กรุงเทพฯ เมืองเวนิสแห่งตะวันออก กับการสัญจรทางน้ำที่กำลังจะหายไป

06/10/2020

หลายคนคงเคยได้ยินว่า ในอดีตกรุงเทพฯ เคยมีชื่อเล่นเก๋ๆ เป็น ‘เวนิสแห่งตะวันออก’ เนื่องจากมีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านกลางเมือง ทั้งยังมีลำน้ำคูคลองแตกแขนงจำนวนมากที่เชื่อมถึงกันทั้งหมด นำมาซึ่งการสัญจรทางน้ำที่เป็นเส้นทางคมนาคมหลัก คนกรุงเทพฯ จึงผูกพันกับสายน้ำมาอย่างยาวนาน ทว่าปัจจุบันเหล่าคูคลองเหล่านั้นกลับถูกลดบทบาทลง โดยมีตัวละครใหม่อย่าง ‘ถนน’ เข้ามาช่วงชิงความสำคัญแทน คลองจึงค่อยๆ ลดความสำคัญ และค่อยๆ หายไปจากชีวิตประจำวันของเรา ย้อนกลับไปดูในเชิงประวัติศาสตร์ตั้งแต่ก่อนจะมีกรุงเทพมหานคร บริเวณนี้เป็นเพียงสถานีการค้าขนาดเล็กที่อยู่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา โดยแม่น้ำลำคลองเป็นตัวเลือกหลักในการใช้ และขยายเครือข่ายการขนส่ง เราพบว่า ช่วงปีพ.ศ. 2065 – 2179 มีการขุดคลองลัดจากบางกอกน้อย – บางกอกใหญ่ บางกรวยจากวัดชะลอถึงวัดขี้เหล็กบางกอกน้อย และปากคลองแม่น้ำอ้อมถึงวัดเขมา เป็นการเปิดเส้นทางสัญจรใหม่ๆ เพื่อย่นระยะเวลาการเดินทางสู่อยุธยาโดยตรง แม่น้ำลำคลองจึงเป็นแหล่งที่มาของอุปโภค และบริโภค และเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม และประเพณีริมน้ำภาคกลางต่างๆ เช่น ตักบาตร, ลอยกระทง หรือทอดกฐินทางน้ำ ฯลฯ เรียกได้ว่า เป็นเนื้อเดียวกับชีวิตประจำวันของคนกรุง และมีบทบาทสนับสนุนเจริญงอกงามของสังคมเป็นอย่างยิ่ง มีหลายสมมติฐานว่าชื่อ ‘บางกอก’(Bangkok) มีที่มาหลายอย่าง เช่น ‘กอก’ ที่มาจากต้นมะกอกที่ปลูกมากในบริเวณนี้ หรือ ‘เกาะ’ อันหมายถึงพื้นที่ที่ล้อมรอบไปด้วยแม่น้ำ และลำคลองจนเป็นเกาะ เพราะแต่เดิมกรุงเทพในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 โครงข่ายคลองมีลักษณะเป็นใยแมงมุม และมีจำนวนมากกว่า 1,200 คลอง แสดงให้เห็นว่ากรุงเทพฯ มีคลองอยู่จำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว โดยเฉพาะช่วงการขยายตัวของชุมชนทั้งสองฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยา(ธนบุรีและพระนคร) จำนวนคลองที่เชื่อมต่อระหว่างแม่น้ำต่างๆ ก็เพิ่มขึ้น หากมองเฉพาะบริเวณฝั่งธนบุรีไม่เพียงแต่คลองธรรมชาติจำนวนมาก แต่ยังนิยมขุดคลองเพื่อใช้ประโยชน์ทางเกษตรกรรม สังเกตได้ว่าบ้านสวนฝั่งธนจะมีท้องร่อง คลองหลัก และคลองซอยบริเวณรอบบ้านเสมอ ซึ่งคลองขุดหลายๆ สายยังเชื่อมต่อไปยังต่างจังหวัดอีกด้วย สามารถประยุกต์ใช้เป็นการขนส่งแบบพื้นบ้าน (Traditional Logistic) ได้อีกต่อหนึ่ง เป็นเส้นทางขนส่งสำคัญช่วงที่น้ำตาลและข้าวเป็นสินค้าส่งออกหลัก ปัจจุบันฝั่งธนบุรีจึงเป็นฝั่งที่มีคลองมากที่สุดในกรุงเทพฯ โดยบางส่วนยังเป็นเส้นทางสัญจรแบบดั้งเดิม หรือทำการอนุรักษ์ไว้เป็นแหล่งท่องเที่ยวประเภทตลาดน้ำและชุมชนริมคลอง […]

