ร่วมก่อตั้ง Punch Up studio กับโครงการเปลี่ยนสังคมด้วย “ดาต้า” และ คุณนิธิกร บุญยกุลเจริญ หนึ่งในนักพัฒนา ทีม […]

อนาคตงานและการอยู่อาศัยของมหานครแห่งโอกาส(?)

02/12/2021

“ภายใต้กระบวนการเป็นเมือง กิจกรรมในการดำเนินวิถีชีวิตล้วนแต่จำเป็นต้องใช้พื้นที่เมือง” จากการศึกษาวิจัยคนเมือง 4.0 ที่กล่าวถึงมิติด้านต่างๆ ของวิถีคนเมือง ไม่ว่าจะเป็น การทำงาน การอยู่อาศัย การเดินทาง ตลอดจนการจับจ่ายใช้สอยในอนาคตโดยวิเคราะห์ร่วมกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงระดับต่างๆ ชี้ชัดว่ารูปแบบการใช้ชีวิตมนุษย์และความต้องการจะเปลี่ยนไป และเมืองก็จำต้องปรับเปลี่ยนตามด้วยเช่นกัน จากการบรรยายสาธารณะ Urban Design Delivery อาหารสมองสถาปนิกผังเมือง ในหัวข้อ แนวโน้มอนาคตของการทำงานและที่อยู่อาศัย และ แนะนำการทำแผนที่เชิงระบบ (System mapping) ของ อาจารย์ว่าน ฉันทวิลาสวงศ์ และ อาจารย์ภัณฑิรา จูละยานนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันนี้ The Urbanis ขอมาเล่าสาระสำคัญของเมืองและวิถีชีวิตของผู้คนที่เปลี่ยนไป ในยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาททำให้เกิดสังคมไร้พรมแดนที่หลายๆ สิ่งขับเคลื่อนผ่านโลกออนไลน์ ทั้งยังมีวิกฤตการณ์โควิด 19 ที่เป็นตัวเร่ง ทำให้ใครหลายคนได้สัมผัสกับวิถีการทำงานและการอยู่อาศัยในรูปแบบใหม่ เมืองของเรานั้นจะมีแนวโน้วเปลี่ยนแปลงที่แปรผันเป็นไปตามวิถีชีวิตรูปแบบใหม่อย่างไรบ้าง? อนาคตงาน(บริการ)ในเมือง การทำงาน ถือเป็นฟันเฟืองสำคัญของระบบวิถีชีวิตเมือง เป็นกิจกรรมซึ่งมีความสำคัญและมีการดำเนินการบนพื้นที่เมืองในสัดส่วนค่อนข้างสูง อีกทั้งยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการย้ายถิ่นฐานของกลุ่มประชากรจากพื้นที่เมืองชนบทหรือเมืองขนาดเล็กสู่เมืองที่มีขนาดใหญ่กว่า นำไปสู่การแปรสภาพของเมืองให้เติบโตขยายตามสัดส่วนประชากรที่สูงขึ้น จากการศึกษาพบว่าคนเมืองส่วนใหญ่ทำงานบริการ และยังมีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของความต้องการเชิงพื้นที่จากออฟไลน์สู่ออนไลน์มากยิ่งขึ้น จากการเพิ่มขึ้นของเซคเตอร์ย่อยของงานบริการอย่างกลุ่มประเภทกลุ่มบริการความรู้ (white collar) […]

