Public Realm



เพราะเมืองมีปัญหา จึงเป็นที่มาของ 3 ฮีโร่ ผู้ช่วยเหลือคนเมือง

24/03/2022

“Not All Heroes Wear Capes” เป็นวลีที่มักจะใช้กล่าวชื่นชมผู้คนทั่วๆ ไปในชีวิตประจำวันที่ทำความดี หรือกระทำการที่กล้าหาญหรือน่าประทับใจ เช่นลงไปช่วยลูกหมาที่กำลังจะจมน้ำ ช่วยทำคลอดฉุกเฉินบนรถแท็กซี่ เปรียบเสมือนเป็นฮีโร่ที่เข้ามาช่วยเหลือในยามที่ต้องการ รู้หรือไม่ว่าในเมืองของเราก็มีฮีโร่ไร้ผ้าคลุมไหล่ที่ใครๆ ก็มักจะเจอในชีวิตประจำวัน แต่บางครั้งเราอาจไม่ทันได้นึกถึงพวกเขาในแง่มุมนี้สักเท่าไหร่ เพราะหลายคนคงเคยชินกับปัญหาภายในเมืองและการมีฮีโร่เหล่านี้ไปเสียแล้ว อย่างเวลาที่เรากำลังจะไปทำงานสายเพราะรถติด คนที่เรานึกถึงคงไม่ใช่ใครที่ไหนนอกจากพี่วินมอเตอร์ไซค์ที่จะพาเราไปถึงที่ทำงานได้อย่างฉับไวราวกับมีพลังซุปเปอร์สปีท หรืออย่างเวลาที่เราขี้เกียจออกไปซื้อกับข้าวเพราะตลาดอยู่ไกลเหลือเกิน เรายังมีแม่ค้าพ่อค้ารถกับข้าวหรือรถพุ่งพวงที่มาส่งวัตถุดิบถึงหน้าบ้าน หรืออย่างเวลาที่เราอยากโล๊ะกองกระดาษ เอกสารที่มีอยู่เต็มบ้านเราคงจะนึกถึงซาเล้ง คนรับเก็บของเก่าเป็นแน่  วันนี้ The Urbanis จะพาไปรู้จักกับเหล่าฮีโร่ที่ถือกำเนิดมาจากปัญหาเมืองกัน ยอดมนุษย์วิน ฮีโร่แห่งความเร็ว จากบทความ มหานครซอยตัน ได้กล่าวว่า กว่า 45% ของความยาวถนนทั้งหมดในกรุงเทพฯ เป็นซอยตันแม้แต่ในพื้นที่เขตเมืองชั้นในที่ดูเหมือนว่าโครงข่ายถนนจะมีรูปแบบเป็นตารางกริด แต่กลับมีซอยตันแฝงอยู่เป็นจำนวนมาก และจากผลการสำรวจเกี่ยวกับแนวโน้มการใช้รถยนต์และการจราจรติดขัดในหลายเมืองในภูมิภาคอาเซียนของ Uber ได้กล่าวว่าคนกรุงเทพจะต้องเสียเวลาไปกับรถติดโดยเฉลี่ย 72 นาทีในแต่ละวัน และอีก 24 นาทีเพื่อวนหาที่จอดรถ แทนที่จะมีเวลาไปสังสรรค์หรือใช้เวลาให้เกิดประโยชน์ คนกรุงฯ กับเรื่องการเดินทางเป็นปัญหาที่แก้ไม่ขาด ตั้งแต่เรื่องของขนส่งสาธารณะที่ไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้เราต้องรอเก้อเป็นชั่วโมง ปัญหาที่ทำงานไกลบ้าน  ขนส่งไม่เชื่อมต่อกันเป็นโครงข่ายเดียว ปัญหารถติด ปัญหาซอยลึกซอยแคบ บ้านห่างจากป้ายรถประจำทางมาก ยิ่งตอนกลางคืนหรือซอยเปลี่ยวๆ […]

