Environment



เมืองปรสิต VS ป่าผืนยักษ์ วิกฤตโลกร้อนที่เมืองเลือกได้

22/01/2020

กัญรัตน์ โภคัยอนันต์ คุณเคยคิดบ้างไหม – ว่ามนุษย์อาจเป็นปรสิตของโลก ดร. สรณรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์ ประธานกรรมการมูลนิธิโลกสีเขียว นักวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม เจ้าของรางวัล Explore Awards 2019 จากนิตยสาร Nation Geography  เคยยกตัวอย่างเปรียบมนุษย์เป็น “ปรสิต” ไว้อย่างน่าสนใจ โดยบอกว่ามนุษย์เมืองที่ใช้พื้นที่ (Land) เพียง 3 % ของโลกใบนี้ กลับบริโภคทรัพยากร (Resource consumption) ถึง 75% โดยปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Global GHG emission) กว่า 60-80 %  นั่นไม่ผิดอะไรกับการเป็นปรสิตเลย จากตัวเลขข้างต้นการเปรียบเปรยมนุษย์เป็นปรสิต คงไม่ผิดนัก จะต่างเพียงว่ามนุษย์เป็นสัตว์เลี้ยลูกด้วยนมแต่ปรสิตเป็นสัตว์เซลล์เดียวที่มีลักษณะการใช้ชีวิตอาศัยผู้อื่นหรือเซลล์ชนิดอื่นเป็นที่พักอาศัยและแหล่งอาหารแถมบางครั้งยังทำร้ายสิ่งมีชีวิตที่ใช้ประโยชน์นั้นหรือเซลล์ภายในจนเจ็บป่วยหรือถึงกับเสียชีวิต  เหมือนมนุษย์ที่กำลังใช้ทรัพยากรและทำให้ทุกอย่างเสื่อมโทรมลงเป็นความย้อนแย้งที่ตลกร้ายดังที่ Jane Goodall นักชีววิทยาและนักอนุรักษ์ชื่อดังที่พูดถึงมนุษย์ว่า “การใช้พลังงานฟอสซิลอย่างไม่คิด การทำลายป่าไม้ การสร้างมลภาวะในมหาสมุทร เป็นไปได้อย่างไรที่สิ่งมีชิวิตที่เฉลียวฉลาดที่สุดที่เคยปรากฏขึ้นมาบนโลก กลับกำลังทำลายบ้านหลังสุดท้ายของตัวเอง” ดร. สรณรัชฎ์ได้อธิบายถึงโจทย์ท้าทายใหญ่ของมนุษย์เมือง คือ สถานการณ์เมืองที่มีคนเยอะมากขึ้นแต่ทรัพยากรมีอยู่อย่างจำกัดโดยที่มนุษย์ทุกคนมีความอยากสบายเท่ากัน […]

