เพราะเป็นคนกรุงเทพฯ จึงเจ็บปวด : เมืองไร้แสง ภัยจึงมี

01/09/2020

เคยไหม? เวลาเดินกลับบ้านคนเดียวในซอยเปลี่ยวตอนกลางคืน จู่ๆ คุณก็รู้สึกขนลุก ใจหวิว เสียวสันหลัง เหมือนมีใครเดินตามตลอดเวลา พอหันกลับไปก็ไม่มีอะไร นานเข้าคล้ายว่าเราเป็นโรคหวาดระแวงไปเสียแล้ว มันไม่ใช่เรื่องแปลกที่คุณจะรู้สึกเช่นนั้น เพราะจากสถิติการรับแจ้งกลุ่มคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ ภายในพื้นที่กรุงเทพฯ ช่วง พ.ศ. 2554 – 2558 พบว่า คดีวิ่งราวทรัพย์, กรรโชกทรัพย์, ชิงทรัพย์ และปล้นทรัพย์ ไม่ได้มีแนวโน้มลดลงแต่อย่างใด หนำซ้ำบางคดียังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อยอีกด้วย เช่น คดีปล้นทรัพย์ที่มีจำนวนรับแจ้ง 56, 106, 105 , 113 และ 114 คดีตามลำดับ สอดคล้องกับผลสำรวจจากหน่วยวิจัยระดับโลก Economist Intelligence Unit ที่จัดอันดับกรุงเทพฯ ติดกลุ่มเมืองไม่ปลอดภัยที่สุดในโลก 12 ลำดับสุดท้าย และติดอันดับ 4 เมืองที่เกิดก่อการร้ายบ่อยและรุนแรงสูง เมื่อเทียบกับผลสำรวจสภาพปัญหาการเดินเท้าในพื้นที่กรุงเทพฯ ปี 2558 ของศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) ก็พบว่า ปัญหาสำคัญต่อการเดินเท้าในกรุงเทพฯ คือ ปัญหาด้านความปลอดภัย ประกอบด้วยปัญหาอันตรายจากอาชญากรรม […]

ความสัมพันธ์ระหว่างเรา : คนกับพื้นที่เมือง และการพัฒนาพื้นที่สาธารณะอย่างมีชีวิตชีวา

01/09/2020

พื้นที่สาธารณะคืออะไร ใช้ทำอะไรได้บ้าง ‘พื้นที่สาธารณะ’ (Public Space) เป็นการใช้พื้นที่ทำกิจกรรมร่วมกันโดยไม่ได้จำกัดว่าจะเป็นรูปแบบไหน เช่น ถนน ทางเดิน สวนสาธารณะ สนาม ลานชุมชน ลานเมืองเป็นต้น ซึ่งสามารถเข้าใช้พื้นที่ได้โดยไม่ต้องขออนุญาต ทั้งยังเป็นพื้นที่ที่สามารถเข้าถึงได้หรือแบ่งปันร่วมกันสมาชิกทุกๆ คน พื้นที่สาธารณะจึงเป็นพื้นที่ที่สามารถเข้าถึงได้ในเชิงกายภาพซึ่งสามารถมองเห็นได้จากทุกคนและมีการเข้าถึงได้มากกว่าพื้นที่ส่วนตัว นอกเหนือจากพื้นที่ทางกายภาพแล้ว จะต้องสร้างความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันระหว่างคนกับสถานที่ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะสร้างให้พื้นที่สาธารณะเกิดการใช้งานอย่างมีชีวิตชีวาคือ การสร้างให้เกิดปฏิสัมพันธ์ของผู้คน ดังนั้นพื้นที่สาธารณะจะต้องมีการเข้าถึงพื้นที่ การเชื่อมต่อที่ดี ความรู้สึกสบาย ปลอดภัย บรรยากาศที่เชื้อเชิญ และมีกิจกรรมเพื่อสนับสนุนให้เกิดการเข้าสังคมของผู้ใช้พื้นที่ กรุงเทพฯ vs วอร์ซอ กรุงเทพมหานครเป็นเมืองขนาดใหญ่มีพื้นที่กว่า 1,569 ตร.กม. และมีประชากรกว่า 10 ล้านคน เมื่อเปรียบเทียบแล้วเมืองวอร์ซอมีพื้นที่ 517 ตร.กม. มีประชากร 2.5 ล้านคน กล่าวคือวอร์ซอมีขนาดเล็กกว่ามาก เห็นได้ว่าเมื่อเปรียบเทียบพื้นที่เมืองต่อจำนวนประชากรกรุงเทพฯ มีพื้นที่ต่อคนน้อยกว่าคนวอร์ซอถึงร้อยละ 25 อีกทั้งเมืองวอร์ซอยังมีพื้นที่สีเขียวโดยรวมกว่าร้อยละ 40 ของพื้นที่เมืองและสัดส่วนของพื้นที่สาธารณะยังมีสูงถึงถึง 62 ตร.ม.ต่อคน แต่คนกรุงเทพฯ มีเพียง 6.2 ตร.ม.ต่อคน หรือต่างกันกว่า […]

