“Data and The City” เมื่อจักรวาลของข้อมูลบรรจบกับเมือง

09/10/2024

เมืองกับข้อมูลมีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร ? ทำไมคนทำงานเมืองจึงต้องยุ่งกับเรื่องข้อมูลด้วย ?วันนี้ The Urbanis ขอชวนชาวเมืองทุกท่านมาทำความรู้จักข้อมูลเมืองไปด้วยกัน “เรื่องเมือง ถือเป็นเรื่องที่มีความ SEXY” เรื่องข้อมูลเองก็เช่นกัน ปัจจุบันเรากำลังอยู่ใน ศตวรรษที่เรียกได้ว่าเป็น ศตวรรษเมือง ร่วมกับ ศตวรรษแห่งข้อมูลสารสนเทศ ท่ามกลางเมืองที่มีทั้ง “ความวุ่นวายและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา” อีกทั้งทุกเรื่องราวในเมืองนั้นล้วนแต่มีความซับซ้อนคลุมเคลือ และเข้าใจได้ยาก ดังนั้นข้อมูลจึงช่วยให้เข้าใจถึงความเป็นไปของเมืองได้มากยิ่งขึ้น ด้วยกระเเสเหล่านี้จึงไม่สามารถปฎิเสธได้ว่า การทำงานพัฒนาเมืองจะต้องทำงานร่วมกับข้อมูล แสดงให้เห็นว่าข้อมูลมีความจำเป็นสำหรับการทำความเข้าใจเมืองนั้น ๆ ไม่ได้มีเพียงแต่ข้อมูลกายภาพของเมืองเท่านั้น หากแต่ยังต้องการข้อมูลอื่น ๆ ประกอบอีกด้วย “เข้าใจเมือง ผ่านข้อมูล” ในประสบการณ์การทำงานข้อมูลเมืองมากว่า 10 ปี ข้อมูลเมือง 3 ประเภทที่จำเป็น คือ (1) ข้อมูลกายภาพเมือง อาทิ อาคารบ้านเรือน ถนนทางเท้า เเม่น้ำ ลำคลอง ต้นไม้ ใบหญ้า และ (2) ข้อมูลประชากรเมือง นั่นคือ ผู้คนที่มีความหลากหลายในเมือง ต่างที่มา ต่างชนชั้น และต่างบทบาทหน้าที่ […]

เปลี่ยนพื้นที่รก “ร้าง” ให้เป็นพื้นที่ “เล่น” แห่งใหม่ของย่าน

30/06/2023

เปลี่ยนพื้นที่รก “ร้าง” ให้เป็นพื้นที่ “เล่น” แห่งใหม่ของย่าน ช่วงชีวิตวัยเด็ก ในยุค 80-90 ภารกิจของเราคือ การเล่น และการได้รับอนุญาตให้ออกนอกบ้าน ออกไปวิ่งเล่น ปั่นจักรยาน คือ สิ่งที่คุ้นชินและเห็นได้บ่อยครั้ง “พื้นที่เล่นอย่างไม่เป็นทางการ” เช่น ลานวัด ลานว่างกลางชุมชน สวนหลังบ้านของใครสักคน แทรกตัวอยู่ตามชุมชนและย่าน มาถึงตอนนี้พื้นที่เล่นเหล่านั้น ค่อยๆ เลือนหายไป พร้อม ๆ กับวิถีชีวิตวัยเด็กที่เปลี่ยนไป อยู่กับตัวเองมากขึ้น ออกนอกบ้านน้อยลง ท่องโลกกว้างผ่านโลกอินเตอร์เนต และเล่นเกมส์ออนไลน์ เปลี่ยนแก๊งโดดหนังยางในวันวานเป็นตี้ ROV ในวันนี้ ชีวิตในเมืองกับการเล่นที่เปลี่ยนไป: จากแก๊งโดดหนังยาง ถึงตี้ ROV ที่มาภาพ: MI PHAM การเล่น ถือเป็นกิจกรรมทางสังคมของเด็ก และถือเป็นกิจกรรมที่สำคัญของการใช้ชีวิตในสังคม ย่าน หรือชุมชน สำหรับเด็ก ช่วงชีวิตที่ได้มีโอกาสออกไปเล่นนอกบ้าน กับเหล่าเพื่อนๆ น่าจะเป็นช่วงเวลาที่มีความสุข สนุกสนาน และเป็นตัวเองที่สุด แต่นั่น น่าจะเป็นภาพจำของการเล่นเมื่อ 30-40 […]

