สถาปนิกกัวลาลัมเปอร์ เปลี่ยนพื้นที่ทิ้งร้างของเมือง เป็นพื้นที่สีเขียวกินได้และสร้างมั่นคงให้ชุมชน

21/08/2020

คุณครูพาเด็กนักเรียนมาปลูกข้าว พ่อแม่จูงลูกน้อยมาเรียนปลูกต้นกล้า อาสาสมัครจับกลุ่มรดน้ำ พรวนดิน กำจัดวัชพืช เด็กในชุมชนละแวกสวนชวนกันเตะฟุตบอล หรือผู้สูงอายุอุ้มเป็ดตัวอ้วน คือ ภาพชีวิตเมืองที่เกิดขึ้นในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ณ พื้นที่สีเขียวใจกลางเมืองที่ชื่อว่า “เคอบุน เคอบุน บังซาร์” (Kebun-Kebun Bangsar) พื้นที่สีเขียวของเมืองที่เป็นมากกว่า “สวนกินได้” (edible garden) ในเมืองหลวงที่มีสัดส่วนพื้นที่สีเขียวมากกว่า 44 ตารางเมตรต่อประชากร 1 คน  เป็นเวลา 3 ปีแล้วที่ชาวเมืองกัวลาลัมเปอร์ได้รู้จักเคอบุน เคอบุน บังซาร์ สวนชุมชนขนาด 20 ไร่ จากการฟื้นฟูพื้นที่ทิ้งร้างใต้เสาไฟฟ้าแรงสูงใจกลางเมือง ดำเนินการโดย Ng Sek San สถาปนิกวัยใกล้ 60 ปี ผู้หันหลังให้กับงานคอมเมอร์เชียลทั้งในและต่างประเทศเมื่อ 6 ปีก่อน และหันหน้าสู่งานชุมชน เมือง และวัฒนธรรมอย่างเต็มตัว   “สำหรับผม นี่เป็นหนึ่งในโครงการที่สำคัญที่สุดเท่าที่ทำงานมาทั้งชีวิต” Ng Sek San พูดถึง เคอร์บุน-เคอร์บุน  กว่าจะประสบความสำเร็จเป็นพื้นที่สาธารณะของคนเมืองในปี […]

มุมไบเปลี่ยนสัญญาณไฟคนข้ามถนน ก้าวแรกเพื่อเสริมพลังให้ผู้หญิงกล้าใช้ชีวิตสาธารณะของเมือง

11/08/2020

ทันทีที่รัฐบาลท้องถิ่นนครมุมไบติดตั้งสัญญาณไฟจราจรคนข้ามถนนรูปแบบใหม่บริเวณย่านศูนย์กลางเมือง ก็ทำให้เกิด ทอล์ก ออฟ เดอะ ทาวน์ ในทันที และส่งแรงกระเพื่อมเป็น เวิลด์ อเจนด้า จากความสนใจของสื่อระดับโลก ที่พุ่งเป้ามาที่นครมุมไบ มหานครด้านการเงินแห่งประเทศอินเดีย เมืองหลวงของรัฐมหาราฏระ เมืองซึ่งมีประชากรอาศัยอยู่จริงกว่า 20 ล้าน สูงสุดเป็นอันดับ 7 ของโลก   สัญลักษณ์รูปคนเพศชายบนไฟคนข้ามถนน ถูกเปลี่ยนเป็นรูปคนเพศหญิงสวมกระโปรง จำนวน 240 จุดทั่วเมือง ถือเป็นเมืองแรกของอินเดียที่ดำเนินโครงการนี้ แม้ฟังดูไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะหลายเมืองในยุโรปก็เคยดำเนินการมาก่อน หากประเด็นที่ทำให้โลกสนใจก็เพราะว่าความเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นในประเทศอินเดีย ประเทศที่ได้ชื่อว่าการใช้ชีวิตสาธารณะของผู้หญิงเสี่ยงอันตรายมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก นาย Aaditya Thackeray รัฐมนตรีกระทรวงการท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อมของรัฐมหาราฏระ ได้โพสต์ภาพสัญญาณไฟจราจรรูปแบบใหม่ในย่าน Dadar ผ่านทวิตเตอร์ พร้อมแคปชัน  “ถ้าคุณผ่าน Dadar คุณจะมองเห็นบางสิ่งที่จะทำให้คุณรู้สึกภาคภูมิใจ ซึ่งรัฐบาลท้องถิ่นนครมุมไบได้ดำเนินการเพื่อรับประกับความเท่าเทียมกันทางเพศ ผ่านไอเดียง่ายๆ อย่างการใช้สัญลักษณ์บนไฟจราจรที่เดี๋ยวนี้มีรูปผู้หญิง” ทวีตดังกล่าวก่อให้เกิดการแสดงความคิดเห็นตามมาจำนวนไม่น้อย  เช่น มีผู้แสดงความคิดเห็นว่า นี่คือก้าวเล็ก ๆ แต่เด็ดเดี่ยว ของการเริ่มต้นการยุติการแบ่งแยกทางเพศที่ฝังอยู่ในจิตสำนึกผู้คน ด้วยการออกแบบสภาพแวดล้อมของเมือง อีกความเห็นทวีตว่า นี่คือสัญลักษณ์ที่ยืนยันว่าผู้หญิงจะมีตัวตนและจะได้รับการยอมรับในภาวะปกติใหม่ ขณะที่ผู้นำพรรคการเมืองท้องถิ่นคนหนึ่งได้ทวีตว่า การเปลี่ยนสัญญาณไฟจราจรเป็นก้าวย่างสำคัญของการเสริมพลังสตรี ชาวเมืองและผู้ใช้สื่อสังคมล้วนชื่นชมการเปลี่ยนแปลงเชิงสัญลักษณ์นี้ ซึ่งจะมีส่วนปรับความเข้าใจของสาธารณะใหม่ ทั้งยังเป็นการท้าทายความปกติทางเพศเดิม […]

