กรุงเทพฯ เขียวได้ แต่อยากเขียวแค่ไหน

10/03/2020

ความเดิมตอนที่แล้ว เราพูดถึงวิกฤติฝุ่นพิษในกรุงเทพฯ ที่แก้ไขได้ผ่านการออกแบบเมืองให้เดินได้เดินดี มีระบบขนส่งสาธารณะเพื่อลดจำนวนรถยนต์บนถนนให้น้อยลง แต่อีกปัจจัยสำคัญหนึ่งที่จะเชื้อเชิญให้คนออกเดิน นั่นคือการพัฒนาพื้นที่สีเขียวในเมืองให้ร่มรื่น เมืองเขียวได้ด้วยวิสัยทัศน์ของผู้นำ องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) กำหนดขนาดพื้นที่สีเขียวในเมืองขั้นต่ำไว้ที่ 9 ตร.ม./คน นับรวมหมดไม่ว่าจะเป็นสวน เกาะกลางถนน ที่นา หรือไม้กระถางสักต้นที่ผลิตออกซิเจนได้  มาดูตัวอย่างคือปารีส เมืองที่มีตัวเลขพื้นที่สีเขียวอยู่ที่ 13.2 ตร.ม./คน เป็นผลมาจากการพัฒนาเมืองตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 ด้วยการนำของ Georges-Eugène Haussmann นักผังเมืองผู้ให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตของคนในเมือง ตัวชี้วัดหนึ่งคือทำยังไงให้คนเดินมาสวนสาธารณะได้ใน 10 นาที ปารีสถูกพัฒนาให้มีสิ่งอำนวยความสะดวก (Urban Facilities) ครบครันเพื่อดึงให้คนอยู่ในเมืองและออกมาใช้ชีวิตนอกบ้านอย่างสนุกสนาน (Urban Lifestyle) ตั้งแต่แทรกต้นไม้และพื้นที่สีเขียวไปในทุกมุมเมือง ทวงคืนทางเท้าจากถนนและทางด่วน พัฒนาพื้นที่สาธารณะริมแม่น้ำแซนให้ทุกคนในครอบครัวออกมาใช้เวลาวันหยุดร่วมกันได้ (Holiday in the city) ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นเพราะปารีสมีรูปแบบการบริหารเมืองที่กระจายอำนาจตัดสินใจและงบประมาณให้ผู้อำนวยการเขต (Mayor of District) เต็มรูปแบบ สิงคโปร์เป็นอีกกรณีศึกษาที่น่าสนใจ ตัวเลขพื้นที่สีเขียวเฉลี่ยของสิงคโปร์คือ 56 ตร.ม./คน เพราะเขามีพื้นที่สีเขียวกว่า […]

10 ที่สุดข่าวเมืองแห่งปี 2019

31/12/2019

นับถอยหลังสู่ปี 2020 ด้วย 10 ข่าวเกี่ยวกับเมือง ที่ถูกพูดถึงมากที่สุดแห่งปี 2019 รวบรวมโดยศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านยุทธศาสตร์เมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CE.US) เป็น 10 ข่าว ที่ครอบคลุมปัญหาสิ่งแวดล้อมเมือง คุณภาพชีวิต ไปจนถึงเรื่องราวดีๆ ในปีสุดท้ายแห่งทศวรรษนี้ 1.กรุงเทพฯ เมืองจมฝุ่น 3 ฤดู ข่าวเมืองแห่งปีคงหนีไม่พ้น ฝุ่นละออง PM 2.5  ที่เกิดขึ้นเกือบทุกภาคของประเทศ รวมถึงเมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ส่งผลกระทบกับสุขภาพมากที่สุด เป็นสาเหตุของผลกระทบด้านสุขภาพทั้งระยะสั้นและระยะยาว จากข้อมูล State of Global Air ระบุว่า  PM2.5 ก่อให้เกิดการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรของประเทศไทยประมาณ 37,500 ราย โดยเมื่อวันที่ 30 ก.ย.62 ดัชนีคุณภาพอากาศหรือ AQI ที่จากเว็บไซต์ Airvisaul.com ระบุว่า คุณภาพอากาศในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร ค่า AQI อยู่ที่ 175 […]

นิยายแห่งสองชรานคร : เราควรออกแบบเมืองเพื่อคนแก่ หรือเมืองเพื่อเตรียมคนให้แก่อย่างมีคุณภาพ?