บทบาทหน้าที่ของสถาปนิกผังเมือง และจรรยาบรรณวิชาชีพที่ต้องรู้

25/11/2021

เมืองมีองค์ประกอบต่างๆ ที่ต้องการคนดูแล บ้านเรือนและอาคารต้องการสถาปนิกเข้ามาดูแล พื้นที่ภายในอาคารต้องการผู้ออกแบบภายในเข้ามาดูแล ส่วนพื้นที่สีเขียว พื้นที่ธรรมชาติ ต้องการภูมิสถาปนิกเข้ามาดูแล ดังนั้น พื้นที่ระหว่างอาคาร ตลอดจนภาพรวมของเมือง ภูมิทัศน์และโครงสร้างของเมืองที่ทำให้ผู้คนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข จึงต้องการสถาปนิกผังเมืองเข้ามาดูแลเฉกเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ สังคมจะได้ประโยชน์มากที่สุดหากทุกสาขาสถาปัตยกรรมทำงานไปพร้อมกันอย่างมีขอบเขตความรับผิดชอบที่ชัดเจน จึงกล่าวได้ว่า อีกสิ่งสำคัญของภาระหน้าที่อันอยู่ในความรับผิดชอบคือการเข้าไปผลักดันวิชาชีพให้เกิดความชัดเจนขึ้นในอนาคตเพื่อรับใช้สังคมอย่างมีมาตรฐาน The Urbanis สรุปสาระสำคัญว่าด้วยหน้าที่ของสถาปนิกผังเมืองและจรรยาบรรณที่ต้องรู้ ตลอดจนบทบาทของสภาสถาปนิกและสมาคมสถาปนิกผังเมืองไทย (TUDA) จากการบรรยายสาธารณะ “สถาปัตยกรรมผังเมืองคืออะไร วิชาชีพสถาปนิกผังเมือง จรรยาบรรณ” โดย รศ.ดร.ไขศรี ภักดิ์สุขเจริญ รองคณบดี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และ อุปนายกสภาสถาปนิกคนที่หนึ่ง, ผศ.ดร. ปริญญ์ เจียรมณีโชติชัย อาจารย์ประจำภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และนายกสมาคมสถาปนิกผังเมืองไทย และ อาจารย์ธนิชา นิยมวัน อาจารย์พิเศษภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา การมีสิทธิมีเสียงในสภาสถาปนิก คือ อนาคตของวิชาชีพที่แท้จริง  รศ.ดร.ไขศรี […]

Livable+Economy ฟื้นฟูย่านผ่านกระบวนการชุมชน โดย กลุ่มปั้นเมืองและกลุ่มคนรักตลาดน้อย

23/11/2021

นอกจากการออกแบบเพื่อพัฒนาเมือง บทบาทสำคัญอีกหนึ่งประการของสถาปนิกผังเมือง คือการทำหน้าที่เสมือนกระบวนกร (Facilitator) หรือคนกลางที่เชื่อมทุกคนเข้าไว้ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นคนในชุมชน คนในย่าน หน่วยงานภาครัฐ หรือคนภายนอกย่านอีกมากมาย ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาย่าน กลุ่มปั้นเมืองและกลุ่มคนรักตลาดน้อย นำโดย จุฤทธิ์ กังวานภูมิ (โจ) และ ปณัฐพรรณ ลัดดากลม (เตย) สองสถาปนิกผังเมืองผู้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาและฟื้นฟูย่านในเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร จากย่านชุมชนเก่าแก่ที่น้อยคนรู้จักไปสู่ย่านสร้างสรรค์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ก้าวแรกของชุมชนกับการฟื้นฟูย่านและเมือง หากกล่าวถึงกระบวนการมีส่วนร่วมกับการพัฒนาเมืองในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา จากประสบการณ์ทำงานของทีมปั้นเมือง เราพบว่าประเทศไทยมีแนวโน้มที่การพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมที่ดีขึ้นมากกว่าในอดีต กล่าวคือ ประชาชน ชุมชน ได้เข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่การวางแผนไปจนกระทั่งการตัดสินใจ ต่างจากในอดีตที่ชุมชนแค่รับรู้ รับทราบข่าวสารเพียงเท่านั้น แต่ไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมอะไรมากนักต่อการพัฒนาในพื้นที่ที่ตัวเองอยู่ สะท้อนให้เห็นถึงพัฒนาการการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการมีส่วนร่วมในชุมชนที่ผ่านมา ย่านนั้นเปรียบเสมือนเป็นที่อยู่ ที่ทำกินและอาจมากกว่านั้น ทั้งนี้ การพัฒนาย่านโดยหน่วยงานท้องถิ่น มักจะเป็นการพัฒนาแบบบนลงล่าง (Top-Down) ผู้ที่ได้รับประโยชน์ อาจจะเป็นกลุ่มเจ้าของที่ดิน นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ หรือภาครัฐที่ออกนโยบาย ส่งผลให้การพัฒนาอาจไม่ได้เข้าถึงคนทุกกลุ่มอย่างแท้จริง ดังนั้น กระบวนการมีส่วนร่วมจะช่วยสร้างโอกาสให้ทุกคนได้เข้ามาพูดคุยในฐานะที่เท่าเทียมกันมากขึ้น โดยมีสถาปนิกผังเมืองเข้าไปจัดการและทำงานร่วมกันกับผู้คนในย่าน ทั้งในระดับครัวเรือน ละแวกบ้าน ชุมชน ไปตลอดจนชุมชนใกล้เคียงโดยรอบ เพื่อพัฒนาย่านให้เกิดความน่าอยู่ […]

