จักรวาลการค้าปลีกเมืองเชียงใหม่ กับบทบาทในการเปลี่ยนแปลงเมือง

19/05/2022

หลังการปิดกิจการ(ชั่วคราว) แบบสายฟ้าเเลบของห้างดังในเมืองเชียงใหม่ ยิ่งเป็นตัวตอกย้ำสถานการณ์ด้านธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่ (big box retail) ได้อย่างชัดเจน ปรากฏการณ์นี้ไม่ได้เกิดขึ้นในเมืองเชียงใหม่เท่านั้น หากแต่ยังปรากฏให้เห็นในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพมหานคร และเมืองในต่างประเทศอีกด้วย อย่างไรก็ตามปรากฏการณ์ของการลดขนาดของกิจการค้าปลีกขนาดใหญ่นี้ ความจริงแล้วเริ่มมีให้เห็นได้แต่ช่วงปี 2550 ซึ่งมีการลดขนาด(down size) ของกิจการค้าปลีกโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกลุ่มธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ (modern trade) ซึ่งมีการเปิดประเภทธุรกิจค้าปลีกประเภทใหม่ ๆ ที่มีขนาดเล็กลง ผนวกกับการเข้ามาของกลุ่มร้านสะดวกซื้อที่กระจายเป็นดอกเห็ดทั่วเมือง จนเป็นวาระของธุรกิจค้าปลีกดั้งเดิม ร้านโชห่วยต่าง ๆ ที่ต้องหาหนทางของการอยู่รอด ไม่เว้นในเมืองเชียงใหม่ บทความนี้ทีมงาน TheUrbanIs จะชวนทุกท่านมาสำรวจจักรวาลการค้าปลีกของเมืองเชียงใหม่ ซึ่งมีรูปแบบและพัฒนาการเปลี่ยนแปลงตามบริบททางเศรษฐกิจ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของเมือง ผ่านการเปลี่ยนแปลงธุรกิจการค้าปลีกสมัยใหม่ ทั้งกิจการค้าปลีกขนาดใหญ่ กลุ่มธุรกิจร้านสะดวกซื้อ อันเป็นกระแสธารการพัฒนาเศรษฐกิจที่สำคัญของเมืองเชียงใหม่ จักรวาลค้าปลีกในเมืองเชียงใหม่ ธุรกิจการค้าปลีกกับการพัฒนาเมืองนั้นเป็นของคู่กัน เพราะถือเป็นฟันเฟืองขับเคลื่อนเศรษฐกิจระดับท้องถิ่นนั้นๆ โดยทั่วไปพัฒนาการของการค้าปลีกในเมือง สามารถแบ่งได้เป็น 3 ช่วง คือช่วงแรกของภูมิทัศน์การค้าปลีกหรือพื้นที่การค้าปลีกของเมือง จะประกอบไปด้วยร้านค้าปลีกโดดๆ เป็นร้าน ๆ ไปร้านค้าเหล่านี้มักกระจุกตัวอยู่บริเวณรอบ ๆ ตลาดสดใจกลางเมือง ขั้นที่ 2 ร้านค้าปลีกในเมืองจะเพิ่มจำนวนขึ้น ตามการเพิ่มขึ้นของประชากร […]

“พื้นที่ส่งเสริมการเรียนรู้” ของย่านพระโขนง-บางนา อยู่ที่ไหน? ย่านศักยภาพ แต่ขาดการรับรู้และเข้าถึง