อาหาร ย่าน วัฒนธรรม และรสชาติที่เดินทางมากับกาลเวลา

18/03/2022

หากนึกถึงองค์ประกอบที่คุ้นเคยของคำว่า “การเรียนรู้” คงจะเป็นภาพของห้องเรียน ที่ต้องมีกระดาน มีคุณครู และมีหลักสูตรในหนังสือที่ตายตัว อย่างไรก็ตามการเรียนรู้ไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นแค่ภายในห้องเรียนเท่านั้น แต่สามารถเรียนรู้ได้ผ่านวิถีชีวิต และวัฒนธรรมที่ถูกถ่ายทอดส่งต่อมารุ่นสู่รุ่น โดย “วัฒนธรรมอาหาร” การเล่าเรื่องราวผ่านรสชาติอาหาร หรือกรรมวิธีในแต่ละขั้นตอนที่ถูกส่งต่อจากคนรุ่นหลังก็สามารถสร้างการเรียนรู้ได้เช่นเดียวกัน กะดีจีน-คลองสาน เป็นอีกย่านหนึ่งที่มีวัฒนธรรมเก่าแก่และเต็มไปด้วยความหลากหลายของผู้คน มีมรดกทางวัฒนธรรม อันประกอบไปด้วย 3 ศาสนา 4 ความเชื่อ ได้แก่ พุทธ คริสต์ อิสลาม และ มหายาน ด้วยความที่คนจากต่างพื้นที่ หลากหลายศาสนามารวมตัวกัน มีความแตกต่างในด้านวิถีชีวิต การกิน และการประกอบอาหาร ทำให้ที่แห่งนี้เป็นพื้นที่ที่เต็มไปด้วยมรดกวัฒนธรรมอาหารที่หลากหลาย ๆ ในวันนี้ The Urbanis จะพาทุกคนไปเรียนรู้และรู้จักกับวัฒนธรรมอาหารที่หลากหลายในย่านกะดีจีน-คลองสานกัน ขนมฝรั่งกุฎีจีน ‘ขนมฝรั่งกุฎีจีน’ ขนมสูตรต้นตำรับจากชาวเชื้อสายโปรตุเกสที่อยู่คู่กับชุมชนกุฎีจีนมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรีและถูกสืบทอดมาอย่างยาวนาน ตัวขนมที่ประกอบไปด้วย แป้งสาลี ไข่ และไม่มีการใส่สีเพิ่ม ตกแต่งด้วยผลไม้อบแห้ง เช่น ลูกพลับ ลูกเกด และฟักทองเชื่อม ใช้วิธีการอบโดยเตาอบที่ก่อเอง ทำให้ขนมมีความหอม กรอบนอกนุ่มใน ใครที่ผ่านมาแถวย่านกะดีจีน–คลองสานก็สามารถหาซื้อติดไม้ติดมือกลับไปทานกันได้  ลุตตี่ […]

ห้องสมุด: หนึ่งในพื้นที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของเมือง

04/03/2022

“โลกปัจจุบันเปลี่ยนแปลงเร็ว เราไม่สามารถหยุดเรียนรู้ เพื่อให้เราก้าวออกไปกับโลกสมัยใหม่ได้ เพราะฉะนั้น ความรู้ในระบบการศึกษาและสถานศึกษาอาจไม่เพียงพออีกต่อไป”  ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) กล่าวไว้ใน กิจกรรม การเรียนรู้ > การศึกษา  สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ เมืองแห่งการเรียนรู้คืออะไร เมื่อการเรียนรู้ > การศึกษา เมื่อการเรียนรู้ไม่ใช่แค่การศึกษา แต่ยังมีความหมายและมุมมองที่มากไปกว่านั้น วันนี้ The Urbanis จะพามาดูว่า การเรียนรู้คืออะไร สำคัญไฉนกับพวกเราทุกคน และพื้นที่แบบไหนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ พร้อมทั้งพาไปดูห้องสมุดที่เป็นส่วนสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้ ทั้งในและต่างประเทศว่าเป็นอย่างไรบ้าง การเรียนรู้คืออะไร มีคนให้คำนิยามเกี่ยวกับการเรียนรู้ไว้มากมาย ไม่ว่าจะเป็น การบอกว่าเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงระดับบุคคลที่เกิดขึ้นอย่างเป็นองค์รวม สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งจากภายในผ่านกระบวนการรู้คิด และจากภายนอก ผ่านชุดประสบการณ์การเรียนรู้ และการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคล สื่อ และสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้   บ้างก็กล่าวว่า การเรียนรู้ คือ กระบวนการของการได้รับใหม่หรือการปรับเปลี่ยนที่มีอยู่ความรู้ พฤติกรรม ทักษะค่านิยม หรือความพึงพอใจ การเรียนรู้บางอย่างเกิดขึ้นในทันทีโดยเหตุการณ์เดียวแต่ทักษะและความรู้จำนวนมากสะสมจากประสบการณ์ซ้ำ ๆ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการเรียนรู้มักจะมีอายุการใช้งานยาวนานและเป็นการยากที่จะแยกแยะเนื้อหาที่เรียนรู้  หรือบางคนก็นิยามว่าเป็นกระบวนการที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงซึ่งเกิดขึ้นจากประสบการณ์และเพิ่มศักยภาพในการปรับปรุงประสิทธิภาพและการเรียนรู้ในอนาคต ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของผู้เรียนอาจเกิดขึ้นในระดับความรู้ เจตคติ หรือพฤติกรรม และผลจากการเรียนรู้ทำให้ผู้เรียนมีมุมมอง […]

