บ้านสาว คนไร้บ้าน และแรงงานรายวันในย่านเศรษฐกิจเมืองเชียงใหม่

25/01/2022

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อภาคส่วนต่างๆ เป็นวงกว้างไม่เฉพาะในประเด็นด้านสาธารณะสุขเท่านั้น สิ่งที่ตามมาคือการเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในพื้นที่เมืองหรือเศรษฐกิจของเมืองที่ขับเคลื่อนด้วยปัจจัยภายนอกพื้นที่/การบริโภคการจับจ่ายภายนอกพื้นที่ อย่างภาคบริการ/การท่องเที่ยว ซึ่งเมืองเชียงใหม่เองก็เป็นเช่นนั้น จากผลการสำรวจย่านเศรษฐกิจล้มลุกเมืองเชียงใหม่ที่ทีมงาน The Urbanis และ UddC Urban Insight ได้ทำการสำรวจในเดือนมีนาคม 2563 ซึ่งเผยแพร่ผ่านบทความ “ย่านเศรษฐกิจล้มลุก เมืองเชียงใหม่” ซึ่งได้ระบุปรากฏการผลกระทบของ โควิด-19 ในพื้นที่ย่านเศรษฐกิจเมืองเชียงใหม่ ทั้ง 7 แห่งนั้น บทความนี้เราจะพาท่านผู้อ่านไปเจาะลึกในประเด็นแวดล้อมอื่นๆ ของเมืองเชียงใหม่ นอกจากความเป็นย่านเศรษฐกิจของเมืองที่เป็นศูนย์รวมธุรกิจร้านค้า การเงิน การบริการ ความจริงแล้ว ในย่านเศรษฐกิจเหล่านี้กลับมีอีกหนึ่งองค์ประกอบของเมืองที่ปะปนและแฝงอยู่ในพื้นที่ย่านเศรษฐกิจศูนย์กลางเมือง นั่นคือกลุ่มคนเปราะบางที่อยู่ในเมือง ซึ่งการมีอยู่ของกลุ่มคนเหล่านี้ คล้ายๆ ว่าเป็นกลุ่มคนที่คนทั่วไป หรือแม้กระทั่ง การที่ “เมือง” เลือกที่จะมองไม่เห็น ตลอดจนนโยบายการพัฒนาการขับเคลื่อนเมืองบางอย่าง อาจยังมองไม่ครอบคลุมพวกเขาเหล่านี้ ผ่านการวิเคราะห์และบอกเล่าเรื่องราวผ่านความสัมพันธ์ในเชิงพื้นที่ของกลุ่มคนเปราะบาง ผ่านโครงสร้างการใช้งานพื้นที่เศรษฐกิจของเมือง ของ 3 กลุ่มคนเปราะบางผ่าน 3 บริบทย่านเชิงพื้นที่ นั่นคือ ย่านบ้านสาว ย่านคนไร้บ้าน และย่านแรงงานรายวัน ผ่านการวิชวลในเชิงพื้นที่ส่วนต่างๆของเมืองในฐานะเป็นแหล่งพำนักพักอาศัย ย่านกิจกรรมการค้าที่มีความหลากมิติของเมือง […]

ย่านเศรษฐกิจเมืองเชียงใหม่อยู่ที่ไหน?

