ม.ร.ว.นริศรา จักรพงษ์ – คนเมืองกับเรื่องโลกร้อน Take action แต่อย่าเครียดเกินไป

01/02/2020

“Take action แต่อย่าเครียดเกินไป” กิจกรรมดีๆ ที่น่าสนใจอย่าง เทศกาลบางกอกแหวกแนว 2563 จะจัดขึ้นในวันที่ 1-2 กุมภาพันธ์นี้ ที่มิวเซียมสยามและจักรพงษ์วิลล่า เป็นเทศกาลทางความคิดที่ให้ไอเดียบันดาลใจสำหรับชีวิตในเมือง มีกิจกรรมทั้งเสวนา เวิร์คช็อป เปิดตัวหนังสือ ฉายภาพยนตร์ และคอนเสิร์ต (ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทาง www.bangkokedge.com) เราจึงถือโอกาสนี้เดินทางไปยังวังจักรพงษ์เพื่อพูดคุยกับ ม.ร.ว.นริศรา จักรพงษ์ ผู้อำนวยการเทศกาล แต่แน่นอนว่า ในฐานะที่คุณหญิงเป็นนักสิ่งแวดล้อมผู้ก่อตั้งและอดีตประธานมูลนิธิโลกสีเขียว และท่ามกลางบรรยากาศสถานการณ์ที่โลกและประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาสิ่งแวดล้อมที่หนักหนาสาหัสขึ้นทุกวัน หัวข้อสนทนาของเราจึงว่าด้วยเรื่องราวตั้งแต่ โลกร้อน, เกรต้า ธุนแบร์ก, บริโภคนิยม, วีแกน, การลดลงของผึ้ง ไปจนถึงทางเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา สิ่งที่เราสัมผัสได้ก็คือ คุณหญิงนริศรา take action ต่อปัญหาโลกร้อนและพูดถึงมันด้วยท่าทีสบายๆ ซึ่งนี่น่าจะเป็นความ ‘นิ่ง’ ของคนที่ทำงานด้านสิ่งแวดล้อมมานาน และความนิ่งนี้เองที่เราคิดว่ามันน่าจะช่วยให้คนรุ่นใหม่ๆ ที่อยากจะ take action มีกำลังใจขึ้นบ้าง  Q: เรื่องการตระหนักเกี่ยวกับโลกร้อนในปัจจุบัน เราจะเห็นว่ามีคนอย่าง เกรต้า ธุนแบร์ก (Greta Thunberg) ที่ไม่นั่งเครื่องบินไปร่วมประชุมยูเอ็น […]