เรือโดยสารคลองผดุงกรุงเกษม เชื่อมเมืองด้วยเรือไฟฟ้าแห่งแรกของอาเซียน

07/08/2020

“ค้ำจุนบ้านเมืองให้มั่นคงและมั่งคั่ง” คือความหมายของคำว่า ผดุงกรุงเกษม ชื่อคลองแสนไพเราะที่เชื่อว่าหลายคนคุ้นหู คลองเส้นนี้ขุดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ในปี พ.ศ. 2394 แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2395 ด้วยทรงมีพระราชดำริว่าควรขยายพระนครออกไป เนื่องจากขอบเขตเมืองเดิมเริ่มคับแคบ และคลองยังมีประโยชน์เป็นเส้นทางสัญจรทางเรือของชาวพระนคร ซึ่งขณะนั้นมีประชากรย้ายมาตั้งถิ่นฐานเป็นจำนวนมาก ท่ามกลางการขยายตัวกรุงเทพฯ อย่างไม่หยุดยั้ง ในช่วงกว่า 100 ปีที่ผ่านมา  คลองผดุงกรุงเกษมถูกลดบทบาทจากคลองเชื่อมเมืองด้วยการสัญจรทางน้ำ จากย่านเทเวศไปยังย่านหัวลำโพงและแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นเพียงคลองที่มีสะพานสำหรับรถยนต์ข้ามผ่านหลายสะพาน กระทั่งเมื่อปี พ.ศ.2558 คลองผดุงกรุงเกษมได้กลับมามีบทบาทอีกครั้งในฐานะตลาดน้ำ และต่อมาในปี พ.ศ.2560 กรุงเทพมหานครได้ทดลองเดินเรือโดยสารอีกด้วย ตามลำดับ ล่าสุดต้นปี พ.ศ.2563 ได้ทดลองให้บริการเรือโดยสารไฟฟ้าลำแรก และเตรียมขยายจำนวนเป็น 8 ลำในเดือนพฤศจิกายน 2563  เรือโดยสารไฟฟ้าแห่งแรกของอาเซียน   นิตยสาร Monocle ฉบับเดือนกรกฎาคม ได้รวบรวมนวัตกรรมที่ทำให้เมืองน่าอยู่จากทั่วโลก กรุงเทพมหานครเป็น 1 ในเมืองที่ถูกกล่าวถึง ผ่านโครงการเรือโดยสารคลองผดุงกรุงเกษม เส้นทางสัญจรทางน้ำกลางเมืองที่เชื่อมต่อกับระบบขนส่งสาธารณะอื่นๆ เช่น รถโดยสาร รถไฟฟ้า ฯลฯ ที่สำคัญคือเป็นเมืองแรกในภูมิภาคอาเซียนที่ให้บริการเรือโดยสารไฟฟ้าที่ไร้มลภาวะทั้งกลิ่นและควัน คุณมานิต เตชอภิโชค กรรมการผู้อำนวยการบริษัท กรุงเทพธนาคม […]

