Environment



Modern Syndrome คนป่วยในเมืองเปลี่ยน

15/11/2019

เคยสังเกตตัวเองกันไหมว่า ปีๆ หนึ่ง เราป่วยบ่อยแค่ไหน? ตั้งแต่เล็กๆ น้อยๆ อย่างเป็นหวัดคัดจมูก แพ้ฝุ่นละออง บางคนมีปัญหาร่างกายอ่อนเพลีย นอนไม่หลับบ่อยๆ เครียด วิตกกังวล หงุดหงิดง่าย ไปจนถึงมีอาการที่คนรุ่นนี้เป็นกันมากอย่างซึมเศร้า ไม่นับโรคที่ต้องผ่านการวินิจฉัยจากแพทย์ทั้งโรคเบาหวาน หรือโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ใบวินิจฉัยของแพทย์คงลงสาเหตุว่าเพราะเราไม่ออกกำลังกาย ทานอาหารไม่ดีต่อสุขภาพ หรือไม่ก็เครียดจากการงานที่รุมเร้า แต่หากวินิจฉัยให้ลึกลงไปอีกนิด ตัวการสำคัญที่ทำให้เราป่วยอาจอยู่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด เพราะเป็นสิ่งที่เราใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันทั้งวัน…เมืองของเราคือแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคที่แพร่กระจายอยู่ในทุกอณูอากาศที่เราหายใจ หันมองรอบๆ กรุงเทพฯ เมืองอันเป็นที่รัก ปัญหาคลาสสิกอย่างการจราจรติดขัด น้ำท่วมขังรอการระบาย ทางเท้าที่แคบและเสี่ยงต่อการเดินตกท่อระบายน้ำ ควันจากท่อไอเสียรถยนต์และฝุ่น PM 2.5 ที่ฟุ้งทุกฤดูหนาว คือสภาพของเมืองที่ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีผลต่อสุขภาพของคน รวมถึงปัญหาเชิงโครงสร้างของเมืองที่ไม่มีการจัดการที่ดีพอ ก็พร้อมจะทำให้เราเครียดและเกลียดเมืองนี้ขึ้นทุกวันๆ เมื่อเมืองป่วยเช่นนี้ คนในเมืองก็ป่วยตาม 1 ประวัติศาสตร์ของการเกิดเมืองสมัยใหม่เริ่มตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 เมื่อการปฎิวัติอุตสาหกรรมผลักให้คนเข้ามาแสวงหาโอกาสในเมืองใหญ่ เกิดการกระจุกตัวของประชากร (Human Proximity) จนเมืองกลายเป็นสนามเด็กเล่นของเชื้อโรคไป เราอาจยกภาพเมืองแห่งความป่วยไข้ สิ้นหวัง ได้จากภาพยนตร์เรื่อง Les Misérables (2012) ช่วงที่ฝรั่งเศสเปลี่ยนแปลงทางการเมือง (1815 – 1832) […]