11/05/2022

การเรียนรู้ตลอดชีวิต และการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของย่านและเมือง ถือเป็นโจทย์สำคัญอีกโจทย์หนึ่งในการพัฒนาย่าน เมือง และประเทศ ที่จำเป็นจะต้องพัฒนาทั้งในด้านปริมาณ จำนวนและการกระจาย รวมถึงด้านคุณภาพของแต่ละพื้นที่ ที่จะช่วยสร้างรากฐานให้กับชาวย่านและชาวเมือง สามารถตอบรับกับความต้องการของสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้และการเปลี่ยนแปลงในอนาคต สร้างโอกาสใหม่ ๆ รวมถึงเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจ หากมองที่ย่านพระโขนง-บางนา จะเห็นได้ว่า ย่านนี้มีพื้นที่ส่งเสริมการเรียนรู้อยู่ถึง 324 แห่ง เข้าถึงได้ในระยะทางเฉลี่ยประมาณ 350 เมตร และบริเวณที่ห่างไกลจากพื้นที่สิ่งเสริมการเรียนรู้ของย่านมากที่สุด มีระยะการเข้าถึงประมาณ 4 กิโลเมตร โดยสามารถแบ่งพื้นที่ส่งเสริมการเรียนรู้ได้ 2 ประเภทหลัก คือ 1. การเรียนรู้ในระบบหรือสถานศึกษา คือ การเรียนรู้ตามหลักสูตรการเรียนการสอนที่จัดขึ้นโดยสถาบันการศึกษา เช่น โรงเรียน วิทยาลัย และมหาวิทยาลัย เป็นต้น ย่านพระโขนง-บางนา มีพื้นที่ประเภทนี้จำนวน 116 แห่ง เป็นศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 37 แห่ง โรงเรียนทั่วไป 63 แห่ง โรงเรียนนานาชาติ 8 แห่ง และสถาบันอาชีวะศึกษา 8 แห่ง เข้าถึงได้ในระยะทางเฉลี่ยประมาณ […]

เมื่อการออกจากบ้านไปทำงาน คือการเดินทางไกล

22/03/2022

“บ้านอยู่ฝั่งธนฯ แต่ทำงานอยู่รัชดา” หรือ “บ้านอยู่บางนา แต่ทำงานอยู่สาทร” หลายๆ คน คงได้ยินประโยคบอกเล่าในลักษณะแบบนี้ผ่านๆ หูกันมาบ้าง จากพนักงานออฟฟิศหรือพนักงานประจำตามบริษัท ห้างร้านต่างๆ หลายคนต้องออกจากบ้านตั้งแต่พระอาทิตย์ยังไม่ขึ้นพ้นขอบฟ้า เพื่อเดินทางมุ่งหน้าเข้าสู่ตัวเมือง ซึ่งเป็นศูนย์รวมของเศรษฐกิจและแหล่งงาน ด้วยระยะทางที่ไกลและต้องสู้รบแย่งชิงพื้นที่บนท้องถนนกับคนหมู่มาก เพื่อจะได้ไปถึงที่ทำงานได้ทันเวลา สำหรับบทความ บ้าน ที่ทำงานและการเดินทาง จะบอกกล่าวเรื่องราวเกี่ยวกับการเดินทางระหว่างบ้านและที่ทำงาน แท้จริงแล้วแหล่งงานบีบบังคับให้เราต้องเดินทางไกล หรือเพียงเพราะเราไม่สามารถอยู่ใกล้แหล่งงานได้ เพราะการออกจากบ้านคือการเดินทางไกล กรุงเทพมหานคร เมืองที่ผู้คนเลือกที่จะซื้อรถก่อนซื้อบ้าน ซึ่งต่างจากเมืองอื่นๆ ที่ผู้คนมักจะซื้อบ้านก่อนซื้อรถ จากสถิติกรมการขนส่งพบว่า ตลอดระยะเวลา 8 ปี ในเขตกรุงเทพมหานครมีจำนวนการจดทะเบียนรถยนต์มากถึง 10 ล้านคันในปี 2562 หรือคิดเป็นร้อยละ 63 จากปี 2554 นอกจากนี้ จากการสำรวจพฤติกรรมการเดินทาง ในปี 2561 ของ Uber พบว่าคนกรุงเทพเสียเวลาไปกับรถติดบนท้องถนนและวนหาที่จอดรถเฉลี่ยวันละ 96 นาที โดยเสียเวลาไปกับรถติดประมาณ 72 นาที และวนหาที่จอดรถอีก 24 นาที หรือหากเทียบใน […]

