Public Realm



แผงลอยปารีส LES MARCHES DE PARIS และตลาดแผงลอยในชนบท

10/06/2023

ปารีสก็เหมือนกับเมืองอื่นๆ ที่มีตลาดเป็นหัวใจของเมือง ตลาดแผงลอยเป็นหนึ่งในตลาดที่เทศบาลปารีสให้การสนับสนุนและส่งเสริมอย่างจริงจัง เมืองปารีสมีขนาดเล็กกว่ากรุงเทพฯ ประมาณ 150 เท่า แบ่งเป็น 20 เขต ปัจจุบันนี้มีแผงลอยกว่า 72 แห่ง เขตละ 3-4 แห่ง และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีกเรื่อยๆ โดยปกติแล้วแผงลอยในปารีสจะเปิดเป็นตลาดเช้า เวลาเจ็ดโมงจนถึงช่วงบ่ายโมงที่ตลาดเริ่มวาย แต่ด้วยการเติบโตของตลาดที่มากขึ้น เทศบาลปารีสจึงได้ริเริ่มตลาดบ่ายขึ้นในหลายย่าน เพื่อเป็น “เครื่องยนต์เสริม” ในการเพิ่มพลวัติให้กับเมือง แผงลอยที่ไม่ล่องลอยอีกต่อไป กลับมาปารีสครั้งนี้ สิ่งที่สังเกตเห็นคือ ในบางย่านและบนทางเท้าของถนนบางเส้น จะมีโครงสร้างร้านติดตั้งไว้ เป็นโครงสร้างเสาเล็กโปร่งเบา หลังคาผ้าใบสีแดงสีขาวม้วนเก็บได้ นี่คือโครงสร้างของตลาดแผงลอยที่ติดตั้งถาวรไว้เลย จากที่แต่ก่อนรื้อเก็บหลังตลาดเลิก ที่เปลี่ยนมาทำแบบนี้ อาจจะเป็นไปได้ว่า เป็นบริเวณที่ทางเท้ามีความกว้างพอที่โครงสร้างเหล่านี้จะไม่เกะกะคนเดิน หรือเป็นตลาดที่มีชื่อเสียงและคนติดแล้ว (เช่น ในเขต 14 เป็นตลาดขายอาหารที่มีความยาวที่สุดในปารีส คนประมาณมดรุมน้ำตาลก้อน) รวมทั้งความถี่ของตลาดมีบ่อยขึ้น จากอดีตมีแค่สัปดาห์ละครั้ง ตอนนี้ตลาดในบางย่านมีสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง จะมาเดี๋ยวติดเดี๋ยวรื้อก็ไม่ไหว จึงออกแบบให้อยู่ร่วมกับทางเท้าหรือลานสาธารณะ การขยายตัวของตลาดแผงลอยทั่วกรุงปารีส ด้วยความนิยมของผู้บริโภคชาวปารีสที่นิยมอาหารออแกนิคหรืออาหารที่มีห่วงโซ่อาหาร (Food Chain) สั้น รวมทั้งต้องการความหลากหลายของสินค้าที่ซูเปอร์มาร์เก็ตอาจจะให้ไม่ได้ […]

PLACE DE LA BASTILLE พื้นที่สาธารณะใหม่ ที่ผู้พิการทางสายตาร่วมออกแบบ

10/06/2023

ลานบาสตีย์ (Place de la Bastille) ที่มีอนุสาวรีย์แห่งความทรงจำของการปฏิวัติฝรั่งเศส อดีตเคยเป็นที่ตั้งของคุกบาสตีย์อันเป็นสัญลักษณ์ของระบบการเมืองและสังคมของฝรั่งเศสก่อนการปฏิวัติ (Ancien Régime) มาก่อน แต่มันได้ถูกทำลายลงเมื่อวันที่ 14 ก.ค. 1789 ซึ่งเป็นวันเดียวกับวันชาติฝรั่งเศส ทำให้ลานนี้คือหนึ่งในลานยอดนิยมในปราศัยและการเรียกร้องทางการเมือง อนุสาวรีย์นี้ออกแบบมาหลายเวอร์ชัน เช่น รูปช้างในสมัยจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 (Napoleon I) ที่ปรากฏในวรรณกรรม เล มิเซราบล์ (Les Misérables) โดยวิกตอร์ อูว์โก (Victor Hugo) แต่ที่สร้างจริงที่เราเห็นทุกวันนี้คือออกแบบในสมัยจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 (Napoleon III) เป็นเสาบรอนซ์สีเขียวขนาดใหญ่ บนยอดประดับด้วยรูปปั้น “จิตวิญญาณอิสระ” (Le Génie de la Liberté) ที่มาภาพ APUR อนุสาวรีย์นี้เดิมเป็นวงเวียนรถยนต์ธรรมดา หากเราอยากศึกษาอนุสารีย์ประวัติศาสตร์ แต่ก่อนต้องเดินข้ามถนนไป ซึ่งข้ามยากเพราะถนนมีขนาดใหญ่ อนุสาวรีย์นี้ตั้งอยู่ปลายถนน Rivoli (เส้นตะวันออก-ตก) ที่วิ่งมาเชื่อมกับย่านบาสตีย์ ย่านกินดื่มและย่านวัฒนธรรม เป็นที่ตั้งของ […]

