เมื่อประสบการณ์ตกรถ กลายมาเป็นไอเดียพัฒนาขนส่งสาธารณะ กับ ‘อินทัช มาศวงษ์ปกรณ์’ ผู้ก่อตั้ง ViaBus

12/06/2023

คุณเคยใช้เวลารอรถเมล์นานที่สุดกี่ชั่วโมง? ไม่แปลกหากจะใช้คําว่า ‘ชั่วโมง’ เพราะใครเดินทางโดยรถเมล์เป็นประจําคงรู้ซึ้งถึงการรอแสนเนิ่นนาน โดยเฉพาะการรอแบบไม่รู้ว่าเมื่อไรจะมา ที่อาจทําให้ผู้ใช้รถเมล์ตกอยู่ในสถานการณ์ต้องตัดสินใจเลือกระหว่าง ยอมแพ้เปลี่ยนไปใช้ขนส่งสาธารณะอื่น หรือปักหลักรอจนถึงที่สุดดี แม้ปัจจุบันกรุงเทพฯ จะมีทางเลือกในการเดินทางเพิ่มมากขึ้นกว่าในอดีต แต่รถเมล์ยังคงเป็นขนส่งสาธารณะพื้นฐานที่มีผู้ใช้ราว 5 แสนคนต่อวัน ปัญหารถเมล์มาช้าจึงกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้คนจํานวนมาก และเกี่ยวเนื่องกับปัญหาจราจรติดขัดที่แก้ไม่ได้อย่างยากลําบาก ซึ่งถ้าหากจะมีวิธีไหนสามารถช่วยได้ การรู้พิกัดรถเมล์อาจทําให้ทุกคนสามารถวางแผนการเดินทางได้สะดวกขึ้น แนวคิดนี้เป็นที่มาของ ‘ViaBus’ แอปพลิเคชันนําทางและติดตามระบบขนส่งสาธารณะแบบเรียลไทม์รายแรกของไทย ที่เพิ่งได้รับรางวัล Forbes 30 under 30 Asia-2021 จากนิตยสารฟอร์บ (Forbes) โดยมีจุดเริ่มต้นจากกลุ่มเพื่อน 3 คน ที่ลุกขึ้นมาตั้งคําถามว่าพวกเขาจะใช้ความรู้ของตัวเองพัฒนาการใช้ขนส่งสาธารณะอย่างไรได้บ้าง วันนี้ The Urbanis ชวน ‘อินทัช มาศวงษ์ปกรณ์’ ประธานกรรมการบริหารและผู้ร่วมก่อตั้งแอปพลิเคชัน ViaBus มาพูดคุยถึงประสบการณ์เปลี่ยนความเจ็บใจในการตกรถเมล์มาเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้ผู้ใช้บริการขนส่งสาธารณะรอรถอย่างมีความหวัง และเมื่อ Open data และเทคโนโลยีเป็นเทรนด์หนึ่งในการพัฒนาเมืองของโลก อินทัชที่คลุกคลีอยู่ในแวดวงนี้มีมุมมองอย่างไร เป็นไปได้ไหมที่ทุกคนในฐานะผู้ใช้เทคโนโลยีจะร่วมขับเคลื่อนเมืองไปพร้อมกัน ประสบการณ์ตกรถ จุดประกายแนวคิด ขณะยังเป็นนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อินทัชเจอประสบการณ์ตกรถเมล์ที่ให้บริการรอบมหาวิทยาลัยตั้งแต่วันแรกของการเรียน แต่นั่นกลับเป็นแรงผลักดันให้เขาชวนเพื่อนอีกสองคน คือ ธนัทเศรษฐ์ […]

‘ยังธน’ กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่หยิบความสนุกลุกมาพัฒนาเมือง