จากม่านรูดสู่ออฟฟิศสร้างสรรค์ : มุมมองเมืองผ่านสายตานักออกแบบ

01/09/2020

ภาพ : หฤษฎ์ ธรรมประชา เมื่อเอ่ยถึงชื่อ ถ.ประดิพัทธิ์ นอกจากภาพจำอย่างการเป็นถนนสายของกินที่คึกคักแหล่งรวมโรงแรมที่พักของชาวต่างชาติ และสถานสังสรรค์ยามราตรีแล้ว ประดิพัทธิ์ในทศวรรษที่ผ่านมายังเต็มไปด้วยการเปลี่ยนผ่านเชิงกายภาพและการไหลเวียนของผู้คนที่สำคัญจนอาจนำไปสู่การปรับประสานเป็นย่านประดิพัทธิ์ใหม่เช่นปัจจุบัน หมุดหมายสำคัญหนึ่งของการเปลี่ยนผ่านบริเวณโดยรอบนี้คือการตัดผ่านของรถไฟฟ้าสายสุขุมวิทที่ไม่เพียงเอื้อให้เกิดการเชื่อมต่อการเดินทางเท่านั้น แต่ยังดึงดูดให้เกิดการลงทุนและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ที่พื้นที่ ประดิพัทธิ์ในวันนี้จึงเต็มไปด้วยโปรเจ็กน้อยใหญ่ เช่น คอนโด ร้านอาหาร คาเฟ่ชิคๆ ที่เริ่มเข้ามาเปิดตัวและแทบไม่น่าเชื่อที่ ซ.ประดิพัทธิ์ 17 นี้มีโครงการอาคารสำนักงานอย่าง 33 Space ในบรรยากาศเป็นกันเองซ่อนตัวอยู่ก่อนกระแสพื้นที่สร้างสรรค์จะเริ่มเป็นที่สนใจในประเทศไทย ถ้าจะพูดให้จ๊าบสมวัยหน่อยก็ต้องบอกว่า ที่ 33 Space นี้ช่าง Hipster before it was cool! ในเชิงพื้นที่ 33 Space เป็นอาคารสำนักงานที่มีขอบเขตแน่ชัดและอยู่ผสมกลมกลืนกับ ซ.ประดิพัทธิ์ 17 มานานจนเป็นส่วนหนึ่งของคนในย่านไปแล้ว อีกทั้งที่นี่ยังวางแผนระบบการอยู่ร่วมกันที่ค่อนข้างเอื้อให้คนทำงานใช้ชีวิตอย่างครบวงจร ทั้งการมีโรงอาหารกลาง มีลานจอดรถ มีแม่บ้านช่วยทำความสะอาด และมีพนักงานรักษาความปลอดภัยดูแลตลอด 24 ชม. บรรยากาศภายในจึงดึงดูดทั้งผู้ประกอบการรวมถึงคนทำงาน และความคึกคักของถนนสายของกินอย่างประดิพัทธิ์ก็ช่วยเติมสีสันให้การทำงานและการใช้ชีวิตในย่านนี้ จากม่านรูดสู่พื้นที่สร้างสรรค์ แรกเริ่มเดิมที 33 space เกิดขึ้นจากการปรับปรุงพื้นที่ม่านรูดและห้องพักรับรองแขกระดับสูงที่หมดสัญญาเช่ามาแปลงโฉมเป็นออฟฟิศขนาดกะทัดรัดที่ยังคงรูปแบบสถาปัตยกรรมเก่าไว้ ความเป็นมิตรของพื้นที่ […]

