Environment



บอกเล่าเรื่องราวการพัฒนา “สวนท่าน้ำสรรพาวุธ” กับ “คุณปรีชญา นวราช” P-NUR URBAN ARCHITECT

08/09/2023

ชวนรู้จักพื้นที่สวนท่าน้ำสรรพาวุธ สวนท่าน้ำสรรพาวุธนี้ เป็นที่ดินของสำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร มีขนาดประมาณ 52 ตารางวา ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณท่าเรือวัดบางนานอก แม้จะเป็นพื้นที่ขนาดเล็กแต่ก็เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพสูง ทั้งเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายการสัญจรที่ในอนาคตจะมีพร้อมทั้ง รถ ราง และเรือ ดังนั้นการพัฒนาพื้นที่แห่งนี้ควรบูรณาการเชื่อมต่อระหว่างพื้นที่ท่าน้ำสรรพาวุธ พื้นที่กิจกรรมของชุมชนอย่างตลาดและร้านค้าแผงลอย รวมถึงการขยายตัวของรถไฟฟ้าที่กำลังจะมาถึงพื้นที่ ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนให้พื้นที่แห่งนี้กลายเป็นหมุดหมายใหม่สำหรับนักท่องเที่ยว ความท้าทายของการพัฒนาสวนท่าน้ำสรรพาวุธ ท่าน้ำสรรพาวุธเป็นสถานที่ที่มีผู้คนเข้ามาใช้งานอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายการสัญจร พื้นที่นี้จึงเหมาะสำหรับการพัฒนาให้เป็นสวนสาธารณะขนาดเล็ก หากแต่การออกแบบพื้นที่นี้ยังมีความท้าทายอยู่ 2 ประการ ได้แก่ (1) ความปลอดภัยในการเข้ามาใช้งานพื้นที่ เนื่องด้วยท่าน้ำสรรพาวุธเป็นประตูสู่บางกระเจ้า ทำให้มีการเปลี่ยนถ่ายการสัญจรของนักท่องเที่ยวตลอดเวลา อีกทั้งมีพื้นที่ราชการและพื้นที่โรงงานทำให้ตั้งแต่ต้นทางจนไปถึงกลางทางเต็มไปด้วยรถบรรทุกที่สัญจรผ่านกัน ส่งผลให้ผู้คนไม่กล้าเข้ามาใช้งานพื้นที่ ทั้งจากความอันตรายของรถบรรทุก รวมถึงการกลายเป็นพื้นที่ที่มีฝุ่นควันและมลพิษ ดังนั้นการพัฒนาพื้นที่สวนแห่งนี้จึงควรคำนึกถึงการสร้างความปลอดภัยให้ผู้คนสามารถเข้ามาใช้งานได้มากยิ่งขึ้น (2) การออกแบบที่ต้องมีความยืดหยุ่น จากการทำกระบวนการการมีส่วนร่วม พบว่าพื้นที่แห่งนี้เชื่อมต่อกับชุมชนและหน่วยงานราชการ อีกทั้งมีมรดกวัฒนธรรมที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังของถนนสรรพาวุธ ทั้งจากชุมชนวัดบางนานอก ตลาดเก่าของชุมชน และเป็นพื้นที่ศาสนสถานที่ผู้คนเข้ามากราบไหว้บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ รวมถึงความเห็นของคนในย่านที่อยากให้มีพื้นที่จัดงานกิจกรรมร่วมกันในชุมชน เช่น งานตลาด งานดนตรี และพื้นที่สวนสาธารณะ การออกแบบพื้นที่แห่งนี้จึงต้องมีความยืดหยุ่น สามารถใช้ประโยชน์จากพื้นที่ได้อย่างหลากหลาย ถือเป็นความท้าทายที่สำคัญสำหรับการพัฒนาสวนท่าน้ำสรรพาวุธในครั้งนี้ การพัฒนา “สวนท่าน้ำสรรพาวุธ” ท่าน้ำ 3 […]

บอกเล่าเรื่องราวการพัฒนาสวนเกษตรวชิรธรรมสาธิต 35 “สวนเกษตร 15 นาที พื้นที่สีเขียวกินได้” แห่งย่านพระโขนง-บางนา