พินิจเมือง – ส่องข่วงเจียงใหม่กับนักภูมิศาสตร์เมือง

31/01/2020

ข่วงท่าแพ หรือ ลานกว้างหน้าประตูท่าแพ  เป็นสถานที่สำคัญที่ใครหลายคนต้องแวะไปถ่ายรูปเมื่อมีโอกาสไปเยือนจังหวัดเชียงใหม่  ข่วงในภาษาเหนือแปลว่า สถานที่ ลานกว้าง ตั้งแต่ระดับพื้นที่ของบ้านไปจนถึงพื้นที่ของเมือง ข่วงท่าแพ ประกอบไปด้วยประตูเมือง กำแพงเมือง ลาน ส่วนเชื่อมต่อระหว่างถนนคชสารและถนนท่าแพ และอาคารห้างร้าน  ข่วงท่าแพไม่เพียงแค่เป็นลานกิจกรรมของคนเมืองเท่านั้น แต่ยังมีลักษณะการใช้งานที่ตอบสนองต่อทั้งคนและสัตว์ ดังที่ คือ อ.ดร.ญาณิน จิวะกิดาการ หุยากรณ์ อาจารย์ประจำภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ทำการสำรวจเวียงเจียงใหม่เมื่อครั้งมีโอกาสได้นั่งทำงานที่ร้านกาแฟรอบข่วงท่าแพแห่งนี้  จากมุมมองของ “นักภูมิศาสตร์เมือง” ที่ได้ศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างคน ชุมชนกับกายภาพเมืองผ่านมุมมอง Midnight Flaneur โดยส่องเวียงเจียงใหม่ผ่านการนั่งมองชีวิต หรือที่เรียกว่า นั่งทอดหุ่ย และผู้คนที่เข้ามาใช้พื้นที่ข่วงท่าแพด้วยความบังเอิญจากการหาร้านกาแฟนั่งทำงานที่เปิด 24 ชั่วโมงในตัวเมืองเชียงใหม่และพบว่าข่วงท่าแพหรือพื้นที่ลานกว้างหน้าประตูท่าแพมีการแบ่งปันการใช้งานพื้นที่ทั้งมนุษย์และสัตว์ โดยนับตั้งแต่เวลาหัวค่ำไปจนพระอาทิตย์แรกแย้มของวันใหม่  ข่วงท่าแพ ผลัดเปลี่ยนผู้ใช้งานตามกาลและเวลา นับตั้งแต่พระอาทิตย์เริ่มลับขอบฟ้า ในคืนวันอาทิตย์ที่มีการสัญจรของผู้คนพลุกพล่านเนื่องจากเป็นวันที่มีการปิดถนนและมีถนนคนเดินเป็นประจำทุกวันอาทิตย์ ตั้งแต่ในช่วงหัวค่ำเป็นช่วงเวลาการใช้งานของมนุษย์ อย่างการเล่นดนตรี เปิดการแสดง จนถึงช่วงเวลา 21.00 น. จึงเปลี่ยนรูปแบบเป็นการใช้งานของสัตว์หากินกลางคืนอย่าง “ค้างคาว” ที่มีความสำคัญต่อนิเวศของเมืองอยู่หลายประการ ทั้งเป็นผู้ควบคุมประชากรแมลง ช่วยขยายพืชพันธุ์ผ่านการช่วยกระจายเกสรและเมล็ด รวมถึงขี้ค้างคาที่เป็นปุ๋ยอย่างดีให้กับต้นไม้ในเมือง และเมื่อถึงเวลาเที่ยงคืนข่วงจะเปลี่ยนหน้าที่เป็นลานจอดของรถแดงและรถตุ๊กตุ๊กเพื่อรอรับส่งผู้โดยสารกลับสู่ที่พัก  ในช่วงเวลาหลังเที่ยงคืนวันอาทิตย์ก้าวเข้าสู่เช้าวันจันทร์ […]

