Environment



ยะลา เส้นทาง…สู่ความยั่งยืน

18/02/2022

วันนี้ The Urbanis ขอมาเล่าสาระสำคัญเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาเมืองยะลาไปสู่ความยั่งยืน จากการบรรยายสาธารณะโลกรอบสถาปัตยกรรมผังเมือง ปี 5 ในหัวข้อ ยะลา เส้นทาง…สู่ความยั่งยืน โดย คุณพงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ นายกเทศมนตรีนครยะลา และนายกสมาคมสันนิตบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย หวนกลับสู่ความเจริญ: ยะลาหลังยุคแห่งความไม่สงบ เทศบาลนครยะลามีความเจริญทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคมมาตั้งแต่อดีต แต่พอเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบขึ้น ทุกอย่างก็เปลี่ยนไป ความไม่สงบนี้ได้สร้างความเสียหายให้ยะลาอย่างมาก ความหลากหลายทางวัฒนธรรมในเมือง และความสัมพันธ์ระหว่างคนในเมืองกลายเป็นสิ่งที่ถูกทำลาย คนในเมืองที่ต่างวัฒนธรรมกันก็รู้สึกเป็นอริกับคนในกลุ่มวัฒนธรรมอื่น ๆ สิ่งนี้ทำให้การพัฒนาเป็นไปได้ยากมาก อีกทั้งภาพลักษณ์ของเมืองยะลาก็แย่ลง ประชาชนทั้งภายในและภายนอกมองว่ายะลาเป็นเมืองอันตราย และคนภายนอกก็ไม่อยากมาเที่ยว คนภายในก็อยากจะย้ายไปอยู่ที่อื่น โดยเฉพาะกลุ่มนักเรียน นักศึกษา สิ่งเหล่านี้ได้สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจให้ยะลาอย่างมาก รวมถึงทำให้ยะลาขาดทรัพยากรบุคคลเข้ามาช่วยพัฒนาเมือง อย่างไรก็ตามช่วงปี 59-60 เหตุการณ์ความไม่สงบก็เริ่มคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น การพัฒนาเมืองยะลาจึงเข้าสู่ช่วงของการฟื้นฟู (Recovery Phase ) การบริหารของเทศบาลนครยะลาในช่วงของการฟื้นฟู แบ่งได้ออกเป็น 3 กรอบนโยบายหลัก ๆ คือ การฟื้นฟูเมืองโดยใช้ต้นทุนเมือง การฟื้นฟูเมืองโดยใช้ยุทธศาสตร์ และการฟื้นฟูเมืองโดยใช้เทคโนโลยี การฟื้นฟูเมืองโดยใช้ต้นทุนเมือง กรอบนโยบายการฟื้นฟูเมืองโดยใช้ต้นทุนเมือง โดยยะลาไม่ได้มีนักการเมืองที่มีอำนาจมากพอที่จะเอางบประมาณจำนวนมากมาพัฒนาได้ ยะลาเลยต้องใช้ต้นทุนที่ตัวเองมีอยู่เพื่อพัฒนา ต้นทุนเมืองยะลามีอยู่ […]