20 ปีของการพัฒนาเมือง : บทเรียนที่แสนเจ็บปวด La Confluence และ มักกะสัน

01/09/2020

หลายคนคงคุ้นเคยกับพื้นที่ขนาดใหญ่ใจกลางเมืองกรุงเทพฯ อย่างพื้นที่สวนลุมพินีซึ่งมีขนาด 360 ไร่ หรือพื้นที่สนามหลวงใจกลางเกาะรัตนโกสินทร์ เเต่อาจจะมีไม่กี่คนที่รู้จักพื้นที่ขนาดใหญ่อย่างพื้นที่มักกะสันที่มีขนาดใหญ่กว่า 700 ไร่ โดยมีขนาดเป็น 1.3 เท่าของพื้นที่สวนลุมพินี หรือเปรียบได้กับสนามหลวง 9 เเห่งด้วยกัน เเต่ปัจจุบันพื้นที่มักกะสันยังถูกปล่อยให้ร้างท่ามกลางการพัฒนาของพื้นที่อื่นๆ โดยรอบ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับพื้นที่ La Confluence ในประเทศที่พัฒนาเเล้วอย่างฝรั่งเศส ซึ่งเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมเก่าเเก่ใจกลางเมืองที่เคยถูกปล่อยให้ร้างเเละส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเชื่อมต่อกับเนื้อเมืองโดยรอบ โดยในบทความนี้จะอธิบายถึงขั้นตอนเเละเเนวคิดในการเเก้ไขปัญหาพื้นที่ลักษณะนี้ ผ่านกระบวนการวางผังเเละออกเเบบเมืองจนเป็นรูปธรรมภายในระยะเวลาเพียงเเค่ 20 ปี โครงการพัฒนาและฟื้นฟูพื้นที่เมืองลียงหรือ “La Confluence” นั้นตั้งอยู่ในพื้นที่อุตสาหกรรมเก่าเเก่ที่มีขนาดใหญ่กว่า 1.5 ตร.กม. โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากการที่โรงงานอุตสาหกรรมที่เคยตั้งอยู่บริเวณพื้นที่เริ่มมีการปิดกิจการเเละย้ายออกจากพื้นที่ จึงเป็นผลให้พื้นที่กลายเป็นพื้นที่รกร้าง เสื่อมโทรมเเละไม่น่าอยู่อาศัย ผู้คนต่างพยายามหลีกเลี่ยงการเดินทางมายังพื้นที่บริเวณนี้ เพราะนอกจากจะเป็นที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรมเเล้ว ยังเป็นย่านที่อยู่อาศัยของชนชั้นเเรงงาน รวมถึงคุก St.Paul ทั้งๆ ที่บริเวณนี้นอกจากจะมีสถาปัตยกรรมของสถานีรถไฟเก่าเเก่อย่างสถานี Perrache เเล้ว ยังเป็นพื้นที่ที่อยู่บริเวณเเหลมของเกาะใจกลางเมืองลียง ที่เป็นจุดตัดของเเม่น้ำสายสำคัญอย่างเเม่น้ำโซน (Saone) เเละแม่น้ำโรน (Rhone) ที่มีมุมมองของคุ้งน้ำที่สวยงามซึ่งเป็นทำเลที่มีศักยภาพมาก จากทำเลที่ตั้งที่เชื่อมต่อกับตัวเมืองทั้งฝั่งตะวันตกเเละฝั่งตะวันออกได้ จากการที่พื้นที่ที่มีศักยภาพระดับนี้ เเต่กลับถูกทิ้งร้างเเละเป็นที่หลีกเลี่ยงของผู้คนในเมือง ทางภาครัฐจึงได้มีการเสนอให้มีการบูรณะฟื้นฟูเมืองบริเวณนี้ โดยนอกจากจะเป็นการใช้พื้นที่ให้เหมาะสมกับศักยภาพที่มีอยู่เเล้ว ยังเป็นโอกาสในการเชื่อมต่อพื้นที่บริเวณนี้กับพื้นที่ด้านข้าง รวมถึงเป็นการขยายศูนย์กลางเมือง ไปทางใต้ของเกาะมากขึ้น ซึ่งจากเดิมการพัฒนาของเมืองลียงจะหยุดอยู่เเค่ที่สถานี Perrache ที่เปรียบเสมือนกำเเพงที่เเบ่งเกาะออกเป็น 2 ส่วน นั่นคือส่วนเหนือเเละส่วนใต้ ซึ่งผลจากการพัฒนาฟื้นฟูพื้นที่บริเวณนี้ จะเป็นการเชื่อมเเกนเหนือ-ใต้ของเมือง โดยจุดประสงค์หลักคือ การเพิ่มความหนาเเน่นพร้อมกับการสร้างพื้นที่สาธารณะเเละพื้นที่สีเขียวให้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชนทุกเพศ ทุกวัยเเละทุกกลุ่มรายได้ให้สามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียม รวมถึงการสร้างความสมดุลระหว่างจำนวนของประชากรกับการใช้งานของพื้นที่โดยมีธีมหลักในการออกเเบบคือ เเม่น้ำสายสำคัญทั้ง 2 สายที่ขนาบข้างพื้นที่โครงการ โดยโครงการเเบ่งออกเป็น 2 ระยะ เเละมีระยะเวลาในการดำเนินงานทั้งหมด 20 ปี ซึ่งในระยะเเรก จะเป็นการพัฒนาพื้นที่ฝั่งตะวันตก หรือพื้นที่ที่อยู่ติดกับเเม่น้ำโซน (Saone) โดยมีเเนวคิดหลักคือ การพัฒนาให้กลายเป็นเมืองตัวอย่าง ผ่านการผสมผสานการใช้งานของพื้นที่ที่มีความหลากหลาย ซึ่งประกอบไปด้วย พื้นที่อยู่อาศัยเเละสำนักงาน รวมถึงพื้นที่สาธารณะ โดยลักษณะสัณฐานเดิมของพื้นที่บริเวณริมเเม่น้ำโซน (Saone) นั้น […]