27/12/2019

เมื่อพูดถึง “เมือง” เราอาจจะนึกถึงความพลุกพล่านเร่งรีบของผู้คนหนุ่มสาววัยทำงานตามท้องถนน แต่ตัวละครหนึ่งที่เรามักมองข้ามก็คือ “ผู้สูงวัย” แต่ประเด็นคือ ปัจจุบันโครงสร้างจำนวนประชากรที่สูงวัย มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ สถิติจาก United Nations Department of Economic and Social Affairs (UNDESA) คาดการณ์ว่าในปี 2030 จำนวนประชากรผู้สูงอายุทั่วโลกจะมีราว 1,402 ล้านคน และในปี 2050 จะเพิ่มเป็น 2,092 ล้านคน โดยประเทศที่มีประชากรผู้สูงอายุมากที่สุดในโลกคือ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และ ไทย   ดังนั้น จึงพูดได้ว่า สังคมไทยกำลังก้าวสู่การเป็นสังคมสูงวัยระดับสุดยอด (Super Aged Society) อย่างสมบูรณ์แบบในอนาคต และคนไทยสูงวัยในอนาคตที่ว่า – ก็คือพวกเราหนุ่มสาววัยทำงานในปัจจุบันนี่เอง แล้วเมืองของเราได้เตรียมพร้อมสำหรับเรื่องนี้ไว้แค่ไหน? ลินดา แกรตตัน ศาสตราจารย์แห่ง London Economic School ผู้เขียนหนังสือ The 100-Year Life […]

พื้นที่นอกบ้าน กรุงเทพฯ กับ 22% แห่งโอกาส

20/12/2019

อดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ เคยถามตัวเองไหมว่า – ในแต่ละวันๆ ที่เราอยู่ในกรุงเทพฯ นั้น เรา ‘ใช้ชีวิตนอกบ้าน’ กันที่ไหนบ้าง นี่คือคำถามที่เกิดขึ้นในงาน “ปักเปลี่ยนเมือง” หรือ Pin Your Point, Point Your Pain ซึ่งจัดขึ้นโดย ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านยุทธศาสตร์ด้านยุทธศาสตร์เมือง (CE.US) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ มูลนิธิรอกกี้เฟลเลอร์ และแผนงานบูรณาการยุทธศาสตร์เป้าหมายด้านสังคม คนไทย 4.0 คำถามนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสังเกตการณ์และขับเคลื่อนเมือง เป็นคำถามง่ายๆ ว่า “คุณใช้ชีวิตนอกบ้านที่ไหนบ้างในแต่ละวัน” แต่เชื่อไหมว่า ถ้าลองครุ่นคิดพิจารณากันดีๆ คำถามนี้สามารถบอกเราได้ชัดเจนเลยว่า ‘ความเป็นเมือง’ ส่งผลต่อการใช้ชีวิตของเราอย่างไรบ้าง ทำไมเราต้องใช้ชีวิตนอกบ้าน ที่จริงแล้ว เราใช้ชีวิตอยู่ ‘นอกบ้าน’ มากกว่าครึ่งหนึ่ง  และเมื่ออยู่ ‘นอกบ้าน’ ก็แปลว่าเราอยู่ ‘ในเมือง’ ซึ่งเมืองในที่นี้ก็คือกรุงเทพฯ นี่เอง คำถามก็คือ ‘ความเป็นเมืองแบบกรุงเทพฯ’ ส่งผลให้การใช้ชีวิตนอกบ้านของเราเป็นอย่างไรบ้าง คุณอาจจำเป็นต้องใช้ชีวิตนอกบ้านมาก เพราะต้องเดินทางออกไปทำงานในเมือง […]