ความเกี่ยวข้องระหว่าง มนุษย์ วัฒนธรรม และธรรมชาติ ในงานภูมิสถาปัตยกรรม

11/01/2022

เมื่อกล่าวถึงงานออกแบบฟื้นฟูพัฒนาเมือง หนึ่งในสิ่งสำคัญพื้นฐานส่วนที่ขาดไม่ได้นั่นคืองานจัดการผืนแผ่นดินและที่ว่าง  บทบาทสำคัญของภูมิสถาปนิกที่เข้ามาช่วยพัฒนาเมือง วันนี้ The Urbanis พามาส่องโครงการออกแบบที่ผสมผสานศาสตร์ของภูมิสถาปัตกรรมได้อย่างลงตัว โดยคุณธัชพล สุนทราจารย์ ประธานและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท แลนด์สเคปคอลลาโบเรชัน จำกัด จากการบรรยายสาธารณะโลกรอบสถาปัตยกรรมผังเมือง ปีที่ 5 ในหัวข้อ “Collaboration of Landscape Architects in multidisciplinary design projects” ภูมิสถาปัตยกรรม ความเกี่ยวข้องระหว่าง คน วัฒนธรรม และธรรมชาติ  เมื่อกล่าวถึงวิชาชีพภูมิสถาปัตยกรรม ศาสตราจารย์กิตติคุณเดชา บุญค้ำ ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม จุฬาฯ ตั้งแต่ปี 2520 ได้เคยให้นิยามไว้ว่า ภูมิสถาปัตยกรรมเป็นวิชาชีพด้านการออกแบบและวางแผนกายภาพที่เป็นทั้งวิทยาศาสตร์และศิลปะ เช่นเดียวกับสถาปัตยกรรมและการผังเมือง  ภูมิสถาปัตยกรรมนำปัจจัยทางศิลปะ ธรรมชาติ วิศวกรรมศาสตร์ และสังคมวิทยา มาบูรณาการเพื่อแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการจัดผืนแผ่นดินและที่ว่าง เพื่อความปลอดภัย ความผาสุกและสวัสดิภาพของมนุษย์ โดยยึดหลักการพิทักษ์ผืนแผ่นดิน  คุณธัชพล เล่าว่า เมื่อเราพูดถึงภูมิสถาปัตยกรรม เราจึงนึกถึงการจัดการสิ่งที่อยู่ระหว่างสถาปัตยกรรมกับธรรมชาติ เป็นการนำองค์ความรู้ต่างๆ มาช่วยทำให้ คน […]

Biodivers(C)ity เมืองมีส่วนส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพได้อย่างไร

17/11/2021

รายงานการประเมินทั่วโลก (Global Assessment Report) ปี 2019 ว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) และนิเวศบริการ (Ecosystem Services) สัตว์และพืชประมาณ 1 ล้านสายพันธุ์กำลังเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ รายงานนี้พบว่าระบบนิเวศที่เราพึ่งพาอาศัยอยู่นั้นเสื่อมลงอย่างรวดเร็วกว่าที่เคย ส่งผลกระทบต่อรากฐานทางเศรษฐกิจ การดำรงชีวิต ความมั่นคงด้านอาหาร สุขภาพ และคุณภาพชีวิตในระดับโลก แล้วความหลากหลายทางชีวภาพนั้นส่งผลดีต่อเราอย่างไรบ้าง แล้วการออกแบบและวางผังเมืองจะมีส่วนช่วยอย่างไรได้บ้าง ที่จะทำให้เมืองของเรามีความหลากหลายทางชีวภาพมากขึ้น ความเป็นเมืองส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร? การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพนั้นเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการตัดไม้ทำลายป่า การปล่อยมลพิษสู่อากาศและแหล่งน้ำ ฯลฯ และหลายๆ สาเหตุนั้นเกิดขึ้นใน กระบวนการความเป็นเมือง ที่เรามักคุ้นเคยกับการออกแบบเมืองของเราด้วยถนนลาดยางและอาคารขนาดใหญ่ สิ่งเหล่านี้ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามันต่อผลกระทบต่อความยืดหยุ่น (resilient) ของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  การกำจัดต้นไม้และพืชพรรณต่างๆ และการใช้วัสดุกันซึมในเขตเมืองทำให้การทำงานของระบบนิเวศตามปกติบกพร่อง เช่น การหมุนเวียนของคาร์บอน น้ำ และสารอาหารที่สำคัญ การขาดพืชพรรณทำให้เราต้องเผชิญกับมลพิษ คลื่นความร้อน โรคที่เกิดจากพาหะนำโรค (vector-borne diseases) และผลกระทบด้านลบอื่นๆ ของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  นอกจากนี้ยังส่งผลการมีสุขภาพทางกายและจิตใจของผู้ที่อยู่อาศัยในเมืองอีกด้วย สภาพแวดล้อมในเมืองอาจมีเสียงดังและคุณภาพอากาศต่ำ จากการจราจรหนาแน่นและประชากรหนาแน่น การมีนิเวศบริการและธรรมชาติในบริเวณใกล้เคียงที่มีการออกแบบอย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะสามารถลดความเครียดและความวิตกกังวลและให้ประโยชน์ต่อสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจได้ ถ้าเมืองเรามีความหลากหลายทางชีวภาพ หากเมืองของเรามีความหลากหลายทางชีวภาพ […]

