Environment



There is no planet B : สิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นแค่ตอนนี้หรือตลอดไป?

13/08/2020

เต่ามะเฟืองขึ้นที่ขึ้นมาวางไข่ที่ภูเก็ตและพังงา คุณภาพที่อากาศที่ดีขึ้น การปล่อยก๊าซพิษที่ลดลงของโรงงานอุตสาหกรรม… สิ่งต่างๆ เหล่านี้อาจทำให้เราคิดว่า การอุบัติของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่กำลังระบาดรุนแรงทั่วโลกนั้น มีส่วน ‘สร้างประโยชน์’ ให้กับสิ่งแวดล้อม จริงหรือ…? ย้อนกลับไปช่วงก่อนที่ไวรัสโควิด-19 จะระบาด ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญที่ทั้งโลกกำลังให้ความสนใจ อาจเพราะเราเริ่มเห็นผลกระทบจากปัญหาสิ่งแวดล้อมชัดเจนขึ้น ทั้งไฟป่า, น้ำท่วม, แผ่นดินไหว, น้ำแข็งละลาย, อากาศเป็นพิษ ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นบนโลกเริ่มรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ชาวโลกเริ่มตื่นตัวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น อย่างประเทศไทยเองก็ ‘พยายาม’ ขับเคลื่อนด้วยการออกนโยบายไม่แจกถุงพลาสติกทั่วประเทศเมื่อต้นปี 2020 ที่ผ่านมา โดยก่อนหน้านี้ประเทศไทยติด 1 ใน 5 ของประเทศที่ปล่อยขยะลงทะเลมากที่สุดในโลก โดยกว่ามีขยะพลาสติกในทะเลกว่า 8 ล้านตัน ในช่วงหลังๆ เราจะเห็นหลายคนเริ่มพกขวดน้ำ แก้ว หลอด กล่องข้าว ถุงผ้าไปไหนมาไหน เพื่อลดปริมาณการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง (single-use plastic) ที่มักมาในรูปแบบของบรรจุภัณฑ์ใส่อาหารและเครื่องดื่ม แต่ไม่ทันไรเมื่อโควิด-19 แทรกแซงเข้ามาในสังคมโลก ผู้คนจึงต้องเบนเข็มไปโฟกัสที่เรื่องความปลอดภัยด้านสุขภาพก่อนเป็นอันดับแรก ขยะที่มาพร้อมกับการล็อกดาวน์ การล็อกดาวน์ของหลายเมืองใหญ่ในโลกทำให้การใช้ชีวิตที่เคยปกติของมนุษย์หยุดชะงัก โรงเรียนปิด การทำงานส่วนใหญ่เปลี่ยนไปเป็น Work From Home […]