สถาปัตยกรรมกับการมอง : สะพานเขียว โบสถ์คริสต์ และมัสยิดอินโดนีเซีย

13/01/2020

ในปี 2020 นี้ คุณผู้อ่านอาจยังไม่ทราบว่า กำลังจะเกิดโครงการใหญ่ที่มีชื่อล้อกับปี ค.ศ. ว่า “สองศูนย์สองสวน” ขึ้นมา สองศูนย์สองสวนก็คือการปรับปรุง ‘ทางเชื่อม’ ของสวนสองแห่งภายในปี 2020 โดยสวนที่ว่าก็คือสวนลุมพินีและสวนเบญกิตติ แน่นอน ทางเชื่อมที่ว่าจะเป็นอะไรอื่นไปไม่ได้ นอกจาก ‘สะพานเขียว’ นั่นเอง ความน่าสนใจของการเชื่อมสองสวน ก็คือสะพานเขียวไม่ได้เชื่อมแค่สวน แต่ยังเชื่อมสองชุมชน (คือ ชุมชนร่วมฤดี และชุมชนโปโล) และเชื่อมสองศาสนา ผ่านสองศาสนสถาน คือ โบสถ์พระมหาไถ่ของชาวคริสต์  และมัสยิดอินโดนีเซียของชาวมุสลิม ซึ่งทั้งสองแห่งมีความสำคัญในแง่ของสถาปัตยกรรมกับบริบทวิถีชุมชนอย่างยิ่ง รูป 1 ตัวอย่างภาพโครงการ “สองศูนย์สองสวน” ในทางสถาปัตยกรรมผังเมือง ประวัติศาสตร์หรืออัตลักษณ์พื้นถิ่นจะแสดงผ่านรูปแบบของสถาปัตยกรรมและพื้นที่ว่างเสมอ คุณลักษณะที่ปรากฎขึ้นเปรียบเสมือนสื่อกลางที่ช่วยนำทางให้เข้าใจถึงเรื่องราวและรายละเอียดของสถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้น รูปแบบทางสถาปัตยกรรมจึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่สามารถนำไปใช้สื่อสารความหมายต่อบริบทพื้นที่ หรืออาจเกิดเป็นอัตลักษณ์ของย่านหนึ่งในที่สุด  นักทฤษฎีเมืองอย่าง Lynch ให้ความหมายของคำว่า “ย่าน” เอาไว้ว่าคือ บริเวณพื้นที่ชุมชนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเมือง มีลักษณะเฉพาะตามบริบทการใช้งานของพื้นที่ มีลักษณะทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ที่สอดคล้องกับกายภาพหรือรูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้น โดยสาระสำคัญของ Lynch กล่าวถึงจินตภาพเมืองที่มี 5 […]

อนาคตของเมืองจะสุกใส หากเด็กไทยแข็งแรง เดินได้เดินดี มีพื้นที่สีเขียว

11/01/2020

คำถามหนึ่งที่หลายคนอาจไม่ค่อยนึกถึงก็คือ – เมืองที่เราอยู่มีความ ‘เป็นมิตร’ กับเด็กมากน้อยแค่ไหน และเมืองที่เป็นมิตรกับเด็ก แสดงให้เราเห็นถึงอนาคตและวิสัยทัศน์ของชาติได้อย่างไร ทำไมต้องออกแบบเมืองให้เป็นมิตรกับเด็ก นิยามจากอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ ระบุว่า เด็ก หมายถึง คนอายุ 0 ถึง 18 ปี ปัจจุบันมีเด็กอาศัยในเขตเมืองกว่า 1,000 ล้านคนทั่วโลก และจากสถานการณ์การกลายเป็นเมือง ซึ่งคนจะอาศัยในเมืองเกินกว่า 70% ในปี 2050 พบว่า “ชนกลุ่มใหญ่” ของเมืองทั่วโลกคือ “เด็ก” นั่นเอง การบอกว่าเด็กคือ “อนาคตของเมือง” และอนาคตของโลกใบนี้ จึงไม่ผิดจากข้อเท็จจริง ข้อมูลเมื่อเดือนธันวาคม 2562 โดยระบบสถิติทางการทะเบียน กระทรวงมหาดไทย ระบุว่า ปัจจุบันกรุงเทพมหานครมีประชากรวัย 0 – 18 ปี อาศัยจำนวน 1,028,097 คน ตามทะเบียนราษฎร์ และอีกจำนวนไม่น้อยในฐานะประชากรแฝง เด็กหลายล้านคนในกรุงเทพฯ เติบโตในครอบครัวที่มีโอกาสเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกและโครงสร้างส่งเสริมสุขภาวะที่แตกต่างกัน กระทั่งมีรูปแบบการอยู่อาศัยที่ไม่เหมือนกัน เช่น อาศัยในตึกแถวกลางเมือง อาศัยในบ้านเดี่ยวชานเมือง […]

