We!Park แพลตฟอร์มสร้างพื้นที่สาธารณะที่กระตุ้นให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม

08/10/2021

สัมภาษณ์โดย อดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ รองผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) พื้นที่สาธารณะในประเทศไทย มีไม่พอ และ ที่พอมีก็ดีไม่พอ ไม่ว่าจะวัดด้วยประสบการณ์ตรงจากประชาชนผู้ใช้พื้นที่จริง หรือจะเปรียบเทียบกับหลักสากล วลีข้างต้นก็ยังคงเป็นข้อเท็จจริง ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเริ่มมีการพูดถึงการพัฒนาพื้นที่สาธารณะกันเป็นวงกว้างมากขึ้น หนึ่งในผู้ที่ปลุกปั้นและขับเคลื่อนประเด็นนี้อย่างต่อเนื่องคือบริษัท ฉมา จำกัด ที่มี ยศ-ยศพล บุญสม เป็นหนึ่งในหัวเรือใหญ่ ฉมาเองทำงานสองขา ขาหนึ่งเป็นบริษัทภูมิสถาปนิกรับออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีให้อาคารและโครงการต่าง ๆ อีกขาหนึ่ง ฉมาโซเอ็น บริษัทที่ใช้องค์ความรู้ด้านภูมิสถาปัตยกรรมเช่นกัน แต่มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาพื้นที่สาธารณะโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมที่ใส่มิติด้านสังคมเข้าไปในตัวงานเสมอ ล่าสุด ยศ ได้ริเริ่ม We!Park โครงการทดลองเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับเมือง โดยต่อยอดจากองค์ความรู้และเครือข่ายที่ยศและทีมสะสมมาตลอดชีวิตการทำงาน We!Park มีรากฐานว่าจะสร้างพื้นที่สาธารณะจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่หลากหลาย วางตัวเองเป็นน้ำมันหล่อลื่นที่จะทำให้ทั้งรัฐ เอกชน คนในพื้นที่ รวมถึงคนทั่วๆ ไปที่มีทรัพยากรหลากหลายรูปแบบในมือมาเจอกัน และกระตุ้นให้ได้พื้นที่สาธารณะหนึ่งๆ เกิดขึ้นจริง โอกาสนี้ ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) และ The Urbanis จึงชวนยศมาพูดคุยว่า We!Park ใช้เครื่องมือแบบใดในการสรรสร้างพื้นที่สาธารณะ องค์ความรู้แบบไหนที่นำมาปรับใช้ และบทเรียนแบบไหนที่ยศได้จากงานครั้งนี้ We!Park มีจุดเด่นอย่างไร […]

ศาสตร์และศิลป์ในการสร้างเเมพวิชวลเมือง กับ อดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้

13/09/2021

เรียบเรียงโดย ณิชากร เรียงรุ่งโรจน์ ต้องเกริ่นก่อนว่าบทความในครั้งนี้เกิดจากผู้เขียนได้มีโอกาสได้เข้าไปเรียนในคลาส 154479 : การออกแบบแผนที่ ของนักศึกษาภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งให้เกียรติเชิญ คุณอดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ รองผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ฝ่าย Urban Intelligence และศิษย์เก่าภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นวิทยากร แล้วเกิดไอเดียอยากส่งต่อและถ่ายทอดความรู้ด้านการออกแบบและไอเดียการสรรค์สร้างแมพวิชวลของเมือง เป็นบทความชิ้นนี้ แมพวิชวลในงานเมือง ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าแผนที่นั้นมีประโยชน์และถูกนำไปใช้งานได้มากมายหลายศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นในด้านการทหารที่ต้องอาศัยแผนที่ในการดูจุดยุทธศาสตร์และวางแผนการรบ ด้านการท่องเที่ยว ที่ต้องการอาศัยแผนที่ในการดูเส้นทางหรือตำแหน่งของสถานที่ท่องเที่ยว ด้านภูมิศาสตร์และสิ่งแวดล้อมที่อาศัยแผนที่ในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงหรือปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่างๆ เรียกได้ว่าทุกศาสตร์ทุกแขนงต้องอาศัยแผนที่เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่จะช่วยเก็บบันทึก ศึกษาและสื่อสารข้อมูล ในด้านการออกแบบและพัฒนาเมืองเองแผนที่ก็เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่สำคัญที่มักจะถูกหยิบมาใช้งาน โดยแผนที่มักจะถูกนำมาใช้ในการแสดงผลของข้อมูลที่ได้มีการเก็บ รวบรวม วิเคราะห์ นำมาถ่ายทอด หรือ Visualize ให้ข้อมูลเหล่านั้นกลายเป็นเเผนที่เพื่อทำให้ง่ายต่อการเข้าใจเนื้อหาที่ต้องการจะสื่อไปยังบุคคนทั่วไปที่อาจไม่ได้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านนี้ นอกจากนี้การนำข้อมูลมาแปลงเป็นแผนที่ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ต่อได้  เช่น การนำแผนที่ข้อมูลแต่ละแบบมาทับซ้อนกัน ซึ่งทำให้สามารถเห็นภาพข้อมูลใหม่ๆที่ยังไม่เคยเห็นมาก่อนได้ ตัวอย่างเช่น แผนที่อุปสงค์ VS อุปทาน เมืองแห่งการเรียนรู้ของกรุงเทพมหานคร ที่มีการนำข้อมูล สาธารณูปการในระบบการศึกษา สาธารณูปการสนับสนุนการเรียนรู้ และสาธารณูปการศักยภาพเพื่อการเรียนรู้ มาทับซ้อนกันเพื่อหาพื้นที่ศักยภาพในการเรียนรู้มากที่สุด รวมถึงสามารถนำไปทับซ้อนกับข้อมูลช่วงวัยของประชากร […]