มองผ่านวิสัยทัศน์การพัฒนา “กรุงเทพฯ มหานครแห่งเอเชีย”

03/03/2022

ศตวรรษที่ 21 คือครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ประชากรโลกอาศัยอยู่ในพื้นที่เมืองมากกว่าชนบท และยังมีแนวโน้มการย้ายถิ่นฐานเข้าสู่เมืองสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะเมืองขนาดใหญ่หรือเมืองมหานครที่เป็นศูนย์รวมกิจกรรมการบริการต่าง ๆ เต็มไปด้วยโอกาสทางเศรษฐกิจและการดำรงชีวิต กลายเป็นความท้าทายต่อเมืองทั่วโลก ว่าจะวางแผนเพื่อให้สามารถรองรับการอยู่อาศัยของคนจำนวนมาก พร้อมทั้งมอบคุณภาพชีวิตที่ดีต่อคนเมืองได้ ศตวรรษที่ 21 นี้ จึงถือเป็นศตวรรษของเมือง วันนี้ เราจึงชวนทุกท่านมาดูว่า เมืองกรุงเทพฯ ที่ว่าใหญ่นั้น ใหญ่แค่ไหน? และการเป็น “มหานครแห่งเอเชีย” ในพ.ศ. 2575 ตามวิสัยทัศน์การพัฒนากรุงเทพฯ 20 ปีนั้น ต้องการอะไรมาเติมเต็มให้สามารถปลดล็อกการบริหารจัดการและพัฒนากรุงเทพฯ ให้ก้าวไปข้างหน้าได้ แค่ไหนเรียกมหานคร? หากมองในบริบทเชิงพื้นที่แล้ว เมืองก็คือพื้นที่ที่มีคนมาตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก ขยายตัวจนกลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ ผู้คนในชุมชนก็วิถีชีวิตหรือการประกอบอาชีพที่ต่างไปจากสังคมเกษตรกรรมรูปแบบเดิม ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว การจะบอกว่าเมืองนั้นเป็นเมืองขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ จะพิจารณาจากจำนวนประชากรของเมืองนั้น ซึ่งองค์การสหประชาชาติได้กำหนดเกณฑ์การจำแนกขนาดของเมืองไว้ 4 ขนาด ได้แก่ นคร (Large city) ประชากร 5 แสน – 1 ล้านคน มหานคร (Metropolis) ประชากร 1 ล้าน […]