20/01/2022

จากบทความ “พลวัติเมืองเชียงใหม่: ช่วงเวลาของการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงเมือง” เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงและการเติบโตของเมืองเชียงใหม่แล้ว คงจะเห็นได้ว่าการพัฒนาเมืองของเชียงใหม่จากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การก่อสร้างบ้านเรือน หรือบริเวณที่มีสิ่งปลูกสร้างเกิดขึ้นทั้งที่เป็นที่อยู่อาศัย ย่านมหาวิทยาลัย เป็นย่านธุรกิจหรือ ย่านการค้าของเมือง ซึ่งมีความหลากหลายและแตกต่างกันไป บทความนี้เราจะพาทุกท่านมาเจาะลึกย่านที่เรียกว่า ย่านเศรษฐกิจเมืองเชียงใหม่ กันว่าอยู่ที่ไหนกันบ้าง ย่านเศรษฐกิจเมืองในที่นี้ไม่ได้หมายความเฉพาะพื้นที่ เศรษฐกิจศูนย์กลางเมือง หรือเรียกสั้นๆว่า CBD ของเมืองเท่านั้น หากแต่เมืองที่มีความหลากหลายและมีความซับซ้อนของกิจกรรมและผู้คน จะมีพื้นที่หรือย่านเศรษฐกิจของเมืองมากกว่า 1 แห่ง และมีลักษณะและบทบาทที่แตกต่างกัน เราจึงชวนทุกท่านมาสำรวจดูกันว่า ย่านเศรษฐกิจเมืองเชียงใหม่อยู่ตรงไหนกันบ้าง และแค่ไหนถึงเรียกได้ว่าเป็นย่านเศรษฐกิจของเมือง อะไรคือ ย่านเศรษฐกิจเมือง ย่านเศรษฐกิจเมือง ที่เราจะกล่าวถึงในบทความนี้ คงหมายรวมถึงย่านเพื่อการค้าปลีก การบริการ และย่านเศรษฐกิจศูนย์กลางเมือง (Central Business District: CBD) ซึ่งในกลุ่มย่านเศรษฐกิจเมืองนี้อาจแยกย่อยหรือมีบทบาทที่เฉพาะตัวไป อาทิ ย่านการค้าปลีก ย่านการค้าส่ง ย่านสำนักงานธุรกิจต่างๆ เป็นต้น ดังนั้น คำว่าย่านเศรษฐกิจเมืองในบทความนี้ จึงมิได้หมายถึงเพียงแต่ย่าน CBD เท่านั้นยังหมายถึงย่านเศรษฐกิจอื่นๆ ด้วย แต่คงปฏิเสธไม่ได้ว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดหรือมีพลังที่สุดในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของเมือง คงหนีไม่พ้น เขตธุรกิจการค้าใจกลางเมืองหรือศูนย์กลางเศรษฐกิจเมือง หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ CBD ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของเมืองเป็นบริเวณที่มีลักษณะพิเศษ […]

ย่านเศรษฐกิจล้มลุก: สำรวจย่านเศรษฐกิจเมืองเชียงใหม่ในช่วงโควิดกลืนเมือง

14/01/2022

ย่านแต่ละย่านต่างมีเรื่องราว เอกลักษณ์เฉพาะของตัวเอง ที่ประกอบสร้างขึ้นจากความคิด ความรู้สึก ตลอดจนความสัมพันธ์ พฤติกรรม หรือกิจกรรมที่เกิดในพื้นที่ กลายเป็นภาพสะท้อนที่แสดงให้เห็นความเชื่อมโยงร้อยเรียงผู้คนในพื้นที่ เมืองเชียงใหม่ กับความเป็นย่านหลากมิติ จากรายงานศึกษาเรื่องราวความเป็นย่านผ่านประวัติศาสตร์ และโครงสร้างของเมืองเชียงใหม่แสดงให้เห็นว่าแต่ละย่านของเมืองเชียงใหม่ มักเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม พลวัตทางการเมือง และการพัฒนาเมือง ที่แตกต่างและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวกันออกไป (ปรานอม ตันสุขานันท์ และวิทยา ดวงธิมา, 2556) ซึ่ง “ย่านเศรษฐกิจ” ที่เห็นได้ในปัจจุบัน ถือเป็นหนึ่งในภาพสะท้อนของเมืองเชียงใหม่ ที่มีการพัฒนาจนกลายเป็นเมืองศูนย์กลางทางค้าและการท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศและของโลก บทความนี้เราจะชวนผู้อ่านทุกท่านสำรวจ “7 ย่านเศรษฐกิจ” ณ ห้วงเวลาการเเพร่ระบาด COVID -19 ของเมืองเชียงใหม่ ที่ต้องเผชิญกับมาตรการล็อกดาวน์ (ปี 2563) ไร้วี่เเววของนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติ ดังนั้น ย่านใดบ้างที่ธุรกิจหยุดชะงัก หรือสามารถดำเนินต่อไปได้ เพื่อสะท้อนให้เห็นผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของย่านเศรษฐกิจเชียงใหม่ ย่านห้วยแก้ว -นิมมานเหมินท์ ย่านเศรษฐกิจสำคัญของเมืองเชียงใหม่ ครอบคลุมถนนห้วยแก้ว และถนนนิมมานเหมินท์ เป็นถนนสายเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวที่สำคัญของเมืองเชียงใหม่ ใกล้สถานศึกษาหลายแห่ง อีกทั้งยังเป็นแหล่งที่พักอาศัยที่สำคัญอีกด้วย “ถนนห้วยแก้ว” หรือที่ชาวเชียงใหม่เรียกติดปากว่า “ถนนหน้ามอ(ชอ)” […]

