Environment



ก่อนคลื่นความร้อน (heat wave) ถึงจุดพีคและเป็นสาเหตุการตายของอันดับ 1 ของคนเมือง

10/07/2021

หลังสถานการณ์โควิด-19 ของ รัฐบริติชโคลัมเบีย ประเทศแคนาดา บรรเทาความรุนแรงได้ไม่นาน ทว่า เมื่อปลายเดือนมิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา กลับมีเหตุที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างรวดเร็วกว่า 700 ราย ในช่วงเวลากว่า 2 สัปดาห์ จากคลื่นความร้อน (heat wave) ที่ส่งผลให้อุณหภูมิของเมืองพุ่งทะลุกว่า 49.5 องศาเซลเซียส ทำลายสถิติเดิมเมื่อ 84 ปีก่อน ที่ 46.6 องศาเซลเซียสไปอย่างขาดลอย หน่วยงานป้องกันโรคติดต่อรัฐบริติชโคลัมเบีย รายงานว่า ตัวเลขการตายจากคลื่นความร้อนสูงกว่าการตายจากไวรัสโควิด-19 หลายเท่า เมื่อคลื่นความร้อนเป็นผู้คร่าชีวิตเมืองถัดจากเชื้อไวรัสโคโรนา ยอดผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อโควิด-19 ทั่วโลกได้ทะลุหลัก 4 ล้านคนไปแล้วเมื่อสัปดาห์แรกของเดือนกรกฎาคม 2564 แต่เหตุการณ์คลื่นความร้อนที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันเมื่อปลายเดือนมิถุนายน 2564 ที่เมืองบริติชโคลัมเบีย ประเทศแคนาดา ที่คร่าชีวิตผู้คนนับน้อยในช่วงเวลาเพียงไม่กี่วัน โดยเฉพาะคนสูงอายุและผู้อยู่อาศัยอย่างโดดเดี่ยวในบ้าน กระทั่งปรากฏเป็นข่าวไปทั่วโลก ทำให้สำนักข่าวท้องถิ่นและสำนักข่าวต่างประเทศ ยกให้คลื่นความร้อนเป็น “นักคร่าชีวิต” รายถัดไปต่อจากโควิด-19 คณะนักวิจัยนำทีมโดย Antonio Gasparrini จาก the London School […]

สวนสาธารณะที่ไม่สาธารณะ กับ ความต้องการพื้นที่สีเขียวที่มากขึ้นในวิกฤตโรคระบาด

21/06/2021

ภาพปก Tree photo created by tirachard – www.freepik.com การระบาดของโควิด-19 ในหลายระลอกที่ผ่านมา กระทบโดยตรงต่อผู้ที่ชื่นชอบการออกกำลังกายกลางแจ้ง เช่น การวิ่งในสวนสาธารณะ เนื่องจากกรุงเทพมหานครมีคำสั่งปิดใช้งานสวนสาธารณะ นับรวมเป็นเวลาหลายเดือนที่พื้นที่สำหรับเสริมสร้างสุขภาวะ ถูกลบไปจากวิถีชีวิตประจำวันคนเมือง คำถามคือในภาวะล็อคดาวน์และกึ่งล็อกดาวน์ในช่วงเวลาที่ผ่านมานั้น มิใช่พื้นที่สีเขียวหรอกหรือที่มีความจำเป็นต่อการใช้ชีวิตเมืองให้สามารถผ่านพ้นวิกฤตไปได้ โดยไม่กระทบร่างกายและจิตใจมากเกินไป กรุงเทพฯ เขียวน้อยลงได้อีกในภาวะโรคระบาด แม้ในภาวะปกติ พื้นที่สีเขียวในกรุงเทพฯเดิมก็มีให้ใช้ประโยชน์ไม่มากอยู่แล้วเมื่อเทียบสัดส่วนพื้นที่สีเขียวในมหานครทั่วโลก ข้อมูลพื้นที่สีเขียวของสำนักงานสวนสาธารณะ สำนักสิ่งแวดล้อม ระบุว่า กรุงเทพฯ มีพื้นที่สีเขียวที่นับรวมจากพื้นที่สวน 7 ประเภททั้งสิ้น 40 ตารางกิโลเมตร (40 ล้านตารางเมตร) ทำให้ประชากร 5,487,876 คนในกรุงเทพฯ (อ้างอิงข้อมูลกระทรวงมหาดไทย และยังไม่รวมประชากรแฝงอีกจำนวนมาก) เข้าถึงพื้นที่สีเขียวได้เฉลี่ยประมาณ 7 ตารางเมตรต่อคน ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานขององค์การอนามัยโลกที่กำหนดไว้ 9 ตารางเมตรต่อคน อ่านต่อ กรุงเทพฯ เขียวได้ แต่อยากเขียวแค่ไหน เมื่อย้อนอ่าน ประกาศกรุงเทพมหานครสั่งปิดสถานที่ชั่วคราว ซึ่งรวมไปถึง สนามกีฬาทุกประเภท สวนสาธารณะ ลานสาธารณะ […]