ฟื้นฟูย่านเมืองเก่าไชน่าทาวน์ให้ตอบโจทย์คนหลายรุ่นโดย จุฤทธิ์ กังวานภูมิ จากกลุ่มปั้นเมือง

25/08/2021

สัมภาษณ์โดย อดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ เรียบเรียงโดย สรวิชญ์ อังศุธาร, ภาณุพันธ์ วีรวภูษิต หากพูดถึงย่านในกรุงเทพมหานครที่แสนเก่าแก่แต่เก๋าพอให้คนรุ่นใหม่นึกถึง เชื่อได้ว่าหนึ่งในคำตอบต้องมีย่านตลาดน้อย-ไชน่าทาวน์อยู่ในนั้น เพราะย่านนี้มีเอกลักษณ์ชัดเจน ผู้คนส่วนใหญ่มีเชื้อสายจีน ชุมชนและตึกรามบ้านช่องที่ยังคงกลิ่นอายดั้งเดิมไว้มาก ขณะเดียวกันมีองค์ประกอบของศิลปะ งานสื่อสารสมัยใหม่ และพื้นที่การเรียนรู้แทรกอยู่เป็นจังหวะ  โจ-จุฤทธิ์ กังวานภูมิ ผู้ที่มีสวมหมวกหลายใบ เป็นทั้งคนในพื้นที่ เป็นนักวิชาชีพด้านสถาปนิกชุมชน และ เป็นประธานชุมชน คือหนึ่งในคนสำคัญที่ช่วยกระตุ้นให้ย่านนี้มีพลวัตที่น่าสนใจตลอดทศวรรษที่ผ่านมา โจขับเคลื่อนบ้านเกิดผ่านกลุ่มฟื้นฟูเมืองที่ชื่อ ปั้นเมือง แม้พื้นที่ทำงานหลักของปั้นเมืองจะอยู่ในโซนตลาดน้อย แต่เป้าหมายของทีมปั้นเมืองมองครอบคลุมทั้งย่านไชน่าทาวน์ การทำงานฟื้นฟูเมืองในย่านชุมชนเก่าที่ค่อนข้างแข็งตัวมีโจทย์เฉพาะแบบไหน ทีมปั้นเมืองเข้าหาชุมชนด้วยวิธีการใด ก้าวต่อไปของพื้นที่นี้ขึ้นอยู่กับอะไรบ้าง ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) และ The Urbanis พูดคุยกับโจเพื่อหาคำตอบ ย้อนกลับไปที่จุดเริ่มต้น ปั้นเมือง มีที่มาที่ไปอย่างไร            พวกเราเป็นกลุ่มสถาปนิกและนักสังคมศาสตร์ที่มีความสนใจและเป้าหมายคล้ายๆ กัน โดยเฉพาะในเรื่องการฟื้นฟูเมือง ก่อนหน้านี้พวกเราเคยทำงานด้วยกันมาประมาณสัก 9-10 ปีแล้วจึงตัดสินใจตั้งเป็นกลุ่มปั้นเมืองได้ 6-7 ปี  เราเริ่มต้นจากการทำโปรเจกต์ย่านไชน่าทาวน์ แม้ตอนแรกจะไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจนในแต่ละด้าน นอกจากความเชื่อที่ว่า ถ้าย่านนี้จะต้องฟื้นฟู ก็ควรจะมาจากการมีส่วนร่วมของชุมชน เพราะเราเริ่มเห็นประเด็นปัญหาเรื่องของเมืองที่กำลังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง คนที่เติบโตมาในเมืองรุ่นหลังย้ายออกจากเมืองไปอยู่ตามย่านชานเมืองมากขึ้น […]

