26/11/2021
Insight
มองเมืองเชียงใหม่ ผ่านป้ายโฆษณาและชายคาอาคาร
อดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้
ในบทความนี้เราจะพาทุกท่านไปดูพัฒนาการเปลี่ยนแปลงของเมืองผ่านป้ายโฆษณา และรูปแบบชายคาอาคารของเมืองเชียงใหม่ ในช่วงปี 2010 – 2020
มีคนกล่าวเอาไว้ว่าป้ายโฆษนาบอกอะไรมากกว่าสิ่งที่มันกำลังบอกฝ่านตัวหนังสือ หากมองในภาพรวมป้ายโฆษณาคือ “หน้าตาของเมือง” ที่สังเกตุได้ง่ายที่สุดจากการใช้ชีวิตสาธารณะ ตามถนน ตรอก ซอก ซอย อาคาร ที่ว่าง ในบางสำนักวิชาการ มองว่าป้ายโฆษณาในย่านหรือในเมือง กำลังสะท้อนว่าเมืองให้ความสนใจกับอะไรอยู่ ทั้งลักษณะ ขนาด และเนื้อหาของป้าย ดังนั้น สิ่งที่เมืองกำลังสนใจ ผู้คนในเมืองกำลังเคลื่อนไหว จึงถูกสะท้อนผ่านป้ายโฆษณาและรูปแบบหน้าตาชายคาอาคาร และที่สำคัญคือเบื้องหลังสิ่งเหล่านี้สัมพันธ์กับเรื่องเศรษฐกิจ และชีวิตของเมืองท้้งสิ้น
มันอาจบอกถึงความเร็วและระยะในการรับรู้ของผู้คน เมืองที่มีแต่ป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ตามทางหลวง นั่นถือเป็นเมืองสำหรับรถยนต์โดยแท้ เพราะขนาดป้ายที่สัมพันธ์กับความเร็วของการเคลื่อนที่ 50 กม.ชม. หรือหากเป็นนย่านขนาดเล็ก มีร้านลวงขายสินค้า อาหาร คาเฟ่ ป้ายโฆษณา หรือป้ายร้านเหล่านี้ก็จะมีขนาดเล็ก มีรายละเอียดที่มากขึ้น น่าหลงไหล ในย่านแบบนี้ก็ดูท่าว่าจะเป็นมิตรกับคนเดินเท้า ด้วยขนาดป้ายกับความเร็วของคนเดินเท้า ที่ดูมีเรื่องเล่าประหนึ่งลายเเทงที่กำลังรอการตามหา
บทความนี้เราจะพาผู้อ่านทุกท่านลองมา “อ่านเมือง-เข้าใจเมือง” จากรูปแบบป้ายโฆษณาและชายคาอาคารของเมืองเชียงใหม่ ย้อนกลับไป 1 ทศวรรษ ซึ่งเป็นทั้งช่วงที่ “พีคสุดๆ” ของเมืองและช่วงที่เมืองดูเงียบเหงาหลังผลกระทบของโควิด-19 เพราะเชียงใหม่ที่ได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งการท่องเที่ยว เมืองวัฒนธรรม ที่เป็นจุดหมายปลายทางทั้งของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ และแม้แต่นักท่องเที่ยว-นักทัศนาจรชาวไทยก็ตาม
1# อสังหาฯ เติบโต โฆษณาบ้าน คอนโด กับป้ายร้านกาแฟทั่วเมือง
ในช่วงปี 2010 (2553) เมืองเชียงใหม่มีการเติบโตของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ทั้งตลาดคอนโด บ้านเดี่ยว และการพัฒนาย่านค้าปลีกหลากหลายที่กระจายทั่วเมือง ที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือ ร้านกาแฟ ที่ผุดขึ้นเป็นดอกเห็นทั่วเมืองเชียงใหม่