Urban gender: เมืองไม่จำกัดเพศ

01/06/2023

ด้วยยุคปัจจุบันกระแสความนิยมทั่วโลกเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด การเปิดกว้างทางสังคม โดยเฉพาะเรื่องของความหลากหลายทางเพศกลายเป็นที่ยอมรับกันมากขึ้น หลาย ๆ ประเทศอนุมัติให้มีการจดทะเบียนสมรสที่นอกเหนือจาก ชาย-หญิง อีกทั้งในแง่ของแฟชั่นเครื่องแต่งกายแบบ Unisex ก็เป็นกระแสที่โด่งดังมากขึ้นตาม ๆ กันมา ซึ่งหลายคนมองว่าแฟชั่นการแต่งกายนั้นไม่ควรจำกัดอยู่ที่เพศใดเพศหนึ่ง บ้างกล่าวว่าเสื้อผ้าไม่มีเพศ ทุกอย่างขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของผู้สวมใส่ว่าแบบไหนเราถึงจะมั่นใจและเป็นตัวของตัวเอง ทั้งนี้ นอกจากเรื่องของปัจเจกบุคคลเป็นเรื่องที่สำคัญ แต่อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญไม่ต่างกันคือเรื่องของการออกแบบเมือง โดยการออกแบบเมืองในที่นี้จะหมายถึง การจะออกแบบเมืองอย่างไร เพื่อให้รองรับกับการใช้ชีวิตบนพื้นฐานความหลากทางทางเทศ และค่านิยมที่เปลี่ยนแปลงไป The Urbanis อยากจะชวนผู้อ่านทุกท่านมาดูกันว่าถ้าเราสามารถออกแบบเมืองภายใต้หัวข้อความหลากหลายทางเพศได้ เมืองแห่งนั้นจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร เมื่อห้องน้ำกลายเป็นพื้นที่ต้นแบบแห่งความหลากหลายทางเพศ อย่างที่เราคุ้นชินและเป็นที่รู้กันดีว่าห้องน้ำสาธารณะทั่วไป ทั้งในห้างสรรพสินค้า สวนสาธารณะ หรือในพื้นที่ใดก็ตาม มักถูกแบ่งแยกเพื่อรองรับกับการใช้งานตามเพศกำเนิด กล่าวคือเพื่อรองรับสำหรับเพศชายและเพศหญิงเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงของสังคมปัจจุบันหลายคนมักเลือกวิถีทางเพศเป็นของตัวเอง หากกล่าวให้เข้าใจโดยง่ายคือ เพศวิถี ไม่เท่ากับ เพศกำเนิด นั้นเอง เมื่อเรามองว่าห้องน้ำคือพื้นที่สาธารณะขั้นพื้นฐานที่สำคัญของเมือง ดังนั้นการออบแบบห้องน้ำที่เป็นองค์ประกอบหนึ่งของเมือง ให้รองรับกับการใช้งานบนพื้นฐานความหลากหลายทางเพศอาจจะเป็นจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ ที่สำคัญ เพราะการใช้ห้องน้ำที่ไม่ตรงตามเพศวิถีอาจจะส่งผลให้เกิดเหตุการณ์ขัดแย้ง ถึงขั้นร้ายร่างกายตามหน้าข่าวที่พบเห็นได้ทั่วไป ประเด็นการออกแบบห้องน้ำไร้เพศจึงมีกระแสมากขึ้น ตัวอย่างเช่น บทความเรื่อง “Why Architects Must Rethink Restroom Design […]

