รศ.ดร.วีระศักดิ์ เครือเทพ: เลือกตั้ง อบต. ครั้งแรกในรอบ 8 ปี สะท้อนอะไรต่อการพัฒนาเมือง

26/11/2021

วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน 2564 นับเป็นอีกหน้าประวัติศาสตร์ที่สำคัญของการเลือกตั้งท้องถิ่นของประเทศไทย เนื่องจากเป็นวันเลือกตั้ง นายกองค์การบริหารส่วนตำบล หรือ นายก อบต. ครั้งแรกในรอบ 8 ปี แน่นอนว่า 8 ปีก่อน กับ วันนี้ บ้านเมืองเรามีพลวัตและเปลี่ยนแปลงไปหลายมิติ The Urbanis ชวน รองศาสตราจารย์ ดร.วีระศักดิ์ เครือเทพ อาจารย์ประจำภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมนวัตกรรมและธรรมาภิบาลท้องถิ่น ตอกย้ำถึงความสำคัญของ อบต. กับการพัฒนาประเทศในภาพรวม, การกระจายอำนาจ, อำนาจที่ยังไม่ได้ถูกปลดล็อค, ภาคพลเมืองเข้มแข็งกับการตรวจสอบ และ มายาคติว่าด้วยการเมืองท้องถิ่นกับคอร์รัปชัน ความน่าสนใจของการเลือกตั้ง อบต. ครั้งแรกในรอบ 8 ปี  ผมคิดว่ามีความแตกต่างที่น่าสนใจ 2-3 ประเด็น ประการที่หนึ่งแน่นอนเลยไม่พูดคงไม่ได้ คือโดยปกติ การเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นจะเกิดขึ้นทุกๆ 4 ปี แต่ด้วยเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงของบ้านเมือง ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่าสภาวะการสะดุดหรือว่าหยุดลงของการเลือกตั้งท้องถิ่นมาเป็นเวลาหลายปี แล้วจึงเพิ่งมีการปลดล็อกเมื่อประมาณปีเศษๆ ที่ผ่านมา […]

เมืองฟองน้ำ: แนวคิดที่ทำให้เมืองกับน้ำเป็นมิตรของกันและกัน

01/09/2021

บ่อยครั้งที่ฝนตกหนักติดต่อกันหลายวันในฤดูฝน หลายเมืองของประเทศไทยมักประสบปัญหาด้านน้ำ ไม่ว่าจะน้ำท่วม น้ำป่าไหลหลาก น้ำรอการระบาย ฯลฯ เฉพาะปัญหาน้ำรอการระบายในพื้นที่กรุงเทพมหานครก็นำมาซึ่งปัญหาอื่นๆ จนเกิดวลีอย่าง “ฝนตก รถติด” ทว่าปัญหาด้านการจัดการน้ำของเมืองในอนาคตมีแนวโน้มจะรุนแรงกว่าน้ำรอการระบาย หากคือความเสี่ยงเมืองจมน้ำ ตามที่หน่วยงานแหล่งได้คาดการณ์ไว้ว่า กรุงเทพฯ เป็น 1 ใน 11 เมืองทั่วโลก ที่มีความเสี่ยงจมใต้บาดาล อันเป็นมาจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น การทรุดตัวลงของแผ่นดิน และการขยายตัวของเมือง คำถามคือคนกรุงเทพฯ จะยอมรับชะตากรรมดังกล่าว หรือใช้องค์ความรู้หลากหลายศาสตร์สร้างแผนรับมือ กระทั่งปรับวิถีคิดในการใช้ชีวิตร่วมกับน้ำให้ได้  อย่างไรก็ตาม ไทยไม่ใช่ประเทศเดียวที่ประสบปัญหาด้านน้ำในเมือง ด้านประเทศจีนเองก็ประสบปัญหาเรื่องน้ำอย่างรุนแรงเช่นกัน ทั้งในแง่ของการขาดแคลนน้ำ น้ำท่วม และคุณภาพน้ำ เนื่องจากความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของการพัฒนาอุตสาหกรรมและการขยายตัวของเมือง ตลอดจนความถี่ที่เพิ่มขึ้นของเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้ว ส่งผลให้ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ความเสียหายจากอุทกภัยเพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณ ท่ามกลางปัญหาเหล่านี้น้ำท่วมจัดอยู่ในอันดับต้นๆ ของภัยธรรมชาติที่ทำลายล้างมากที่สุดของจีน ปี 2013 รัฐบาลจีน ประกาศใช้แนวทาง เมืองฟองน้ำ (sponge city) อย่างกว้างขวางทั่วประเทศ และได้เปิดตัวโครงการเพื่อให้การสนับสนุนทางการเงิน เพื่อส่งเสริมการดำเนินการตามแนวทางนี้ในเมืองนำร่องที่ได้รับการคัดเลือก  ทั้งนี้ด้วยจุดมุ่งหมายในการเพิ่มการแทรกซึม (infiltration) การคายระเหย (evapotranspiration) และการดักจับและการนำน้ำฝนกลับมาใช้ใหม่ในสภาพแวดล้อมเมือง […]