คุณอรรถพร คบคงสันติ ภูมิสถาปนิก: มดงานที่เติบพื้นที่สีเขียวให้กับเมืองคอนกรีต

24/09/2020

ต้นไม้ใบหญ้า พื้นที่สาธารณะดีๆ ที่คนเมืองสามารถใกล้ชิดกับธรรมชาติ เป็นความปรารถนาของคนหลายคน แต่ในเมืองอย่างกรุงเทพมหานครที่คล้ายจะกลายเป็นเมืองคอนกรีตเข้าไปทุกที่ คนเล็กๆ คนหนึ่งจะสามารถเปลี่ยนแปลง เติมสีเขียวได้อย่างไร ชวนหาคำตอบผ่านชีวิตคุณอรรถพร คบคงสันติไปพร้อมกัน! เริ่มต้นร่ำเรียนวิชาสถาปัตย์ฯ คุณอรรถพร คบคงสันติ ภูมิสถาปนิกและผู้บริหารบริษัท T.R.O.P ผู้มีผลงานโดดเด่นคนหนึ่งของประเทศไทย บอกเล่าประสบการณ์และเส้นทางการทำงานทั้งในประเทศ และต่างประเทศที่ได้ใช้ทักษะความรู้ความสามารถในการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับเมือง โดยจุดเริ่มต้นของการร่ำเรียนสู่การเป็นสถาปนิกของเขาเกิดขึ้นที่ภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อนบินลัดฟ้าไปเรียนต่อปริญญาโทที่ Harvard Graduate School of Design ในประเทศสหรัฐอเมริกา การใช้ชีวิตร่ำเรียนในช่วงปริญญาโท และการทำงานที่สหรัฐอเมริกาเป็นหนึ่งปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงชีวิตเขาไปตลอดกาล โดยเขาได้เรียนรู้ผ่านภูมิสถาปนิก ผู้เชี่ยวชาญ 2 ท่าน ได้แก่ George Hargreaves ภูมิสถาปนิกที่เป็นที่รู้จักตั้งแต่อายุเพียง 29 ปี โดดเด่นในการทำงานพื้นที่สาธารณะ และ Bill Bensley สถาปนิกผู้เก่งกาจในการออกแบบโรงแรมที่พักสุดหรู การได้สังเกตการณ์ทำงานจากคนระดับโลกและได้ทำงานที่มีความท้าทายมากมายทำให้ไม่กี่ปีต่อมา เขาเลือกที่จะกลับเมืองไทยและเปิดบริษัทเป็นของตัวเองในชื่อ T.R.O.P อันเป็นการผสมผสานของสองอย่างในการสร้างพื้นที่สีเขียว ได้แก่ ดิน (Terrains) และพื้นที่ว่าง (Open space) […]

“นิเวศแห่งการเรียนรู้” : บนเส้นทางการเติบโตของฮับ – เหมวิช เด็กชายอายุ 13 เจ้าของ นวัตกรรมเพื่อช่วยคนหูหนวก

20/09/2020

เรื่อง : เมธิรา เกษมสันต์ ภาพ/สัมภาษณ์ : ชยากรณ์ กำโชค 11 ปี คืออายุของเด็กชายคนหนึ่ง ที่เดินไปบอกพ่อแม่ว่า “ผมอยากทำเครื่องช่วยฟังเพื่อคนหูหนวก”   12 ปี คืออายุของเด็กชายคนนั้น ที่กำลังนั่งหาข้อมูลวิทยาศาสตร์ ต่อวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และเขียนบทคัดย่อโครงการ เพื่อเตรียมส่งสิ่งประดิษฐ์ที่เขาคิดค้นเข้าประกวดในโครงการ Google Science Fair 13 ปี คืออายุเมื่อเขาได้เข้ารอบ 20 คนสุดท้าย ซึ่งถือเป็นเด็กไทยคนแรกที่ได้เข้ามาถึงรอบนี้ และเป็นผู้มีอายุน้อยที่สุดของผู้เข้าร่วมโครงการ เด็กชายคนนั้นมีชื่อว่า เหมวิช วาฤทธิ์ หรือ ฮับ สิ่งประดิษฐ์ของเขา คือเครื่องช่วยฟัง EarZ สำหรับผู้พิการทางการได้ยิน ที่ใช้หลักการการนำเสียงผ่านกระดูก (Bone Conduction) และโปรแกรมฝึกการเปล่งเสียง EZ Speak เพื่อช่วยให้พวกเขาออกเสียงได้ชัดถ้อยชัดคำมากขึ้น   สิ่งที่น่าสนใจของเด็กชายคนนี้ ไม่ได้อยู่ที่ความอัจฉริยะเหนือเด็กทั่วไป แต่อยู่ที่วิธีการคิด วิธีการเรียนรู้ และสภาพแวดล้อมที่เด็กชายคนนี้เติบโตมา อะไรคือสิ่งที่ทำให้เด็กอายุ […]

