ความเท่าเทียมที่ไม่เท่าเทียม: ความเสี่ยงและอนาคตของคนไร้บ้านในยุคโควิด-19

09/04/2020

คนไร้บ้านเป็นกลุ่มเปราะชากรที่เปราะบางที่สุดกลุ่มหนึ่งของเมือง การแพร่ระบาดของโควิด 19 แม้หลายคนจะบอกว่าโรคระบาดเป็นสิ่งที่ไม่เลือกหน้าไม่ว่าจะเป็นยากดีมีจน แต่ดูเหมือนว่าคนจนและคนเปราะบางจะได้รับผลกระทบจากการสถานการณ์ในระดับมากกว่าคนทั่วไป ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 คนไร้บ้านคือกลุ่มที่ต้องเผชิญความเสี่ยงจากไวรัสเช่นเดียวกัน ทว่าพวกเขากลับไม่สามารถรับมือกับมันได้มากเทียบเท่ากับคนทั่วไป …เราเผชิญไวรัสเท่ากัน แต่ป้องกันได้ไม่เท่ากัน คนไร้บ้านอยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่มีความเสี่ยงต่อการโรคระบาด ทั้งในพื้นที่สาธารณะและศูนย์พักคนไร้บ้าน เข้าไม่ถึงสุขอนามัยขั้นพื้นฐาน และความรู้ที่เท่าทันในการป้องกันตัวเองจากความเจ็บป่วย ปัจจัยต่างๆเหล่านี้ส่งผลต่อคุณภาพชึวิตและสุขภาพของคนไร้บ้านแทบทั้งสิ้น คนไร้บ้านคือประชากรกลุ่มเปราะบาง ด้วยตัวของพวกเขาเองแล้วนอกจากจะจัดเป็นกลุ่มคนที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อมากที่สุดกลุ่มหนึ่งแล้ว ยังเป็นกลุ่มที่สามารถรับมือกับโรคดังกล่าวได้น้อยที่สุดเช่นเดียวกัน พวกเขาขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคและมาตรการป้องกัน หรือแม้จะตื่นตัวแล้ว แต่ยังไม่สามารถเข้าถึงอุปกรณ์ป้องกันโรคได้ วันนี้เราจะลองมาดูกันว่าพวกเขามีความเสี่ยงมากไปกว่าคนทั่วไปอย่างไรบ้าง? เพื่อที่เป็นข้อมูลในการจัดการช่วยเหลือและป้องกันทั้งในเชิงสุขภาพและเศรษฐกิจ ในยุคโควิด 19 และยุคหลังโควิด 19 ซึ่งเราอาจสามารถแบ่งความเสี่ยงที่จะเกิดกับคนไร้บ้านเป็น 2 ส่วนหลักด้วยกัน คือ ความเสี่ยงทางสุขภาพ และความเสี่ยงทางสังคมเศรษฐกิจ ความเสี่ยงด้านสุขภาพ (Health Risk) ในประด็นความเสี่ยงด้านสุขภาพของคนไร้บ้านในภาวะการระบาดของโควิด-19 จากการประเมินสถานการณ์ของทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาจจำแนกเป็นประเด็นได้ดังต่อไปนี้ มาตราการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) และอยู่กับบ้าน (Stay Home) แม้จะเป็นมาตรการที่ดีเพื่อลดอัตรการแพร่ระบาดของไวรัส แต่สำหรับคนไร้บ้านและกลุ่มเปราะบางในเมืองหลายกลุ่มดูเหมือนจะเป็นไปได้ยาก ประการแรก ต้องไม่ลืมว่าคนไร้บ้าน ‘ไม่มีบ้าน’ ให้กักเก็บตัวแต่อย่างใด คนไร้บ้านส่วนใหญ่ออกมาใช้ชีวิตบนพื้นที่สาธารณะ หรือบางส่วนอาศัยอยู่ร่วมกัน รวมตัวในที่ๆ […]