ถ้ากรุงเทพฯ อยากเขียว จะเขียวได้แค่ไหน

09/06/2023

กรุงเทพมหานคร เมืองใหญ่ที่พบเจอกับภัยพิบัติอยู่เป็นประจำ เช่น ฝุ่นควัน PM2.5 น้ำรอระบาย ปรากฏการณ์เกาะความร้อนในเมือง ตลอดจนปัญหาสุขภาพของคนเมือง ในทางกลับกัน กรุงเทพฯ ยังเป็นเมืองที่มีพื้นที่สีเขียว ซึ่งมีบทบาทช่วยบรรเทาปัญหาดังกล่าวให้ทุเลาลงในปริมาณน้อยกว่ามาตรฐาน ทำให้ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ การเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมืองกลายเป็นประเด็นสำคัญลำดับต้น ๆ ในการพัฒนาเมือง ที่ทุกคนให้ความสนใจหรืออาจจะอยากมีส่วนร่วม แต่เราเคยลองจินตนาการดูไหมว่า กรุงเทพที่กำลังทำให้ตัวเองเขียวขึ้นนั้น จะเขียวได้มากแค่ไหน? เขียวน้อย เขียวไกล แต่เขียวได้เท่าลอนดอน ปัจจุบัน พื้นที่สีเขียวสาธารณะในกรุงเทพมหานครถูกแบ่งเป็น 7 ประเภท ได้แก่ สวนระดับเมือง สวนระดับย่าน สวนหมู่บ้าน สวนชุมชน สวนหย่อมขนาดเล็ก สวนถนน และสวนเฉพาะทาง (เช่น สวนบริเวณอนุสาวรีย์) ซึ่งส่วนใหญ่สำนักสิ่งแวดล้อม กทม. เป็นผู้ดูแล พื้นที่สีเขียวสาธารณะทั้งหมดนี้ มีพื้นที่รวม 42 ตารางกิโลเมตร เพียงแค้ 2.7% ของพื้นที่กรุงเทพฯ หรือเทียบเท่าพื้นที่เขตบางเขน และเมื่อพิจารณาจากขนาดต่อประชากร พบว่ากรุงเทพฯ นั้น มีพื้นที่สีเขียว 7.7 ตารางเมตรต่อคน และเข้าถึงได้ในระยะทางเฉลี่ยประมาณ […]

4 ความท้าทายสู่การพัฒนาเมืองน่าอยู่ของกรุงเทพมหานคร

09/06/2023

เมืองมีความซับซ้อน หลากหลาย เป็นพื้นที่แห่งโอกาสและความเหลื่อมล้ำ กรุงเทพมหานครเองก็เป็นเช่นนั้น เป็นเมือง VUCA ที่รายล้อมไปด้วยความผันผวน (Volatility) ความไม่แน่นอน (Uncertainty) ความซับซ้อน (Complexity) และความคลุมเครือ (Ambiguity) ดังนั้น การเข้าใจเมืองจึงไม่ควรมองเพียงมิติทางกายภาพเพียงอย่างเดียว แต่ควรมีแว่นกรองหรือมุมมองที่หลากหลาย ทั้งมิติกายภาพ สังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม ที่จะช่วยสร้างการขับเคลื่อนเมืองให้เกิดการพัฒนาไปได้อย่างยั่งยืน กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงของประเทศไทย มีลักษณะเป็น “เมืองโตเดี่ยว” เป็นเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศ มีสัดส่วนของเศรษฐกิจร้อยละ 36.3 ของ GDP ทั้งประเทศ เต็มไปด้วยผู้คนที่หลากหลายรวมกว่า 9 ล้านคน มีกิจกรรมที่ซับซ้อน ผู้คนที่หลากหลายนำมาซึ่งกิจกรรมการใช้ชีวิตและกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่หลากหลายตามมา ทั้งย่านการอยู่อาศัย ย่านพาณิชยกรรม ย่านประวัติศาสตร์ ที่กระจายตัวและผสมผสานกันอยู่ทั่วเป็น อีกทั้ง เป็นเมืองที่มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ทั้งระบบขนส่งมวลชน โครงการขนาดใหญ่ พื้นที่สวน พื้นที่นันทนาการ และอีกมากมาย ตลอดจนเป็นเมืองที่มีความวุ่นวายและชีวิตชีวาทั้งกลางวันและกลางคืน จึงทำให้กรุงเทพฯ มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อประเทศไทยทั้งในทางเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม นอกจากนี้ กรุงเทพฯ ยังเป็นหมุดหมายของการเดินทางท่องเที่ยวจากทุกมุมโลก […]