เมือง เปลี่ยน ย่าน ? ย่านจะอยู่อย่างไร เมื่อคนรอบข้างเปลี่ยนไป : ชวนพูดคุยกับ ธีรนันท์ ช่วงพิชิต

01/09/2020

ในยุคสมัยที่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทกับมนุษย์มากขึ้น เป็นเหมือนหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดการขยายตัวของเมือง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเดินทาง การติดต่อสื่อสารและการอยู่อาศัย แต่ในขณะเดียวกันตัวแปรสำคัญนี้ก็ได้เข้ามาเปลี่ยนวิถีชีวิตของผู้คนให้เปลี่ยนไปจากเดิม จากชุมชนเล็กๆ กลายมาเป็นชุมชนเมืองขนาดใหญ่ ลองตั้งคำถามดูว่าย่านชุมชนเก่าแก่ จะสามารถรักษามรดกวัฒนธรรมไปพร้อมๆ กับการยกระดับย่านได้หรือไม่ และจะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงนี้อย่างไรเพื่อไม่ให้ถูกกลืนกิน วันนี้จะชวนพูดคุยกับ คุณธีรนันท์ ช่วงพิชิต ผู้ก่อตั้งศูนย์ข้อมูลประวัติศาสตร์ชุมชนธนบุรีและประธานมูลนิธิประชาคมย่านกะดีจีน-คลองสาน หนึ่งในผู้ผลักดันเพื่อการพัฒนาย่านควบคู่ไปกับรักษามรดกวัฒนธรรมของชุมชนเก่าแก่ใน กรุงเทพมหานคร คุณมีความคิดเห็นอย่างไรกับความแตกต่างระหว่างกรุงเทพฝั่งพระนครกับกรุงเทพฝั่งธนฯ ในแง่ของ วิถีชีวิต เศรษฐกิจ ตึกรามบ้านช่อง รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ “เบื้องต้นต้องทำความเข้าใจบริบททางสังคมศาสตร์ให้ได้ก่อนว่าไม่ใช่ฝั่งธนฯ คือฝั่งตะวันตก พระนครคือฝั่งตะวันออก อันนี้เราเข้าใจผิดทันที ประวัติศาสตร์จริงๆ คือ สังคมกับวัฒนธรรมทั้งสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นวัฒนธรรมชุดเดียวกัน แต่ช่วงระยะเวลามันจะเหลื่อมกันประมาณ 15 ปี ในช่วงของ พ.ศ.2310-2325 เป็นเวลาของกรุงธนบุรี แต่ในขณะเดียวกันเวลาของกรุงรัตนโกสินทร์ หรือที่เราเรียกกันว่าบางกอกก็คือ ปี 2325 จนถึงแง่ใดแง่หนึ่งมันจะเป็นการใช้พื้นที่ที่ทับซ้อนกันอยู่ “ธนบุรีเป็นเมืองทั้งสองฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยา ที่เราเรียกว่าเมืองอกแตก จึงไม่ใช่เมืองฝั่งตะวันตก ถ้าเรียกว่าเมืองอกแตกแล้วเรียกฝั่งธนฯ เป็นฝั่งตะวันตกแสดงว่าผิด เพราะมันคือทั้งสองฝั่ง กรุงเทพฯ คือเมืองที่ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกภายหลัง ฉะนั้นการใช้ประวัติศาสตร์ลักษณะนี้จะทำให้เราเข้าใจถึงเรื่องของมิติทางประวัติศาสตร์ที่ทำให้เราเข้าใจตัวตนเรามากขึ้นว่าเป็นเมืองที่มีทั้งสองฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยา” ในแง่ของวิถีชีวิต การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดเกิดจากการชะลอประวัติศาสตร์ของพื้นที่ ที่เกิดจากความเจริญทางกายภาพที่เข้ามาไม่ถึงในช่วง […]