เกิดน้อยในเมืองใหญ่ การเกิดคือเรื่องของใคร

30/01/2020

Editorial team ‘เมื่อไหร่จะมีลูก’ ‘เมื่อไหร่จะได้อุ้มหลาน’ คำถามเหล่านี้กลายเป็นคำถามยอดฮิตของหลายครอบครัวในประเทศไทย ส่วนในระดับนโยบายไม่กี่ปีมานี้เริ่มมีการพูดถึงเรื่อง‘มีลูกเพื่อชาติ’รัฐบาลที่แล้วได้ ออกโครงการอย่าง‘สาวไทยแก้มแดง’ที่แจกจ่ายวิตามินแก่หญิงวัยเจริญพันธุ์เพื่อ กระตุ้นการมีบุตร ไปจนถึงการลดหย่อนภาษีให้ผู้ที่มีบุตร เหตุการณ์หลายอย่างในหลากระดับกำลังสะท้อนให้เห็นว่าอัตราการเพิ่มประชากรในไทยกำลังลดน้อยลงเรื่อยๆแต่เราไม่ได้กำลังเผชิญสิ่งนี้เพียงลำพังเพราะอัตราการเกิดที่กำลังน้อยลงคือความเป็นไปของยุคปัจจุบันและรวมถึงอนาคตทั่วทั้งมวลมนุษยชาติคนเกิดน้อยลงเพราะอะไรสัมพันธ์อย่างไรไหมกับความเป็นเมืองและจะเป็นไปได้ไหมที่อัตราการเกิดจะฟื้นคืนในอนาคต รศ. ดร.อภิวัฒน์ รัตนวราหะ ผู้วิจัยเรื่อง ‘การเกิดในเมือง’ภายใต้โครงการวิจัยคนเมือง4.0:อนาคตชีวิตคนเมืองในประเทศ ไทยกำลังศึกษาหาคำตอบและมองความเป็นไปได้ในเรื่องนี้ เมืองใหญ่ไม่ไหวจะท้อง ในขณะที่คนอยู่อาศัยในพื้นที่เมืองมากขึ้นเรื่อยๆน่าสนใจว่าคนในเขตเมืองกลับมีอัตราเจริญพันธ์ุน้อยลงมีสถิติบางตัวที่สัมพันธ์กับเรื่องนี้เช่นตัวเลขการหย่าร้างในเขตกรุงเทพมหานครที่เพิ่มสูงขึ้นถึง30%ในรอบสิบปีอาจเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สัมพันธ์กับตัวเลขการเกิดที่น้อยลงไปด้วยหรือแม้แต่เรื่องที่ว่าในเมืองมีคนโสดมากกว่าเขตนอกเมืองเมื่อมองรูปแบบการอยู่อาศัยและการเลี้ยงลูกในปัจจุบัน รศ. ดร.อภิวัฒน์ชี้ให้เห็นว่าอาจส่งผลต่อการตัดสินใจมีลูกด้วย กล่าวคือการที่พ่อแม่ในเมืองปัจจุบันเน้น คุณภาพในการเลี้ยงลูกทำให้ต้องทุ่มเทเวลากับลูกสูงในขณะที่อยู่กันแบบครอบครัวเดี่ยวซึ่งไม่มีปู่ย่าตายายหรือญาติๆที่จะไหว้วานให้ช่วยเลี้ยงดูพ่อแม่จึงตัดสินใจมีบุตรภายใต้ข้อจำกัดที่ตนจะเลี้ยงดูไหวเท่านั้น ส่วนในเมืองหนาแน่นสูงอย่างฮ่องกงความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดที่ลดน้อยถอยลงนั้นสัมพันธ์กับลักษณะเมืองอย่างชัดเจนเพราะฮ่องกงเป็นเมืองที่มีค่าใช้จ่ายด้านที่อยู่อาศัยสูงลิบสูงเกินกว่าที่คนในวัย 20-30 ปีที่เพิ่งมีครอบครัวจะลงทุนครอบครองหรือเช่าที่อยู่อาศัยเองได้ผลก็คือคนที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์และกำลังก่อร่าง สร้างครอบครัวจำเป็นต้องอาศัยอยู่กับพ่อแม่ในพื้นที่ที่จำกัดจึงขาดพื้นที่ส่วนตัวหรือพื้นที่ที่จะปฏิสัมพันธ์กันอย่างอิสระ หรือกรณีที่มีบุตรสักหนึ่งคนแล้ว พื้นที่เพียง 20 กว่าตร.ม. ทำให้พ่อแม่หลายรายต้องคิดหนักเมื่อจะมีลูกคนต่อๆ ไป นอกจากเรื่องพื้นที่และรูปแบบการอยู่อาศัยสิ่งแวดล้อมในเมืองอาจมีผลต่อความสามารถในการเจริญพันธุ์ได้เช่นกันกล่าวคือความเครียดหรือมลพิษจากการใช้ชีวิตในเมืองอาจส่งผลต่อจำนวนสเปิร์มและการตกไข่ทำให้โอกาสในการมีบุตรน้อยลงไปอีก ยังไม่รวมถึงสภาพแวดล้อมที่อาจส่งผลไปถึงเรื่องการตัดสินใจมีความสัมพันธ์เชิงสังคม มีเพศสัมพันธ์ และมีครอบครัวอีกด้วย จากอดีตสู่ปัจจุบัน หากมองย้อนกลับไปดูเหมือนจะเป็นเรื่องปกติที่คนวัยประมาณ 60 ในปัจจุบันจะมีพี่น้องมากถึงราว 5-10 คน ในปี 2517 อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี มีชัย วีระไวทยะ เคยประสบความสำเร็จในการรณรงค์ใช้ถุงยางอนามัยเพื่อคุมกำเนิดและเพื่อความปลอดภัย ถึงขั้นที่ถุงยางอนามัยได้รับฉายาว่า ‘ถุงมีชัย’ ซึ่งนับได้ว่าเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ลดจำนวนประชากรได้สำเร็จ ทว่ามาถึงวันนี้ ประชากรที่น้อยเกินไปกลับกลายเป็นปัญหา ปัจจัยที่ทำให้เรื่องนี้เปลี่ยนไป ได้แก่ […]