10 ที่สุดข่าวเมืองแห่งปี 2019

31/12/2019

นับถอยหลังสู่ปี 2020 ด้วย 10 ข่าวเกี่ยวกับเมือง ที่ถูกพูดถึงมากที่สุดแห่งปี 2019 รวบรวมโดยศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านยุทธศาสตร์เมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CE.US) เป็น 10 ข่าว ที่ครอบคลุมปัญหาสิ่งแวดล้อมเมือง คุณภาพชีวิต ไปจนถึงเรื่องราวดีๆ ในปีสุดท้ายแห่งทศวรรษนี้ 1.กรุงเทพฯ เมืองจมฝุ่น 3 ฤดู ข่าวเมืองแห่งปีคงหนีไม่พ้น ฝุ่นละออง PM 2.5  ที่เกิดขึ้นเกือบทุกภาคของประเทศ รวมถึงเมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ส่งผลกระทบกับสุขภาพมากที่สุด เป็นสาเหตุของผลกระทบด้านสุขภาพทั้งระยะสั้นและระยะยาว จากข้อมูล State of Global Air ระบุว่า  PM2.5 ก่อให้เกิดการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรของประเทศไทยประมาณ 37,500 ราย โดยเมื่อวันที่ 30 ก.ย.62 ดัชนีคุณภาพอากาศหรือ AQI ที่จากเว็บไซต์ Airvisaul.com ระบุว่า คุณภาพอากาศในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร ค่า AQI อยู่ที่ 175 […]

How to be Green เพิ่มป่าจริงในป่าคอนกรีต

26/12/2019

ภัยพิบัติทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทยอยกันโจมตีมนุษย์อย่างต่อเนื่อง คำถามก็คือ กรุงเทพฯ เมืองใหญ่ที่แสนจะเปราะบางแต่มักไม่รู้ตัว – จะยังพอมีทางออกอยู่หรือไม่? Concrete Jungle of the East หาก New York ได้รับสมญานามว่าเป็นป่าคอนกรีตแห่งโลก กรุงเทพฯ ก็คงเป็นเป็นคู่แข่งสำคัญอีกรายหนึ่งในนามป่าคอนกรีตแห่งตะวันออก วลี “ป่าคอนกรีต” อาจหมายถึงการใช้ประโยชน์ที่ดินในเมืองอย่างเข้มข้น และเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ หรือแหล่งที่อยู่อาศัยของผู้คนจากทั่วทุกสารทิศก็ได้ แต่ถ้าถามถึงคุณภาพชีวิตของคนในป่าคอนกรีตแต่ละแห่ง ก็มักจะแตกต่างกันออกไปตามปัจจัยสนับสนุนการดำรงชีวิต แต่ปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่ง ก็คือเรื่องของ “พื้นที่สีเขียว” และ “สวนสาธารณะ” ในเมือง ซึ่งก็คือ “ป่าจริง” ที่ซ้อนอยู่ใน “ป่าคอนกรีต” นั่นเอง เราจะเห็นว่า กรุงเทพฯ ในฤดูร้อนนั้นร้อนขึ้นทุก แถมล่าสุดยังต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์ “กรุงเทพฯ คลุกฝุ่น” เป็นเวลาหลายเดือนด้วย ผู้คนจึงเริ่มให้ความสนใจกับสิ่งแวดล้อมในเมืองมากขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่สีเขียวที่เป็นทางเลือกหนึ่งในการช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมให้ทุเลาลงได้บ้าง ทั้งในแง่ของการกรองมลพิษ และสร้างเสริมสุขภาพกายและจิตให้กับคนเมือง แล้วกรุงเทพฯ มีพื้นที่สีเขียวมากแค่ไหน? เริ่มต้นที่ “นิยาม” ของพื้นที่สีเขียวกันก่อน นิยามของคำว่า “พื้นที่สีเขียวในเมือง” แบบง่ายๆ ก็คือ […]