ฟื้นฟูย่านคลองสานด้วย กราฟฟิตี้คอมมูนิตี้ x สวนสานฯ

24/02/2023

ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของเมือง ผู้คน สภาพแวดล้อมอย่างรวดเร็วแนวทางการฟื้นฟูย่านกะดีจีน-คลองสาน ย่านประวัติศาสตร์สำคัญของกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันไม่เพียงแต่ฟื้นฟูด้านมรดกวัฒนธรรม แต่ต้องฟื้นฟูด้านพื้นที่ร่วมด้วย ทั้งพื้นที่รกร้างรอการพัฒนาซ่อนตัวอยู่ในย่าน การฟื้นฟูสภาพแวดล้อมเพื่อการเดินเชื่อมต่อให้มีความปลอดภัย รวมไปถึง ความร่วมมือในการพัฒนา ดังนั้นจำเป็นต้องมีการทดลองใช้วิธีการพัฒนาเมืองจากล่างขึ้นบน TACTICAL URBANISM หนึ่งในลูกเล่นการพัฒนาเมืองที่จะพาไปสู่ ‘เมืองแห่งการเรียนรู้’ และใช้แนวคิด Art-leds Urban Regeneration ถอดบทเรียน เรียนรู้ผ่าน ‘กระบวนการฟื้นฟูเมือง’ เป็นเครื่องมือ เข้ามาช่วยโดยสามารถเริ่มได้จากกระบวนการมีส่วนร่วมจากคนในย่าน การฟื้นฟูย่านด้วยศิลปะ ที่เกิดจากกระบวนการมีส่วนร่วม และเริ่มต้นจากผู้คนในเมือง (bottom-up) แทนที่จะเริ่มด้วยการตัดสินใจจากภาครัฐ แต่เริ่มด้วยไอเดียของคนในชุมชน ซึ่งเป็นคนที่อยู่และรู้จักย่านดีกว่าใครๆ ดังนั้นแล้ว เพื่อเป็นการทดลองแนวคิด และวิธีการเพื่อเปลี่ยนภาพจำใหม่ของย่านทั้งพื้นที่ และความสัมพันธ์ของคนในชุมชน UddC ยังธน และภาคีขับเคลื่อน ทดลองผ่านกิจกรรมที่ชื่อว่า ‘กราฟฟิตี้คอมมูนิตี้คิดส์ x สวนสานธารณะ’ ในพื้นที่สวนสานธารณะ ซึ่งกว่าจะมาเป็นกิจกรรมนี้มีการพูดคุยมาไม่ต่ำกว่า 20 ครั้ง  สร้างสีสันในสวนสาน ฯ จากการพูดคุยมามากกว่า 20 ครั้ง สวนสานธารณะ ที่ดินเอกชนพลิกฟื้นจากพื้นที่รกร้างว่างเปล่าสู่การเป็นสวนสาธารณะแห่งใหม่ของย่านกะดีจีน-คลองสานด้วยกระบวนการพูดคุย และออกแบบอย่างมีส่วนร่วมระหว่าง ชุมชนช่างนาคสะพานยาว […]

