Public Realm



7 เครื่องมือสำรวจเพื่อนผู้อยู่ในเมือง

23/01/2020

“ก่อนจะเข้าใจเมือง เข้าใจมนุษย์ด้วยกันก่อน” คำกล่าวนี้คงไม่เกินจริงไปนักสำหรับมุมมองคนเมืองและพลเมือง ปัจจุบันนี้ มีการศึกษาเมืองเกิดขึ้นมากมาย เพราะเราอยากทำความเข้าใจเมืองให้ลึกซึ้ง แต่ต้องไม่ลืมว่า เมืองกับมนุษย์นั้นใกล้ชิดแนบแน่น ดังนั้น การศึกษาเมือง โดยเนื้อแท้ก็คือการศึกษามนุษย์นั่นเอง ในการร่วม ‘เตียว ส่อง เวียง เจียงใหม่’ กับ ธีรมล บัวงาม จากสำนักสื่อประชาธรรม ซึ่งเป็นนักการสื่อสารที่สนใจเมืองผ่านมิติและรูปแบบการสื่อสาร จึงพาผู้ร่วมเดินทางเข้าสู่ ‘มนุษย์’ ในการร่วม ‘ส่องเวียง’  การจะเข้าใจเมืองทางกายภาพได้ต้องเข้าใจความสัมพันธ์ของผู้คน ความคิด ความเชื่อ โดยมีผู้คนเป็นโจทย์ใหญ่และเป็นสิ่งสำคัญในการทำความเข้าใจความหลากหลายของเมืองของผู้คน   เครื่องมือทั้ง 7 ชนิดในการเก็บข้อมูลเมืองที่ธีรมลได้บอกเล่าไว้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจคนที่อยู่ในเมืองมากขึ้นนั้น มีดังนี้  1. Social Mapping ทำความเข้าใจพื้นที่มากขึ้นทางภูมิสังคม ศึกษาถึงความแตกต่างของแต่ละพื้นที่ ทั้งทางด้านภูมิศาสตร์ สิ่งแวดล้อม ชีวภาพ วีถีชีวิต ประเพณี ขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรม 2. ศึกษาพงศาวดารหรือกลุ่มทุนในเมือง ในแต่ละพื้นที่ แต่ละย่าน  3. การจัดองค์กรของกลุ่มคนต่างๆ ในพื้นที่ การทำงานร่วมกันเพื่อศึกษาโครงสร้าง การลำดับความสำคัญ เพื่อให้เข้าใจผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ […]

อนาคตของงานบริการกับชีวิตคนเมือง 4.0

21/01/2020

“ย้ายเข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ” เป็นคำพูดที่เรามักได้ยินมาตั้งแต่เด็ก อาจจะเป็นครอบครัวของเรา เพื่อนบ้าน เพื่อนสมัยเรียน หรือเพื่อนที่ทำงาน ก็คงต้องมีใครสักคนหนึ่งที่เป็นคนที่ “ย้ายเข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ” ก็เพราะว่าเมืองกรุงเทพฯ นั้นเป็นพื้นที่ที่มีงาน พื้นที่เมืองนั้นมีคนทำงานอยู่ตามจุดต่าง ๆ และคนก็ใช้พื้นที่เมืองในการทำงานอยู่ตลอดเวลา หากเรามองจากรูป ๆ หนึ่ง เราจะเห็นได้ว่ามีคนหลากหลายอาชีพ ซ้อนอยู่ตามสถานที่ต่าง ๆ ของเมือง ไม่ว่าจะเป็นคนขับแท็กซี่ หรือคนขับวินมอเตอร์ไซค์ ที่ใช้ถนนเป็นพื้นที่สำหรับการทำงาน พ่อค้าแม่ขาย ที่ขายของอยู่ตามข้างทาง หรือพนักงานบริษัท นักกฎหมาย นักบัญชี นักออกแบบ ที่อาจจะนั่งทำงานอยู่ตามตึก หรือร้านคาเฟ่สวย ๆ สักแห่งในภาพนี้ งานต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้น หรืองานอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่เมือง ส่วนใหญ่มักจะเป็นงานบริการ ซึ่งงานบริการนั้นสามารถแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม คือ งานบริการขั้นพื้นฐาน (Basic Services) เป็นงานบริการที่เกี่ยวกับเรื่องพื้นฐานในชีวิตประจำวัน เช่น คนขับรถ แม่บ้าน หรือคนสวน และงานบริการขั้นส่งเสริม (Advanced Service) เป็นงานที่ต้องใช้ความรู้เฉพาะด้าน หรือใช้ทักษะหรือเครื่องมือพิเศษในการทำงาน […]