ตลาด แหล่งอาหารและพื้นที่ชีวิตของเมือง

13/12/2019

ในวัยเด็ก เวลาเล่นกับเพื่อนๆ หลายคนคงเคยเล่นบทบาทสมมติต่างๆ  ที่ฮิตที่สุด คงหนีไม่พ้นการเล่นเป็นคนซื้อ-ขายของในตลาด คนขายต้องเอาของอะไรก็ไม่รู้มาวางเรียงๆ กัน สมมติขึ้นมาว่าคือผักผลไม้หรือเครื่องใช้ประจำวันที่ตัวเองคิดจะขาย คนซื้อก็อาจจะไปหาตะกร้ามาถือ ทำเป็นเดินผ่าน แล้วให้พ่อค้าแม่ค้าตะโกนชักชวนให้ซื้อของ หลังจากนั้นการต่อราคาก็จะเกิดขึ้น การเล่นบทบาทสมมติยังมีเรื่อยมาถึงปัจจุบัน แต่เด็กๆ ในวันนี้เปลี่ยนไป ถ้าสังเกตดู จะเห็นเด็กๆ เล่นเป็นคนขับมอเตอร์ไซค์ส่งอาหารที่สั่งออนไลน์ คนซื้อก็ทำแค่เปิดประตูบ้านมารับของ คนส่งของทำทีเป็นกดมือถือยืนยันการส่ง เรื่องของการซื้อขายฝังอยู่ในการละเล่นของเด็กๆ ก็เพราะ ‘ความเป็นเมือง’ ของเราเริ่มต้นมาแบบนั้น เมืองทั่วโลกมีจุดเริ่มต้นมาจากการเป็นที่กระจุกตัวของพานิชยกรรม ทำให้พื้นที่เหล่านั้นกลายเป็นศูนย์รวมการแลกเปลี่ยนสินค้า และเป็นแหล่งรวมวัตถุดิบและอาหารที่หลากหลายไปในตัว การรวมตัวของคนและชุมชนยังทำให้เกิดย่านและตลาดขนาดย่อมตามมา พลวัตเหล่านี้ทำให้ตลาดและชุมชนในเมืองกลายเป็นพื้นที่ที่คู่กันไปโดยปริยาย โดยที่ตลาดสดไม่ได้มีเพียงบทบาทเป็นแหล่งวัตถุดิบที่สำคัญต่อชีวิตคนเมืองเพียงอย่างเดียว แต่ตลาดสดยังเป็นพื้นที่ที่ทำให้คนเมืองในชุมชนโดยรอบได้มาพบปะและสร้างสัมพันธ์กันระหว่างการจับจ่ายใช้สอย ใน 30 ปีที่ผ่านมา รูปแบบวิถีชีวิต สังคม และเศรษฐกิจของกรุงเทพฯ เปลี่ยนแปลงอย่างมาก วัฒนธรรมตลาดสดที่มีแผงขายผัก ผลไม้ ปลา และเขียงหมู เริ่มมีคู่แข่งเป็นซุปเปอร์มาร์เก็ตที่มีพื้นที่โล่งกว้างภายในอาคาร เปิดไฟสว่างสไว เปิดแอร์เย็นฉ่ำ เต็มไปด้วยชั้นวางสินค้า เหล่าผัก ผลไม้ และอาหารสดก็ถูกจัดวางอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย ตลาดสดที่เราเคยเข้าอยู่เป็นประจำก็เริ่มที่จะถูกแย่งลูกค้าไป มากไปกว่านั้น ภายใน 5 ปีที่ผ่านมา วิถีชีวิตคนเมืองเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น […]

