Environment



เมืองเนเธอร์แลนด์แข่งรื้อพื้นกระเบื้องเพื่อปลูกต้นไม้ สู่เป้าหมายลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้เมือง

11/01/2021

เมืองกับความเป็นพลวัตเป็นของคู่กัน ความเปลี่ยนแปลงหลายอย่างของเมืองล้วนเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงมุมมอง ตัวอย่างของการปรับมุมมองต่อเมืองเกิดขึ้นที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ หรือ “ประเทศแห่งกระเบื้อง” เห็นได้จากสวนสาธารณะของเมืองหลายแห่งมักปูพื้นด้วยกระเบื้องรูปแบบต่าง ๆ ทว่า ล่าสุดเมืองหลายแห่งในเนเธอร์แลนด์มีโครงการรื้อพื้นกระเบื้อง แล้วแทนที่ด้วยต้นไม้และพืชพรรณธรรมชาติ เช่น เมืองรอตเทอร์ดัม (Rotterdam) หรือที่ใคร ๆ หลายคนขนานนามเมืองนี้กันว่าเป็นเสมือน “ประตูสู่ยุโรป” (Gateway to Europe) เริ่มเพิ่มความเขียวด้วยการรื้อกระเบื้องในพื้นที่สวนรอบบ้านเรือน อาคาร และสำนักงาน และแทนที่ด้วยพุ่มไม้และต้นไม้ แม้จะเป็นจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ แต่ก็เป็นที่สะดุดตาไม่น้อย การรื้อกระเบื้องที่ปูพื้นที่เรียงรายล้อมรอบตัวเป็นการปูทางไปสู่การเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมือง และทำให้เมืองรอตเทอร์ดัมมีความ “เขียว” มากขึ้น  หลายคนเคยได้ยินว่า ปัจจุบันไม่ใช่ยุคสมัยที่ประเทศแข่งประเทศ หากเป็นเมืองแข่งกับเมือง เกิดการแข่งขันรื้อกระเบื้องอย่างดุเดือดในสองเมืองใหญ่ระหว่าง รอตเทอร์ดัม กับ อัมสเตอร์ดัม (Amsterdam) เมืองหลวงแห่งประเทศกังหันลม แม้ช่วงแรกพี่ใหญ่อย่างอัมสเตอร์ดัมจะเอาชนะได้ก่อนก็ตาม แต่ไม่นาน รอตเทอร์ดัมก็ตามมาชิงชนะได้ จากการรื้อกระเบื้องทิ้งไป 47,942 แผ่น ซึ่งมากกว่าพี่ใหญ่ที่ทำได้ทั้งสิ้น 46,484 แผ่น การแข่งขันสร้างผลกระทบทางบวกต่อทั้งสองเมืองอย่างเห็นได้ชัด แต่ละวันสมาชิกสภาท้องถิ่นของทั้งสองเมืองจะได้รับรายงานผลการแข่งขัน และเผยแพร่ต่อไปยังพลเมืองของพวกเขาผ่านช่องทางโซเชียล เพื่อเป็นแรงกระตุ้นในการแข่งขัน ซึ่งถือเป็นการสร้างความตระหนักและการมีส่วนร่วมของภาคพลเมืองในการปรับเปลี่ยนเมืองให้เขียวขึ้นได้อย่างน่าสนใจ ก่อนหน้านี้ […]

ทำไม Norman Foster มั่นใจว่า Covid-19 ทำให้เมืองสมาร์ตและเขียวขึ้น?