เมืองฟองน้ำ: แนวคิดที่ทำให้เมืองกับน้ำเป็นมิตรของกันและกัน

01/09/2021

บ่อยครั้งที่ฝนตกหนักติดต่อกันหลายวันในฤดูฝน หลายเมืองของประเทศไทยมักประสบปัญหาด้านน้ำ ไม่ว่าจะน้ำท่วม น้ำป่าไหลหลาก น้ำรอการระบาย ฯลฯ เฉพาะปัญหาน้ำรอการระบายในพื้นที่กรุงเทพมหานครก็นำมาซึ่งปัญหาอื่นๆ จนเกิดวลีอย่าง “ฝนตก รถติด” ทว่าปัญหาด้านการจัดการน้ำของเมืองในอนาคตมีแนวโน้มจะรุนแรงกว่าน้ำรอการระบาย หากคือความเสี่ยงเมืองจมน้ำ ตามที่หน่วยงานแหล่งได้คาดการณ์ไว้ว่า กรุงเทพฯ เป็น 1 ใน 11 เมืองทั่วโลก ที่มีความเสี่ยงจมใต้บาดาล อันเป็นมาจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น การทรุดตัวลงของแผ่นดิน และการขยายตัวของเมือง คำถามคือคนกรุงเทพฯ จะยอมรับชะตากรรมดังกล่าว หรือใช้องค์ความรู้หลากหลายศาสตร์สร้างแผนรับมือ กระทั่งปรับวิถีคิดในการใช้ชีวิตร่วมกับน้ำให้ได้  อย่างไรก็ตาม ไทยไม่ใช่ประเทศเดียวที่ประสบปัญหาด้านน้ำในเมือง ด้านประเทศจีนเองก็ประสบปัญหาเรื่องน้ำอย่างรุนแรงเช่นกัน ทั้งในแง่ของการขาดแคลนน้ำ น้ำท่วม และคุณภาพน้ำ เนื่องจากความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของการพัฒนาอุตสาหกรรมและการขยายตัวของเมือง ตลอดจนความถี่ที่เพิ่มขึ้นของเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้ว ส่งผลให้ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ความเสียหายจากอุทกภัยเพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณ ท่ามกลางปัญหาเหล่านี้น้ำท่วมจัดอยู่ในอันดับต้นๆ ของภัยธรรมชาติที่ทำลายล้างมากที่สุดของจีน ปี 2013 รัฐบาลจีน ประกาศใช้แนวทาง เมืองฟองน้ำ (sponge city) อย่างกว้างขวางทั่วประเทศ และได้เปิดตัวโครงการเพื่อให้การสนับสนุนทางการเงิน เพื่อส่งเสริมการดำเนินการตามแนวทางนี้ในเมืองนำร่องที่ได้รับการคัดเลือก  ทั้งนี้ด้วยจุดมุ่งหมายในการเพิ่มการแทรกซึม (infiltration) การคายระเหย (evapotranspiration) และการดักจับและการนำน้ำฝนกลับมาใช้ใหม่ในสภาพแวดล้อมเมือง […]

อย่าให้วิกฤตมันเสียเปล่า : ถอดบทเรียนเหตุระเบิดโรงงานพลาสติก กับการจัดการพื้นที่อุตสาหกรรมในเขตเมือง