อ่านเมืองร้อยเอ็ดด้วยข้อมูล: ฟื้นใจเมืองร้อยเอ็ดด้วยเมืองเดินได้เมืองเดินดี

21/10/2022

เมืองร้อยเอ็ด เคยเป็นเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรืองในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งรู้จักกันในชื่อ “สาเกตนคร” หรือ เมืองร้อยเอ็ดประตู อันเนื่องมาจากเป็นเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรื่องโดยที่มีเมืองขึ้นจํานวนมาก ชื่อของเมืองร้อยเอ็ดนั้นได้มาจากเป็นเมืองที่มีประตูล้อมรอบเป็นกําแพง การตั้งชื่อเมืองให้มีความใหญ่เกินเพื่อให้เป็นสิริมงคล ถือเป็นเรื่องธรรมดาของการตั้งชื่อเมืองโบราณ ในบทความนี้ทีมงาน TheUrbanis จะพาทุกท่านมาทำความรู้จักเมืองร้อยเอ็ดด้วยการเล่าเรื่องผ่านข้อมูล ว่าเหตุใดเมืองร้อยเอ็ดจึงมีศักยภาพเป็น “เมืองเดินได้-เมืองเดินดี” ซึ่งบทความนี้เป็นผลการศึกษาบางส่วนจากโครงการ ฟื้นใจเมืองร้อยเอ็ดด้วยเมืองเดินได้เมืองเดินดี ภายใต้ชุดโครงการห้องปฎิบัติการเมืองเดินได้เมืองเดินดีประเทศไทย (Good Walk Lab Thailand) เมืองเก่าที่ถูกออกแบบและวางผังมาแต่โบราณ เมืองเก่าร้อยเอ็ดมีลักษณะโดดเด่นคือเป็นชุมชนที่มีคูน้ำคันดินล้อมรอบซึ่งยังคงหลงเหลือร่องรอยอย่างชัดเจนในปัจจุบัน ทำให้สามารถจะกำหนดขอบเขตของวัฒนธรรมในสมัยโบราณได้ไม่ยากนัก สัญนิษฐานว่าภายในเมืองเก่าอาจมีร่องรอยการอยู่อาศัยของมนุษย์ในอดีต ตั้งแต่ช่วงก่อนประวัติศาสตร์ และน่าจะมีการใช้พื้นที่นี้มากขึ้นในช่วงสมัยทวารวดี ซึ่งอาจมีการขุดคูน้ำคันดินขึ้น เพื่อประโยชน์ในการจัดการน้ำและการอุปโภค-บริโภค ร่องรอยหลักฐานของศิลปะทวารวดีนั้น พบกระจายอยู่ตามวัดหลายแห่ง คือ ใบเสมาหินทราย ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของวัฒนธรรมทวารวดีในภาคอีสาน กำหนดอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 – 16 หรือราว ปี พ.ศ. 1100 – 1500.เมืองร้อยเอ็ด มีกำแพงเมือง–คูเมือง ลักษณะเป็นคูน้ำคันดินในผังรูปสี่เหลี่ยมมุมมนล้อมรอบ ขนาด 1,700 x 1,800 เมตร โดยคูเมืองอยู่ด้านนอก และด้านในมีคันดินก่อสูงเป็นกำแพงเมือง อย่างไรก็ตาม […]