18 พฤษภา วันพิพิธภัณฑ์สากล ย้อนรอยความสำคัญย่านกะดีจีน-คลองสาน

01/09/2020

หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่าวันที่ 18 พฤษภาคม ถูกจัดให้เป็นวันพิพิธภัณฑ์สากล หรือ International Museum Day เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของสถานที่แห่งนี้ นับว่าเป็นสถานที่สำหรับการเรียนรู้และจัดเก็บเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ไว้มากมาย และเนื่องในวันพิพิธภัณฑ์สากลเราจะขอพูดถึงเรื่องราวความงดงามเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ย่านกะดีจีน-คลองสาน วันพิพิธภัณฑ์สากลเกิดขึ้นได้อย่างไร ? วันพิพิธภัณฑ์สากลถูกสถาปนาครั้งแรกในปี 1977 โดยสภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างประเทศ หรือ International Council of Museum : ICOM เพื่อให้ประชาชนได้กลับมาสนใจเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ และให้ความสำคัญกับสถานที่แห่งนี้ ซึ่งชาวพิพิธภัณฑ์ในหลายๆ ประเทศมีการจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองในวันนี้ด้วย พิพิธภัณฑ์ในย่านกะดีจีน – คลองสาน อยู่ตรงไหนบ้าง ? พื้นที่ย่านกะดีจีน – คลองสานถือเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์ ซึ่งแน่นอนว่าที่แห่งนี้มีเรื่องราวมากมายที่สามารถเข้าไปเรียนรู้ โดยในบทความนี้จะขอพูดถึงความงดงามของพิพิธภัณฑ์ในย่าน 4 แห่งด้วยกันดังนี้ พิพิธภัณฑ์บ้านกุฎีจีน ที่แรกคือพิพิธภัณฑ์บ้านกุฎีจีน ซึ่งด้านล่างของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ถูกจัดเป็นร้านกาแฟเล็กๆ เพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยว ส่วนชั้นบนจะเป็นพื้นที่เก็บรวบรวมประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาจนถึงปัจจุบัน ข้อมูลส่วนหนึ่งจะเกี่ยวกับชุมชนชาวสยาม – โปรตุเกส รวมไปถึงประวัติแม่นางมารี กีมาร์หรือท้าวทองกีบม้า นอกจากนี้ยังมีห้องจัดแสดงประวัติข้าวของเครื่องใช้ของชาวโปรตุเกสที่เข้ามาในสยามอดีต เช่น โมเดลจำลองเรือสินค้าที่เข้ามาค้าขายในสยาม ข้าวของเครื่องใช้ในสมัยอยุธยา และยังมีเรื่องราวอีกมากมายที่รอให้เราได้เข้าไปเรียนรู้ประวัติศาสตร์ พิพิธภัณฑ์บ้านกุฎีจีนตั้งอยู่ที่ […]

ชวนดูเทรนด์การพัฒนาเมืองด้วยข้อมูลเปิด แก้ปัญหาสาธารณะจากเทคโนโลยีและความร่วมมือของทุกคน