การไร้บ้านในเมือง ใกล้-ไกลตัวแค่ไหนในอนาคต

20/01/2020

Editorial team แม้หลายคนอาจรู้สึกว่าเรื่องไร้บ้านเป็นเรื่องไกลตัว แต่แท้จริงแล้วไม่มีเมืองใดที่ปราศจากคนไร้บ้าน  อนรรฆ พิทักษ์ธานิน จากศูนย์แม่โขงศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ได้ศึกษาคนไร้บ้านไว้ในงานวิจัยโครงการชีวิตคนเมือง 4.0: อนาคตคนเมืองในประเทศไทย ทำให้เราเห็นว่าความเป็นเมืองสัมพันธ์อย่างไรกับภาวะไร้บ้าน และภาพคนไร้บ้านในอนาคตจะเป็นไปในทางไหนได้บ้าง เมืองสร้างคนไร้บ้าน? สถิติหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่าภาวะไร้บ้านอาจสัมพันธ์กับการพัฒนาเมือง อย่างเช่น เมืองที่มีระดับการพัฒนาเศรษฐกิจและความเจริญสูงมักพบจำนวนคนไร้บ้านที่สูงตามไปด้วย อย่างเช่นกรุงเทพฯ เชียงใหม่ หาดใหญ่ นครราชสีมา และ ขอนแก่น ยิ่งไปกว่านั้น คนไร้บ้านยังมีอายุขัยเฉลี่ยสั้นกว่าคนอื่นๆ ถึงประมาณ 20 ปี และมีสาเหตุการเสียชีวิตด้วยอาการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจเป็นอันดับหนึ่ง กว่าจะไร้บ้าน แรงขับที่ทำให้คนหนึ่งคนกลายเป็นคนไร้บ้านนั้นมีจากหลายสาเหตุด้วยกัน และการไร้บ้านส่วนใหญ่จะเป็นภาวะช่วงหนึ่งของชีวิต คนไร้บ้านที่พบมากที่สุดคือเพศชายในช่วงแรงงานตอนปลาย โดยที่เริ่มตัดสินใจไร้บ้านในช่วงอายุ 40-45 ปีซึ่งเป็นช่วงวัยแรงงานตอนปลาย ทั้งนี้ สาเหตุที่พบเกี่ยวกับการไร้บ้านมากที่สุดคือปัญหาครอบครัวและตกงาน รองลงมาเป็นเรื่องการขาดที่พึ่งและถูกไล่รื้อที่อยู่อาศัย อย่างไรก็ดี สาเหตุหลักทั้งสองในหลายกรณีมีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน นอกจากนี้ ความรุนแรงในครอบครัว (domestic violence) ยังเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเข้าสู่ภาวะไร้บ้าน การทบทวนวรรณกรรมและแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงทางประชากร เศรษฐกิจสังคม และค่านิยมในอนาคต พบว่าการเข้าสู่ภาวะไร้บ้านในอนาคตส่วนหนึ่งอาจมีความสัมพันธ์กับประเด็นดังต่อไปนี้ ประชากรและครัวเรือน: แนวโน้มการอยู่อาศัยโดยลำพังหรือครัวเรือนที่อยู่คนเดียว (one-person household) […]