เชียงใหม่ นครแห่งหมูกระทะ หม่าล่า กาแฟ

12/03/2022

เชียงใหม่ถือเป็นเมืองที่มีพลวัตสูงทั้งจากการเปลี่ยนแปลงเมือง การเปลี่ยนแปลงของผู้คน และการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจการค้าที่เป็นที่นิยม ณ ช่วงเวลานั้น หากแต่ความโดดเด่นและมีเสน่ห์ของเชียงใหม่ นอกจากภาพจำของสภาพอากาศที่เย็นสบาย (ซึ่งปัจจุบันภาพจำอาจจะกลายเป็นเมืองฝุ่นควันไปเสียเเล้ว โดยเฉพาะในช่วงหน้าร้อนที่กำลังมาถึงนี้) เมืองที่มีประวัติศาสตร์วัฒนธรรมในบรรยากาศเมืองที่แสนจะสบายและเนิบช้า เหมาะแก่การพักผ่อนและท่องเที่ยวเป็นอย่างยิ่ง อีกหนึ่งสิ่งที่เป็นภาพจำสำคัญของเมืองเชียงใหม่ คงหนีไม่พ้นเรื่องความรุ่มรวยของคาเฟ่และร้านอาหาร นอกจากอาหารพื้นเมืองที่มีเสน่ห์และเอกลักษณ์ในภูมิภาคล้านนาแล้ว อาหารร่วมสมัยอย่าง กาแฟ หมูกระทะ และหม่าล่า ก็สะท้อนให้เห็นถึงการเปิดรับวัฒนธรรมอาหารใหม่ๆ ซึ่งอาจมีต้นตอมาจากการเปลี่ยนแปลงและความเหมาะสมของพื้นที่ซึ่งเป็นแหล่งเพาะปลูกวัตถุดิบที่ดีอย่าง “กาแฟอาราบิก้า” การรับเอาวัฒนธรรมการกินอาหารนอกบ้าน อาหารที่กินเป็นหมู่คณะอย่าง “หมูกระทะ-ชาบู” (ปัจจุบันก็เปิดกว้างว่าก็สามารถกินคนเดียวได้) หรือเกิดจากการแพร่กระจายของวัฒนธรรมอาหารจากการท่องเที่ยวอย่าง “หม่าล่า” ซึ่งในหลายทศวรรษที่ผ่านมา นอกจากเชียงใหม่จะขึ้นชื่อเรื่องความเป็นเมืองท่องเที่ยวแล้ว เชียงใหม่ยังได้ชื่อว่าเป็น “เมืองปราบเซียน” ของเหล่าผู้ประกอบธุรกิจโดยเฉพาะรายย่อย โดยเฉพาะกลุ่มร้านอาหาร/ร้านค้า คาเฟ่ขนาดเล็ก ซึ่งเปลี่ยนผ่านหมุนเวียน ร้านเก่าไปใหม่เข้ามาอยากหลากหลายและรวดเร็ว สำหรับบทความนี้ทีมงาน TheUrbanIs จะพาทุกท่านมาดูความเป็น “นครแห่งหมูกระทะ-หม่าล่า-กาแฟ” ในเมืองเชียงใหม่กันว่ากระจุกตัวอยู่แถวไหนกันบ้าง เมืองหมูกระทะ หมวกเหล็กทหารมองโกล ถึง หม้อหมูกระทะ เมื่อพูดถึงต้นกำเนิดของหมูกระทะนั้นมีตำนานมาตั้งแต่สมัยมองโกล ซึ่งหมูกระทะในดั้งเดิมเกิดมาจากทหารมองโกล พักศึกสงครามในสนามรบ แต่เมื่อเกิดอาการหิว ไม่มีอะไรเป็นอุปกรณ์ทำอาหารกินก็เลยใช้หมวกทหารมองโกลที่ลักษณะเป็นเหล็ก “mongol Ancient military hat” มาใช้แทนเป็นที่ย่างเนื้อกิน […]