07/09/2023

ชวนรู้จักพื้นที่สวนวชิรธรรมสาธิต 35 พื้นที่ขนาด 14 ไร่ ตั้งอยู่บริเวณซอยวชิรธรรมสาธิต 35 แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร ที่ได้รับมอบพื้นที่จากคุณนวลปรางค์ แสนสุข และครอบครัว เพื่อให้สำนักงานสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานครปรับปรุงพื้นที่เป็นสวนสาธารณะสำหรับชุมชน ระยะเวลารวม 8 ปี ภายใต้นโยบาย Green Bangkok 2030 ตั้งแต่ปี 2563 กำลังจะพัฒนาเป็นพื้นที่สีเขียวแห่งใหม่ที่จะเพิ่มค่าเฉลี่ยพื้นที่สีเขียวให้ย่านพระโขนง-บางนา และตอบรับความต้องการของชาวชุมชนและผู้คนที่เข้ามาทำงานในย่าน ผ่านความร่วมมือของภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และภาคีเครือข่าย ในรูปแบบจตุรภาคี (4Ps) “โจทย์” สำคัญของการออกแบบ UDDC RAFA และภาคีเครือข่าย ได้รับโจทย์จากชาวย่านที่ต้องการพื้นที่ทำกิจกรรมหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ พื้นที่นันทนาการ พื้นที่ลานกีฬา และพื้นที่เรียนรู้นอกห้องเรียน ตลอดจนการผสานการออกแบบสวนสาธารณะร่วมกับแนวคิดการทำเกษตรในเมือง จึงต้องคำนึงถึงความยืดหยุ่นของการใช้พื้นที่ และความปลอดภัย รวมถึงระบบระบายน้ำ พร้อมทั้ง 3 โจทย์สำคัญสำหรับการออกแบบสวนวชิรธรรมสาธิต 35 ดังนี้  (1) พื้นที่สวนล้อมด้วยชุมชน แม้ว่าตำแหน่งของพื้นที่สวนนี้อยู่ในซอยวชิรธรรมสาธิต 35 […]

มหานครและสรรพสัตว์ในเมือง

16/08/2023

คงปฏิเสธไม่ได้ว่า การกลายเป็นเมืองและความเป็นเมืองสมัยใหม่ของเมืองต่างๆ ทั่วโลก มีส่วนที่สร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับระบบและนิเวศวิทยาของพืชและสัตว์ที่เคยอยู่อาศัย หรืออาศัยอยู่โดยรอบพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาเมืองหรือการขยายตัวของเมือง (urban sprawl) กรุงเทพฯ  ในอดีตเคยมีสัตว์ป่าอาศัยอยู่มากมาย เช่น โขลงช้างป่า แรด จระเข้ สมัน และมีนกขนาดใหญ่อย่าง กระเรียนพันธุ์ไทยและอีแร้ง และอีกมากมาย ก่อนที่เมืองจะมีการเติบโตลุกล้ำพื้นที่อยู่อาศัยของสัตว์ ทำให้สัตว์เหล่านี้ ลดจำนวนลง บ้างก็สูญพันธุ์ไป เหลือให้เราได้พบเห็นอยู่เพียงไม่กี่ชนิด อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าสัตว์ป่าจะหายไปจากพื้นที่เมือง แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเมืองยังคงเป็นระบบนิเวศที่มีความหลากหลายและซับซ้อน มีความวุ่นวายของกิจกรรมและผู้คน และในมุมหนึ่งก็ยังมีโลกของสรรพสัตว์ (ที่หลงเหลืออยู่) ที่มีบทบาทหลากหลาย ทั้งในเชิงของการเป็นตัวชี้วัดระบบนิเวศเมือง ตัวชี้วัดความสกปรกและการจัดการสุขาภิบาลเมือง รวมไปถึงการเป็นเพื่อนของมนุษย์เมืองที่โดดเดี่ยว สรรพสัตว์ในเมืองกับบทบาทการเป็นตัวชี้วัดระบบนิเวศเมือง จากตัวอย่างผลตัวชี้วัดความหลากหลายทางชีวภาพในเมืองของกรุงเทพมหานคร มีสัดส่วนพื้นที่ธรรมชาติของเมืองร้อยละ 19.7 ของพื้นที่ทั้งหมดของเมือง ความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่เมืองพบจำนวนชนิดพันธุ์นก 32 ชนิดพันธุ์ และสัดส่วนพื้นที่ธรรมชาติที่ได้รับการคุ้มครองอยู่ที่ร้อยละ 1.7 ของพื้นที่ทั้งหมดของเมือง ซึ่งพื้นที่เหล่านี้เป็นตัวที่จะช่วยดึงดูดเหล่าสัตว์ในเมือง ในเมืองใหญ่ที่มองไปทางไหนก็เจอแต่อาคาร บ้านเรือน สัตว์บางชนิดนั้นถือได้ว่าเป็นตัวชี้วัดว่าระบบนิเวศบริเวณนั้นมีความสมดุล หรืออุดมสมบูรณ์มากน้อยแค่ไหน อย่างแมลงชีปะขาวนั้นชอบอยู่ในบริเวณที่มีน้ำสะอาด พอถึงช่วงผสมพันธุ์จะบินออกมา เวลาเราขับรถไปบริเวณที่มีแหล่งน้ำสะอาดก็จะเจอชีปะขาวชนติดอยู่เต็มกระจกรถ แต่หากกระจกรถสะอาด แสดงให้เห็นว่าแหล่งน้ำบริเวณนั้นกำลังมีปัญหา เช่นเดียวกันประชากรแมลงปอ และผีเสื้อ […]