พื้นที่นอกบ้าน กรุงเทพฯ กับ 22% แห่งโอกาส

20/12/2019

อดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ เคยถามตัวเองไหมว่า – ในแต่ละวันๆ ที่เราอยู่ในกรุงเทพฯ นั้น เรา ‘ใช้ชีวิตนอกบ้าน’ กันที่ไหนบ้าง นี่คือคำถามที่เกิดขึ้นในงาน “ปักเปลี่ยนเมือง” หรือ Pin Your Point, Point Your Pain ซึ่งจัดขึ้นโดย ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านยุทธศาสตร์ด้านยุทธศาสตร์เมือง (CE.US) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ มูลนิธิรอกกี้เฟลเลอร์ และแผนงานบูรณาการยุทธศาสตร์เป้าหมายด้านสังคม คนไทย 4.0 คำถามนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสังเกตการณ์และขับเคลื่อนเมือง เป็นคำถามง่ายๆ ว่า “คุณใช้ชีวิตนอกบ้านที่ไหนบ้างในแต่ละวัน” แต่เชื่อไหมว่า ถ้าลองครุ่นคิดพิจารณากันดีๆ คำถามนี้สามารถบอกเราได้ชัดเจนเลยว่า ‘ความเป็นเมือง’ ส่งผลต่อการใช้ชีวิตของเราอย่างไรบ้าง ทำไมเราต้องใช้ชีวิตนอกบ้าน ที่จริงแล้ว เราใช้ชีวิตอยู่ ‘นอกบ้าน’ มากกว่าครึ่งหนึ่ง  และเมื่ออยู่ ‘นอกบ้าน’ ก็แปลว่าเราอยู่ ‘ในเมือง’ ซึ่งเมืองในที่นี้ก็คือกรุงเทพฯ นี่เอง คำถามก็คือ ‘ความเป็นเมืองแบบกรุงเทพฯ’ ส่งผลให้การใช้ชีวิตนอกบ้านของเราเป็นอย่างไรบ้าง คุณอาจจำเป็นต้องใช้ชีวิตนอกบ้านมาก เพราะต้องเดินทางออกไปทำงานในเมือง […]

ออกแบบเมืองอย่างไรให้สู้กับโลกร้อนได้

11/12/2019

The point of no return: จุดเปลี่ยน หรือ จุดจบมวลมนุษยชาติ? มันเหมือนกับตลกร้าย ตลอดระยะเวลาหลายร้อยปีที่ผ่านมา มนุษย์พยายามดิ้นรนต่อสู้กับธรรมชาติ เราสรรค์สร้างสิ่งประดิษฐ์ เทคโนโลยี เพื่ออำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน  แต่จนถึงวันนี้ วันที่มนุษย์เราก้าวข้ามขีดจำกัดหลากประการ สร้างสรรค์นวัตกรรมมากมาย สิ่งเหล่านั้นกลับยิ่งเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาให้โลกของเราเข้าใกล้คำว่าหายนะมากขึ้น ตอนที่ 1 : Let’s beat the heat เปิดตำราเมืองร้อนกับ 7 เครื่องมือพิชิตร้อน Cooling Singapore, Singapore-ETH Centre, Singapore     ประเด็นใหญ่ที่สุดและเป็นที่ตระหนักมากที่สุดขององค์กรต่างๆทั่วโลก ซึ่งคงไม่มีใครไม่พูดถึงคือ วิกฤตการณ์โลกร้อน (Global Warming Crisis)  ผลการวิจัยจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ ได้เก็บข้อมูลและประเมินสถานการณ์ความเร่งด่วนโดยใช้แบบจำลองสภาพภูมิอากาศเพื่อกำหนดเส้นตายสำหรับการเริ่มดำเนินการด้านสภาพอากาศเพื่อควบคุมไม่ให้อุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 ° C ในปี 2100 โดยจากผลการวิจัยได้แสดงให้เห็นว่า  หากเราไม่มีการแก้ไขสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันด้วยการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลง 45% ภายในปี 2030 เราจะก้าวสู่ the point […]