7 เครื่องมือสำรวจเพื่อนผู้อยู่ในเมือง

23/01/2020

“ก่อนจะเข้าใจเมือง เข้าใจมนุษย์ด้วยกันก่อน” คำกล่าวนี้คงไม่เกินจริงไปนักสำหรับมุมมองคนเมืองและพลเมือง ปัจจุบันนี้ มีการศึกษาเมืองเกิดขึ้นมากมาย เพราะเราอยากทำความเข้าใจเมืองให้ลึกซึ้ง แต่ต้องไม่ลืมว่า เมืองกับมนุษย์นั้นใกล้ชิดแนบแน่น ดังนั้น การศึกษาเมือง โดยเนื้อแท้ก็คือการศึกษามนุษย์นั่นเอง ในการร่วม ‘เตียว ส่อง เวียง เจียงใหม่’ กับ ธีรมล บัวงาม จากสำนักสื่อประชาธรรม ซึ่งเป็นนักการสื่อสารที่สนใจเมืองผ่านมิติและรูปแบบการสื่อสาร จึงพาผู้ร่วมเดินทางเข้าสู่ ‘มนุษย์’ ในการร่วม ‘ส่องเวียง’  การจะเข้าใจเมืองทางกายภาพได้ต้องเข้าใจความสัมพันธ์ของผู้คน ความคิด ความเชื่อ โดยมีผู้คนเป็นโจทย์ใหญ่และเป็นสิ่งสำคัญในการทำความเข้าใจความหลากหลายของเมืองของผู้คน   เครื่องมือทั้ง 7 ชนิดในการเก็บข้อมูลเมืองที่ธีรมลได้บอกเล่าไว้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจคนที่อยู่ในเมืองมากขึ้นนั้น มีดังนี้  1. Social Mapping ทำความเข้าใจพื้นที่มากขึ้นทางภูมิสังคม ศึกษาถึงความแตกต่างของแต่ละพื้นที่ ทั้งทางด้านภูมิศาสตร์ สิ่งแวดล้อม ชีวภาพ วีถีชีวิต ประเพณี ขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรม 2. ศึกษาพงศาวดารหรือกลุ่มทุนในเมือง ในแต่ละพื้นที่ แต่ละย่าน  3. การจัดองค์กรของกลุ่มคนต่างๆ ในพื้นที่ การทำงานร่วมกันเพื่อศึกษาโครงสร้าง การลำดับความสำคัญ เพื่อให้เข้าใจผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ […]

เมืองปรสิต VS ป่าผืนยักษ์ วิกฤตโลกร้อนที่เมืองเลือกได้

22/01/2020

กัญรัตน์ โภคัยอนันต์ คุณเคยคิดบ้างไหม – ว่ามนุษย์อาจเป็นปรสิตของโลก ดร. สรณรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์ ประธานกรรมการมูลนิธิโลกสีเขียว นักวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม เจ้าของรางวัล Explore Awards 2019 จากนิตยสาร Nation Geography  เคยยกตัวอย่างเปรียบมนุษย์เป็น “ปรสิต” ไว้อย่างน่าสนใจ โดยบอกว่ามนุษย์เมืองที่ใช้พื้นที่ (Land) เพียง 3 % ของโลกใบนี้ กลับบริโภคทรัพยากร (Resource consumption) ถึง 75% โดยปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Global GHG emission) กว่า 60-80 %  นั่นไม่ผิดอะไรกับการเป็นปรสิตเลย จากตัวเลขข้างต้นการเปรียบเปรยมนุษย์เป็นปรสิต คงไม่ผิดนัก จะต่างเพียงว่ามนุษย์เป็นสัตว์เลี้ยลูกด้วยนมแต่ปรสิตเป็นสัตว์เซลล์เดียวที่มีลักษณะการใช้ชีวิตอาศัยผู้อื่นหรือเซลล์ชนิดอื่นเป็นที่พักอาศัยและแหล่งอาหารแถมบางครั้งยังทำร้ายสิ่งมีชีวิตที่ใช้ประโยชน์นั้นหรือเซลล์ภายในจนเจ็บป่วยหรือถึงกับเสียชีวิต  เหมือนมนุษย์ที่กำลังใช้ทรัพยากรและทำให้ทุกอย่างเสื่อมโทรมลงเป็นความย้อนแย้งที่ตลกร้ายดังที่ Jane Goodall นักชีววิทยาและนักอนุรักษ์ชื่อดังที่พูดถึงมนุษย์ว่า “การใช้พลังงานฟอสซิลอย่างไม่คิด การทำลายป่าไม้ การสร้างมลภาวะในมหาสมุทร เป็นไปได้อย่างไรที่สิ่งมีชิวิตที่เฉลียวฉลาดที่สุดที่เคยปรากฏขึ้นมาบนโลก กลับกำลังทำลายบ้านหลังสุดท้ายของตัวเอง” ดร. สรณรัชฎ์ได้อธิบายถึงโจทย์ท้าทายใหญ่ของมนุษย์เมือง คือ สถานการณ์เมืองที่มีคนเยอะมากขึ้นแต่ทรัพยากรมีอยู่อย่างจำกัดโดยที่มนุษย์ทุกคนมีความอยากสบายเท่ากัน […]