05/08/2021

วิกฤตโควิด-19 ยังไม่ทันจางหาย คนกรุงเทพฯ กลับได้เจอวิกฤตซ้อนวิกฤต หลังเกิดเหตุระเบิดขนาดใหญ่ที่โรงงานผลิตเม็ดโฟมพลาสติกในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2564 สร้างความเสียหายให้กับโรงงานและอาคารที่พักอาศัยโดยรอบมหาศาล ความรุนแรงของเพลิงไหม้ส่งผลให้การควบคุมสถานการณ์กินเวลายาวนานมากกว่า 24 ชั่วโมง ผู้คนมากมายในย่านต้องสูญเสียทรัพย์สิน ที่อยู่อาศัย ต้องลำบากกับการอพยพออกจากที่พัก และมีผู้เสียชีวิต 1 รายระหว่างควบคุมเพลิง กระแสของความเห็นอกเห็นใจต่อผู้ได้รับผลกระทบเกิดขึ้นควบคู่กับความไม่พึงพอใจในการบริหารสถานการณ์ของภาครัฐ แต่ประเด็นที่ได้รับความสนใจไม่แพ้กันคือข้อกังขาในผังเมืองของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กับคำถามที่ว่าทำไมโรงงานอุตสาหกรรมที่มีสารเคมีอันตรายถึงตั้งอยู่ท่ามกลางชุมชนและเขตที่พักอาศัยได้? ความขัดแย้งกันของการใช้ประโยชน์ที่ดินของผังเมืองรวมนี้เกิดจากอะไร? และยังมีความเสี่ยงอะไรจากภาคอุตสาหกรรมที่ซุกซ่อนอยู่ในพื้นที่ของเมืองอีกหรือไม่?  เพื่อไม่ให้วิกฤตสูญเปล่า ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) ภายใต้ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านยุทธศาสตร์เมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CE.US) และ ผศ.คมกริช ธนะเพทย์ ประธานหลักสูตรสถาปัตยกรรมผังเมือง ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงร่วมกันจัดเวทีเสวนา มุมมองทางผังเมืองกรณีระเบิดโรงงานกิ่งแก้ว เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร โดยได้เกียรติจากคณาจารย์ประจำภาคผังเมืองฯ ร่วมแลกเปลี่ยนและหาทางออกร่วมกัน ประกอบด้วย รศ.ดร.พนิต ภู่จินดา นายกสมาคมนักผังเมืองไทย และ หัวหน้าภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง ผศ.ดร.ณัฐพงศ์ พันธ์น้อย และ อาจารย์ ดร.พรสรร วิเชียรประดิษฐ์ เมื่อค่ำวันที่ […]

ก่อนคลื่นความร้อน (heat wave) ถึงจุดพีคและเป็นสาเหตุการตายของอันดับ 1 ของคนเมือง

10/07/2021

หลังสถานการณ์โควิด-19 ของ รัฐบริติชโคลัมเบีย ประเทศแคนาดา บรรเทาความรุนแรงได้ไม่นาน ทว่า เมื่อปลายเดือนมิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา กลับมีเหตุที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างรวดเร็วกว่า 700 ราย ในช่วงเวลากว่า 2 สัปดาห์ จากคลื่นความร้อน (heat wave) ที่ส่งผลให้อุณหภูมิของเมืองพุ่งทะลุกว่า 49.5 องศาเซลเซียส ทำลายสถิติเดิมเมื่อ 84 ปีก่อน ที่ 46.6 องศาเซลเซียสไปอย่างขาดลอย หน่วยงานป้องกันโรคติดต่อรัฐบริติชโคลัมเบีย รายงานว่า ตัวเลขการตายจากคลื่นความร้อนสูงกว่าการตายจากไวรัสโควิด-19 หลายเท่า เมื่อคลื่นความร้อนเป็นผู้คร่าชีวิตเมืองถัดจากเชื้อไวรัสโคโรนา ยอดผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อโควิด-19 ทั่วโลกได้ทะลุหลัก 4 ล้านคนไปแล้วเมื่อสัปดาห์แรกของเดือนกรกฎาคม 2564 แต่เหตุการณ์คลื่นความร้อนที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันเมื่อปลายเดือนมิถุนายน 2564 ที่เมืองบริติชโคลัมเบีย ประเทศแคนาดา ที่คร่าชีวิตผู้คนนับน้อยในช่วงเวลาเพียงไม่กี่วัน โดยเฉพาะคนสูงอายุและผู้อยู่อาศัยอย่างโดดเดี่ยวในบ้าน กระทั่งปรากฏเป็นข่าวไปทั่วโลก ทำให้สำนักข่าวท้องถิ่นและสำนักข่าวต่างประเทศ ยกให้คลื่นความร้อนเป็น “นักคร่าชีวิต” รายถัดไปต่อจากโควิด-19 คณะนักวิจัยนำทีมโดย Antonio Gasparrini จาก the London School […]