ปืน เชื้อโรค เหล็กกล้า กับดาต้าเมือง

05/01/2022

“ทำไมคนผิวขาวอย่างคุณถึงพัฒนาสินค้าได้มากมายและส่งมายังนิวกินีแต่พวกเราคนผิวดำมีสินค้าเพียงน้อยนิดเป็นของเราเอง” — จาเร็ด ไดมอนด์ คำถามเมื่อ พ.ศ.2515 ของยาลี นักการเมืองและนักเคลื่อนไหวชาวปาปัวนิวกินี ได้จุดประกายให้จาเรต ไดมอนด์ เขียนหนังสือ “ปืน เชื้อโรค และเหล็กกล้า ชะตากรรมของสังคมมนุษย์” ขึ้นใน พ.ศ.2540 ในหนังสือดังกล่าว เขาได้วิพากษ์ถึงเหตุผลในความเหนือกว่าของชาวยูเรเชียและแอฟริกาเหนือ ที่ทำให้พวกเขาสามารถยึดครองผลประโยชน์จากผู้คนที่เหลือบนโลก ไดมอนด์เสนอว่าความเป็นสังคมเกษตรกรรมตั้งแต่สมัยโบราณทำให้กลุ่มอารยธรรมนี้พัฒนาเทคโนโลยีและวิถีชีวิตที่แข็งแกร่ง คนกลุ่มนี้สามารถเข้าถึงปืน เชื้อโรค และเหล็กกล้า ซึ่งต่างก็เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เอาชนะคนกลุ่มอื่น ๆ ได้อย่างง่ายดาย โดยมีปืนอยู่ในฐานะกำลังรบ เชื้อโรคอยู่ในฐานะสิ่งสร้างภูมิคุ้มกัน และเหล็กกล้าอยู่ในฐานะเทคโนโลยีที่สนับสนุนจักรวรรดินิยมในการล่าอาณานิคม จากการบรรยายเรื่อง “ปืน เชื้อโรค เหล็กกล้า กับดาต้าเมือง” เมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ.2564 บรรยายโดยคุณอดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ รองผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ฝ่าย Urban Intelligence คุณอดิศักดิ์นำเสนอความสัมพันธ์ระหว่าง เชื้อโรค พัฒนาการ และระบบการบริหารจัดการเมือง  พร้อมทั้งชี้ให้เห็นความสำคัญของการใช้ข้อมูลเข้ามาประยุกต์เพื่อการบริหารจัดการเมืองในปัจจุบันที่มีความซับซ้อน ให้เกิดการคลี่คลายและวางแผนแก้ไขปัญหาได้ โรคระบาดอยู่คู่อารยธรรม เชื้อโรค เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ถูกกล่าวถึงในหนังสือของไดมอนด์ […]

พลวัติเมืองเชียงใหม่: ช่วงเวลาของการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงเมือง

17/12/2021

เมืองเชียงใหม่ในปัจจุบันกับอายุร่วม 725 ปี เมืองที่มีพลวัติทางการเมืองและการพัฒนาเมืองมาอย่างยาวนาน จากการเปลี่ยนผ่านรูปแบบการปกครอง ระบบความคิดความเชื่อ วัฒนธรรม และโครงสร้างทางกายภาพของเมือง จนตอนนี้กลายเป็นเมือง มีวิถีชีวิตแบบเมือง ทีมีความหลากหลายสลับซับซ้อนของผู้คนและปัญหาที่เกิดขึ้นภายในเมือง ดังนั้น รูปแบบการพัฒนาเมืองและลักษณะทางกายภาพ อาคาร รูปแบบกิจกรรม กิจการของเมืองจึงเป็นเครื่องสะท้อนเรื่องราว ความเป็นมาของเมือง ซึ่งผ่านห้วงของการพัฒนา การเปลี่ยนแปลงที่หลากหลายและยาวนาน เชียงใหม่ในฐานะหัวเมืองมณฑลพายัพ เริ่มต้นตั้งแต่เชียงใหม่ในการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล ซึ่งเน้นการพัฒนาพื้นที่ในระบบที่สนับสนุนการทำงานของราชการ โครงสร้างพื้นที่ฐาน มีการสร้างโรงเรียน สถานีรถไฟ โรงพยาบาล ตลาด และโรงสี เชียงใหม่ในหน้าตาของเมืองสมัยใหม่ เข้าสู่ความเปลี่ยนแปลงเมืองในขั้นถัดมาภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในรูปแบบการบริหารราชการในรูปแบบ จังหวัด และเป็นช่วงที่เชียงใหม่กลายเป็นเมืองสมัยใหม่ จากการสร้างและพัฒนาระบบสาธารณูปโภคสาธารณูปการที่ทันสมัยมากขึ้น การก่อตั้งโรงเรียนแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีการรื้อกำแพงเมืองชั้นในบางส่วนเพื่อขยายถนน (เหลือทิ้งไว้เพียงแจ่ง และประตูเมือง) มีการตัดถนนวงแหวนรอบใน (ถนนมหิดล-ซูปเปอร์ไฮเวย์) เกิดศูนย์การค้าขนาดใหญ่ สร้างสถานีขนส่งผู้โดยสาร (อาเขต) และการเกิดขึ้นของตลาดในฐานะพื้นที่เศรษฐกิจ พื้นที่จับจ่ายใช้สอยของเมือง อาทิ ตลาดนวรัฐ ตลาดประตูเชียงใหม่ ตลาดประตูข้างเผือก เชียงใหม่ในฐานะเมืองท่องเที่ยวและเมืองอนุรักษ์ ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 5- 6 […]

Urban Dataverse เพราะเมืองกำลังขับเคลื่อนด้วยข้อมูล

15/12/2021

ข้อมูลเมืองมีความสำคัญต่อการพัฒนาเมืองเป็นอย่างมาก หากเปรียบเมืองเป็นบ้านหนึ่ง การจะสร้าง ออกแบบหรือต่อเติมบ้านให้ออกมาดูดีตรงใจได้นั้น ก็จำเป็นที่จะต้องรู้ในทุกมิติตั้งแต่ขนาด โครงสร้าง วัสดุที่ใช้ ศึกษาว่าจะมีคนเข้ามาอยู่อาศัยกันกี่คน ห้องไหนจะใช้งบประมาณในการต่อเติมมากหรือห้องไหนจะใช้งบประมาณน้อย และอีกมากมาย หากกลับมาดูในบริบทของเมืองที่มีความซับซ้อนเป็นอย่างมาก แน่นอนว่าจำเป็นที่จะต้องใช้ข้อมูลในมิติที่หลากหลาย ข้อมูลเมืองมีหลายประเภท หลายรูปแบบและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการแก้ปัญหาการจราจร การแก้ปัญหาคุณภาพอากาศ การแก้ปัญหาน้ำท่วม ช่วยในการออกแบบเมืองให้น่าอยู่และมีอัตลักษณ์ ข้อมูลเมืองจะช่วยให้ผู้มีอำนาจตัดสินใจลงทุนหรือกำหนดนโยบายที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เองก็จะเป็นตัวขับเคลื่อนให้เมืองพัฒนาไปได้อย่างยั่งยืน The Urbanis สรุปสาระงานเสวนา Urban Dataverse: The verse of data-driving urbanism จากวิทยากรทั้ง 4 ท่าน ได้แก่ ผศ.ดร.จิรันธนิน กิติกา ทีมผู้อยู่เบื้องหลังเพจ “เชียงใหม่ฉันจะดูเเลคุณ” คุณอดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ นักภูมิศาสตร์เมือง คนเล่นแร่แปรธาตุข้อมูลเชิงพื้นที่เมือง คุณธนิสรา เรืองเดช ผู้ร่วมก่อตั้ง Punch Up studio กับโครงการเปลี่ยนสังคมด้วย “ดาต้า” และ คุณนิธิกร บุญยกุลเจริญ หนึ่งในนักพัฒนา ทีม […]

