อนาคตของเมืองจะสุกใส หากเด็กไทยแข็งแรง เดินได้เดินดี มีพื้นที่สีเขียว

11/01/2020

คำถามหนึ่งที่หลายคนอาจไม่ค่อยนึกถึงก็คือ – เมืองที่เราอยู่มีความ ‘เป็นมิตร’ กับเด็กมากน้อยแค่ไหน และเมืองที่เป็นมิตรกับเด็ก แสดงให้เราเห็นถึงอนาคตและวิสัยทัศน์ของชาติได้อย่างไร ทำไมต้องออกแบบเมืองให้เป็นมิตรกับเด็ก นิยามจากอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ ระบุว่า เด็ก หมายถึง คนอายุ 0 ถึง 18 ปี ปัจจุบันมีเด็กอาศัยในเขตเมืองกว่า 1,000 ล้านคนทั่วโลก และจากสถานการณ์การกลายเป็นเมือง ซึ่งคนจะอาศัยในเมืองเกินกว่า 70% ในปี 2050 พบว่า “ชนกลุ่มใหญ่” ของเมืองทั่วโลกคือ “เด็ก” นั่นเอง การบอกว่าเด็กคือ “อนาคตของเมือง” และอนาคตของโลกใบนี้ จึงไม่ผิดจากข้อเท็จจริง ข้อมูลเมื่อเดือนธันวาคม 2562 โดยระบบสถิติทางการทะเบียน กระทรวงมหาดไทย ระบุว่า ปัจจุบันกรุงเทพมหานครมีประชากรวัย 0 – 18 ปี อาศัยจำนวน 1,028,097 คน ตามทะเบียนราษฎร์ และอีกจำนวนไม่น้อยในฐานะประชากรแฝง เด็กหลายล้านคนในกรุงเทพฯ เติบโตในครอบครัวที่มีโอกาสเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกและโครงสร้างส่งเสริมสุขภาวะที่แตกต่างกัน กระทั่งมีรูปแบบการอยู่อาศัยที่ไม่เหมือนกัน เช่น อาศัยในตึกแถวกลางเมือง อาศัยในบ้านเดี่ยวชานเมือง […]

เมื่อการเดินกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์

10/12/2019

ชยากรณ์ กำโชค เบรนท์ ชเลนเดอร์ เคยเขียนเรื่องราวของ สตีฟ จอบส์ ตีพิมพ์ลงใน Fortune และ The Wall Street Journal เป็นเรื่องราวที่เปิดเผยเบื้องหลังพฤติกรรมบางอย่างที่นำไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมเปลี่ยนโลกมากมายในนาม “แอปเปิ้ล”  พฤติกรรมที่ว่าไม่ใช่เรื่องซับซ้อนหรือลึกลับใดๆ แต่เป็นเรื่องพื้นฐานของพวกเราทุกคน  พฤติกรรมที่ว่าก็คือ – การเดิน เขาเล่าว่า สตีฟ จอบส์ เชิญเขาไปที่บ้านและสร้างบทสนทนาด้วยการเดินคุยกัน สอดคล้องกับที่หลายๆ คนรอบตัวของศาสดาแห่งแอปเปิลผู้นี้ บอกว่า เขามักเชิญให้ทีมงานระดมความคิดใหม่ๆ ด้วยการเดินรอบๆ แอปเปิลแคมปัส เดินไป คุยไป เพื่อสร้างสรรค์ความคิดใหม่ๆ  เมื่อพูดถึงการเดินและความคิดสร้างสรรค์ก็ชวนให้คิดถึง แมริลี ออพเพซโซ่ นักวิทยาศาสตร์ด้านพฤติกรรมและการเรียนรู้ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สหรัฐฯ เธอเคยขึ้นเวที TED Talk ในหัวข้อ “Want to be more creative? Go for a walk” หรือ อยากมีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้นเหรอ? ออกไปเดินสิ!  […]

กู้โลกด้วยการออกแบบเมือง คุยกับสเตฟาโน โบเอรี – สถาปนิกผู้ออกแบบ ‘ป่าในเมือง’