เล่าเรื่องอาหารเหนือผ่าน “ลาบเมือง” ที่ทำไมไม่ “แมส” แต่คนเหนือบอก “เหมาะ”

03/03/2022

ว่าด้วยอาหารเหนือพื้นฐาน 101 ทำไมไม่ “แมส” ? อาหารเหนือนั้นมีหลายประเภท เรียกได้ว่ามีทั้งที่กินดิบ กึ่งสุกกึ่งดิบ และอาหารสุก ซึ่งต้องปรุงแบบสุกมากๆ หรือในต่างประเทศจะเรียกว่าเป็น “overcook” นัยยะคือมีกรรมวิธีที่ทำให้สุกหลายๆ ครั้ง โดยเฉพาะการนำไปปรุงสุกด้วยน้ำมัน หรือที่คนเหนือเรียกว่า “จ่าว” โดยทั่วไปรสชาติอาหารเหนือจะออกเค็ม เผ็ด แต่ไม่เผ็ดจัด และไม่นิยมหวาน ความหวานในอาหารจะมาจากวัตถุดิบของอาหารนั้นๆ จุดเด่นสำคัญในส่วนประกอบอาหารเหนือคือเครื่องเทศ ซึ่งถ้าเรียกว่าเป็นราชาเครื่องเทศของคนเหนือคือ “มะเเข่วน” (เม็กกลมเป็นพวง) ซึ่งเป็นที่นิยมในล้านนาตะวันออก อันได้แก่ ลำปาง แพร่ น่าน พะเยา เชียงราย นอกจากนี้ก็มีเครื่องเทศอื่นๆ ซึ่งรู้จักกันดี เช่น เมล็ดผักชี ดีปลี ขิง ข่า ตระไคร้ ใบมะกรูด หอมแดง ขมิ้น เป็นต้น ซึ่งการเลือกใช้เครื่องเทศจะขึ้นอยู่กับประเภทอาหารและวัตถุดิบในการปรุง เช่น ปลา เนื้อสัตว์ เป็นต้น สำหรับเครื่องปรุงรสที่พิเศษของคนเหนือ จากเครื่องปรุงรสทั่วไป เห็นจะเป็นการปรุงรสเปรี้ยว ซึ่งมีความหลากหลายกว่ารสอื่น นิยมใช้ […]