ก้าวข้ามวังวนและมายาคติ การขับเคลื่อนเมืองด้วยข้อมูล

19/08/2021

เรียบเรียงโดย คุณอดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ รองผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ฝ่าย Urban Intelligence จากการนำเสนอสาธารณะ ฟื้นเมืองบนฐานความรู้ (Knowledge-based City Remaking) ภายใต้โครงการเมืองกับบทบาทและศักยภาพในการขับเคลื่อนนโยบายเมืองแห่งการเรียนรู้ จากข้อสังเกต ประสบการณ์การทำงานโครงการขับเคลื่อนเมืองด้วยฐานความรู้และประสบการณ์การทำงานเรื่องของการพัฒนาพื้นที่โดยใช้ข้อมูลและความรู้เป็นฐานผ่านโครงการเชิงพื้นที่และเชิงประเด็นของศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง เน้นย้ำให้เห็นว่า แต่ละเมืองมีเอกลักษณ์ความเฉพาะตัว ที่มีความผันผวน ไม่แน่นอน ซับซ้อนและคลุมเครือ (VUCA: volatility, uncertainty, complexity, ambiguity) ซึ่งทำให้การพัฒนาเมืองหรือการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงเมืองแต่ทางกายภาพเป็นไปไม่ได้ ที่จะปราสจากมิติทางด้านสังคม วัฒนธรรม หรือเศรษฐกิจ ยิ่งบริบทของความเป็นเมืองในปัจจุบันที่เป็นสังคมของการเรียนรู้หรือการพัฒนาบนฐานความรู้ก็ยิ่งเป็นไปได้ยากหากมองเพียงมิติกายภาพเพียงอย่างเดียว ความท้าทายในการบริหารจัดการเมืองสมัยใหม่นั้น เป็นเรื่องของกระบวนทัศน์ในการบริหารจัดการเมืองที่เปลี่ยนไป จากรูปแบบของการสั่งการและการตัดสินใจจากผู้มีอำนาจ (hierarchic government-based modes of urban decision-making with command logic) แต่ฝ่ายเดียวนั้น ไม่สามารถใช้การได้ในสภาพสังคมและเมืองที่มีลักษณะข้างต้น แนวคิดการบริหารจัดการเมืองสมัยใหม่จึงให้ความสำคัญกับการจัดการความสัมพันธ์ของเครือข่ายผ่านกระบวนการเจรจาต่อรอง (hierarchic governance network-based modes with negotiation logic) อีกประเด็นสำคัญของเมืองในฐานะที่เป็นพื้นที่ที่มีส่วนเกินทางเศรษฐกิจ (economic […]

10 data insight เชียงใหม่ เมืองขับได้ขี่ดี vs เมืองเดินได้เดินดี

03/05/2021

วิเคราะห์ข้อมูลโดย อดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ รองผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ช่วงเข้าใกล้หน้าหนาวทีไร เชียงใหม่คงเป็นตัวเลือกแรกของใครหลายๆ คน แต่นอกจากความสวยงามของวัฒนธรรมและธรรมชาติที่เผยโฉมให้นักท่องเที่ยวได้เห็นแล้ว เมืองเชียงใหม่ยังมีประเด็นหลากหลาย โดยเฉพาะเกี่ยวกับเมืองที่ถูกซุกซ่อนอยู่ The Urbanis ชวนอ่านเมืองผ่านข้อมูล Data Insight “10 ข้อเท็จจริงของเชียงใหม่: จากเมืองขับได้ขับดี สู่เมืองเดินได้เดินดี” ที่ผ่านการวิเคราะห์ โดยคุณอดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ รองผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง ฝ่าย Urban Intelligence เพื่อทำความเข้าใจเมืองเชียงใหม่ในอีกรูปแบบหนึ่ง มาชวนทุกคนได้อ่านเมืองเชียงใหม่ไปพร้อมๆ กัน ข้อมูลนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาย่านเดินได้เดินดี เพื่อยกระดับสุขภาวะคนเมือง นำร่องในพื้นที่เขตเทศบาลนครเชียงใหม่ ดำเนินการโดยศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านยุทธศาสตร์เมือง (CE.US) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับเทศบาลนครเชียงใหม่ หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ ใจบ้านสตูดิโอ บริษัท ระฟ้า จำกัด กลุ่มเขียวสวยหอม เครือข่ายชุมชนเมืองรักษ์เชียงใหม่ กรรมาธิการสถาปนิกผังเมืองล้านนา สมาคมสถาปนิกผังเมืองไทย (TUDA) และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมการส่องสว่าง (LRIC) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ […]