รั้วรอบ ขอบชิด ปิดประตู : เพียงกรุงเทพฯ “สลายรั้ว” เราจะเข้าถึงพื้นที่สีเขียวได้มากขึ้น

27/05/2021

ภาพปกโดย photo created by mrsiraphol – www.freepik.com บางครั้งการเดินเท้าไปตามถนนใหญ่อาจทำให้เราต้องเจอกับความวุ่นวายและมลพิษมากไปสักหน่อย การได้เดินลัดผ่านสวนหรือพื้นที่สงบ ๆ กว้าง ๆ บ้างก็คงให้บรรยากาศที่ดีกับการเดินในชีวิตประจำวันของเราไม่น้อย ความคิดนี้จะไม่เกินความจริงเลย หากเรากำลังเดินอยู่ในกรุงวอชิงตันดีซี แต่พอเราอยู่ในกรุงเทพฯ มองไปทางไหนก็เจอแต่ตึกและรั้วทึบ ๆ กับถนนใหญ่มหึมาที่มาพร้อมกับทางเดินเท้าขนาดพอดีตัว 3 เหตุผล ทำไมกรุงเทพฯ เป็น “เมืองแห่งรั้ว” เราคงรู้กันดีว่าสวนสาธารณะในกรุงเทพฯ นั้นแสนจะห่างไกลเกินเอื้อมถึง ไม่ได้อยู่ให้เราเดินผ่านได้บ่อย ๆ อยู่แล้ว แต่บางครั้งถึงแม้พื้นที่สาธารณะจะอยู่แค่เอื้อม เราก็อาจจะยังต้องติดอยู่กับถนนกับทางเดินเล็ก ๆ ของเราไปอีกไกล ส่วนใหญ่จะเป็นเพราะรั้วโลหะเจ้ากรรมที่ยั่วให้เราได้เห็นสวน เห็นสนามหญ้า หรือเห็นลานกว้างอยู่ข้างตัว แต่ก็ขวางเราไว้ไม่ให้ไปถึง  ตั้งแต่สวนสาธารณะ มหาวิทยาลัย ไปจนถึงที่ทำการหน่วยงานราชการ ทุก ๆ พื้นที่เหล่านี้ล้วนแต่มีรั้วรอบขอบชิด เข้าได้แค่จุดนี้ ออกได้แค่ทางนี้ ถ้าโชคไม่ดีมาวันที่เขาปิดประตูลงกลอน เราก็อาจจะต้องเดินอ้อมไปเป็นกิโลเมตร ความเป็นเมืองแห่งรั้วของกรุงเทพฯ นี้มีเหตุมาจาก 3 เรื่องหลัก ๆ คือสัณฐานของเมือง การกระจายความเป็นเจ้าของที่ดิน และมุมมองต่อพื้นที่สาธารณะ […]

8 โจทย์การฟื้นฟูสะพานเขียว สู่แนวคิดการออกแบบโครงสร้างเชื่อมต่อ 3 มิติ: เชื่อมการสัญจร เชื่อมระบบนิเวศ เชื่อมสังคมเศรษฐกิจ

