Environment



เมืองนอกโลก: ไม่ใช่แค่ Sci-Fi แต่จะเกิดขึ้นจริง อนาคตของคนหนึ่งล้านคนบนดาวอังคาร

15/05/2020

ถมทะเลสร้างสนามบิน ใช้ชีวิตบนอาคารสูงกว่าร้อยชั้น เดินทางข้ามทวีปกันในหลักชั่วโมง เจาะอุโมงใต้ทะเล เมื่อพูดเรื่องนี้เมื่อหลายร้อยปีก่อนทุกอย่างอาจจะฟังดูเหมือนเราอยู่ในโลกอนาคต ซึ่งก็ใช่ เพราะเมื่อตอนนั้นมันคืออนาคต แต่มันก็เกิดขึ้นจริง ๆ นั่นหมายความว่าอนาคตของวันนี้มันก็คือสิ่งที่จะเกิดขึ้นจริงในอีกไม่นานข้างหน้านี้ เมื่อพูดถึงเมืองในอวกาศ การตั้งถิ่นฐานและใช้ชีวิตบนดาวเคราะห์ต่างดวงอย่างดาวอังคาร ทุกอย่างอาจจะฟังดูเหมือนมาจากหนัง Sci-fi แต่เชื่อหรือไม่ว่าปัจจุบันดวงจันทร์ได้กลายเป็นโมเดลที่น่าสนใจในการศึกษา “เศรษฐศาสตร์ของบนดาวดวงอื่น” ไปเสียแล้วที่ดินบนดวงจันทร์ต่างถูกจับจองเพื่อหาผลประโยชน์ทางธุรกิจ มีการซื้อขายพื้นที่บนยานอวกาศสำหรับบริษัทเอกชน หน่วยงานวิจัย และรัฐบาล เกิดความร่วมมือระดับนานาชาติในการวางแผนการจัดการบริหารทรัพยากร ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นแล้วในปี 2020 ในโครงการ Artemis ของ NASA ที่จะพามนุษย์กลับไปดวงจันทร์อีกครั้งในปี 2024 และในครั้งนี้เป็นการเบิกทางสู่การสำรวจอวกาศห้วงลึกของมนุษย์ และใช้ดวงจันทร์สานต่อเป้าหมายต่อไปของมนุษย์ก็คือดาวอังคาร สิ่งนี้เรียกว่า Space Commercialization หรือ Space Economy การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอวกาศที่ไม่ได้พูดถึงแค่ในแง่การเดินทางหรือสำรวจ แต่คือการสร้าง Norm ใหม่ ๆ ในแง่ของการใช้ชีวิต ธุรกิจ ชีวิตประจำวัน เหมือนกับที่ทุกวันนี้เราใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ ที่ส่งผลในเชิงชีวิต เรามีเมืองท่องเที่ยวที่ใช้ประโยชน์จากการอยู่ติดทะเลหรือภูเขา มีเมืองอุตสาหกรรมที่ใช้ประโยชน์จากการเชื่อมต่อคมนาคม อวกาศก็เช่นกัน มันจะเปิดสู่โอกาสใหม่ ๆ อีกนับไม่ถ้วน Elon […]