คนสร้างเมือง เมืองสร้างคน: การออกแบบเมืองกับการจัดระเบียบทางสังคม

22/02/2023

“คนสร้างเมือง แล้วต่อไปเมืองจะสร้างคน” ญาน เกห์ล คิดว่าหลายคนคงอาจเคยได้ยินข้อความนี้มาก่อน โดยข้อความดังกล่าว เป็นคำกล่าวของสถาปนิกและนักผังเมืองชาวเดนมาร์ก ซึ่งทุกคนเคยคิดไหมว่า การที่เราสร้างเมืองขึ้นมาในแต่ละครั้งนั้น เมืองจะสามารถมีส่วนช่วยในการสร้างคนหรือระเบียบทางสังคมได้อย่างไร  บทความนี้จึงจะพาทุกคนไปทำความเข้าใจกับความสำคัญของการออกแบบเมือง จากกรณีศึกษาของประเทศญี่ปุ่น ด้วยการนำเสนอมุมมองของการออกแบบที่มีผลต่อความนึกคิดและพฤติกรรมของผู้คน ให้เห็นว่าการออกแบบเมืองนั้น สามารถกำหนดทิศทางของเมืองและผู้คนได้อย่างไร  การออกแบบเมืองกับความมีระเบียบวินัยของคนญี่ปุ่น ที่มาภาพ あたりまえになった整列乗車|TOKYO GOOD MUSEUM (goodmanners.tokyo) หากนึกถึงประเทศญี่ปุ่น เราคงหลีกเลี่ยงการพูดถึงเรื่องความสวยงาม ความสะอาด และความสะดวกสบายที่ผู้คนสามารถใช้งานได้จริงและเอื้อต่อคนทุกกลุ่มไปไม่ได้ และแน่นอนว่าอีกสิ่งหนึ่งที่เราไม่สามารถมองข้ามไปได้เลยก็คือ “ความมีระเบียบวินัย” ของคนญี่ปุ่น ทั้งจากการเข้าคิวต่อแถว การตรงต่อเวลา การหยุดรถให้คนข้ามทางม้าลาย หรือการขึ้นรถสาธารณะอย่างเป็นระเบียบก็ด้วยเช่นกัน ถึงแม้ว่าในสถานการณ์นั้นๆ จะต้องแข่งขันกับเวลา หรือมีผู้คนมากมายแค่ไหนก็ตาม แต่คนญี่ปุ่นก็ยังคงมีระเบียบวินัยและความเรียบร้อยอยู่เสมอ หลายคนคงอาจคิดว่าความมีระเบียบวินัยของคนญี่ปุ่นนั้น เป็นเพราะคนญี่ปุ่นเอง ที่มีนิสัยมีระเบียบวินัยและมีจิตใต้สำนึกที่ดีอยู่แล้ว ประกอบกับสังคมและวัฒนธรรมของประเทศญี่ปุ่นที่หล่อหลอมให้คนญี่ปุ่นเป็นเช่นนั้น แต่ทุกคนเคยคิดไหมว่า นอกจากระเบียบวินัยในตัวเองแล้ว การออกแบบเมืองก็เป็นอีกส่วนหนึ่งในการพัฒนาคน ที่ช่วยสนับสนุนให้คนมีระเบียบวินัยและมีพฤติกรรมเหล่านั้นด้วยเช่นกัน เพราะการออกแบบและการพัฒนาเมือง ไม่ได้ส่งผลเพียงแค่การเปลี่ยนแปลงไปของเมืองเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงของผู้คนทั้งในทางตรงและทางอ้อมได้อีกด้วย เบื้องหลังการออกแบบเมืองน่าอยู่ของประเทศญี่ปุ่นด้วยการใช้“เส้น” ที่มาภาพ Livable Japan ออกแบบ‘เมือง’ดีไซน์‘ชีวิต’ สู่ญี่ปุ่นฉบับปัจจุบัน (matichon.co.th) เริ่มต้นจากการที่เมือง […]