06/04/2021

“สีเขียวเชื่อมย่าน สะพานเชื่อมเมือง”  เป็นแท็กไลน์ของโครงการฟื้นฟูสะพานเขียวกรุงเทพฯ (Bangkok Green Bridge) ที่ศูนย์แบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ใช้สื่อสารกับสาธารณะตั้งแต่ปี 2562 แท็กไลน์ 8 พยางค์สะท้อนหัวใจของแนวคิดการฟื้นฟูโครงสร้างลอยฟ้าอายุกว่า 20 ปีแห่งนี้ได้พอสังเขป เช่น การเพิ่ม “ความเขียว” และสร้างการเชื่อมต่อระหว่างสองสวน ชุมชน และเมือง   จุดเริ่มต้นของโครงการฟื้นฟูสะพานเขียวมาจากการที่ กทม. เห็นปัญหาของพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นสภาพทรุดโทรมของสภาพแวดล้อมใต้สะพาน และสภาพเน่าเสียของคลองไผ่สิงห์โต การเป็นพื้นที่ “เกือบอโคจร” ไม่ค่อยมีผู้คนสัญจรผ่าน เนื่องจากจุดขึ้นลงมีน้อยและอยู่ไกลกัน ส่งผลให้สะพานเขียวเคยเป็นพื้นที่เสี่ยงที่ได้รับการร้องเรียนเข้ามามากเป็นอันดับ 2 ของกรุงเทพฯ  เบื้องต้น ความเขียว ความปลอดภัย การเชื่อมต่อ จึงเป็นโจทย์สำคัญของภารกิจเพื่อเมืองในครั้งนี้ ทว่า การเจรจาหารือระหว่าง สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร (สนย.) ตลอดจนการปฏิบัติการออกแบบร่วมกับชาวชุมชนโปโล-ชุมชนร่วมฤดี ภาคีวิชาชีพสถาปนิก และ UddC-CEUS ที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาเกือบ 2 ปีที่ผ่านมา ได้ทำให้โจทย์การออกแบบและฟื้นฟูเพิ่มแง่มุมที่หลากหลาย และทวีความซับซ้อนยิ่งขึ้น  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิรมล เสรีสกุล […]

การพัฒนาย่านนวัตกรรม: กรณีศึกษา CyberTech District กรุงเทพฯ

22/03/2021

ความท้าทายของการพัฒนาย่านนวัตกรรมในทุกวันนี้ คงหนีไม่พ้นโจทย์ที่ว่า จะทำอย่างไรให้นวัตกรรมและเมืองถูกรวบเข้ามาไว้ด้วยกัน ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) กล่าวในการบรรยาย MUS x UDDC International Lecture Series 2021 ไว้ว่า นวัตกรรมที่เรามักคุ้นเคยกันดีที่สุดนั่นก็คือ นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (product innovation) อย่าง smartphone และ smart gadgets ต่าง ๆ และ นวัตกรรมด้านกระบวนการ (process innovation) หากในส่วนของกรอบแนวคิดสำหรับย่านนวัตกรรมที่วิทยากรได้นำเสนอนั้น Area Base Innovation (ABI) ถือได้ว่าเป็นจักรวาลสำคัญของการริเริ่มพัฒนาย่านนวัตกรรม ซึ่ง ABI มีลักษณะที่มีความซับซ้อนซึ่งต้องอาศัยทักษะจากหลากหลายสหสาขาวิชามารวมเข้าด้วยกัน ทั้งนี้ มีองค์ประกอบพื้นฐาน 5 องค์ประกอบ ได้แก่  1) achieve paradigm shift 2) attract investment 3) create job for […]

ชุมชนเก่ากับการฟื้นฟูเมือง ย้อน Day 1 ของเส้นทางการมีส่วนร่วมฟื้นฟู “สะพานเขียว”