Jobs-Housing Unbalance เมื่อกรุงเทพฯ มีจำนวนบ้านและแหล่งงานไม่สมดุล

01/09/2020

ปัญหาการจราจรส่งผลให้รถติด มลพิษเยอะ คนป่วย คงไม่ต้องบอกว่า กรุงเทพมหานคร เป็นหนึ่งในเมืองที่รถติดที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ศูนย์วิจัยกสิกรไทยพึ่งเผยผลสำรวจว่าคนกรุงเทพฯ เสียโอกาสทางเศรษฐกิจจากการที่ต้องติดอยู่ในท้องถนนคิดเป็นมูลค่าประมาณ 60 ล้านบาทต่อวัน หรือคิดเป็นประมาณ 11,000 ล้านบาทต่อปี (เทียบเท่ากับมูลค่าลงทุนของรถไฟฟ้า 1 สายเลยทีเดียว) และล่าสุด Uber พึ่งเผยผลสำรวจว่าคนกรุงเทพฯ จะต้องเสียเวลาโดยเฉลี่ยไป 72 นาที หรือคิดเป็น 24 วันต่อปีกับสภาพรถติดและการหาที่จอดรถ นอกเหนือไปจากมูลค่าทางเศรษฐกิจแล้ว รถติดยังทำให้คนกรุงเทพฯ มีปัญหาเรื่องระบบทางเดินหายใจเพิ่มมากขึ้น จากข้อมูลสถิติการเจ็บป่วยของกองวิชาการสำนักการแพทย์กรุงเทพมหานครยังระบุว่าคนกรุงเทพฯ ยังมีแนมโน้มที่จะเป็นโรคระบบทางเดินหายใจเพิ่มสูงมากขึ้นทุกๆ ปี เฉลี่ยปีละ 20,000-30,000 ราย ไม่ว่าจะเป็นโรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด โดยมีสาเหตุหลักมาจากปริมาณมลพิษในบรรยากาศที่เพิ่มสูงขึ้น เช่น ฝุ่นละอองจากควันรถยนต์ เป็นต้น คำถามสำคัญคือ ทำไมกรุงเทพฯ ถึงรถติดกว่าเมืองอื่นๆ ทำไมคนกรุงเทพฯ ต้องมีต้นทุนด้านเวลา และเศรษฐกิจที่มากกว่าคนเมืองอื่นๆ หากพิจารณาในเชิงผังเมืองแล้ว คำตอบคงมีอยู่อย่างมากมายไม่ว่าจะเป็น ระบบโครงสร้างพื้นฐานไม่ครอบคลุม ไม่มีประสิทธิภาพ เช่น รถไฟฟ้าไม่ครอบคลุม พื้นที่ถนนน้อย หรืออาจจะเป็นเรื่องความไม่ต่อเนื่องของระบบการเดินทาง นโยบายไม่ส่งเสริมให้เดินทางอย่างอื่นแต่เน้นส่งเสริมให้ใช้รถยนต์เป็นต้น ความไม่สมดุลของจำนวนบ้านและจำนวนแหล่งงานที่กระจายตัวอยู่ภายในเมือง  ความไม่สมดุลนี้ส่งผลอย่างไรกับรถติด ลองคิดง่ายๆ ดูว่าถ้าคนกรุงเทพฯ หลายล้านคนที่อาศัยอยู่นอกเมือง ทุกคนต้องขับรถเข้ามาทำงานในพื้นที่แถวปทุมวัน สีลม สาทร […]