จากโควิด-19 สู่งบประมาณกว่า 1 แสนล้านบาท สร้างเมืองเดิน-ปั่นเพื่อสุขภาพของคนอังกฤษ

05/08/2020

ขณะที่กราฟอัปเดตยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ทั่วโลก กำลังพุ่งพะยานอย่างต่อเนื่องในเดือนเมษายน 2563 ประเทศอังกฤษมีผู้ติดเชื้อนับแสนคนอย่างรวดเร็ว หนึ่งในนั้นคือนายบอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษและอดีตนายกเทศมนตรีกรุงลอนดอน วัย 56 ปี  ผู้ซึ่งต้องพักรักษาตัวในห้องไอซียูนานนับสัปดาห์ และถือเป็นผู้นำประเทศคนแรกของโลกที่ติดเชื้อโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่  ที่ผ่านมา นายบอริส จอห์นสัน ได้พยายามผลักดันนโยบายส่งเสริมสุขภาพประชากรอย่างต่อเนื่อง เช่น ความพยายามแก้ปัญหาโรคอ้วน ผ่านร่างกฎหมายขึ้นภาษีน้ำตาล และมาตรการห้ามโฆษณาหรือทำกิจกรรมส่งเสริมการขายในกลุ่มอาหารที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า การเป็นผู้ประสบชะตากรรมในห้องไอซียูเพื่อรักษาโรคโควิด-19 เมื่อเมษายน หลายฝ่ายมองว่ามีส่วนสำคัญที่ทำให้นายกฯอังกฤษ ผลักดันนโยบายด้านสุขภาพครั้งใหญ่ ผ่านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการเดินทางในเมือง เพื่อสร้างแรงจูงใจให้คนอังกฤษหันมาเดินและปั่นจักรยานในชีวิตประจำวันกันมากขึ้น  โครงการดังกล่าวเรียกว่า Active Travel England ด้วยวิสัยทัศน์ เร่งเกียร์ : วิสัยทัศน์ที่หาญกล้าเพื่อการปั่นและเดิน (Gear Change: A bold vision for cycling and walking) เมกะโปรเจกต์ Active Travel England ได้รับการแถลงอย่างเป็นทางการ เมื่อเดือนกรกฎาคม 2563 เป็นโครงการภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงคมนาคมอังกฤษ และคณะกรรมการการปั่นจักรยานและเดินเท้าแห่งชาติ มีเป้าหมายเพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านการเดินทางในเมือง […]

Back to School and Say Hello to New Learning Ecosystem เมืองไทยพร้อมหรือยังกับระบบการศึกษาที่จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป

06/05/2020

#เลื่อนเปิดเทอม กลายเป็นแฮชแท็กที่ชาวทวิตเตอร์พูดถึงมากที่สุด จนขึ้นเทรนด์อันดับ 1 ในประเทศไทย หลังมีกระแสข่าวว่า ส.ส.อุบลราชธานี เสนอเลื่อนวันเปิดเทอมภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 ออกไปเป็นวันที่ 1 สิงหาคม 2563 หรือเลื่อนออกไปจากประกาศเดิมของกระทรวงศึกษาธิการประกาศในวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ และขยายเวลาให้ทั้งโรงเรียน ผู้ปกครอง และผู้เรียน ได้มีเวลาเตรียมตัวกับการเรียนการสอนรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งที่จะแตกต่างออกไปจากเดิม  แม้สุดท้ายแล้ว กระทรวงศึกษาธิการจะยังคงประกาศเปิดเรียนในวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 หรือช้ากว่ากำหนดเดิม 45 วัน แต่กระแส #เลื่อนเปิดเทอม ก็สะท้อนให้เห็นปรากฏการณ์ทางสังคม ที่ให้ความสำคัญในประเด็นการศึกษาที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ไม่แพ้ประเด็นด้านการแพทย์-สาธารณสุข การจับจ่ายใช้สอย และการจัดการเมืองแม้แต่น้อย เหตุการณ์ดังกล่าวก็บอกเราว่า เด็ก-เยาวชนเอง ก็เป็นผู้ส่งเสียงสะท้อนได้ดังก้องไม่แพ้กลุ่มผู้มีปากมีเสียงกลุ่มใดๆ ในสังคมเลย  ชะตากรรมร่วมของผู้เรียนทั่วโลก นอกจากจะเป็นปิดเทอมที่ยาวนาน (และเหงา) ที่สุดของนักเรียนไทย สถานการณ์ที่ผู้เรียนในทุกระดับชั้นกำลังเผชิญในขณะนี้ ยังถือเป็นสถานการณ์ร่วมกันของนักเรียนทั่วโลก เพราะขณะนี้รัฐบาลในหลายประเทศต่างใช้มาตรการปิดสถานศึกษา เพื่อป้องกันการระบาดของโรคโควิด-19 โดยพร้อมเพรียงกัน ถือเป็นการยุติการเรียนการสอนชั่วคราวพร้อมกันทั่วโลกครั้งแรก นับแต่เหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2 […]