อ่านเมืองลำพูนด้วยข้อมูล: ฟื้นใจเมืองลำพูนด้วยเมืองเดินได้เมืองเดินดี

27/07/2022

เมืองลำพูน หรือที่รู้จักกันในท้องถิ่นว่า “เมืองหละปูน” เมืองขนาดเล็ก ที่มีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนาน รู้จักกันชื่อในนาม “นครหริภุญชัย” ซึ่งถือเป็นเมืองที่เก่าแก่ที่สุดของภาคเหนือ อายุราว 1,400 ปี อาณาจักรหริภุญชัย รุ่งเรืองในยุคพุทธศตวรรษที่ 15 ในฐานะราชธานีแห่งแรกของภาคเหนือ เป็นรากฐานความเจริญรุ่งเรืองในทุกด้านต่ออาณาจักรล้านนา ทั้งด้านเศรษฐกิจ การทหาร ประเพณี วัฒนธรรม และเป็นรากฐานทางด้านภาษา โดยมีต้นแบบจากวัฒนธรรมทวารวดีทางฝั่งลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เมืองลำพูนจึงถือเป็นเมืองที่มีคุณค่าทั้งในเชิงประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรมที่ถูกสืบทอดมาอย่างยาวนาน จวบจนถึงปัจจุบัน ในบทความนี้ทีมงาน The Urbanis จะพาทุกท่านมาทำความรู้จักเมืองลำพูนด้วยการเล่าเรื่องผ่านข้อมูล ว่าเหตุใดเมืองลำพูนจึงมีศักยภาพเป็น “เมืองเดินได้-เมืองเดินดี” ซึ่งบทความนี้เป็นผลการศึกษาบางส่วนจากโครงการ ฟื้นใจเมืองลำพูนด้วยเมืองเดินได้เมืองเดินดี ภายใต้ชุดโครงการห้องปฎิบัติการเมืองเดินได้เมืองเดินดีประเทศไทย (Good Walk Lab Thailand) เวียงหละปูน ภายหลังการเติบโตของเมืองลำพูน ถูกขับเคลื่อนด้วยเศรษฐกิจฐานอุตสาหกรรม ซึ่งเข้ามาทำให้มีการขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะบริเวณพื้นที่โดยรอบนิคมอุตสาหกรรม ประกอบกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ซึ่งเชื่อมโยงไปยังเมืองเชียงใหม่ ซึ่งเป็นศูนย์กลางระดับภูมิภาคในปัจจุบัน แต่ทว่า เมืองลำพูนในฐานะ “เมืองแฝดเชียงใหม่-ลำพูน” ยังคงความมีอัตลักษณ์ของพื้นที่ วิถีชีวิตของผู้คน และวัฒนธรรมที่มีความเฉพาะตัว กอปรกับเมืองเก่าลำพูน ถือเป็น 1 […]

เมื่อเจียงใหม่เฮาต้องก๋านขนส่งสาธารณะ: “บ่ายเดือนพฤษภาที่ฝนตกหนักในวันเปิดภาคเรียน”