สัปเหร่อนอกสายตา เมรุแตก พิธีกรรมการจากลาที่หายไป ฯลฯ : บทสนทนาว่าด้วยโควิดกับการตายและการจัดการร่าง กับ รศ.ดร.ภาวิกา ศรีรัตนบัลล์

02/08/2021

ไอซียูใกล้แตก เมรุใกล้เต็ม คนวงการแพทย์ไม่ไหวจะแฉ ย่ำแย่มานาน แต่ไม่มีการแก้ไข (ผู้จัดการ, 24 มิ.ย. 64) อลหม่านงานศพตาวัย 85 พระกำลังสวดวงแตก เจ้าหน้าที่ขออายัดหลังพบติดโควิด (ไทยรัฐ, 5 ก.ค. 64) ศพโควิดล้น หลวงพี่ควบหน้าที่สัปเหร่อ สวดเองเผาเอง (อมรินทร์ทีวี, 14 ก.ค. 64) สลด! ดับ 3 ราย นอนตายข้างถนน-คาบ้าน รอ จนท. เก็บศพนานหลายชั่วโมง (กรุงเทพธุรกิจ, 21 ก.ค. 64) เผาจนเมรุถล่ม! วัดบางน้ำชนวอนบริจาคสร้างใหม่ (ทีเอ็นเอ็น24, 23 กรกฎาคม 64) บางส่วนของพาดหัวข่าวในช่วงการระบาดของโควิด-19 ระลอกปี 2564 ของประเทศไทย ที่สะท้อนให้เห็นผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ที่เชื่อมโยงกับความตายและเมือง ปฏิเสธไม่ได้ว่าในภาวะโรคระบาด ความตายได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของผู้คนอย่างยากจะหลีกเลี่ยง อย่างเช่นข้อมูลการเสียชีวิตจากโควิด-19 ที่กลายเป็นการเริ่มต้นบทสนทนาระหว่างครอบครัว เพื่อนฝูง และบุคคลใกล้ชิด เป็นโอกาสพิเศษอีกครั้งที่ […]

เปิดตำรา Better Bangkok กับ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ สร้างเมืองที่ดีกว่าจากโครงข่ายผู้คน องค์ความรู้ และความผูกพันด้วยการทำงาน ทำงาน ทำงาน

29/07/2021

สัมภาษณ์โดย ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) เรียบเรียงโดย ชยากรณ์ กำโชค / ณิชากร เรียงรุ่งโรจน์ ในระยะ 1-2 ปีที่ผ่านมา ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และรองศาสตราจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีบทบาทในด้านการพัฒนาเมืองผ่านการมีส่วนร่วมของผู้คนหลายภาคส่วน ด้วยการจัดตั้งกลุ่ม Better Bangkok โดยคิกออฟที่ชุมชนโรงหมู คลองเตย ไปเมื่อปลายปี 2562 ก่อนจะตะลุยพื้นที่ทั่วกรุงเทพฯ รับรู้ปัญหาและความต้องการของชุมชน ทั้งในเชิงคุณภาพชีวิตและด้านกายภาพ โดยเฉพาะในช่วงโควิด-19 ระบาดก็ได้เป็นหนึ่งในกลไกสำคัญที่จะนำอาหารและสิ่งจำเป็นที่ภาคเอกชน และกลุ่มต่างๆ ได้ร่วมสมทบไปแจกให้แก่ชุมชนต่างๆ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนที่เกิดขึ้น เป็นโอกาสพิเศษอีกครั้งที่อาจารย์ชัชชาติให้เกียรติศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) และ The Urbanis ถอดบทเรียนการทำงานของกลุ่ม Better Bangkok และ กลุ่มเพื่อนชัชชาติ ที่มีเป้าหมายสร้างเมืองที่ดีกว่าจากโครงข่ายผู้คนและองค์ความรู้ เชิญอ่านตำรา Better Bangkok ว่าด้วย จุดเริ่มต้นและโครงสร้างการทำงาน, โอกาส ปัญหา และอุปสรรค ในการผลักดันการพัฒนาเมืองบนฐานความรู้ของผู้คน, […]