ในวิกฤตมีโอกาส : สร้าง กรุงเทพฯ เมืองสีเขียว จากโครงสร้างทิ้งร้างใจกลางเมือง

14/11/2019

“ทำไมกรุงเทพฯ ไม่มีต้นไม้เยอะๆ แบบสิงคโปร์บ้าง” หลายคนที่เคยเห็นบ้านเมืองเขาคงอดรู้สึกน้อยใจไม่ได้ เพราะเทียบกันแล้วเขาดูเจริญนำหน้าไปหลายก้าว ในมุมการพัฒนาเมือง เราศึกษาเชิงเปรียบเทียบระหว่างเมืองที่มีองค์ประกอบบางอย่างเหมือนกัน เพื่อดูว่าองค์ประกอบที่แตกต่างทำให้เกิดผลลัพธ์ดีไม่ดีอย่างไร แต่กรุงเทพฯ กับสิงคโปร์แตกต่างกันหลายอย่าง การนำมาเปรียบเทียบกันตรงๆ จึงออกจะผิดฝาผิดตัวไปสักหน่อย สิงคโปร์เป็นนครรัฐ มีอำนาจการตัดสินใจที่เด็ดขาดและรวมศูนย์ กลไกการปกครองจึงจัดการง่ายกว่ามาก ส่วนกรุงเทพฯ เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ หลายอย่างผู้ว่าราชการต้องขออนุมัติเห็นชอบจากหน่วยงานส่วนกลาง จะขยับอะไรก็ค่อนข้างยาก แต่ในข้อจำกัดนี้ ถามว่าเรามีอะไรที่จัดการดูแลให้ดีขึ้นได้ไหม คำตอบคือมี เรามีที่ดินเยอะกว่าสิงคโปร์แต่ไม่ได้ใช้ที่ดินให้คุ้มค่าเท่าที่ควร นอกจากดูตัวเลขปริมาณ สิ่งที่เราต้องสนใจคือตัวเลขสัดส่วนพื้นที่สีเขียวต่อหัวที่ประชากรอย่างเราๆ ‘เข้าไปใช้งานได้จริง’ ความย้อนแย้งคือตัวเลขพื้นที่สีเขียวและสวนสาธารณะของกรุงเทพฯ ที่มีอยู่ กับพื้นที่ที่คนเข้าไปใช้งานได้จริงนั้นต่างกันอยู่มาก ทั้งที่การจั่วหัวว่า ‘สาธารณะ’ ย่อมต้องหมายถึงการเปิดให้คนเข้าไปใช้งานอยู่แล้ว เอาตัวเลขมากางกันชัดๆ ในพื้นที่กรุงเทพฯ ทั้งหมด 1,568 ตร.กม. เรามีพื้นที่สีเขียวเกือบ 14,000 แห่ง รวม ราว 120,000 ไร่ มีสวนสาธารณะกว่า 8000 แห่ง รวมราว 23,000 ไร่ แต่พื้นที่สวนสาธารณะที่คนทั่วไปเข้าใช้งานได้มีเพียง 93 แห่ง คิดเป็นพื้นที่ 4,250 […]

Bangkok Green Bridge สีเขียวเชื่อมย่าน สะพานเชื่อมเมือง

12/11/2019

ปรีชญา นวราช / ธนพร โอวาทวรวรัญญู / ประภวิษณุ์ อินทร์ตุ่น / Noe Leblon  ป่าสีเขียวในรั้วเหล็ก ถ้าพูดถึงพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ของกรุงเทพฯ  ซึ่งเปรียบเสมือนปอดของเมืองชั้นใน คงไม่มีใครไม่นึกถึง “สวนลุมพินี”  สวนสาธารณะแห่งแรกของประเทศขนาด 360 ไร่ ตั้งอยู่ใจกลางย่านศูนย์กลางธุรกิจ (Central Business District-CBD) ของเขตปทุมวัน รอบล้อมด้วยถนนสายสำคัญ ได้แก่ ถนนพระรามที่ 4 ถนนราชดำริ ถนนวิทยุ และถนนสารสิน สวนลุมพินีเป็นพื้นที่สาธารณะที่คนเมืองใช้งานอย่างคึกคัก ทั้งเพื่อดูแลสุขภาพหลังเลิกงาน เป็นสถานที่ฝึกซ้อมวิ่งมาราธอน เป็นบึงใหญ่สำหรับถีบเรือเป็ด ไปจนถึงเป็นลานรำไทเก๊กและเต้นลีลาศของอดีตวัยโจ๋ยุค 60-70  ฯลฯ คงไม่ผิดถ้าจะให้สวนลุมพินีมีฐานะเป็น “พื้นที่ทางสังคม” อีกหนึ่งตำแหน่ง ถัดจากสวนลุมพินีในระยะไม่เกิน 1.5 กิโลเมตร ทางทิศตะวันออกหรือไปทางย่านคลองเตย จะพบสวนสาธารณะขนาดใหญ่อีกแห่ง นั่นคือ “สวนเบญจกิติ” สวนแห่งนี้ตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่โรงงานยาสูบเดิม ติดกับศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ขนาบข้างหนึ่งด้วยถนนรัชดาภิเษก เขตคลองเตย แม้มีขนาดย่อมกว่าสวนลุมพินีเกือบ 3 เท่า […]