20/02/2023

ภาพประกอบ: ยังธน คนธรรมดาอย่างเราจะทําอะไรเพื่อเมืองได้บ้าง? เชื่อว่าในช่วงเวลาที่ประเทศและบ้านเมืองเต็มไปด้วยปัญหาหลากหลายด้าน รอให้รัฐเข้ามาแก้ไข แต่เท่าไหร่ก็เหมือนว่าปัญหานั้นจะไม่ได้รับการมองเห็น หรือหยิบยกมาเป็นประเด็นสําคัญสักที จึงไม่แปลกหากคนที่รอมานานจะอยากลุกขึ้นมาแก้ไขด้วยตัวเอง หนึ่งในนั้นคือ ‘ยังธน’ การรวมกลุ่มกันของคนจากต่างสาขาอาชีพที่มีความสนใจในเรื่องเมืองและเห็นตรงกันว่าจะไม่ทนอีกต่อไป เกิดเป็นเสมือนแพลตฟอร์มที่เปิดโอกาสให้พลเมืองผู้เป็น active citizen ได้เข้ามาร่วมพัฒนาพื้นที่ชุมชนของตัวเองในมิติต่างๆ เพราะเชื่อในพลังของความคิดสร้างสรรค์และการลงมือทํา พวกเขาจึงเปลี่ยนเอาประเด็นทางสังคมที่ดูเข้าถึงยากมาปรับรูปโฉมใหม่ สื่อสารและสร้างการตระหนักรู้ ผ่านกิจกรรมสนุกๆ ที่คนในชุมชนสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมได้จริง เช่น ยังธนคัพ ที่สื่อสารประเด็นเรื่องพื้นที่สาธารณะผ่านศึกลูกหนังระหว่างชุมชน และเกมท่องธน เกมออนไลน์กระตุ้นเศรษฐกิจในย่านบางกอกใหญ่ที่พวกเขากําลังพัฒนากันอยู่ กระบวนการทํางานเมืองให้ออกมาสนุกและสร้างการตระหนักรู้ให้คนในชุมชนได้จริง ต้องทําอย่างไร ตามไปคุยกับ จั่น-จิรทิพย์ เทวกุล แทน-แทนไท นามเสน บลู-รวิพล เส็นยีฮีม ฟิล์ม-ชญานนท์ เส็นยีฮีม และ ฮิน-ฐากูร ลีลาวาปะ ตัวแทนจากกลุ่มยังธน อะไรคือกระบวนการทํางานของยังธนที่ไม่ว่าจะในโปรเจกต์ไหนๆ เราก็ยึดวิธีการนี้มาเป็นหลักในการทํางาน แทน : น่าจะเป็นกระบวนการมีส่วนร่วม แสดงความคิดเห็น แชร์ไอเดียกัน ซึ่งไม่ใช่แค่ทีมยังธนกับคนในชุมชนนะ แต่ยังรวมถึงคนในทีมด้วยกันเองด้วย เพราะพอเรามีสมาชิกที่มาจากหลากหลายอาชีพ หลากหลายความสนใจ มันก็ต้องประนีประนอมกันในเรื่องของความแตกต่างทางด้านความคิดด้วย จั่น : ความหลากหลายของสมาชิกก็ทําให้เรามีองค์ความรู้อีกสารพัดเลยที่นํามาแชร์ […]

คุยเรื่องการเปลี่ยนแปลงเมืองที่เริ่มจาก “ความร่วมมือของคนหลายกลุ่ม” กับ ตุลย์ ปิ่นแก้ว

24/01/2023

การเดินทางมาบรรจบกันระหว่างหลายสิ่งหลายอย่างในพื้นที่เขตเมืองอย่างกรุงเทพมหานคร ไม่ว่าจะเป็นผู้คน ข้าวของ สื่อ เงินทุน และความคิดต่างๆ อย่างหลากหลายรูปแบบนั้น มาพร้อมกับความแปลกใหม่ สร้างสรรค์ และน่าค้นหา แต่ในขณะเดียวกัน สิ่งต่างๆ เหล่านี้ ก็มักจะมาพร้อมกับความไม่ปลอดภัย และที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าจะมีหลายภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นประชาชนทั่วไป นักเรียน นักศึกษา นักวิชาการ ภาคธุรกิจ หน่วยงานรัฐ และองค์กรอิสระทั้งในและระหว่างประเทศ จะมาช่วยกันหาแนวทางในการแก้ไข แต่จนแล้วจนรอด ความไม่ปลอดภัยในเมืองก็ยังมีให้เห็นและถูกนำเสนอผ่านหน้าสื่ออยู่เสมอ ในเมื่อมีผู้คนและองค์กรจำนวนหนึ่ง ที่มาพร้อมกับความสามารถที่หลากหลาย และต้องการทำอะไรบางอย่างเพื่อสังคม แต่ยังไม่ทันได้รู้จักกันมากพอนั้น ด้วยเหตุนี้ “ตุลย์ ปิ่นแก้ว” ในฐานะผู้ก่อตั้ง และผู้อำนวยการด้านการวางแผนยุทธศาสตร์ของ SideKick จึงให้ความสนใจมาทำหน้าที่เป็น “คนตรงกลาง” ที่จะเข้ามาช่วยและอยู่เหลือหลังให้กับภาคส่วนต่างๆ SideKick กับบทบาทในฐานะ “คนตรงกลาง” “เราทำหน้าที่เหมือนเป็นคนตรงกลาง ที่คอยช่วยองค์กรเหล่านี้ ที่เขาเก่งเรื่องงานวิชาการอยู่แล้ว เก่งเรื่องงานภาคสนาม จะทำอย่างไรให้งานของเขาสื่อสารกับประชาชน แล้วก็สร้างการมีส่วนร่วมให้ง่ายขึ้น เข้าถึงคน อีกส่วนนึ่งก็คือการทำงานเรื่องของการวางแผนนโยบาย ช่วยในเรื่องของ ถ้าเราจะสื่อสารประเด็นทางสังคมไปสู่ผู้กำหนดนโยบาย จะทำอย่างไงให้สามารถเข้าใจได้ และเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ อันนี้คือหน้าที่หลักของ SideKick” […]