19/11/2019

ช่วงที่ผ่านมา อิตาลีกำลังเผชิญกับน้ำท่วมในเมืองเก่าแก่อย่างเวนิซ จนอาจสร้างความเสียหายหนักให้เมือง ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า – นี่คือผลจากภาวะโลกร้อน ผลจากน้ำมือมนุษย์ที่ย้อนกลับมาเป็นภัยใหญ่ที่คุกคามมนุษย์เอง คำถามก็คือ เราจะทำอย่างไรกันดี หลายคนอาจนึกถึงการทำงานของนักการเมือง นักวิทยาศาสตร์ หรือวิศวกร แต่ไม่ค่อยมีใครนึกถึงอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบอย่าง ‘สถาปนิก’  แต่ที่จริงแล้ว 70% ของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งหมดถูกปล่อยออกมาจากเขตเมือง พื้นที่สีเขียวที่ถูกแทนที่ด้วยตึกสูงและถนนคอนกรีต โดยตัดความสัมพันธ์กับต้นไม้อย่างสิ้นเชิง ทำให้เมืองกลายเป็นศัตรูกับธรรมชาติ ดังนั้น หากมองย้อนกลับไปถึงรากของปัญหา และเทรนด์ที่ผู้คนจะอาศัยอยู่ในเมืองมากขึ้นเรื่อย จึงปฏิเสธไม่ได้ว่า อาชีพสถาปนิกที่ทำหน้าที่ ‘ออกแบบเมือง’ เป็นอาชีพที่น่าพูดคุยด้วยอย่างยิ่ง Urbanis ชวนคุณไปสนทนากับ สเตฟาโน โบเอรี่ สถาปนิกชื่อดังชาวอิตาเลียน เขาคือสถาปนิกที่มีผลงานสร้างชื่ออย่างอาคารสวนแนวตั้งในมิลาน ที่มีต้นไม้ทั้งหมดถึง 800 ต้น จนแนวคิดนี้ได้ถูกนำไปพัฒนาในหลายเมืองทั่วโลก เขาคือสถาปนิกที่เชื่อว่า เมืองและป่าสามารถไปด้วยกันได้ ตึกสูงไม่ได้เป็นเพียงแค่บ้านของมนุษย์ แต่ยังเป็นบ้านของแมกไม้และฝูงนกได้ด้วย และเมื่อเมืองไม่ได้พัฒนาในแนวราบ ทว่าพัฒนาสูงขึ้นไปในแนวตั้ง การออกแบบระบบนิเวศแนวตั้งจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก ที่จริงแล้ว ต้นไม้สามารถดูดซับมลพิษในเมืองที่เป็นสาเหตุของก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 40% การพัฒนาเมืองและการออกแบบอาคารจึงเป็นอีกภารกิจกู้โลก ยิ่งโดยเฉพาะในเวลาที่ภาวะโลกร้อนกำลังคุกคามทุกคน แนวคิดการสร้างอาคารสวนแนวตั้งอาจไม่ใช่เรื่องใหม่นัก แต่โจทย์ใหญ่คือ การสร้างอาคารสวนแนวตั้งที่ใช้เงินทุนในการออกแบบและการดูแลรักษา จะถูกนำไปใช้ในประเทศกำลังพัฒนา หรือประเทศยากจนได้มากน้อยแค่ไหน เพราะผลกระทบรุนแรงของภาวะโลกร้อน […]