07/01/2021

จากข่าวการเริ่มใช้วัคซีน Covid-19 ทำให้หลายคนเริ่มคิดถึงการใช้ชีวิตในยุคหลังโควิดมากขึ้น เนื่องจากที่ผ่านมาต้องยอมรับว่าการระบาดของ Covid-19 สร้างความเปลี่ยนแปลงในทุกแง่มุมของการใช้ชีวิต ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่การใช้ชีวิตรายบุคคลเท่านั้น แต่เมืองก็เปลี่ยนแปลงไป อย่างไรก็ตาม เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่า เมือง มีพลวัต ไม่ตายตัว การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอยู่ตลอด Covid-19 จึงอาจไม่ใช่ตัวการหลักของการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น แต่เป็นเพียงเป็นเพียงแรงกระตุ้นให้การเปลี่ยนแปลงเกิดเร็วขึ้นเท่านั้น สถาปนิก Norman Foster เขียนไว้ใน The Guardian ว่า ในอดีตเมืองเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาอยู่แล้ว ดังเช่นกรุงปารีสและลอนดอนที่เคยเป็นมหานครที่ใหญ่ที่สุดของโลกในช่วงหนึ่งของประวัติศาสตร์ แต่ปัจจุบันก็ถูกแซงหน้าด้วยอีกหลายเมืองในทวีปเอเชียจึงกล่าวได้ว่า การเปลี่ยนแปลงของเมืองเกิดขึ้นทุกชั่วขณะ เป็นไปตามวิวัฒนาการและเทคโนโลยี Foster ยกตัวอย่างเหตุการณ์ไฟไหม้ในลอนดอนเมื่อปี 1666 ที่นำมาสู่การก่อสร้างตึกด้วยอิฐแบบทนไฟ หรือการระบาดของอหิวาตกโรคในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ทำให้ต้องวางระบบท่อประปาใหม่ทั้งเมือง เพื่อยกเลิกการใช้แม่น้ำเธมส์เป็นสถานที่ทิ้งสิ่งปฏิกูล หรือการเข้ามาของรถยนต์ที่ทำให้ถนนหนทางสะอาดขึ้น แต่ท้ายที่สุดก็นำมาซึ่งมลพิษในปัจจุบัน ทุกเหตุการณ์ล้วนแล้วแต่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับเมืองไม่ช้าก็เร็ว ต่อให้ไม่มีไฟไหม้หรือการระบาดของอหิวาตกโรค ระบบการบำบัดน้ำเสียและการป้องกันอัคคีภัยก็คงเกิดขึ้นอยู่ดีในอีกไม่กี่ปีให้หลัง แม้ Covid-19 จะทำให้การใช้ชีวิตเราเปลี่ยนไป แต่ก็ไม่อาจสรุปได้ว่าการใช้ชีวิตแบบรักษาระยะห่างจะกลายเป็นรูปแบบการใช้ชีวิตในอนาคตหลังโควิด เพราะเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์อย่างการระบาดครั้งใหญ่ของ Spanish Flu ในปี 1918 สิ่งที่ตามมาในช่วงปี 1920 กลับเป็นการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม ที่ตามมาด้วยการสร้างสถานที่พบปะใหม่ๆ อย่างห้างสรรพสินค้า […]

10 ปี BIGTrees Project เครือข่ายที่ทำให้คนเมืองเรียนรู้ที่จะรักต้นไม้และสิ่งแวดล้อมเมือง

10/12/2020

4 ธันวาคมของทุกปีเป็นวันสิ่งแวดล้อมไทย แต่เมื่อ 4 ธันวาคมปี 2553 กลับเป็นวันที่สิ่งแวดล้อมถูกทำลาย เมื่อเกิดเหตุการณ์ต้นจามจุรีอายุกว่า 100 ปี บนพื้นที่กว่า 5 ไร่ ในซอยสุขุมวิท 35 ถูกโค่นลง แม้ว่าจะมีการขอเจรจากับเจ้าของที่ดินไม่ให้ตัดต้นไม้แล้วก็ตาม ความเจ็บช้ำในวันนั้น ทำให้เกิดกลุ่มคนรักต้นไม้รวมตัวกันในนาม BIGTrees Project เพื่อเน้นเรื่องการสื่อสาร สร้างการเรียนรู้ และจัดกิจกรรมให้คนในเมืองได้ไปสัมผัสธรรมชาติใกล้ตัว โดยมีบทบาทสำคัญในการอนุรักษ์พื้นที่สีเขียวในป่าคอนกรีตแห่งนี้ และกลายเป็นศูนย์กลางในการส่งเรื่องร้องเรียน หากมีการตัดต้นไม้ในที่สาธารณะ เพราะการตัดต้นไม้ไม่ใช่แค่เรื่องของ “ความใหญ่” แต่เป็น “เรื่องใหญ่” ที่ทุกคนควรตระหนักรู้ วันนี้ The Urbanis จึงมาพูดคุยกับคุณ สันติ โอภาสปกรณ์กิจ และคุณ อรยา สูตะบุตร สองผู้ร่วมผู้ก่อตั้งกลุ่ม BIGTrees Project ณ Luka Cafe Siri House คาเฟ่และร้านอาหารท่ามกลางร่มไม้ใหญ่ในซอยสมคิด ย่านเพลินจิต ในวาระครบ 10 ปีที่สนับสนุนให้เมืองรักษาต้นไม้ และอนุรักษ์พื้นที่สีเขียวให้งดงามมาถึงปัจจุบัน […]