เมืองในโรคระบาด : ยิ่งเหลื่อมล้ำ ยิ่งเปราะบาง

26/03/2020

มากกว่าครึ่งของประชากรโลกอาศัยในเมือง ศูนย์กลางของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและกิจกรรมทางสังคมเกิดขึ้นอย่างคึกคักระหว่างผู้คน ความเป็นเมืองจึงเป็นปัจจัยกระตุ้นการแพร่ระบาดของโรคระบาดอย่างยากจะปฏิเสธ มีการศึกษาน่าสนใจพบว่า เมืองที่มีความไม่เท่าเทียมระหว่างประชากรสูงมีความเปราะบางต่อโรคมากกว่าเมืองที่มีโครงสร้างพื้นฐานคุณภาพและเข้าถึงคนอย่างทั่วถึง  ในขณะที่รัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่นควรจะใช้ประโยชน์จาก “ดัชนีเตรียมการรับมือโรคระบาด” เพื่อการวางแผนและตอบสนองปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ  ดัชนีดังกล่าวคืออะไร สามารถศึกษาได้จากบทความนี้  เมือง: พื้นที่กระตุ้นวิกฤตโรคระบาด ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค เมืองคือพื้นที่กระตุ้นให้สถานการณ์น่าเป็นห่วง ยิ่งเมืองที่มีประชากรหนาแน่น ยิ่งทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรค โดยเฉพาะการติดต่อระหว่างคนสู่คน  ปัจจุบัน ประชากรโลกกว่า 4,000 คน อาศัยในเมือง ซึ่งมากกว่าครึ่งของประชากรโลกทั้งหมด กิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมที่เข้มข้นในเมือง วัดได้ชัดเจนจากขนาดผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) ราว 2 ใน3 ของทั้งหมด ล้วนเกิดขึ้นในเมืองกว่า 600 แห่งทั่วโลก ดังนั้น เมืองซึ่งเป็นศูนย์กลางของกิจกรรมการค้าและการเดินทาง มีความหนาแน่นของประชากรและกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างเข้มข้น ส่งผลให้เมืองเป็นพื้นที่กระตุ้นวิกฤตโรคระบาดอย่างยากจะเลี่ยง แล้วไม่เพียงเมืองขนาดใหญ่เท่านั้นที่เป็นพื้นที่เสี่ยง หากยังหมายรวมถึงเมืองรองและเมืองขนาดเล็กในท้องถิ่นอีกด้วย สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา อาทิ ซาร์ส, H5N1 และโควิด-19 ที่กำลังประสบกันถ้วนหน้าในขณะนี้ ล้วนเกิดในเมืองทุกขนาด  นักวิจัยของ Center for Global Health Science and Security มหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ […]

เมื่อรณรงค์ อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ สวนทางกับความปกติของชีวิตเมือง เราจะอยู่ได้ในภาวะโรคระบาดกันจริงหรือ?