รู้จักกับ Urban Forestry เมื่อต้นไม้บนตึกในเมือง คืออนาคตของโลกใบนี้

19/11/2019

ชยากรณ์ กำโชค Environment วันก่อน เพิ่งเคยได้ยินคนพูดว่า “ปลูกต้นไม้สะเทือนถึงดวงดาว” เพื่อกล่าวถึงผลงานของยอดสถาปนิกและนักวางผังเมืองชาวอิตาลี “สเตฟาโน โบเอรี” ผู้มีโครงการปลูกต้นไม้นับพันต้นบนอาคารหลายแห่งทั่วโลก มีเป้าหมายพิทักษ์ดาวดวงหนึ่งที่กำลังร้อนระอุเกินกว่าจะเยียวยา  “โลกของเรา” สเตฟาโน โบเอรี เดินทางมาเยือนกรุงเทพฯ เพื่อเป็นวิทยากรในงานสภาสถาปนิก 62 บนเวทีเขามีความเห็นต่อความท้าทายที่เกิดขึ้นกับเมืองภายใต้วิกฤตด้านภูมิอากาศว่า ไม่มีใครเป็นฮีโรกู้โลกได้ นอกจากพวกเราด้วยกันเอง การสร้างพื้นที่สีเขียวด้วยการปลูกต้นไม้และคืนผืนป่าเป็นภารกิจที่ทุกคนต้องช่วยและรอไม่ได้ ความพยายามของโบเอรีที่ทำมาจริงจังและเนิ่นนานนี่เอง ทำให้ชื่อของเขาได้รับความสนใจในวงการสถาปนิกและการออกแบบเมืองทั่วโลก ในนามโครงการ Urban Forestry  Urban Forestry คืออะไร  ศูนย์วิจัยนโยบายด้านเศรษฐกิจสีเขียว มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แปล Urban Forestry เป็นคำไทยว่า การป่าไม้ในเมือง มีความหมายกว้างกว่าพื้นที่สีเขียว แต่ว่าด้วยการจัดการต้นไม้ในเมืองอย่างเป็นระบบ คำนึงถึงปัจจัยด้านสังคมและคุณภาพชีวิตประชากรในเขตเมือง บทบาทของการป่าไม้เมืองพัฒนาแล้วจะคำนึงถึงประโยชน์ด้านการยกระดับคุณภาพสิ่งแวดล้อม เช่น ควบคุมมลพิษทางอากาศ เสียง และลดก๊าซเรือนกระจก นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ด้านทัศนียภาพและเป็นพื้นที่นันทนาการ  Bosco Verticale เป็นตัวอย่างของโครงการ Urban Forestry แห่งแรกโดยสถาปนิกชาวอิตาเลียนที่เรากำลังเอ่ยถึง เป็นโครงการที่พักอาศัยขนาดสูง 2 อาคาร ของเมืองมิลาน […]

แค่หายใจก็อ้วนแล้ว เมืองจมฝุ่น PM 2.5 ทำคนเสี่ยงโรคอ้วน-เบาหวาน

07/11/2019

ชยากรณ์ กำโชค  คาดหน้ากากอย่างถูกวิธี และลดทำกิจกรรมในที่แจ้ง เป็นคำเตือนพื้นฐานจากหน่วยงานรัฐ เมื่อปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5  ใครๆ ก็รู้ ว่าฝุ่นเหล่านี้สร้างปัญหาสุขภาพระยะยาวให้ ‘คนเมือง’ มากมาย ตั้งแต่โรคมะเร็งทางเดินหายใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ หรือแม้แต่ปัญหาทางสุขภาพจิต  แต่หลายคนอาจไม่เชื่อว่า ฝุ่นจิ๋วเหล่านี้ อาจทำให้เราเสี่ยงต่อโรคอ้วนและโรคเบาหวานได้ด้วย!   สำนักข่าวบีบีซีเคยนำเสนอบทความเมื่อปี 2015 “The air that makes you fat” (อากาศที่ทำให้คุณอ้วน) โดยยกผลวิจัยของคณะแพทย์หลายประเทศที่ชี้ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพอากาศของเมืองกับระบบการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย มีสาระสำคัญว่า คนที่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่มีมลภาวะทางอากาศจะเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานและโรคอ้วนมากกว่า แม้ทั้งสองคนจะรับประทานอาหารและออกกำลังกายเหมือนกัน  ดร. หง เฉิน นักวิจัยจาก Public Health Ontario และ Institute of Clinical Evacuative Sciences ประเทศแคนาดา อธิบายว่าควันจากท่อไอเสียและควันบุหรี่เป็นตัวการณ์สำคัญ ที่เป็นเช่นนั้นเพราะว่า เมื่อขนาดอนุภาคที่เล็กจิ๋วของฝุ่นควันเข้าไปในร่างกาย มันจะเข้าไปขัดขวางความสามารถในการเผาผลาญพลังงาน ซึ่งแน่นอนว่าส่งผลระยะยาวต่อร่างกายมากกว่าแค่ปอดและระบบทางเดินหายใจ สอดคล้องกับผลงานทดลองในหนูโดย นายแพทย์ชิงหัว ซัน […]