แค่หายใจก็อ้วนแล้ว เมืองจมฝุ่น PM 2.5 ทำคนเสี่ยงโรคอ้วน-เบาหวาน

07/11/2019

ชยากรณ์ กำโชค  คาดหน้ากากอย่างถูกวิธี และลดทำกิจกรรมในที่แจ้ง เป็นคำเตือนพื้นฐานจากหน่วยงานรัฐ เมื่อปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5  ใครๆ ก็รู้ ว่าฝุ่นเหล่านี้สร้างปัญหาสุขภาพระยะยาวให้ ‘คนเมือง’ มากมาย ตั้งแต่โรคมะเร็งทางเดินหายใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ หรือแม้แต่ปัญหาทางสุขภาพจิต  แต่หลายคนอาจไม่เชื่อว่า ฝุ่นจิ๋วเหล่านี้ อาจทำให้เราเสี่ยงต่อโรคอ้วนและโรคเบาหวานได้ด้วย!   สำนักข่าวบีบีซีเคยนำเสนอบทความเมื่อปี 2015 “The air that makes you fat” (อากาศที่ทำให้คุณอ้วน) โดยยกผลวิจัยของคณะแพทย์หลายประเทศที่ชี้ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพอากาศของเมืองกับระบบการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย มีสาระสำคัญว่า คนที่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่มีมลภาวะทางอากาศจะเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานและโรคอ้วนมากกว่า แม้ทั้งสองคนจะรับประทานอาหารและออกกำลังกายเหมือนกัน  ดร. หง เฉิน นักวิจัยจาก Public Health Ontario และ Institute of Clinical Evacuative Sciences ประเทศแคนาดา อธิบายว่าควันจากท่อไอเสียและควันบุหรี่เป็นตัวการณ์สำคัญ ที่เป็นเช่นนั้นเพราะว่า เมื่อขนาดอนุภาคที่เล็กจิ๋วของฝุ่นควันเข้าไปในร่างกาย มันจะเข้าไปขัดขวางความสามารถในการเผาผลาญพลังงาน ซึ่งแน่นอนว่าส่งผลระยะยาวต่อร่างกายมากกว่าแค่ปอดและระบบทางเดินหายใจ สอดคล้องกับผลงานทดลองในหนูโดย นายแพทย์ชิงหัว ซัน […]