ร่วมปฎิบัติการนักสังเกตการณ์เมือง

28/02/2022

หนึ่งในวิธีที่เราจะสามารถศึกษาเรื่องเมืองได้ดีที่สุด คือการเป็นคนช่างสังเกต เพราะว่าการสังเกตจะช่วยให้เรารับรู้ถึงข้อมูล ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นรอบๆ ตัวเรา แล้วมันสามารถนำมาวิเคราะห์กลั่นกรองออกมาเป็นข้อมูลใหม่ๆ เป็นแนวทางใหม่ๆ ในการแก้ปัญหาได้ ตัวอย่างที่ดีตัวอย่างหนึ่งที่หลายคนน่าจะเคยได้ยินเรื่องราวมาบ้างแล้ว คือ การค้นพบต้นเหตุที่มาของการระบาดของอหิวาตกโรคในลอนดอนในปี 1854 จากการที่ John Snow ได้สังเกตพฤติกรรมและจดบันทึก จนค้นพบว่าผู้ป่วยมีการเดินทางไปใช้น้ำจากแหล่งเดียวกัน วันนี้ The Urbanis จึงอยากชวนผู้อ่านมาร่วมเป็นนักสังเกตการณ์เมือง ร่วมเรียนรู้วิธีการ “Urban Observatory”  การเก็บข้อมูลเมืองในแบบฉบับนักสังเกตการณ์เมืองจะเป็นอย่างไร แล้วการสังเกตการณ์เมืองจะช่วยพัฒนาเมืองของเราได้อย่างไรบ้าง ติดตามกันได้ที่บทความนี้ “เมือง” คืออะไร ก่อนที่จะเป็นนักสังเกตการณ์เมืองเรามาทำความเข้าใจคำว่า “เมือง” กันก่อน คำว่าเมืองนั้นมีนิยามที่หลากหลายทั้งในเชิงกายภาพ ผู้คน เศรษฐกิจ หลายๆ ครั้งก็ทำให้เกิดคำถามที่ว่า ว่าเราจะนิยามเมืองได้ครอบคลุมขนาดนั้นจริงหรือ แต่โดยรวมแล้วเมืองจะสะท้อนให้เห็นถึง ความแตกต่าง ความหลากหลาย โอกาส และความเหลี่ยมล้ำ ทั้งหมดทั้งมวลนี้ทำให้เมืองมีความซับซ้อน ไม่สามารถจำเพาะเจาะจงหรือจำกัดความได้ว่า เมือง หรือ การศึกษาเรื่องเมือง เป็นเรื่องเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แต่โดยส่วนตัวแล้วคุณอดิศักดิ์มองว่า เมือง คือ ผู้คน พื้นที่ และการปะทะสังสรรค์ของการใช้ชีวิตและกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีความหลากหลายและหนาแน่น […]

ชื่อบ้านนามเมืองนั้นสำคัญไฉน บางกอก VS กรุงเทพมหานคร

18/02/2022

คงเป็นที่สนใจอยู่ไม่น้อยสำหรับกระแสข่าวที่มี มติ.ครม เปลี่ยนชื่อเรียก “กรุงเทพมหานคร” ในภาษาอังกฤษ ตามที่สำนักงานสำนักงานราชบัณฑิตเสนอ จาก Krung Thep Maha Nakhon; Bangkok เป็น Krung Thep Maha Nakhon (Bangkok) ซึ่งความจริงก็มีประกาศอย่างเป็นทางการของทางสำนักงานราชบัณฑิตว่าสามารถใช้ได้ทั้ง 2 ชื่อ คือ Krung Thep Maha Nakhon และ Bangkok แต่ก่อนที่สนับสนุน หรือไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ ทีมงาน The UrbanIs อยากชวนทุกท่านมาตั้งคำถามว่า แท้ที่จริงแล้ว ชื่อบ้านนามเมือง นี้ที่จริงแล้วมีที่มาที่ไป อย่างไร และความจริงแล้วมีความสำคัญอย่างไรบ้าง และหากเราสามารถตั้งชื่อเมืองที่เราอยู่ได้เอง เลยอยากจะชวนทุกท่านมาลองตั้งชื่อเมืองที่เราอยู่หน่อยว่าจะมีชื่ออะไรบ้าง ชื่อบ้านนามเมืองหรือ “ภูมินาม” (Place Name/Geographic Name) ความจริงแล้วเป็นระบบวิธีคิดทางวัฒนธรรมของผู้คนแต่ละพื้นที่ ซึ่งมีความหมายสัมพันธ์กับถิ่นที่อยู่อาศัย วัฒนธรรม ความเชื่อ ทั้งที่เกี่ยวข้องกับลักษณะทางภูมิศาสตร์ ภูมิประเทศ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น วรรณกรรม เรื่องเล่า […]