คนยิ่งเดิน เมืองยิ่งรวย เมืองเดินได้ช่วยกระจายรายได้สู่กระเป๋าผู้ค้ารายย่อย

05/11/2019

เรียบเรียงโดย ชยากรณ์ กำโชค “เดินวันละเป็นหมื่นก้าว” นักท่องเที่ยวไทยหลายคนพูดเป็นเสียงเดียวกันเมื่อได้ไปเดินต่างบ้านต่างเมือง โดยเฉพาะในเมืองพัฒนาแล้ว ที่มีระบบขนส่งมวลชนคุณภาพ ครอบคลุมทุกเป้าหมายการเดินทาง แถมยังมีทางเท้ากว้างขวาง เดินสะดวกสบาย สองข้างทางพบแต่ความร่มรื่นและร้านค้าชวนให้เสียทรัพย์เป็นว่าเล่น  หลายคนเดินเก่งแล้ว ยัง “ชิม ช็อป ใช้” เก่งแบบไม่รู้ตัวเมื่อไปเที่ยวต่างประเทศนั่นเป็นความสัมพันธ์ง่ายๆ ระหว่าง ‘การเดิน’ และ ‘ความมั่งคั่ง’ ของเมือง ซึ่งคุณอาจสงสัยว่า มันเกี่ยวข้องกันด้วยหรือ? เราคงรู้กันอยู่แล้วว่า “การเดิน” เป็นวิธีออกกำลังกายง่ายๆ ที่ช่วยเสริมสร้างสุขภาวะทางกายและใจ หลายคนจึงเลือกเดินช้าๆ ในระยะที่ไม่ไกลนัก เพื่อย่อยอาหารที่รับประทานอย่างหนักหน่วง หรือเมื่อต้องการตกตะกอนความคิดที่ฟุ้งซ่านให้กลายเป็นความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน  แต่เชื่อหรือไม่ว่า “การเดิน” ยังเป็นวิธีง่ายๆ ที่ช่วยส่งเสริมสุขภาวะทางการเงินของเจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก และสุขภาวะทางการคลังของเมืองได้อีกต่างหาก  หลายเมืองทั่วโลกเริ่มต้นโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานส่งเสริมการเดินและการเชื่อมต่อระบบขนส่งสาธารณะ โดยมีเป้าหมายกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งเริ่มต้นจากร้านค้าปลีกขนาดเล็กสู่ความมั่งคั่งของเศรษฐกิจเมือง  แผนที่ผสมกราฟิกด้านบนเป็นฝีมือของ Tristan Cleveland นักผังเมืองแห่งศูนย์ Happy City ผู้ศึกษาวิจัยความสัมพันธ์ระหว่างการเดินและเศรษฐกิจเมือง เขาชวนเราจินตนาการว่า ถ้าทุกบ้านไม่มีห้องน้ำ และทุกครั้งที่ต้องการทำธุระส่วนตัว คุณต้องขับรถจากบ้านไปห้องน้ำสาธารณะเสมอ ถ้าเป็นแบบนั้น รถคงติดมาก และผู้ใช้รถก็เปลืองเงินค่าเติมเชื้อเพลิงรถยนต์ แถมยังเสียเวลา  […]

เมื่อการเดินกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์

01/11/2019

เบรนท์ ชเลนเดอร์ เคยเขียนเรื่องราวของ สตีฟ จอบส์ ตีพิมพ์ลงใน Fortune และ The Wall Street Journal เป็นเรื่องราวที่เปิดเผยเบื้องหลังพฤติกรรมบางอย่างที่นำไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมเปลี่ยนโลกมากมายในนาม “แอปเปิล” พฤติกรรมที่ว่าไม่ใช่เรื่องซับซ้อน หรือลึกลับใดๆ แต่เป็นเรื่องพื้นฐานของพวกเราทุกคน พฤติกรรมที่ว่าคือ – การเดิน เขาเล่าว่า สตีฟ จอบส์ เชิญเขาไปที่บ้านและสร้างบทสนทนาด้วยการเดินคุยกัน สอดคล้องกับที่หลายๆ คนรอบตัวของศาสดาแห่งแอปเปิลผู้นี้ บอกว่า เขามักเชิญให้ทีมงานระดมความคิดใหม่ๆ ด้วยการเดินรอบๆ แอปเปิลแคมปัส เดินไป คุยไป เพื่อสร้างสรรค์ความคิดใหม่ๆ เมื่อพูดถึงการเดินและความคิดสร้างสรรค์ก็ชวนให้คิดถึง แมริลี ออพเพซโซ่ นักวิทยาศาสตร์ด้านพฤติกรรมและการเรียนรู้ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สหรัฐฯ เธอเคยขึ้นเวที TED Talk ในหัวข้อ “Want to be more creative? Go for a walk” หรือ อยากมีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้นเหรอ? ออกไปเดินสิ! แมริลี […]

1 2 3 4