อะไรคือ ‘พื้นที่สาธารณะ’ กันแน่

06/12/2019

คำว่า “พื้นที่สาธารณะ” คงเป็นคำพื้นฐานมากๆ สำหรับคนเมือง หรือโดยเฉพาะอย่างยิ่งเหล่านักเรียนผังเมือง สถาปนิก หรือนักรัฐศาสตร์ (จริงหรือเปล่านะ)  แต่คำถามก็คือ เอาเข้าจริงแล้ว  เราเข้าใจในความหมายของคำว่าพื้นที่สาธารณะในทิศทางเดียวกันหรือเปล่า หรือเราเข้าใจจริงๆ ไหมว่าแท้จริงแล้วมันคืออะไรกันแน่  คำว่า ‘พื้นที่สาธารณะ’ ที่เราพูดกันเกลื่อนกลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแวดวงเมืองและผังเมืองนั้น แทบดูเหมือนเป็นคำที่เข้าใจได้โดยไม่ต้องอธิบาย แต่มันเป็นอย่างนั้นจริงหรือเปล่า อะไรคือ ‘พื้นที่สาธารณะ’ กันแน่? พื้นที่สาธารณะ เป็นส่วนหนึ่ง ของชีวิตนอกบ้าน หากคุณเป็นมนุษย์เงินเดือนคนหนึ่ง คุณคงตื่นเช้าไปทำงาน และกลับถึงที่พักตอนค่ำๆ แทบไม่เคยได้เข้าไปใช้พื้นที่สวนสาธารณะแบบจริงๆ จังๆ เลยในวันธรรมดา ต้องรอให้ถึงวันหยุดเสาร์ อาทิตย์ ในวันหยุด คุณสามารถตื่นแต่เช้า เพื่อจะได้มีเวลาไปปั่นจักรยาน และเดินเล่นในสวนสาธารณะใหญ่ของเมืองได้ นั่นอาจเป็นภาพฝันของการเข้าไปใช้งานพื้นที่สาธารณะของคนเมืองกรุงเทพฯ ในปัจจุบัน แต่มันเป็นจริงหรือเปล่า ที่ว่าเราไม่ได้ใช้ พื้นที่สาธารณะ เลยตลอดทั้งวัน แต่เข้าไปใช้สวนสาธารณะในวันหยุดเท่านั้น ลองถามตัวเองดูหน่อยว่า นอกจากพื้นที่ในห้องนอน ในบ้านของคุณเองแล้ว เราใช้ชีวิตอยู่ที่ไหนกันบ้าง ?  นั่นคงเป็นคำถามพื้นฐานที่จะทำให้เรารู้ว่า ชีวิตของเราในทุกๆ วันนี้ มีความเกี่ยวข้องกับ “พื้นที่ข้างนอก” มากน้อยแค่ไหน […]