อดีตที่ไม่มีกรุงเทพฯ และอนาคตที่ ‘อาจ’ ไม่มีอีกครั้ง

01/11/2019

เคยได้ยินมาว่า กรุงเทพฯ เปรียบเสมือนเมืองที่ยังสร้างไม่เสร็จ เพราะในทางธรณีวิทยากรุงเทพฯ ตั้งอยู่บริเวณตอนล่างที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเกิดจากดินตะกอนแม่น้ำที่ไหลมาทับถมพอกพูนมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นพื้นที่ดินใหม่ เหมือนดั่งปากแม่น้ำสำคัญหลายๆ แห่งบนโลก อาทิ แม่น้ำอิระวดีในพม่าที่ตะกอนพัดมาสะสมทำให้แผ่นดินงอกออกไปในทะเลปีละประมาณ 55 เมตร หรือแถบแม่น้ำไทกรีส-ยูเฟรตีส ที่สมัยก่อนเมืองโบราณชื่ออัวร์อยู่ติดทะเล แต่ปัจจุบันอยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน 240 กิโลเมตร ฉะนั้นพื้นดินกรุงเทพฯ ที่เรากำลังอาศัยอยู่ จึงเป็นพื้นดินใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นจากตะกอนทับถมเมื่อไม่นานมานี้ เช่นเดียวกับรายงานแผนที่ธรณีวิทยาของกรุงเทพฯ ในปี 2559 จากกรมทรัพยากรธรณีประเทศไทยที่พบว่า แผ่นดินส่วนใหญ่เป็นตะกอนดินเหนียวที่ราบน้ำท่วมถึง เจาะสำรวจพบเศษเปลือกหอยทะเล ซึ่งเกิดจากการสะสมตัวในบริเวณที่ได้รับอิทธิพลจากกระบวนการทำงานของทะเล โดยเฉพาะเขตที่ได้รับอิทธิพลจากน้ำทะเลขึ้นและลง (Tidal Zone) และมีความหนามากในบริเวณที่ใกล้ชายฝั่งทะเลปัจจุบัน เป็นเครื่องการันตีได้ว่าสภาพแวดล้อมอดีตของกรุงเทพฯ (หมายรวมถึงจังหวัดภาคกลางบางส่วน) เคยอยู่ใต้ทะเลมาก่อน! จะว่าไปนี่ไม่ใช่เรื่องใหม่ที่จะกล่าวว่า แต่เดิมกรุงเทพฯ เคยเป็นทะเลมาก่อน เรามีหลักฐานยืนยันประเด็นนี้มากมาย ทั้งการขุดพบซากหอยทะเลโบราณที่วัดเจดีย์หอย จังหวัดปทุมธานี หรือแม้กระทั่งการขุดพบศีรษะปลาวาฬ ณ พระราชวังเดิมในฝั่งกรุงธนบุรี ประเด็นนี้ต้องไล่ย้อนถึงประวัติศาสตร์โลกที่มีช่วงอบอุ่น และช่วงยุคน้ำแข็งสลับกันไป โดยเริ่มจากเมื่อ 1,000 ปีก่อนที่โลกยังอยู่ในช่วงอบอุ่น (Medieval Warm Period) ตรงกับประวัติศาสตร์ไทยช่วงสมัยทวารวดีก่อนก่อตั้งกรุงสุโขทัย ความร้อนของโลกทำให้น้ำแข็งละลายออกมาจำนวนมาก แม้แต่เกาะกรีนแลนด์ที่ปัจจุบันมีแต่น้ำแข็งยังกลายเป็นเขตอบอุ่นให้ชาวไวกิ้งเข้าไปตั้งรกรากทำการเพาะปลูกในบริเวณนั้นได้ โดยน้ำที่เพิ่มสูงมากขึ้นทั่วโลกทำให้อ่าวไทยกินพื้นที่จังหวัดภาคกลางจมอยู่ใต้ทะเล เหมือนดั่งภาพแผนที่บริเวณอ่าวไทยโบราณสมัยที่ยังไม่มีแม้กระทั่งประเทศไทย  ต่อมาโลกเริ่มเย็นลงจนเข้าสู่ช่วงยุคน้ำแข็งย่อย (Little Ice Age) น้ำทะเลเริ่มจับตัวเป็นน้ำแข็งอีกครั้ง ระดับน้ำทั่วโลกจึงค่อยๆ ลดลง ประกอบกับการทับถมของตะกอนแม่น้ำหลายร้อยปี ทำให้เกิดพื้นแผ่นดินใหม่ในภาคกลางตอนล่าง โผล่ขึ้นเหนือระดับน้ำทะเลในยุคกรุงสุโขทัย และนั่นก็เป็นจุดเริ่มต้นของอาณาจักรไทยจวบจนถึงปัจจุบัน กลับมายังโลก ณ […]

กรุงเทพฯ เมืองน้ำท่วม: คงเป็นบุพเพสันนิวาส เมื่อกรุงเทพฯ กับน้ำท่วมเป็นของคู่กันมานานแล้ว