คุยเรื่องการออกแบบสวนเพลินพระโขนง กับ คุณสมเกียรติ โชควิจิตรกุล ภูมิสถาปนิก จาก LANDSCAPE COLLABORATION

19/07/2023

ชวนรู้จักพื้นที่สวนเพลินพระโขนง พื้นที่ราชพัสดุของกรมธนารักษ์ริมถนนสุขุมวิท ขนาด 2 ไร่ ใกล้สถานี BTS บางจากเพียง 180 เมตร ที่รอการพัฒนา กำลังจะมีการปรับปรุงให้กลายเป็น “สวนเพลินพระโขนง” พื้นที่สีเขียวแห่งใหม่ที่จะช่วยเพิ่มค่าเฉลี่ยพื้นที่สีเขียวของเขตพระโขนง ยกระดับคุณภาพชีวิต และตอบรับความต้องการของชาวชุมชนและผู้คนที่เข้ามาทำงานในย่าน กว่าจะมาเป็นเพลินพระโขนง ชาวย่านและสำนักงานเขตพระโขนงได้พยายามขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงพื้นที่ว่างนี้ให้กลายเป็นลานกีฬาและสวนสาธารณะกว่า 15 ปีที่ผ่านมา จนปลายปี 2565 ทางกรมธนารักษ์ได้อนุญาตให้ใช้ที่ราชพัสดุเพื่อพัฒนาเป็นพื้นที่สาธารณะ ขณะนี้ UDDC ร่วมกับกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตพระโขนง ทีมภูมิสถาปนิกจาก LANDSCAPE COLLABORATION และภาคีเครือข่าย ได้ดำเนินกระบวนการออกแบบอย่างมีส่วนร่วมร่วมกับชาวพระโขนง-บางนา เพื่อออกแบบให้พื้นที่นี้สอดคล้องกับความต้องการของชาวย่านพระโขนง-บางนา และชาวเมืองที่สัญจรผ่าน “โจทย์” สำคัญของการออกแบบสวนเพลินพระโขนง UDDC x LANDSCAPE COLLABORATION และภาคีเครือข่าย ได้รับโจทย์จากชาวย่านที่ต้องการพัฒนาให้พื้นที่นี้ เป็นพื้นที่สีเขียวที่สามารถทำกิจกรรมได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ พื้นที่นันทนาการพื้นที่ลานกีฬา และพื้นที่เรียนรู้นอกห้องเรียน โดยให้คำนึงถึงเรื่องของความปลอดภัย การปรับปรุงระบบระบายน้ำ และป้องกันมลภาวะ ฝุ่นควันจากท้องถนนเป็นหลัก พร้อมทั้ง 2 ความท้าทายสำคัญสำหรับการออกแบบสวนเพลินพระโขนง ดังนี้  (1) […]