Trash from Home: เมื่อการอยู่บ้านผลิตขยะพลาสติกมากขึ้น

19/04/2020

ปัจจุบันดิจิทัลภิวัตน์ (Digitalization) ได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการสร้างความสะดวกสบายให้กับผู้คนในทุกๆมิติ และนำมาซึ่งไลฟ์สไตล์ใหม่ๆโดยเฉพาะกับคนเมือง หนึ่งในนั้นคือการสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี ซึ่งธุรกิจนี้เติบโตอย่างก้าวกระโดดในพื้นที่เมืองใหญ่ทั่วโลก ที่ช่วยให้คนเมืองที่มีวิถีชีวิตที่เร่งรีบ หรือกลุ่มคนที่ไม่ต้องการออกไปเผชิญความร้อน ฝุ่น ควัน และการจราจรที่ติดขัดนอกบ้าน ได้อิ่มอร่อยกับอาหารร้านโปรดง่ายๆ เพียงแค่ปลายนิ้ว From food delivery to trash delivery หลายคนคงเคยใช้บริการสั่งอาหารผ่านทางแอปพลิเคชัน แต่รู้หรือไม่ว่าใน 1 มื้อ เราสามารถสร้างขยะพลาสติกได้อย่างต่ำถึง 4 ชิ้น ไม่ว่าจะเป็นจาก กล่องพลาสติกใส่อาหาร ชุดช้อนส้อมพลาสติก หากมีเครื่องดื่มด้วยก็จะมีแก้ว ฝาครอบ และหลอดพลาสติก ซึ่งทั้งหมดถูกรวมมาในถุงพลาสติกอีกทีหนึ่ง The New York Times ได้รายงานถึงวิกฤตของปัญหาขยะพลาสติกในประเทศจีนที่เกิดจากการสั่งอาหารออนไลน์ที่มากขึ้นของประชาชน มีสถิติว่าการสั่งซื้ออาหารออนไลน์นั้นก่อให้เกิดขยะพลาสติกจากบรรจุภัณฑ์ประมาณ 1.6 ล้านตัน ในปี 2017 ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 2 ปีก่อน ที่ช่องทางการสั่งอาหารในรูปแบบนี้ยังไม่เป็นที่นิยม โดยปริมาณพลาสติกทั้งหมด ประกอบด้วย พลาสติกจากกล่องใส่อาหาร 1.2 ล้านตัน ตะเกียบ 175,000 ล้านตัน […]

ไขปัญหามลภาวะเมืองยุค 4.0 พลเมืองต้องตื่นรู้และมีส่วนร่วม

30/03/2020

ชีวิตคนเมืองทุกวันนี้ต้องปะทะกับมลภาวะทุกรูปแบบ ตั้งแต่อากาศที่เต็มไปด้วยฝุ่น PM2.5 เสียงแตรกลางสี่แยกจราจร ไปจนถึงแสง LED จากป้ายโฆษณาที่จ้าเกินมองเห็น เราใช้ชีวิตร่วมกับมลภาวะเหล่านี้ทุกวัน แต่เราจำเป็นต้องยอมรับมันจริงหรือ? “ทำอย่างไร พลเมืองถึงจะมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาเมืองได้?” นี่คือคำถามสำคัญที่ถูกยกขึ้นมาเป็นประเด็นในเวทีเสวนาสาธารณะ Citizen’s Sense of The City ชีวิตคนเมืองในมลภาวะ “อากาศ แสง เสียง” เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2563 โดยมีนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขาเข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนมุมมอง ชวนคนมาจัดเก็บข้อมูล สร้างความสำคัญของพลเมือง ผศ.ดร. นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) เริ่มต้นพูดถึงโครงการสังเกตการณ์ชีวิตคนเมือง 4.0 (Urban Observatory & Engagement) ว่าปัญหาของข้อมูลเมืองในปัจจุบันยังขาดความถูกต้องและเป็นประโยชน์ หากภาคส่วนต่างๆ ชักชวนประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม จัดเก็บข้อมูลเมืองที่ซับซ้อน เพื่อประมวลใช้ในการออกแบบนโยบายสาธารณะที่ดีต่อไปก็น่าจะเป็นการแสดงพลังสำคัญได้ สอดคลองกับคีย์เวิร์ด ‘ใครกุมข้อมูล คนนั้นกุมอำนาจ’ ที่ รศ.ดร.อภิวัฒน์ รัตนวราหะ รองศาสตราจารย์ประจำภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าโครงการวิจัยคนเมือง 4.0 […]