มองเมืองเชียงใหม่ ผ่านป้ายโฆษณาและชายคาอาคาร

26/11/2021

ในบทความนี้เราจะพาทุกท่านไปดูพัฒนาการเปลี่ยนแปลงของเมืองผ่านป้ายโฆษณา และรูปแบบชายคาอาคารของเมืองเชียงใหม่ ในช่วงปี 2010 – 2020 มีคนกล่าวเอาไว้ว่าป้ายโฆษนาบอกอะไรมากกว่าสิ่งที่มันกำลังบอกฝ่านตัวหนังสือ หากมองในภาพรวมป้ายโฆษณาคือ “หน้าตาของเมือง” ที่สังเกตุได้ง่ายที่สุดจากการใช้ชีวิตสาธารณะ ตามถนน ตรอก ซอก ซอย อาคาร ที่ว่าง ในบางสำนักวิชาการ มองว่าป้ายโฆษณาในย่านหรือในเมือง กำลังสะท้อนว่าเมืองให้ความสนใจกับอะไรอยู่ ทั้งลักษณะ ขนาด และเนื้อหาของป้าย  ดังนั้น สิ่งที่เมืองกำลังสนใจ ผู้คนในเมืองกำลังเคลื่อนไหว จึงถูกสะท้อนผ่านป้ายโฆษณาและรูปแบบหน้าตาชายคาอาคาร และที่สำคัญคือเบื้องหลังสิ่งเหล่านี้สัมพันธ์กับเรื่องเศรษฐกิจ และชีวิตของเมืองท้้งสิ้น มันอาจบอกถึงความเร็วและระยะในการรับรู้ของผู้คน เมืองที่มีแต่ป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ตามทางหลวง นั่นถือเป็นเมืองสำหรับรถยนต์โดยแท้ เพราะขนาดป้ายที่สัมพันธ์กับความเร็วของการเคลื่อนที่ 50 กม.ชม. หรือหากเป็นนย่านขนาดเล็ก มีร้านลวงขายสินค้า อาหาร คาเฟ่ ป้ายโฆษณา หรือป้ายร้านเหล่านี้ก็จะมีขนาดเล็ก มีรายละเอียดที่มากขึ้น น่าหลงไหล ในย่านแบบนี้ก็ดูท่าว่าจะเป็นมิตรกับคนเดินเท้า ด้วยขนาดป้ายกับความเร็วของคนเดินเท้า ที่ดูมีเรื่องเล่าประหนึ่งลายเเทงที่กำลังรอการตามหา บทความนี้เราจะพาผู้อ่านทุกท่านลองมา “อ่านเมือง-เข้าใจเมือง” จากรูปแบบป้ายโฆษณาและชายคาอาคารของเมืองเชียงใหม่ ย้อนกลับไป 1 ทศวรรษ ซึ่งเป็นทั้งช่วงที่ “พีคสุดๆ” ของเมืองและช่วงที่เมืองดูเงียบเหงาหลังผลกระทบของโควิด-19 เพราะเชียงใหม่ที่ได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งการท่องเที่ยว […]