01/11/2019

คงจำกันได้เมื่อครั้งน้ำท่วมใหญ่ปี 54 โลกอินเทอร์เน็ตมีการเปรียบเทียบสภาวะน้ำท่วมเป็น ‘น้องน้ำ’ ที่ค่อยๆ เดินทางมาหา ‘พี่กรุง’ โดยมี ‘นังทราย’ เป็นตัวขวางกั้น เกิดเป็นเรื่องราวความรักชวนหัวที่สร้างเสียงหัวเราะ และช่วยให้บรรยากาศผ่อนคลายในสภาวะวิกฤติขณะนั้น แม้จะฟังดูเป็นเรื่องราวโรแมนติก แต่ในโลกแห่งความจริงมวลน้ำมหาศาลก็พร้อมเดินทางมา ยังกรุงเทพมหานครทุกปี ทุกภพ ทุกชาติเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว หนำซ้ำเร็วๆ นี้มวลน้ำกำลังจะมาเยือนกรุงเทพมหานครอีกครั้ง วันนี้ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) จะมาเล่าให้ฟังว่า อะไรเป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุที่ทำให้กรุงเทพมหานครต้องเผชิญหน้ากับสภาวะน้ำท่วมทุกปี และเรามีวิธีการรับมือกับมันอย่างไรบ้าง  มันอาจเป็นความรัก โชคชะตา พรหมลิขิต หรือจริงๆ แล้วมันเป็นยถากรรมของกรุงเทพมหานครกันแน่ ทำความรู้จักร่างกายกรุงเทพฯ  หากเป็นนิยาย อันดับเราต้องมาทำความรู้จักตัวละครหลักของเราก่อน ในที่นี้อาจหมายถึง กรุงเทพมหานคร ที่เปรียบเทียบพระเอกของเรา ในเชิงภูมิศาสตร์ กรุงเทพฯ ตั้งอยู่ในที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างที่เรียกว่า ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ (River Delta) เป็นแผ่นดินที่รวมกับแม่น้ำสะแกกรังและป่าสักเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา ก่อนจะไหลลงสู่ทะเลอ่าวไทยในที่สุด กล่าวได้ว่ากรุงเทพฯ อยู่ราบต่ำน้ำท่วมถึง อยู่ตรงปากแม่น้ำปลายสุดของลำน้ำก่อนไหลลงสู่ทะเล หากมองไล่ขึ้นไปยังตำแหน่งต้นน้ำจะพบว่า แม่น้ำเจ้าพระยาที่เป็นเส้นเลือดหลักของกรุงเทพฯ เกิดการรวมกันของแม่น้ำ 4 สาย ในภาคเหนือ ได้แก่ ปิง, วัง, […]

Urban design ทำให้กรุงเทพฯ เย็นลง 2°C ได้อย่างไร

01/11/2019

ตั้งแต่เมื่อไหร่ไม่แน่ชัดที่เราต่างรู้สึกว่าอากาศร้อนๆ เป็นของคู่กับกรุงเทพฯ ความร้อนของชนบทที่มากกว่าในเมืองนั้นไม่ใช่เรื่องที่คิดกันไปเอง เพราะ เซน – กิตติณัฐ พิมพขันธ์ นิสิตภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทบทวนงานวิจัยที่ผ่านๆ มาแล้วพบว่าอุณหภูมิเฉลี่ยพื้นที่กลางเมืองกับพื้นที่ชนบทนั้นต่างกันมากกว่า 6 องศาเซลเซียส สภาวะแบบนี้มีชื่อเรียกว่า เกาะความร้อนเมือง (urban heat island)  ซึ่งมีสาเหตุหลักอยู่ 2 ปัจจัย คือ การเปลี่ยนแปลงพื้นผิวของแผ่นดินจากการพัฒนาเมือง อีกส่วนหนึ่งความร้อนที่ปล่อยออกจากการใช้พลังงานอาคาร กิจกรรมการสัญจรโดยรถยนต์ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงระดับการเพิ่มของก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์เป็นส่วนที่มีอิทธิพลสำคัญที่สุดในการก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน (Global heating) เมื่อดูข้อมูลเจาะจงในพื้นที่เมืองช่วง 30 ปีย้อนหลัง ประเทศไทยมีอุณหภูมิสูงขึ้นเฉลี่ยปีละ 0.6 องศาเซลเซียส “สภาวะน่าสบาย” ของเมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯ นั้นเฉลี่ยอยู่ที่ 28-31 องศาเซลเซียส แต่หากดูค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 2 ปีที่ผ่านมา อุณหภูมิในเมืองหลวงเกินสภาวะน่าสบายไปที่ 2-3 องศาเซลเซียส นี่เป็นเหตุผลที่ว่าทำไมเราจึงรู้สึกร้อนสุมทรวง ต้องหามุมหลบในซอกหลืบเงาร่มของอาคาร งาน Thesis ของเซนจึงพยายามใช้ความรู้ด้าน Urban design และ […]

ย้อนรอยกรุงเทพฯ 12 ปี เราเป็นเมืองน้ำท่วมกี่ครั้ง กี่ครากันแน่?