เมื่อเมืองรองกำลังเนื้อหอม : โอกาสในการสร้าง ‘เมืองเดินได้เดินดี’ ในเมืองรอง

06/11/2019

“โอ้โฮ นี่หรือบางกอก ผิดกับบ้านนอก ตั้งหลายศอก หลายวา รถราแล่นกันวุ่นวาย มากกว่าฝูงควายฝูงวัวบ้านนา ผู้คนเดินชนหัวไหล่ ไม่รู้ไปไหน เดินไปก็เดินมา…” เคยคิดไหมว่า, ทำไมรถไฟฟ้าถึงมีเฉพาะกรุงเทพมหานครเท่านั้น? ทำไมเเรงงาน พี่น้องชาวอีสาน ชาวปักษ์ใต้ ชาวเหนือ จึงต้องหลั่งไหลเข้ามาทำงานในเมืองกรุง? และทำไมสถานการณ์การพัฒนาเมืองของประเทศไทยตั้งแต่อดีตเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันที่มีลักษณะเป็นแบบ “หัวโตขาลีบ”? คุณรู้ไหมว่า – กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่กว่าเมืองรองๆ ลงไปถึง 40-100 เท่าเลยทีเดียว ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น –  ลองมาหาคำตอบกัน เมื่อการพัฒนาเมืองทำให้ประเทศหัวโตขาลีบ  กระแสเมืองรองในมิติด้านการท่องเที่ยวของ ททท. และวาทะกรรมท้องถิ่นภิวัฒน์ เป็นกระเเสที่ถูกกล่าวถึงมาระยะหนึ่งแล้ว แต่ ‘เมืองรอง’ ในแนวทางของการท่องเที่ยว เป็นคนละแนวทางกับ ‘เมืองรอง’ ในความหมายของการพัฒนาเมือง  เนื่องจากถ้าเทียบกับกรุงเทพฯ ในแง่ของขนาดแล้ว แทบไม่มีเมืองไหนอีกเลยในประเทศไทยที่ไม่ใช่เมืองรอง  ศาสตราจารย์ อัน นิมมานเหมินท์ เคยเขียนบทความหนึ่ง พูดถึงการวางผังเมืองระบบขยายความเจริญของนครหลวง โดยชี้ให้เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากนโยบายส่งเสริมความเจริญเฉพาะเมืองหลวง อันเป็นนโยบายที่ตอกย้ำความเป็นเมืองโตเดี่ยวของกรุงเทพมหานคร (Bangkok The Primate City) ไว้ว่า […]

สุสานคนเป็น : ความเสี่ยงในการเข้าถึงบริการสาธารณสุขของผู้สูงวัยในเมือง

04/11/2019

กรณีศึกษา: คุณยายของฉันอายุเก้าสิบเศษ ท่านเป็นคนร่างเล็กแต่แข็งแรงและร่าเริง คุณยายชอบย้ายไปพักบ้านลูกหลานเพื่อเปลี่ยนบรรยากาศ บ้านของฉันเป็นบ้านหนึ่งที่คุณยายชอบมา วันนั้น ฉันกลับบ้านมาราวๆ หกโมงเย็น กำลังเดินขึ้นไปชั้นบนของบ้าน ทันใดนั้นฉันก็ได้ยินเสียงโครมครามตามด้วยเสียงร้องของคุณยาย เมื่อวิ่งลงมาดูเหตุการณ์ ฉันเห็นคุณยายล้มหงายอยู่บนพื้นคอนกรีตที่จอดรถ ที่หน้าผากมีแผลลึกอาบเลือดที่ไม่มีท่าทีว่าจะหยุด คุณยายเล่าให้ฟังด้วยสีหน้าที่ยังตกใจอยู่ว่าพลาดล้มจากบันไดหน้าบ้าน สิ่งเดียวที่ฉันต้องทำให้เร็วที่สุด คือพาคุณยายไปยังโรงพยาบาล แต่คำถามก็คือ โรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดอยู่ที่ไหน และฉันควรใช้เส้นทางไหน ถึงจะพาคุณยายไปถึงมือหมอให้ได้เร็วที่สุด คำถามเหล่านี้ เกิดขึ้นภายใต้กรอบของเวลาหกโมงเย็น หรือช่วงเวลาที่รถติดที่สุดในกรุงเทพฯ คุณยายในกรณีศึกษาข้างต้น เป็นเพียงหนึ่งในผู้สูงอายุของสังคมกรุงเทพฯ และประเทศไทย ซึ่งเราทราบกันดีว่ากำลังกลายเป็นสังคมที่มีประชากรสูงวัยมากขึ้นเรื่อยๆ แผนที่ด้านล่างแสดงให้เห็นถึงพื้นที่เขตต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร ตามสัดส่วนประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป โดยพื้นที่ที่มีสีแดงเข้มหมายถึงพื้นที่ที่มีสัดส่วนผู้สูงอายุจดทะเบียนอาศัยอยู่มาก และลดน้อยลงเรื่อยๆ ตามความจางของสี แผนที่ดังกล่าวทำให้เราทราบว่าพื้นที่ใจกลางเมือง มีผู้สูงอายุอาศัยอยู่ในสัดส่วนที่มากที่สุดและลดน้อยลงเรื่อยๆ เมื่อห่างออกไปในพื้นที่ชานเมือง จะว่าไป คนแก่กับสถานพยาบาลถือเป็นของคู่กัน เพราะนอกจากสถานการณ์ฉุกเฉินแล้ว ผู้สูงวัยหลายคนยังต้องเข้าสถานพยาบาลเพื่อตรวจร่างกายตามที่หมอนัด บางคนยังมีนัดพิเศษกับหมอเฉพาะทางเพิ่มเติมจากการนัดทั่วไปด้วย บางคนที่มีโรคร้ายแรง และต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิด สถานพยาบาลอาจกลายเป็นบ้านหลังที่สองเลยก็เป็นได้ ดังนั้น เมื่อสังคมกลายเป็น Aging Society ที่มีประชากรสูงวัยเพิ่มขึ้น สถานบริการสาธารณสุขต่างๆ จึงมีบทบาทในเมืองและชุมชนเพิ่มขึ้น ถ้าเราศึกษาพื้นที่ของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เราจะพบว่า […]