เมืองเคลื่อนคนขยับ: เข้าใจการเปลี่ยนแปลงเมืองเชียงใหม่ผ่านภาคประชาสังคมเมือง

22/11/2021

การมีส่วนร่วมของผู้คนที่อยู่ในเมือง นั้นกำลังเป็นที่สนใจในกระบวนการหรือทิศทางของการพพัฒนาเมืองในปัจจุบัน เพราะเมืองนั้นเป็นเรื่องที่ทถกคนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้ ไม่จำกัดเฉพาะเหล่าผู้บริหารเมือง นักผังเมือง หรือผู้ออกแบบเมืองเท่านั้น สำหรับในประเทศไทยถือว่าในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 (พ.ศ.2540-2544) เป็นจุดเริ่มต้นการใช้แนวความคิดของประชาสังคมที่เน้นการเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมของประเทศไทย เพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาท้องถิ่นในทุกระดับไม่ว่าจะเป็นภาคธุรกิจ นักวิชาการ และองค์กรประชาชนในท้องถิ่นโดยใช้ชื่อว่า “เวทีประชาคม” ซึ่งถือเป็นรากฐานของการพัฒนาไปสู่สังคมพลเมืองหรือประชาสังคม (civil Society) ในฐานะที่เป็นทางเลือกเพื่อหาทางออกของปัญหาทั้ง ทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง โดยมีความเชื่อพื้นฐานว่าหากสังคมใดที่การรวมตัวของ ประชาคมมีความเข้มแข็ง และสามารถเข้าไปมี ส่วนร่วมในการปกครองหรือกําหนดนโยบายสําคัญๆ ของประเทศแล้วสังคมนั้นก็จะได้รับการพัฒนาไปในทิศทางที่ถูกต้องยั่งยืนและตอบสนองความต้องการของคนส่วนใหญ่ในสังคมได้ ทั้งนี้ การก่อตัวและพัฒนาการของประชาสังคม อาจกล่าวได้ว่าเกิดขึ้นเนื่องจากประชาชนต้องเผชิญกับปัญหา หรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่มีความสําคัญ (critical events) และได้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพการดํารงชีวิต คุณภาพ สิ่งแวดล้อม ต่อชุมชน และ/หรือสังคมฯ เกิดการรวมตัว รวมกลุ่มกันเพื่อผลักดันการแก้ไขปัญหาของตน ขณะเดียวกันความซับซ้อนของปัญหา ก็ไม่อาจดําเนินการโดยลําพังองค์กรใดองค์กรหนึ่งได้ หากแต่ต้อง รวมกลุ่ม รวมพลังกันของทุกส่วนในสังคม จึงจะแก้ปัญหาได้ เกิดเป็นภาคประชาสังคมขึ้น (ชูชัย ศุภวงศ์, 2541) การขยายตัวของเมือง ปัญหา และประชาสังคม เป็นที่ทราบกันดีว่านโยบายและแนวทางการพัฒนาเมืองแบบกระแสหลักของประเทศไทยจากอดีตจนถึงปัจจุบัน มีรากฐานมาจากระบบราชการ และการดำเนินงานโดยอำนาจรัฐเป็นต้นธารเสมอมา […]

มาแล้วลูกจ๋า “พื้นที่สีเขียว” ที่หนูอยากได้

04/11/2021

เรื่อง/วิเคราะห์ข้อมูล/แมพวิชวล โดย อดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ หากนี่คือเกมที่ว่าด้วยการจัดสรรและการกระจายสวนสาธารณะให้กับเมือง ในเมื่อเมืองเรากำลังให้ความสำคัญกับเรื่องสวนสาธารณะ และคนที่อาศัยอยู่ในเมืองกำลังต้องการพื้นที่สาธารณะเพิ่ม เราในฐานะนักวางแผน/นักวางผังเมืองจะมีส่วนช่วยในการจัดการสถานการณ์เช่นนี้อย่างไร ถือเป็นเรื่องน่าชื่นชมยินดี หากเมืองของเราจะมีการพัฒนา หรือฟื้นฟูพื้นที่สวนสาธารณะ เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับผู้คนที่อยู่ในเมือง แต่คำถามสำคัญมากกว่านั้น หากเราเป็นนักวางผังหรือความจริงเป็นคำถามที่ใครก็สามารถตั้งคำถามได้ ไม่ว่าประชาชนคนธรรมดา ทั้งที่เป็นประชาชนตามทะเบียนราษฎร์หรือเป็นประชาชนชั้น 2 (ประชากรแฝง) ที่เข้ามาทำงาน มาเรียนอยู่ในมหานครแห่งนี้ ว่า “สวนสาธารณะ” นั้นเป็นสิ่งที่เราควรได้รับการให้บริการจากเมืองหรือไม่ หากคำตอบคือ ใช่ คำถามถัดมาที่เราควรถามหรือมีในใจ คือ ควรจะมีที่ไหน มีให้เท่าไหร่ และมีอย่างไร?  คำถามว่าด้วยความเหลื่อมล้ำและหลุมพรางของเรื่องที่ดี มาถึงตรงนี้ คงปฏิเสธไม่ได้ว่า นี่คงเป็นศตวรรษของกรุงเทพฯ สีเขียวจริงๆ แต่หลุมพรางที่ตามมาของการพัฒนาพื้นที่สีเขียวหรือสวนสาธารณะ ที่ดูเหมือนว่าจะทำอย่างไรมันก็ดูเป็นเรื่องดีไปหมดนี้ ทำให้เกิดคำถามฉุดขึ้นในใจว่า หากเมืองจะมีนโยบายที่เด็ดเดี่ยวและตั้งใจเช่นนี้ คำถามของผมในฐานะนักผังเมืองที่เป็นประชากรแฝงคนหนึ่ง ก็คือ การตัดสินใจในการสร้างหรือพัฒนาโครงการเหล่านี้ หากพิจารณาตามหลักพื้นฐานของการวางผังหรือแผนของเมือง ซึ่งว่าด้วยศาสตร์ของการออกแบบและการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดนี้อย่างเท่าเทียมและทั่วถึง พื้นที่เหล่านี้มันควรมีการกระจายตัวหรือมีการจัดสรรทรัพยากรนี้อย่างไร เพื่อไม่ให้เป็น “หลุมพรางของเรื่องที่ดี” และจะไม่สร้างความเหลื่อมล้ำในเชิงพื้นที่ให้เกิดขึ้นไปมากกว่านี้ ดังนั้น หากสมมุติว่าเราสามารถเลือกหรือมีโอกาสได้เลือก เราจะจัดสรรทรัพยากรนี้อย่างไร ในเมื่องบประมาณในเรื่องนี้มีอยู่อย่างจำกัด เพราะคงมีเรื่อง หรือปัญหาทุกข์ร้อนในเมืองอีกมากโข ที่เมืองจะต้องเร่งแก้ปัญหาด้วยเช่นกัน […]