กฎหมายอากาศสะอาด ทางออกของเมืองรมฝุ่น กับ รศ.ดร.คนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม

21/06/2022

“คนไทยทุกคนกำลังมีอายุขัยสั้นลง 1.8 ปี” นี่ไม่ใช่การสาปแช่ง แต่เป็นสิ่งที่คนไทยทุกคนต้องเผชิญ หากอากาศที่เราสูดหายใจเข้าไปทุกวันยังคงมีระดับมลพิษสูงกว่ามาตรฐานที่องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำถึง 5 เท่า มลพิษทางอากาศเป็นปัญหาที่พบได้โดยทั่วไปในเมืองใหญ่ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยที่มีระดับมลพิษทางอากาศสูงเป็นอันดับ 4  ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงก็คือ ‘ประชาชน’ และข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ชี้ให้เห็นว่ามลพิษทางอากาศคร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกก่อนวัยอันควรไปประมาณ 7 ล้านคนต่อปี ทั้งยังก่อให้เกิดปัญหาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมตามมา  เมื่อทุกชีวิตขึ้นอยู่กับอากาศที่สูดเข้าไป นักวิชาการหลากหลายสาขาและภาคประชาชนที่ไม่อาจนิ่งเฉย จึงรวมกลุ่มกันก่อตั้ง ‘เครือข่ายอากาศสะอาดประเทศไทย (Thailand CAN)’ ขึ้นมา เพื่อหาทางออกให้แก่เรื่องนี้ จนกลายมาเป็นการเสนอร่าง พ.ร.บ.กำกับดูแลการจัดการอากาศสะอาดเพื่อสุขภาพแบบบูรณาการ พ.ศ. … หรือ ร่าง พ.ร.บ.อากาศสะอาด ที่เพิ่งยืนเสนอต่อรัฐสภาเมื่อเดือนมกราคมปี 2565  ระหว่างกำลังเฝ้ารอการพิจารณาว่า ร่าง พ.ร.บ.อากาศสะอาด ฉบับนี้ที่มีประชาชนร่วมเสนอชื่อกว่า 26,500 รายชื่อ จะถูกปัดตกหรือไม่   The Urbanis ชวน ‘รศ.ดร.คนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม’ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายสิ่งแวดล้อม และผู้ร่วมก่อตั้งเครือข่ายอากาศสะอาด […]

‘รัฐต้องเชื่อมและเชื่อในภาคประชาสังคม’ – คุยกับ ครูแอ๋ม ศิริพร พรมวงศ์ แห่งกลุ่มคลองเตยดีจัง กับสายตาที่มองเห็นศักยภาพของพลเมือง