การไร้บ้านในเมือง ใกล้-ไกลตัวแค่ไหนในอนาคต

20/01/2020

Editorial team แม้หลายคนอาจรู้สึกว่าเรื่องไร้บ้านเป็นเรื่องไกลตัว แต่แท้จริงแล้วไม่มีเมืองใดที่ปราศจากคนไร้บ้าน  อนรรฆ พิทักษ์ธานิน จากศูนย์แม่โขงศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ได้ศึกษาคนไร้บ้านไว้ในงานวิจัยโครงการชีวิตคนเมือง 4.0: อนาคตคนเมืองในประเทศไทย ทำให้เราเห็นว่าความเป็นเมืองสัมพันธ์อย่างไรกับภาวะไร้บ้าน และภาพคนไร้บ้านในอนาคตจะเป็นไปในทางไหนได้บ้าง เมืองสร้างคนไร้บ้าน? สถิติหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่าภาวะไร้บ้านอาจสัมพันธ์กับการพัฒนาเมือง อย่างเช่น เมืองที่มีระดับการพัฒนาเศรษฐกิจและความเจริญสูงมักพบจำนวนคนไร้บ้านที่สูงตามไปด้วย อย่างเช่นกรุงเทพฯ เชียงใหม่ หาดใหญ่ นครราชสีมา และ ขอนแก่น ยิ่งไปกว่านั้น คนไร้บ้านยังมีอายุขัยเฉลี่ยสั้นกว่าคนอื่นๆ ถึงประมาณ 20 ปี และมีสาเหตุการเสียชีวิตด้วยอาการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจเป็นอันดับหนึ่ง กว่าจะไร้บ้าน แรงขับที่ทำให้คนหนึ่งคนกลายเป็นคนไร้บ้านนั้นมีจากหลายสาเหตุด้วยกัน และการไร้บ้านส่วนใหญ่จะเป็นภาวะช่วงหนึ่งของชีวิต คนไร้บ้านที่พบมากที่สุดคือเพศชายในช่วงแรงงานตอนปลาย โดยที่เริ่มตัดสินใจไร้บ้านในช่วงอายุ 40-45 ปีซึ่งเป็นช่วงวัยแรงงานตอนปลาย ทั้งนี้ สาเหตุที่พบเกี่ยวกับการไร้บ้านมากที่สุดคือปัญหาครอบครัวและตกงาน รองลงมาเป็นเรื่องการขาดที่พึ่งและถูกไล่รื้อที่อยู่อาศัย อย่างไรก็ดี สาเหตุหลักทั้งสองในหลายกรณีมีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน นอกจากนี้ ความรุนแรงในครอบครัว (domestic violence) ยังเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเข้าสู่ภาวะไร้บ้าน การทบทวนวรรณกรรมและแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงทางประชากร เศรษฐกิจสังคม และค่านิยมในอนาคต พบว่าการเข้าสู่ภาวะไร้บ้านในอนาคตส่วนหนึ่งอาจมีความสัมพันธ์กับประเด็นดังต่อไปนี้ ประชากรและครัวเรือน: แนวโน้มการอยู่อาศัยโดยลำพังหรือครัวเรือนที่อยู่คนเดียว (one-person household) […]

