Public Realm



เมืองสูงวัย: แนวทางการออกแบบเมืองสำหรับผู้สูงอายุ

17/06/2023

เมืองสำหรับผู้สูงอายุ ประเทศไทยกำลังจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุภายในปี 2565 ข้อมูลจาก คณะทำงานจัดทำรายงานสุขภาพคนไทย กล่าว ประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ (complete aged society) โดยประเทศไทยนั้นมีประชากรผู้สูงอายุ ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี กว่า 12.9ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด และคาดการณ์ว่าภายใน 15 ปีนี้ ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมสูงอายุระดับสุดยอด หรือ super aged society ที่มีสัดส่วนของผู้สูงอายุ ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี มากถึงร้อยละ 28 ของประชากรทั้งหมดในประเทศ การจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม สภาพแวดล้อมเหมาะสมนั้น เป็นการจัดการให้มีความพร้อมตามการใช้งานของผู้สูงวัย ทั้งในเรื่องของการทำกิจวัตรประจำวันในพื้นที่เดิมซ้ำ ๆ อาทิ ห้องนอน ห้องนั่งเล่น หน้าบ้าน หรือห้องน้ำ จำเป็นต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวก และความปลอดภัยที่เหมาะสม ที่ต้องทำให้ง่ายและสะดวกต่อการใช้งานของผู้สูงวัย ทั้งนี้จากที่ประเทศไทยนั้นได้ก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยเป็นที่เรียบร้อย และในอนาคตข้างหน้าที่มีโอกาสเป็นสังคมสูงอายุระดับสุดยอด จึงต้องมีการเตรียมความพร้อมในด้านการให้บริการสาธารณะ ในพื้นที่ชุมชนและพื้นที่เมือง การออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวก การนำข้อแนะนำไปออกแบบอาคารหรือสถานที่เพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับทุกคน ไม่ว่าจะเด็ก ผู้ใหญ่ […]

STREET FURNITURE อีกหนึ่งอุปกรณ์สื่อสารเรื่องเมือง

17/06/2023

ศาสตร์แห่งการสร้างสรรค์การออกแบบสิ่งประดิษฐ์เพื่อเป็นสัญลักษณ์ และสื่อสารประเด็นต่าง ๆ ผ่านสิ่งนั้น ล้วนเป็นเครื่องสะท้อนถึงประเด็นบางอย่าง ผ่านผลงานที่ถูกชูและออกแบบ สร้างสรรค์อย่างปราณีต ดูมีเอกลักษณ์ มีรูปแบบการวางที่โดดเด่น และเฉพาะเจาะจง อยู่ในพื้นที่ที่ผู้คนจะมองเห็นได้ง่าย โดดเด่น และเป็นหมุดหมายในเมือง เช่น การสร้างอนุสาวรีย์ การสร้างสรรค์นิทรรศการผลงานศิลปะขนาดใหญ่ ทั้งในรูปแบบการติดตั้งชั่วคราวและติดตั้งถาวร ซึ่งมีความหมายและที่มาที่ไปซ่อนอยู่เสมอ รวมไปถึงยังเป็นเครื่องสะท้อนถึงประเด็นที่มีความสำคัญต่อชีวิตคนเมือง Pyramids of Garbage เมืองไคโร ประเทศอียิปต์ ผลงานประติมากรรมที่รังสรรค์ด้วยกองขยะมหึมาขนาดกว้าง 11 เมตร และสูง 6 เมตร โดยความร่วมมือของกลุ่มช่างไม้ และการรวมกลุ่มของเด็กนักเรียนในเมืองไคโร ต้องการสื่อให้เห็นถึงความสูงตระหง่านของกองพีระมิดขยะ ที่เทียบเคียงกับกองพีระมิดด้านหลัง สะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่าง ปัจจุบันเรามีการผลิตออกมามาก และมีการบริโภคมหาศาลมาก และเราจำเป็นจะต้องทบทวนว่ารูปแบบการดำเนินชีวิตแบบนี้ จะทำอย่างไรให้เกิดความสมดุล และการใช้ชีวิตอย่างยั่งยืนโดยทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด (Bahia Shehab, 2563) ที่มาภาพ https://www.bahiashehab.com/public-installations/pyramids-of-garbage The Broken Chair กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ The Broken Chair หรือเก้าอี้ 3 […]