Work From Home: เมื่อพื้นที่เมืองและพื้นที่ทำงานถูกผลักเข้าพื้นที่บ้าน

31/03/2020

เมื่อคอนโดเป็นที่อยู่อาศัยของคนเมือง พื้นที่เมืองจึงกลายเป็นห้องนั่งเล่น อาจถือได้ว่าเป็นเรื่องของปกติของชาวกรุงเทพวัยทำงานไปแล้ว สำหรับการย้ายที่พักจากบ้านเดี่ยวมาพักอาศัยที่คอนโดตามแนวรถไฟฟ้า BTS และ MRT เพื่อให้สะดวกต่อการเดินทางจากที่พักไปยังที่ทำงาน ด้วยเหตุผลที่สุดจะทนกับระยะเวลาเดินทางไป – กลับที่แสนจะยาวนาน หรือจะเป็นความสะดวกสบายในการเดินทาง การเข้าถึงสถานที่ และบริการต่างๆ ที่ทำให้การพักอาศัยที่คอนโดในเมืองเป็นทางเลือกของชาวกรุงเทพ หลังจากการพัฒนาด้านต่างๆ ขยายตัวไปตามพื้นที่แนวรถไฟฟ้า ราคาคอนโดโดยรอบสถานีต่อตารางเมตรดีดตัวสูงขึ้น ในขณะที่ขนาดห้องเล็กลงเกินครึ่ง ภายในช่วงระยะเวลาเพียง 10 ปี จากเดิมขนาดเฉลี่ยคอนโด 1 ห้องนอน คือ 65 ตร.ม. ในปัจจุบันกลับเฉลี่ยเหลือเพียง 28 ตร.ม.  ขนาดห้องสี่เหลี่ยมที่จำกัด ส่งผลให้เกิดการผลักความต้องการการใช้พื้นที่บางส่วนที่หายไป ไปสู่พื้นที่เมือง ผู้อยู่อาศัยในคอนโดจำนวนมากใช้พื้นที่ส่วนกลางคอนโดหรือพื้นที่ของเมืองทดแทนพื้นที่ที่หายไป พื้นที่ส่วนกลางของคอนโดหลายแห่งมักมีบริการฟิตเนส สวนหย่อม ห้องสมุด หรือห้องนั่งเล่น เพื่อตอบรับความต้องการ  รวมถึงการเติบโตและพัฒนาของพื้นที่ส่วนต่างๆของเมืองเอง ก็พยายามผลิตและพัฒนาพื้นที่ที่สามารถตอบรับการใช้ชีวิตของคนเมือง เช่น พื้นที่ร้านกาแฟ พื้นที่ co-working space หรือสวนสาธารณะ ก็กลายเป็นพื้นที่ทางเลือกให้กับการเปลี่ยนบรรยากาศในการทำงาน อ่านหนังสือ หรือการพักผ่อนหย่อนใจ เสมือนเป็นห้องนั่งเล่นและห้องทำงานของคนเมือง เมื่อห้องนั่งเล่นและห้องทำงานหายไปเพราะ COVID-19 หลังจากที่องค์การอนามัยโลก […]