เมืองเล็กๆ ตรงเส้นรอยจูบของสายน้ำ

21/07/2020

การที่อุบลฯ ตั้งอยู่ตะวันออกสุดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้งยังเป็นตำบลที่ตั้งของเส้นเวลาหลักของประเทศที่เส้นแวง 105 องศาตะวันออก จึงทำให้นอกจากเห็นพระอาทิตย์ก่อนใครแล้วพระอาทิตย์และพระจันทร์แรกขึ้นที่นี่ยังเห็นขนาดใหญ่กว่าที่อื่น และจุดที่ใกล้เส้นเวลานั้นมากที่สุดได้ซ่อนเมืองเล็กๆ ที่สวยงามแห่งหนึ่งไว้ 1 ออกจากอุบลราชธานีมุ่งไปทางตะวันออกจนสุดเขตแดนประเทศซึ่งมีแม่น้ำโขงไหลพาดผ่านจากทิศเหนือลงใต้คล้ายทางช้างเผือกบนแผ่นดิน โขงเจียมเมืองเล็กๆ แห่งนั้นวางตัวเองเงียบๆ ตรงจุดรอยต่อของแม่น้ำโขงและแม่น้ำมูลที่ไหลมาจากทางตะวันตก เส้นทางจากพิบูลมังสาหารมาสู่โขงเจียมนั้นตีคู่ขนานมากับแม่น้ำมูลและมีลักษณะเป็นเนินเขาหินทรายสลับกับร่องน้ำสาขาแม่น้ำมูลซึ่งเป็นพื้นดินที่เพาะปลูกได้ ทุ่งข้าวที่อยู่ระหว่างคลื่นหุบและเนินเหล่านี้จึงต่างระดับถือเป็นทุ่งนาที่สวยมากแห่งหนึ่ง ประมาณกิโลเมตรที่ 70 จากอุบลฯ หรือ 30 จากพิบูลฯ จะมาถึงจุดสูงสุดของเนินเขาฝั่งไทยที่ตั้งวัดถ้ำคูหาสวรรค์ซึ่งถือเป็นยอดภูเขาศักดิ์สิทธิ์ จุดชมวิวตรงโค้งนี้เองจะเห็นเทือกเขาในแดนลาวด้านทิศตะวันออกขึงทอดยาวจากเหนือลงใต้เบื้องล่างนั้นคือแม่น้ำโขง – สายน้ำแห่งชีวิตของมวลมนุษยชาติที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลกซึ่งขนาบข้างด้านทิศเหนือของโขงเจียมไว้ส่วนด้านทิศใต้ก็ติดแม่น้ำมูล  และจุดนี้เองที่เราจะเห็นการบรรจบกันของสายน้ำสองสายมูลกับโขง บางฤดูที่น้ำหลากไหลแรงเราจะเห็นเส้นรอยต่อของแม่น้ำทั้งสอง แต่ถ้าอยากเห็นให้ชัดเจนขึ้น เราต้องเลี้ยวขวาจากถนนหลักเส้นนี้ลงไปข้างล่าง รอยจูบของแม่น้ำทั้งสองจะปรากฏต่อหน้าและสามารถลงเรือไปเอื้อมสัมผัสได้   เมืองโขงเจียมอยู่บนเส้นรอยจูบนี้เอง แทรกไว้ตรงนี้ก็ได้ว่า ประมาณ 1-2 กิโลเมตรก่อนที่จะถึงโค้งที่เราจะลอบยลเส้นรอยจูบที่ว่านั้นเราจะผ่านดงป่าไม้สูงใหญ่ขนาบสองข้างถนน ในฤดูใบไม้สดเขียว แสงแดดจะผ่านลงมาได้เพียงแต่น้อย แต่พอเข้าสู่ฤดูที่ใบไม้ร่วง  ถนนช่วงนี้จะถูกปูทับด้วยใบไม้แห้ง และปลิวกระจายออกตามแรงรถที่ขับผ่าน คล้ายดั่งประตูลึกลับก่อนเข้าสู่ดินแดนที่งดงาม ถ้าเรายืนอยู่ในจุดสูงสุดของเนินตรงโค้งนั้นในคืนข้างขึ้นดวงจันทร์จะลอยตัวขึ้นตรงช่องเขาที่แม่น้ำโขงไหลวกเข้าสู่แดนลาวภายหลังบรรจบกับแม่น้ำมูล รอยจูบของสายน้ำทั้งสองระริกไหวอยู่ภายใต้พระจันทร์ดวงนั้นและระยิบระยับสะท้อนแสงจันทร์ ซูมภาพให้ใกล้เข้ามาด้วยการลงไปยืนอยู่ตรงแหลมในตัวเมืองที่ยื่นลงไปตรงจุดบรรจบของสองสายน้ำ ภาพแผ่นน้ำตรงเส้นรอยจูบปรากฏชัดพร้อมกับเสียงน้ำไหลกระทบเกาะแก่งหินและต้นไม้กลางแม่น้ำ โขงเจียมเป็นเมืองที่หลับใหลค่อนข้างเร็ว โดยเฉพาะโซนเรียบริมโขง และถ้าเราเดินย้อนกลับมาในทิศทางตรงกันข้ามในความเงียบภายหลังความหลับนั้น เดินไปตามถนนสายเล็กๆ กลางชุมชนเลียบแม่น้ำโขงที่คลุ้งไปด้วยกลิ่นคาวปลาหรือหน้าบ้านพักสีแบ เพียงแต่เราแหงนมองไปข้างบนฝั่งตะวันตก เราจะรู้สึกเหมือนว่าเดินอยู่ในเมืองบาดาล แสงไฟจากเจดีย์ของวัดถ้ำคูหาสวรรค์ที่อยู่บนยอดเนินและแสงไฟถนนเส้นไปโพธิ์ไทร ศรีเมืองใหม่ เหมือนแสงไฟเหนือผิวน้ำ ถนนสายที่ตรงไปอำเภอโพธิ์ไทร ยกตัวสูงขึ้นจากตัวเมืองโขงเจียมทอดยาวขึ้นลงตามคลื่นเนินเขา ผ่านผาแต้ม ผาชะนะได ภูสมุย สามพันโบก ยาวไปถึงอำเภอเขมราฐ ต่อไปมุกดาหาร นครพนม บ้านแพง หนองคายได้ ถือเป็นเส้นทางคู่ขนานทวนแม่น้ำโขงขึ้นไปทางเหนือ ทางทิศใต้ของเมือง ใกล้ๆ กับตลาด มีสะพานข้ามแม่น้ำมูล (สิบกว่าปีที่แล้วไม่มีสะพาน  ข้ามฟากต้องใช้เรือขนานยนต์) ถนนเส้นนั้นตัดตรงไปอำเภอสิรินธรและด่านช่องเม็ก-วังเต่า เข้าสู่ลาวใต้ ปากเซ จำปาสัก ถนนยกตัวสูงขึ้นตามลำดับของเนินเขาหินปูน และขึ้นลงเนินเล็กใหญ่สลับกันไป ต้นไม้บนเนินเขามีฟอร์มโดดเด่นพิเศษ ในช่วงฤดูหนาวหรือช่วงที่ใบไม้เปลี่ยนสีเป็นถนนสายที่มีเสน่ห์ที่สุดแห่งหนึ่ง จากสภาพแวดล้อมแบบนี้เองทำให้โขงเจียมกลายเป็นการสร้างสรรค์ที่เหมาะเจาะลงตัวของธรรมชาติ เป็นเมืองเล็กๆ ที่อยู่ในจุดที่สวยมาก อีกทั้งภูมิทัศน์ทุกๆ ทิศที่แวดล้อมและนำเรามาสู่หรือออกไปจากโขงเจียมในรัศมี 50 กิโลเมตรยังขับเน้นความงามของเมืองเล็กๆ ในเส้นรอยจูบของแม่น้ำนี้ให้เปล่งประกายขึ้นและยังมีสีสันที่ชัดเจนในแต่ละฤดูให้อารมณ์ไม่ซ้ำกัน ฟังแบบนี้แล้วเหมือนว่าโขงเจียมเป็นเมืองในฝัน ซึ่งก็ใช่อย่างนั้นจริงๆ อย่างน้อยครั้งหนึ่งมันเคยเป็นแบบนั้น 2 ถ้าโขงเจียมโตช้ากว่านี้สัก 30 ปีจะดีที่สุด หลักไมล์ของการเปลี่ยนแปลงนั้นมาพร้อมกับปีการท่องเที่ยวไทย (2530) และเขื่อนปากมูล รูปลักษณ์ของเมืองเล็กๆ บนเส้นรอยจูบของสายน้ำแห่งนี้ถูกดึงให้ยึดโยงกับสองสิ่งนี้ ซึ่งเป็นการพัฒนาตามรูปแบบและรสนิยมกระแสหลักที่ถูกกำหนดโดยศูนย์กลางอำนาจรัฐในขณะนั้น ถ้ามองโขงเจียมอย่างเข้าใจ ความเปลี่ยนแปลงของเมืองเล็กๆ ที่สวยงามแห่งนี้มันก็มีเหตุผล ไม่ว่าจะเป็นการเติบโตขึ้นในยุคข่าวสารข้อมูลยังไม่กระจายตัวข้ามโลกแบบทุกวันนี้ ทำให้โขงเจียมต้องเป็นฝ่ายรับแต่ทางเดียว  และเป็นการรับจากนโยบายส่วนกลางเท่านั้น ไม่มีการทำประชามติ ประชาชนในพื้นที่ไม่มีสิทธิ์เลือกแนวทางที่ตัวเองต้องการหรือแนวทางที่ทันสมัยแต่เข้ากับหน้าตาและตัวตนของตัวเอง เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนที่สุด ผมจะชี้ให้เห็นถนนสี่สายหรือโซนสี่โซนของโขงเจียม หนึ่ง – ถนนในชุมชนค้าขายปลา  ไม่ได้ติดตลิ่งโขงเสียทีเดียว เพราะขนาบข้างด้วยบ้านเรือนไม้ วัด และหน่วยทหารนปข. […]