เปลี่ยนพื้นที่รก “ร้าง” ให้เป็นพื้นที่ “เล่น” แห่งใหม่ของย่าน

30/06/2023

เปลี่ยนพื้นที่รก “ร้าง” ให้เป็นพื้นที่ “เล่น” แห่งใหม่ของย่าน ช่วงชีวิตวัยเด็ก ในยุค 80-90 ภารกิจของเราคือ การเล่น และการได้รับอนุญาตให้ออกนอกบ้าน ออกไปวิ่งเล่น ปั่นจักรยาน คือ สิ่งที่คุ้นชินและเห็นได้บ่อยครั้ง “พื้นที่เล่นอย่างไม่เป็นทางการ” เช่น ลานวัด ลานว่างกลางชุมชน สวนหลังบ้านของใครสักคน แทรกตัวอยู่ตามชุมชนและย่าน มาถึงตอนนี้พื้นที่เล่นเหล่านั้น ค่อยๆ เลือนหายไป พร้อม ๆ กับวิถีชีวิตวัยเด็กที่เปลี่ยนไป อยู่กับตัวเองมากขึ้น ออกนอกบ้านน้อยลง ท่องโลกกว้างผ่านโลกอินเตอร์เนต และเล่นเกมส์ออนไลน์ เปลี่ยนแก๊งโดดหนังยางในวันวานเป็นตี้ ROV ในวันนี้ ชีวิตในเมืองกับการเล่นที่เปลี่ยนไป: จากแก๊งโดดหนังยาง ถึงตี้ ROV ที่มาภาพ: MI PHAM การเล่น ถือเป็นกิจกรรมทางสังคมของเด็ก และถือเป็นกิจกรรมที่สำคัญของการใช้ชีวิตในสังคม ย่าน หรือชุมชน สำหรับเด็ก ช่วงชีวิตที่ได้มีโอกาสออกไปเล่นนอกบ้าน กับเหล่าเพื่อนๆ น่าจะเป็นช่วงเวลาที่มีความสุข สนุกสนาน และเป็นตัวเองที่สุด แต่นั่น น่าจะเป็นภาพจำของการเล่นเมื่อ 30-40 […]

เมืองยุงชุม: เมืองแห่งอาณาจักรยุง

23/06/2023

หากนึกถึงสัตว์ที่สร้างความรำคาญใจอันดับต้น ๆ ก็คงไม่พ้นเรื่องของ “ยุง” ที่ไม่ว่าจะอาศัยในสถานที่ต่าง ๆ หรือแม้เเต่บ้าน ที่พัก ก็ต้องเผชิญกับสัตว์เหล่านี้อยู่เสมอ ซึ่งยุงบางชนิดไม่เพียงแต่ก่อความรำคาญโดยการดูดกินเลือดคน และสัตว์เลี้ยงเป็นอาหารเท่านั้น แต่ยังเป็นพาหะนำโรคร้ายแรงต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นไข้มาลาเรีย ไข้เลือดออก ไข้สมองอับเสบ โรคเท้าช้าง ฯลฯ ทั้งนี้ โรคร้ายที่มี “ยุง” เป็นพาหะนำโรค นับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ของพื้นที่เขตเมือง โดยในปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการพูดถึงเรื่องไข้เลือดออกตลอดเวลา โดยเฉพาะพื้นที่กรุงเทพฯ ที่มีแนวโน้มได้รับผลกระทบที่เกิดจากยุงมากขึ้น จากข้อมูลการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรคสถานการณ์โรคไข้เลือดออก พบว่า กรุงเทพฯ ในปี 2565 มีผู้ป่วย 8,162 ราย และผู้เสียชีวิต 5 ราย คิดเป็นอัตราป่วยตายอัตราร้อยละ 0.06 ซึ่งมากกว่าปี 2564 ในช่วงเวลาเดียวกันถึง 5 เท่าเลยทีเดียว นอกจากนี้ ยังพบโรคอุบัติใหม่ “ไข้เลือดออกชิคุนกุนยา” หรือ โรคไข้ปวดข้อยุงลาย ซึ่งนับเป็นอีกหนึ่งโรคที่น่าจับตามอง เพราะในปี 2565 กรุงเทพฯ […]