11/04/2022

ถึงจะไม่อยากฉายภาพซ้ำ แต่เราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าชุมชนคลองเตยคือหนึ่งในชุมชนที่สะท้อนความเหลื่อมล้ำในกรุงเทพมหานครได้ชัดเจน ท่ามกลางความเจริญของย่านธุรกิจ ห้างสรรพสินค้า และคอนโดมิเนียมสวยหรู ในรั้วข้างเคียงกันนั้นคือแหล่งอยู่อาศัยและทำกินของประชาชนคนจนเมืองกว่าหนึ่งแสนคน ที่พวกเขาต้องต่อสู้กับปัญหาการไล่รื้อที่ดิน ยาเสพติด การศึกษา และความยากจนที่มีมาอย่างยาวนาน ไม่แปลกหากคลองเตยจะเป็นชุมชนที่มีอาสาสมัคร มูลนิธิไปจนถึงภาคเอกชนเข้ามาลงมือปรับเปลี่ยนช่วยเหลือให้ชุมชนอยู่ดีกินดีขึ้น แต่ความพิเศษของชุมชนคลองเตยคือพวกเขาไม่ได้มองตัวเองเป็นผู้รับ แต่ยังเป็นพลเมืองที่มีจิตสำนึกประชาธิปไตยรวมกลุ่มต่อสู้สิทธิที่ควรได้จากรัฐอย่างเข้มแข็ง และยังเป็นต้นแบบโมเดลการจัดการวิกฤตโควิด-19 ที่ริเริ่มจากคนในชุมชนกันเองโดยไม่รอความช่วยเหลือจากภาครัฐและส่วนกลาง ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นภายใต้ความคิดริเริ่มของอาสาสมัครกลุ่ม ‘คลองเตยดีจัง’ จากกลุ่มอาสาสมัครที่ทำกิจกรรมสอนดนตรี ศิลปะ และจัดเทศกาลสร้างสรรค์ให้ชุมชนคลองเตยครึกครื้น ก็แปรเปลี่ยนมาเป็นแพลตฟอร์มเชื่อมโยงความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆ ทั้งภายนอกและภายในชุมชน เพื่อร่วมต่อสู้วิกฤติโรคระบาดไปด้วยกัน พลังพลเมืองสำคัญอย่างไรในการต่อสู้กับหลุมปัญหาความเหลื่อมล้ำในกรุงเทพมหานคร ที่ยิ่งเห็นลึกชัดเจนมากขึ้นในช่วงวิกฤตที่ผ่านมา เราชวน แอ๋ม-ศิริพร พรมวงศ์ ผู้ก่อตั้งกลุ่มอาสาสมัครคลองเตยดีจัง มาเล่าให้ฟังถึงสิ่งที่เธอทำและความเชื่อมั่นในพลังของคนธรรมดา ที่เธอบอกว่าไม่ได้มีอยู่แค่ในคลองเตย แต่ไม่ว่าจะชุมชนไหนๆ ก็มีเหมือนกัน จุดเริ่มต้นของกลุ่มอาสาสมัคร ‘คลองเตยดีจัง’ เป็นมาอย่างไร และมีการพัฒนาอย่างไรบ้างช่วงที่ผ่านมา กลุ่มเราเริ่มมาประมาณ 9 ปีแล้วตั้งแต่ปี 2556 ตอนแรกก็รวมตัวจากกลุ่มเพื่อนๆ กันเอง รับบริจาคเครื่องดนตรีแล้วไปสอนให้เด็ก จากนั้นก็พัฒนากิจกรรมเรื่อยๆ จนมาจัดเป็นเทศกาลดนตรีและศิลปะ ‘คลองเตยดีจัง’ พอเราคลุกคลีกับเด็กๆ ในชุมชนมากขึ้นก็เริ่มเห็นปัญหาอื่นๆ เช่น ปัญหาครอบครัว การออกจากระบบการศึกษากลางคัน ความยากจน เราเลยพยายามออกแบบกิจกรรมหรือโปรเจกต์เพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ด้วย […]

เมืองไม่สะดวกยิ่งทำให้คนพิการรู้สึกเป็นอื่น ‘หนู’-นลัทพร ไกรฤกษ์’ บรรณาธิการเพจ ThisAble.me