หมองกลิ่นเมืองเหงา

14/07/2020

ภาพข่าวที่ชวนให้สะเทือนใจเมื่อไม่นานมานี้คือ ภาพแม่ค้าที่ตลาดนั่งลงกับพื้นถนนไหว้อ้อนวอนผอ.เขต กับเจ้าหน้าที่เทศกิจที่ออกมาไล่รื้อแผงลอยค้าขายที่ตลาดลาวย่านคลองเตยในช่วงเวลาประมาณสามทุ่ม ในขณะที่เวลาสี่ทุ่มคือเวลาเคอร์ฟิว ถ้อยคำร้องทุกข์ของพ่อค้าแม่ค้าคือ ตอนนี้ก็ทำมาหากินยากอยู่แล้ว ทั้งจากภาวะเศรษฐกิจซบเซา และถูกซ้ำเติมจากมาตรการปิดเมืองเพื่อรับมือกับโควิด 19 ทำไมกทม. ถึงจะมาบีบให้คนทำมาหากินที่ลำบากอยู่แล้วต้องเผชิญกับสภาวะจนตรอกมากขึ้น ส่วนทางกทม. นั้นก็มีคำอธิบายว่า นี่เป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย “ทวงคืนทางเท้า” ของกทม. โดยอธิบายว่า ทางเท้านี้ถูกยึดไปเป็นตลาดมานานกว่า 30 ปี มีความพยายามไล่รื้อมาตั้งแต่เดือนเมษายนแล้วครั้งหนึ่ง แต่ไม่สำเร็จ เดือนพฤษภาคมพยายามอีกครั้งก็ทำให้เราเห็นภาพชวนสะเทือนใจ นั่นคือ ภาพแม่ค้านั่งกลางถนนยกมือไหว้อ้อนวอนขอพื้นที่สำหรับทำมาหากิน นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดการปะทะกัน ระหว่างคนค้าขายบนพื้นที่ที่ฉันอยากจะเรียกมันว่าพื้นที่อันกำกวม นั่นคือ พื้นที่ริมถนน และทางเท้า กับเทศกิจและกทม. (และจังหวัดอื่นๆ ด้วย) นอกจากจะไม่ใช่ครั้งแรกแล้ว ภาพแม่ค้าวิ่งหนีเทศกิจยังกลายเป็นภาพคลาสสิค สถาปนาพล็อตในหนัง ในการ์ตูน ในเรื่องสั้น ในละคร มีชีวิตอยู่ใน pop culture ของไทย จนเรารู้สึกไปโดยปริยายว่า มีทางเท้าก็ต้องมีรถเข็นขายของ มีรถเข็นขายของก็ต้องมีเทศกิจ เป็นเนื้อคู่กระดูกคู่กัน คำถามของฉันคือ ทำไมเราปล่อยให้มันกำกวม? และรถเข็น หาบเร่ แผงลอย ทั้งหมดในประเทศไทยมีอยู่ ดำเนินการอยู่โดยปราศจาก “การจัดการ” จริงๆ […]