เมื่อ COVID-19 ทำชีวิตเราเปลี่ยนไป

18/03/2020

นาทีนี้คงไม่มีอะไรน่ากังวลไปกว่าสถานการณ์เชื้อไวรัส COVID-19 ที่กำลังระบาดไปในหลายประเทศทั่วโลก แน่นอนว่าเชื้อไวรัสนี้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของเราทุกคน ไม่ว่าจะเป็นคนที่ได้รับเชื้อแล้วหรือยังไม่ได้รับเชื้อก็ตาม และ ‘ชาวเมือง’ ก็คงได้รับผลกระทบไม่น้อยไปกว่าใคร เพราะการใช้ชีวิตในเมืองนั้น ทุกย่างก้าวมีความเสี่ยง หลายคนอาศัยอยู่ในคอนโดต้องใช้ลิฟต์ร่วมกัน หลายคนเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนที่ทุกๆ เช้าในช่วงเวลาเร่งด่วนจะแออัดและเบียดเสียดกันเป็นปลากระป๋อง ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ หลายคนยังต้องออกไปทำงานและพบปะผู้คนมากหน้าหลายตา โดยที่เราเองต่างก็ไม่รู้เลยว่าเชื้อไวรัสเหล่านั้นได้แพร่มาถึงเรา หรือเราเป็นคนนำไปแพร่หรือยัง การใช้ชีวิตอย่างปกติที่เราเคยทำ ออกไปข้างนอก เดินเล่น ดูหนัง กินข้าว เจอเพื่อน สังสรรค์ ไปเที่ยวต่างจังหวัด เที่ยงต่างประเทศ ตอนนี้กลายเป็นว่าผู้คนเริ่มไม่ออกจากบ้านหากไม่จำเป็น แม้ว่าเราจะยังไม่ปิดเมืองและยังไม่เข้าสู่เฟส 3 (ตามที่ท่านรองวิษณุได้แถลง) แต่ก็เริ่มมีการซื้อของกักตุนเพราะกลัวว่าจะขาดตลาด หลายบริษัทเริ่มมีมาตรการให้พนักงานลาหยุด (ซึ่งมีทั้งจ่ายและไม่จ่ายเงินเดือน) ให้พนักงานทำงานที่บ้าน หรือ Work From Home กันบ้างแล้ว และสถาบันการศึกษาหลายแห่งก็เริ่มประกาศหยุดชั่วคราว แต่กระนั้นก็ยังมาบางอาชีพที่ไม่สามารถทำงานจากที่บ้านหรือหยุดงานได้ และเมื่อยังไม่มีประกาศที่ชัดเจนถึงเรื่องพื้นที่เสี่ยง ทุกๆ ที่จึงสามารถเป็น ‘พื้นที่เสี่ยง’ ได้ทั้งหมด The Urbanis จึงลงไปพูดคุยกับชาวเมืองที่อาศัยและใช้ชีวิตอยู่ในเมืองทั้งหลาย ว่าการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ในตอนนี้ส่งผลอย่างไรต่อชีวิตและการทำงานของพวกเขาบ้าง รวมถึงมาตรการการช่วยเหลือจากรัฐบาลที่ต้องการจะได้รับ แต่ยังไม่ได้รับในตอนนี้ เจ้าของร้านค้าบริเวณทางเชื่อมรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์กับรถไฟฟ้าบีทีเอสสถานีพญาไท […]