‘Metaverse’ กับการพัฒนาเมือง

16/06/2023

โลกของเราได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย โดยได้มีการนำเทคโนโลยีมาพัฒนาสิ่งต่าง ๆ ที่อำนวยความสะดวกต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน อีกทั้งนำมาเพิ่มประสิทธิภาพ เพิ่มโอกาสในการทำสิ่งต่าง ๆ และในปัจจุบันนี้ยังคงมีกระแสเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามามากมายให้เราได้ตื่นตัวและติดตาม แต่ ณ ตอนนี้เทคโนโลยีที่กำลังมาแรงและได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากผู้คนหลาย ๆ คน ซึ่งนั่นก็คือ “Metaverse” Metaverse คืออะไร? Metaverse มาจากคำว่า Meta และคำว่า Verse มารวมกัน และได้ความหมายว่า “จักรวาลนฤมิต” โดยจุดเริ่มต้นของ Metaverse ได้ปรากฎเป็นครั้งแรกในปี 1992 จากหนังสือนิยายวิทยาศาสตร์เรื่อง “Snow Crash” ของ Neal Stephenson โดยหนังสือเล่มนี้เล่าเรื่องราวของโลกยุคอนาคต ที่มนุษย์และคอมพิวเตอร์ตอบโต้กันผ่านเทคโนโลยีและซอฟต์แวร์ต่าง ๆ โดยอาศัยอยู่ในโลกเสมือนจริงที่ล้ำสมัย เกินจินตนาการของ คนยุค ’90s (สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล, ม.ป.ป.) โดย Metaverse เป็นการผสานเทคโนโลยีแห่งโลกเสมือน ที่สร้างสิ่งแวดล้อมของโลกจริง ๆ และเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน เพื่อให้ผู้คนเข้ามามีปฏิสัมพันธ์และทำกิจกรรมร่วมกัน ผ่านตัวตนที่เป็นอวตาร (Avatar) […]

LUXURY FOR ALL เมืองเขียว: ความหรูหราสำหรับทุกคน

10/06/2023

นอกเหนือจากความน่าทึ่งที่นายกเทศมนตรีกรุงปารีสเปลี่ยนพื้นที่เมืองส่วนใหญ่ของปารีสให้เป็นมิตรกับจักรยานภายใน 3 ปี การกลับมาปารีสแต่ละปีจะเห็นว่า “ปารีสเขียวขึ้น” เดินไปที่ไหนก็มีแต่สวนสาธารณะใหญ่ เล็ก ทางเท้าก็เขียวร่มรื่น เดินได้ทั้งเมือง แม้แต่ละเขตมีความเขียวและคุณภาพที่แตกต่างกันบ้าง แต่ต้องบอกว่า “เขียวทุกเขต” เรียกได้ว่าเดินหลบให้พ้นยากกว่าหาให้เจอ ยืนยันโดยชาวปารีส เขาบอกว่าตอนเขาเป็นนักศึกษา (ช่วง 70-80s) ปารีสไม่เขียวแบบนี้ สวนสาธารณะไม่เยอะมากมายเเบบนี้ และเป็นสิ่งที่เขาคิดว่าเป็นความสำเร็จของเมืองปารีส สวนสาธารณะของปารีสเข้าถึงได้ทุกเขตในระยะเดิน มีหลากหลายทั้ง สวนโดยเทศบาล สวนโดยเอกชน สวนป่า สวนสุสาน สวนผัก สวนดาดฟ้า สร้างในหลากหลายยุคสมัย โดยทั่วไปมีมาตรฐานใกล้เคียงกันคือ ต้นไม้ใหญ่ ดูแลต้นไม้ดี ออกแบบดี มีพื้นที่รองรับกิจกรรมที่หลากหลาย ทั้งออกกำลัง ลานเปตอง สนามเด็กเล่น สนามหญ้าสำหรับปิคนิค นั่งอ่านหนังสือหรือทำงานเงียบๆ เรียกได้ว่า แม้อาศัยในอะพาร์ตเมนต์เล็กๆ แต่ก็พอจะมีพื้นที่สาธารณะสวยๆ ให้ผ่อนคลายใกล้บ้าน โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์โควิด ที่ผู้คนโหยหาสวนใกล้บ้านสำหรับผ่อนคลายจิตใจ สิ่งหนึ่งที่ประทับใจมากคือสวนที่นี่ “เงียบ” ซึ่งอาจเป็นเพราะที่ปารีสมีสวนจำนวนมาก คนมีทางเลือก สวนจึงไม่แออัด หรืออาจจะเพราะคนที่นี่ใช้เมืองและที่สาธารณะเป็น ค่อนข้างมีมารยาทในการใช้พื้นที่ส่วนรวม ไม่ส่งเสียงดังรบกวน แต่กว่าที่ปารีสจะเขียวแบบนี้ได้ ไม่ใช่ความสำเร็จของนายกเทศมนตรีท่านใดท่านหนึ่ง […]

TEMPORARY EDIBLE GARDEN URBANISM: จะทำเกษตรในปารีสได้อย่างไร หากไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง?