พื้นที่สาธารณะ เลนจักรยาน อาคารทิ้งร้าง สร้างเมืองแห่งการเรียนรู้ได้อย่างไร ชวนศึกษา 5 เมืองทั่วโลกที่อยากเห็นผู้คนฉลาดขึ้น

01/12/2020

บทความดัดแปลงจากรายงานความคืบหน้าโครงการศึกษาบทบาท ศักยภาพ และพัฒนาดัชนีชี้วัดการขับเคลื่อนเมืองการเรียนรู้แห่งอนาคต (The Future of Learning City) โดย ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล / อดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ / ธนพร โอวาทวรวรัญญู / อคัมย์สิริ ล้อมพงษ์ / บุษยา พุทธอินทร์ / พิชนา ดีสารพัด Andrew Harrison และ Les Hotton ได้กล่าวถึงการออกแบบสภาพแวดล้อมกายภาพ ภายใต้กรอบแนวคิด ภูมิทัศน์การเรียนรู้ (learning landscape) เพื่อส่งเสริมรูปแบบการเรียนรู้แห่งอนาคตว่า การสร้างภูมิทัศน์การเรียนรู้ตั้งอยู่บนหลักความเชื่อที่ว่า พื้นที่ไม่ได้มีบทบาทเป็นเพียงภาชนะสำหรับการเรียนหรือการทำงาน แต่ยังแสดงออกถึงวัฒนธรรม ตลอดจนเสริมคุณค่าและความเชื่อขององค์กรและบุคคลที่เป็นสมาชิก ดังนั้น หลักการออกแบบสภาพแวดล้อมกายภาพจึงไม่ควรเน้นที่ประสิทธิภาพและประสิทธิผลเท่านั้น แต่ยังควรเน้นไปที่การแสดงออกถึงคุณค่าและหลักปรัชญา ความชัดเจนของภูมิทัศน์การเรียนรู้ที่ปรากฏผ่านทั้งในระดับผังและสถาปัตยกรรมจะทำให้ผู้เรียนรู้สึกเป็นส่วนหนึ่ง (sense of belonging) ของกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในองค์รวม และจะเป็นแรงดึงดูดผู้เรียนให้คงอยู่สภาพแวดล้อมกายภาพ องค์ประกอบของเมืองที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ภูมิทัศน์ของการเรียนรู้แห่งอนาคต ได้เปลี่ยนแปลงไปด้วยปัจจัยที่กระตุ้นทั้งในเชิงสังคม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยีที่มีความสลับซับซ้อน […]