เมืองพาโสด: เมื่อคุณไม่ได้อยู่ในโหมดที่จะเจอคนที่ใช่

14/02/2023

การออกแบบพื้นที่ในเมืองส่งผลอย่างมากต่อความสัมพันธ์ของผู้คนในเมือง ปัจจุบันนี้ อัตราการมีคู่ของผู้คนลดลง ส่วนหนึ่งอาจเป็นผลมาจากเมืองที่อยู่ ที่ทำให้ผู้คนขาดโอกาสที่จะมีปฏิสัมพันธ์กัน เป็นสถานการณ์ที่คนในเมืองมีการพูดถึงและให้ความสนใจอย่างต่อเนื่องมาหลายปี บทความนี้จะมีการแสดงให้เห็นถึงประเด็นเรื่องของเมืองและการหาคู่ ว่าเมืองควรมีการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาอย่างไร ที่จะตอบโจทย์คนโสด ที่อยากมีคู่หรือไม่อยากมีคู่ เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจต่อการขับเคลื่อนเมืองให้น่าอยู่ผ่านประเด็นในชีวิตประจำวันและเป็นประเด็นที่ผู้คนค่อนข้างมีความรู้สึกเข้าร่วม วาเลนไทน์นี้ หากใครที่ยังโสด มันอาจไม่ได้อยู่ที่คุณก็ได้ ถ้าคุณลองมองภาพจากในหนังหรืออนิเมะในความทรงจำของหลายๆ ท่าน ในแนวโรแมนติกคอมเมดี้มักจะมีภาพของการพบเจอกันระหว่างนางเอก พระเอก พระรอง หรือนางรอง ที่พบเจอกันในเมือง รถไฟใต้ดิน หรือเดินชนกันระหว่างทางไปวัด ไปดูดอกซากุระ แล้วย้อนกลับมองมาที่ประเทศไทย จะเห็นว่าคนไทยที่ไม่โสดจะอยู่ในสังคมเดียวกันเป็นหลัก เป็นเพื่อนหรือทำงานด้วยกันด้วยกัน ยิ่งมีพื้นที่ส่วนตัวมากเท่าไหร่ยิ่งทำให้มีคนโสดมากขึ้น แล้วเมืองแบบไหน…ที่จะทำให้โสด? เมืองอะไรเอ่ย?? ที่อยู่แล้ว “โสด” เมืองสามารถทำให้เรา “โสด” ได้อย่างไร? ความ “โสด” เป็นส่วนหนึ่งผลลัพธ์มาจากวัฒนธรรมการขับรถยนต์ ขับรถไปทำงานแล้วกลับบ้านเวลาส่วนใหญ่อยู่บนท้องถนน และสามารถตีความได้อีกว่า ความ “โสด” นั้นมาจากชีวิตประจำวันไม่มีเวลาได้ดมดอกไม้ หรือหาความรื่นรมย์ชีวิตนั่นเอง เพราะเจอสภาพปัญหารถติดหนักมาก ชีวิตจึงต้องแกร่วอยู่บนท้องถนนนั่นเอง  แล้วมันเกี่ยวข้องกันอย่างไร? เราจะอธิบายการที่เมืองมีส่งผลกับความสัมพันธ์และชีวิตคู่ของคนในกรุงเทพฯ ว่าทำไมคนในกรุงเทพฯ ถึงโสดกัน มีผลมาจากการใช้ชีวิตประจำวันของคนในเมืองหรือไม่ ผ่านหนังสือ บทความและการสำรวจของนักวิชาการ นักวิจัยและคนในเมือง เมืองทำให้ […]

ผู้อยู่เบื้องหลังการขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชนบนฐานความรู้ ย่านกะดีจีน-คลองสาน

03/02/2023

หลายๆ คนคงรู้จักย่านกะดีจีน-คลองสาน กันอยู่แล้ว ในฐานะย่านที่เป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์ริมแม่น้ำเจ้าพระยามาอย่างยาวนาน วันนี้ The Urbanis จะพาทุกคนไปรู้จักย่านนี้ให้มากขึ้นผ่านมุมมองการพัฒนาชุมชนบนฐานความรู้ จากเหล่าผู้นำชุมชนและประชาชนในพื้นที่ เพื่อทำความเข้าใจวิถีชีวิตของชุมชนพื้นที่ริมน้ำที่เป็นย่านที่มีศักยภาพและรายล้อมไปด้วยต้นทุนทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ที่สามารถมีองค์ความรู้ชุมชนเป็นของตนเอง จากการศึกษาของศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง พบว่า ย่านกะดีจีน-คลองสาน มีสาธารณูปโภคเพื่อการศึกษาและการเรียนรู้ครอบคลุมพื้นที่มากถึงประมาณร้อยละ 85 ของพื้นที่ย่าน (อ่านเพิ่มเติมได้ที่: รู้จักเมือง รู้จักย่านกะดีจีน-คลองสาน) สะท้อนให้เห็นถึง ศักยภาพของย่านกะดีจีน-คลองสาน ในการเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ จากการมีแหล่งเรียนรู้ด้านวัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาของเมือง มากไปกว่านั้นผู้คนที่อาศัยอยู่ในย่านนี้เองก็นำองค์ความรู้เหล่านั้นมาต่อยอดและพัฒนาศักยภาพของตนเอง พร้อมกับนำความรู้มาพัฒนาชุมชน ก่อนอื่นขอแนะนำ 3 ผู้นำชุมชนและ 1 ลูกบ้าน ที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนและพัฒนาชุมชนย่านกะดีจีน-คลองสาน ผ่านองค์ความรู้และการประสานงานความร่วมมือ คุณปิ่น หรือ ปิ่นทอง วงษ์สกุล ประธานชุมชนกุฎีจีน ที่ทำหน้าที่นี้มากว่าเกือบ 10 ปี พี่ปิ่นเล่าว่าบทบาทหลักๆ ที่ตนรับผิดชอบคือคอยสอดส่องดูแลและแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้กับคนในชุมชน รวมถึงคอยประสานงานกับลูกบ้าน ภาครัฐ รวมถึงภาคเอกชนที่เข้ามาในพื้นที่ด้วยเช่นกัน “การทำงานทุกขั้นตอนจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้หากคนในชุมชนไม่ให้ความร่วมมือหรือจิตสำนึกเพื่อส่วนรวมที่รู้สึกถึงความเป็นเจ้าของในสิ่งที่เป็นสาธารณะในสิทธิที่จะดูแลและบำรุงรักษาร่วมกัน”  เช่นเดียวกับ เฮียเซี๊ยะ สัมฤทธิ์ เอื้อโชติ ประธานชุมชนสวนสมเด็จย่า ที่บอกเปรียบตนเองเสมือนเป็นสื่อกลางในการพัฒนา เพราะต้องคอยทำหน้าที่ประสานทุกฝ่าย ทุกหน่วยงานเข้าด้วยกัน และเฮียล้าน วรชัย วิลาสรมณ์ ประธานชุมชนวัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร ที่มองบทบาทตนเองในฐานะประธานชุมชนไว้ว่า […]