ทำไมอยู่ในเมืองถึง “เปราะบาง” กว่าอยู่ในชนบท คุยปัญหาคนสูงอายุในวิกฤตโควิด-19 กับ ศ.ดร.วิพรรณ ประจวบเหมาะ

28/06/2021

หลายคนทราบดีว่ากลุ่มคนเปราะบาง เช่น คนพิการ คนไร้บ้าน คนสูงอายุ ฯลฯ เป็นผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 มากที่สุด ไม่ว่าผลกระทบด้านการทำงาน สุขภาพและปากท้อง และเชื่อหรือไม่ว่า คนสูงอายุที่อยู่อาศัยในเขตเมืองประสบปัญหามากกว่าผู้สูงอายุในเขตชนบท  การศึกษาผลกระทบของการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ต่อประชากรสูงอายุในประเทศไทย โดยวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA) พบข้อมูล อาทิ ผู้สูงอายุที่ทำแบบสำรวจประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจมากกว่าด้านสุขภาพ  1 ใน 3 ระบุว่ามีรายได้ไม่เพียงพอในช่วงวิกฤตโควิด-19 ขณะที่สัดส่วนผู้สูงอายุที่มีรายได้หลักจากการทำงานลดลงจาก 40% เหลือเพียง 22% จากผลการสำรวจผู้สูงอายุที่ทำงานพบว่า 81% เจออุปสรรคในการทำงานที่เป็นผลมาจากการระบาดใหญ่ของโควิค-19 และในสัดส่วนดังกล่าว 36% สูญเสียอาชีพ พื้นที่ค้าขาย หรือถูกปรับลดเงินเดือน นอกจากนี้ผู้สูงอายุยังมีรายได้จากการทำงานและดอกเบี้ยเงินออมลดลงในช่วงการระบาดใหญ่ของโควิด-19 อีกด้วย ในด้านสุขภาพร้อยละ 20 ของผู้สูงอายุระบุว่าตนเองมีอาการทางสุขภาพจิตอย่างน้อย 1 อาการเป็นบางครั้งหรือตลอดเวลา ได้แก้ วิตกกังวล ไม่อยากอาหาร เหงาและไม่มีความสุข สัดส่วนดังกล่าวทั้งหมดแตกต่างกันเล็กน้อยระหว่างผู้สูงอายุชายและหญิง แต่มีค่าสูงกว่าสำหรับผู้สูงอายุที่อยู่อาศัยในเขตเมืองเปรียบเทียบกับเขตชนบท นอกจากนี้ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตามลำพังมีแนวโน้มที่จะมีอาการเหงามากกว่าผู้สูงอายุที่มีลักษณะการอยู่อาศัยในรูปแบบอื่นๆ  ศาสตราจารย์ ดร. […]

8 โจทย์การฟื้นฟูสะพานเขียว สู่แนวคิดการออกแบบโครงสร้างเชื่อมต่อ 3 มิติ: เชื่อมการสัญจร เชื่อมระบบนิเวศ เชื่อมสังคมเศรษฐกิจ