เพราะความตายคือส่วนหนึ่งของชีวิต : เมืองกับความตาย

17/01/2020

สายตาความกระวนกระวายของคนรอบตัว บทสนทนาที่ดำเนินไปด้วยคำถามเดิม ๆ ซ้ำ ๆ ระหว่างหมอกับผู้ป่วย เพื่อเช็คความทรงจำและการตอบสนองของคนไข้ การเคานต์ดาวน์รอวันสุดท้าย ความหวังของคนไข้และคนใกล้ตัวที่แปรผันตามอาการและการคาดการณ์ของหมอ สิ่งเหล่านี้ดูเหมือนเป็นบรรยากาศกระอักกระอ่วนใจที่ไม่มีใครอยากประสบ บรรยากาศเหล่านี้ถูกถ่ายทอดออกมาผ่านสารคดี END GAME กำกับโดย Rob Epstein และ Jeffrey Friedman ที่ตามถ่ายชีวิตผู้ป่วยระยะสุดท้ายและคนรอบข้างในประเทศสหรัฐอเมริกา ภาพยนตร์ดำเนินไปอย่างเรียบง่ายผ่านเคสคนไข้ระยะสุดท้ายและการตัดสินใจของตัวเขากับคนรอบตัว แม้เรื่องจะไม่มีอะไรซับซ้อน แต่ก็น่าสนใจมากพอที่จะทำให้เราจินตนาการถึงชีวิตตัวเอง ทั้งในบทบาทของคนรอบข้างที่คอยลุ้น และคนที่อ่อนแรงอยู่บนเตียง ที่สำคัญคือคงไม่มีใครอยากตกอยู่ในสถานการณ์เช่นนั้นไม่ว่าจะในบทบาทใด แต่จะเลี่ยงได้หรือไม่นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ภาพยนตร์เปิดฉากความตายเรื่องนี้ฉายในงาน Futures of Thai Urban Life เป็นส่วนหนึ่งของงานนำเสนอความก้าวหน้างานวิจัยในโครงการ  “คนเมือง 4.0”  อนาคตชีวิตคนเมืองของไทย โดยหัวข้อ ‘การตายและความตายในเมือง’ วิจัยและนำเสนอโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภาวิกา ศรีรีตนบัลล์ ที่กำหนดกรอบศึกษาเรื่องความตายผ่านสองประเด็นหลัก ได้แก่ การมีชีวิตช่วงสุดท้าย (End-Of-Life) และการจัดการร่างหลังเสียชีวิต (Body Disposal) ความตายในอนาคตอาจเป็นแบบใด เมืองและสังคมอาจส่งผลให้รูปแบบการตายเป็นอย่างไรได้บ้าง และความตายควรเป็นเรื่องของใคร งานวันนั้นชวนให้เราขบคิดในประเด็นเหล่านี้ บ้านหลังสุดท้าย Hospice […]

ช็อปปิ้งออนไลน์ : คนยุคใหม่จะซื้อของด้วยวิธีไหน

16/01/2020

เรื่อง: พรสรร วิเชียรประดิษฐ์ นักวิจัยโครงการคนเมือง 4.0: อนาคตชีวิตเมืองในประเทศไทย เรียบเรียง: กัญรัตน์ โภไคยอนันท์ เดี๋ยวนี้ใครๆก็สั่งของออนไลน์กันหมดแล้ว   คำอธิบายพฤติกรรมการซื้อของจากการไปเดินตลาดสด ห้างสรรพสินค้า มาเป็นการกดสั่งผ่านมือถือได้ทุกที่ ทุกเวลา พฤติกรรมการซื้อของออนไลน์ ได้กระจายและเติบโตอย่างต่อเนื่องไปทั่วทุกมุมโลก ไม่เพียงเฉพาะแต่คนที่อยู่อาศัยในเมืองแต่รวมถึง เมืองต่างๆที่เทคโนโลยีและระบบดิจิทัลเข้าไปถึงการเติบโตของร้านสะดวกซื้อและอีคอมเมิร์ซ (E-Commerce)  ประกอบกับพฤติกรรมการใช้ชีวิตของมนุษย์เมือง รูปแบบครอบครัวที่มีลักษณะของครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น ความเป็นปัจเจก การอยู่อาศัยแนวตั้งในพื้นที่ที่จำกัด ความเร่งรีบของการใช้ชีวิตในยุคสุขทันใจ (Instant Gratification) และการเดินทาง ล้วนเป็นองค์ประกอบของแนวโน้มที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อของในเมืองในอนาคตทั้งสิ้น  อาจารย์ ดร. พรสรร วิเชียรประดิษฐ์  นักวิจัยโครงการย่อย หัวข้อการซื้อของในเมืองภายใต้โครงการวิจัยคนเมือง 4.0 : อนาคตชีวิตเมืองในประเทศไทย ได้กวาดสัญญาณปัจจัยที่ส่งผลต่อการซื้อของและอธิบายแนวโน้มการซื้อของออกมาเป็น 4 ฉากทัศน์ และข้อเสนอแนะชวนคิดต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะและทิศทางการซื้อของในอนาคตได้อย่างน่าสนใจผ่านการนำเสนอความก้าวหน้าโครงการไปเมื่อวันจันทร์ที่ 2 ธันวาคม 2562 ณ ห้องสมุดคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาจารย์ ดร. พรสรรและคณะผู้วิจัยได้กวาดสัญญาณในด้านการซื้อของ โดยกำหนดขอบเขตที่สินค้าจำเป็นในชีวิตประจำวัน ซึ่งไม่รวมถึงสินค้าฟุ่มเฟือย พบว่า  คนเมืองจะยังคงไปเซเว่น  (Where […]