เลี้ยงข้าวเพื่อน

22/06/2020

ฉันเสียใจตรงที่เก็งผิดว่า พ.ร.ก.ฉุกเฉินน่าจะประกาศเลิกใช้ตอนสิ้นเดือนพฤษภาคม ใครจะไปคิดว่าพ.ร.ก.ที่ดูทั้งเกินความจำเป็น และซ้อนทับกับกติกาที่มีอยู่แล้วอย่างพ.ร.บ.โรคติดต่อ จะถูกใช้อย่างยืดเยื้อแบบไม่ได้ดูมิติอื่นๆ ของสังคมขนาดนี้ และวันที่เขียนอยู่นี่ก็กระชากออกไปจนถึงเดือนหก แถมกำหนดเวลาประหลาดพิลึก เว้นช่องแบบพอให้ได้รู้ว่ากูควบคุมอยู่นะ อย่าได้คิดเหิมเกริมใดๆ ไอ้พวกคนบาปผู้ทำมาหากินยามราตรี เป็นภาระสังคมเสียเหลือเกิน แต่พูดไปทำไม มาขนาดนี้แล้วคงต้องโทษตัวเองว่ายังกล้าจะหวังว่าผู้มีอำนาจเขาจะตัดสินใจโดยรวมเอาองค์ประกอบสำคัญอย่างประชาชนพลเมืองเข้าไปในสมการ ห้ามแล้วยังหวดฟาดด้วยคำศัพท์หรูหราสารพัด ที่ฟังแล้วให้รู้สึกว่าเรานี้มันช่างต้อยต่ำและไร้สุนทรียะ ที่ดันต้องการแค่คำแถลงการณ์แจ้งสถานการณ์ล่าสุดในภาพรวมแบบทันเวลา แต่กลายเป็นว่าแถลงการณ์นั้น เหมือนถูกเขียนโดยครูประถมที่สาดใส่ทั้งคำเปรียบคำเปรยคำสอนมาอย่างเต็มที่ ชวนให้คิดถึงสมัยพ่อขุนฯ ที่ให้ไพร่ทาสไปเขย่ากระดิ่งร้องทุกข์กันได้ เพราะทางหนึ่งก็มองไปว่าเป็นห่วงเป็นใย ละเอียดละออเหลือเกินในทุกรายละเอียดของชีวิตคนฟัง จนร่ำๆ จะพนมมือเปล่งสาธุออกมาโดยพร้อมเพรียง แต่ที่มองเห็นวูบแรกคือ เขาไม่ได้เห็นเราเป็นพลเมืองเสมอกัน แต่เป็นอ้ายอีที่จักต้องดูแลไว้ใช้งานส่งส่วย หาข้าวหาน้ำป้อนแก่ส่วนกลางต่อไป เป็นแรงงานที่ไม่มีอะไรต้องให้รู้ให้เข้าใจเยอะ สั่งอะไรก็ไปทำแล้วกัน ทำไม่ได้จะด้วยเหตุใดก็อย่ามาอ้าง ให้ถือว่าทั้งหมดเป็นความผิดส่วนตัว ที่ทั้งขี้เกียจแลงอมืองอตีน เป็นตัวถ่วงภาระสังคม บ่นมาครึ่งทางนี่ก็เพื่อจะบอกว่าโครงการ (เรียกเสียยิ่งใหญ่เกินจริงไปมาก แต่ก็ไม่รู้เรียกอะไรจะเข้าท่า จะทับศัพท์ว่าโปรเจกต์ก็เขินตัวเอง เพราะมันไม่ได้เก๋ไก๋อะไรขนาดนั้น) ‘เลี้ยงข้าวเพื่อน’ ของฉันนั้น ตัดจบไปตั้งแต่ปลายเดือนห้า เพราะทุนนั้นก็เรื่องหนึ่ง แต่ที่ต้องให้พักกันไป เพราะเกรงใจทุกๆ ส่วนที่ร่วมกันในโครงการ ด้วยว่าพ.ร.ก.นั้น อาจจะยืดยาวต่อไปก็จริง แต่มาตรการลักปิดลักเปิดที่เรียกว่าความปกติใหม่นั้นเริ่มขึ้นแล้ว ซึ่งก็เพิ่มกติกาชีวิตให้คนอีกมาก ทั้งผู้ประกอบการ และฝ่ายผู้บริโภค (ซึ่งทั้งสองฝ่ายก็สามารถเป็นได้ทั้งสองอย่าง หรือกลับกันได้เสมอ) […]