06/04/2021

“สีเขียวเชื่อมย่าน สะพานเชื่อมเมือง”  เป็นแท็กไลน์ของโครงการฟื้นฟูสะพานเขียวกรุงเทพฯ (Bangkok Green Bridge) ที่ศูนย์แบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ใช้สื่อสารกับสาธารณะตั้งแต่ปี 2562 แท็กไลน์ 8 พยางค์สะท้อนหัวใจของแนวคิดการฟื้นฟูโครงสร้างลอยฟ้าอายุกว่า 20 ปีแห่งนี้ได้พอสังเขป เช่น การเพิ่ม “ความเขียว” และสร้างการเชื่อมต่อระหว่างสองสวน ชุมชน และเมือง   จุดเริ่มต้นของโครงการฟื้นฟูสะพานเขียวมาจากการที่ กทม. เห็นปัญหาของพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นสภาพทรุดโทรมของสภาพแวดล้อมใต้สะพาน และสภาพเน่าเสียของคลองไผ่สิงห์โต การเป็นพื้นที่ “เกือบอโคจร” ไม่ค่อยมีผู้คนสัญจรผ่าน เนื่องจากจุดขึ้นลงมีน้อยและอยู่ไกลกัน ส่งผลให้สะพานเขียวเคยเป็นพื้นที่เสี่ยงที่ได้รับการร้องเรียนเข้ามามากเป็นอันดับ 2 ของกรุงเทพฯ  เบื้องต้น ความเขียว ความปลอดภัย การเชื่อมต่อ จึงเป็นโจทย์สำคัญของภารกิจเพื่อเมืองในครั้งนี้ ทว่า การเจรจาหารือระหว่าง สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร (สนย.) ตลอดจนการปฏิบัติการออกแบบร่วมกับชาวชุมชนโปโล-ชุมชนร่วมฤดี ภาคีวิชาชีพสถาปนิก และ UddC-CEUS ที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาเกือบ 2 ปีที่ผ่านมา ได้ทำให้โจทย์การออกแบบและฟื้นฟูเพิ่มแง่มุมที่หลากหลาย และทวีความซับซ้อนยิ่งขึ้น  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิรมล เสรีสกุล […]

นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม: เราต้องทำการเดินให้เป็นเรื่องปกติของชีวิตประจำวัน

23/03/2021

“เราต้อง normalize การเดิน ปัจจุบันการเดินกลายเป็นเรื่องพิสดาร กลายเป็นว่าต้องไม่มีรถแล้วสิถึงต้องเดิน นี่ทำให้การเดินกลายเป็นทางเลี่ยง ทั้งที่การเดินเป็นวิถีชีวิต ในชีวิตปกติเราเดินอยู่แล้ว ”   คือบทสนทนาส่วนหนึ่งของ ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ รักษาการผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ (สำนัก 5) สสส. ที่เราได้มีโอกาสในการแลกเปลี่ยนพูดคุยมุมมองเกี่ยวกับประเด็นการเดินกับภารกิจสร้างเสริมสุขภาวะ ในฐานะที่เป็นหนึ่งในผู้บริหารคนสำคัญของ สสส. และ ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของโครงการเมืองเดินได้-เมืองเดินดี (GoodWalk) โดย ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ซึ่งดำเนินอย่างต่อเนื่องเข้าปีที่ 8 แล้ว บทสนทนาของเราและ “คุณหมอไพโรจน์” เกิดขึ้นภายหลัง ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการ UddC-CEUS และหัวหน้าโครงการ GoodWalk นำเสนอความคืบหน้าโครงการซึ่งปัจจุบันได้ขยายผลการดำเนินงานทั้งในกรุงเทพฯ และเมืองรองอย่างเป็นรูปธรรม ในการประชุมผู้อำนวยการ UddC-CEUS ยกให้ สสส. เป็น Change Agent ที่สนับสนุนกระบวนการศึกษาและกระบวนการร่วมมือในโครงการเมืองจำนวนมากทั่วประเทศ การเดินมีความสำคัญอย่างไร? การเดินสร้างเมืองสุขภาวะได้อย่างไร? ทำไมถึงต้อง […]

ชุมชนเก่ากับการฟื้นฟูเมือง ย้อน Day 1 ของเส้นทางการมีส่วนร่วมฟื้นฟู “สะพานเขียว”