กรุงเทพฯ เมืองเวนิสแห่งตะวันออก กับการสัญจรทางน้ำที่กำลังจะหายไป

06/10/2020

หลายคนคงเคยได้ยินว่า ในอดีตกรุงเทพฯ เคยมีชื่อเล่นเก๋ๆ เป็น ‘เวนิสแห่งตะวันออก’ เนื่องจากมีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านกลางเมือง ทั้งยังมีลำน้ำคูคลองแตกแขนงจำนวนมากที่เชื่อมถึงกันทั้งหมด นำมาซึ่งการสัญจรทางน้ำที่เป็นเส้นทางคมนาคมหลัก คนกรุงเทพฯ จึงผูกพันกับสายน้ำมาอย่างยาวนาน ทว่าปัจจุบันเหล่าคูคลองเหล่านั้นกลับถูกลดบทบาทลง โดยมีตัวละครใหม่อย่าง ‘ถนน’ เข้ามาช่วงชิงความสำคัญแทน คลองจึงค่อยๆ ลดความสำคัญ และค่อยๆ หายไปจากชีวิตประจำวันของเรา ย้อนกลับไปดูในเชิงประวัติศาสตร์ตั้งแต่ก่อนจะมีกรุงเทพมหานคร บริเวณนี้เป็นเพียงสถานีการค้าขนาดเล็กที่อยู่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา โดยแม่น้ำลำคลองเป็นตัวเลือกหลักในการใช้ และขยายเครือข่ายการขนส่ง เราพบว่า ช่วงปีพ.ศ. 2065 – 2179 มีการขุดคลองลัดจากบางกอกน้อย – บางกอกใหญ่ บางกรวยจากวัดชะลอถึงวัดขี้เหล็กบางกอกน้อย และปากคลองแม่น้ำอ้อมถึงวัดเขมา เป็นการเปิดเส้นทางสัญจรใหม่ๆ เพื่อย่นระยะเวลาการเดินทางสู่อยุธยาโดยตรง แม่น้ำลำคลองจึงเป็นแหล่งที่มาของอุปโภค และบริโภค และเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม และประเพณีริมน้ำภาคกลางต่างๆ เช่น ตักบาตร, ลอยกระทง หรือทอดกฐินทางน้ำ ฯลฯ เรียกได้ว่า เป็นเนื้อเดียวกับชีวิตประจำวันของคนกรุง และมีบทบาทสนับสนุนเจริญงอกงามของสังคมเป็นอย่างยิ่ง มีหลายสมมติฐานว่าชื่อ ‘บางกอก’(Bangkok) มีที่มาหลายอย่าง เช่น ‘กอก’ ที่มาจากต้นมะกอกที่ปลูกมากในบริเวณนี้ หรือ ‘เกาะ’ อันหมายถึงพื้นที่ที่ล้อมรอบไปด้วยแม่น้ำ และลำคลองจนเป็นเกาะ เพราะแต่เดิมกรุงเทพในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 โครงข่ายคลองมีลักษณะเป็นใยแมงมุม และมีจำนวนมากกว่า 1,200 คลอง แสดงให้เห็นว่ากรุงเทพฯ มีคลองอยู่จำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว โดยเฉพาะช่วงการขยายตัวของชุมชนทั้งสองฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยา(ธนบุรีและพระนคร) จำนวนคลองที่เชื่อมต่อระหว่างแม่น้ำต่างๆ ก็เพิ่มขึ้น หากมองเฉพาะบริเวณฝั่งธนบุรีไม่เพียงแต่คลองธรรมชาติจำนวนมาก แต่ยังนิยมขุดคลองเพื่อใช้ประโยชน์ทางเกษตรกรรม สังเกตได้ว่าบ้านสวนฝั่งธนจะมีท้องร่อง คลองหลัก และคลองซอยบริเวณรอบบ้านเสมอ ซึ่งคลองขุดหลายๆ สายยังเชื่อมต่อไปยังต่างจังหวัดอีกด้วย สามารถประยุกต์ใช้เป็นการขนส่งแบบพื้นบ้าน (Traditional Logistic) ได้อีกต่อหนึ่ง เป็นเส้นทางขนส่งสำคัญช่วงที่น้ำตาลและข้าวเป็นสินค้าส่งออกหลัก ปัจจุบันฝั่งธนบุรีจึงเป็นฝั่งที่มีคลองมากที่สุดในกรุงเทพฯ โดยบางส่วนยังเป็นเส้นทางสัญจรแบบดั้งเดิม หรือทำการอนุรักษ์ไว้เป็นแหล่งท่องเที่ยวประเภทตลาดน้ำและชุมชนริมคลอง […]

คุณอรรถพร คบคงสันติ ภูมิสถาปนิก: มดงานที่เติบพื้นที่สีเขียวให้กับเมืองคอนกรีต

24/09/2020

ต้นไม้ใบหญ้า พื้นที่สาธารณะดีๆ ที่คนเมืองสามารถใกล้ชิดกับธรรมชาติ เป็นความปรารถนาของคนหลายคน แต่ในเมืองอย่างกรุงเทพมหานครที่คล้ายจะกลายเป็นเมืองคอนกรีตเข้าไปทุกที่ คนเล็กๆ คนหนึ่งจะสามารถเปลี่ยนแปลง เติมสีเขียวได้อย่างไร ชวนหาคำตอบผ่านชีวิตคุณอรรถพร คบคงสันติไปพร้อมกัน! เริ่มต้นร่ำเรียนวิชาสถาปัตย์ฯ คุณอรรถพร คบคงสันติ ภูมิสถาปนิกและผู้บริหารบริษัท T.R.O.P ผู้มีผลงานโดดเด่นคนหนึ่งของประเทศไทย บอกเล่าประสบการณ์และเส้นทางการทำงานทั้งในประเทศ และต่างประเทศที่ได้ใช้ทักษะความรู้ความสามารถในการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับเมือง โดยจุดเริ่มต้นของการร่ำเรียนสู่การเป็นสถาปนิกของเขาเกิดขึ้นที่ภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อนบินลัดฟ้าไปเรียนต่อปริญญาโทที่ Harvard Graduate School of Design ในประเทศสหรัฐอเมริกา การใช้ชีวิตร่ำเรียนในช่วงปริญญาโท และการทำงานที่สหรัฐอเมริกาเป็นหนึ่งปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงชีวิตเขาไปตลอดกาล โดยเขาได้เรียนรู้ผ่านภูมิสถาปนิก ผู้เชี่ยวชาญ 2 ท่าน ได้แก่ George Hargreaves ภูมิสถาปนิกที่เป็นที่รู้จักตั้งแต่อายุเพียง 29 ปี โดดเด่นในการทำงานพื้นที่สาธารณะ และ Bill Bensley สถาปนิกผู้เก่งกาจในการออกแบบโรงแรมที่พักสุดหรู การได้สังเกตการณ์ทำงานจากคนระดับโลกและได้ทำงานที่มีความท้าทายมากมายทำให้ไม่กี่ปีต่อมา เขาเลือกที่จะกลับเมืองไทยและเปิดบริษัทเป็นของตัวเองในชื่อ T.R.O.P อันเป็นการผสมผสานของสองอย่างในการสร้างพื้นที่สีเขียว ได้แก่ ดิน (Terrains) และพื้นที่ว่าง (Open space) […]