ทฤษฎีพื้นฐานเพื่อเข้าใจสัณฐานเมือง โดย รศ.ดร.อภิรดี เกษมศุข

16/11/2021

หากสามารถตั้งเป้าประสงค์ในการพัฒนาเมืองได้ ในฐานะของนักออกแบบจึงมุ่งหวังให้เกิดการพัฒนา “เมืองที่อยู่ดี” แต่ในการสร้างเมืองที่อยู่ดีได้ในโลกความเป็นจริงนั้น ปฏิเสธไม่ได้ว่าเรามักคิดมุ่งไปสู่ขั้นตอนของการออกแบบกายภาพเป็นหลัก ซึ่งแท้จริงอาจเป็นเพียงตัวขับเคลื่อนหนึ่งในการแสดงผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาเมือง หากแต่พิจารณาย้อนกลับมาสู่ขั้นตอนแรกเริ่มของการลงมือปฏิบัติ นั่นคือขั้นตอนของการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูล จะพบว่าการศึกษาสัณฐานเป็นอีกขั้นตอนตั้งต้นที่น่าสนใจสำหรับการทำความเข้าใจพื้นที่เมือง ซึ่งจะส่งผลต่อการกำหนดโจทย์และแนวทางการพัฒนาในงานออกแบบต่อไป The Urbanis ชวนศึกษา ทฤษฎีพื้นฐานเพื่อเข้าใจสัณฐานเมือง (Morphology for Urban Architecture) เรียบเรียงจากการบรรยายสาธารณะ โดย รศ.ดร.อภิรดี เกษมศุข ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร สัณฐานคืออะไรและส่งผลต่อเมืองอย่างไร? สัณฐาน หมายถึง มิติหรือไดเมนชั่นที่แสดงขนาดและสัดส่วนในเชิงกายภาพ อีกทั้งยังขยายความถึงโครงสร้างและความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ ซึ่งในการศึกษา พบว่ามีแนวคิดทฤษฎีจำนวนมากที่เกี่ยวกับการศึกษาสัณฐานที่มีแนวคิดแตกต่างกันไปตามแต่ละยุคสมัย โดยมีเป้าประสงค์ร่วมถึงการทำความเข้าใจมิติที่ซับซ้อนของเมือง อันนำไปสู่ลักษณะการออกแบบที่แตกต่างกันตามกรอบแนวคิดที่ผลัดเปลี่ยนไป เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้คนในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง  ในยุคที่เกิดการเปลี่ยนแปลงฐานการผลิตเชิงเกษตรสู่ฐานการผลิตเชิงอุตสาหกรรม ทำให้การใช้ประโยชน์พื้นที่ที่เป็นโรงงานขยับที่ตั้งใกล้ขอบเขตของเมืองมากยิ่งขึ้น ประชากรชนบทใหม่ย้ายเข้ามาจำนวนมาก เกิดเป็นที่พักอาศัยแออัด ส่งผลให้เมืองแบกรับความหนาแน่นที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วเกิดข้อจำกัดส่งผลต่อคุณภาพชีวิตลดลง จึงนำมาสู่การก่อตั้งกลุ่ม CIAM (Congres International Architecture Modern) นำโดย เลอ กอร์บูซิเย (Le Corbusier) ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจในเชิงผังเมือง 2 ประเด็นด้วยกัน คือ 1) หลักการกำหนดสีลงบนพื้นที่ต่างๆ […]

ทฤษฎีพื้นฐานที่นักออกแบบ (เมือง) ควรรู้ เพื่อทำความเข้าใจย่านและเมือง (understanding urbanism)