คืน “คน” ให้เมือง

17/03/2020

มายาคติหนึ่งเกี่ยวกับเมืองในสังคมไทยคือการสร้างภาพให้เมืองเป็นคู่ตรงกันข้ามกับชนบท เมืองเท่ากับความวุ่นวาย, อันตราย, เห็นแก่ตัว, เร่งรีบ, ผู้คนแปลกแยกต่อกัน, ป่าคอนกรีต, แห้งแล้ง ฯลฯ ชนบทเท่ากับ ความร่มรื่นเขียวขจี ความอุดมสมบูรณ์ ท้องนาเขียวชอุ่ม ผู้คนใสซื่อ เป็นมิตร ไม่รีบร้อน ไม่แก่งแย่ง ฯลฯ ด้วยมายาคตินี้ทำให้คนมองว่าเมืองคือพื้นที่ที่ทำลาย “ความดีงาม” ตามธรรมชาติของมนุษย์ เมืองทำให้คนดีๆ กลายเป็นคนเห็นแก่ตัว เมืองทำให้ผู้หญิงดีๆ จากชนบท เสียผู้เสียคน ถ้ามายาคตินี้ไม่ถูกทุบทิ้ง เมืองจะเท่ากับความเลวร้าย เป็นผู้ร้ายโดยกมลสันดาน และหากเราเลือกที่จะมีชีวิตอยู่ในเมือง เพราะเราต้องทำงาน เพราะเราหลงแสงสีความสะดวกสบาย เพราะเราต้องสมถะ เราก็ต้องยอมขายวิญญาณของเราไปแล้วจำนนต่อความเลวร้ายของเมืองในทุกมิติ  เราต้องกลายเป็นคนเย็นชา ไม่รู้หนาว เราต้องกลายเป็นผีป่าคอนกรีตแล้งนำใจ และห่อหุ้มตัวเองด้วยสุนทรียศาสตร์จอมปลอมของเมือง เช่น การอยู่ในห้องแอร์ตลอดเวลา วันหยุดเดินห้าง และไม่อาจจินตนาการได้ว่า เราสามารถเรียกร้องความเป็นธรรมชาติใดๆ ถ้าเราเลือกอยู่ใน “เมือง” แต่ความจริงมันไม่ได้เป็นเช่นนั้น เมืองไม่ใช่คู่ตรงกันข้ามกับชนบทในแง่ของ “ศีลธรรม” และ “ธรรมชาติ”  สิ่งที่ทำให้เกิดความเป็น “เมือง” ขึ้นมาอาจหมายถึงทำเลแห่งการเป็นเมืองท่าค้าขาย  อาจเคยเป็นศูนย์กลางอำนาจมาแต่เก่าก่อน บางเมืองกลายเป็น […]

กรุงเทพฯ เขียวได้ แต่อยากเขียวแค่ไหน

10/03/2020

ความเดิมตอนที่แล้ว เราพูดถึงวิกฤติฝุ่นพิษในกรุงเทพฯ ที่แก้ไขได้ผ่านการออกแบบเมืองให้เดินได้เดินดี มีระบบขนส่งสาธารณะเพื่อลดจำนวนรถยนต์บนถนนให้น้อยลง แต่อีกปัจจัยสำคัญหนึ่งที่จะเชื้อเชิญให้คนออกเดิน นั่นคือการพัฒนาพื้นที่สีเขียวในเมืองให้ร่มรื่น เมืองเขียวได้ด้วยวิสัยทัศน์ของผู้นำ องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) กำหนดขนาดพื้นที่สีเขียวในเมืองขั้นต่ำไว้ที่ 9 ตร.ม./คน นับรวมหมดไม่ว่าจะเป็นสวน เกาะกลางถนน ที่นา หรือไม้กระถางสักต้นที่ผลิตออกซิเจนได้  มาดูตัวอย่างคือปารีส เมืองที่มีตัวเลขพื้นที่สีเขียวอยู่ที่ 13.2 ตร.ม./คน เป็นผลมาจากการพัฒนาเมืองตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 ด้วยการนำของ Georges-Eugène Haussmann นักผังเมืองผู้ให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตของคนในเมือง ตัวชี้วัดหนึ่งคือทำยังไงให้คนเดินมาสวนสาธารณะได้ใน 10 นาที ปารีสถูกพัฒนาให้มีสิ่งอำนวยความสะดวก (Urban Facilities) ครบครันเพื่อดึงให้คนอยู่ในเมืองและออกมาใช้ชีวิตนอกบ้านอย่างสนุกสนาน (Urban Lifestyle) ตั้งแต่แทรกต้นไม้และพื้นที่สีเขียวไปในทุกมุมเมือง ทวงคืนทางเท้าจากถนนและทางด่วน พัฒนาพื้นที่สาธารณะริมแม่น้ำแซนให้ทุกคนในครอบครัวออกมาใช้เวลาวันหยุดร่วมกันได้ (Holiday in the city) ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นเพราะปารีสมีรูปแบบการบริหารเมืองที่กระจายอำนาจตัดสินใจและงบประมาณให้ผู้อำนวยการเขต (Mayor of District) เต็มรูปแบบ สิงคโปร์เป็นอีกกรณีศึกษาที่น่าสนใจ ตัวเลขพื้นที่สีเขียวเฉลี่ยของสิงคโปร์คือ 56 ตร.ม./คน เพราะเขามีพื้นที่สีเขียวกว่า […]