คุณค่าของเกม คุณค่าของเมือง เมื่อกีฬา E-Sport กลายเป็นอุตสาหกรรมในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเมือง

16/06/2023

จากกระแสโลกาภิวัตน์ในโลกปัจจุบันได้ดำเนินและนำพาการพัฒนาจากหลากหลายมิติให้มีความก้าวหน้า เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของมวลมนุษย์มากขึ้น ทั้งจากการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม ที่เกิดเป็นเศรษฐกิจในรูปแบบใหม่ที่หลากหลาย หรือการเพิ่มประสิทธิภาพจากต้นทุนเดิมอุตสาหกรรมเดิม แม้กระทั่งการพัฒนาวงการแพทย์และวิทยาศาสตร์ที่คิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อตอบสนองต่อปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่ แน่นอนว่าไทย ถือเป็นประเทศหนึ่งที่มีการพัฒนาและลงทุนด้านอุตสาหกรรมอย่างมหาศาล เพื่อขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศ ปัจจุบันได้มีการแบ่งกลุ่มของเศรษฐกิจออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่โดยสำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือที่เรียกว่า สภาพัฒน์ (จำแนกจากประเภทอุตสาหกรรม) ได้แก่ TAMI STEM FIRE เพื่อให้ง่ายต่อการจำแนกและจดจำ ทั้งนี้ จากกระแสการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม จึงทำให้เกิดอุตสาหกรรมใหม่ขึ้นมาหลากหลายประเภท หนึ่งในนั้นคืออุตสาหกรรมกีฬาอิเล็กทรอนิกส์ หรือ eSports ที่ถือได้ว่าได้รับความนิยมในปัจจุบัน และสร้างอาชีพรูปแบบใหม่ให้กับสังคมอย่างมาก นอกเหนือจากนั้น กีฬาอิเล็กทรอนิกส์ หรือ eSports กำลังเดินหน้าเข้าสู่กลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ที่เรียกว่า New S-curve อันจะเป็นหนหางไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและการลงทุนในรูปแบบใหม่ของเมือง The Urbanis อยากจะชวนทุกท่านมาทำความรู้จักกับกีฬาอิเล็กทรอนิกส์ หรือ eSports กับบทบาทใหม่ในการพัฒนาเมือง ในมิติของเศรษฐกิจที่คอยขับเคลื่อนเมืองมีทิศทางเป็นแบบใดได้บ้างในปัจจุบัน วิชา E-sport 101 ก่อนอื่นอยากจะพาผู้อ่านทุกท่านได้รู้จักคำว่า กีฬาอิเล็กทรอนิกส์ หรือ eSports ที่กำลังเป็นคำยอดฮิตในสังคมปัจจุบัน eSport ย่อมาจาก […]