10/11/2021

โครงการบรรยายสาธารณะ Urban Design Delivery อาหารสมองสถาปนิกผังเมือง ในหัวข้อ  ทฤษฎีพื้นฐานเพื่อเข้าใจย่านและเมือง (understanding urbanism) ของ ผศ.ดร.พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ หัวหน้าภาควิชาปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มาเล่าสาระสำคัญของการเข้าใจย่านและเมือง ผ่านตัวอย่างพื้นที่พระโขนง-บางนา แล้วในฐานะนักออกแบบ(เมือง) เราจะทำความเข้าใจย่านและเมืองได้อย่างไรบ้าง ย่านและเมืองคืออะไร? ย่าน อาจจำกัดความถึง ขอบเขต ท้องถิ่น ชุมชน ละแวกย่าน ตลอดจนวิถีชีวิตและผู้คน ดังที่เราให้จะสรรหาคำจำกัดความ เมือง ในมุมมองด้านสังคมวิทยา การปกครอง กล่าวได้ว่า เมือง เป็นความสัมพันธ์รูปแบบหนึ่งซึ่งแยกตัวเองออกจากชนบท ในขณะเดียวกันก็มีความสัมพันธ์กับชนบทด้วยเช่นกัน อีกทั้งเป็นพื้นที่ศูนย์กลางที่ดึงดูดทรัพยากรและกระจายสู่พื้นที่โดยรอบ  แต่นอกเหนือไปจากนั้น ไม่ว่าจะย่าน หรือเมือง ในการศึกษาพื้นที่ใดๆ จะต้องมีความเกี่ยวเนื่องกับคำสำคัญ 3 คำ คือ 1. ความสัมพันธ์ (ของผู้คนในพื้นที่) 2. ความหมาย (ที่ผู้คนมีต่อพื้นที่) 3. ระบบ (วิถีชีวิตคนในพื้นที่) ที่เชื่อมโยงและเป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน ช่วยเติมเต็มความเข้าใจไม่ใช่เพียงว่าย่านคืออะไร […]

สถาปนิกและนักผังเมืองบนเส้นทางจักรวาลหมาล่าเนื้อ กับ ปรีดา หุตะจูฑะ

08/11/2021

สถาปนิก(นัก)ผังเมือง ในจักรวาล…หมาล่าเนื้อ คือชื่อหัวข้อบรรยายของ ปรีดา หุตะจูฑะ แห่งแพลนเนอร์26 ในโครงการบรรยายสาธารณะ “โลกรอบสถาปัตยกรรมผังเมือง” ปีที่ 5 ที่ชวนให้ผู้ติดตามจำนวนไม่น้อยตั้งคำถามว่า อะไรคือ “หมาล่าเนื้อ” แล้ววลีดังกล่าวเกี่ยวข้องอะไรกับวิชาชีพสถาปนิกและนักผังเมือง The Urbanis ได้หาคำตอบและสาระสำคัญจากการบรรยายสาธารณะของปรีดามาฝาก เริ่มต้นตั้งแต่ชีวิตหลังจบการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และศึกษาต่อในระดับปริญญาโทที่ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ประสบการณ์และงานที่ภาคภูมิใจ ตลอดจนสิ่งที่อยากฝากว่าที่สถาปนิกผังเมืองในอนาคตในโลกแห่ง “หมาล่าเนื้อ”  อุปมาบริษัทที่ปรึกษาดั่ง “หมาล่าเนื้อ” ปรีดา หุตะจูฑะ หรือ ดื้อ เป็นที่รู้จักกันดีในวงการสถาปนิก เขาคือกรรมการผู้จัดการ บริษัท แพลนเนอร์26 จำกัด ได้บอกเล่าถึง ศาสตราจารย์ วรรณศิลป์ พีรพันธุ์ (2546) ที่เคยอุปมาอุปมัยการทำงานในบริษัทที่ปรึกษาว่า การหางานนั้นเหมือนกับหมาล่าเนื้อ กล่าวคือ ต้องขวนขวายหางานเข้าบริษัทเพื่อให้เกิดรายได้อย่างต่อเนื่อง ประหนึ่ง “หมาล่าเนื้อ ที่หาเนื้อมาเพื่อกิน กินหมดก็ต้องหาใหม่อย่างไม่หยุดยั้ง ผู้บรรยายอธิบายความหมายของคำว่า บริษัทที่ปรึกษา หมายถึง นิติบุคคลที่ประกอบกิจการหรือให้บริการในการเป็นที่ปรึกษา และได้ขึ้นทะเบียนการเป็นที่ปรึกษากับสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ […]

สมดุลระหว่างการใช้พื้นที่สาธารณะ กับ มาตรการปิดเมือง ถอดบทเรียนกับ ดร.พีรียา บุญชัยพฤกษ์