เพราะความตายคือส่วนหนึ่งของชีวิต : เมืองกับความตาย

17/01/2020

สายตาความกระวนกระวายของคนรอบตัว บทสนทนาที่ดำเนินไปด้วยคำถามเดิม ๆ ซ้ำ ๆ ระหว่างหมอกับผู้ป่วย เพื่อเช็คความทรงจำและการตอบสนองของคนไข้ การเคานต์ดาวน์รอวันสุดท้าย ความหวังของคนไข้และคนใกล้ตัวที่แปรผันตามอาการและการคาดการณ์ของหมอ สิ่งเหล่านี้ดูเหมือนเป็นบรรยากาศกระอักกระอ่วนใจที่ไม่มีใครอยากประสบ บรรยากาศเหล่านี้ถูกถ่ายทอดออกมาผ่านสารคดี END GAME กำกับโดย Rob Epstein และ Jeffrey Friedman ที่ตามถ่ายชีวิตผู้ป่วยระยะสุดท้ายและคนรอบข้างในประเทศสหรัฐอเมริกา ภาพยนตร์ดำเนินไปอย่างเรียบง่ายผ่านเคสคนไข้ระยะสุดท้ายและการตัดสินใจของตัวเขากับคนรอบตัว แม้เรื่องจะไม่มีอะไรซับซ้อน แต่ก็น่าสนใจมากพอที่จะทำให้เราจินตนาการถึงชีวิตตัวเอง ทั้งในบทบาทของคนรอบข้างที่คอยลุ้น และคนที่อ่อนแรงอยู่บนเตียง ที่สำคัญคือคงไม่มีใครอยากตกอยู่ในสถานการณ์เช่นนั้นไม่ว่าจะในบทบาทใด แต่จะเลี่ยงได้หรือไม่นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ภาพยนตร์เปิดฉากความตายเรื่องนี้ฉายในงาน Futures of Thai Urban Life เป็นส่วนหนึ่งของงานนำเสนอความก้าวหน้างานวิจัยในโครงการ  “คนเมือง 4.0”  อนาคตชีวิตคนเมืองของไทย โดยหัวข้อ ‘การตายและความตายในเมือง’ วิจัยและนำเสนอโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภาวิกา ศรีรีตนบัลล์ ที่กำหนดกรอบศึกษาเรื่องความตายผ่านสองประเด็นหลัก ได้แก่ การมีชีวิตช่วงสุดท้าย (End-Of-Life) และการจัดการร่างหลังเสียชีวิต (Body Disposal) ความตายในอนาคตอาจเป็นแบบใด เมืองและสังคมอาจส่งผลให้รูปแบบการตายเป็นอย่างไรได้บ้าง และความตายควรเป็นเรื่องของใคร งานวันนั้นชวนให้เราขบคิดในประเด็นเหล่านี้ บ้านหลังสุดท้าย Hospice […]