สวนสาธารณะที่ไม่สาธารณะ กับ ความต้องการพื้นที่สีเขียวที่มากขึ้นในวิกฤตโรคระบาด

21/06/2021

ภาพปก Tree photo created by tirachard – www.freepik.com การระบาดของโควิด-19 ในหลายระลอกที่ผ่านมา กระทบโดยตรงต่อผู้ที่ชื่นชอบการออกกำลังกายกลางแจ้ง เช่น การวิ่งในสวนสาธารณะ เนื่องจากกรุงเทพมหานครมีคำสั่งปิดใช้งานสวนสาธารณะ นับรวมเป็นเวลาหลายเดือนที่พื้นที่สำหรับเสริมสร้างสุขภาวะ ถูกลบไปจากวิถีชีวิตประจำวันคนเมือง คำถามคือในภาวะล็อคดาวน์และกึ่งล็อกดาวน์ในช่วงเวลาที่ผ่านมานั้น มิใช่พื้นที่สีเขียวหรอกหรือที่มีความจำเป็นต่อการใช้ชีวิตเมืองให้สามารถผ่านพ้นวิกฤตไปได้ โดยไม่กระทบร่างกายและจิตใจมากเกินไป กรุงเทพฯ เขียวน้อยลงได้อีกในภาวะโรคระบาด แม้ในภาวะปกติ พื้นที่สีเขียวในกรุงเทพฯเดิมก็มีให้ใช้ประโยชน์ไม่มากอยู่แล้วเมื่อเทียบสัดส่วนพื้นที่สีเขียวในมหานครทั่วโลก ข้อมูลพื้นที่สีเขียวของสำนักงานสวนสาธารณะ สำนักสิ่งแวดล้อม ระบุว่า กรุงเทพฯ มีพื้นที่สีเขียวที่นับรวมจากพื้นที่สวน 7 ประเภททั้งสิ้น 40 ตารางกิโลเมตร (40 ล้านตารางเมตร) ทำให้ประชากร 5,487,876 คนในกรุงเทพฯ (อ้างอิงข้อมูลกระทรวงมหาดไทย และยังไม่รวมประชากรแฝงอีกจำนวนมาก) เข้าถึงพื้นที่สีเขียวได้เฉลี่ยประมาณ 7 ตารางเมตรต่อคน ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานขององค์การอนามัยโลกที่กำหนดไว้ 9 ตารางเมตรต่อคน อ่านต่อ กรุงเทพฯ เขียวได้ แต่อยากเขียวแค่ไหน เมื่อย้อนอ่าน ประกาศกรุงเทพมหานครสั่งปิดสถานที่ชั่วคราว ซึ่งรวมไปถึง สนามกีฬาทุกประเภท สวนสาธารณะ ลานสาธารณะ […]

รั้วรอบ ขอบชิด ปิดประตู : เพียงกรุงเทพฯ “สลายรั้ว” เราจะเข้าถึงพื้นที่สีเขียวได้มากขึ้น

27/05/2021

ภาพปกโดย photo created by mrsiraphol – www.freepik.com บางครั้งการเดินเท้าไปตามถนนใหญ่อาจทำให้เราต้องเจอกับความวุ่นวายและมลพิษมากไปสักหน่อย การได้เดินลัดผ่านสวนหรือพื้นที่สงบ ๆ กว้าง ๆ บ้างก็คงให้บรรยากาศที่ดีกับการเดินในชีวิตประจำวันของเราไม่น้อย ความคิดนี้จะไม่เกินความจริงเลย หากเรากำลังเดินอยู่ในกรุงวอชิงตันดีซี แต่พอเราอยู่ในกรุงเทพฯ มองไปทางไหนก็เจอแต่ตึกและรั้วทึบ ๆ กับถนนใหญ่มหึมาที่มาพร้อมกับทางเดินเท้าขนาดพอดีตัว 3 เหตุผล ทำไมกรุงเทพฯ เป็น “เมืองแห่งรั้ว” เราคงรู้กันดีว่าสวนสาธารณะในกรุงเทพฯ นั้นแสนจะห่างไกลเกินเอื้อมถึง ไม่ได้อยู่ให้เราเดินผ่านได้บ่อย ๆ อยู่แล้ว แต่บางครั้งถึงแม้พื้นที่สาธารณะจะอยู่แค่เอื้อม เราก็อาจจะยังต้องติดอยู่กับถนนกับทางเดินเล็ก ๆ ของเราไปอีกไกล ส่วนใหญ่จะเป็นเพราะรั้วโลหะเจ้ากรรมที่ยั่วให้เราได้เห็นสวน เห็นสนามหญ้า หรือเห็นลานกว้างอยู่ข้างตัว แต่ก็ขวางเราไว้ไม่ให้ไปถึง  ตั้งแต่สวนสาธารณะ มหาวิทยาลัย ไปจนถึงที่ทำการหน่วยงานราชการ ทุก ๆ พื้นที่เหล่านี้ล้วนแต่มีรั้วรอบขอบชิด เข้าได้แค่จุดนี้ ออกได้แค่ทางนี้ ถ้าโชคไม่ดีมาวันที่เขาปิดประตูลงกลอน เราก็อาจจะต้องเดินอ้อมไปเป็นกิโลเมตร ความเป็นเมืองแห่งรั้วของกรุงเทพฯ นี้มีเหตุมาจาก 3 เรื่องหลัก ๆ คือสัณฐานของเมือง การกระจายความเป็นเจ้าของที่ดิน และมุมมองต่อพื้นที่สาธารณะ […]