19/03/2021

เรื่อง/ภาพ โดย ชยากรณ์ กำโชค ทางเดินลอยฟ้าทาสีเขียว เชื่อมต่อสองสวนสาธารณะขนาดใหญ่ ขนาบด้วยรั้วสแตนเลส มีต้นไม้ใหญ่แซมอยู่บ้างข้างทาง มีป้ายและสัญลักษณ์จราจรทางเดินทางจักรยาน พร้อมฉากหลังเป็นกลุ่มอาคารสูงรอบด้าน 360 องศา ทอดสายได้ไกลถึงย่านเพลินจิต-ชิดลม อโศก-สุขุมวิท สามย่าน พระรามสี่ ฯลฯ  ลงตัวด้วยองค์ประกอบทั้งหมด จึงไม่แปลกใจเลยที่ “สะพานเขียว” จะเป็นพื้นที่สาธารณะใจกลางเมือง ที่กำลังได้รับความนิยมจากผู้คนจำนวนไม่น้อย เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวถ่ายรูป หากยังมีองค์ประกอบสำคัญอีกประการหนึ่ง ที่ทำให้สะพานเขียวแตกต่างจากทางเดินลอยฟ้าทั่วไปในเมืองใหญ่แห่งนี้ นั่นคือ ชุมชน อาคารบ้านเรือนโดยรอบโครงการสะพานเขียว คือ ชุมชนโปโลและชุมชนร่วมฤดี ที่ตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ศูนย์กลางเศรษฐกิจใจกลางเมือง ก่อนโครงการก่อสร้างทางเดินลอยฟ้าแห่งนี้จะเริ่มเปิดใช้งานเมื่อปี 2540 เรียกได้ว่า ทั้งสองชุมชนเป็นชุมชนเก่าในพื้นที่ใจกลางเมืองที่ยังปรากฏอยู่แห่งท้ายๆ ของกรุงเทพฯ ก็ว่าได้  ในอดีต การมีอยู่ของทางเดินลอยฟ้าในฐานะ “เพื่อนบ้าน” อาจก่อประโยชน์อยู่บ้างในฐานะพื้นที่เชื่อมต่อการเดินทางและออกกำลังกายในช่วงเช้าและเย็น ทว่า เสียงสะท้อนที่เกิดขึ้นจากชุมชนในด้านหนึ่ง ก็ยากจะปฏิเสธว่า สะพานเขียวยังเป็นพื้นที่อันตราย เสี่ยงต่อการเกิดอาชญากรรม เป็นพื้นที่มั่วสุม ก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมทั้งบนและใต้โครงสร้างสะพาน ที่สำคัญคือตัดแทนชุมชนกับพื้นที่เมืองเสียด้วยซ้ำ  หากมีคำกล่าวที่ว่า “เมืองเป็นปัญหาและทางออกในตัวเอง” สะพานเขียวก็คงไม่ต่างกัน  นี่จึงเป็นที่มาของโครงการฟื้นฟูสะพานเขียว โดย สำนักการโยธา […]