เมืองร้อนทำให้คนกินคน

04/12/2019

คนกรุงเทพฯ เสพติดเครื่องปรับอากาศ ใช่ – เครื่องปรับอากาศทำให้เราเย็นสบาย แต่เหรียญอีกด้านที่หลายคนอาจมองไม่เห็น  นั่นคือ  มลพิษมหาศาลที่เกิดจากการใช้งานเครื่องปรับอากาศ กำลังไปกระทบกับการใช้ชีวิตของคนอีกกลุ่มหนึ่งนอกห้องแอร์ฯ ซึ่งนักรัฐศาสตร์อย่าง ผศ.ดร. พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้ดำเนินรายการวิเคราะห์ข่าวชื่อดัง เรียกปรากฎการณ์ท่ามกลางความร้อนของเดือนเมษายนว่า  “การกินชีวิตกันในเมือง”  “เมื่อสภาพอากาศร้อน คนบางกลุ่มก็เลือกที่จะเปิดแอร์ ให้ที่พักอาศัยมีอุณหภูมิที่เย็นสบาย แต่ลมร้อนที่ออกมาจากเครื่องปรับอากาศในเมือง กลับทำให้คนอีกกลุ่มหนึ่งที่ร้อนอยู่ในรถตู้ มอเตอร์ไซด์รับจ้างต้องร้อนกว่าปกติ “ความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในเมือง เช่น ความต้องการมีชีวิตที่ดี มีความลงตัวของคุณนั้น ไม่ได้เป็นแค่ความสะดวกสบายจากการพัฒนาวัตถุ การพัฒนารูปแบบเมือง แต่คุณอาจจะสร้างผลกระทบให้กับคนอื่น หรือคุณใช้คนเหล่านั้นทำให้ชีวิตคุณดีขึ้น เช่น คุณมีเมืองที่สวยงาม มีเศรษฐกิจที่ดี มีความเจริญ แต่ความเจริญเหล่านี้อาจจะมาจากแรงงานราคาถูกที่มาก่อสร้างให้คุณ การมีเศรษฐกิจที่ดีอาจจะแลกมาจากการที่คนจำนวนหนึ่งต้องมีชีวิตที่ไม่ดี ดังนั้น การใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันในเมืองจึงไม่ใช่เพียงแค่การ living with others แต่ยังเป็นการ living through others อีกด้วย” ความร้อนของเมืองแสดงให้เห็นภาวะการณ์การ ‘กิน’ ชีวิตกันในเมืองได้ค่อนข้างชัดเจน ว่าเป็นความสัมพันธ์ของผู้คนที่เกิดจากการเข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งอื่นที่อยู่รอบตัว โดยการเข้าไปเกี่ยวข้องนี้อาจเข้าไปสร้างผลกระทบให้กับบุคคลอื่นในทางใดทางหนึ่ง หรือการใช้บุคคลอื่นทำให้ชีวิตของตนเองดีขึ้น แต่อาจแลกมาจากการมีแรงงานราคาถูก […]

The Urban Green Jungle หลังคาคือสินทรัพย์ของเมือง

28/11/2019

หลังคาสำคัญกับเมืองอย่างไร เมื่อปี 2015 สำนักข่าว The Guardian ของอังกฤษ เคยนำเสนอข่าวที่มีข้อมูลคลาดเคลื่อนชิ้นหนึ่ง นั่นคือข่าวรัฐสภาฝรั่งเศสผ่านกฎหมาย Green & Solar Roof  โดยกำหนดให้อาคารใหม่และอาคารพาณิชย์ต้องคลุมหลังคาด้วยพืชพรรณหรือแผ่นโซลาร์  ปรากฏว่าคนแชร์ข่าวนี้เยอะมาก (รวมทั้งฉันด้วย) ในความเป็นจริงแล้ว Green & Solar Roof เป็นความพยายามของการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่เสนอโดยสภาผู้แทนราษฎรของฝรั่งเศส แต่โดนตีกลับโดยวุฒิสภาให้ไปศึกษาเพิ่มเติม Laurence Abeille ส.ส. ที่เป็นคณะทำงาน Sustainable Development and Area Management  เป็นผู้เสนอการแก้ไขกฎหมายให้เพิ่มประเด็น Green & Solar Roof นี้ เธอโต้แย้งว่า หลังคาคือโครงสร้างทิ้งร้าง (leftover assets) ของเมือง แต่ถูกปล่อยไม่ได้ใช้งานหรือใช้งานต่ำ (Under-utilized) เป็นลานคอนกรีตแห้งแล้ง ปล่อยความร้อนสู่เมืองปริมาณมหาศาล ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของปรากฏการณ์เกาะความร้อนเมืองหรือ urban heat island แต่ถ้าเราปกคลุมหลังคาและอาคารด้วยพืชพรรณจะช่วยลดความร้อนที่ปล่อยออกสู่เมืองได้ มีการศึกษาของประเทศแคนาดา พบว่า Green […]