01/09/2020

ปกติเวลาคุณเห็นปัญหาสาธารณะอย่างทางเดินเท้า ไม่ว่าจะเป็นบล็อกแตก ทางเดินขาด ขยะล้น มอเตอร์ไซค์วิ่งข้างบน หรือคนตั้งของขวางทาง ฯลฯ แล้วคุณทำอย่างไร? ปัญหาทางเดินเท้าเรียกได้ว่าเป็นปัญหาคลาสสิกของมนุษย์กรุงเทพฯ ที่ต้องพบเจอในชีวิตประจำวัน ซึ่งเชื่อได้ว่าหลายคนคงทำได้แค่บ่นกับคนรู้จักหรือทางโซเชียลมีเดียไปวันๆ แต่คุณเคยสังเกตไหมว่าสุดท้ายแล้วปัญหาเหล่านี้ก็ยังอยู่เราและไม่ได้รับการแก้ไขใดๆ นานวันเข้าก็กลายเป็นความ ‘เคยชิน’ ในการอยู่ร่วมกับปัญหาเหล่านั้นเสียแล้ว แต่เดิมการแก้ปัญหาเมืองคือการที่หน่วยงานของรัฐลงพื้นที่ในชุมชนด้วยตนเอง สิ่งนี้เป็นกระบวนการที่ล่าช้าใช้งบประมาณจำนวนมากและไม่ทั่วถึงทุกพื้นที่ ฉะนั้นปัญหาต่างๆ ก็จะถูกแก้ไขเพียงบางส่วนเท่าที่ผู้ดูแลสำรวจเห็น ครั้นเกิดการปฏิวัติเทคโนโลยีและข้อมูลข่าวสาร โดยเฉพาะอินเตอร์เน็ตที่ทำให้เราเชื่อมต่อกับข้อมูลสรรพสิ่งจำนวนมาก Big data จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในแวดวงต่างๆ หนึ่งในนั้นคือบริบทการฟื้นฟูและการบริหารจัดการเมือง ทำให้เกิดแนวคิดการเปิดเผยข้อมูลสู่สาธารณะ หรือ Open Data ที่นำความรวดเร็วของเทคโนโลยีบวกกับความร่วมมือของประชาชนมาสร้างช่องทางในการแจ้งปัญหา เปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการสร้างคุณภาพชีวิตในเมืองให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งปัญหาสาธารณะเป็นปัญหาที่ทั่วโลกประสบเหมือนกัน แต่หลายประเทศเริ่มนำแนวคิด Open Data มาใช้พัฒนาเมืองกันบ้างแล้ว เราไปดูตัวอย่างจากต่างประเทศกันหน่อยว่าเขาประยุกต์ใช้แนวคิดการจัดการข้อมูลมาสร้างช่องทางหรือแพลตฟอร์ม Open Data ในการปรับปรุงและพัฒนาเมืองอย่างไรกันบ้าง? Fix My Street เป็นแพลตฟอร์มของประเทศอังกฤษที่จัดทำโดยวิสาหกิจเพื่อสังคม mySociety โดยมีจุดประสงค์เป็นช่องทางกลางให้ประชาชนสามารถเข้าไปปักหมุดแจ้งปัญหา รายงาน หรือพูดคุยเกี่ยวกับถนนและทางเดินเท้าทั่วทั้งประเทศ ซึ่งปัญหาต่างๆ จะส่งไปยังผู้รับผิดชอบโดยตรง (เข้าไปดูตัวอย่างการแจ้งปัญหาได้ที่ >>> Fix My Street) Qlue แพลตฟอร์มเพื่อนบ้านอาเซียนจากกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เป็นแพลตฟอร์มที่ให้ประชาชนกลายเป็นหนึ่งในผู้ตรวจสอบการทำงานของส่วนบริหารท้องถิ่น สามารถร้องเรียนเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในเมือง เช่น ปัญหาทางเดินเท้า พื้นถนน ขยะ ไฟจราจร กระทั่งถึงอาชญากรรม โดยปัญหาต่างๆ จะส่งตรงไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่นกัน (เข้าไปดูตัวอย่างการแจ้งปัญหาได้ที่ >>> Qlue) The Clean Streets L.A. แพลตฟอร์มในสหรัฐ […]

เพราะเป็นคนกรุงเทพฯ จึงเจ็บปวด : เมืองไร้แสง ภัยจึงมี

01/09/2020

เคยไหม? เวลาเดินกลับบ้านคนเดียวในซอยเปลี่ยวตอนกลางคืน จู่ๆ คุณก็รู้สึกขนลุก ใจหวิว เสียวสันหลัง เหมือนมีใครเดินตามตลอดเวลา พอหันกลับไปก็ไม่มีอะไร นานเข้าคล้ายว่าเราเป็นโรคหวาดระแวงไปเสียแล้ว มันไม่ใช่เรื่องแปลกที่คุณจะรู้สึกเช่นนั้น เพราะจากสถิติการรับแจ้งกลุ่มคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ ภายในพื้นที่กรุงเทพฯ ช่วง พ.ศ. 2554 – 2558 พบว่า คดีวิ่งราวทรัพย์, กรรโชกทรัพย์, ชิงทรัพย์ และปล้นทรัพย์ ไม่ได้มีแนวโน้มลดลงแต่อย่างใด หนำซ้ำบางคดียังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อยอีกด้วย เช่น คดีปล้นทรัพย์ที่มีจำนวนรับแจ้ง 56, 106, 105 , 113 และ 114 คดีตามลำดับ สอดคล้องกับผลสำรวจจากหน่วยวิจัยระดับโลก Economist Intelligence Unit ที่จัดอันดับกรุงเทพฯ ติดกลุ่มเมืองไม่ปลอดภัยที่สุดในโลก 12 ลำดับสุดท้าย และติดอันดับ 4 เมืองที่เกิดก่อการร้ายบ่อยและรุนแรงสูง เมื่อเทียบกับผลสำรวจสภาพปัญหาการเดินเท้าในพื้นที่กรุงเทพฯ ปี 2558 ของศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) ก็พบว่า ปัญหาสำคัญต่อการเดินเท้าในกรุงเทพฯ คือ ปัญหาด้านความปลอดภัย ประกอบด้วยปัญหาอันตรายจากอาชญากรรม […]