30/03/2022

เชื่อว่าทุกคนคงจะเคยมีประสบการณ์หงุดหงิดกับปัญหาเดินบนฟุตพาทที่พื้นไม่ราบเรียบ ต้องคอยหลบสิ่งกีดขวางซ้ายขวา ราวกับบททดสอบก่อนไปถึงจุดหมาย แต่สำหรับคนพิการ พวกเขาอาจต้องอ้อมไกลนับกิโลเพื่อไปยังจุดหมายเดียวกัน หรือเลวร้ายกว่านั้นคือ ไม่สามารถเดินทางไปได้เลย การพาผู้อ่านตระเวนไปยังสถานที่ต่างๆ ทั่วกรุงเทพฯ ด้วยวีลแชร์ของ ‘หนู-นลัทพร ไกรฤกษ์’ บรรณาธิการเพจ ThisAble.me สื่อออนไลน์ที่นำเสนอประเด็นเกี่ยวกับคนพิการ สะท้อนให้เห็นว่าการดำเนินชีวิตประจำวันของคนพิการยากลำบากเพียงใด และเมื่อเมืองไม่เป็นใจคนพิการยิ่งขาดโอกาสในการใช้ชีวิตนอกบ้าน ซึ่งเกี่ยวพันธ์ตั้งแต่การประกอบอาชีพ การหาประสบการณ์ใหม่ ตลอดจนการเข้าสังคม  ประสบการณ์เคยไปใช้ชีวิตอยู่สหรัฐอเมริการะยะหนึ่งของหนู ทำให้เธอเห็นความต่างอย่างชัดเจนว่าเมืองที่ออกแบบมาเพื่อผู้ใช้ทุกคน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ไม่เพียงแค่ช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น แต่ยังทำให้คนพิการไม่รู้สึกเป็นอื่นในสังคม จนเธอถึงกับเอ่ยปากว่า “มันเป็นความรู้สึกชัดเจนที่สุดถึงการมีชีวิตที่เป็นปกติ” เมื่อปัจจุบันประเทศไทยมีผู้พิการอยู่ถึง 2,102, 384 คน (ข้อมูล วันที่ 31 ธ.ค 64 จากกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ) The Urbanis จึงชวนหนู ผู้เป็นทั้งคนพิการ และผู้เคลื่อนไหวประเด็นนี้ผ่านการทำสื่อ มาบอกเล่าผลกระทบจากเมืองที่คนพิการต้องเผชิญ พร้อมตั้งคำถามว่าถึงเวลาแล้วหรือยังที่เมืองจะออกแบบโดยคำนึงการใช้งานที่รองรับทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน เพราะคนพิการก็นับเป็นพลเมืองคนหนึ่งของสังคม  ชีวิตประจำวันที่ไม่เคยง่ายของคนพิการ เมื่อถามถึงความยากลำบากในการดำเนินชีวิตประจำวันในกรุงเทพฯ สำหรับคนพิการ หนูเริ่มเล่าให้ฟังว่าแต่ละประเภทความพิการพบความยากลำบากในการใช้ชีวิตต่างกันออกไป ทว่าคนที่นั่งวีลแชร์หรือคนใช้ไม้ค้ำยันอาจจะเห็นภาพชัดที่สุดว่า สภาพเมืองของเราไม่ได้เอื้อให้พวกเขาสามารถใช้ชีวิตได้อย่าง สะดวก ปลอดภัย และรวดเร็ว  “ความพิการของตัวเขากลายมาเป็นข้อจำกัดของการใช้ชีวิตหรือการมีส่วนร่วมกับสังคม […]

‘พลเมืองส่งเสียงให้รัฐได้ยินได้’ ผศ.ดร.เขมกร ไชยประสิทธิ์ กับสวนเจริญประเทศ พื้นที่สีเขียวกลางเมืองเชียงใหม่จากพลังของประชาชน