ที่ผึ้งของเมือง คือที่พึ่งของคน

26/11/2019

เรื่อง/นำเสนอข้อมูล: ว่าน ฉันทวิลาสวงศ์ คุณรู้ไหม – ว่าแมลงตัวเล็กๆ อย่าง “ผึ้ง” ไม่ได้ทำหน้าที่แค่ผสมเกสรดอกไม้เท่านั้น แต่ผึ้งยังช่วยเราวัดคุณภาพอากาศได้อีกด้วย หลายสิบปีก่อน กรุงเทพฯ เคยมีแมลงและสัตว์ขนาดเล็กมากมาย  ทั้งหนอนผีเสื้อตัวอ้วนกลมที่ตกลงมากระดึ้บดุ๊กดิ๊กอยู่บนพื้นถนน บุ้งที่โรยตัวลงมาจากกิ่งไม้สูงและห้อยตัวอยู่กลางอากาศ หรือไส้เดือนที่หลงทางมาอยู่บนพื้นคอนกรีต และหลายคนก็อาจคุ้นเคยกับผึ้งที่มาดูดน้ำหวานจากดอกไม้ หรือกระทั่งมาไต่เล่นอยู่ที่แขน  แต่ในปัจจุบัน แมลงเหล่านี้หายหน้าไป เราปล่อยให้สภาพแวดล้อมที่เราอยู่อาศัยมาถึงจุดที่แมลงเล็กแมลงน้อยเหล่านี้แทบไม่มีเหลืออยู่ในสภาพแวดล้อมเมืองเลย  ถึงแม้หนอนผีเสื้อ บุ้ง ไส้เดือน หรือแม้กระทั่งผึ้งจะเป็นสิ่งมีชีวิตที่น่ารังเกียจและน่ากลัวสำหรับคนหลายคน แต่การที่ไม่มีสิ่งเหล่านี้อยู่ในสภาพแวดล้อมของเรา ก่อให้เกิดคำถามขึ้นมาว่า พวกมันคือ “ดัชนี” บ่งชี้ได้หรือไม่ ว่าเรากำลังอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบไหน ในระยะหลังๆ สภาพอากาศของกรุงเทพฯ เลวร้ายลงมาก โดยเฉพาะยามสภาพอากาศวัดค่า AQI (Air Quality Index) ได้เกิน 150 ซึ่งถือว่าอยู่ในขั้นวิกฤตที่ไม่ควรออกจากบ้าน แต่แทบทุกคนก็ยังต้องออกเพื่อไปทำงานและภารกิจของตนตามความจำเป็นของชีวิต นอกจากนี้ เมื่อ “หน้าหนาว” กำลังจะมาเยือน ความกดอากาศสูงก็ยิ่งกดให้อากาศแย่ๆ เหล่านี้อยู่กับเรานานขึ้น  จริงๆ แล้ว มลภาวะเหล่านี้ล้วนเป็นผลผลิตจากกิจกรรมของพวกเราในสังคมเมืองกันเองทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น ในมุมหนึ่ง หากเราไม่เริ่มเปลี่ยนวิถีชีวิตและการใช้ชีวิตในเมือง […]

1 5 6 7 8 9