เกมสร้างเมือง: แบบฝึกหัดที่ดีสำหรับการร่วมพัฒนาเมือง

12/06/2023

เคยลองจินตนาการกันไหมว่า หากเมืองในฝัน เมืองที่คุณเคยสร้างในวัยเด็ก เมืองที่อยู่ไกลจากโรงงานอุตสาหกรรม เมืองที่มีสวนสาธารณะสำหรับทุกคน ไม่อยู่เพียงแค่ในเกมแต่สามารถเกิดขึ้นได้จริงนั้น จะดีแค่ไหน? เกมสร้างเมือง เกมสร้างเมืองเป็นเกมแนวแบบจำลองที่ได้รับความนิยมอย่างมากสำหรับบรรดาเกมเมอร์ทั้งหลาย เพราะผู้เล่นสามารถสร้างเมืองได้ตามใจชอบ เลือกวางอาคาร บริหารจัดการเมืองได้อย่างอิสระ และยังมีบทบาทเป็นผู้ว่าหรือนายกเทศมนตรีของเมืองนั้นได้เลย ปัจจุบัน เกมลักษณะนี้ถูกพัฒนาให้กลายเป็นเกมออนไลน์ที่มีหลากหลายแบบด้วยการประยุกต์ใช้ศาสตร์แห่งเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการออกแบบ หากนำเกมกับการพัฒนาเมืองมาประยุกต์ร่วมกันจะน่าสนใจแค่ไหน เมื่อเกมสร้างเมืองในจิตนาการถูกสร้างขึ้นโดยจำลองลักษณะภูมิประเทศของเมืองที่เราอาศัยอยู่ตามจริง! ที่มา: Cityville game จุดตัดเส้นขนานแห่งการขับเคลื่อนเมือง The Urbanis อยากลองเสนอไอเดียแก่ทุกท่านว่า จะดีแค่ไหนเมื่อเกมสร้างเมืองที่คุณเล่นประกอบด้วยย่านสำคัญในเมือง มีพื้นที่โล่งที่ยังรอให้คุณได้พัฒนาหรือรังสรรค์พื้นที่ได้อย่างเต็มที่ ในเมืองนี้ คุณยังสามารถออกแบบและจัดสรรโครงสร้างพื้นฐาน ระบบขนส่งมวลชน พื้นที่สีเขียวสำหรับพักผ่อนหย่อนใจ ตลอดจน ไปศึกษาดูงาน เยี่ยมชมเมืองของเพื่อน ๆ ได้ หรือบางเกมอาจจะสร้างประชุมออนไลน์สำหรับผู้ที่สนใจพัฒนาและแก้ปัญหาพื้นที่ในย่านนั้น ๆ และยังสามารถเสนอไอเดียเพื่อพัฒนาเกมได้อีกด้วย เมื่อนำเกมกับการออกแบบและพัฒนาเมืองมารวมกันจึงเกิดเป็นแบบจำลองเมืองในฝันของประชากรเมืองในย่านต่าง ๆ ไม่เพียงแต่ผู้เล่นจะได้รับความบันเทิงเท่านั้น แต่ยังส่งผลให้เกิดแนวทางการจัดการปัญหาเมืองที่หลากหลาย ต่างมุมมอง เช่น การแก้ปัญหาด้านระบบสาธารณูปโภค ระบบขนส่งมวลชน ปัญหาสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังเป็นเหมือนการรวมกลุ่มของผู้สนใจในการพัฒนาและแก้ปัญหาเมือง หรือผู้ที่ได้รับประสบการณ์กับปัญหาด้านเมืองโดยตรง ที่มา: lifewire ไม่ใช่แค่ความบันเทิง แต่เป็นแบบฝึกหัดที่ดี ปี 2011 […]