ช็อปปิ้งออนไลน์ : คนยุคใหม่จะซื้อของด้วยวิธีไหน

16/01/2020

เรื่อง: พรสรร วิเชียรประดิษฐ์ นักวิจัยโครงการคนเมือง 4.0: อนาคตชีวิตเมืองในประเทศไทย เรียบเรียง: กัญรัตน์ โภไคยอนันท์ เดี๋ยวนี้ใครๆก็สั่งของออนไลน์กันหมดแล้ว   คำอธิบายพฤติกรรมการซื้อของจากการไปเดินตลาดสด ห้างสรรพสินค้า มาเป็นการกดสั่งผ่านมือถือได้ทุกที่ ทุกเวลา พฤติกรรมการซื้อของออนไลน์ ได้กระจายและเติบโตอย่างต่อเนื่องไปทั่วทุกมุมโลก ไม่เพียงเฉพาะแต่คนที่อยู่อาศัยในเมืองแต่รวมถึง เมืองต่างๆที่เทคโนโลยีและระบบดิจิทัลเข้าไปถึงการเติบโตของร้านสะดวกซื้อและอีคอมเมิร์ซ (E-Commerce)  ประกอบกับพฤติกรรมการใช้ชีวิตของมนุษย์เมือง รูปแบบครอบครัวที่มีลักษณะของครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น ความเป็นปัจเจก การอยู่อาศัยแนวตั้งในพื้นที่ที่จำกัด ความเร่งรีบของการใช้ชีวิตในยุคสุขทันใจ (Instant Gratification) และการเดินทาง ล้วนเป็นองค์ประกอบของแนวโน้มที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อของในเมืองในอนาคตทั้งสิ้น  อาจารย์ ดร. พรสรร วิเชียรประดิษฐ์  นักวิจัยโครงการย่อย หัวข้อการซื้อของในเมืองภายใต้โครงการวิจัยคนเมือง 4.0 : อนาคตชีวิตเมืองในประเทศไทย ได้กวาดสัญญาณปัจจัยที่ส่งผลต่อการซื้อของและอธิบายแนวโน้มการซื้อของออกมาเป็น 4 ฉากทัศน์ และข้อเสนอแนะชวนคิดต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะและทิศทางการซื้อของในอนาคตได้อย่างน่าสนใจผ่านการนำเสนอความก้าวหน้าโครงการไปเมื่อวันจันทร์ที่ 2 ธันวาคม 2562 ณ ห้องสมุดคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาจารย์ ดร. พรสรรและคณะผู้วิจัยได้กวาดสัญญาณในด้านการซื้อของ โดยกำหนดขอบเขตที่สินค้าจำเป็นในชีวิตประจำวัน ซึ่งไม่รวมถึงสินค้าฟุ่มเฟือย พบว่า  คนเมืองจะยังคงไปเซเว่น  (Where […]

‘ขจรศักดิ์ กิตติเมธาวีนันท์’ กับเสียงในเมือง : คนไทยคุ้นเคยกับเสียงดังที่เป็นอันตรายมากเกินไปหรือเปล่า

15/01/2020

เสียงโฆษณาบนรถไฟฟ้าเป็นหัวข้อยอดฮิตที่มีเสียงบ่นจากผู้ใช้งานอยู่เสมอ อาจจะเพราะไม่เคยได้รับการแก้ไขเสียที หรือเพราะมีเสียงที่แตกออกเป็นหลายความคิดเห็นจนหาข้อสรุปไม่ได้  เสียงโฆษณาจะอย่างไรก็แล้วแต่ แต่เสียงหนึ่งที่เรามักมองข้ามไปอย่างสิ้นเชิงก็คือ ‘เสียงเตือนปิดประตูบนรถไฟฟ้า’  หลายคนไม่รู้เลยว่าเสียงเตือนปิดประตูบนรถไฟฟ้านั้น มีระดับความดังที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการสูญเสียการได้ยิน หากสัมผัสเป็นเวลานานตามข้อกำหนดระดับเสียงที่ปลอดภัยขององค์การอนามัยโลก และกรมควบคุมมลพิษ ซึ่งเรื่องนี้เป็นหัวข้อวิจัยที่นักศึกษาของวิทยาลัยวิศวกรรมสังคีต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังเคยศึกษาเอาไว้  ด้วยเหตุนี้ เราจึงชวน ‘ขจรศักดิ์ กิตติเมธาวีนันท์’ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา ที่ดูแลโปรเจกต์ดังกล่าว มาร่วมสนทนากัน ขจรศักดิ์เรียนจบด้านการอำนวยเพลงขับร้องประสานเสียงจาก California State University, Los Angeles สหรัฐอเมริกา ก่อนจะกลับมาเป็นอาจารย์ที่วิทยาลัยวิศวกรรมสังคีต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ซึ่งตอนนี้เขาเป็นหนึ่งในทีมผู้ร่วมก่อตั้ง ‘สมาคมเสียงและการสั่นสะเทือนแห่งประเทศไทย’ ร่วมกับอาจารย์ นักวิชาการ นักวิทยาศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญจากทั้งภาครัฐและเอกชนหลายท่าน เพื่อผลักดันปัญหาเรื่องเสียงต่างๆ ที่คนเมืองต้องเจอ  หัวข้อการสนทนาในครั้งนี้จึงไม่ได้จำกัดอยู่แค่เรื่องเสียงรบกวนบนรถไฟฟ้าเท่านั้น แต่ยังพูดคุยถึงปัญหาของเสียงรบกวนต่างๆ จากที่อยู่อาศัย จากยานพาหนะ และเสียงที่ไม่ได้ยินจากกังหันลม (Wind Turbine Infra Sound) รวมถึงอันตรายที่ใกล้ตัวเรากว่าที่คิดอย่างการใส่หูฟัง   เสียงดัง เเค่ไหนเรียกว่า ‘มลพิษทางเสียง’ ในเมื่อบางครั้งความดังนั้นน่ารำคาญหรับเรา แต่กลับเป็นสิ่งปกติสำหรับคนอื่น  ข้อกําหนดขององค์การอนามัยโลกสําหรับระดับเสียงที่ปลอดภัยคือ ไม่เกิน 80 เดซิเบลเอ เมื่อสัมผัสวันละ […]