สถานการณ์การเรียนรู้ในประเทศไทย

12/01/2023

ปัจจุบันทิศทางการเรียนรู้ของประเทศไทย มีความมุ่งหวังให้ในปีพ.ศ. 2579 คนไทยมีทักษะคิดวิเคราะห์ สร้างสรรค์ ใฝ่เรียนรู้ จิตสำนึกดีงาม รู้คุณค่าความเป็นไทย มีสุขภาพใจและกายที่ดี ตลอดจนขับเคลื่อนเศรษฐกิจบนฐานความรู้ (Productivity and Innovation driven) ซึ่งหากมองมา ณ ปัจจุบันที่เรากำลังอยู่ในยุค แห่ง ‘BANI’ หรือ ความเปราะบาง (Brittle) ความวิตกกังวล (Anxious) ความไม่เป็นเส้นตรง (Nonlinear) และ ความกำกวม เข้าใจไม่ได้ (Incomprehensible) ซึ่งเป็นขั้นกว่าของความผันผวน จากแนวโน้มที่ประชากรเกิดน้อยลง และการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งส่งผลให้สถานการณ์การเรียนรู้ของประเทศไทยในปัจจุบันกำลังเผชิญกับความท้าทายมากมาย Learning Loss ภาวะการเรียนรู้ถดถอย ที่มา: jcomp จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 เป็นหนึ่งในตัวเร่งทำให้แนวโน้มการเรียนรู้ในประเทศไทยเกิดภาวะการเรียนรู้ถดถอย หรือที่เรียกว่า ‘Learning Loss’ ผลการวิจัยจากโครงการวิจัยการพัฒนาระบบฐานข้อมูลแบบออนไลน์และการขยายผลการสํารวจสถานะความพร้อมในการเข้าสู่ระบบการศึกษาของเด็กปฐมวัย กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) (2565) พบว่า สถานการณ์การเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนไทยในช่วง 2-3 ปีมานี้ ไม่ได้มีข้อจำกัดอยู่เพียงแค่พื้นที่การเรียนรู้ แต่รวมไปถึงการเผชิญกับภาวะการเรียนรู้ถดถอย หรือ […]