หน้าตาชายคาอาคารของเมืองช่วงนี้ เราจะพบเห็นกับโครงการ ตึกสูงต่างๆ ที่กำลังก่อสร้าง ป้ายโฆษณาบ้านจัดสรร คอนโดมิเนียมใหม่ใจกลางเมือง และป้ายบอกทางร้านกาแฟ กระจุก กระจิก ทั่วเมือง เป็นช่วงเวลาที่เมืองเชียงใหม่ในฐานะของเมืองท่องเที่ยว เมืองวัฒนธรรมที่เหมาะแก่การมาพักผ่อน มาเที่ยวเล่น ทั้งของคนไทยและคนต่างชาติ จากสถิตินักท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงใหม่ ในปี 2553 มีนักท่องเที่ยวรวม 3.8 ล้านคน เป็นคนไทย 2 ล้านคน และต่างชาติ 1.8 ล้านคน รายได้จากการท่องเที่ยวประมาณ 1 หมื่นล้านบาท (GPP 1 แสน 5 หมื่นล้านบาท) ถือเป็นช่วงที่เชียงใหม่กำลังบูมและกำลังพัฒนาเปิดรับโอกาสจากการท่องเที่ยว ช่วงปี 2555 หลังกระแสการเที่ยวเชียงใหม่ ของนักท่องเที่ยวจีน จากหนัง Lost in Thailand
2# ร้านเล็กและคาเฟ่ผุดเป็นดอกเห็ด เกิดธุรกิจใหม่ แลกเงิน เช่ารถ สำหรับนักท่องเที่ยว
ช่วงปี 2015 (2558) ภายหลังการบูม ถึงขั้น “เมืองแตก” เพราะเมืองเชียงใหม่กำลังเต็มไปด้วยนักท่องเที่ยวจีน นักท่องเที่ยวคนไทย หน้าตาของเมืองเปลี่ยนโฉมไปอย่างรวดเร็ว เศรษฐกิจเชียงใหม่โตขึ้นอย่างเห็นได้ชัดโดยเฉพาะภาคบริการและการท่องเที่ยว
ในเมืองโดยเฉพาะย่านเศรษฐกิจของเมือง เกิดร้านค้าขนาดเล็กทุกหย่อมหญ้า ทุกซอกซอย เกิดธุณกิจใหม่ๆ ในเมืองเช่น ร้านค้าแลกเงินที่เห็นเกลื่อนกลาด ร้านเช่ารถมอเตอร์ไชค์ ร้านขายธุเรียน มะม่วง หรือแม้แต่ร้านขายาแปะปวดตราเสือ ธุรกิจโรงแรม การเปลี่ยนการใช้งานจากบ้านพักอาศัยเป็นที่พักในรูปแบบโฮสเทล ทำให้เกิดการดัดแปลง การต่อเติมอาคารในหลายรูปแบบ
การเข้ามาและเปิดรับน้กท่องเที่ยวในช่วงนี้ ทำให้เมืองเชียงใหม่มีการเปลี่ยนโฉมและเติบโตอย่างมาก รายได้จากการท่องเที่ยวในปี 2558 เพิ่มขึ้นกว่า 8 เท่าจากปี 2553 (จาก 1 หมื่นล้าน เป็น 8 หมื่นล้านบาท) GPP เพิ่มขึ้นเป็น 2 แสนล้านบาท นักท่องเที่ยวรวมกว่า 7 ล้านคน เป็นต่างชาติ 2.5 ล้านคน และคนไทย 4.5 ล้านคน
แต่นี่ก็ดูจะเป็นดาบ 2 คมของเมือง หากมีการจัดการเมืองที่ไม่ดีเพียงพอ การทะลักเข้ามาของนักท่องเที่ยวจำนวนมาก ทำให้เมืองเริ่มเกิดความปกติใหม่ที่เข้ามา การพบเห็นป้ายร้านค้า ร้านอาหารกับเมนูภาษจีนกลายเป็นเรื่องปกติ การขับมอเตอร์ไชค์ทั่วเมืองของนักท่องเที่ยวชาวจีน แต่อีกด้านหนึ่งเมืองก็คึกคักเต็มไปด้วยผู้คน ทุกถนนหนทางเด็มไปด้วยนักท่องเที่ยวที่เดินเท้า เดินเล่นทั่วไป อีกหนึ่งพื้นที่ที่จะพูดถึงไม่ได้คือ พื้นที่อ่างแก้ว มช. ที่เป็นที่ชื่นชอบ จนถึงขั้นมีการแต่งชุดนักศึกษาเพื่อเข้ามาเดินเล่นในมหาวิทยาลัย
3# พิษโควิด ป้ายว่าง อาคารให้เช่า และการกลับมาของร้านค้าท้องถิ่น