02/11/2021

เรียงเรียงจากการบรรยายสาธารณะ พื้นที่สาธารณะเมืองยุคโควิด โดย อ.ดร.พีรียา บุญชัยพฤกษ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เรียบเรียงโดย ชนม์ชนิกานต์ ศศิชานนท์  พื้นที่สาธารณะ เป็นองค์ประกอบที่สร้างความมีชีวิตชีวาให้กับเมือง ผ่านกิจกรรมและวิถีชีวิตอันเป็นภาพจำที่คุ้นชิน หากการเผชิญกับสถานการณ์โควิด 19 ตั้งแต่ต้นปี 2020 ส่งผลให้เมืองเกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง จากการประเมินสถานการณ์การระบาดของโควิด 19 โดยองค์กรอนามัยโลก (WHO) พบว่าสถานการณ์ดังกล่าวจะส่งผลกระทบยาวนานต่อเนื่องอย่างน้อย 1 ปีขึ้นไป และส่งผลให้เกิดลักษณะของการเปิด-ปิด กิจกรรมเมืองตามระลอกการระบาด โดยเฉพาะประเทศในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ที่มีอัตราการติดเชื้อสูง สำหรับประเทศไทยซึ่งมีอัตราการติดเชื้อและความรุนแรงอยู่ในระดับปานกลางค่อนมาก ส่งผลต่อการกำหนดมาตรการทางภาครัฐเพื่อควบคุมสถานการณ์การติดเชื้อในประเทศเช่นกัน อย่างไรก็ตามมาตรการปิดเมืองหรือควบคุมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมากมายในสถานการณ์ปัจจุบัน อาทิ การปิดห้างร้าน พื้นที่สาธารณะ ตลอดจนการกำหนดช่วงเวลาฉุกเฉิน ย่อมส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม กายภาพและการดำเนินชีวิตในเมืองเช่นกัน  การเผชิญกับสถานการณ์การระบาดของโควิด 19 เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาที่ทำให้ผู้คนเริ่มสนใจศึกษาและคาดการณ์ถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงหลังโควิด จนเกิดปรากฏการณ์สำคัญหลายด้านทั้งในเชิงองค์ความรู้และเชิงข้อเสนอแนะ ไม่ว่าจะเป็นแนวคิดการพัฒนาความสามารถในการฟื้นตัวหลังอุปสรรคอย่างรวดเร็ว หรือ Resilience ที่ถูกเน้นย้ำความสำคัญมากยิ่งขึ้น หรือปรากฏการณ์การใช้เทคโนโลยีในการเข้าถึงข้อมูล (Datafication) เพื่อทราบถึงการเปลี่ยนแปลง แนวโน้มที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต และสามารถวางแผนรองรับได้อย่างเหมาะสม  จากการศึกษาข้อมูลสถิติเปรียบเทียบด้านการเคลื่อนที่ของกลุ่มคนสู่จุดหมายปลายทางประเภทต่าง ๆ ระหว่างประเทศอังกฤษและประเทศไทย […]

ชุมชนแออัดแห่งยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ประวัติศาสตร์เมืองบนภาพแกะสลักไม้

05/10/2021

โลกของเราได้เข้าสู่ช่วงแห่งเวลาใหม่ภายหลังเหตุการณ์การปฏิวัติครั้งใหญ่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18-19 คือ ช่วงเวลาแห่งการปฏิวัติอุตสาหกรรม ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลาย ๆ ด้าน ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้ถูกถ่ายทอดลงมาในภาพวาด ณ สมัยนั้น ทำให้เราเห็นสามารถเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของสิ่ง ๆ ต่างได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น  เมืองก็เป็นอีกสิ่งที่เปลี่ยนแปลงอย่างมากในช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรม อย่างที่เรารู้กันอยู่เสมอว่า การปฏิวัติอุตสาหกรรมนั้นทำให้มีผู้คนจำนวนมากจากทุกสารทิศแห่กันเข้ามาในเมืองเพื่อทำงาน ประชากรที่อาศัยอยู่ในเมืองจึงมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมาก เห็นได้จากยุโรปในช่วง ค.ศ. 1890 ที่สัดส่วนของประชากรที่อาศัยอยู่ในเมืองเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 60 โดยทั้งจำนวนประชากรและโรงงานอุตสาหกรรมที่มาก สถาพสังคมเมืองในสมัยนั้นจึงมีด้านมืดอยู่หลายอย่าง ๆ ด้านมืดเหล่านี้ถูกนำเสนอผ่านภาพวาดในหลาย ๆ ครั้ง ซึ่งในบทความนี้จะแสดงถึงภาพวาดที่บอกเล่าด้านมืดทางสังคมอย่างชุมชนแออัดที่เกิดขึ้น เนื่องจากความหนาแน่นที่สูงของประชากรในเมือง อย่างที่เรารู้กันว่ามีผู้คนจำนวนมาอพยพเข้ามาในเมืองช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรม ผู้คนที่อพยพเข้ามาเหล่านี้ส่วนมากก็คือ แรงงานที่เข้ามาเพื่อทำงาน พวกเขาไม่ได้มีทรัพย์สินมากมายพอจะสร้างที่อยู่อาศัยที่ดีได้ ประกอบกับอาชีพแรงงานที่ต้องทำงานตลอดเวลา พวกเขาจึงต้องไปอาศัยอยู่รวมกันใกล้โรงงานอุตสาหกรรมบริเวณใจกลางเมือง จนเกิดเป็นชุมชนแออัดกลางเมืองขึ้น  ในพื้นที่ชุมชนแออัด บ้านถูกก่อสร้างในลักษณะหันหลังชนกัน (back-to-back houses) ยาวเป็นแถว แต่ละแถวคั่นด้วยซอยแคบ ด้วยความที่มีผู้คนอาศัยกันอย่างหนาแน่น ทำให้สภาพพื้นที่เต็มไปด้วยความสกปรก ความแออัด เช่น เช่น ณ กรุงปารีส แรงงานประมาณ 30,000 คนต้องอาศัยในห้องเช่าที่มีขนาดเล็ก […]