25/03/2022

เสียงของประชาชนจะส่งไปถึงรัฐบาล และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงได้จริงไหม? นี่อาจเป็นคำถามที่พลเมืองอย่างเราสงสัยเมื่อต้องเรียกร้องอะไรบางอย่างจากรัฐ และหลายครั้ง เรามักคิดว่าประชาชนคนธรรมดาจะไปเปลี่ยนแปลงอะไรได้ แต่การเกิดขึ้นของ ‘สวนเจริญประเทศ’ สวนสาธารณะกลางเมืองแห่งแรกที่เกิดจากพลังประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่ ย้ำกับเราว่าเสียงของประชาชนมีความหมายมากกว่าที่คิด และนำไปสู่ตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรมจนน่าเล่าต่อ พื้นที่สีเขียวขนาด 9 ไร่ 3 งาน 33 ตารางวานี้ เกิดขึ้นจากการรวมพลังกันของประชาชนและภาคประชาสังคมในจังหวัดเชียงใหม่ ที่คัดค้านการนำพื้นที่ไปสร้างเป็นบ้านพัก 900 ยูนิตสำหรับข้าราชการรายได้น้อยของกรมธนารักษ์ สองเหตุผลหลักๆ ที่ชาวบ้านใกล้เรือนเคียงบนถนนเจริญประเทศคัดค้านคือ ถนนเส้นนี้เป็นที่ตั้งของโรงเรียน 4 แห่งในเชียงใหม่ที่เดิมทีก็มีการจราจรติดขัดมากจนชาวเมืองอยากจะเลี่ยงอยู่แล้ว และ สอง นอกจากจะเป็นชุมชมบ้านเรือนที่อยู่ร่วมกับศาสนสถานของทุกศาสนา ที่ดินนี้คือปอดแห่งสุดท้ายกลางเมืองเชียงใหม่ที่ถ้าเปลี่ยนไปเป็นคอนโดมิเนียม ชาวเมืองก็คงไม่มีสวนที่คอยฟอกอากาศดีๆ ให้อีก เบื้องหลังกระบวนการต่อสู้เพื่อสวนเจริญประเทศนั้นน่าสนใจยิ่งตรงที่มันคือการทำงานร่วมกันของประชาชนชาวเชียงใหม่ ภาคประชาสังคมกว่า 30 หน่วยงาน รวมไปถึงหน่วยงานของรัฐบาลเอง เรื่องน่าทึ่งคือกระบวนการตั้งแต่เริ่มเจรจากับภาครัฐ ค้นคว้าข้อมูลเพื่อคัดค้าน ทำกิจกรรมรณรงค์ เผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อมวลชนจนกรมธนารักษ์ยอมยุติโครงการก่อสร้างเกิดขึ้นภายใน 10 วันเท่านั้น สิ่งนี้สะท้อนได้ว่าจิตสำนึกพลเมืองของชาวเชียงใหม่นั้นแข็งแกร่งจนน่าเอาอย่าง The Urbanis ชวน ผศ.ดร.เขมกร ไชยประสิทธิ์ นายกสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนเรยีนาเชลีวิทยาลัยในขณะนั้น ผู้เป็นตัวแทนจากภาคประชาสังคมที่ทำงานโครงการนี้ มาเล่าให้ฟังถึงกระบวนการรักษาผืนดินกลางเมืองและเปลี่ยนให้เป็นสวนสาธารณะกลางเมืองของชาวเชียงใหม่ เพื่อหาคำตอบว่าอะไรทำให้เสียงของพลเมืองถูกได้ยิน ที่มาที่ไปและกระบวนการต่อสู้ของประชาชนชาวเชียงใหม่และภาคประชาสังคมเพื่อให้เกิดสวนเจริญประเทศ เป็นมาอย่างไร […]

‘สื่อกับการเปลี่ยนความคิดพลเมือง’ ปริพนธ์ นำพบสันติ นักเล่าเรื่องเมืองที่เชื่อว่าเราคือผลผลิตของเมืองที่อาศัยอยู่

09/03/2022

ในโลกปัจจุบัน ไม่เพียงแค่ทุกคนสามารถเข้าถึงแหล่งความรู้ใหม่ๆ ได้ไม่รู้จบ ทั้งจากการอ่านหนังสือ ดูหนัง หรือข่าวสารต่างๆ ผ่านสื่อกระแสหลักและสื่อออนไลน์เท่านั้น ในขณะเดียวกัน ไม่ว่าใครก็สามารถผันตัวเองจากการเป็นผู้รับสาร เป็น ‘สื่อ’ ได้เองผ่านเทคโนโลยีที่อยู่ในมือ หากไม่นับช่วงเวลาที่เกิดโรคระบาดโควิด-19 การเดินทางออกไปเปิดหูเปิดตายังประเทศต่างๆ ยังเป็นอีกหนึ่งวิธีการที่หลายคนเลือกออกไปมองโลกกว้าง การได้เห็นบ้านเมืองที่เจริญแล้วทั้งทางกายภาพและผู้คน ยังช่วยให้เราหันกลับมาตั้งคำถามถึงปัญหาที่เราพบเจอในชีวิตประจำวัน โบ๊ท-ปริพนธ์ นำพบสันติ คือชายหนุ่มที่เลือกทำอย่างนั้น เขาเดินทางไปญี่ปุ่นหลายต่อหลายครั้ง แต่ท่ามกลางนักท่องเที่ยวไทยที่ชื่นชมซากุระ ภูเขาไฟฟูจิ หรือคาเฟ่ฮิปเก๋ ปริพนธ์กลับมีสายตามองเห็น ‘การออกแบบเมือง’ ที่ซ่อนอยู่ในทุกซอกมุมและถนนหนทางของญี่ปุ่น เขานำกลับมาเล่าผ่านเพจเฟซบุ๊กส่วนตัว JapanPespective ตั้งแต่ปี 2558 และเฟซบุ๊กเพจ ญี่ปุ่นแบบโบ๊ทโบ๊ท ก่อนที่จะขยายต่อมาเป็นหนังสือ Livable Japan ใส่ใจไว้ในเมือง ให้เราได้อ่านกันเมื่อปีที่แล้ว โบ๊ทเล่าเรื่องการพัฒนาเมืองของญี่ปุ่นไว้อย่างเข้าใจง่ายและสนุกมาก ตั้งแต่เรื่องพื้นฐานในชีวิตประจำวันของชาวญี่ปุ่นอย่างการออกแบบฟุตบาท ทางม้าลาย การคัดแยกขยะ ไปจนถึงประเด็นใหญ่ๆ ที่ชาวญี่ปุ่นร่วมใจกันต่อสู้ทวงคืนสิทธิของพลเมืองอย่างปัญหามลพิษในเมืองและอากาศสะอาด กระบวนการพัฒนาเมืองของญี่ปุ่นจึงสอดประสานไปพร้อมกับการสร้างจิตสำนึกพลเมืองอย่างแยกไม่ออก เป็นจุดเริ่มต้นให้เราอยากชวนเขามาคุยกัน ในฐานะสื่อคนหนึ่งที่บอกเล่าเรื่องราวการออกแบบเมืองอย่างเข้าใจและใส่ใจในสิทธิของพลเมือง เพราะเขาก็คือพลเมืองคนหนึ่งที่อยากเห็นสังคมไทยขับเคลื่อนไปสู่เมืองที่ดีเช่นกัน เริ่มมีสายตามองเห็นการออกแบบเมืองของญี่ปุ่นเมื่อไหร่ เป็นความสนใจส่วนตัวแต่แรกเลยหรือเปล่า ต้องบอกว่าผมไม่ได้เรียนมาทางด้านเมืองเลย ช่วงแรกที่ไปญี่ปุ่น เราก็เป็นนักท่องเที่ยวธรรมดาๆ แต่จำได้ว่าเหตุการณ์ที่จุดประกายครั้งแรกก็ตอนที่ไปซัปโปโร เราเดินอยู่บนฟุตบาทข้างถนนตอนเช้า […]