Think Again คิดใหม่ เพื่อเมืองที่ดีกว่า

01/03/2022

ปัญหาที่มีอยู่ในเมืองนั้นมีมากมาย ทั้งรถติด น้ำท่วม มลพิษทางเสียงและทางอากาศ การขาดพื้นที่สีเขียว ขาดขนส่งสาธารณะที่มีประสิทธิภาพ การจะแก้ปัญหาเหล่านี้ได้คงต้องเริ่มต้นจากกระบวนการคิดอย่างพิถีพิถัน แล้วการคิดใหม่หรือ think again จะสามารถใช้กับเรื่องเมืองของเราได้อย่างไรบ้าง ชวนทุกท่านมาตั้งคำถามและชวนมองเมืองในมุมมองใหม่ เพราะปัญหาในเมืองของเราต้องอาศัยการคิดใหม่ ทำใหม่ ในการขับเคลื่อนไปข้างหน้า วันนี้ The Urbanis จะชวนคุณมาติดตามการบรรยายจากกระบวนวิชาโลกรอบสถาปัตยกรรมปี 5 นำเสนอโดย รศ.ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ จากกลุ่ม Betther Bangkok ร่วมเสวนาในหัวข้อ “Think Again คิดใหม่ เพื่อเมืองที่ดีกว่า” เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2564 ชวนทุกท่านมาตั้งคำถามและชวนมองเมืองในมุมมองใหม่ เพราะปัญหาในเมืองของเราต้องอาศัยการคิดใหม่ ทำใหม่ ในการขับเคลื่อนไปข้างหน้า Challenges of the City ความท้าทายของเมือง  เวลาเรานึกถึงเมือง เรานึกถึงอะไร หลายคนอาจจะนึกถึงตึกระฟ้า รถไฟฟ้า ถนนหนทางต่างๆ แต่จริงๆแล้ว หัวใจของเมืองไม่ได้อยู่ที่สิ่งปลูกสร้าง ดังคำพูดของวิลเลี่ยม เชคสเปียร์ “What is […]

ร่วมปฎิบัติการนักสังเกตการณ์เมือง

28/02/2022

หนึ่งในวิธีที่เราจะสามารถศึกษาเรื่องเมืองได้ดีที่สุด คือการเป็นคนช่างสังเกต เพราะว่าการสังเกตจะช่วยให้เรารับรู้ถึงข้อมูล ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นรอบๆ ตัวเรา แล้วมันสามารถนำมาวิเคราะห์กลั่นกรองออกมาเป็นข้อมูลใหม่ๆ เป็นแนวทางใหม่ๆ ในการแก้ปัญหาได้ ตัวอย่างที่ดีตัวอย่างหนึ่งที่หลายคนน่าจะเคยได้ยินเรื่องราวมาบ้างแล้ว คือ การค้นพบต้นเหตุที่มาของการระบาดของอหิวาตกโรคในลอนดอนในปี 1854 จากการที่ John Snow ได้สังเกตพฤติกรรมและจดบันทึก จนค้นพบว่าผู้ป่วยมีการเดินทางไปใช้น้ำจากแหล่งเดียวกัน วันนี้ The Urbanis จึงอยากชวนผู้อ่านมาร่วมเป็นนักสังเกตการณ์เมือง ร่วมเรียนรู้วิธีการ “Urban Observatory”  การเก็บข้อมูลเมืองในแบบฉบับนักสังเกตการณ์เมืองจะเป็นอย่างไร แล้วการสังเกตการณ์เมืองจะช่วยพัฒนาเมืองของเราได้อย่างไรบ้าง ติดตามกันได้ที่บทความนี้ “เมือง” คืออะไร ก่อนที่จะเป็นนักสังเกตการณ์เมืองเรามาทำความเข้าใจคำว่า “เมือง” กันก่อน คำว่าเมืองนั้นมีนิยามที่หลากหลายทั้งในเชิงกายภาพ ผู้คน เศรษฐกิจ หลายๆ ครั้งก็ทำให้เกิดคำถามที่ว่า ว่าเราจะนิยามเมืองได้ครอบคลุมขนาดนั้นจริงหรือ แต่โดยรวมแล้วเมืองจะสะท้อนให้เห็นถึง ความแตกต่าง ความหลากหลาย โอกาส และความเหลี่ยมล้ำ ทั้งหมดทั้งมวลนี้ทำให้เมืองมีความซับซ้อน ไม่สามารถจำเพาะเจาะจงหรือจำกัดความได้ว่า เมือง หรือ การศึกษาเรื่องเมือง เป็นเรื่องเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แต่โดยส่วนตัวแล้วคุณอดิศักดิ์มองว่า เมือง คือ ผู้คน พื้นที่ และการปะทะสังสรรค์ของการใช้ชีวิตและกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีความหลากหลายและหนาแน่น […]

เมื่อข้อมูลเปิด เมืองจึงขับเคลื่อนการพัฒนาเร็วขึ้น

25/02/2022

ในช่วง 5-10 ปีที่ผ่านมา คำว่า “ข้อมูล” และ “ข้อมูลเปิด” คงเป็นคำที่หลายคนเคยผ่านตาผ่านหู หรือหลายคนก็อาจจะโดนกรอกหูด้วยคำนี้ตลอดเวลา คงปฏิเสธไม่ได้ว่าในยุคดิจิทัลภิวัตน์นี้ ข้อมูลเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนการวางแผนหรือการตัดสินใจของหลากหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นระดับย่าน เมือง หรือประเทศ  หากแต่ด้วยความรวดเร็วของข้อมูลข่าวสาร หลายคนก็อาจจะยังไม่รู้จักหรือคุ้นเคยกับ “ข้อมูลเปิด” เท่าไรนัก และอาจจะยังนึกไม่ออกว่าข้อมูลเปิดจะช่วยในการขับเคลื่อนการพัฒนาได้อย่างไร วันนี้ The Urbanis เลยอยากชวนทุกคนมาทำความรู้จักกับคำว่าข้อมูลเปิด เปิดแค่ไหนถึงเรียกว่าเปิด ทำไมถึงต้องเปิดข้อมูล ทำไมเปิดข้อมูลแล้วช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาให้เร็วขึ้น และประเทศไทยอยู่ตรงไหนของการเปิดข้อมูล ข้อมูลเปิดคืออะไร? ข้อมูลเปิด คือ ข้อมูลที่เราสามารถนำไปใช้ได้อย่างเสรี ไม่มีข้อจำกัด สามารถนำกลับมาใช้ใหม่และแบ่งปันต่อได้ แต่ต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล และใช้งานข้อมูลตามขอบเขตที่เจ้าของข้อมูลหรืองานกำหนดไว้ อาทิ การห้ามใช้เพื่อการพาณิชย์ ที่หลายคนอาจจะพบบ่อย โดยข้อมูลเปิดนั้น ควรมีรูปแบบข้อมูลที่สะดวกต่อการนำไปใช้งานต่อ สามารถปรับปรุงแก้ไขได้ และควรอ่านได้ด้วยคอมพิวเตอร์ ส่วนในด้านค่าใช้จ่าย ข้อมูลเปิดควรเปิดเป็นสาธารณะโดยไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายในการเข้าถึง หรืออย่างน้อยที่สุดคือค่าธรรมเนียมในการทำสำเนา หรือสนับสนุนการดำเนินการและการมีอยู้ของฐานข้อมูลนั้นๆ  ทั้งนี้ ไม่ว่าภาคส่วนใดก็สามารถแบ่งปันข้อมูลเปิดได้ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐที่เรียกได้ว่าเป็นผู้ถือข้อมูลมากที่สุดและละเอียดที่สุด ภาคเอกชน ภาคการศึกษา ภาคประชาสังคม และสาธารณะชน ทุกภาคส่วนล้วนสามารถที่จะแบ่งปันข้อมูลได้ บนฐานที่ไม่กระทบต่อข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่น […]

กรุงเทพฯ เมืองร่วม “คิด”