06/07/2022

กลายเป็นเรื่องสยอง 1 บรรทัดที่ชาวเชียงใหม่สัมผัสถึงบรรยากาศรถติดยืดยาวในวันเปิดเรียนวันแรกที่ฝนโปรยปรายลงมา กับสภาพจราจรที่เลวร้ายนานหลายชั่วโมง “รถติดในเมืองเชียงใหม่” กลายเป็นความปกติใหม่ของเมือง เป็นภาพจำของทั้งคนอยู่และคนเที่ยว ยิ่งในช่วงเปิดภาคเรียนของน้อง ๆ นักเรียน ประกอบกับการเป็นช่วงฤดูฝนตกที่มีฝนกระหน่ำลงมา ทำให้ทัศนวิสัยในการขับขี่ลดลง ผู้คนต้องระมัดระวังในการใช้รถใช้ถนนเป็นพิเศษ ก็คงต้องเจอกับสภาพปัญหาการจราจรที่ติดขัดขั้นสุด โดยเฉพาะบริเวณแยกรินคำ ถนนเส้นซุปเปอร์ไฮเวย์ขาออก เชื่อมไปยังเเยกศาลเด็ก และเส้นถนนแก้วนวรัฐ แต่ทำไมต้องเป็น “แยกศาลเด็กและถนนแก้วนวรัฐ” ที่ขึ้นชื่อเรื่องรถติด ติดจนกลายเป็นจุดเช็คอินยอดนิยมน่าขำขัน อมยิ้ม แบบเป็นตลกร้าย พอ ๆ กับ แยกประชานุกุล หรือ แยกเเคราย ในมหานครกรุงเทพฯ ความจริงคำถามนี้ คงง่ายมาก ๆ หากคนเป็นคนเชียงใหม่หรืออยู่อาศัยในเมืองเชียงใหม่ นั่นเป็นเพราะเส้นทางแยกศาลเด็กเชื่อมกับถนนเเก้วนวรัฐนี้ ถือเป็น “ถนนรัศมี” ที่ทำหน้าที่นำผู้คนเข้าออกเมืองที่สำคัญเส้นทางหนึ่ง ที่ถูกใช้เป็นเส้นทางการเดินทางจากบ้านที่พักอาศัยบริเวณชานเมืองและอำเภอใกล้เคียงเข้าสู่พื้นที่ใจกลางเมืองเชียงใหม่ผ่านเส้นทางสะพานเนาวรัฐ-ถนนท่าแพ และอีกหนึ่งความสำคัญของถนนเเก้วนวรัฐ คือ เป็นเส้นทางของจุดหมายปลายทางของการเดินทางไปโรงเรียนชั้นนำในเชียงใหม่หลายแห่งที่ตั้งอยู่บนถนนเส้นนี้ บทความนี้ทีมงาน The UrbanIs จะพาทุกท่านไปสำรวจประเด็นหาการเดินทาง การจราจรที่ติดขัด และการเรียกร้องระบบขนส่งสาธารณะในเมืองเชียงใหม่ พร้อมจำลองการวิเคราะห์ว่า หากเมืองเชียงใหม่มีระบบขนส่งสาธารณะจริง ๆ จะครอบคลุมไปถึงตรงไหนกันบ้าง “บ่ายเดือนพฤษภาที่ฝนตกหนักในวันเปิดภาคเรียน” หากดูการกระจุกตัวของโรงเรียนขนาดใหญ่ในเมืองเชียงใหม่จะพบว่า […]

พระโขนง-บางนา ฝนตกนิดเดียว น้ำก็ท่วมรอระบาย

28/06/2022

นับตั้งแต่ 13 พฤษภาคมที่ผ่านมาประเทศไทยได้เข้าสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการ แต่เมื่อฝนเริ่มตก น้ำก็เริ่มท่วม เป็นผลกระทบลูกโซ่ที่ตามมาอย่างเลี่ยงไม่ได้ในมหานครแห่งนี้ จากผลสำรวจเสียงสะท้อน 10 ปัญหาเรื้อรังที่คนเมืองต้องการให้ผู้ว่าฯ เร่งแก้ไข โดยบริษัท เรียล สมาร์ท บริษัทดิจิทัลเอเยนซี ซึ่งให้บริการ Social Listening พบว่า “ปัญหาน้ำท่วมขัง” ถูกพูดถึงเป็นอันดับที่ 2 หรือคิดเป็นร้อยละ 10.94 ที่คนเมืองพูดถึงในโลกออนไลน์ ระดับความสูง – ต่ำในพื้นที่กรุงเทพฯ เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้แต่ละพื้นที่มีความเสี่ยงต่อน้ำท่วมไม่เท่ากัน พระโขนง – บางนาเป็นหนึ่งในพื้นที่เปราะบางเสี่ยงน้ำท่วม เนื่องจากบริเวณกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออกมีระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางเฉลี่ย (Mean Sea Level: MSL) เพียง 0 – 0.5 เมตรเท่านั้น ซึ่งถือว่าไม่สูงนักหากเปรียบเทียบกับพื้นที่อื่นในกรุงเทพฯ พื้นที่แอ่งกระทะหรือบริเวณที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง เช่น บริเวณรอบสถานีปุณณวิถี และซอยสุขุมวิท 101/1 นับเป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหาน้ำท่วมขัง เอ่อล้น รอระบายภายในย่าน ซึ่งนอกจากระดับความสูงต่ำของระดับพื้นดินแล้ว ยังเกี่ยวเนื่องกับคุณสมบัติชั้นดินอีกด้วย โดยชั้นดินของกรุงเทพฯ เป็นดินเหนียวอ่อนซึ่งมีคุณสมบัติทึบน้ำ […]