25/03/2020

ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา รัฐบาลเกือบทุกประเทศรณรงค์ให้พลเมือง #StayHome หรือ “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” เพราะเป็นหนทางเดียวในขณะนี้ที่จะทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ลดต่ำลง อันนำไปสู่การควบคุมสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเมืองอันเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเชื่อมต่อ และความสร้างสรรค์ ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อให้ประชากรอยู่เฉยๆ ในที่พักอาศัย เมื่อเป็นเช่นนี้ “ชีวิตเมือง” จะอยู่รอดได้หรือในสถานการณ์โรคระบาดแบบนี้?  บทความจะชวนคิดเรื่องการเว้นระยะห่างทางสังคมของสัตว์สังคมผู้ต้องการระยะห่าง…ที่ใกล้ชิด โดยเฉพาะคนเมืองที่แม้ไม่ต้องการความใกล้ชิด แต่ชีวิตของพวกเราก็บังคับให้มีปฏิสัมพันธ์กัน เชื่อว่าตอนนี้หลายคนกำลังปรับตัวให้เคยชินกับกักตัวเอง และ ตั้งหน้าตั้งตาทำงานจากบ้าน โดยหวังใจลึกๆ ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จะคลี่คลายในเร็ววัน หากเปรียบเทียบกับวิกฤตที่เกิดขึ้นในเมืองหลายๆ ครั้งก่อนหน้า คนไทยน่าคุ้นหูมากกว่ากับคำว่า “ร่วมแรงร่วมใจ” “ร่วมด้วยช่วยกัน” “ฝ่าภัยไปด้วยกัน”  ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวเท่านั้นที่จะฝ่าวิกฤตได้ แต่ในทางกลับกัน การ “เอาชนะ” วิกฤตไวรัสโคโรนาที่ดีที่สุดดังหลายคนทราบคือการแยกกันใช้ชีวิต บทความ Can City Life Survive Coronavirus? โดย The New York Times นำเสนอสาระและข้อคิดเห็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา ที่ได้ทำลายแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ชีวิตเมือง” ที่จำเป็นต้องพึ่งพาและอยู่อาศัยร่วมกัน ดังนักประวัติศาสตร์กล่าวว่าเมืองถือกำเนิดขึ้นเมื่อหลายพันปีก่อนด้วยเหตุผลด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ตลอดจนตอบสนองมนุษย์ในฐานะสัตว์สังคม […]

The Gamer Changer เมืองเปลี่ยนรถเมล์ รถเมล์เปลี่ยนเมือง

16/03/2020

รถติดที่สุด มลพิษทางอากาศเลวร้ายที่สุด เมืองเสี่ยงจมน้ำที่สุด เมืองขยายออกไปในทางราบที่สุด ฯลฯ  คือบางส่วนของ “ที่สุด” ปัญหาเมืองอันเรื้อรังของกรุงจาการ์ตา เมืองหลวงของอินโดนีเซีย  – ไม่ต่างกับกรุงเทพฯ เลยสักนิด – กระทั่งเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา นายโจโก วีโดโด ประธานาธิบดีแห่งอินโดเซียเสนอรัฐสภา ประกาศย้ายเมืองหลวงไปยังเกาะกาลิมันตัน ที่มีที่ตั้งไกลกว่าเมืองหลวงเดิมกว่า 1,400 กิโลเมตร  แม้แผนการย้ายเมืองหลวงยังไม่เป็นรูปธรรมและได้ข้อสรุป หากปัญหาอันเรื้อรังทั้งหลายประกอบกับวิกฤตการณ์ด้านภูมิอากาศของโลก ก็ใช่ว่าจะหยุดนิ่งรอความชัดเจนของแผนการดังกล่าว ซ้ำร้ายยังไล่ล่าและทำลายคุณภาพชีวิตชาวจาการ์ตาอย่างไม่ลดละ  ดังนั้น เพื่อตั้งรับกับวิกฤตการณ์ด้านภูมิอากาศก่อนจะสายเกินไป  “จาการ์ตา” จึงประกาศแผนเชิงรุกเพื่อเปลี่ยนเมืองให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (eco-friendly) โดยส่วนหนึ่งของแผนการดังกล่าว คือการทดลองให้บริการขนส่งมวลชนพลังงานไฟฟ้านั่นเอง จาการ์ตา…มหานครแห่งรถเมล์ที่ใหญ่สุดในโลก  จาการ์ตามีพื้นที่ประมาณ 750 ตร.กม. หรือเล็กกว่ากรุงเทพฯประมาณ 1 เท่าตัว ทว่าเป็นที่อยู่ของประชากรกว่า 10.6 ล้านคน (ข้อมูลล่าสุดเมื่อปี 2019) แม้รถยนต์ส่วนบุคคลจะเป็นทางเลือกในการเดินทางของชาวจาการ์ตาจนทำให้เมืองประสบปัญหาการจราจรติดขัดเป็นอันดับต้นๆ ของโลก อย่างไรก็ตาม รถโดยสารประจำทางก็ยังเป็นทางเลือกการเดินทางยอดนิยม แต่ละปีรถเมล์โดยสารที่วิ่งให้บริการในจาการ์ตา รองรับการใช้งานของผู้โดยสารรวมเกือบ 200 ล้านคน นับเป็นโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่มาภาพ : […]

ทางด่วนจักรยาน (Bangkok Low Line) โอกาสสร้างพื้นที่สีเขียวจาก สินทรัพย์ ใต้ทางด่วน