ศาสตร์และศิลป์ในการสร้างเเมพวิชวลเมือง กับ อดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้

13/09/2021

เรียบเรียงโดย ณิชากร เรียงรุ่งโรจน์ ต้องเกริ่นก่อนว่าบทความในครั้งนี้เกิดจากผู้เขียนได้มีโอกาสได้เข้าไปเรียนในคลาส 154479 : การออกแบบแผนที่ ของนักศึกษาภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งให้เกียรติเชิญ คุณอดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ รองผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ฝ่าย Urban Intelligence และศิษย์เก่าภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นวิทยากร แล้วเกิดไอเดียอยากส่งต่อและถ่ายทอดความรู้ด้านการออกแบบและไอเดียการสรรค์สร้างแมพวิชวลของเมือง เป็นบทความชิ้นนี้ แมพวิชวลในงานเมือง ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าแผนที่นั้นมีประโยชน์และถูกนำไปใช้งานได้มากมายหลายศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นในด้านการทหารที่ต้องอาศัยแผนที่ในการดูจุดยุทธศาสตร์และวางแผนการรบ ด้านการท่องเที่ยว ที่ต้องการอาศัยแผนที่ในการดูเส้นทางหรือตำแหน่งของสถานที่ท่องเที่ยว ด้านภูมิศาสตร์และสิ่งแวดล้อมที่อาศัยแผนที่ในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงหรือปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่างๆ เรียกได้ว่าทุกศาสตร์ทุกแขนงต้องอาศัยแผนที่เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่จะช่วยเก็บบันทึก ศึกษาและสื่อสารข้อมูล ในด้านการออกแบบและพัฒนาเมืองเองแผนที่ก็เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่สำคัญที่มักจะถูกหยิบมาใช้งาน โดยแผนที่มักจะถูกนำมาใช้ในการแสดงผลของข้อมูลที่ได้มีการเก็บ รวบรวม วิเคราะห์ นำมาถ่ายทอด หรือ Visualize ให้ข้อมูลเหล่านั้นกลายเป็นเเผนที่เพื่อทำให้ง่ายต่อการเข้าใจเนื้อหาที่ต้องการจะสื่อไปยังบุคคนทั่วไปที่อาจไม่ได้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านนี้ นอกจากนี้การนำข้อมูลมาแปลงเป็นแผนที่ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ต่อได้  เช่น การนำแผนที่ข้อมูลแต่ละแบบมาทับซ้อนกัน ซึ่งทำให้สามารถเห็นภาพข้อมูลใหม่ๆที่ยังไม่เคยเห็นมาก่อนได้ ตัวอย่างเช่น แผนที่อุปสงค์ VS อุปทาน เมืองแห่งการเรียนรู้ของกรุงเทพมหานคร ที่มีการนำข้อมูล สาธารณูปการในระบบการศึกษา สาธารณูปการสนับสนุนการเรียนรู้ และสาธารณูปการศักยภาพเพื่อการเรียนรู้ มาทับซ้อนกันเพื่อหาพื้นที่ศักยภาพในการเรียนรู้มากที่สุด รวมถึงสามารถนำไปทับซ้อนกับข้อมูลช่วงวัยของประชากร […]

1 5 6 7 8 9 15