เมือง Łódź : ปรับโรงงานร้าง สร้างการเรียนรู้

29/08/2020

เมื่อ “คน” คือโจทย์สำคัญของเมือง คุณอาจจะไม่ค่อยคุ้นชื่อกับเมือง Łódź (ออกเสียงว่า “วูช”) ประเทศโปแลนด์เท่าไหร่นัก อาจเพราะไม่ใช่เมืองหลวงของประเทศ แต่ด้วยแผนพัฒนาเมืองในปี 2020 ที่เริ่มวางแผนและดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2012 เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตคนเมือง ดึงดูดนักลงทุนและพัฒนาด้านเศรษฐกิจของเมือง ด้วยการทุ่มพละกำลังในการฟื้นฟูเมืองซึ่งมิได้มุ่งเน้นแต่การปรับโครงสร้างและส่วนประกอบของเมือง แต่ยังให้ความสำคัญกับการเริ่มจาก “พลเมือง” ที่จะเป็นทั้งฟันเฟือนในการขับเคลื่อนและผู้ที่จะใช้งานพื้นที่เมือง จึงทำให้เมืองนี้มีความน่าสนใจและอาจนำมาเป็นบทเรียนสำคัญให้กับเราได้เป็นอย่างดี เมือง Łódź เป็นเมืองอุตสาหกรรมสิ่งทอเก่าที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของประเทศโปแลนด์ มีประชากรประมาณ 700,000 คน ห่างจากเมือง Warsaw เมืองหลวงของโปแลนด์ประมาณ 119 กิโลเมตร มีสิ่งปลูกสร้าง และส่วนประกอบที่หลากหลาย อาทิ ที่พักอาศัยแบบตึกแถว พระราชวังกว่า 27 แห่ง พื้นที่สีเขียวทั้งในรูปแบบของสวนสาธารณะ สวนขนาดหย่อม พื้นที่ระหว่างอาคารที่ถูกปรับปรุงให้บรรยากาศโดยรอบของเมืองน่ามองยิ่งขึ้น และโรงงานเก่ากว่า 200 แห่งที่บางส่วนกลายมาเป็นไฮไลต์สำคัญของเรื่องราวในครั้งนี้ สังคมได้เรียนรู้ คือ ผลตอบแทนทางสังคมที่คุ้มค่าที่สุด จากงานวิจัยในหลายส่วนในเมืองนี้ชี้ให้เห็นว่า คนมีความเข้าใจในเมือง Łódź และองค์ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเมืองค่อนข้างน้อย ซึ่งส่งผลต่อเนื่องไปทั้งความรู้สึกรับผิดชอบต่อเมือง และการใช้งานเมืองในลักษณะต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้าไปใช้พื้นที่สาธารณะของเมือง ยกตัวอย่างว่า […]