สภาพแวดล้อมเมืองนอกระบบการศึกษา

09/01/2023

เมื่อการเรียนรู้ในปัจจุบันไม่ได้ถูกจำกัดอยู่ภายในห้องเรียนเพียงเท่านั้น ยังแผ่ขยายออกไปในพื้นที่นอกห้องเรียน เพราะการเรียนรู้ในปัจจุบัน คือ การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) ทำให้เราสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา สภาพแวดล้อมเมืองเพื่อการเรียนรู้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบในปัจจุบัน คือ สภาพแวดล้อมเมืองในระบบการศึกษา และสภาพแวดล้อมเมืองนอกระบบการศึกษา โดยบทความนี้จะพาทุกคนไปดูสภาพแวดล้อมของเมืองนอกระบบการศึกษาในประเทศไทย ว่าเป็นอย่างไรบ้าง สถานการณ์ของเมืองไทยเป็นอย่างไร ?  ประเทศไทยนั้น มีสถานที่ซึ่งเป็นพื้นที่ศักยภาพต่อการพัฒนาเป็น สาธารณูปการสนับสนุนการเรียนรู้ตามอัธยาศัยอันเป็นรากฐานของการ เรียนรู้ตลอดชีวิต (lifelong learning) หลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น ห้องสมุด ร้านหนังสือ พิพิธภัณฑ์หรือหอศิลป์ โบราณสถาน พื้นที่ นันทนาการ ตลอดจนอุทยาน ทั้งอุทยานทางธรรมชาติ และอุทยาน ประวัติศาสตร์ รวมกว่า 14,000 แห่ง สามารถเข้าถึงได้ในระยะเฉลี่ย 16 กิโลเมตร สถานศึกษาส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ประชากรอาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เช่น ชุมชน หรือเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานศึกษาในระดับอุดมศึกษา ส่วนใหญ่ที่มักตั้งอยู่ในเขตพื้นที่เมืองขนาดใหญ่ ด้วยปัจจัยของการเป็น ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ แหล่งงาน ความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน ตลอดจนสาธารณูปการอื่น […]

สภาพแวดล้อมเมืองที่ส่งเสริมการเรียนรู้

02/12/2022

“การเรียนรู้ในอนาคตจะไม่ได้สิ้นสุดแค่ในห้องเรียนเท่านั้น แต่สามารถเรียนรู้ผ่านการสร้างปฏิสัมพันธ์และการแลกเปลี่ยน” สะท้อนให้เห็นสถานที่นอกห้องเรียนมีส่วนสำคัญอย่างมากต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน สถานที่นอกห้องเรียนสามารถเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ค้นพบและเรียนรู้สิ่งที่สนใจและตัวตนของผู้เรียนได้อีกด้วย ดังนั้น สิ่งที่น่าสนใจคือ สภาพแวดล้อมด้านกายภาพของเมืองแบบใดกันที่จะส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีได้ สภาพแวดล้อมเมืองที่ส่งเสริมการเรียนรู้สำคัญไฉน การเรียนรู้ตามทฤษฎีของบรูเนอร์ (Bruner 1961) ที่กล่าวถึงความรู้นั้น ถูกสร้างหรือหล่อหลอมโดย ประสบการณ์ โดยผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบใน การเรียน เป็นผู้สร้างความหมายขึ้นจากแง่มุมต่าง ๆ ผู้เรียนควรอยู่ใน สภาพแวดล้อมที่เป็นจริง สามารถเลือกเนื้อหาและกิจกรรมเอง จะสะท้อนให้เห็นกระบวนการเรียนรู้มักสอดคล้องกันระหว่างประสบการณ์ กับการออกแบบสภาพแวดล้อมที่มีส่วนช่วยให้เกิดสภาวะการเรียนรู้ ผู้เชี่ยวชาญหลากหลายท่านได้ให้ความหมายกับคำว่าสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ไว้หลายอย่าง ทั้งเป็นสภาวะแวดล้อมที่อยู่รอบ ๆ ตัวผู้เรียน ทั้งจับต้องได้และจับต้องไม่ได้ เป็นสิ่งที่มีผลต่อตัวผู้เรียน ทั้งทางตรงและทางอ้อม กล่าวคือ สภาพแวดล้อมการเรียน คือ สิ่งแวดล้อมรอบตัวผู้เรียนทั้งสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นและเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น อาคาร ห้องเรียน บรรยากาศ หรือแม้กระทั่งเมืองเอง ที่เป็นกายภาพสำคัญที่มีผลต่อตัวผู้เรียนโดยตรง สภาพแวดล้อมทางกายภาพ เป็นปัจจัยและยุทธศาสตร์สำคัญที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ ในแนวคิดภูมิทัศน์การเรียนรู้ (learning landscape) ทำให้เกิดการตระหนักว่าการเรียนรู้มิได้ถูก จำกัดอยู่แค่ในพื้นที่การเรียนการสอนอย่างเป็นทางการเท่านั้น แต่ สภาพแวดล้อมเชิงกายภาพมีผลต่อประสบการณ์ของผู้เรียน ดังนั้น การออกแบบสภาพแวดล้อมทางกายภาพจึงมีผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อ กระบวนทัศน์การเรียนรู้  องค์ประกอบของเมืองน่าอยู่ที่สนับสนุนการเรียนรู้ พัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ เป็นมิตรต่อการเดินเท้า […]

1 2 3 4 5 15