กรุงเทพฯ สู่การเป็นมหานครแห่งการเรียนรู้

09/04/2021

เมื่อโลกก้าวสู่ยุคดิจิตอล ทุกสิ่งทุกอย่างต่างหมุนเร็วขึ้นในทุกมิติ ความรู้เดิมที่เคยมี ไม่สามารถนำเราก้าวไปข้างหน้าได้อีกต่อไป การเรียนรู้ตลอดชีวิตจึงไม่ได้ถูกจำกัดเพียงเเค่ในระบบการศึกษา แต่ยังมีความสำคัญมากขึ้นต่อโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นเพื่อสร้างโอกาสในการเกิดการเรียนรู้ในทุกรูปแบบที่ไม่จำกัดเพียงการเรียนรู้ตามหลักสูตรของโรงเรียน มหาวิทยาลัย เเต่ยังรวมไปถึงการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์จากชุมชน ที่ทำงาน พื้นที่สาธารณะ และการศึกษาผ่านรูปแบบแพลทฟอร์มออนไลน์  จึงเกิดเป็นเเนวคิด “เมืองเเห่งการเรียนรู้” (Learning City) ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงการเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต สอดคล้องกับเเนวทาง (UNESCO Institute for Lifelong Learning- UIL) ที่จัดตั้งเครือข่ายระดับโลกด้านเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโก (The UNESCO Global Network of Learning Cities – GNLC) เพื่อเน้นย้ำถึงความสำคัญของการเรียนรู้ตลอดชีวิต อันเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม สังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ ตอบโจทย์การพัฒนาอย่างยั่งยืนตามกรอบ SDGs เพราะการเรียนรู้ > การศึกษา  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ฉายภาพเปรียบความแตกต่างระหว่าง การศึกษา (Education) กับ “การเรียนรู้” (Learning) […]