ลีลาวดีอยู่นี่ : อยู่ที่เชิงสะพานสวนลอยฟ้าเจ้าพระยา

19/06/2020

เวลาพูดถึงท่าช้างวังหลวง หนึ่งในภาพจำของหลายๆคน น่าจะเป็นแนวต้นลีลาวดีที่เรียงรายอยู่หน้าตึกแถวเก่ายุคนีโอคลาสสิก ต้นลีลาวดีที่เคยอยู่ในลานท่าช้างวังหลวงมีจำนวน 29 ต้น ให้ร่มเงาและประดับประดาบริเวณลานหลังท่าเรือให้สวยงาม เป็นการต้อนรับผู้มาเยือนมาแล้วกว่า 22 ปี ต้องหมายเหตุว่าต้นลีลาวดีชุดนี้ไม่ใช่ลีลาวดีที่เราเห็นทั่วๆ ไป คือดอกสีขาวๆ ใหญ่ๆ แต่เป็นพันธุ์เพชรเขาวัง สายพันธุ์เดียวกันกับที่พระนครคีรี หรือเขาวัง จังหวัดเพชรบุรี ทำให้รูปทรงของต้นจะมีความสวยงาม ดอกจะเล็กกระจุ๋มกระจิ๋ม มีสีเหลืองครีม ต้นลีลาวดีเหล่านี้ปลูกโดยเจ้าหน้าที่ของสำนักงานเขตพระนคร ผู้เชี่ยวชาญทางด้านพฤกษศาสตร์เมื่อปี 2541 ผ่านเวลาไปแม้ต้นลีลาวดีจะเติบโตผลิดอก แต่ด้วยพื้นที่ที่ปลูกเป็นลานคอนกรีตที่ร้อนจัด รากต้นไม้ถูกจำกัดไว้ในกรอบกล่องสี่เหลี่ยมคอนกรีตใต้ดิน ทำให้ต้นลีลาวดีเหล่านี้ไม่เติบโตเท่าที่ควร ประกอบกับโครงการก่อสร้างอุโมงค์ทางลอดหน้าพระลานและถนนมหาราช กรุงเทพมหานครจึงได้ตัดสินใจขุดล้อมต้นลีลาวดีทั้งหมดไปที่เชิงสะพานสวนลอยฟ้าเจ้าพระยาฝั่งเขตพระนคร เพื่อให้ต้นไม้ได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม นั่นคือสวนสาธารณะที่กว้างกว่า 8 ไร่และมีดินให้รากแผ่หยั่งลึก การขุดล้อมและการดูแล ว่าที่ร้อยตรีฤทธิพันธ์ นันทศุภกร ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตพระนคร ท่านที่มีบทบาทสำคัญในการดูแลสิ่งแวดล้อมภายในเขต รวมทั้งอยู่ในเหตุการณ์สำคัญตั้งแต่การปลูก ขุดล้อมเพื่อย้าย และการปลูกใหม่ลงในเชิงสวนลอยฟ้าเจ้าพระยา  ว่าที่ร้อยตรีฤทธิพันธ์เล่าให้เราฟังถึงวิธีการขุดล้อมที่ต้องทำอย่างระมัดระวังที่สุด เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบภารกิจในการขุดล้อมและย้ายได้รับการอบรมจากทีมรุกขกรของกลุ่ม Big Trees จนมีความเชี่ยวชาญ เริ่มต้นจากตัดเตียนยอดข้างบนเพื่อลดการคลายน้ำ และตัดรากแขนงก่อน 2 – 3 วัน ก่อนล้อมย้าย เมื่อย้ายไปปลูกในบริเวณเชิงสวนลอยฟ้าที่มีระบบนิเวศน์ที่ดี มีพื้นที่ที่เป็นดินกว่า 8 ไร่ […]

สวนป่าเมจิ : วิสัยทัศน์ 150 ปี กับความเขียวที่มนุษย์ร่วมสร้าง

12/06/2020

กรุงโรมไม่ได้สร้างเสร็จในวันเดียวฉันใด ป่ากลางเมืองก็ไม่ได้สร้างเสร็จในวันเดียวฉันนั้น สวนป่าเมจิ (Meiji Shrine Forest) ภายในพื้นที่ศาลเจ้าเมจิ เป็นหนึ่งในเป้าหมายของนักท่องเที่ยวทั่วโลกเมื่อไปเยือนกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ด้วยตำแหน่งที่ตั้งอยู่ใจกลางเมือง การเดินทางที่สะดวกเพียงข้ามฝากถนนจากย่านฮาราจูกุ เขตโยโยกิ นับตั้งแต่ก้าวย่างเข้าไปเขตศาลเจ้าเมจิ ก็ให้ความรู้สึกที่แตกต่างโดยสิ้นเชิงจากฝากถนนที่เพิ่งเดินข้ามผ่านมา นอกจากความสงบทางใจ แล้วยังมีต้นไม้ใหญ่มากมายที่ยืนต้นให้ความร่มเย็นด้วยพื้นที่กว่า 700,000 ตารางเมตรเป็น “ป่ากลางเมือง” อย่างแท้จริงของชาวโตเกียวอีกด้วย สวนป่าเมจิแห่งนี้เกิดจากการวางแผนกว่า 100 ปีที่แล้ว ภายใต้โครงการวิสัยทัศน์ 150 ปี ด้วยความร่วมมือ ของอาสาสมัครประมาณ 110,000 คน ซึ่งปลูกต้นไม้ 100,000 ต้น จาก 365 สายพันธุ์ที่ได้รับบริจาคโดยคนจากทั่วประเทศ  การสร้างป่ามาจากพื้นฐานความคิดและแนวคิดเกี่ยวกับธรรมชาติของญี่ปุ่น ตั้งแต่สมัยโบราณ คนญี่ปุ่นเชื่อว่าเทพเจ้าจะลงมายังพื้นดินจากยอดต้นไม้สูง และวิญญาณจะอาศัยอยู่ในพืช ต้นไม้ หิน น้ำ และวัตถุทางธรรมชาติอื่น ๆ เป็นทางเชื่อมต่อระหว่างสววรค์และโลกมนุษย์ วิสัยทัศน์ 150 ปี “โครงการป่าเมจิจิงกุ” (Meji jinyo)   นับย้อนไปเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม […]