สะพานเขียว : สะพานไทยฟิลเตอร์ญี่ปุ่น

09/03/2021

มากกว่าสะพานเชื่อมสวน แต่เป็นสิ่งที่หลอมรวมองค์ประกอบของ ‘พื้นที่’ ‘จังหวะ’ และ ‘ประสบการณ์’ เข้าด้วยกันอย่างมีสีสัน สิ่งแรกที่หากเราค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับ สะพานเขียว คงเป็นเรื่องของโลเคชั่นดี ๆ สำหรับการถ่ายรูป ถ้าจะให้เจาะจงลงลึกไปกว่านั้นคงต้องบอกว่า “โลเคชั่นถ่ายรูปแนวญี่ปุ่น” เนื่องจากพื้นที่ 1.3 กิโลเมตรของสะพานแห่งนี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับที่พบเห็นได้ตามสื่อภาพยนตร์หรือมิวสิกวิดีโอญี่ปุ่นอยู่บ่อย ๆ จนพอที่จะกล่าวได้ว่าสถานที่แห่งนี้เป็น “องค์ประกอบที่ดี” สำหรับผู้ที่ต้องการได้บรรยากาศของญี่ปุ่นให้หายคิดถึง ในความเป็น ‘พื้นที่’ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดกิจกรรมต่าง ๆ แน่นอนว่าสะพานเขียวเป็นพื้นที่ที่รวมความหลากหลายของผู้คนและกิจกรรมเอาไว้ในรูปแบบของเส้นทาง มุมมองของเด็กวัยรุ่นที่เข้ามาเยี่ยมชมพื้นที่แห่งนี้ คงไม่พ้นกับการเป็น “โลเคชั่นถ่ายรูปแนวญี่ปุ่น” เพราะเส้นทางนี้เปิดมุมมองให้เห็นถึงท้องฟ้าที่ยาวจนสุดขอบ สอดแทรกด้วยเงาของต้นไม้ใหญ่เป็นระยะ และรายล้อมด้วยอาคารบ้านเรือนหลังเล็กน่ารักที่ทำให้เรารู้สึกถึง Filter ของความเป็นญี่ปุ่น เป็นเส้นทางสาธารณะที่เรียบง่ายแต่กลับเพิ่มเรื่องราวให้กับบทสนทนาของผู้คนได้เป็นอย่างดี  ไม่น่าแปลกใจที่ต่างคนต่างแปลกหน้าแต่กลับรู้สึกได้มาเป็นเจ้าของพื้นที่แห่งนี้และทำกิจกรรมร่วมกันท่ามกลางการมองเห็นของคนอื่นได้อย่างเป็นตัวเองแบบไม่ต้องเขินอาย แต่สิ่งที่เป็นเสน่ห์สำคัญของสะพานเขียว คือการเชื่อมต่อ ’จังหวะ’ ของชุมชนและวัยรุ่นได้อย่างลงตัว กิจกรรมที่เกิดขึ้นเป็นปกติ เช่น การค้าขาย การพักผ่อน การออกกำลังกาย ซึ่งเป็นกิจวัตรประจำวันของคนในชุมชน และกิจกรรมที่เกิดขึ้นมาใหม่ เช่น การถ่ายรูป การเต้น การเล่นสเก็ตบอร์ด ตามความสนใจของกลุ่มวัยรุ่นในแต่ละช่วงเวลา    ทั้ง 2 อย่างเป็นกิจกรรมที่แตกต่างแต่กลับเกิดขึ้นด้วยกันไปเป็นตามจังหวะ จะเห็นได้จากการที่ผู้คนรอบข้างแถวนั้นไม่ว่าจะเป็นวัยรุ่นหรือนักท่องเที่ยวที่เข้ามาทำกิจกรรมต่าง […]

ช็องเซลีเซ vs รัตนโกสินทร์ เมื่อทิศทางการพัฒนาถนนสำคัญของเมือง มุ่งสู่การ “เดินได้ เดินดี เดินร่ม เดินเย็น” และ หวังให้คนรักเมืองมากขึ้น