เมืองแห่งความว่าง

28/02/2020

1 ค่ำคืนก่อนวันสุดท้ายของปี 2019 ผมนอนอยู่ข้างกองไฟริมแม่น้ำโขงในหมู่บ้านเล็กๆ ที่เก่าแก่เกินร้อยปีห่างจากตัวเมืองเขมราฐประมาณ 10 กิโลเมตร   กองไฟให้ความอบอุ่น  ความมืดให้ความกระจ่างใสแก่ดวงดาว  ยิ่งดึกก็ยิ่งเงียบ  ความเงียบทำให้ได้ยินเสียงน้ำโขงไหลกระทบโขดหินและริมฝั่ง  จินตนาการบางอย่างทำให้ผมละสายตาจากดวงดาวบนท้องฟ้าแล้วลุกขึ้น  เดินไปริมตลิ่ง  แสงไฟจากฝั่งตรงข้ามสะท้อนน้ำระริกไหว  ดาวสุกสกาวบางดวงพริบพรายแสงบนแผ่นน้ำ  เมื่อเพ่งมองลงไปในแม่น้ำก็สัมผัสได้ถึงความสงัดในห้วงลึกสุดของจิตใจตัวเองจนสะท้านไหว   ผมเชื่อว่าถ้า วินเซนต์  แวนโกะห์ เกิดแรงบันดาลใจที่จะวาดภาพทั้งหลายและบรรยากาศในราตรีนี้ลงในเฟรมของเขา  ผมมั่นใจว่าเขาต้องเลือกที่นี่ในคืนนี้  เพราะถ้าเป็นคืนพรุ่งนี้ซึ่งเป็นวันสิ้นปี  ภาพเขียนของเขาจะไม่นิ่งสงัดพอที่จะขับพลังแห่งความเงียบที่อยู่ลึกสุดในหัวใจให้เปล่งเสียงออกมาสะเทือนอารมณ์คนดูงานได้ อีกไม่กี่ชั่วโมงก็จะสว่าง  แม่น้ำมีละอองฝ้าสีขาวหม่นค่อยๆ ปรากฏชัดขึ้น  คงเป็นไอหมอกจากแม่น้ำ  ไอหมอกนี้ทำให้น้ำในแม่น้ำและอากาศเหนือแผ่นน้ำอุ่นขึ้น ผมมุดเข้าเต้นท์ก่อนที่ฟ้าจะสว่างไม่นาน… ตื่นมาเพราะเสียงนกและเสียงพิณจากเครื่องกระจายเสียงที่แว่วมาจากฝั่งลาวในช่วงเทศกาลเฉลิมฉลองวันสิ้นปี  เมื่อลืมตาขึ้นและปรับแสงตากับแดดเช้าได้แล้ว  ก็เห็นฝูงนกหลายพันตัวโฉบบินอยู่เหนือแม่น้ำ  ไออุ่นที่ระเหยจากแม่น้ำทำให้ฝูงแมลงขยับปีก  เรือหาปลาแหวกไอหมอกอุ่นเหนือแผ่นน้ำทำให้พวกมันแตกตื่น  และหมู่นกกินแมลงจึงโฉบเฉี่ยววาดลวดลายส่งเสียงร้องเหมือนเสียงเพลงในฤดูเก็บเกี่ยว ผมลุกไปทำกาแฟ  แล้วนั่งลงจิบกาแฟอุ่น ๆ มองภาพหมู่นกเหล่านั้น  ย้อนนึกไปถึงเหตุแห่งการปรากฏตัวและแปรขบวนของพวกมัน  ไล่เรียงไปถึงภาพและบรรยากาศของเมื่อคืน และการมาเยือนเขมราฐปีละหลายครั้งในช่วงฤดูหนาว แล้วอยู่ๆ ผมก็รู้สึกขึ้นมาอย่างรุนแรงว่า  ผมอยากให้มีเมืองสักเมืองถูกสร้างขึ้นบนปรัชญาแห่งความว่าง ผมนึกถึงเรื่องราวในหนังสือเล่มหนึ่งที่เคยอ่านมานานหลายปีแล้ว  จำได้ว่าตอนที่อ่านถึงบทนั้นผมอยากรู้ขึ้นมาจริง ๆ ว่าเมื่อประมาณ 150 ปีที่แล้วมหานครลอนดอนมีหน้าตาเป็นอย่างไร  เมื่อชาร์ลส์  ดาร์วิน  […]