10/06/2023

เกษตรในเมือง (Urban Agriculture) เป็นหนึ่งในนโยบายที่ปารีสและเมืองใหญ่อื่นๆ ในฝรั่งเศส เช่น เมืองลียง (Lyon) เมืองบอร์โด (Bordeaux) ใช้ตอบโจทย์ความท้าทายของเมือง เมื่อเกิดการกลายเป็นเมือง การใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมคือสิ่งแรกๆ ที่หายไป ด้วยราคาที่ดินที่สูงขึ้น อันตรายจากการใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง รวมทั้งสิ่งรบกวนเช่น เสียงสัตว์ กลิ่น ฯลฯ เมื่อเวลาผ่านไป เกษตรในเมืองได้ถูกนำกลับมาใหม่เพื่อตอบโจทย์หลายอย่างในปัจจุบัน เช่น โจทย์สิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นภาวะโลกร้อน (global warming) พื้นที่ซึมน้ำ ภูมิทัศน์ดาดอ่อน (softscape) ระยะทางอาหาร (food miles) รวมทั้ง ความปลอดภัยในอาหาร (food safety) และความมั่นคงทางอาหาร (food security) ที่มา https://www.parisculteurs.paris/en/about/urban-agriculture-in-paris/ จากตัวเลขสถิติของเทศบาลกรุงปารีส ในปีหนึ่งปารีสต้องการอาหาร 30 ล้านมื้อ (รวมนักท่องเที่ยวและคนนอกเมืองที่เข้ามาทำงาน) 70% ของผักผลไม้มาจากการนำเข้าทั้งรอบเมืองและในประเทศ และระยะทางเฉลี่ยในการขนส่งอาหารคือ 660 กิโลเมตร ซึ่งคิดเป็น 20% ของ […]

พื้นที่สุขภาวะกินได้: โจทย์ และโอกาสในเมืองกรุงเทพมหานคร

09/06/2023

รายงานของ UN ภายในปี 2025 โลกเราจะมีประชากรถึง 10 หมื่นล้านคน และโลกอาจจะประสบปัญหาวิกฤตทางอาหาร วาเลนติน เทิร์น ผู้เขียนหนังสือขายดี นักกิจกรรมด้านอาหาร ชาวเยอรมัน เจ้าของสารคดีเรื่อง 10 BILLION: WHAT’S ON YOUR PLATE? ตั้งคำถามว่า เราจะมีอาหารที่เพียงพอสำหรับ หมื่นล้านคนไหม ? การเข้าถึงอาหารที่มีคุณภาพ เป็นหนึ่งสิทธิขั้นพื้นฐาน ความยุติธรรมทางอาหาร ประเด็นด้านอาหารในระดับเมือง จึงมีความท้าทายอย่างมากในการทำให้เป็นพื้นที่ที่สามารถทำให้คนเมืองเข้าถึงอาหารได้ นอกจาก “บ้าน” พื้นที่ใกล้ตัวที่จะทำให้เกิด “พื้นที่สาธารณะ” เป็นหนึ่งในประเภทพื้นที่สภาพแวดล้อมของเมืองที่จะส่งเสริมสุขภาวะทางกาย ใจ และสังคม คือ “พื้นที่สาธารณะ” ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UDDC) ได้ทำการศึกษาวิเคราะห์การเข้าถึงพื้นที่สาธารณะของกรุงเทพฯ ร่วมกับสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ศึกษาความสามารถในการเข้าถึงพื้นที่สีเขียวต่อหัวประชากร พบว่าอยู่ที่ 7.6 ตารางเมตร/ คน แล้วถ้าหากคนกรุงเทพฯ อยากไปสวนสาธารณะ ? จะต้องเดินทางด้วยระยะ 4.5 กิโลเมตร หรือใช้เวลาเดิน […]

1 2 3 8