01/11/2019

ความที่กรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวงของประเทศไทย ทำให้กรุงเทพฯ เป็นดั่งศูนย์กลางของสถาบันต่างๆ ทั้งการปกครอง การศึกษา การคมนาคม โดยเฉพาะเศรษฐกิจ คงหลีกเลี่ยงได้ยากที่ใครหลายคนจะเปรียบกรุงเทพฯ เป็นดั่งหัวใจหลักของประเทศ กระทั่งหน่วยงานต่างๆ ให้ความสำคัญในการป้องกันน้ำท่วมมากกว่าพื้นที่อื่น อย่างไรก็ตาม อย่างที่เราเคยกล่าวไว้ในบทความที่แล้ว หากมองกรุงเทพฯ ในเชิงภูมิศาสตร์จะพบว่า กรุงเทพฯ เป็นดั่งพื้นที่รับน้ำที่ไหลมาจากทุกทิศทาง ฉะนั้นชะตากรรมกรุงเทพฯ จำต้องเผชิญหน้ากับมวลน้ำมหาศาลทุกปีเป็นเรื่องปกติ เราจึงมักได้ยินเสียงบ่นของมนุษย์กรุงเทพฯ ว่า “กี่ปีๆ น้ำก็ท่วมอยู่ดีนั่นแหละ” ด้วยความสงสัยของศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) เราจึงไปสืบค้นข้อมูลเพื่อย้อนเวลากลับไปดูในระยะ 12 ปีที่ผ่านมาว่า แท้จริงแล้วมหานครกรุงเทพฯ เผชิญหน้ากับสภาวะน้ำท่วมมาแล้วกี่ครั้งกี่ครากันแน่? ก่อนที่ปี 2560 นี้ กรุงเทพฯ จะต้องเผชิญหน้ากับมันอีกครั้ง จากข้อมูลของ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA) พบว่า สภาวะน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพมหานครย้อนหลัง 12 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 – 2559 กรุงเทพฯ จมน้ำเพียง 5 ปีเท่านั้น โดยมีการท่วมต่อเนื่อง 4 ปีคือช่วง พ.ศ. […]

มหาสมุทร และ หมุดหมายการพัฒนาเมือง

01/11/2019

“ใครสักกี่คนจะรู้ว่าปอดของดาวเคราะห์โลกที่มอบออกซิเจนให้กับพวกเรามากที่สุดนั้นมาจากมหาสมุทร นอกเหนือจากการเป็นแหล่งอาหาร ยาและต้นกำเนิดทางชีวภาพแล้ว” พวกเราทุกคนดำเนินชีวิตโดยไม่รู้ตัวว่าการกระทำของเรามีผลต่อความสมบูรณ์ของมหาสมุทรอย่างไรและความอุดมสมบูรณ์ของมหาสมุทรมีความสำคัญกับเราอย่างไร  เหตุใดเราถึงต้องเข้าใจอิทธิพลของมหาสมุทรที่มีต่อเราและอิทธิพลของเราต่อมหาสมุทร คนจากพื้นที่ mainland อย่างชั้น เกิดและเติบโตในเขตเมืองหลวงของกรุงเทพมหานคร หากนึกถึงการไปทะเลนั้นคือการไปเที่ยวพักผ่อน ฉันไม่มีทางรู้เลยว่าทุกการกระทำในชีวิตประจำวันส่งผลต่อสภาพของมหาสมุทรเช่นไร จนกระทั่งเกิดการรณรงค์ทั่วโลกเรื่องภาวะโลกร้อนและการลดใช้พลาสติกปรากฎขึ้นพร้อมกับภาพหลอดในรูจมูกของเต่าตัวยักษ์ ขยะส่วนใหญ่เกิดจากกิจกรรมของคนในเมือง โดยเฉพาะเมืองท่องเที่ยวชายฝั่งทะเล จากผลการสำรวจโดยทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัยจอร์เจีย ปี 2558 ระบุว่า ไทยรั้งอันดับ 5 ของประเทศที่ทิ้งขยะลงทะเลมากที่สุดในโลก ข้อมูลจาก กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยอ้างอิงจากผลการสำรวจประเมินจากภาพรวมปริมาณขยะมูลฝอยของประเทศ ในปี พ.ศ.2558 ซึ่งมีจำนวนขยะประมาณ 26.85 ล้านตันต่อปี หรือคิดเป็นปริมาณขยะ จำนวน 1.13 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน โดยมีปริมาณขยะที่ตกค้างเพราะไม่สามารถจำกัดได้ถูกวิธีประมาณ 23 % หรือประมาณ 6.22 ล้านตันต่อปี โดยชายฝั่งทะเล 23 จังหวัดมีปริมาณขยะประมาณ 10 ล้านตันต่อปี ในจำนวนนี้มีประมาณ 5 ล้านตันที่ได้รับการจัดการที่ไม่ถูกวิธี ทั้งนี้จากข้อมูลพบว่า ขยะที่ตกค้างจากการจำกัดขยะที่ไม่ถูกวิธีอีก10 % จะไหลลงสู่ทะเลเท่ากับขยะที่ไหลลงสู่ทะเล 50,000-60,000 ตันต่อปี ซึ่งประเมินว่าในแต่ละปีจะมีขยะพลาสติกในทะเล 50,000 […]