22/02/2022

จะดีแค่ไหน หากเมืองสามารถรวมทุกเสียงจากทุกมุมเมืองมาต่อยอดการพัฒนาได้? เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่า การที่จะทำให้พลเมืองรัก หวงแหน และรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของเมือง ปัจจัยหลักมากจากการที่พลเมืองมีสิทธิและมีส่วนร่วมในการตัดสินใจหรือแสดงความคิดเห็นต่อการพัฒนาต่างๆ เมื่อทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นรัฐ เอกชน ประชาสังคม และชุมชนเปิดพื้นที่ในการแสดงออกทางความคิดเห็น ตลอดจนรับฟังและเคารพเสียงของเรา แน่นอนว่าย่อมก่อให้เกิดการขับเคลื่อนการพัฒนาที่ตรงกับความต้องการและปัญหาของเมืองและคนเมืองอย่างแท้จริง รวมไปถึงสร้างความสมดุลระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการพัฒนาเมืองอีกด้วย วันนี้เราเลยหยิบยกกลไกและเครื่องมือในการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของพลเมือง มาเป็นตัวอย่างให้เห็นว่าหลายๆเมืองทั่วโลกมีการขับเคลื่อนการพัฒนาผ่านเสียงและการมีส่วนร่วมของประชาชน กลไกและเครื่องมือในการรับฟังเสียงพลเมือง 1. แพลตฟอร์มกลางในการสื่อสารของทุกภาคส่วน  เมื่อพูดถึงกลไกหรือเครื่องมือในการรับฟังเสียงของประชาชน รวมไปถึงกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมืองที่หลายเมืองทั่วโลกใช้ในช่วงเริ่มแรกนั้นคงจะหรือไม่พ้นการใช้แพลตฟอร์มหรือช่องทางในการรับความคิดเห็นทั้งออฟไลน์และออนไลน์ โดยจะขอยกตัวอย่าง 2 แพลตฟอร์มที่เป็นนิยมในการรวบรวมความคิดเห็นที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย คือ (1) การลงคะแนนเสียงออนไลน์ (I-voting) คือเครื่องมือในการโหวตและแสดงความคิดเห็นต่อโครงการพัฒนา เช่น โครงการ Shezidao ของไทเป ที่รัฐได้ทดลองให้ประชาชนมาลงคะแนนเสียงต่อโครงการพัฒนาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ และ (2) การจัดทำงบประมาณอย่างมีส่วนร่วม (Participatory Budgeting) คือเครื่องมือที่นอกจากจะให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็นและลงคะแนนเสียงต่อการพัฒนาของเมืองแล้ว ยังสามารถมีส่วนร่วมตัดสินใจเกี่ยวกับการใช้งบประมาณของเมืองอีกด้วย ที่จะช่วยสร้างความเป็นธรรมและความชอบธรรมต่อการเสนองบประมาณของท้องถิ่น นอกจากนี้ ในยุคดิจิทัลยังจะเห็นได้ว่าผู้นำของหลายๆประเทศ เริ่มเป็นพื้นที่ออนไลน์ให้ประชาชนได้เข้ามาพูดคุย หรืออัพเดตความเคลื่อนไหวของการดำเนินงานผ่านโซเชียลมีเดีย อย่างเฟสบุ๊คและทวิตเตอร์ ทำให้การสื่อสารระหว่างผู้นำและประชาชนนั้นใกล้มากยิ่งขึ้น 2. การประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น (focus group) การประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือการสนทนากลุ่มนั้น […]

ชื่อบ้านนามเมืองนั้นสำคัญไฉน บางกอก VS กรุงเทพมหานคร

18/02/2022

คงเป็นที่สนใจอยู่ไม่น้อยสำหรับกระแสข่าวที่มี มติ.ครม เปลี่ยนชื่อเรียก “กรุงเทพมหานคร” ในภาษาอังกฤษ ตามที่สำนักงานสำนักงานราชบัณฑิตเสนอ จาก Krung Thep Maha Nakhon; Bangkok เป็น Krung Thep Maha Nakhon (Bangkok) ซึ่งความจริงก็มีประกาศอย่างเป็นทางการของทางสำนักงานราชบัณฑิตว่าสามารถใช้ได้ทั้ง 2 ชื่อ คือ Krung Thep Maha Nakhon และ Bangkok แต่ก่อนที่สนับสนุน หรือไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ ทีมงาน The UrbanIs อยากชวนทุกท่านมาตั้งคำถามว่า แท้ที่จริงแล้ว ชื่อบ้านนามเมือง นี้ที่จริงแล้วมีที่มาที่ไป อย่างไร และความจริงแล้วมีความสำคัญอย่างไรบ้าง และหากเราสามารถตั้งชื่อเมืองที่เราอยู่ได้เอง เลยอยากจะชวนทุกท่านมาลองตั้งชื่อเมืองที่เราอยู่หน่อยว่าจะมีชื่ออะไรบ้าง ชื่อบ้านนามเมืองหรือ “ภูมินาม” (Place Name/Geographic Name) ความจริงแล้วเป็นระบบวิธีคิดทางวัฒนธรรมของผู้คนแต่ละพื้นที่ ซึ่งมีความหมายสัมพันธ์กับถิ่นที่อยู่อาศัย วัฒนธรรม ความเชื่อ ทั้งที่เกี่ยวข้องกับลักษณะทางภูมิศาสตร์ ภูมิประเทศ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น วรรณกรรม เรื่องเล่า […]