06/03/2020

กรุงเทพฯ ไม่สามารถมีพื้นที่สาธารณะใจกลางเมืองได้อีกแล้ว…จริงหรือ?  หากจินตนาการถึงพื้นที่ขนาดไม่ถึง 1 ตารางเมตร ภาพที่ปรากฎในความคิดอย่างหยาบๆ คือ พื้นที่สี่เหลี่ยมจัตุรัสความยาวไม่เกินด้านละ 1 เมตร ถ้าลองให้คนไปอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว คาดว่าคงยืนกันไม่เกิน 2-3 คนอย่างเบียดเสียด หรือถ้าให้ยืนคนเดียวก็คงอึดอัดไม่แพ้กัน  แทบไม่ต้องคิดให้ซับซ้อนก็รู้ว่าพื้นที่ “1 ตารางเมตร” มันช่างเล็กจ้อย โดยเฉพาะเมื่อใช้ “คน” ไปเปรียบเทียบ แต่ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่า  “ไม่ถึง 1 ตารางเมตร” คือ ขนาดพื้นที่สีเขียวต่อประชากร 1 คน ที่คนกรุงเทพฯ เข้าไปใช้ประโยชน์ได้จริง ไม่นับรวมสนามกอล์ฟ สวนในพื้นที่ส่วนบุคคล สวนข้างทาง สวนเกาะกลางถนน ฯลฯ   ข้อมูลดังกล่าว เปิดเผยโดย ผศ.ดร. นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ผ่านเพจ echo เมื่อกลางเดือนสิงหาคม 2562 ที่ผ่านมา โดยเปรียบเทียบขนาดพื้นที่สีเขียวกรุงเทพฯ กับพื้นที่สีเขียวของเมืองสิงคโปร์ ซึ่งปัจจุบันมีมากกว่า 56 ตารางเมตรต่อประชากร 1 […]

สวนดาดฟ้าในโรงพยาบาลห้าศตวรรษ: พื้นที่เชื่อมชีวิตใหม่ในเมืองมิลาน

05/03/2020

“get well soon”  คำอวยพรเรียบง่ายที่หลายคนเลือกใช้เมื่อไปเยี่ยมไข้คนที่เรารักที่โรงพยาบาล แต่ในอีก 3 ปีข้างหน้า โรงพยาบาลอายุกว่า 500 ปี แห่งเมืองมิลาน ประเทศอิตาลี เตรียมเปิดตัว “หลังคาสีเขียว” ที่ทำให้ชาวเมืองมิลาน “get well soon” ไปด้วยกัน ถ้าพูดถึงโครงสร้างสาธารณูปโภค-สาธารณูปการเพื่อสุขภาพอย่าง สนามกีฬา สวนสาธารณะ ลานแอโรบิค โรงยิมเนเซียม ฟิตเนส ฯลฯ หลายคนคงไม่ปฏิเสธว่าโรงพยาบาลน่าจะเป็นสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของเมือง ที่พวกเราปรารถนาจะใช้งานด้วยระยะเวลาที่สั้นที่สุดอย่างแน่นอน แต่ “สเตฟาโน โบเอริ” สถาปนิกชาวอิตาลี ผู้ขึ้นชื่อเรื่องการออกแบบ “สถาปัตยกรรมสีเขียว” กำลังปรับเปลี่ยนโรงพยาบาลเก่าแก่ที่สุดของเมืองมิลานผ่านโปรเจกต์ “The New Policlinico”  ให้โรงพยาบาลกลายเป็นสถานที่ที่ชาวมิลานอยากใช้งาน และเปิดโอกาสให้ “ผู้ไม่ป่วย” ได้ใช้งานด้วย  ทลายกำแพงโรงพยาบาลด้วยหลังคาสีเขียว หลังคาสีเขียวเป็นรูปแบบการใช้ประโยชน์พื้นที่ดาดฟ้าอาคาร ที่ถูกนำไปปรับใช้ในหลายเมือง มีเป้าหมายให้ดาดฟ้าสีเขียวช่วยลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมต่อเมือง เช่น ลดปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก ดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ช่วยสะท้อนความร้อนไม่ให้เข้าสู่อาคารโดยตรง ที่สำคัญคือเป็นอีกทางเลือกที่ทำให้คนเมืองได้ใกล้ชิดกับ “ความเขียว” โดยไม่ต้องง้อสวนบนพื้นราบเท่านั้น  แต่สำหรับสถาปนิกชื่อดังชาวอิตาลี ผู้มีความฝันอยากเห็น […]

1 2 3 4