ฤา จะเป็นความปกติที่ไม่ปกติ

05/11/2020

หมายเหตุ บทความเผยแพร่ครั้งแรกเมื่อปีค.ศ. 2018 [ว่าด้วยเรื่องความปกติของถนนและทางเท้า] เมื่อต้นปีมีข่าวว่าทางราชการท้องถิ่นได้มอบเกียรติบัตรให้เก็บเด็กหญิงผู้มีมารยาทงามในการถอนสายบัวขอบคุณรถยนต์ที่หยุดให้เด็กหญิงคนนั้นเดินข้ามถนน มันเป็นข่าวที่น่าขบขันและเป็นตลกร้ายที่เราต้องหันกลับมาดูว่านี่ “มันคือสิ่งปกติที่มันไม่น่าจะปกติ” ความปกติของการใช้ถนนและทางเท้า เว็บไซต์ www.j-campus.com ได้ยกตัวอย่างข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายจราจรในประเทศญี่ปุ่นอันเข้มงวด ดังนี้ ไม่หยุดรถตามป้ายสัญญาณ มีโทษหักคะแนน 2 แต้ม เสียค่าปรับ 5,000-9,000 เยนตามขนาดของรถ ตั้งแต่จักรยานยนต์ไปจนถึงรถบรรทุก กฎหมายของญี่ปุ่นจะดูแลคนเดินเท้าเป็นพิเศษ โดยมีกฎหมายที่เอาผิดผู้ขับที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ เช่น ขัดขวางการข้ามถนนของคนเดินเท้า ขัดขวางการสัญจรของเด็กเล็ก ไม่รักษาขัดขวางการข้ามถนนของคนเดินเท้า ไม่รักษาระยะห่างจากคนเดินเท้าในระยะที่ปลอดภัย จริงๆ แล้วคนเดินเท้าและจักรยานจะเป็นกลุ่มเดียวกันกับคนใช้ระบบขนส่งสาธารณะ เพียงแต่แยกเรื่องความปลอดภัยออกมาในแง่ของการเดินตามถนนและเดินข้ามถนน ซึ่งที่ญี่ปุ่น (รวมถึงประเทศที่พัฒนาแล้วทุกที่) คนกลุ่มนี้จะมีศักย์ใหญ่กว่าคนใช้รถ หมายความว่ารถต้องหยุดและให้ทางกับคนเดินเท้าเพื่อข้ามถนน ด้วยความที่มีศักย์และสิทธิมากกว่าผู้ใช้รถยนต์ รวมถึงการจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมสำหรับคนทุกกลุ่มทุกวัย ทำให้คนเดินเท้าและจักรยานมีความปลอดภัยมากในประเทศญี่ปุ่น     จริงๆ แล้วในชีวิตประจำวันของเราต้องมีซักช่วงหนึ่งของวันที่เราเป็นคนเดินเท้า แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นอุปสรรคและทำให้บ้านเราแก้ปัญหานี้ได้ยาก คือ คนที่ได้ประโยชน์กับคนที่เสียประโยชน์เป็นคนเดียวกัน เราบ่นว่าเค้าขายของขวางทาง แต่เราก็ยังมีความต้องการที่ซื้อของจากร้านค้าหาบเร่แผงลอยเหล่านี้ ความย้อนแย้งและวาทะกรรมของทางเท้าและหาบเร่แผงลอยยังไม่หมดเท่านั้น จากการวิจัยและผลการสำรวจของ UddC พบว่า หาบเร่แผงลอยเปรียบเสมือนเหรียญสองด้านที่ต่างมุมมองก็ต่างแง่คิด เพราะมันเป็นทั้งสิ่งที่ดึงดูดให้คนเดินเท้า คือเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้การเดินเท้าในเมืองเป็นไปได้ง่ายขึ้นเมื่อสองข้างทางมีร้านค้าหาบเร่แผงลอยให้แวะชม แวะซื้อ แต่อย่างไรก็ตามต้องอยู่ในระยะและจำนวนที่เหมาะสม ไม่เช่นนั้นมันก็จะกลายเป็นสิ่งที่บั่นทอนและลดทอน […]

From the Financial Bazooka to the City Planning Bazooka: Proposal to Restore a Sustainable Economic Foundation

16/09/2020

Asst. Prof. Dr. Niramon Serisakul, Adisak Guntamuanglee, Parisa Musigakama, Preechaya Nawarat, Thanaporn Ovatvoravarunyou 3 dimensions of the urban response to COVID-19 This article is a proposal for urban design and management, produced by the Urban Design and Development Center (UddC) to emphasize that, for Bangkok, the present time is an ​​opportunity to advance equality and […]

IMMUNITISED, HIGH TOUCH, HIGH TRUST: Revive the Thai tourism sustainably by cultivating spatial immunity: Extra service level and build long-term trust

16/09/2020

Asst. Prof. Komkrit Thanapat, Asst. Prof. Dr. Niramon Serisakul, Adisak Kantamuangli, Manchu chada Dechaniwong, Preechaya Nawarat, Thanaporn Owat Worawaranyu The global economy, tourism and Covid-19 Over the past decades the global tourist sector had been steadily growing. As a result, tourism was one of the fastest growing and largest sectors of the world economy. Tourism […]