ไขปัญหามลภาวะเมืองยุค 4.0 พลเมืองต้องตื่นรู้และมีส่วนร่วม

30/03/2020

ชีวิตคนเมืองทุกวันนี้ต้องปะทะกับมลภาวะทุกรูปแบบ ตั้งแต่อากาศที่เต็มไปด้วยฝุ่น PM2.5 เสียงแตรกลางสี่แยกจราจร ไปจนถึงแสง LED จากป้ายโฆษณาที่จ้าเกินมองเห็น เราใช้ชีวิตร่วมกับมลภาวะเหล่านี้ทุกวัน แต่เราจำเป็นต้องยอมรับมันจริงหรือ? “ทำอย่างไร พลเมืองถึงจะมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาเมืองได้?” นี่คือคำถามสำคัญที่ถูกยกขึ้นมาเป็นประเด็นในเวทีเสวนาสาธารณะ Citizen’s Sense of The City ชีวิตคนเมืองในมลภาวะ “อากาศ แสง เสียง” เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2563 โดยมีนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขาเข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนมุมมอง ชวนคนมาจัดเก็บข้อมูล สร้างความสำคัญของพลเมือง ผศ.ดร. นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) เริ่มต้นพูดถึงโครงการสังเกตการณ์ชีวิตคนเมือง 4.0 (Urban Observatory & Engagement) ว่าปัญหาของข้อมูลเมืองในปัจจุบันยังขาดความถูกต้องและเป็นประโยชน์ หากภาคส่วนต่างๆ ชักชวนประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม จัดเก็บข้อมูลเมืองที่ซับซ้อน เพื่อประมวลใช้ในการออกแบบนโยบายสาธารณะที่ดีต่อไปก็น่าจะเป็นการแสดงพลังสำคัญได้ สอดคลองกับคีย์เวิร์ด ‘ใครกุมข้อมูล คนนั้นกุมอำนาจ’ ที่ รศ.ดร.อภิวัฒน์ รัตนวราหะ รองศาสตราจารย์ประจำภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าโครงการวิจัยคนเมือง 4.0 […]

เส้นทางแผนที่โรคระบาด จากยุคศตวรรษที่ 17 ถึง Big Data

20/03/2020

ในขณะที่การติดเชื้อโคโรน่าไวรัสกระจายตัวไปทั่วโลกและปรากฏจำนวนผู้ติดเชื้อมากขึ้นเรื่อยๆ ความกังวลมักมากขึ้นเป็นปกติ หนึ่งในรูปแบบข้อมูลที่เราติดตามกันอย่างหนักช่วงนี้คือ แผนที่แบบ Interactive จากหลายสำนัก ที่แสดงให้เห็นว่าโรคนี้กระจายตัวอย่างไร มีที่ไหนได้รับผลกระทบบ้าง และข้อมูลที่แท้จริงเป็นอย่างไร เพราะข้อมูลที่แท้จริงและเพียงพอจะช่วยให้เราไม่ตระหนกและระมัดระวังตัวได้อย่างเหมาะสม หนึ่งในตัวอย่างเด่น คือ แพลตฟอร์มที่สร้างขึ้นโดย  Johns Hopkins University’s Center for Systems Science and Engineering งานออกแบบสีแดงตัดดำชิ้นนี้ใช้ซอฟต์แวร์จากบริษัท Esri โดยทาง Johns Hopkins รวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานสาธารณสุขของทางการจากทั่วโลกแบบเรียลไทม์ ยิ่งวงกลมสีแดงใหญ่มากขึ้นเท่าไหร่ นั่นแปลว่าพื้นที่ตรงนั้นมีเคสผู้ติดเชื้อเยอะ ขณะนี้ยอดรวมผู้เสียชีวิตจาก COVID-19 มากกว่าโรค SARS ที่ระบาดในปี 2003 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว Metabiota บริษัทที่เชี่ยวชาญด้านการจัดการภัยคุกคามจากการระบาดใหญ่ได้เพิ่มโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ลงในรายการเชื้อโรคที่ทางบริษัทติดตามอยู่กว่า 130 ตัวทั่วโลก หากเข้าไปดูในเว็บไซต์ https://www.epidemictracker.com/ จะพบว่าจุดสีส้มที่กระพริบอยู่ใช้แทนข้อมูลไวรัสที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน การทำแผนที่ลักษณะนี้เป็นเรื่องใหม่ไหม? การฉายภาพการระบาดเหล่านี้มีมาแล้วเนิ่นนาน มีความพยายามทำมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 แต่ในไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมานี้ การทำแผนที่ทางการแพทย์ก้าวหน้าและเป็นประชาธิปไตยยิ่งขึ้นเพราะมีคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ อินเทอร์เน็ตยังเป็นตัวเร่งให้การแบ่งปันและรวบรวมข้อมูลทำได้ง่ายขึ้นด้วย เป็นเวลากว่าศตวรรษที่นักภูมิศาสตร์และสาธารณสุขใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ในการทำแผนที่เพื่อร่างทฤษฎีขึ้นมาว่าเพราะเหตุใดการระบาดชนิดใดชนิดหนึ่งจึงเกิดขึ้นโดยดูจากกลุ่มคนที่บาดเจ็บล้มตาย ทุกวันนี้สามารถคาดการได้ว่าการระบาดที่เกิดขึ้นจะมีวิวัฒนาการอย่างไรและสามารถกำหนดนโยบายตามข้อมูลที่คาดการณ์นี้ […]