‘Chao Phraya Sky Park’: New hopes and possibilities for adding green to the city, connecting districts, linking communities, by promoting a high-value walking experience

16/09/2020

Translated from an interview transcript : Niramon Serisakul,Director of Urban Design and Development Center (UddC) and head of Chao Phraya Sky Park project Full interview transcript https://theurbanis.com/public-realm/09/06/2020/2016 The path to the Sky Park The Chao Phraya Sky Park was built upon a structure that had been abandoned for more than 30 years. At that time, […]

สถาปนิกกัวลาลัมเปอร์ เปลี่ยนพื้นที่ทิ้งร้างของเมือง เป็นพื้นที่สีเขียวกินได้และสร้างมั่นคงให้ชุมชน

21/08/2020

คุณครูพาเด็กนักเรียนมาปลูกข้าว พ่อแม่จูงลูกน้อยมาเรียนปลูกต้นกล้า อาสาสมัครจับกลุ่มรดน้ำ พรวนดิน กำจัดวัชพืช เด็กในชุมชนละแวกสวนชวนกันเตะฟุตบอล หรือผู้สูงอายุอุ้มเป็ดตัวอ้วน คือ ภาพชีวิตเมืองที่เกิดขึ้นในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ณ พื้นที่สีเขียวใจกลางเมืองที่ชื่อว่า “เคอบุน เคอบุน บังซาร์” (Kebun-Kebun Bangsar) พื้นที่สีเขียวของเมืองที่เป็นมากกว่า “สวนกินได้” (edible garden) ในเมืองหลวงที่มีสัดส่วนพื้นที่สีเขียวมากกว่า 44 ตารางเมตรต่อประชากร 1 คน  เป็นเวลา 3 ปีแล้วที่ชาวเมืองกัวลาลัมเปอร์ได้รู้จักเคอบุน เคอบุน บังซาร์ สวนชุมชนขนาด 20 ไร่ จากการฟื้นฟูพื้นที่ทิ้งร้างใต้เสาไฟฟ้าแรงสูงใจกลางเมือง ดำเนินการโดย Ng Sek San สถาปนิกวัยใกล้ 60 ปี ผู้หันหลังให้กับงานคอมเมอร์เชียลทั้งในและต่างประเทศเมื่อ 6 ปีก่อน และหันหน้าสู่งานชุมชน เมือง และวัฒนธรรมอย่างเต็มตัว   “สำหรับผม นี่เป็นหนึ่งในโครงการที่สำคัญที่สุดเท่าที่ทำงานมาทั้งชีวิต” Ng Sek San พูดถึง เคอร์บุน-เคอร์บุน  กว่าจะประสบความสำเร็จเป็นพื้นที่สาธารณะของคนเมืองในปี […]