เมืองคนแช่แอร์

01/09/2020

ตลอดเดือนที่ผ่านมา แทบทุกครั้งที่เราเจอคนอื่น คำว่าร้อนมักขึ้นมาเป็นส่วนหนึ่งของบทสนทนาอยู่เสมอๆ ทั้งที่ประเทศไทยมีภูมิอากาศร้อนชื้นเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว แต่อุณหภูมิเฉลี่ยก็ยังคงสูงขึ้นเรื่อยๆ ด้วยภาวะโลกร้อนที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น นอกไปจากนี้ปีนี้เป็นปีที่มหาสมุทรแปซิฟิกมีภาวะเอลนีโญ่ ซึ่งทำให้ประเทศไทยรวมถึงประเทศต่างๆ ทางฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแห้งและร้อนกว่าปกติ หลายต่อหลายหนความร้อนในประเทศไทยมีพลังสูงส่งทำให้ความคิดอยากเดิน อยากวิ่ง หรืออยากปั่นจักรยานต้องยอมแพ้ไปโดยปริยาย บางครั้งเมื่อเราอยากจะอาบน้ำก็ยังต้องรอให้น้ำที่ตากแดดอยู่ในแทงค์น้ำบนหลังคาบ้านหายร้อนก่อนจึงอาบได้ มิหนำซ้ำพออาบน้ำเสร็จแล้วก็กลับมาเหงื่อชุ่มอีกเหมือนเดิม โฆษณาการท่องเที่ยวต่างๆ ก็มักจะไม่พ้นคำโปรยว่า “หนีร้อน” เพื่อที่จะชักจูงคนไทยไปเที่ยวต่างประเทศที่มีอากาศเย็นกว่าบ้านเราและแม้คำว่า ”แช่แอร์” จะฝืนธรรมชาติแค่ไหนมันก็เริ่มกลายเป็นความจำเป็นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในวิถีชีวิตคนไทย จะว่าไปฤดูกาลที่แพงที่สุดก็คงหนีไม่พ้นฤดูร้อน ไหนจะค่าหนีร้อนไปเที่ยวทะเลหรือเที่ยวต่างประเทศ ค่าเดินทางที่เพิ่มขึ้นจากการใช้รถยนต์ส่วนตัวหรือแท็กซี่สำหรับคนที่ปกติไม่ได้ใช้หรือค่าน้ำจากสงกรานต์และการอาบน้ำที่ถี่ขึ้น แต่ค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดที่สุดในช่วงฤดูร้อนก็คงหนีไม่พ้นค่าไฟฟ้าจากการใช้เครื่องทำความเย็นทั้งหลาย เมื่อ 20-30 ปีที่แล้ว การติดเครื่องปรับอากาศหรือที่เรามักเรียกกันว่าแอร์ในบ้านเป็นเรื่องที่หาได้ยาก ส่วนมากถ้าจะติดแอร์ก็มักจะติดอยู่ในห้องนอนสำหรับตอนนอนเท่านั้น แต่ด้วยความร้อนในปัจจุบันแอร์จึงกลายเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่แพร่หลายมากขึ้นเรื่อยๆ และบ้านคนชนชั้นกลางในเมืองต่างๆ จึงมักจะมีแอร์ในอยู่ทุกๆ ห้อง แม้การมีแอร์จะเป็นความจำเป็นที่สูงขึ้นแต่แอร์หนึ่งตัวอาจใช้ไฟฟ้าเป็นสิบเท่าสูงกว่าพัดลมเลยทีเดียว นั่นหมายความว่าราคาของค่าไฟฟ้าก็จะพุ่งสูงขึ้นหากเราเปิดแอร์บ่อยขึ้นและที่สำคัญที่สุดประเทศเราในภาพรวมก็ใช้ไฟฟ้าสูงขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน ประเด็นสำคัญของการใช้ไฟฟ้าสูงขึ้นคือเรื่องของกำลังและวิธีการผลิต ปัจจุบันโรงไฟฟ้าในประเทศไทยยังคงพึ่งการเผาไหม้ถ่านหินและก๊าซธรรมชาติมากกว่าการใช้พลังงานหมุนเวียนทางธรรมชาติ ดังนั้นนอกจากที่การเปิดแอร์จะสร้างความร้อนสู่พื้นที่ภายนอกผ่านการระบายความร้อนของเครื่องคอนเดนเซอร์แล้ว การที่เราใช้ไฟฟ้ามากขึ้นต่อครัวเรือนจริงๆ แล้วก็ยังคงมีความสัมพันธ์โดยตรงกับการส่งเสริมภาวะโลกร้อนอยู่ในมุมมองนี้ เมื่อร้อนมากขึ้นเราจึงเปิดแอร์มากขึ้นซึ่งแอร์ก็ทำให้อากาศรอบข้างร้อนขึ้นและไฟฟ้าทีต้องผลิตมากขึ้นก็ทำให้อุณหภูมิโลกสูงและทำให้ร้อนมากขึ้น กลายเป็นว่าเรากำลังสร้างวงจรที่วนลงสู่ความร้อนมากขึ้นเรื่อยๆ การปรับคงมีทั้งในภาพใหญ่คือการเปลี่ยนวิธีการผลิตไฟฟ้ามาเป็นพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังแสงอาทิตย์ พลังลม พลังน้ำ ฯลฯ แต่กับตัวเราเองเราสามารถทำอะไรได้บ้าง มันคงจะฝืนใจเกินไปถ้าจะบอกให้ทุกคนเลิกใช้แอร์ท่ามกลางอากาศที่ร้อนขนาดนี้ เพราะก็ต้องยอมรับว่าฉันก็นั่งเขียนบทความนี้ในห้องติดแอร์เช่นกัน

1 2 3 4 5 6 7