คืน “คน” ให้เมือง

17/03/2020

มายาคติหนึ่งเกี่ยวกับเมืองในสังคมไทยคือการสร้างภาพให้เมืองเป็นคู่ตรงกันข้ามกับชนบท เมืองเท่ากับความวุ่นวาย, อันตราย, เห็นแก่ตัว, เร่งรีบ, ผู้คนแปลกแยกต่อกัน, ป่าคอนกรีต, แห้งแล้ง ฯลฯ ชนบทเท่ากับ ความร่มรื่นเขียวขจี ความอุดมสมบูรณ์ ท้องนาเขียวชอุ่ม ผู้คนใสซื่อ เป็นมิตร ไม่รีบร้อน ไม่แก่งแย่ง ฯลฯ ด้วยมายาคตินี้ทำให้คนมองว่าเมืองคือพื้นที่ที่ทำลาย “ความดีงาม” ตามธรรมชาติของมนุษย์ เมืองทำให้คนดีๆ กลายเป็นคนเห็นแก่ตัว เมืองทำให้ผู้หญิงดีๆ จากชนบท เสียผู้เสียคน ถ้ามายาคตินี้ไม่ถูกทุบทิ้ง เมืองจะเท่ากับความเลวร้าย เป็นผู้ร้ายโดยกมลสันดาน และหากเราเลือกที่จะมีชีวิตอยู่ในเมือง เพราะเราต้องทำงาน เพราะเราหลงแสงสีความสะดวกสบาย เพราะเราต้องสมถะ เราก็ต้องยอมขายวิญญาณของเราไปแล้วจำนนต่อความเลวร้ายของเมืองในทุกมิติ  เราต้องกลายเป็นคนเย็นชา ไม่รู้หนาว เราต้องกลายเป็นผีป่าคอนกรีตแล้งนำใจ และห่อหุ้มตัวเองด้วยสุนทรียศาสตร์จอมปลอมของเมือง เช่น การอยู่ในห้องแอร์ตลอดเวลา วันหยุดเดินห้าง และไม่อาจจินตนาการได้ว่า เราสามารถเรียกร้องความเป็นธรรมชาติใดๆ ถ้าเราเลือกอยู่ใน “เมือง” แต่ความจริงมันไม่ได้เป็นเช่นนั้น เมืองไม่ใช่คู่ตรงกันข้ามกับชนบทในแง่ของ “ศีลธรรม” และ “ธรรมชาติ”  สิ่งที่ทำให้เกิดความเป็น “เมือง” ขึ้นมาอาจหมายถึงทำเลแห่งการเป็นเมืองท่าค้าขาย  อาจเคยเป็นศูนย์กลางอำนาจมาแต่เก่าก่อน บางเมืองกลายเป็น […]