เมือง 4.0 : จะอยู่อย่างไรในแนวตั้ง

10/01/2020

เรื่อง: ภัณฑิรา จูละยานนท์ นักวิจัยโครงการคนเมือง 4.0: อนาคตชีวิตเมืองในประเทศไทย เรียบเรียง: อดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ การกลายเป็นเมืองทำให้ความต้องการที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น กรุงเทพฯ มีแนวโน้มความเป็นเมืองที่สูงขึ้น มีประชากรเมืองเพิ่มมากขึ้น และเป็นเมืองที่มีขนาดความเป็นเมืองมากกว่าขอบเขตการปกครอง  ความเป็นเมืองของกรุงเทพฯ ขยายตัวไปยังพื้นที่จังหวัดปริมณฑลที่อยู่ข้างเคียง อาทิ นนทบุรี สมุทรปราการ ปทุมธานี ซึ่งก็แน่นอนว่า ผู้คนย่อมต้องการที่อยู่อาศัยที่มากขึ้นตามไปด้วย ทีมวิจัยด้านการอยู่อาศัยจากโครงการวิจัย“คนเมือง 4.0: อนาคตชีวิตเมืองในประเทศไทย”ได้ศึกษาข้อมูลทุติยภูมิของปริมาณที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ พบว่า ที่อยู่อาศัยรูปแบบ “คอนโด” มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด คือมีสัดส่วนเกินครึ่งหนึ่งของปริมาณจำนวนยูนิตที่อยู่อาศัยทั้งหมดในเมือง นับตั้งแต่ปี 2013 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ที่น่าสนใจก็คือ การเพิ่มขึ้นของจำนวนที่อยู่อาศัยนี้ สอดคล้องกับช่วงเวลาของการพัฒนาเมืองและโครงสร้างพื้นฐานของเมืองอย่างมีนัยยะสำคัญ  โดยเฉพาะระบบขนส่งสาธารณะในระบบราง   ปรากฏการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของอาคารที่อยู่อาศัย จากแนวราบมาสู่แนวตั้งที่สูงขึ้น ทั้งในการพัฒนาที่อยู่อาศัยของภาคเอกชน ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ และโครงการพัฒนาของรัฐ ตัวอย่างเช่น จากเดิมที่การเคหะเเห่งชาติพัฒนาที่อยู่อาศัยในรูปแบบแฟลต สูงประมาณ 4-5 ชั้น ปัจจุบันเริ่มมีการพัฒนาที่อยู่อาศัยที่มีความสูงเพิ่มมากขึ้น 20- 30 ชั้น อันเป็นไปในในทิศทางเดียวกันกับที่อยู่อาศัยแนวตั้งในเมืองของภาคเอกชน ภาพการอยู่อาศัยในคอนโดอาจเป็นปรากฎการณ์ที่คนเมืองกรุงเทพฯ เห็นชินตาในปัจจุบัน แต่คุณรู้หรือไม่ว่ารูปแบบการอยู่อาศัยในแนวตั้งนี้เกิดขึ้นมาตั้งแต่เมื่อไหร่ […]

นิยายแห่งสองชรานคร : เราควรออกแบบเมืองเพื่อคนแก่ หรือเมืองเพื่อเตรียมคนให้แก่อย่างมีคุณภาพ?