ความสัมพันธ์ระหว่างเรา : คนกับพื้นที่เมือง และการพัฒนาพื้นที่สาธารณะอย่างมีชีวิตชีวา

01/09/2020

พื้นที่สาธารณะคืออะไร ใช้ทำอะไรได้บ้าง ‘พื้นที่สาธารณะ’ (Public Space) เป็นการใช้พื้นที่ทำกิจกรรมร่วมกันโดยไม่ได้จำกัดว่าจะเป็นรูปแบบไหน เช่น ถนน ทางเดิน สวนสาธารณะ สนาม ลานชุมชน ลานเมืองเป็นต้น ซึ่งสามารถเข้าใช้พื้นที่ได้โดยไม่ต้องขออนุญาต ทั้งยังเป็นพื้นที่ที่สามารถเข้าถึงได้หรือแบ่งปันร่วมกันสมาชิกทุกๆ คน พื้นที่สาธารณะจึงเป็นพื้นที่ที่สามารถเข้าถึงได้ในเชิงกายภาพซึ่งสามารถมองเห็นได้จากทุกคนและมีการเข้าถึงได้มากกว่าพื้นที่ส่วนตัว นอกเหนือจากพื้นที่ทางกายภาพแล้ว จะต้องสร้างความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันระหว่างคนกับสถานที่ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะสร้างให้พื้นที่สาธารณะเกิดการใช้งานอย่างมีชีวิตชีวาคือ การสร้างให้เกิดปฏิสัมพันธ์ของผู้คน ดังนั้นพื้นที่สาธารณะจะต้องมีการเข้าถึงพื้นที่ การเชื่อมต่อที่ดี ความรู้สึกสบาย ปลอดภัย บรรยากาศที่เชื้อเชิญ และมีกิจกรรมเพื่อสนับสนุนให้เกิดการเข้าสังคมของผู้ใช้พื้นที่ กรุงเทพฯ vs วอร์ซอ กรุงเทพมหานครเป็นเมืองขนาดใหญ่มีพื้นที่กว่า 1,569 ตร.กม. และมีประชากรกว่า 10 ล้านคน เมื่อเปรียบเทียบแล้วเมืองวอร์ซอมีพื้นที่ 517 ตร.กม. มีประชากร 2.5 ล้านคน กล่าวคือวอร์ซอมีขนาดเล็กกว่ามาก เห็นได้ว่าเมื่อเปรียบเทียบพื้นที่เมืองต่อจำนวนประชากรกรุงเทพฯ มีพื้นที่ต่อคนน้อยกว่าคนวอร์ซอถึงร้อยละ 25 อีกทั้งเมืองวอร์ซอยังมีพื้นที่สีเขียวโดยรวมกว่าร้อยละ 40 ของพื้นที่เมืองและสัดส่วนของพื้นที่สาธารณะยังมีสูงถึงถึง 62 ตร.ม.ต่อคน แต่คนกรุงเทพฯ มีเพียง 6.2 ตร.ม.ต่อคน หรือต่างกันกว่า […]