กรุงเทพฯ: เมืองใหญ่ ถนนน้อย ทางเท้าด้อยคุณภาพ

01/11/2019

กรุงเทพฯ เมืองโตเดี่ยวตลอดกาลของประเทศไทยและจะยังคงเป็นเฉกเช่นนี้ไปอีกนาน ด้วยขนาดของเมืองในระดับมหานคร (Mega Cities) ที่ผู้คนหลั่งไหลเข้ามาอยู่อาศัยกว่า 10 ล้านคน หรือ 1 ใน 6 ของคนทั้งประเทศ ไม่แปลกที่กรุงเทพฯ จะมีความพลุกพล่านของผู้คนและการสัญจร เคยมีผลการสำรวจคนกรุงเทพฯ เรื่องของการใช้เวลาในการเดินทางพบว่า เราใช้เวลาอยู่ในรถนานกว่า 800 ชั่วโมงต่อปี (1 เดือนต่อปี) หรือคิดเป็นกว่า 1 ปี ในรอบ 12 ปี และนี่คือ ผลของการจราจรที่ติดขัดและเป็นปัญหาเรื้อรังของกรุงเทพฯ มาอย่างยาวนาน ในขณะที่มีการเพิ่มขึ้นของยอดจดทะเบียนรถยนต์ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในปี 2559 เพิ่มขึ้นจากปี 2558 กว่า 350,000 คัน แต่ทว่าในรอบ 10 ปีที่ผ่านมากรุงเทพฯ แทบไม่มีพื้นที่ถนนเพิ่มขึ้นเลย การสร้างเมืองที่เป็นมิตรกับรถยนต์มากกว่าการเดินเท้าทำให้เรามีทางสัญจรน้อยเช่นนี้คงไม่ใช่ทางออกที่ดีของเมืองกรุงเทพฯ แน่ๆ เพราะฉะนั้น “การสร้างเมืองให้เดินได้-เดินดี” คือคำตอบ!!! สัดส่วนพื้นที่ถนน คือ ดัชนีชี้วัดคุณภาพเมือง มาตรฐานเมืองที่ดีซึ่งจะทำให้เกิดการจราจรที่สะดวกและไม่เกิดปัญหารถติด เราเชื่อว่าต้องมีสัดส่วนพื้นที่ถนนต่อพื้นที่เมืองไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20-25 หลายเมืองจึงใช้เกณฑ์มาตรฐานของสัดส่วนพื้นที่ถนนต่อพื้นที่เมืองเป็นตัวชี้วัดคุณภาพเมืองด้านโครงสร้างสัณฐานเมือง เพราะนอกจากถนนจะเป็นพื้นที่สำหรับการสัญจรด้วยรถยนต์แล้ว พื้นที่ถนนในที่นี้ยังหมายรวมถึงพื้นที่ในส่วนเขตทางทั้งหมด อันประกอบไปด้วยพื้นผิวจราจรและพื้นผิวทางเท้า […]