‘สวนลอยฟ้าเจ้าพระยา’ : ความหวังและความเป็นไปได้ใหม่ ในการเติมสีเขียวให้เมือง เชื่อมเมือง เชื่อมชุมชน ให้ผู้คนเดินได้

09/06/2020

กรุงเทพมหานคร เมืองที่แออัด รถติด ขนส่งสาธารณะไม่ทั่วถึง ฝุ่นควัน ความไม่เท่าเทียมไม่เสมอภาค และอื่นๆ อีกมากเรื่อง พูดกันได้ไม่รู้จบ แม้เราจะบ่นถึงปัญหาสารพัดของเมืองได้ทุกวัน แต่การค้นหาความเป็นไปได้ในการปรับปรุงฟื้นฟูเมืองให้ดียิ่งขึ้นก็กำลังเดินหน้าทำงานขนานกันไป ล่าสุดหนึ่งในโครงการปรับเปลี่ยนสะพานด้วนให้เป็นสวนสาธารณะลอยฟ้าก็สำเร็จลุล่วง เปิดให้ผู้คนได้ใช้บริการแล้ว  โครงการ สวนลอยฟ้าเจ้าพระยา (Chao Phraya Sky Park) เป็นผลงานชิ้นโบว์แดงจากโครงการผังแม่บทการฟื้นฟูเมืองชั้นใน ที่มีชื่อเล่นว่า ‘โครงการกรุงเทพฯ 250’ ด้วยความร่วมมือจากภาคีพัฒนาสำคัญ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ในฐานะหน่วยงานท้องถิ่น หัวเรี่ยวหัวแรงประสานความร่วมมือ สนับสนุนงบประมาณในการศึกษา ออกแบบวางผัง และดำเนินการก่อสร้าง ร่วมกับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) และกรมทางหลวงชนบท (ทช.) กระทรวงคมนาคม ในฐานะเจ้าของโครงสร้างสะพานและผู้ดูแลพื้นที่ ที่เปิดไฟเขียวสนับสนุนการปรับเปลี่ยนโครงสร้างให้กลายเป็นพื้นที่สาธารณะส่งเสริมการสัญจรของเมือง พร้อมด้วย ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (UddC) ในฐานะหัวหน้าทีมศึกษาออกแบบวางผังและเสนอความเป็นไปได้ใหม่ในการพัฒนาฟื้นฟูเมือง สร้างพื้นที่สาธารณะ เพิ่มพื้นที่สีเขียว ที่ผู้คนในเมืองสามารถเดินได้เดินดี มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น  วันนี้อยากชวนทุกคนมาเดินทอดน่องชมวิวพระอาทิตย์ตกบนสวนลอยฟ้าเจ้าพระยาแห่งนี้ พร้อมกับฟังแนวคิดและการวางแผนดำเนินการ อุปสรรค รวมถึงข้อจำกัดที่ท้าทาย กับ ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการ […]