จากม่านรูดสู่ออฟฟิศสร้างสรรค์ : มุมมองเมืองผ่านสายตานักออกแบบ

01/09/2020

ภาพ : หฤษฎ์ ธรรมประชา เมื่อเอ่ยถึงชื่อ ถ.ประดิพัทธิ์ นอกจากภาพจำอย่างการเป็นถนนสายของกินที่คึกคักแหล่งรวมโรงแรมที่พักของชาวต่างชาติ และสถานสังสรรค์ยามราตรีแล้ว ประดิพัทธิ์ในทศวรรษที่ผ่านมายังเต็มไปด้วยการเปลี่ยนผ่านเชิงกายภาพและการไหลเวียนของผู้คนที่สำคัญจนอาจนำไปสู่การปรับประสานเป็นย่านประดิพัทธิ์ใหม่เช่นปัจจุบัน หมุดหมายสำคัญหนึ่งของการเปลี่ยนผ่านบริเวณโดยรอบนี้คือการตัดผ่านของรถไฟฟ้าสายสุขุมวิทที่ไม่เพียงเอื้อให้เกิดการเชื่อมต่อการเดินทางเท่านั้น แต่ยังดึงดูดให้เกิดการลงทุนและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ที่พื้นที่ ประดิพัทธิ์ในวันนี้จึงเต็มไปด้วยโปรเจ็กน้อยใหญ่ เช่น คอนโด ร้านอาหาร คาเฟ่ชิคๆ ที่เริ่มเข้ามาเปิดตัวและแทบไม่น่าเชื่อที่ ซ.ประดิพัทธิ์ 17 นี้มีโครงการอาคารสำนักงานอย่าง 33 Space ในบรรยากาศเป็นกันเองซ่อนตัวอยู่ก่อนกระแสพื้นที่สร้างสรรค์จะเริ่มเป็นที่สนใจในประเทศไทย ถ้าจะพูดให้จ๊าบสมวัยหน่อยก็ต้องบอกว่า ที่ 33 Space นี้ช่าง Hipster before it was cool! ในเชิงพื้นที่ 33 Space เป็นอาคารสำนักงานที่มีขอบเขตแน่ชัดและอยู่ผสมกลมกลืนกับ ซ.ประดิพัทธิ์ 17 มานานจนเป็นส่วนหนึ่งของคนในย่านไปแล้ว อีกทั้งที่นี่ยังวางแผนระบบการอยู่ร่วมกันที่ค่อนข้างเอื้อให้คนทำงานใช้ชีวิตอย่างครบวงจร ทั้งการมีโรงอาหารกลาง มีลานจอดรถ มีแม่บ้านช่วยทำความสะอาด และมีพนักงานรักษาความปลอดภัยดูแลตลอด 24 ชม. บรรยากาศภายในจึงดึงดูดทั้งผู้ประกอบการรวมถึงคนทำงาน และความคึกคักของถนนสายของกินอย่างประดิพัทธิ์ก็ช่วยเติมสีสันให้การทำงานและการใช้ชีวิตในย่านนี้ จากม่านรูดสู่พื้นที่สร้างสรรค์ แรกเริ่มเดิมที 33 space เกิดขึ้นจากการปรับปรุงพื้นที่ม่านรูดและห้องพักรับรองแขกระดับสูงที่หมดสัญญาเช่ามาแปลงโฉมเป็นออฟฟิศขนาดกะทัดรัดที่ยังคงรูปแบบสถาปัตยกรรมเก่าไว้ ความเป็นมิตรของพื้นที่ […]