3 ย่าน: เยาวราช/เพลินจิต/พระประแดง ในความนึกคิดของนิสิตผังเมือง

20/08/2020

ย่านแต่ละย่านต่างมีรสชาติเป็นของตัวเอง มีทั้งเรื่องราว เรื่องเล่า การออกแบบที่สะท้อนบุคลิกของผู้คนที่อาศัยอยู่ The Urbanis ชวนสำรวจ 3 ย่านที่มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นเยาวราช ย่านเก่าแก่ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลก, เพลินจิต ย่านธุรกิจใจกลางเมือง และพระประแดง ย่านที่เต็มไปด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรมผ่านมุมมองของนิสิตภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้นปีที่ 4 ทั้ง 3 คน เตรียมผูกเชือกรองเท้าให้พร้อมแล้วเดินสำรวจพร้อมกันในบทความนี้ได้เลย… A neighborhood/ศุภิฌา สุวรรณลักษณ์ ว่าด้วยความเป็นย่าน ย่านเปรียบเสมือนหน่วยย่อยของพื้นที่ทางสังคมของเมือง การเกิดย่านของมนุษย์นั้นเกิดจากกระบวนการที่ประกอบสร้างขึ้นตามความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมของผู้คนในย่าน ทั้งในระดับปัจเจกบุคคลและสาธารณะ แต่ทั้งนี้การจะพัฒนาเมืองไปสู่สิ่งที่สร้างความสุขในการใช้ชีวิตได้จริงนั้น ไม่อาจเกิดขึ้นได้ง่าย หากในกระบวนการวางผังเมืองหรือการก่อสร้างตึกอาคารละเลยที่จะคำนึงถึงหนึ่งในหัวใจสำคัญที่สุดของเมือง นั่นคือ การกระตุ้นให้เกิดปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้คนในเมือง ซึ่งสิ่งนี้จะนำไปสู่สำนึกของชุมชนจนถึงระดับย่านที่เข้มแข็งยิ่งขึ้น ย่านที่ดีประกอบไปด้วยผู้คน กิจกรรม และเวลาอันเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างในแต่ละพื้นที๋สภาพแวดล้อมทางกายภาพของย่าน ซึ่งเกิดจากองค์ประกอบหลายส่วน เช่น สถาปัตยกรรมที่ครอบคลุมพื้นที่ส่วนตัว หรือพื้นที่สาธารณะ รวมไปถึงคุณค่ามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้และไม่สามารถจับต้องได้ เช่น ระบบเศรฐกิจ-สังคม วิถีชีวิต ภูมิปัญญา อาหาร เป็นต้น โดยย่านเยาวราชนั้น มีองค์ประกอบดังที่กล่าวข้างต้นที่ทำให้ผู้คนทั้งภายในและภายนอกย่านนี้สามารถที่จะรับรู้ได้ถึงการเข้าย่าน-ออกย่านหรือความเป็นย่านได้เป็นอย่างดี แสดงให้เห็นถึงการทำให้ผู้คนมีความรู้สึกและรับรู้ได้ถึงการ ‘เป็นส่วนหนึ่ง’ ของย่านเยาวราชได้อย่างชัดเจน […]

ACROS Fukuoka เมื่อเมืองกับป่าเป็นหนึ่งเดียวกันไม่ใช่เรื่องใหม่

19/08/2020

ด้วยเทรนด์รักโลกในปัจจุบันทำให้ตึกรามบ้านช่องนำเอาการปลูกป่าแนวตั้งเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบ อาคารหลายแห่งเริ่มแซมไปด้วยสีเขียวครึ้มของต้นไม้ใบหญ้า ทั้งจากทางระเบียงตึกหรือบนดาดฟ้า แต่ใครจะรู้ว่า ACROS Fukuoka หรือที่ชาวเมืองฟุกุโอกะ ประเทศญี่ปุ่น รู้จักกันในชื่อ Step Garden จะนำสมัยมาตั้งแต่ปีค.ศ. 1995 ACROS Fukuoka (Asian Cross-Road Over the Sea – Fukuoka) เป็นอาคาร 14 ชั้นที่สามารถมองได้ทั้งสองด้าน ด้านแรกคล้ายจะเป็นอาคารปกติธรรมดา แต่เมื่อหันมองอีกด้านกลับเป็นตึกขั้นบันไดขนาดใหญ่ที่ปกคลุมด้วยต้นไม้สีเขียว ภายใต้แนวคิด “ตึกกลางเมืองที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” โดยอาคารสุดโดดเด่นนี้ถูกออกแบบโดย Emilio Ambasz & Associates ภายในประกอบด้วยร้านค้าชั้นนำและร้านขายสินค้าทำมือ งานศิลปะไอเดียเก๋ ร้านอาหาร และคาเฟ่ ที่สำคัญคือยังเป็นแหล่งรวมกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าเป็นแกลลอรี่, Fukuoka Symphony Hall, สถานที่จัดประชุม International Conference Hall, Cultural Information Center และยังเป็นสถานที่จัดแสดงดนตรีจากทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงนิทรรศการ งานอีเวนท์อยู่เป็นประจำ ตามนโยบายในการเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนด้านศิลปะ วัฒนธรรมของเอเชียสู่สากล […]

1 2 3 4 5 6 8