15/01/2021

หลังเข้าศักราชใหม่ได้ไม่ถึง 2 สัปดาห์ แอนน์ ฮิดาลโก นายกเทศมนตรีกรุงปารีส เจ้าของนโยบาย “ปารีส 15 นาที” ที่ทำให้ผู้สนใจด้านเมืองพูดถึงกันทั่วโลกเมื่อปี 2020 ว่าจะออกแบบเมืองโดยให้ชาวปารีเซียงสามารถเดินและปั่นจักรยาน ไปยังจุดหมายการเดินทางสำคัญในชีวิตประจำวันโดยใช้เวลาไม่ถึง 15 นาที  ล่าสุด นางฮิดาลโก ได้ประกาศเมกะโปรเจกต์ Champs-élysées Revamp โดยทุ่มงบประมาณกว่ 305 ล้านดอลลาร์ หรือกว่า 9,000 ล้านบาท ออกแบบถนนซ็องเซลีเซระยะทางประมาณ 2.3 กิโลเมตร ที่ได้ชื่อว่าเป็นถนนที่มีชื่อเสียงและสวยที่สุดในโลกเส้นหนึ่ง ให้กลายเป็นสวนและพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่พิเศษกลางกรุงปารีส โดยมีเป้าหมายลดขนาดพื้นผิวจราจรของรถยนต์ เพิ่มขนาดทางเดินเท้า-เส้นทางจักรยาน และเพิ่มต้นไม้ใหญ่และพื้นที่สีเขียว ไม่เพียงต้องการส่งเสริมคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมเมือง หากเป้าหมายของโปรเจ็กต์ยังหวังกระตุ้นเศรษฐกิจของเมือง ผ่านร้านค้าขนาดเล็กที่จะเพิ่มขึ้นตลอดแนวถนน Feargus O’Sullivan นักเขียนประจำ Bloomberg Citylab เขียนว่า แม้ถนนช็องเซลีเซจะมีชื่อเสียงระดับโลก แต่สำหรับชาวเมืองปารีสเอง ถนนสายสำคัญเส้นนี้กลับไม่เป็นที่รักของคนเมืองเท่าไหร่นัก เนื่องจากขนาดที่ใหญ่ มีสภาพการจราจรติดขัด ก่อมลพิษมหาศาล และมีราคาเช่าสูง ผลสำรวจเมื่อปี 2019 พบว่า ชาวเมืองปารีสกว่า […]

เมืองเนเธอร์แลนด์แข่งรื้อพื้นกระเบื้องเพื่อปลูกต้นไม้ สู่เป้าหมายลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้เมือง

11/01/2021

เมืองกับความเป็นพลวัตเป็นของคู่กัน ความเปลี่ยนแปลงหลายอย่างของเมืองล้วนเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงมุมมอง ตัวอย่างของการปรับมุมมองต่อเมืองเกิดขึ้นที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ หรือ “ประเทศแห่งกระเบื้อง” เห็นได้จากสวนสาธารณะของเมืองหลายแห่งมักปูพื้นด้วยกระเบื้องรูปแบบต่าง ๆ ทว่า ล่าสุดเมืองหลายแห่งในเนเธอร์แลนด์มีโครงการรื้อพื้นกระเบื้อง แล้วแทนที่ด้วยต้นไม้และพืชพรรณธรรมชาติ เช่น เมืองรอตเทอร์ดัม (Rotterdam) หรือที่ใคร ๆ หลายคนขนานนามเมืองนี้กันว่าเป็นเสมือน “ประตูสู่ยุโรป” (Gateway to Europe) เริ่มเพิ่มความเขียวด้วยการรื้อกระเบื้องในพื้นที่สวนรอบบ้านเรือน อาคาร และสำนักงาน และแทนที่ด้วยพุ่มไม้และต้นไม้ แม้จะเป็นจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ แต่ก็เป็นที่สะดุดตาไม่น้อย การรื้อกระเบื้องที่ปูพื้นที่เรียงรายล้อมรอบตัวเป็นการปูทางไปสู่การเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมือง และทำให้เมืองรอตเทอร์ดัมมีความ “เขียว” มากขึ้น  หลายคนเคยได้ยินว่า ปัจจุบันไม่ใช่ยุคสมัยที่ประเทศแข่งประเทศ หากเป็นเมืองแข่งกับเมือง เกิดการแข่งขันรื้อกระเบื้องอย่างดุเดือดในสองเมืองใหญ่ระหว่าง รอตเทอร์ดัม กับ อัมสเตอร์ดัม (Amsterdam) เมืองหลวงแห่งประเทศกังหันลม แม้ช่วงแรกพี่ใหญ่อย่างอัมสเตอร์ดัมจะเอาชนะได้ก่อนก็ตาม แต่ไม่นาน รอตเทอร์ดัมก็ตามมาชิงชนะได้ จากการรื้อกระเบื้องทิ้งไป 47,942 แผ่น ซึ่งมากกว่าพี่ใหญ่ที่ทำได้ทั้งสิ้น 46,484 แผ่น การแข่งขันสร้างผลกระทบทางบวกต่อทั้งสองเมืองอย่างเห็นได้ชัด แต่ละวันสมาชิกสภาท้องถิ่นของทั้งสองเมืองจะได้รับรายงานผลการแข่งขัน และเผยแพร่ต่อไปยังพลเมืองของพวกเขาผ่านช่องทางโซเชียล เพื่อเป็นแรงกระตุ้นในการแข่งขัน ซึ่งถือเป็นการสร้างความตระหนักและการมีส่วนร่วมของภาคพลเมืองในการปรับเปลี่ยนเมืองให้เขียวขึ้นได้อย่างน่าสนใจ ก่อนหน้านี้ […]