care economy เศรษฐกิจของเมืองผู้สูงอายุและการเตรียมตัวแก่

13/03/2020

จากสถิติผู้สูงอายุของประเทศไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 ของกรมกิจการผู้สูงอายุ พบว่า มีสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป คิดเป็น ร้อยละ 16.73 ต่อจำนวนประชากรทั้งหมด นั่นหมายความว่า ประเทศไทยในตอนนี้กำลังก้าวสู่ระดับสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged society) คือ มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศ และมีแนวโน้มว่าจะเข้าสู่การเป็น สังคมสูงอายุอย่างเต็มที่ (Super-Aged Society) ในอีกไม่ช้า เมื่อกลับมาดูสัดส่วนผู้สูงอายุในเมือง โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานคร พบว่า กรุงเทพฯ เป็นจังหวัดที่มีจำนวนผู้สูงอายุมากที่สุด คือ ร้อยละ 18.78 ต่อจำนวนประชากรทั้งหมดในจังหวัด นั่นหมายความว่า หากเปรียบเทียบกรุงเทพฯเป็นหนึ่งประเทศย่อม ๆ พลเมืองชาวกรุงเทพก็กำลังเผชิญการเข้าสู่สังคมสูงอายุโดยสมบูรณ์เช่นกัน  แล้วจำนวนผู้สูงอายุส่งผลอย่างไรต่อเมือง? ผู้สูงอายุก็นับว่าเป็นหนึ่งในประชากรของเมือง ซึ่งก็ไม่ใช่คนอื่นคนไกล แต่ก็คือ พี่ ป้า น้า อา ลุงข้างบ้าน อากงที่เราเจอในสวนสาธารณะ หรือคุณยายที่รอรถสาย 40 […]

ความจำเป็นของบ้านสุดท้ายของชีวิตคนเมือง

12/03/2020

สถานการณ์สมมติ –  ชีวิตประจำวันของคนเมือง A “ฉันตื่นเช้าไปทำงานตั้งแต่หกโมงเพราะกลัวรถติด เลิกงานแล้วก็ยังต้องหาอะไรทำอยู่ข้างนอก ทำโอทีบ้าง ไปสังสรรค์กับเพื่อนบ้าง เลี่ยงรถติดตอนเย็นอีกเหมือนกัน กว่าจะกลับถึงบ้านก็ปาเข้าไปสามสี่ทุ่มแล้ว ไปถึงก็อาบน้ำนอนดูซีรี่ย์ สักตีหนึ่งค่อยหลับ อยู่คอนโดเล็ก ๆ อย่างฉันไม่มีอะไรให้ทำมากหรอก ทำอาหารเลี้ยงสัตว์ก็ไม่ได้” นิยามของคำว่า “บ้าน” ถ้าให้เราลองนิยามคำว่า “การใช้ชีวิตในเมือง” หนึ่งในนั้นก็คงหนีไม่พ้น ความเร่งรีบ ความวุ่นวาย หรือการผ่าฟันความลำบากทั้งหลายแหล่ในชีวิตประจำวัน ยิ่งเฉพาะกรุงเทพมหานคร จ้าวแห่งความโกลาหลแล้ว ไม่ว่าจะรถติดบนโลเคชั่นสี่แยกดาวอังคาร กำลังนั่งยานกลับดาวพลูโต หรือเดินอยู่บนฟุตพาทพร้อมแฮชแท๊ก #ชีวิตดีดีที่ลงตัว ก็ตาม ไม่ว่าใครก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าคนกรุงเทพต้องแข็งแกร่งอยู่เสมอ  และด้วยวิถีชีวิตเช่นนี้เอง “บ้าน” ของคนเมืองก็ต้องถูกปรับให้สอดคล้องกับการใช้ชีวิตด้วยเช่นกัน บ้านของคนเมืองที่ว่าเป็นได้ทั้งห้อง ๆ หนึ่งบนคอนโดสูง หอพักรายวัน ห้องเช่า ทาวน์เฮ้าส์ อาคารพาณิชย์ บ้านแฝด ไปจนถึงบ้านเดี่ยวชานเมือง เราทุกคนเลือกบ้านที่สะดวกต่อการดำเนินชีวิตอันเร่งรีบวุ่นวายนี้ คำว่า “บ้าน” ที่คนเมืองใช้เรียกหาจึงเป็นพื้นที่ที่เอื้อให้เราไปทำงานได้สะดวกขึ้น มีอาณาบริเวณใช้สอยตามความจำเป็นและราคาที่เรากล้าแบก เป็นพื้นที่ที่ให้เราสามารถพักใจพักกายจากความเหนื่อยล้า นอนเล่นโทรศัพท์บนฟูกนุ่มและรดน้ำต้นไม้กระถางเล็ก ๆ ที่มุมห้อง “บ้าน” ในบริบทนี้ […]