8 โจทย์การฟื้นฟูสะพานเขียว สู่แนวคิดการออกแบบโครงสร้างเชื่อมต่อ 3 มิติ: เชื่อมการสัญจร เชื่อมระบบนิเวศ เชื่อมสังคมเศรษฐกิจ

06/04/2021

“สีเขียวเชื่อมย่าน สะพานเชื่อมเมือง”  เป็นแท็กไลน์ของโครงการฟื้นฟูสะพานเขียวกรุงเทพฯ (Bangkok Green Bridge) ที่ศูนย์แบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ใช้สื่อสารกับสาธารณะตั้งแต่ปี 2562 แท็กไลน์ 8 พยางค์สะท้อนหัวใจของแนวคิดการฟื้นฟูโครงสร้างลอยฟ้าอายุกว่า 20 ปีแห่งนี้ได้พอสังเขป เช่น การเพิ่ม “ความเขียว” และสร้างการเชื่อมต่อระหว่างสองสวน ชุมชน และเมือง   จุดเริ่มต้นของโครงการฟื้นฟูสะพานเขียวมาจากการที่ กทม. เห็นปัญหาของพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นสภาพทรุดโทรมของสภาพแวดล้อมใต้สะพาน และสภาพเน่าเสียของคลองไผ่สิงห์โต การเป็นพื้นที่ “เกือบอโคจร” ไม่ค่อยมีผู้คนสัญจรผ่าน เนื่องจากจุดขึ้นลงมีน้อยและอยู่ไกลกัน ส่งผลให้สะพานเขียวเคยเป็นพื้นที่เสี่ยงที่ได้รับการร้องเรียนเข้ามามากเป็นอันดับ 2 ของกรุงเทพฯ  เบื้องต้น ความเขียว ความปลอดภัย การเชื่อมต่อ จึงเป็นโจทย์สำคัญของภารกิจเพื่อเมืองในครั้งนี้ ทว่า การเจรจาหารือระหว่าง สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร (สนย.) ตลอดจนการปฏิบัติการออกแบบร่วมกับชาวชุมชนโปโล-ชุมชนร่วมฤดี ภาคีวิชาชีพสถาปนิก และ UddC-CEUS ที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาเกือบ 2 ปีที่ผ่านมา ได้ทำให้โจทย์การออกแบบและฟื้นฟูเพิ่มแง่มุมที่หลากหลาย และทวีความซับซ้อนยิ่งขึ้น  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิรมล เสรีสกุล […]

การพัฒนาย่านนวัตกรรม: กรณีศึกษา CyberTech District กรุงเทพฯ

22/03/2021

ความท้าทายของการพัฒนาย่านนวัตกรรมในทุกวันนี้ คงหนีไม่พ้นโจทย์ที่ว่า จะทำอย่างไรให้นวัตกรรมและเมืองถูกรวบเข้ามาไว้ด้วยกัน ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) กล่าวในการบรรยาย MUS x UDDC International Lecture Series 2021 ไว้ว่า นวัตกรรมที่เรามักคุ้นเคยกันดีที่สุดนั่นก็คือ นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (product innovation) อย่าง smartphone และ smart gadgets ต่าง ๆ และ นวัตกรรมด้านกระบวนการ (process innovation) หากในส่วนของกรอบแนวคิดสำหรับย่านนวัตกรรมที่วิทยากรได้นำเสนอนั้น Area Base Innovation (ABI) ถือได้ว่าเป็นจักรวาลสำคัญของการริเริ่มพัฒนาย่านนวัตกรรม ซึ่ง ABI มีลักษณะที่มีความซับซ้อนซึ่งต้องอาศัยทักษะจากหลากหลายสหสาขาวิชามารวมเข้าด้วยกัน ทั้งนี้ มีองค์ประกอบพื้นฐาน 5 องค์ประกอบ ได้แก่  1) achieve paradigm shift 2) attract investment 3) create job for […]

1 2 3 4 5 9