Massena Nord พลิกฟื้นย่านชายขอบสู่ย่านนวัตกรรมน่าอยู่ที่มีชีวิตชีวา

11/06/2023

Massena Nord ย่านชายขอบที่ถูกพลิกฟื้น ที่มาภาพ https://i.pinimg.com/originals/73/9a/2e/739a2e374386c4c598ce70a259fefb3c.jpg ย่านมาเซนานอร์ท (Massena Nord) ตั้งอยู่ในเขตที่ 13 บริเวณชายขอบทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของปารีส ก่อนออกนอกถนนวงแหวน แต่เดิมย่านนี้ถูกจดจำเป็น “ย่านชาวเอเชียและแอฟริกัน” เลยไปอีกเล็กน้อยก็จะเป็นย่าน Place d’Italie, Tolbiac และ Olympiade ย่านที่พักอาศัยที่ภาครัฐจัดขึ้น (social housing) และยังคงแบบอาคารสูงยุคหลังสงครามไว้ ย่านเหล่านี้ถูกตัดขาดจากเนื้อเมืองโดยมีแม่น้ำเซนน์และลานรถไฟ (rail yard) ขนาดยักษ์ขวางกั้นไว้ รวมทั้งย่านเองก็เต็มไปด้วยอาคารประเภทโกดัง คลังสินค้า และโรงซ่อมบำรุง ส่งผลให้ย่านนี้แลดูเงียบเหงาทั้งที่อยู่ไม่ห่างจากตัวเมือง ปัจจุบัน ย่านมาเซนานอร์ทกลายเป็น A NEW QUARTIER LATIN แหล่งปัญญาชนฝั่งซ้ายแม่น้ำเซนน์แห่งใหม่ที่มีชีวิตชีวา ที่เชื่อมโยงเนื้อเมืองจากแม่น้ำเซนน์เข้าสู่ย่านชาวเอเชีย-แอฟริกัน โดยการสร้างพื้นที่สาธารณะพาดผ่านไปบนลานรถไฟ และการเกิดขึ้นของ Start-Up Village หรือรู้จักในนาม “STATION F” PALAIS DE START-UP ที่เกิดใหม่โดยมีศูนย์กลางอยู่บริเวณอาคารโรงซ่อมบำรุงหลังเก่า การฟื้นฟูย่านมาเซนานอร์ทนอกจากจะเป็นความพยายามในการผสานกับเนื้อเมืองของย่านอุตสาหกรรมชายขอบเดิมที่กระจัดกระจายแล้ว วัตถุประสงค์สำคัญคือการกระจายความหนาแน่นของแหล่งงานและแหล่งวัฒนธรรมออกไปจากพื้นที่ศูนย์กลางปารีส รวมทั้งย่านนี้เป็นจุดยุทธศาสตร์เชื่อมต่อระบบรางที่สำคัญ ที่เชื่อมปารีสกับเมืองใหญ่ภูมิภาคทางตอนกลางและใต้ของประเทศ […]

Kamo River, the Life and Culture of Kyoto: คาโมะ แม่น้ำแห่งชีวิตและวัฒนธรรมของเมืองเกียวโต

11/06/2023

นครเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น หรือในชื่อเรียกเดิมว่า ‘เฮอันเกียว’ (Heian-kyo) อันหมายถึง ‘นครหลวงแห่งสันติและความสงบสุข’ เป็นอดีตเมืองหลวงและเมืองศูนย์กลางทางวัฒนธรรมของญี่ปุ่นที่ถูกสร้างขึ้นใน ค.ศ. 749 ปัจจุบันมีอายุกว่า 1,273 ปี ตั้งอยู่ในจังหวัดเกียวโต ศูนย์กลางของเกาะฮนชู ประเทศญี่ปุ่น การออกแบบและการวางผังเมืองมีลักษณะผังแบบตาตาราง (Grid system) โดยมีถนนวิ่งตัดกันในแนวเหนือ-ใต้ และตะวันออก-ตะวันตก ตัดกันเป็นมุมฉาก ที่ได้รับอิทธิพลของการวางผังเมืองจากเมืองฉางอาน ประเทศจีน (Chang’an, China) เช่นเดียวกับเมืองประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่นอย่าง เมืองฟูจิวาระ (Fujiwara-kyo ในปี 694) และเมืองเฮโจ (Heijo-kyo ในปี 710) ในจังหวัดนารา สภาพภูมิศาสตร์ของเมืองตั้งอยู่แอ่งเกียวโต ที่มีภูเขาอยู่รายล้อม และแม่น้ำที่ขนาบข้างทางด้านทิศตะวันออกและตะวันตกทั้งสองฝั่ง หนึ่งในนั้นคือ “แม่น้ำคาโมะ” แม่น้ำแห่งชีวิตและวัฒนธรรมของเมืองเกียวโต แม่น้ำคาโมะ (Kamo River) หรือคาโมะคาวะ (Kamogawa – 鴨川) เป็นหนึ่งในแม่น้ำสายสำคัญที่หล่อเลี้ยงเมืองเกียวโตมาอย่างยาวนาน  ชื่อของแม่น้ำคาโมะมีที่มาจากอักษรคันจิสองตัว คือ คาโมะ (鴨) ที่แปลตรงตัวว่า […]