ลดวิกฤติฝุ่นด้วยเมืองเดินได้

11/03/2020

เข้าปีใหม่มาได้สองสามเดือน ประเทศไทยดูจะเจอกับวิกฤติที่ต้องเร่งแก้ไขหลายเรื่อง หนึ่งในวิกฤติเมืองที่ติดค้างมาตั้งแต่ปลายปีและดูท่าจะกลับมาเยือนทุกลมหนาว คือ ‘เราจะแก้ปัญหามลภาวะทางอากาศ ฝุ่นละออง PM2.5 ในกรุงเทพฯ ได้อย่างไร’ นี่เป็นเรื่องซีเรียสและเร่งด่วนที่ทุกภาคส่วนต้องผลักดันหาทางแก้ไข ถ้าเอารถยนต์ออกจากถนนไม่ได้ เราจะไม่มีวันได้อากาศที่ดีคืนมา ต้องเข้าใจก่อนว่าปัญหามลภาวะทางอากาศในกรุงเทพฯ ไม่ใช่เรื่องใหม่ เราหายใจสูดฝุ่นพิษ PM2.5 กันมาตั้งนานแล้ว แต่ที่เราตื่นตัวในช่วง 1-2 ปีให้หลังเพราะเพิ่งจะมีตัวเลขจากการตรวจวัดสภาพอากาศมาแสดงให้เราเห็นและแชร์กันทั่วโซเชียลมีเดีย สาเหตุหลักของ PM 2.5 เกิดจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ของเครื่องยนต์ ซึ่งเป็นผลพวงมาจากการที่กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่คนต้องพึ่งพารถยนต์ตลอดเวลา ตัวเลขรถยนต์จดทะเบียนในกรุงเทพฯ มีสูงถึง 11 ล้านคันและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นถึงปีละกว่า 300,000 คัน หรือร้อยละ 17 ซึ่งสูงกว่าทุกเมืองในโลก จำนวนรถยนต์ที่เยอะขนาดนี้ไม่สอดคล้องกับปริมาณถนนในกรุงเทพฯ ที่มีเพียงแค่ 7% (เมืองที่ดีควรมีพื้นที่ถนนร้อยละ 25-30 ของพื้นที่ทั้งหมด) นี่จึงเป็นสาเหตุทำให้กรุงเทพฯ รถติดหนัก ผลการศึกษาจากโครงการเมืองเดินได้-เมืองเดินดี (GoodWalk) ระบุว่าคนกรุงเทพฯ ใช้เวลานั่งอยู่ในรถยนต์ถึง 800 ชั่วโมงต่อปี และทุกชั่วโมงที่รถติดอยู่บนถนนจึงปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากถึง 400 กรัมต่อการเดินทาง 1 กิโลเมตร ผลสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทยบอกว่า […]