หลังเข้าสู่สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เมืองเชียงใหม่ ในช่วงปี 2020 (2563) ดูจะซบเซาลงไปอย่างมาก จากการที่นักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจีนไม่สามารถเข้ามาเที่ยวในประเทศไทยได้ ผลกระทบที่เกิดกับเมือง และหน้าตจาอาคารของเมืองเชียงใหม่ ที่เห้นได้ชัดจนชินตาในปัจจุบัน คือ สภาพอาคารที่ปล่อยทิ้งร้าง อาคารร้านค้าที่เคยผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดเริ่มทะยอยปิดปิดตัว ธุรกิจบางอย่างที่รองรับนักท่องเที่ยวอย่างเดียวก็เริ่มหายไป เช่น ธิรกิจรับเเลกเงินตรา เป็นต้น ป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ถูกทิ้งร้าง จากพิษเศรษฐกิจที่สืบเนื่้องจากวิกฤติสาธารณสุข ตลาดอสังหาริมทรัพย์เริ่มหดตัว
สถิตินักท่องเที่ยวในปี 2563 ลดลงอย่างเท่าทวีคูณโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวต่างชาติจาก 2.5 ล้านคน ในปี 2058 ลดลงเหลือ 5 แสนคน แต่กลับกลายเป็นว่าเชียงใหม่ยังครองเเชมป์เป็ฯเมืองท่องเที่ยวตากอากาศของคนไทย ซึ่งยังคงสูงอยู่ถึง 5.5 ล้านคน
เเม้ว่าจะมีอาคารร้านค้าให้เซ่งกิจการ ปล่อยให้เช่า เมืองในภาพรวมดูเงียบเหงาผิดหูผิดตาไปมาก แต่ทว่า ในช่วงเวลาวิกฤติเช่นนี้ กลับเริ่มเห็นเเสงสว่างสำหรับร้านค้าท้องถิ่นขนาดเล็กที่เป็นร้านค้าที่ตอบโจทย์และรองรับการบริโภคจากภายในท้องถิ่นยังคงอยู่ได้ และเริ่มฟื้นตัวอีกครั้ง หลังช่วงที่เมืองเริ่มคลายมาตรการล๊อกดาวน์ ช่วงที่ผ่านมาเมือนเป็ฯช่วงเวลาที่เมืองได้หยุดคิดกับประเด็นการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงที่ขึ้นอยู่กับ ภาคการท่องเที่ยวอย่างมากเช่นนี้ อาจจะไม่ใช่ทางออกที่ดีนักสำหรับเมืองเชียงใหม่ รวมถึงผลกระทบเล็กๆ น้อยๆ ในด้านการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของหน้าตาเมือง ที่เราได้เรียนรู้จากรูปแบบและการเปลี่ยนแปลงของป้ายโฆษณา หน้าร้าน และชายคาอาคารของเมือง
ภาพลักษณ์ หน้าตาของเมืองเกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงไปตามรูปแบบทางเศรษฐกิจ การพัฒนาเมือง รวมถึงกิจกรรมต่างๆ ของผู้คนที่อาศัยอยู่ในเมือง เป็นท่วงท่าในซีรี่ย์เรื่องยาวตั้งแต่เกิดจนแก่ และจากลากันไป “ผู้คน” ที่อยู่ในเมืองจึงมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการสร้างสรรค์ หรือลดทอน ซึ่งล้วนแล้วแต่สร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับเมือง
โปรดติดตามบทความของเมืองเชียงใหม่ได้อีก จากการสังเกตการณ์และเสริมสร้างพฤติกรรมคนเมือง เพื่อขับเคลื่อนและสร้างกา่รเปลี่ยนแปลงเมืองเชียงใหม่ ภายใต้แผนงานยุทธศาสตร์เป้าหมายด้านสังคม แผนงานคนไทย 4.0