เมเดยิน: จากเมืองอาชญากรรมสู่เมืองนวัตกรรม

11/06/2023

ย้อนกลับไปราวช่วงต้นคริสต์ทศวรรษที่ 1990s เมืองเมเดยิน (Medellin) ซึ่งเป็นเมืองหลวงของจังหวัดอันเตียวเกีย (Antioquia) ประเทศโคลอมเบีย (Colombia) คือเมืองที่ได้รับการขนานนามจากนิตยสาร Time ว่าเป็น “เมืองที่อันตรายที่สุดในโลก” คำนิยามที่ไม่ค่อยดีนักกลายเป็นคำเรียกแทนชื่อของเมืองเมเดยิน ณ ขณะนั้น ไม่ว่าจะเป็น พื้นที่ก่อการร้าย สงครามกลางเมือง หรือแหล่งค้ายาเสพติดขนาดใหญ่ แต่ในปัจจุบันเมเดยินได้สร้างภาพจำใหม่ให้แก่เมือง บทความฉบับนี้จึงพาทุกท่านไปสำรวจว่า เมืองเมเดยิน มีแนวทางการพัฒนาเมืองอย่างไร ถึงพลิกโฉมจากเมืองอาชญากรรมสู่การกลายเป็นเมืองแห่งนวัตกรรมได้สำเร็จ รู้จักกับเมเดยินในอดีต ปัญหาความขัดแย้งมีอยู่มานานแล้วในเมืองเมเดยินตั้งแต่ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 สงครามกลางเมืองระหว่างกลุ่มกบฏฝ่ายซ้ายที่นำโดยกลุ่มหลักอย่างกองกำลังปฏิวัติติดอาวุธโคลอมเบีย (FARC) กับกองกำลังกึ่งทหารฝ่ายขวาที่มีรัฐบาลสนับสนุน นอกจากนี้ เมเดยินในเวลานั้นยังมีขบวนการค้ายาเสพติดภายใต้การควบคุมของ นายพาโบล เอสโคบาร์ (Pablo Escobar) ผู้ซึ่งเป็นชายที่ได้รับฉายาว่า “ราชาแห่งยาเสพติด” บรรยากาศภายในเมืองอบอวลไปด้วยความกลัว ความกังวล และความกดดัน ไม่มีพื้นที่ไหนในเมเดยินที่รู้สึกปลอดภัยสำหรับประชาชนในเวลานั้น เสียงปืน เขม่าควัน และการฆาตกรรมเกิดขึ้นบ่อยครั้งจนกลายเป็นเรื่องพบเห็นจนชินตา โดยตั้งแต่ปีค.ศ. 1991 เป็นต้นมา เมืองเมเดยินมีอัตราการฆาตกรรมในเมืองสูงถึง 381 ศพ ต่อประชากรจำนวน 100,000 คนต่อปี หรือมีมากกว่า […]