กรุงเทพฯ เมือง(อุบัติเหตุ) 15 นาที

15/02/2022

ปี 2561 มีคนกว่า 1.3 ล้านคนทั่วโลก เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน และ 93% อยู่ในกลุ่มประเทศด้อยพัฒนาและกำลังพัฒนา ความสูญเสียอันมหาศาลนี้ กลายเป็นประเด็นท้าทายระดับโลก ที่ต้องการลดความสูญเสียนี้ลงให้ได้อย่างน้อยครึ่งหนึ่งภายในปี 2573 ภายใต้การรณรงค์ชื่อว่า “Decade of Action for Road Safety 2021-2030” นำโดยองค์การอนามัยโลก (WHO) สำหรับประเทศไทยกับอุบัติเหตุจากจราจร คงหนีไม่พ้นคำสุภาษิตที่ว่า “ไม่เห็นโลงศพ ไม่หลั่งน้ำตา”เพราะเรามักจะได้เห็นข่าวความสูญเสียจากอุบัติเหตุบนท้องถนนซึ่งถูกหยิบยกมาเป็นประเด็นสนใจที่สังคมให้ความสำคัญเพียงช่วงเวลาที่เกิดความสูญเสียเท่านั้น เมื่อเวลาผ่านไปประเด็นเหล่านี้ก็จะถูกลืม วินัยการจราจรก็กลับไปหย่อนยานเช่นเดิมจนกว่าจะมีข่าวใหม่และเหยื่อหน้าใหม่เกิดขึ้นอีกครั้ง ทั้งที่จริงแล้ว ความสูญเสียจากการใช้รถใช้ถนนเกิดขึ้นทุกวัน จนกลายเป็นปัญหาสุดคลาสสิกที่ไม่เคยหายไปจากสังคมไทย กลายเป็นว่า เรายังต้องเห็นโลงศพและหลั่งน้ำตากันอีกครั้งแล้วครั้งเล่า เป็นที่ทราบกันดีว่า ไทยมีอัตราการเสียชีวิตบนท้องถนนสูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก และเป็นอันดับ 1 ของอาเซียน แม้ว่าจะมีอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนถนนลดลงจาก 38 คนต่อแสนประชากรในปี 2554 เหลือ 32 คนในปี 2562 แต่ก็เป็นการลดลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น อีกทั้ง ยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลกถึง 2 เท่า (องค์การอนามัยโลก, 2563) […]