27/12/2019

เมื่อพูดถึง “เมือง” เราอาจจะนึกถึงความพลุกพล่านเร่งรีบของผู้คนหนุ่มสาววัยทำงานตามท้องถนน แต่ตัวละครหนึ่งที่เรามักมองข้ามก็คือ “ผู้สูงวัย” แต่ประเด็นคือ ปัจจุบันโครงสร้างจำนวนประชากรที่สูงวัย มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ สถิติจาก United Nations Department of Economic and Social Affairs (UNDESA) คาดการณ์ว่าในปี 2030 จำนวนประชากรผู้สูงอายุทั่วโลกจะมีราว 1,402 ล้านคน และในปี 2050 จะเพิ่มเป็น 2,092 ล้านคน โดยประเทศที่มีประชากรผู้สูงอายุมากที่สุดในโลกคือ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และ ไทย   ดังนั้น จึงพูดได้ว่า สังคมไทยกำลังก้าวสู่การเป็นสังคมสูงวัยระดับสุดยอด (Super Aged Society) อย่างสมบูรณ์แบบในอนาคต และคนไทยสูงวัยในอนาคตที่ว่า – ก็คือพวกเราหนุ่มสาววัยทำงานในปัจจุบันนี่เอง แล้วเมืองของเราได้เตรียมพร้อมสำหรับเรื่องนี้ไว้แค่ไหน? ลินดา แกรตตัน ศาสตราจารย์แห่ง London Economic School ผู้เขียนหนังสือ The 100-Year Life […]