เมืองปรสิต VS ป่าผืนยักษ์ วิกฤตโลกร้อนที่เมืองเลือกได้

22/01/2020

กัญรัตน์ โภคัยอนันต์ คุณเคยคิดบ้างไหม – ว่ามนุษย์อาจเป็นปรสิตของโลก ดร. สรณรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์ ประธานกรรมการมูลนิธิโลกสีเขียว นักวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม เจ้าของรางวัล Explore Awards 2019 จากนิตยสาร Nation Geography  เคยยกตัวอย่างเปรียบมนุษย์เป็น “ปรสิต” ไว้อย่างน่าสนใจ โดยบอกว่ามนุษย์เมืองที่ใช้พื้นที่ (Land) เพียง 3 % ของโลกใบนี้ กลับบริโภคทรัพยากร (Resource consumption) ถึง 75% โดยปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Global GHG emission) กว่า 60-80 %  นั่นไม่ผิดอะไรกับการเป็นปรสิตเลย จากตัวเลขข้างต้นการเปรียบเปรยมนุษย์เป็นปรสิต คงไม่ผิดนัก จะต่างเพียงว่ามนุษย์เป็นสัตว์เลี้ยลูกด้วยนมแต่ปรสิตเป็นสัตว์เซลล์เดียวที่มีลักษณะการใช้ชีวิตอาศัยผู้อื่นหรือเซลล์ชนิดอื่นเป็นที่พักอาศัยและแหล่งอาหารแถมบางครั้งยังทำร้ายสิ่งมีชีวิตที่ใช้ประโยชน์นั้นหรือเซลล์ภายในจนเจ็บป่วยหรือถึงกับเสียชีวิต  เหมือนมนุษย์ที่กำลังใช้ทรัพยากรและทำให้ทุกอย่างเสื่อมโทรมลงเป็นความย้อนแย้งที่ตลกร้ายดังที่ Jane Goodall นักชีววิทยาและนักอนุรักษ์ชื่อดังที่พูดถึงมนุษย์ว่า “การใช้พลังงานฟอสซิลอย่างไม่คิด การทำลายป่าไม้ การสร้างมลภาวะในมหาสมุทร เป็นไปได้อย่างไรที่สิ่งมีชิวิตที่เฉลียวฉลาดที่สุดที่เคยปรากฏขึ้นมาบนโลก กลับกำลังทำลายบ้านหลังสุดท้ายของตัวเอง” ดร. สรณรัชฎ์ได้อธิบายถึงโจทย์ท้าทายใหญ่ของมนุษย์เมือง คือ สถานการณ์เมืองที่มีคนเยอะมากขึ้นแต่ทรัพยากรมีอยู่อย่างจำกัดโดยที่มนุษย์ทุกคนมีความอยากสบายเท่ากัน […]