เสียงสะท้อนของชาวเชียงใหม่จากภัยหมอกควันและ COVID-19

28/05/2020

หากพูดถึงเมืองเชียงใหม่ทุกคนอาจนึกภาพของภูเขา ดอยสูง วัดวาอารามที่คงไว้ซึ่งศิลปะวัฒนธรรม รวมไปถึงผู้คนที่เต็มไปด้วยรอยยิ้ม ที่สำคัญเมืองเชียงใหม่ยังเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้กับประเทศมากมายมหาศาล  หลายคนเลือกมาอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่เพราะ ชอบบรรยากาศและสภาพแวดล้อมของที่นี่ ทุกครั้งที่มองไปรอบๆตัวมักเจอแต่ภูเขาสีเขียวเต็มไปหมด มันทำให้เรารู้สึกสดชื่นและมีความสุขทุกครั้งแม้ในวันที่เหนื่อยล้าจากงานการไปเที่ยวดอยชมธรรมชาติก็ไม่ใช่เรื่องที่ยากเลย แต่ความสวยงามของดอย ป่าเขานั้นในทุกวันนี้กลับไม่เป็นเช่นเดิมอีกต่อไป เพราะทุกๆ ปีจะเกิดไฟป่าซึ่งก็ว่ากันว่าเกิดจากธรรมชาติที่แห้งแล้งก่อให้เกิดไฟได้ง่าย อีกทั้งเกิดจากฝีมือมนุษย์ที่เผาป่าเพื่อการหาอาหารเช่นกัน ทั้งหมดยังคงเป็นปัญหาที่กวนใจชาวเชียงใหม่มานาน ซึ่งมักจะเกิดซ้ำๆ ในช่วงเดือนมีนาคมของทุกๆ ปี ทำให้ชาวเชียงใหม่เคยชินกับการรับมือเมื่อหมอกควันจากไฟป่ามา ไม่ว่าจะเป็นการสวมใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ออกจากบ้าน หรือการซื้อเครื่องฟอกอากาศ อีกทั้งนิยมปลูกต้นไม้ในบ้านกันมากขึ้น เพราะเราทุกคนต่างอยากได้อากาศบริสุทธิ์กลับมา แต่ในปีนี้เหตุการณ์ได้เจอหนักกว่าทุกปี ทั้งไฟป่าครั้งใหญ่และสถานการณ์ COVID-19 ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจและชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเชียงใหม่ไม่น้อย  เมืองเชียงใหม่ไม่เพียงแต่ต้องต่อสู้กับโรคร้ายอย่างโควิดเพียงอย่างเดียว แต่กลับต้องต่อสู้กับหมอกควันไฟป่าที่มาพร้อมๆ กันอีกด้วย แม้ในวันนี้สถานการณ์หมอกควันจะดีขึ้นแล้ว แต่เราก็ยังคงอยากได้ยินเสียงของผู้ที่ได้รับผลกระทบครั้งนี้ว่าพวกเขารู้สึกอย่างไร และมีวิธีรับมือกับผลกระทบอย่างไรบ้าง ดังนั้นแล้วเราจะมาฟังเสียงสะท้อนของชาวเชียงใหม่กัน ชัยวัฒน์ วุวรรณวิภาต อายุ 35 ปี อาชีพ เจ้าหน้าที่กรมควบคุมโรค  “กระทบเรื่องของค่าใช้จ่ายในการป้องกันพวก mask ฝุ่นควันมาก็ซื้อเครื่องฟอกอากาศอีกเพราะผมมีลูกยังเล็กอยู่ ถ้าเป็นโควิดตอนนี้เรื่องงานเรื่องเงินผมไม่เท่าไหร่นะ ผมยังได้ทำงานปกติ ได้รายได้ปกติไม่ได้เดือดร้อน แต่เอาจริงก็กระทบ lifestyle ของผมด้วย ผมทำงานเครียดบางทีการผ่อนคลายของผมคือการไปดูหนังนะ ผมชอบดูหนังมาก ได้ไปเดินห้างผ่อนคลาย แต่พอตอนนี้มันปิดไปหมดเลยไม่รู้จะไปไหนทำอะไรดี” “โควิดเราต้องเข้าใจโรค […]

A Walk Along San Pedro of Lake Atitlan กว่า San Pedro และทะเลสาบ Atitlan จะได้กลับมา

19/05/2020

คนพูดถึงทะเลสาบอทิตแลน ในประเทศกัวเตมาลา ด้วยสายตามีประกาย และเป็นสถานที่ที่สวยที่สุดของหลายคนที่ฉันเจอบนถนนการเดินทาง แต่บางทีการได้ยินเรื่องเดียวเดิมๆ ซ้ำๆ มันทำให้ฉันกลัวว่าจะไม่เห็นด้วยเหมือนคนอื่น  แต่ฉันก็เห็นด้วยทันทีที่ได้ลงเรือข้ามทะเลสาบ มุ่งหน้าไปหมู่บ้านเล็กๆ ซาน เปโดร ลา ลากูน่า ที่อยู่อีกด้านหนึ่งของทะเลสาบ เหมือนจะขีดเส้นตรงไปแล้วเจอกันทันที ก่อนจะถึงซาน เปโดร เรือแวะส่งและรับคนตามหมู่บ้านต่างๆ ที่อยู่ขอบด้านหนึ่งของทะเลสาบที่เราเลาะไป จะเรียกให้ใช่ก็คือ น้ำในปากปล่องภูเขาไฟที่ปะทุระเบิดมานานนมแล้ว และฉันก็เห็นภูเขาไฟที่ไม่พยศแล้ว แต่มีเมฆเหนือยอดลอยล้อม เหมือนเป็นมงกุฎเป็นวิวของทะเลสาปแห่งนี้ ถ้าตัดเสียงเครื่องยนต์จากเรือออกไป ฉันคงไม่จำเป็นต้องใช้จินตนาการเลยว่า การเดินทางนี้เป็นการเข้าสู่อีกอาณาจักร ไม่ใช่เมืองไม่ใช่หมู่บ้าน แต่เป็นอีกจักรวาลที่อยู่รอบๆ ทะเลสาบ ผู้หญิงสาวร่างมีเยื้อมีหนังในผ้านุ่ง แบบนุ่งผ้าซิ่น แต่ผ้าเป็นลายทอออกเป็นสัญลักษณ์เรขาคณิต ที่ทับซ้อนเป็นสีหม่นในหลายเฉด รัดเข็มขัดเส้นใหญ่เป็นผ้าทออีกชนิดเช่นกัน แต่เสื้อที่ใส่นั้น คือราชินีของงานปักที่เห็นแล้วกระพริบตาไม่ได้ทีเดียว เสื้อคอเหลี่ยมแขนตุ๊กตาจีบ ปักเป็นป่าทั้งป่า มีทั้งผีเสื้อ นก ดอกไม้ ใบไม้ บนแผ่นหน้าของเสื้อ สวยสดจนเกือบลืมมองภูเขาไฟไปชั่วขณะ คนแล้วคนเล่าก้าวเท้าขึ้นฝั่งจากเรือ จนกระทั่งเหลือฉัน และนักท่องเที่ยวพูดภาษาสเปนอีกสองสามคน ที่มีปลายทางเป็น ซาน เปโดร หนึ่งในสิบสี่หมู่บ้านของเผ่ามายาที่ตั้งอยู่รอบทะเลสาบ ซาน เปโดร เป็นหมู่บ้านที่มีบรรพบุรุษเป็นเผ่าซุตุฮิล […]