มหานครโซล กับการฟื้นฟูเมืองเชิงเส้น

12/12/2019

เมืองโซลที่เรารู้จัก เมืองโซล ประเทศเกาหลี กับภาพจำที่ต่อให้ไม่ได้เป็นแฟนซีรี่ย์เกาหลีหรือเกมโชว์ ก็ต้องเคยเห็นภาพบรรยากาศสีสันของเมืองสมัยใหม่ริมแม่น้ำ พระราชวังเก่าแก่ที่มีทิวเขาเป็นฉากหลัง และพื้นที่ริมน้ำที่ทอดยาวไปตามแนวคลองชองเกชอน ที่เปิดรับทุกเพศ ทุกวัย และทุกกิจกรรมให้มาใช้พื้นที่อย่างอิสระ เมืองที่ถูกสร้างขึ้นโดยภูมิศาสตร์ของพื้นที่นี้ยังคงอัตลักษณ์ ถึงแม้มีการขยายตัวเพื่อรองรับประชากรกว่า 10 ล้านคนและมีเปลี่ยนแปลงอย่างมากในแต่ละยุคสมัย  หากมองจากสัณฐาน ที่ตั้งเมืองโซลถูกล้อมรอบไปด้วยภูเขา พาดกลางด้วยคลองชองเกระบายน้ำในแนวตะวันออก-ตะวันตก และมีศูนย์กลางการปกครองหันหลังอิงภูเขาภายในกำแพงเมืองที่ลากผ่านสันเขาทั้งสี่ด้าน ช่วงยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมที่ประชากรหลั่งไหลเข้าเมือง โซลขยายตัวอย่างมากภายใต้เงื่อนไขพื้นที่ราบที่มีอยู่อย่างจำกัด รัฐบาลได้ออกนโยบายเพิ่มพื้นที่อยู่อาศัยอย่างเร่งรัดทั้งในรูปแบบผังพัฒนาโดยการรื้อร้างสร้างใหม่ รวมถึงการสร้างถนนและทางยกระดับเพื่อบรรเทาสภาพการจราจรที่ติดขัด ผลของการพัฒนาที่มุ่งเน้นการตอบสนองความต้องการและกลไกทางเศรษฐกิจ ทำให้เมืองถูกแบ่งออกเป็นพื้นที่ใจกลางเมืองและชายขอบเนินเขาซึ่งมีความเหลื่อมล้ำสูง และนำมาซึ่งความไม่พอใจและการเรียกร้องของประชาชนให้มีการเปลี่ยนแปลง เมืองโซลที่กำลังฟื้นฟู กว่าสองทศวรรษที่ผ่านมา โซลเป็นเมืองที่มีโครงการฟื้นฟูเมืองอย่างต่อเนื่อง เราจะเห็นโครงการใหม่เกิดขึ้นในทุก 5 ปี ตามวาระสมัยของนายกเทศมนตรีโซล ที่มุ่งเน้นการยกระดับคุณภาพชีวิตและลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกของเมือง โดยเฉพาะการปรับใช้โครงสร้างสาธารณูปโภคเก่าและอาคารสิ่งก่อสร้างเดิม อย่างโครงการฟื้นฟูคลองชองเกชอน (2003-2005) ที่ยกเลิกทางด่วนคร่อมคลองเป็นพื้นที่นันทนาการของเมือง โครงการศูนย์ออกแบบดองเดมุน (2009-2014) พื้นที่แสดงงานออกแบบในสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ โครงการสวนลอยฟ้า Seoullo7017 (2015-2017) แลนด์มาร์คใหม่ของเมือง และล่าสุดโครงการฟื้นฟูย่าน Sewoon Sangga (2015-2018) เชื่อมต่อย่านการผลิตใจกลางเมือง เป็นต้น จึงเห็นได้ว่าในขณะที่โครงการฟื้นฟูเมืองเป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตของคนเมือง มันยังเป็นบันไดสู่ความสำเร็จทางการเมืองของนายกเทศมนตรีในทุกยุคทุกสมัย สิ่งที่โครงการฟื้นฟูเมืองเหล่านี้มีร่วมกัน คือ ตำแหน่งที่ตั้งเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ของเมืองซึ่งเกิดจากความเข้าใจภูมิศาสตร์และระบบวางผังของเมืองที่พัฒนาตามแต่ละยุคสมัย […]

ส้วมสาธารณะ : ความสำเร็จของพื้นที่สาธารณะอย่างหนึ่งในสังคมไทย

09/12/2019

เรื่อง/นำเสนอข้อมูล: ว่าน ฉันทวิลาสวงศ์ ห้องน้ำหรือ ‘ส้วม’ คือสิ่งที่ทุกคนให้ความสำคัญอย่างยิ่ง และเชื่อไหมว่า ‘ส้วม’ คือสิ่งที่บอกเล่าให้เรารู้ได้ด้วย ว่าลักษณะของเมืองหรือสังคมนั้นๆ เป็นอย่างไร หลายเมืองในยุโรป ห้องน้ำสาธารณะเป็นเรื่องหายากและราคาแพง คนในเมืองเหล่านั้นจึงล้วนมีทักษะกักเก็บน้ำไว้ในตัว รอจนเมื่อถึงบ้านจึงใช้ห้องน้ำได้อย่างสบายใจ หากมองในแง่นี้ เราจะพบว่า ประเทศไทยแทบจะเป็นสวรรค์แห่งห้องน้ำสาธารณะเลยก็เป็นได้ เพราะไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน หลายคนก็มั่นใจได้ว่าสามารถหาห้องน้ำได้ แต่คำถามก็คือ หากดูข้อมูลเกี่ยวกับ ‘ส้วม’ ในสังคมไทยจริงๆ สภาพการณ์เรื่องส้วมเป็นอย่างที่ว่ามาหรือเปล่า? จากเว็บไซต์ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าห้องน้ำเป็นประเด็นที่ไม่ถูกกล่าวถึง และแหล่งข้อมูลของกรุงเทพมหานครเองก็ไม่มีข้อมูลเรื่องห้องน้ำสาธารณะเลย  เมื่อใช้วิธีกวาดข้อมูล (data scraning) จากทวิตเตอร์ ในช่วงเวลาหนึ่ง โดยตั้งคำค้นหาว่า “ห้องน้ำ” และ “ส้วม” เพื่อดูว่าคนไทยพูดถึงเรื่องนี้มากน้อยแค่ไหน ผลปรากฎว่าคำว่า “ห้องน้ำ” มีคนพูดถึงเพียง 23 ครั้ง โดยพูดถึงเรื่องที่ดาราเกาหลีสอนให้คนต่างชาติพูดคำว่าห้องน้ำเพื่อเป็นประโยชน์เวลาถามทาง ส่วนคำว่า “ส้วม” คนพูดถึงหลายร้อยครั้ง แต่กลับเป็นประเด็นสืบเนื่องมาจากละครเรื่องหนึ่งที่มีฉากส้วมเข้ามาพอดี  ดังนั้น จึงน่าจะมั่นใจได้ว่า ห้องน้ำหรือส้วมสาธารณะคงไม่ได้เป็นปัญหาสาธารณะสักเท่าไหร่ของสังคมไทย ถึงเป็นปัญหา ก็น่าจะเป็นเพียงปัญหาชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น ข้อมูลจากการนับคำที่เกี่ยวข้องในทวิตเตอร์ที่มีคำว่า ”ส้วม” […]