สถาปัตยกรรมกับการมอง : สะพานเขียว โบสถ์คริสต์ และมัสยิดอินโดนีเซีย

13/01/2020

ในปี 2020 นี้ คุณผู้อ่านอาจยังไม่ทราบว่า กำลังจะเกิดโครงการใหญ่ที่มีชื่อล้อกับปี ค.ศ. ว่า “สองศูนย์สองสวน” ขึ้นมา สองศูนย์สองสวนก็คือการปรับปรุง ‘ทางเชื่อม’ ของสวนสองแห่งภายในปี 2020 โดยสวนที่ว่าก็คือสวนลุมพินีและสวนเบญกิตติ แน่นอน ทางเชื่อมที่ว่าจะเป็นอะไรอื่นไปไม่ได้ นอกจาก ‘สะพานเขียว’ นั่นเอง ความน่าสนใจของการเชื่อมสองสวน ก็คือสะพานเขียวไม่ได้เชื่อมแค่สวน แต่ยังเชื่อมสองชุมชน (คือ ชุมชนร่วมฤดี และชุมชนโปโล) และเชื่อมสองศาสนา ผ่านสองศาสนสถาน คือ โบสถ์พระมหาไถ่ของชาวคริสต์  และมัสยิดอินโดนีเซียของชาวมุสลิม ซึ่งทั้งสองแห่งมีความสำคัญในแง่ของสถาปัตยกรรมกับบริบทวิถีชุมชนอย่างยิ่ง รูป 1 ตัวอย่างภาพโครงการ “สองศูนย์สองสวน” ในทางสถาปัตยกรรมผังเมือง ประวัติศาสตร์หรืออัตลักษณ์พื้นถิ่นจะแสดงผ่านรูปแบบของสถาปัตยกรรมและพื้นที่ว่างเสมอ คุณลักษณะที่ปรากฎขึ้นเปรียบเสมือนสื่อกลางที่ช่วยนำทางให้เข้าใจถึงเรื่องราวและรายละเอียดของสถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้น รูปแบบทางสถาปัตยกรรมจึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่สามารถนำไปใช้สื่อสารความหมายต่อบริบทพื้นที่ หรืออาจเกิดเป็นอัตลักษณ์ของย่านหนึ่งในที่สุด  นักทฤษฎีเมืองอย่าง Lynch ให้ความหมายของคำว่า “ย่าน” เอาไว้ว่าคือ บริเวณพื้นที่ชุมชนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเมือง มีลักษณะเฉพาะตามบริบทการใช้งานของพื้นที่ มีลักษณะทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ที่สอดคล้องกับกายภาพหรือรูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้น โดยสาระสำคัญของ Lynch กล่าวถึงจินตภาพเมืองที่มี 5 […]

อนาคตของเมืองจะสุกใส หากเด็กไทยแข็งแรง เดินได้เดินดี มีพื้นที่สีเขียว

11/01/2020

คำถามหนึ่งที่หลายคนอาจไม่ค่อยนึกถึงก็คือ – เมืองที่เราอยู่มีความ ‘เป็นมิตร’ กับเด็กมากน้อยแค่ไหน และเมืองที่เป็นมิตรกับเด็ก แสดงให้เราเห็นถึงอนาคตและวิสัยทัศน์ของชาติได้อย่างไร ทำไมต้องออกแบบเมืองให้เป็นมิตรกับเด็ก นิยามจากอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ ระบุว่า เด็ก หมายถึง คนอายุ 0 ถึง 18 ปี ปัจจุบันมีเด็กอาศัยในเขตเมืองกว่า 1,000 ล้านคนทั่วโลก และจากสถานการณ์การกลายเป็นเมือง ซึ่งคนจะอาศัยในเมืองเกินกว่า 70% ในปี 2050 พบว่า “ชนกลุ่มใหญ่” ของเมืองทั่วโลกคือ “เด็ก” นั่นเอง การบอกว่าเด็กคือ “อนาคตของเมือง” และอนาคตของโลกใบนี้ จึงไม่ผิดจากข้อเท็จจริง ข้อมูลเมื่อเดือนธันวาคม 2562 โดยระบบสถิติทางการทะเบียน กระทรวงมหาดไทย ระบุว่า ปัจจุบันกรุงเทพมหานครมีประชากรวัย 0 – 18 ปี อาศัยจำนวน 1,028,097 คน ตามทะเบียนราษฎร์ และอีกจำนวนไม่น้อยในฐานะประชากรแฝง เด็กหลายล้านคนในกรุงเทพฯ เติบโตในครอบครัวที่มีโอกาสเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกและโครงสร้างส่งเสริมสุขภาวะที่แตกต่างกัน กระทั่งมีรูปแบบการอยู่อาศัยที่ไม่เหมือนกัน เช่น อาศัยในตึกแถวกลางเมือง อาศัยในบ้านเดี่ยวชานเมือง […]

1 4 5 6 7 8