ศิลปะสะท้อนเมือง

11/06/2023

“ศิลปะ” หลายคนคิดว่า ศิลปะก็คือการวาดรูปเรื่อยเปื่อยไปเรื่อย ๆ วาดภาพระบายสี ศิลปะก็มีอยู่แค่นี้ แต่ความจริงแล้ว ศิลปะคือสิ่งที่มนุษย์เป็นผู้สร้างสรรค์ขึ้นมา มีทั้งการแสดงออกทางความรู้สึก ความคิด และอารมณ์จากภาพที่ได้จากความจริงหรือจินตนาการที่คิดฝันขึ้นอย่างมีเจตนา (Fineart.CMU) การสะท้อนปัญหาเมือง ผ่านศิลปะเป็นที่สนใจในโลกปัจจุบัน โดยสื่อศิลปะที่นำเสนอออกมาได้มาจากปัญหาเมืองที่วัยรุ่น Gen ใหม่กำลังพบเจอ ผลของงานศิลปะแต่ละชิ้นจะสะท้อนข้อดีและข้อเสียของเมือง และกลายเป็นสื่อกลางทำให้ผู้เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการพัฒนาเมืองได้รับรู้เห็นปัญหาจากสื่อศิลปะที่แสดงออกมา ศิลปะไม่ได้หมายถึงการวาดภาพออกแบบเท่านั้น การแสดง หนังสั้น สื่อดนตรี ภาพถ่าย รวมไปถึง งานเขียน งานการ์ตูน ก็เป็นสื่อศิลปะ ศิลปะขับเคลื่อนเมืองได้อย่างไร เมือง คือสิ่งที่มีอาคารสถาปัตยกรรมต่าง ๆ รวมกันเป็นจำนวนมาก พื้นฐานของการสร้างเมืองใช้ความคิดศิลปะเข้ามาประยุกต์ นั่นแสดงว่า เมืองเท่ากับความสร้างสรรค์ศิลปะ และความสร้างสรรค์ศิลปะเท่ากับการสรรค์สร้างเมือง พูดง่าย ๆ ก็คือ ศิลปะสร้างสรรค์เมืองและพัฒนาเมืองได้นั่นเอง ตัวอย่างประเทศญี่ปุ่น ได้มีการสร้างสรรค์ภาพวาด Tokyo 100 Views คือโปรเจ็คภาพของ Shinji Tsuchimochi ศิลปินนักวาดภาพประกอบชาวญี่ปุ่น ได้เอาบ้านเมืองของตนมาสร้างสรรค์เป็นผลงาน ถ่ายทอดบรรยากาศของกรุงโตเกียวผ่านภาษาภาพออกมาเป็นผลงาน 100 ชิ้นที่สะท้อนมุมมองของเมืองโตเกียว โดยใช้ลายเส้นที่ดูย้อนยุคมาผสมกับเสน่ห์แบบคอมมิค […]

“โตขึ้นอยากเป็นอะไร” เมืองแบบไหนจะช่วยตอบคำถามนี้

11/06/2023

“ไม่รู้ว่าอยากเป็นอะไร หรืออยากทำอะไร จะทำอย่างไร? ในวันที่โลกกำลังเดินไปข้างหน้า” หากใครที่ยังไม่รู้ว่าแท้จริงแล้วเราอยากเป็นอะไร อยากทำอะไร หรือชอบอะไรกันแน่ สาเหตุส่วนหนึ่งนั้นมันอาจไม่ได้อยู่ที่คุณก็ได้ ถ้าลองนึกย้อนกลับไปยังความทรงจำของคุณในวัยเด็ก คุณอาจจะร้อง อ๋อ! เราเคยอยากเป็นหมอ เคยอยากเป็นนักดับเพลิง หรือเคยอยากเป็นนักบินอวกาศนี่นา แต่คุณคิดไหมว่าในโลกแห่งความเป็นจริงแล้ว มีเพียงกี่คน? ที่จะเคยได้เข้าไปลองสัมผัสกับอาชีพต่าง ๆ เหล่านั้นอย่างแท้จริงในวัยเด็ก ดังนั้นการที่เราตอบคำถามเหล่านั้นไม่ได้ จึงไม่ใช่เรื่องที่ผิดเลย ในเมื่อเมืองของเราอาจไม่มีพื้นที่เปิดโอกาสให้เราได้เข้าไปสำรวจตัวเองและเส้นทางของอาชีพต่าง ๆ มากเพียงพอ เคว้งคว้างเพราะอยู่กับคำถามที่ตอบไม่ได้ว่า ‘โตขึ้นอยากเป็นอะไร?’ จากการศึกษาของ The Australian (2017, as cited in Hedayati, 2017) มีการชี้ให้เห็นว่าเด็กอายุเพียง 8 ปี จะเริ่มมีความใฝ่ฝันถึงเรื่องอาชีพของตนเองในอนาคต แต่กลับกันจากการศึกษาของ Technological Horizons in Education กลับพบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ที่เรียนจบออกมา กลับไม่มีความคิดที่ชัดเจนเกี่ยวกับอนาคตของตนเองเลย หรือแม้กระทั่งผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับวิทยาลัยก็ด้วยเช่นกัน ที่มักจะเผชิญหน้ากับช่องว่างทางด้านทักษะและอาชีพ จนทำให้ต้องเกิดการดิ้นรนหางานที่ความหมายกับตนเองเพิ่ม (Schaffhauser, 2019) ถ้าอย่างนั้นเป็นไปได้หรือไม่ว่า การที่เราจะหาทางออกจากวังวนปัญหาเหล่านี้ได้นั้น เมืองต้องเปิดโอกาสให้เราได้เกิดการเรียนรู้และเมืองจะต้องมีพื้นที่การเรียนรู้ให้แก่เราทุกคน […]