3 ย่าน: เยาวราช/เพลินจิต/พระประแดง ในความนึกคิดของนิสิตผังเมือง

20/08/2020

ย่านแต่ละย่านต่างมีรสชาติเป็นของตัวเอง มีทั้งเรื่องราว เรื่องเล่า การออกแบบที่สะท้อนบุคลิกของผู้คนที่อาศัยอยู่ The Urbanis ชวนสำรวจ 3 ย่านที่มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นเยาวราช ย่านเก่าแก่ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลก, เพลินจิต ย่านธุรกิจใจกลางเมือง และพระประแดง ย่านที่เต็มไปด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรมผ่านมุมมองของนิสิตภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้นปีที่ 4 ทั้ง 3 คน เตรียมผูกเชือกรองเท้าให้พร้อมแล้วเดินสำรวจพร้อมกันในบทความนี้ได้เลย… A neighborhood/ศุภิฌา สุวรรณลักษณ์ ว่าด้วยความเป็นย่าน ย่านเปรียบเสมือนหน่วยย่อยของพื้นที่ทางสังคมของเมือง การเกิดย่านของมนุษย์นั้นเกิดจากกระบวนการที่ประกอบสร้างขึ้นตามความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมของผู้คนในย่าน ทั้งในระดับปัจเจกบุคคลและสาธารณะ แต่ทั้งนี้การจะพัฒนาเมืองไปสู่สิ่งที่สร้างความสุขในการใช้ชีวิตได้จริงนั้น ไม่อาจเกิดขึ้นได้ง่าย หากในกระบวนการวางผังเมืองหรือการก่อสร้างตึกอาคารละเลยที่จะคำนึงถึงหนึ่งในหัวใจสำคัญที่สุดของเมือง นั่นคือ การกระตุ้นให้เกิดปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้คนในเมือง ซึ่งสิ่งนี้จะนำไปสู่สำนึกของชุมชนจนถึงระดับย่านที่เข้มแข็งยิ่งขึ้น ย่านที่ดีประกอบไปด้วยผู้คน กิจกรรม และเวลาอันเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างในแต่ละพื้นที๋สภาพแวดล้อมทางกายภาพของย่าน ซึ่งเกิดจากองค์ประกอบหลายส่วน เช่น สถาปัตยกรรมที่ครอบคลุมพื้นที่ส่วนตัว หรือพื้นที่สาธารณะ รวมไปถึงคุณค่ามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้และไม่สามารถจับต้องได้ เช่น ระบบเศรฐกิจ-สังคม วิถีชีวิต ภูมิปัญญา อาหาร เป็นต้น โดยย่านเยาวราชนั้น มีองค์ประกอบดังที่กล่าวข้างต้นที่ทำให้ผู้คนทั้งภายในและภายนอกย่านนี้สามารถที่จะรับรู้ได้ถึงการเข้าย่าน-ออกย่านหรือความเป็นย่านได้เป็นอย่างดี แสดงให้เห็นถึงการทำให้ผู้คนมีความรู้สึกและรับรู้ได้ถึงการ ‘เป็นส่วนหนึ่ง’ ของย่านเยาวราชได้อย่างชัดเจน […]

คุยกับ รศ.ดร.ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์ เมื่อเพศสภาพไม่ได้มีแค่หญิงชาย เมืองจึงสะท้อนและตอกย้ำความไม่เท่าเทียมในสังคม