พลเมืองกับเมืองน่าอยู่: วิชาพลเมืองสำคัญแค่ไหนกับการขับเคลื่อนเมืองน่าอยู่

17/02/2022

วิชาหน้าที่พลเมือง หรือ Civic/Citizenship Education เป็นวิชาที่ช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ ความเข้าใจเพื่อเตรียมความพร้อมผู้เรียนสู่การมีส่วนร่วมในสังคมอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การให้ความรู้เรื่องการเป็นพลเมือง ควรส่งเสริมให้ผู้เรียนตระหนักและเข้าใจระบอบประชาธิปไตย การบริหารจัดการของภาครัฐ ตลอดจนวิธีปฏิบัติตามกฎหมาย การสอนควรส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะและความรู้ในการชั่งน้ำหนักหลักฐาน อภิปราย และให้เหตุผลการสำรวจประเด็นทางการเมืองและสังคมอย่างมีวิจารณญาณ นอกจากนี้ยังควรเตรียมนักเรียนให้พร้อมเข้าสู่สังคมในฐานะพลเมืองที่มีความรับผิดชอบ หรือหากสรุปให้เข้าใจอย่างง่าย คือที่ปลูกฝังให้ผู้เรียนเป็นพลเมืองที่ดีของสังคมนั้นเอง แล้ววิชาหน้าที่พลเมืองสำคัญกับเมืองน่าอยู่อย่างไร? วิชาหน้าที่พลเมืองปลูกฝังให้ผู้เรียนเป็นพลเมืองตื่นรู้ ที่จะเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนสำคัญในการสร้างให้เกิดเมืองน่าอยู่ หากเรามองในระดับที่เล็กลงอย่างหมู่บ้าน หากผู้คนในหมู่บ้านของเราปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่หมู่บ้านกำหนดไว้ ทุกคนเคารพในสิทธิของกันและกัน รักษาทรัพย์สินส่วนกลาง ผู้คนมีปฏิสัมพันธ์กัน ช่วยเหลือกัน หมู่บ้านคงเป็นหมู่บ้านที่น่าอยู่ไม่ใช่น้อย หากเรากลับมามองที่ระดับเมือง การที่ผู้คนภายในเมืองมีความเป็นพลเมือง ทำตามกฎระเบียบ รักษาและหวงแหนทรัพย์สินสาธารณะ ไปใช้สิทธิเลือกตั้งเพื่อเลือกผู้แทนที่มีนโยบายการพัฒนาเมืองที่ตรงกับความต้องการของเรา หรือการเข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจโครงการพัฒนาต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต รวมไปถึงการรักษาสิทธิต่างๆ เช่นการเรียกร้องการจัดสรรงบประมาณให้มีประสิทธิภาพ งบประมาณถูกนำไปใช้กับโครงการที่มีความจำเป็นและตอบโจทย์กับคนจำนวนมาก เราคงเข้าใกล้การอาศัยในเมืองน่าอยู่อีกก้าว การจะปลูกฝังพลเมืองให้กลายเป็นพลเมืองตื่นรู้ที่ช่วยเคลื่อนเมืองได้นั้น จำเป็นต้องมีการปลูกฝังตั้งแต่เด็ก และขัดเกลาอย่างต่อเนื่อง โรงเรียนจึงถือเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญ ที่จะส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนให้กลายเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ รู้ถึงสิทธิขั้นพื้นฐานและบทบาทหน้าที่ของตนเอง ซึ่งในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าเรื่องสิทธิและหน้าที่ถูกพูดถึงบ่อยครั้ง โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชน ที่ในช่วงหลายปีมานี้ มีความตื่นตัวอย่างมาก วันนี้ The Urbanis จึงอยากพาทุกท่านมาดูและตั้งคำถามผ่านตัวอย่างการเรียนการสอนของต่างประเทศและของไทยกัน นักเรียน โรงเรียน […]

1 3 4 5 6 7 15