Viaduc Des Arts และ Promenade Plantée เมืองเปลี่ยนสะพาน สะพานเปลี่ยนเมือง

19/02/2020

ทุกวันนี้เมื่อพูดถึงสวนยกระดับ (Elevated Park) หลายคนอาจเริ่มคุ้นเคยและนึกออกอยู่หลายที่ อย่างเช่น Manhattan’s Highline สวนสูงใจกลางนิวยอร์ก  แต่หากเจาะจงถึงต้นฉบับของการพัฒนาสวนในพื้นที่ยกระดับ ต้องยกให้ Viaduc Des Arts และ Promenade Plantée ของเมืองปารีสในประเทศฝรั่งเศส ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 1993 แถมยังเป็นสวนแรกของโลกที่เกิดจากการปรับปรุงรางรถไฟรกร้างอีกด้วย แรกเริ่มเดิมทีรางรถไฟที่ตั้งอยู่ในเขตที่ 12 (12th arrondissement) นี้เคยเป็นรางที่เชื่อมรถไฟจากจัตุรัส ปาสเดอลาบาสตีย์  (Place de la Bastille) ในเมืองปารีส สู่ด้านตะวันออกของเมือง รถไฟขบวนนี้รับส่งผู้คนหลายต่อหลายยุค รวมระยะเวลาใช้งานมากว่าร้ายปี แต่แล้วในปี 1969 รางรถไฟนี้ก็เลิกใช้งาน เพราะระบบรถไฟที่พัฒนาใหม่ เปลี่ยนมาใช้เป็นรถ RER ที่วิ่งใต้ดิน ทำให้เส้นทางรถไฟส่วนนี้ได้รับผลกระทบไปด้วย  เมื่อเส้นทางรถไฟเปลี่ยนไป เมืองก็เปลี่ยนแปลง จากที่ทางรถไฟนั้นเคยเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่เป็นตัวแสดงถึงความรุ่งเรืองในยุคอุตสาหกรรม ความรถกร้าง ผุพัง เริ่มเข้ามาแทนที่เมื่อถูกปล่อยทิ้งร้างมาราวสิบปี หนึ่งในแผนในการจัดการกับความเสื่อมโทรมนี้คือการกำจัดรางรถไฟที่รกหูรกตานี้ทิ้งไปเสียทว่า City of Paris ก็ผุดอีกไอเดียหนึ่งที่ได้ทำจริงขึ้นมา นั่นคือการเปลี่ยนรางร้างนี้ให้เป็น ด้านบนสวน […]

กรุงเทพฯ แสงสุดจ้า! กับจรรยาพร จุลตามระ

17/02/2020

เอกศาสตร์ สรรพช่าง ทั้งชื่อ (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จรรยาพร จุลตามระ) และงาน (นักวิจัยและนักออกแบบแสงสว่างจาก ศูนย์วิจัยนวัตกรรมเพื่อการส่องสว่าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี)  ของเธอไม่ได้เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากนักเหมือนนักออกแบบสาขาอื่น ทว่าในแวดวงของคนที่ทำงานเรื่องการออกแบบแสง (Lighting Design) แล้ว เธอเป็นไม่กี่คนในไทย ที่มีบทบาทโดดเด่นในเรื่องของการออกแบบแสงกับเมือง โดยเฉพาะประเด็นเรื่องแสงบนพื้นที่สาธารณะ  นักออกแบบแสงกับเมืองนั้นมีความสำคัญมากเพราะเกี่ยวโยงเข้ากับหลายมิติของคนที่อยู่อาศัย ใต้ความสว่าง ทั้งเรื่องความปลอดภัย เรื่องการใช้พลังงาน สิ่งแวดล้อม สุขภาพและอัตลักษณ์ของเมือง แต่ผู้คนส่วนมากมักมองเห็นแสงไฟในมุมของการใช้งานแต่เพียงอย่างเดียว  เรามีโอกาสได้พูดคุยกับเธอบนโถงกิจกรรมที่ชั้น 6 ของตึก KX Connect ซึ่งราวกับมาผิดที่เพราะไฟทุกดวงปิด และเราหาสวิตช์กันอยู่นานกว่าจะเจอ บทสนทนาเรื่องแสงเริ่มต้นในห้องสลัว มีเพียงแสงแดดจากภาพนอกที่ลอดเข้ามาทางหน้าต่างให้พอได้เห็นท่าทีสบายๆ แผงแววตาของความมุ่งมั่น สนุกสนานและ เอาจริงๆ เราแอบเห็นความปลงนิดๆ แบบคนเข้าใจโลกอยู่ในนั้นด้วย Q: คุณเริ่มสนใจเรื่องการออกแบบแสงสว่าง(lighting design) ได้อย่างไร ผมว่าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีบุคลากรที่สนใจเรื่องนี้อยู่ไม่มากนัก A: ครั้งแรกจริงๆ ไม่ได้คิดอะไรมาก คือจบการออกแบบอุตสาหกรรม(Industrial Design) จากจุฬาฯ หลังจากเรียนจบก็หาที่เรียนที่เป็นเฉพาะทาง ซึ่งตอนนั้นก็ไม่มีทางเลือกมาก มีแค่ […]

1 2 3 4 5 6 8