พระโขนง-บางนา สมรภูมิการสัญจร

22/06/2022

หลายคนคงเคยหรือยังประสบกับปัญหาการเดินทางในกรุงเทพฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาเร่งด่วน ทั้งการจราจรติดขัด ระบบขนส่งมวลชนที่มีจำกัดและล่าช้า ฯลฯ ซึ่งหากคำนวณแล้ว คนกรุงเทพฯ ต้องเสียโอกาสทางเวลาจากการจราจรที่ติดขัด บนท้องถนน จากการสำรวจของ Uber และ Boston Consulting Group (BCG) พ.ศ. 2561 พบว่า คนกรุงเทพฯ ใช้เวลาอยู่บนท้องถนนนานถึง 96 นาทีต่อวัน หรือ 584 ชั่วโมงต่อปี หรือคิดเป็น 24 วันต่อปี ย่านพระโขนง – บางนา อีกหนึ่งพื้นที่ในสมรภูมิการสัญจรของมหานครกรุงเทพ ที่มีปริมาณการสัญจรคับคั่ง มีปริมาณรถยนต์ที่สัญจรผ่านถึง 7 แสนคันต่อวัน และจากการเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่ยังพบว่า ปัญหาที่ถูกพูดถึงเป็นอันดับต้น ๆ ประการหนึ่งของชาวย่านคือ “รถติด” โดยเฉพาะบริเวณทางแยกเชื่อมต่อทางด่วน ซอยหลักและพื้นที่โรงเรียน ซึ่งเป็นผลจากสาเหตุสองส่วนสำคัญ คือ สัณฐานเมืองในลักษณะก้างปลา และข้อจำกัดของระบบขนส่งมวลชนรองในย่านที่จะรับส่งผู้โดยสารจากขนส่งมวลหลักชนเข้า-ออกพื้นที่ย่าน ย่านซอยลึกและตันติด 1 ใน 10 อันดับของกรุงเทพฯ คิดเป็นสัดส่วนถนนที่เป็นซอยตันกว่า 50% […]

“เดินสร้างย่าน” สร้างย่านพระโขนง-บางนา ด้วยเมืองเดินได้

03/06/2022

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า การที่มหานครกรุงเทพเป็นเมืองที่พึ่งพารถยนต์ ส่งผลเสียหลายด้านไม่ว่าจะเป็นต้นทุนด้านเวลาและค่าเดินทางที่สูง รวมทั้งปัญหาสุขภาพ จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พ.ศ. 2556 พบว่า ผู้คนใช้จ่ายไปกับค่าเดินทางเฉลี่ยต่อครัวเรือนประมาณร้อยละ 20 ของรายจ่ายทั้งหมด หรือประมาณ 6,500 บาทต่อเดือน ซึ่งดูมีแนวโน้มที่ดีขึ้น หากเปรียบเทียบกับ พ.ศ. 2564 (ในช่วง 6 เดือนแรก) ที่ใช้จ่ายด้านค่าเดินทางเฉลี่ย ต่อครัวเรือนลดลงอยู่ที่ร้อยละ 16 หรือประมาณ 5,200 บาทต่อเดือน (สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2564) ค่าเดินทางนี้หมายรวมถึง ค่าซื้อยานพาหนะ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับยานพาหนะ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง และค่าเดินทางอื่น ๆ แต่หากเปรียบเทียบกับประเทศที่มี ระบบขนส่งสาธารณะที่มีประสิทธิภาพ ผู้คนจะมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางเพียงแค่ ร้อยละ 10 ของรายได้ทั้งหมด นอกจากนี้ การเดินทางด้วยระบบรถไฟฟ้าก็ยังมีราคาแพง จากการสำรวจค่าเดินทางของระบบขนส่งประเภทรางแบบรายเดือนของคนกรุงเทพฯ โดย Numbeo (2015) พบว่า คนกรุงเทพฯ ใช้จ่ายไปกับตั๋วเดือนคิดเป็นสัดส่วนรายได้ประมาณร้อยละ 4 ในขณะที่ประเทศอื่น ๆ กลับมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 3 […]

1 2 3 7