‘ปลายทางคือเราอยากอยู่ในประเทศที่มีระบบที่ดี’ อวัช รัตนปิณฑะ และคำถามของเขาในฐานะพลเมือง

02/03/2022

สำนึกในหน้าที่พลเมืองคือเนื้อหาที่เราร่ำเรียนกันมาตั้งแต่ประถมศึกษา แต่เคยสงสัยไหมว่า เราได้พึงตระหนัก ใช้สิทธิและทำหน้าที่ของพลเมืองที่ดีอย่างเต็มที่แล้วหรือยัง? ท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมือง ปัญหาเชิงโครงสร้าง และเรื่องช่วยบั่นทอนคุณภาพชีวิตในเมืองที่เราพบเจออยู่ทุกวัน คงไม่แปลกหากเราเริ่มตั้งคำถามว่าในฐานะพลเมืองหนึ่งคนของประเทศไทย เราทำอะไรได้บ้างเพื่อชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ไม่ใช่แค่เพื่อตัวเราเอง แต่เป็นเพื่อสังคมทั้งหมด อัด-อวัช รัตนปิณฑะ หนึ่งนักแสดงหนุ่มรุ่นใหม่ที่เราเห็นเขาออกมาแสดงความคิดเห็น ตั้งคำถาม และอธิบายต่อปรากฏการณ์สังคมที่ส่งผลกระทบต่อสาธารณะอย่างสม่ำเสมอ ท่ามกลางคนรอบข้างที่บอกว่าไม่ควรยุ่งเกี่ยวเรื่องการเมือง เสียงของอวัชจึงยิ่งดังและสร้างการเปลี่ยนแปลงให้คนรุ่นใหม่ๆ ได้ตระหนักในสิทธิพลเมืองที่เรามีกันอยู่ในตัวทุกคนไม่น้อย ถ้าใครติดตามอวัช เขายังมีโปรเจกต์ส่วนตัวที่สื่อสารเรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติทางทะเลในเพจ Save Thailay และเร็วๆ นี้เขาเพิ่งไปร่วมโปรเจกต์ให้ความรู้แก่เยาวชนเกี่ยวกับขยะทะเลกับเครือข่ายคนรักทะเล Sustainable Ocean Alliance Thailand (SOA Thailand) เป็นอีกพาร์ทหนึ่งที่เขาตั้งใจและจริงจังกับมันไม่แพ้งานในวงการบันเทิง ระหว่างที่คุยกัน อวัชย้ำตลอดว่าการที่เขาออกมาพูดและตั้งคำถามกับปรากฎการณ์ผิดปกติในสังคม ไม่ใช่ในฐานะคนผู้มีชื่อเสียง แต่คือการใช้สิทธิในฐานะพลเมืองคนหนึ่งที่ใครๆ ก็ทำได้ปกติโดยไม่มีพริวิเลจใดเหนือกว่ากัน ชวนอ่านบทสนทนาระหว่างเรากับอวัชข้างล่างนี้ แล้วมาทำให้เมืองที่ทุกคนใช้สิทธิพลเมืองอย่างเต็มที่ไม่ใช่แค่ภาพมายา จุดเริ่มต้นของการสื่อสารสาธารณะในประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมคืออะไร จุดเริ่มต้นเกิดจากผมชอบเที่ยวธรรมชาติอยู่แล้วและชอบดำน้ำมากๆ ทุกครั้งที่ไปทะเลเราจะได้พลังอะไรกลับมาเสมอ ผมก็เที่ยวแบบนี้มาตลอดโดยไม่ได้คิดเลยว่าผลกระทบที่มีต่อทะเลมีมากขึ้น หลังเรียนจบ ช่วงนั้นเราก็ไปดำน้ำบ่อยขึ้น เริ่มเห็นข่าวเยอะขึ้นและเจอขยะที่หาดกับตัวเองมากขึ้นด้วย ก็เริ่มกระตุกเราว่าที่ผ่านมาเราไม่เคยทำอะไรตอบแทนธรรมชาติเลย เราเอาแต่ take จากเขาอย่างเดียว  ตอนนั้นผมเริ่มคิดจากว่าเราควรพูดประเด็นไหนที่คนธรรมดาสามารถทำได้เลย เรามีคนติดตามอยู่ประมาณหนึ่ง อย่างน้อยถ้าเราได้พูดเรื่องนี้ออกไปในแพลตฟอร์มของเรา ก็อาจจะเป็นส่วนหนึ่งให้คนเริ่มหันมาตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ผมรู้สึกว่ามีอีกหลายคนที่ยังไม่เห็นปัญหาหรือยังไม่รู้เรื่องนี้ เลยเป็นจุดเริ่มต้นที่เริ่มทำเพจ […]