อะไรคือ ‘พื้นที่สาธารณะ’ กันแน่

06/12/2019

คำว่า “พื้นที่สาธารณะ” คงเป็นคำพื้นฐานมากๆ สำหรับคนเมือง หรือโดยเฉพาะอย่างยิ่งเหล่านักเรียนผังเมือง สถาปนิก หรือนักรัฐศาสตร์ (จริงหรือเปล่านะ)  แต่คำถามก็คือ เอาเข้าจริงแล้ว  เราเข้าใจในความหมายของคำว่าพื้นที่สาธารณะในทิศทางเดียวกันหรือเปล่า หรือเราเข้าใจจริงๆ ไหมว่าแท้จริงแล้วมันคืออะไรกันแน่  คำว่า ‘พื้นที่สาธารณะ’ ที่เราพูดกันเกลื่อนกลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแวดวงเมืองและผังเมืองนั้น แทบดูเหมือนเป็นคำที่เข้าใจได้โดยไม่ต้องอธิบาย แต่มันเป็นอย่างนั้นจริงหรือเปล่า อะไรคือ ‘พื้นที่สาธารณะ’ กันแน่? พื้นที่สาธารณะ เป็นส่วนหนึ่ง ของชีวิตนอกบ้าน หากคุณเป็นมนุษย์เงินเดือนคนหนึ่ง คุณคงตื่นเช้าไปทำงาน และกลับถึงที่พักตอนค่ำๆ แทบไม่เคยได้เข้าไปใช้พื้นที่สวนสาธารณะแบบจริงๆ จังๆ เลยในวันธรรมดา ต้องรอให้ถึงวันหยุดเสาร์ อาทิตย์ ในวันหยุด คุณสามารถตื่นแต่เช้า เพื่อจะได้มีเวลาไปปั่นจักรยาน และเดินเล่นในสวนสาธารณะใหญ่ของเมืองได้ นั่นอาจเป็นภาพฝันของการเข้าไปใช้งานพื้นที่สาธารณะของคนเมืองกรุงเทพฯ ในปัจจุบัน แต่มันเป็นจริงหรือเปล่า ที่ว่าเราไม่ได้ใช้ พื้นที่สาธารณะ เลยตลอดทั้งวัน แต่เข้าไปใช้สวนสาธารณะในวันหยุดเท่านั้น ลองถามตัวเองดูหน่อยว่า นอกจากพื้นที่ในห้องนอน ในบ้านของคุณเองแล้ว เราใช้ชีวิตอยู่ที่ไหนกันบ้าง ?  นั่นคงเป็นคำถามพื้นฐานที่จะทำให้เรารู้ว่า ชีวิตของเราในทุกๆ วันนี้ มีความเกี่ยวข้องกับ “พื้นที่ข้างนอก” มากน้อยแค่ไหน […]

1 12 13 14 15