ไม่มีผู้พิการ มีเพียงแต่ “เมืองที่พิการ”

11/06/2023

“มนุษย์” ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้เคลื่อนที่ไปข้างหน้า แต่ “เมืองที่พิการ” ทำให้เราไม่สามารถเคลื่อนที่ไปไหนได้เลย หรือจะกล่าวได้ว่า “คนไม่ได้พิการ แต่สภาพแวดล้อมต่างหากที่พิการ” เพราะเมืองที่ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อคนทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ หรือผู้พิการ ที่มักถูกจำกัดอิสระในการใช้ชีวิต เนื่องด้วยสภาพพื้นที่และสภาพแวดล้อมที่เป็นอุปสรรคในการเข้าถึง สร้างความไม่เท่าเทียมในการเดินทาง และการใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะของคนเมืองทุกกลุ่ม  เมืองที่พิการ (?) เมื่อไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มตัว ในขณะเดียวกันเรามี‘ผู้พิการ’มากกว่า 2.15 ล้านคน คิดเป็น 3.26 % ของจำนวนประชากรทั้งหมดในประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้สูงอายุถึง 56.61 % ของจำนวนผู้พิการทั้งหมด (ข้อมูล วันที่ 31 ธ.ค. 65 จากกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ) และคาดว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามสัดส่วนของผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม การที่เมืองเติบโตอย่างรวดเร็ว ท่ามกลางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานมากมาย กลับไม่มีการออกแบบที่ครอบคลุมการใช้ชีวิตของผู้พิการและผู้สูงอายุอย่างแท้จริง ซึ่งแม้แต่มุมมองของคนเมืองส่วนใหญ่ที่ไม่ได้มีความพิการ ล้วนต่างพูดกันเป็นเสียงเดียวกันว่าการเดินทางในกรุงเทพฯ นั้นมีความยากลำบาก ทั้งทางเดินเท้าที่มีบล็อกอิฐชำรุดไม่สม่ำเสมอ เบรลล์บล็อกที่ไม่สามารถใช้งานได้จริง สิ่งกีดขวาง ฟุตบาทที่สูงกว่ามาตรฐานหรือชันเกินไป จึงปฏิเสธไม่ได้ว่ามุมมองของผู้พิการ ผู้เป็นคนแรกที่ถูกลืมและเป็นคนสุดท้ายที่ถูกนึกถึง ต่างมองว่าการออกแบบสิ่งเหล่านี้ถือเป็นการเผชิญกับฝันร้าย และเป็นไปไม่ได้เลยที่จะสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ ปัญหามากมายที่จะตามมา เช่น […]

1 2 3 4 15