We!Park แพลตฟอร์มสร้างพื้นที่สาธารณะที่กระตุ้นให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม

08/10/2021

สัมภาษณ์โดย อดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ รองผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) พื้นที่สาธารณะในประเทศไทย มีไม่พอ และ ที่พอมีก็ดีไม่พอ ไม่ว่าจะวัดด้วยประสบการณ์ตรงจากประชาชนผู้ใช้พื้นที่จริง หรือจะเปรียบเทียบกับหลักสากล วลีข้างต้นก็ยังคงเป็นข้อเท็จจริง ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเริ่มมีการพูดถึงการพัฒนาพื้นที่สาธารณะกันเป็นวงกว้างมากขึ้น หนึ่งในผู้ที่ปลุกปั้นและขับเคลื่อนประเด็นนี้อย่างต่อเนื่องคือบริษัท ฉมา จำกัด ที่มี ยศ-ยศพล บุญสม เป็นหนึ่งในหัวเรือใหญ่ ฉมาเองทำงานสองขา ขาหนึ่งเป็นบริษัทภูมิสถาปนิกรับออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีให้อาคารและโครงการต่าง ๆ อีกขาหนึ่ง ฉมาโซเอ็น บริษัทที่ใช้องค์ความรู้ด้านภูมิสถาปัตยกรรมเช่นกัน แต่มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาพื้นที่สาธารณะโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมที่ใส่มิติด้านสังคมเข้าไปในตัวงานเสมอ ล่าสุด ยศ ได้ริเริ่ม We!Park โครงการทดลองเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับเมือง โดยต่อยอดจากองค์ความรู้และเครือข่ายที่ยศและทีมสะสมมาตลอดชีวิตการทำงาน We!Park มีรากฐานว่าจะสร้างพื้นที่สาธารณะจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่หลากหลาย วางตัวเองเป็นน้ำมันหล่อลื่นที่จะทำให้ทั้งรัฐ เอกชน คนในพื้นที่ รวมถึงคนทั่วๆ ไปที่มีทรัพยากรหลากหลายรูปแบบในมือมาเจอกัน และกระตุ้นให้ได้พื้นที่สาธารณะหนึ่งๆ เกิดขึ้นจริง โอกาสนี้ ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) และ The Urbanis จึงชวนยศมาพูดคุยว่า We!Park ใช้เครื่องมือแบบใดในการสรรสร้างพื้นที่สาธารณะ องค์ความรู้แบบไหนที่นำมาปรับใช้ และบทเรียนแบบไหนที่ยศได้จากงานครั้งนี้ We!Park มีจุดเด่นอย่างไร […]

1 2 3 4 5 6