เชียงใหม่ เมืองมหาวิทยาลัยในสภาวะส่งออกบัณฑิตแต่ไม่ดึงดูดแรงงาน

08/02/2022

เชียงใหม่ถือเป็นเมืองการศึกษา หรือถ้าพูดอีกอย่างคือ การพัฒนาและเติบโตของเมืองทั้งทางกายภาพและเศรษฐกิจได้รับผลกระทบอย่างมากจากการมีมหาวิทยาลัย และคงปฎิเสธไม่ได้ว่า หากเมืองใดได้ชื่อว่าเป็นเมืองการศึกษาอย่างน้อยก็ต้องได้รับผลประโยชน์อย่างน้อย 3 ด้าน (1) การเข้ามาของกลุ่มคนวัยเรียนทั้งที่ย้ายถิ่นเข้ามาเพื่อการเรียนหรือเข้ามาเป็นประชากรแฝง เมืองนั้นล้วนได้พลังงานจากกลุ่มคนรุ่นใหม่เหล่านี้ให้เมืองได้คึกคักและที่ตามมาคือ (2) การคึกคักและเติบโตของเศรษฐกิจในย่านมหาวิทยาลัย ซึ่งก็จะมีย่านที่เรียกกันเป็นชื่อกลางของย่านมหาวิทยาลัยว่า “ย่านหน้ามอ” หรือ “ย่านหลังมอ” ส่วนประเด็นสุดท้ายคือ (3) การพัฒนาด้านกายภาพของเมืองทั้งจากการพัฒนาของมหาวิทยาลัยและพื้นที่เกี่ยวเนื่อง ตลอดจนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเติบโตของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประเภทหอพักหรืออพาร์ทเมนท์ คอนโดมิเนียม ที่ตามมาพร้อมกับจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นและเศรษฐกิจเติบโตขึ้น บทความนี้เราจะพาทุกท่านมาสำรวจเมืองเชียงใหม่ ในฐานะเป็นเมืองศูนย์กลางการศึกษาของภาคเหนือ ว่ามีลักษณะและสิ่งที่น่าสนใจและน่าจับตามองอย่างไรบ้าง โดยเฉพาะคำถามที่ว่า เมืองเชียงใหม่ในฐานะที่เป็นเมืองการศึกษากำลังตกอยู่ในภาวะสมองไหล ที่ส่งออกบัณฑิตแต่อาจไม่ดึงดูดเเรงงาน หรือไม่ มหาวิทยาลัยกับการพัฒนาเมือง มหาวิทยาลัยเป็นหนึ่งในสถาบันสำคัญของสังคมปัจจุบัน ทั้งในฐานะแหล่งค้นคว้าและเผยแพร่ความรู้ แหล่งโต้แย้งและถกเถียงแนวคิดเก่า-ใหม่ที่หลากหลาย แหล่งบ่มเพาะนวัตกรรมทางเทคโนโลยีและธุรกิจ แหล่งสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรม รวมไปถึงแหล่งขับเคลื่อนและผลักดันทางสังคมและการเมือง บทบาทของมหาวิทยาลัยไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่การเป็นแหล่งความรู้เท่านั้น ด้วยจำนวนนักศึกษาและบุคลากรที่มีอยู่มาก และงบประมาณที่มีอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง อย่างเช่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่ได้งบประมาณสนับสนุนปี 2563 จากรัฐบาลกว่า 5.5 พันล้านบาท ซึ่งมากเป็นลำดับต้นๆ ของประเทศ มหาวิทยาลัยจึงมีผลกระทบโดยตรงต่อเศรษฐกิจในระดับท้องถิ่น สังเกตได้ว่า ไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยไหน พื้นที่รอบมหาวิทยาลัยก็มักมีหอพัก ร้านค้า และร้านกินดื่มรูปแบบต่างๆ มีนักศึกษาเดินขวักไขว่ไปมาอยู่ทั่วไป […]

เชียงใหม่สรรค์สร้างย่านสร้างสรรค์

02/02/2022

เมืองเชียงใหม่เป็นสมาชิก 1 ใน 38 เมืองสร้างสรรค์ สาขาหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน (Crafts and Folk Art) ในปี พ.ศ. 2560 ซึ่งมีงานหัตถกรรมและศิลปะพื้นที่บ้านถึง 9 สาขา คือ งานผ้า งานไม้ งานเครื่องเงิน งานเครื่องโลหะ งานเครื่องปั้นดินเผา งานกระดาษ งานเครื่องเขิน งานเครื่องจักสาน และงานสบู่/น้ำมัน/เครื่องหอม และมีหน่วยงานการศึกษาและรัฐบาลท้องถิ่นให้การสนับสนุน มีความพร้อมในการเป็นเมืองสร้างสรรค์กว่า 80% นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2563 เมืองเชียงใหม่ได้รับการยกย่องให้เป็นเมืองหัตถศิลป์โลก (World Craft City) จากสภาหัตถศิลป์โลก (World Craft Council) อีกด้วย อย่างไรก็ตาม การนิยามความเป็นย่านสร้างสรรค์นี้ ยังถูกกล่าวถึงจากหลายบริบทและรวมถึงการพิจารณาศักยภาพในด้านอื่นๆ อีกมากมาย อาทิ การพิจารณาถึงองค์ประกอบการเป็นย่านสร้างสรรค์ ซึ่งต้องประกอบด้วย วัฒนธรรม กิจกรรม ผู้คน และเมือง ลงไปจนถึงการพิจารณาคุณภาพขององค์ประกอบย่านสร้างสรรค์ ซึ่งกล่าวถึงความมีชีวิตชีวาทางวัฒนธรรม เศรษฐกิจสร้างสรรค์ […]

1 2 3 4 6