Singapore So Green สร้างเมืองเขียวอย่างไรให้เป็นแบรนด์

31/10/2019

ทุกวันนี้ความเป็นเมืองสีเขียวของสิงคโปร์เป็นที่กล่าวถึงอย่างมาก แต่ความน่าสนใจจริงๆ ของเรื่องนี้ต้องเริ่มที่ประโยคแท็กไลน์ของแผนการพัฒนาเมืองของสิงคโปร์ที่ว่า ‘Bring the bees and boeings to the City in the Garden’ น่าสงสัยว่าผึ้งกับเครื่องบินโบอิ้งมาเกี่ยวข้องอะไรกัน เรื่องราวเริ่มต้นที่ ‘ที่ดิน’ ปัจจัยการพัฒนาประเทศที่สิงคโปร์มีน้อยกว่าเพื่อน ฉะนั้นการบริหารที่ดินต้องคิดอย่างถ้วนถี่เพื่อให้เกิดประโยชน์คุ้มค่าที่สุด ส่งผลให้การสร้างแบรนด์ของประเทศออกมาในแนวคิด The Garden City ที่เชื่อมเรื่อง ‘ธรรมชาติ’ กับ ‘ธุรกิจ’ เข้าด้วยกัน ผึ้งในแท็กไลน์คือตัวแทนพื้นที่สีเขียว ส่วนเครื่องบินโบอิ้งคือตัวแทนการพัฒนาเศรษฐกิจและทรัพยากรมนุษย์ พูดง่ายๆ คือสิงคโปร์มองออกว่าคุณภาพชีวิตกับเศรษฐกิจเป็นเรื่องเดียวกัน ทำอย่างหนึ่งต้องได้ประโยชน์อีกอย่างด้วย จากประเทศที่มีขนาดเมืองเล็กกว่าครึ่งของกรุงเทพฯ ทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลายหมดในสมัยอาณานิคม กลายเป็นเมืองที่มีสีเขียวหนาแน่นที่สุดในโลกในอัตรา 30% ของพื้นที่ นี่คือปาฏิหาริย์ที่เกิดขึ้นได้จริงด้วยวิธีคิดและนโยบายที่ ‘มาก่อนกาล’ คนทั่วไปรู้ดีอยู่แล้วว่าพื้นที่สีเขียวสำคัญกับสุขภาพคนและสุขภาพเมือง แต่ลองจินตนาการย้อนกลับไปในปี 1967 (พ.ศ. 2510) เวลานั้นลีกวนยูเกิดวิสัยทัศน์จะสร้าง The Garden City เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างไร ทั้งที่เวลานั้นสิงคโปร์ยังเป็นประเทศโลกที่สามที่มุ่งหน้าไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรม คนกว่าครึ่งค่อนประเทศอาศัยอยู่ในสลัม แม่น้ำลำคลองก็เน่าเสีย สิ่งที่น่าจะมีอิทธิพลต่อความคิดลีคือ ‘อุทยานนคร’ […]

1 6 7 8