เมืองเคลื่อนที่ได้ หมุดหมายใหม่ของคนเมือง

01/11/2019

เคยมีคนกล่าวไว้ว่าเมืองก็เหมือนกับคน มีร่างกาย มีการเคลื่อนไหว การเคลื่อนไหวของเมืองจึงอาจหมายถึงพลวัติของการเลื่อนไหล และการเคลื่อนที่ของผู็คนและกิจกรรมที่อยู่ในเมือง การเลื่อนไหลของผู้คนและกิจกรรมในเมืองมักเริ่มต้นจากจุดหนึ่งไปสิ้นสุดที่อีกจุดหนึ่งหรือไหลไปเรื่อยๆ อีกหลายต่อหลายจุด และนั่นคือ เรื่องราวของการเคลื่อนที่ของเมือง (Urban Mobility) แต่หลายครั้งที่การเลื่อนไหลเหล่านั้นมักจะสะดุดลงและเกิดปัญหา นั่นเป็นพลวัติหนึ่งที่เกิดขึ้นเป็นปกติของเมืองขนาดใหญ่ทั่วโลก ปัญหาที่ว่านั้นอาจเป็นเรื่องของการจราจรที่คับคั่งและติดขัด ปัญหาฝุ่นควัน เสียงรถยนต์และการบีบแตรล้วนเป็นความปกติของการใช้ชีวิตในเมืองซึ่งในบางเมืองก็อาจเลวร้ายกว่านั้น เมืองต่างๆ เหล่านี้กำลังเผชิญกับความท้าทายใหม่เกี่ยวกับวาทะกรรมของการใช้ชีวิตอยู่ในเมือง ก็คือ “การเคลื่อนที่และเลื่อนไหลอยู่ในเมือง” เพราะคนกรุงเทพ มีกรรมด้านการเดินทาง กรุงเทพฯ เมืองที่มักติดอันดับสถิติที่ว่าด้วยความคับคั่งของการจราจรเมืองหนึ่งของโลก (ซึ่งคนกรุงเทพฯ อาจจะไม่ได้อยากให้เมืองติดอันดับสถิติอะไรพวกนี้) นี่อาจเป็นคำพาดหัวข่าว หรือบทความที่เราพบเห็นจนชินชามาสักระยะแล้ว ควบคู่ไปกับสถิติที่ว่ากรุงเทพเป็นเมือง “น่าเที่ยว” ที่ดีที่สุดของโลก แต่ใครจะรู้ว่าเมืองน่าเที่ยวนี้ อาจจะไม่ใช่เมืองน่าอยู่อย่างที่เราคิด ปัญหาด้านการเดินทางเป็นปัญหาหลักของเมืองอย่างกรุงเทพฯ เลยก็ว่าได้ และยิ่งไปกว่านั้น การที่เราไปติดอันดับเมืองที่รถติดที่สุดในโลกยิ่งซ้ำเติมเราไปอีก หลังจากที่มีการเปิดเผยรายงานการประเมินสภาพจราจรทั่วโลก ประจำปี 2016 หรือ Global Traffic Scorecard Report บ่งชี้ว่าไทยเป็นประเทศรถติดมากเป็นอันดับ 1 ของโลก โดยคนไทยในแต่ละเมืองทั่วประเทศเสียเวลาเฉลี่ยราว 61 ชั่วโมงต่อปีไปกับรถติดบนถนน ขณะที่กรุงเทพฯ ติดอันดับเมืองรถติดอันดับ 12 ของโลก […]

1 4 5 6 7