17/08/2020

เรื่อง : สหธร เพชรวิโรจน์ชัย ‘เมือง’ เป็นศูนย์กลางของความหลากหลาย ผู้คนต่างฐานะ เชื้อชาติ ศาสนา และรวมถึงเพศสภาพต่างเข้ามาสังสรรค์และสัมพันธ์ภายในเมือง และความหลากหลายเหล่านี้เองที่ทำให้โลกมองเห็นความ ‘ไม่เท่าเทียม’ ระหว่างกลุ่มคนได้แจ่มชัดขึ้น แต่ในด้านกลับ สมรภูมิของการต่อสู้เพื่อความหลากหลายจึงเกิดในพื้นที่เมืองเป็นสำคัญ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ประเด็นความไม่เท่าเทียมเป็นสิ่งที่ถูกยกมาพูดอย่างจริงจังในทุกมิติของสังคม หนึ่งในนั้นคือมิติเรื่องเพศที่มีการเรียกร้องสิทธิ เสรีภาพ และความเท่าเทียมมาทุกยุคทุกสมัย ซึ่งไม่ใช่เพียงเฉพาะความเท่าเทียมระหว่างหญิงชายเท่านั้น แต่ยังรวมถึงกลุ่มคนเพศหลากหลายด้วยเช่นกัน เพราะแท้จริงแล้วเพศสภาพมีความลื่นไหลได้หลากหลาย ทว่ามนุษย์เรากลับมองเห็นเพียงแค่สองเพศหญิงชายเท่านั้น ช่วงเวลาที่ผ่านมาประเด็นเหล่านี้จึงกลายเป็นที่ถกเถียงมากขึ้น การเรียกร้องต่างๆ ในปัจจุบันจึงมีรายละเอียดซับซ้อนยิ่งกว่าเดิม เราจึงชวนคุยกับ รศ.ดร.ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ สาขาวิชาการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้ที่ศึกษาด้านเพศสภาพมาอย่างยาวนาน ประเด็นพูดคุยในวันนี้ว่าด้วยความไม่เท่าเทียมทางเพศที่เกิดในเมือง เพศสภาพกับบทบาทต่อการสร้างเมือง ไปจนถึงปัญหาพื้นที่สาธารณะที่เกิดจากการมองแค่สองเพศ เพื่อหาคำตอบว่าเมืองที่เท่าเทียมควรมีหน้าตาอย่างไร  ไม่นานมานี้คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต แต่ก็มีการถกเถียงว่ามันไม่ใช่การสมรสเท่าเทียม ทำให้มีคนกลุ่มหนึ่งออกมาแสดงความคิดเห็นว่า “ขนาดหญิงชายยังไม่เท่าเทียมเลย แล้วเพศหลากหลายจะเท่าเทียมได้ยังไง” อาจารย์มีความคิดเห็นกับเรื่องนี้อย่างไร ต้องเริ่มมองจากวิธีที่รัฐไทยจัดการเรื่อง “ครอบครัว” ในความหมายของเพศก่อน เพราะกลุ่มกฎหมายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่พูดถึงการหมั้นและการสมรสยังมีปัญหาอยู่ แปลว่าคนที่ไม่ใช่รักต่างเพศ (non-heterosexual) ที่จะมาสมรสกัน คุณก็จะเจอปัญหาแบบเดียวกับที่รักต่างเพศ (heterosexual) เจออยู่ตอนนี้ ถ้าคุณดูวิธีที่รัฐนิยามครอบครัว ทั้งในเชิงกฎหมายและนโยบายต่างๆ ครอบครัวจะหมายถึงหญิงชายที่แต่งงานกัน รวมไปถึงลูกของหญิงชายนั้น พูดง่ายๆ คือสามี […]