เมือง 4.0 : จะอยู่อย่างไรในแนวตั้ง

10/01/2020

เรื่อง: ภัณฑิรา จูละยานนท์ นักวิจัยโครงการคนเมือง 4.0: อนาคตชีวิตเมืองในประเทศไทย เรียบเรียง: อดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ การกลายเป็นเมืองทำให้ความต้องการที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น กรุงเทพฯ มีแนวโน้มความเป็นเมืองที่สูงขึ้น มีประชากรเมืองเพิ่มมากขึ้น และเป็นเมืองที่มีขนาดความเป็นเมืองมากกว่าขอบเขตการปกครอง  ความเป็นเมืองของกรุงเทพฯ ขยายตัวไปยังพื้นที่จังหวัดปริมณฑลที่อยู่ข้างเคียง อาทิ นนทบุรี สมุทรปราการ ปทุมธานี ซึ่งก็แน่นอนว่า ผู้คนย่อมต้องการที่อยู่อาศัยที่มากขึ้นตามไปด้วย ทีมวิจัยด้านการอยู่อาศัยจากโครงการวิจัย“คนเมือง 4.0: อนาคตชีวิตเมืองในประเทศไทย”ได้ศึกษาข้อมูลทุติยภูมิของปริมาณที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ พบว่า ที่อยู่อาศัยรูปแบบ “คอนโด” มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด คือมีสัดส่วนเกินครึ่งหนึ่งของปริมาณจำนวนยูนิตที่อยู่อาศัยทั้งหมดในเมือง นับตั้งแต่ปี 2013 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ที่น่าสนใจก็คือ การเพิ่มขึ้นของจำนวนที่อยู่อาศัยนี้ สอดคล้องกับช่วงเวลาของการพัฒนาเมืองและโครงสร้างพื้นฐานของเมืองอย่างมีนัยยะสำคัญ  โดยเฉพาะระบบขนส่งสาธารณะในระบบราง   ปรากฏการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของอาคารที่อยู่อาศัย จากแนวราบมาสู่แนวตั้งที่สูงขึ้น ทั้งในการพัฒนาที่อยู่อาศัยของภาคเอกชน ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ และโครงการพัฒนาของรัฐ ตัวอย่างเช่น จากเดิมที่การเคหะเเห่งชาติพัฒนาที่อยู่อาศัยในรูปแบบแฟลต สูงประมาณ 4-5 ชั้น ปัจจุบันเริ่มมีการพัฒนาที่อยู่อาศัยที่มีความสูงเพิ่มมากขึ้น 20- 30 ชั้น อันเป็นไปในในทิศทางเดียวกันกับที่อยู่อาศัยแนวตั้งในเมืองของภาคเอกชน ภาพการอยู่อาศัยในคอนโดอาจเป็นปรากฎการณ์ที่คนเมืองกรุงเทพฯ เห็นชินตาในปัจจุบัน แต่คุณรู้หรือไม่ว่ารูปแบบการอยู่อาศัยในแนวตั้งนี้เกิดขึ้นมาตั้งแต่เมื่อไหร่ […]

1 3 4 5 6 7 8