19/03/2021

เรื่อง/ภาพ โดย ชยากรณ์ กำโชค ทางเดินลอยฟ้าทาสีเขียว เชื่อมต่อสองสวนสาธารณะขนาดใหญ่ ขนาบด้วยรั้วสแตนเลส มีต้นไม้ใหญ่แซมอยู่บ้างข้างทาง มีป้ายและสัญลักษณ์จราจรทางเดินทางจักรยาน พร้อมฉากหลังเป็นกลุ่มอาคารสูงรอบด้าน 360 องศา ทอดสายได้ไกลถึงย่านเพลินจิต-ชิดลม อโศก-สุขุมวิท สามย่าน พระรามสี่ ฯลฯ  ลงตัวด้วยองค์ประกอบทั้งหมด จึงไม่แปลกใจเลยที่ “สะพานเขียว” จะเป็นพื้นที่สาธารณะใจกลางเมือง ที่กำลังได้รับความนิยมจากผู้คนจำนวนไม่น้อย เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวถ่ายรูป หากยังมีองค์ประกอบสำคัญอีกประการหนึ่ง ที่ทำให้สะพานเขียวแตกต่างจากทางเดินลอยฟ้าทั่วไปในเมืองใหญ่แห่งนี้ นั่นคือ ชุมชน อาคารบ้านเรือนโดยรอบโครงการสะพานเขียว คือ ชุมชนโปโลและชุมชนร่วมฤดี ที่ตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ศูนย์กลางเศรษฐกิจใจกลางเมือง ก่อนโครงการก่อสร้างทางเดินลอยฟ้าแห่งนี้จะเริ่มเปิดใช้งานเมื่อปี 2540 เรียกได้ว่า ทั้งสองชุมชนเป็นชุมชนเก่าในพื้นที่ใจกลางเมืองที่ยังปรากฏอยู่แห่งท้ายๆ ของกรุงเทพฯ ก็ว่าได้  ในอดีต การมีอยู่ของทางเดินลอยฟ้าในฐานะ “เพื่อนบ้าน” อาจก่อประโยชน์อยู่บ้างในฐานะพื้นที่เชื่อมต่อการเดินทางและออกกำลังกายในช่วงเช้าและเย็น ทว่า เสียงสะท้อนที่เกิดขึ้นจากชุมชนในด้านหนึ่ง ก็ยากจะปฏิเสธว่า สะพานเขียวยังเป็นพื้นที่อันตราย เสี่ยงต่อการเกิดอาชญากรรม เป็นพื้นที่มั่วสุม ก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมทั้งบนและใต้โครงสร้างสะพาน ที่สำคัญคือตัดแทนชุมชนกับพื้นที่เมืองเสียด้วยซ้ำ  หากมีคำกล่าวที่ว่า “เมืองเป็นปัญหาและทางออกในตัวเอง” สะพานเขียวก็คงไม่ต่างกัน  นี่จึงเป็นที่มาของโครงการฟื้นฟูสะพานเขียว โดย สำนักการโยธา […]

สะพานเขียวเหนี่ยวทรัพย์: เมื่อการฟื้นฟูเมืองคือโอกาสกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากของเมือง

17/03/2021

ทอดยาวลอยฟ้าทาพื้นสีเขียวจากสี่แยกสารสิน ถ.วิทยุ ถึงปากซอยโรงงานยาสูบ คือ “สะพานเขียว” เชื่อมสวนลุมพินีและสวนเบญจกิติ ตลอดระยะทางกว่า 1.3 กิโลเมตร ขนาบด้วยบ้านเรือนหลายร้อยหลังคาเรือนของชาวชุมชนร่วมฤดีและชุมชนโปโล ชุมชนเมืองที่ได้ชื่อว่าเป็นชุมชนเก่าแก่แห่งท้ายๆ ของกรุงเทพมหานคร ที่ตั้งในพื้นที่ศูนย์กลางเศรษฐกิจใจกลางเมือง โครงสร้างลอยฟ้าแห่่งนี้อยู่คู่กับชุมชนมานานกว่า 20 ปี ทำหน้าที่เป็นพื้นที่สัญจรด้วยการเดินเท้า เป็นสถานที่ออกกำลังกายและทางปั่นจักรยาน ล่าสุดยังเป็นที่นิยมของคนรุ่นใหม่ ที่เดินทางมาถ่ายรูปเก็บบรรยากาศช่วงยามเย็น แสงอาทิตย์ กลุ่มอาคารสูงใจกลางเมือง ฯลฯ หลายคนบอกว่าสะพานเขียวมี “ฟิลเตอร์ญี่ปุ่น” อย่างที่เคยเห็นในสื่อภาพยนตร์และการ์ตูน ปรากฏการณ์ “สะพานเขียวฟีเวอร์” เพิ่งจะเกิดขึ้นหลังการระบาดของโควิด-19 นี่เอง ย้อนไปเมื่อกลางปี 2562 สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร (สนย.) ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) และภาคีวิชาชีพสถาปนิก ได้สำรวจพื้นที่และจัดกระบวนการร่วมหารือกับชาวชุมชนเพื่อเริ่มต้นโครงการฟื้นฟูสะพานเขียว ให้แข็งแรง ปลอดภัย ร่มรื่น เชื่อมกับชุมชนอย่างไร้รอยต่อ และทำให้สะพานเขียวสร้างโอกาสให้กับเมืองยิ่งขึ้นไปอีก หากความเปลี่ยนแปลงใดๆ นำมาซึ่ง “การปรับตัว” คงพอจะกล่าวได้ว่า ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากโครงการฟื้นฟูสะพานเขียว จะไม่มีผลต่อชาวชุมชนเลย คงเป็นไปไม่ได้ คำถามของเราคือชาวชุมชนมีแผนการปรับตัวอย่างไรเพื่อคว้าโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคมจากความเปลี่ยนแปลงในอนาคต จากอดีตในความเงียบเหงา สู่ ปัจจุบันแห่งการเปลี่ยนแปลง […]

ช็องเซลีเซ vs รัตนโกสินทร์ เมื่อทิศทางการพัฒนาถนนสำคัญของเมือง มุ่งสู่การ “เดินได้ เดินดี เดินร่ม เดินเย็น” และ หวังให้คนรักเมืองมากขึ้น

15/01/2021

หลังเข้าศักราชใหม่ได้ไม่ถึง 2 สัปดาห์ แอนน์ ฮิดาลโก นายกเทศมนตรีกรุงปารีส เจ้าของนโยบาย “ปารีส 15 นาที” ที่ทำให้ผู้สนใจด้านเมืองพูดถึงกันทั่วโลกเมื่อปี 2020 ว่าจะออกแบบเมืองโดยให้ชาวปารีเซียงสามารถเดินและปั่นจักรยาน ไปยังจุดหมายการเดินทางสำคัญในชีวิตประจำวันโดยใช้เวลาไม่ถึง 15 นาที  ล่าสุด นางฮิดาลโก ได้ประกาศเมกะโปรเจกต์ Champs-élysées Revamp โดยทุ่มงบประมาณกว่ 305 ล้านดอลลาร์ หรือกว่า 9,000 ล้านบาท ออกแบบถนนซ็องเซลีเซระยะทางประมาณ 2.3 กิโลเมตร ที่ได้ชื่อว่าเป็นถนนที่มีชื่อเสียงและสวยที่สุดในโลกเส้นหนึ่ง ให้กลายเป็นสวนและพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่พิเศษกลางกรุงปารีส โดยมีเป้าหมายลดขนาดพื้นผิวจราจรของรถยนต์ เพิ่มขนาดทางเดินเท้า-เส้นทางจักรยาน และเพิ่มต้นไม้ใหญ่และพื้นที่สีเขียว ไม่เพียงต้องการส่งเสริมคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมเมือง หากเป้าหมายของโปรเจ็กต์ยังหวังกระตุ้นเศรษฐกิจของเมือง ผ่านร้านค้าขนาดเล็กที่จะเพิ่มขึ้นตลอดแนวถนน Feargus O’Sullivan นักเขียนประจำ Bloomberg Citylab เขียนว่า แม้ถนนช็องเซลีเซจะมีชื่อเสียงระดับโลก แต่สำหรับชาวเมืองปารีสเอง ถนนสายสำคัญเส้นนี้กลับไม่เป็นที่รักของคนเมืองเท่าไหร่นัก เนื่องจากขนาดที่ใหญ่ มีสภาพการจราจรติดขัด ก่อมลพิษมหาศาล และมีราคาเช่าสูง ผลสำรวจเมื่อปี 2019 พบว่า ชาวเมืองปารีสกว่า […]

1 2 3 4