คุยเรื่อง เมืองไม่น่าอยู่อาจไม่เพียงพอ แต่ต้องอยู่รอดจากโลกร้อนด้วย

23/02/2022

‘เมือง’ เป็นบ้านของผู้คนนับล้านคน  การกิน การอยู่ การใช้ ล้วนมีส่วนต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศโลกที่นำมาสู่วิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือภาวะโลกร้อน วาระเร่งด่วนของมนุษยชาติ นักวิทยาศาสตร์ต่างชี้ไปในทิศทางเดียวกันว่า ‘มนุษย์อาจรอดจากโควิด-19 แต่ไม่รอดจากโลกร้อน’ และโควิด-19 ฉายตัวอย่างให้เห็นแล้วว่าเมืองเปราะบางได้ขนาดไหนเมื่อเจอกับวิกฤตไม่คาดฝัน เมื่อทศวรรษหน้าบ้านของผู้คนหลายล้านคนในเขตเมืองทั่วโลกมีแนวโน้มจะจมอยู่ใต้น้ำ กรุงเทพฯ หนึ่งในเมืองติดโผ พร้อมรับมือขนาดไหนต่อประเด็นนี้  The Urbanis ชวน ‘พรหม’-พรพรหม วิกิตเศรษฐ์ ที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อมแห่ง UN Environment Programme (UNEP) และอาจารย์ด้านการพัฒนายั่งยืน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มามองประเด็นนี้ร่วมกัน พร้อมร่วมเสนอแนะหาแนวทางที่เหมาะสมสำหรับกรุงเทพฯ ในการพัฒนาเมืองให้ไม่เพียง ‘น่าอยู่’ แต่ต้อง ‘อยู่รอด’ ด้วย  หลากเมืองใหญ่ สะท้อนกรุงเทพฯ ชีวิตที่โลดแล่นไปหลายเมืองใหญ่ผ่านการเรียนปริญญาตรีด้านรัฐศาสตร์และการต่างประเทศ จาก King’s College London ประเทศอังกฤษ และปริญญาโทด้านนโยบายพลังงานเเละสิ่งแวดล้อมต่อที่ New York University ซึ่งต่อยอดมาจากประสบการณ์ทำงานเป็นผู้ช่วย ไมค์ ฮนดะ (Mike Honda) ส.ส.รัฐแคลิฟอร์เนียขณะนั้น […]

1 2 3 4