มอง COVID-19 จากอวกาศ มิติที่หลากหลายและ ร่องรอยของประวัติศาสตร์

18/05/2020

ในปี 1990 ยานอวกาศ “กาลิเลโอ” ระหว่างการเดินทางไปสำรวจดาวพฤหัส มันได้ ได้สร้างการค้นพบ “สัญญาณของสิ่งมีชีวิตที่ทรงปัญญา” เป็นครั้งแรกหลังจากการสำรวจอวกาศที่เริ่มต้นในช่วงประมาณ 1950 ดาวเคราะห์ดวงนั้นมีความไม่สมมาตรของแก๊สในชั้นบรรยากาศ บ่งบอกว่ามีการอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตทรงปัญญานั้นอยู่ในลักษณะของเมือง อุปกรณ์บนยานตรวจวัดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่อันเป็นเอกลักษณ์ปล่อยออกมาจากดาวดวงนี้ และข้อมูลอีกมากมายที่ยืนยันว่าดาวดวงนี้มีสิ่งมีชีวิตที่มีอารยธรรมอาศัยอยู่ … ดาวที่ว่านั่นก็คือโลกของเราเอง .. นี่ไม่ใช่เรื่องตลกที่เราพยายามค้นหาสิ่งมีชีวิตบนดาวที่เราก็รู้ว่ามีสิ่งมีชีวิตอยู่แล้ว เหมือนถามว่าบ้านเรามีกี่ห้องนอนซึ่งเราเองก็คงรู้คำตอบดี แต่ไอเดียของ Carl Sagan นักคิดและหนึ่งในนักวิทยาศาสตร์ที่ทรงอิทธิพลที่สุดในยุคนั้นเสนอไอเดียนี้ให้แก่ NASA ด้วยแนวคิดที่ว่า “ถ้ามนุษย์ต่างดาวมาเจอโลก พวกเราจะรู้ได้ไหมว่ามีสิ่งมีชีวิตอยู่” อะไรคือรอยเท้าของมนุษย์ที่เห็นได้ชัดที่สุดจากอวกาศ พวกเขาใช้ประโยชน์จากยานกาลิเลโอที่ถูกปล่อยออกจากโลกในปี 1989 ให้เดินทางไปยังดาวพฤหัส ซึ่งมีกำหนดเดินทางถึงดาวพฤหัสในปี 1995 ในการเดินทางนาน 5 ปีนั้นกาลิเลโอจะมีโอกาสบินโฉบโลกทั้งสิ้น 3 ครั้ง ซึ่งเราสามารถจำลองสถานการณ์ว่ายานกาลิเลโอเป็นเทคโนโลยีจากต่างดาวที่มาสำรวจว่าโลกมีสิ่งมีชีวิตไหมจากอวกาศ การทดลองดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร Nature ผลจากการศึกษาพบว่า เมื่อเราใช้อุปกรณ์จากยานอวกาศ เช่น อุปกรณ์วิเคราะห์ความยาวคลื่น, อุปกรณ์ตรวจจับสัญญาณวิทยุ พบว่าในการบินผ่านโลกนั้นทำให้เราเห็นข้อมูลที่น่าสนใจหลายอย่าง หนึ่งในนั้นคือการดูร่องรอยของความไม่สมดุลกันของแก๊สมีเทนในชั้นบรรยากาศ ซึ่งความไม่สมดุลและอัตราการเปลี่ยนแปลงอย่างสุดขั้วนี้ ไม่อาจอธิบายได้ด้วยกระบวนการทางเคมีอย่างเดียว ทำให้เราพอเดาได้ว่าสิ่งนี้เกิดจากพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตที่ทิ้งร่อยรอยไว้ให้เห็นได้จากอวกาศนั่นเอง ในขณะเดียวกันสิ่งที่แสดงให้เห็นได้ชัดเจนอีกก็ได้แก่แสงจากหลอดไฟในยามค่ำคืน และการเปล่งคลื่นวิทยุต่างๆ ที่เป็นฝีมือมนุษย์ประดิษฐ์ออกมา ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่บันทึกเรื่องราวของสังคมมนุษย์ไว้แม้จะมองจากอวกาศ […]

1 3 4 5 6 7 8