20 ปีของการพัฒนาเมือง : บทเรียนที่แสนเจ็บปวด La Confluence และ มักกะสัน

01/09/2020

หลายคนคงคุ้นเคยกับพื้นที่ขนาดใหญ่ใจกลางเมืองกรุงเทพฯ อย่างพื้นที่สวนลุมพินีซึ่งมีขนาด 360 ไร่ หรือพื้นที่สนามหลวงใจกลางเกาะรัตนโกสินทร์ เเต่อาจจะมีไม่กี่คนที่รู้จักพื้นที่ขนาดใหญ่อย่างพื้นที่มักกะสันที่มีขนาดใหญ่กว่า 700 ไร่ โดยมีขนาดเป็น 1.3 เท่าของพื้นที่สวนลุมพินี หรือเปรียบได้กับสนามหลวง 9 เเห่งด้วยกัน เเต่ปัจจุบันพื้นที่มักกะสันยังถูกปล่อยให้ร้างท่ามกลางการพัฒนาของพื้นที่อื่นๆ โดยรอบ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับพื้นที่ La Confluence ในประเทศที่พัฒนาเเล้วอย่างฝรั่งเศส ซึ่งเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมเก่าเเก่ใจกลางเมืองที่เคยถูกปล่อยให้ร้างเเละส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเชื่อมต่อกับเนื้อเมืองโดยรอบ โดยในบทความนี้จะอธิบายถึงขั้นตอนเเละเเนวคิดในการเเก้ไขปัญหาพื้นที่ลักษณะนี้ ผ่านกระบวนการวางผังเเละออกเเบบเมืองจนเป็นรูปธรรมภายในระยะเวลาเพียงเเค่ 20 ปี โครงการพัฒนาและฟื้นฟูพื้นที่เมืองลียงหรือ “La Confluence” นั้นตั้งอยู่ในพื้นที่อุตสาหกรรมเก่าเเก่ที่มีขนาดใหญ่กว่า 1.5 ตร.กม. โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากการที่โรงงานอุตสาหกรรมที่เคยตั้งอยู่บริเวณพื้นที่เริ่มมีการปิดกิจการเเละย้ายออกจากพื้นที่ จึงเป็นผลให้พื้นที่กลายเป็นพื้นที่รกร้าง เสื่อมโทรมเเละไม่น่าอยู่อาศัย ผู้คนต่างพยายามหลีกเลี่ยงการเดินทางมายังพื้นที่บริเวณนี้ เพราะนอกจากจะเป็นที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรมเเล้ว ยังเป็นย่านที่อยู่อาศัยของชนชั้นเเรงงาน รวมถึงคุก St.Paul ทั้งๆ ที่บริเวณนี้นอกจากจะมีสถาปัตยกรรมของสถานีรถไฟเก่าเเก่อย่างสถานี Perrache เเล้ว ยังเป็นพื้นที่ที่อยู่บริเวณเเหลมของเกาะใจกลางเมืองลียง ที่เป็นจุดตัดของเเม่น้ำสายสำคัญอย่างเเม่น้ำโซน (Saone) เเละแม่น้ำโรน (Rhone) ที่มีมุมมองของคุ้งน้ำที่สวยงามซึ่งเป็นทำเลที่มีศักยภาพมาก จากทำเลที่ตั้งที่เชื่อมต่อกับตัวเมืองทั้งฝั่งตะวันตกเเละฝั่งตะวันออกได้ จากการที่พื้นที่ที่มีศักยภาพระดับนี้ เเต่กลับถูกทิ้งร้างเเละเป็นที่หลีกเลี่ยงของผู้คนในเมือง ทางภาครัฐจึงได้มีการเสนอให้มีการบูรณะฟื้นฟูเมืองบริเวณนี้ โดยนอกจากจะเป็นการใช้พื้นที่ให้เหมาะสมกับศักยภาพที่มีอยู่เเล้ว ยังเป็นโอกาสในการเชื่อมต่อพื้นที่บริเวณนี้กับพื้นที่ด้านข้าง รวมถึงเป็นการขยายศูนย์กลางเมือง ไปทางใต้ของเกาะมากขึ้น ซึ่งจากเดิมการพัฒนาของเมืองลียงจะหยุดอยู่เเค่ที่สถานี Perrache ที่เปรียบเสมือนกำเเพงที่เเบ่งเกาะออกเป็น 2 ส่วน นั่นคือส่วนเหนือเเละส่วนใต้ ซึ่งผลจากการพัฒนาฟื้นฟูพื้นที่บริเวณนี้ จะเป็นการเชื่อมเเกนเหนือ-ใต้ของเมือง โดยจุดประสงค์หลักคือ การเพิ่มความหนาเเน่นพร้อมกับการสร้างพื้นที่สาธารณะเเละพื้นที่สีเขียวให้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชนทุกเพศ ทุกวัยเเละทุกกลุ่มรายได้ให้สามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียม รวมถึงการสร้างความสมดุลระหว่างจำนวนของประชากรกับการใช้งานของพื้นที่โดยมีธีมหลักในการออกเเบบคือ เเม่น้ำสายสำคัญทั้ง 2 สายที่ขนาบข้างพื้นที่โครงการ โดยโครงการเเบ่งออกเป็น 2 ระยะ เเละมีระยะเวลาในการดำเนินงานทั้งหมด 20 ปี ซึ่งในระยะเเรก จะเป็นการพัฒนาพื้นที่ฝั่งตะวันตก หรือพื้นที่ที่อยู่ติดกับเเม่น้ำโซน (Saone) โดยมีเเนวคิดหลักคือ การพัฒนาให้กลายเป็นเมืองตัวอย่าง ผ่านการผสมผสานการใช้งานของพื้นที่ที่มีความหลากหลาย ซึ่งประกอบไปด้วย พื้นที่อยู่อาศัยเเละสำนักงาน รวมถึงพื้นที่สาธารณะ โดยลักษณะสัณฐานเดิมของพื้นที่บริเวณริมเเม่น้ำโซน (Saone) นั้น […]

1 2 3 4 8