ทำไม Norman Foster มั่นใจว่า Covid-19 ทำให้เมืองสมาร์ตและเขียวขึ้น?

07/01/2021

จากข่าวการเริ่มใช้วัคซีน Covid-19 ทำให้หลายคนเริ่มคิดถึงการใช้ชีวิตในยุคหลังโควิดมากขึ้น เนื่องจากที่ผ่านมาต้องยอมรับว่าการระบาดของ Covid-19 สร้างความเปลี่ยนแปลงในทุกแง่มุมของการใช้ชีวิต ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่การใช้ชีวิตรายบุคคลเท่านั้น แต่เมืองก็เปลี่ยนแปลงไป อย่างไรก็ตาม เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่า เมือง มีพลวัต ไม่ตายตัว การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอยู่ตลอด Covid-19 จึงอาจไม่ใช่ตัวการหลักของการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น แต่เป็นเพียงเป็นเพียงแรงกระตุ้นให้การเปลี่ยนแปลงเกิดเร็วขึ้นเท่านั้น สถาปนิก Norman Foster เขียนไว้ใน The Guardian ว่า ในอดีตเมืองเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาอยู่แล้ว ดังเช่นกรุงปารีสและลอนดอนที่เคยเป็นมหานครที่ใหญ่ที่สุดของโลกในช่วงหนึ่งของประวัติศาสตร์ แต่ปัจจุบันก็ถูกแซงหน้าด้วยอีกหลายเมืองในทวีปเอเชียจึงกล่าวได้ว่า การเปลี่ยนแปลงของเมืองเกิดขึ้นทุกชั่วขณะ เป็นไปตามวิวัฒนาการและเทคโนโลยี Foster ยกตัวอย่างเหตุการณ์ไฟไหม้ในลอนดอนเมื่อปี 1666 ที่นำมาสู่การก่อสร้างตึกด้วยอิฐแบบทนไฟ หรือการระบาดของอหิวาตกโรคในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ทำให้ต้องวางระบบท่อประปาใหม่ทั้งเมือง เพื่อยกเลิกการใช้แม่น้ำเธมส์เป็นสถานที่ทิ้งสิ่งปฏิกูล หรือการเข้ามาของรถยนต์ที่ทำให้ถนนหนทางสะอาดขึ้น แต่ท้ายที่สุดก็นำมาซึ่งมลพิษในปัจจุบัน ทุกเหตุการณ์ล้วนแล้วแต่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับเมืองไม่ช้าก็เร็ว ต่อให้ไม่มีไฟไหม้หรือการระบาดของอหิวาตกโรค ระบบการบำบัดน้ำเสียและการป้องกันอัคคีภัยก็คงเกิดขึ้นอยู่ดีในอีกไม่กี่ปีให้หลัง แม้ Covid-19 จะทำให้การใช้ชีวิตเราเปลี่ยนไป แต่ก็ไม่อาจสรุปได้ว่าการใช้ชีวิตแบบรักษาระยะห่างจะกลายเป็นรูปแบบการใช้ชีวิตในอนาคตหลังโควิด เพราะเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์อย่างการระบาดครั้งใหญ่ของ Spanish Flu ในปี 1918 สิ่งที่ตามมาในช่วงปี 1920 กลับเป็นการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม ที่ตามมาด้วยการสร้างสถานที่พบปะใหม่ๆ อย่างห้างสรรพสินค้า […]

1 2 3 4 7