โอกาส ‘Smart City’ และความท้าทายของเมืองข้างหน้า

04/08/2020

คำว่า ‘Smart City’ กลายเป็นเทรนด์ยักษ์ (Mega-Trends) ที่หลายเมืองทั่วโลกกำลังเดินหน้าพัฒนาอย่างเต็มตัว ด้วยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้อย่างชาญฉลาด พร้อมการบริหารจัดการเมืองอย่างเหมาะสม โดยมีเป้าหมายสำคัญคือการยกระดับคุณภาพชีวิตพลเมืองให้ดีขึ้น เพียงแต่ปัจจุบันเวลาพูดถึงการ ‘พัฒนาเมือง’ หลายคนกลับสนใจแค่การพัฒนาเชิงกายภาพอย่างเดียว ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานของเมือง หรือเทคโนโลยีล้ำสมัย  ทว่าแท้จริงแล้ว มิติของการพัฒนาเมืองมีความซับซ้อนมากกว่านั้น  ในงานเสวนา City Talk: Thammasat City Futures and TDS Exhibition 2020 ณ ลาน EDEN ชั้น 3 ศูนย์การค้า Central World มีการพูดคุยเกี่ยวกับการพัฒนาเมืองสู่การเป็น Smart City กับ ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ และ นิพิฐ อรุณวงษ์ ณ อยุธยา สองวิทยากรที่มีบทบาทในการพัฒนาเมืองมาอย่างเข้มข้น ดำเนินรายการโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อาสาฬห์ สุวรรณฤทธิ์ คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในหัวข้อโอกาสและความท้าทายของเมืองอนาคต Satellite Town อาจเป็นคำตอบของเมืองอนาคต งานเสวนาเริ่มต้นด้วยการแนะนำวิทยากรทั้งสองท่าน ที่สามารถเป็นตัวแทนเมืองในประเทศได้สองแบบสองสไตล์  กล่าวคือ นิพิฐ อรุณวงษ์ ณ […]

หมองกลิ่นเมืองเหงา

14/07/2020

ภาพข่าวที่ชวนให้สะเทือนใจเมื่อไม่นานมานี้คือ ภาพแม่ค้าที่ตลาดนั่งลงกับพื้นถนนไหว้อ้อนวอนผอ.เขต กับเจ้าหน้าที่เทศกิจที่ออกมาไล่รื้อแผงลอยค้าขายที่ตลาดลาวย่านคลองเตยในช่วงเวลาประมาณสามทุ่ม ในขณะที่เวลาสี่ทุ่มคือเวลาเคอร์ฟิว ถ้อยคำร้องทุกข์ของพ่อค้าแม่ค้าคือ ตอนนี้ก็ทำมาหากินยากอยู่แล้ว ทั้งจากภาวะเศรษฐกิจซบเซา และถูกซ้ำเติมจากมาตรการปิดเมืองเพื่อรับมือกับโควิด 19 ทำไมกทม. ถึงจะมาบีบให้คนทำมาหากินที่ลำบากอยู่แล้วต้องเผชิญกับสภาวะจนตรอกมากขึ้น ส่วนทางกทม. นั้นก็มีคำอธิบายว่า นี่เป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย “ทวงคืนทางเท้า” ของกทม. โดยอธิบายว่า ทางเท้านี้ถูกยึดไปเป็นตลาดมานานกว่า 30 ปี มีความพยายามไล่รื้อมาตั้งแต่เดือนเมษายนแล้วครั้งหนึ่ง แต่ไม่สำเร็จ เดือนพฤษภาคมพยายามอีกครั้งก็ทำให้เราเห็นภาพชวนสะเทือนใจ นั่นคือ ภาพแม่ค้านั่งกลางถนนยกมือไหว้อ้อนวอนขอพื้นที่สำหรับทำมาหากิน นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดการปะทะกัน ระหว่างคนค้าขายบนพื้นที่ที่ฉันอยากจะเรียกมันว่าพื้นที่อันกำกวม นั่นคือ พื้นที่ริมถนน และทางเท้า กับเทศกิจและกทม. (และจังหวัดอื่นๆ ด้วย) นอกจากจะไม่ใช่ครั้งแรกแล้ว ภาพแม่ค้าวิ่งหนีเทศกิจยังกลายเป็นภาพคลาสสิค สถาปนาพล็อตในหนัง ในการ์ตูน ในเรื่องสั้น ในละคร มีชีวิตอยู่ใน pop culture ของไทย จนเรารู้สึกไปโดยปริยายว่า มีทางเท้าก็ต้องมีรถเข็นขายของ มีรถเข็นขายของก็ต้องมีเทศกิจ เป็นเนื้อคู่กระดูกคู่กัน คำถามของฉันคือ ทำไมเราปล่อยให้มันกำกวม? และรถเข็น หาบเร่ แผงลอย ทั้งหมดในประเทศไทยมีอยู่ ดำเนินการอยู่โดยปราศจาก “การจัดการ” จริงๆ […]

1 2 3 4 5 8