Insight



วัด ละลายพื้นที่แช่แข็งทางศาสนาสู่การพัฒนาพื้นที่สาธารณะเมือง

30/06/2023

ศาสนสถานมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการเป็นศูนย์กลางของชุมชน ตลอดจนเป็นพื้นที่ทางสังคมของคนตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน หากมองบริบทของกรุงเทพมหานครจะพบว่า มีศาสนาสถาน ในรูปแบบของ “วัด” มากถึง 461 แห่ง วันนี้ The Urbanis จึงอยากชวนทุกท่านให้ลองคิดดูว่าหากมีการพัฒนาและปรับปรุงพื้นที่ของวัดบางส่วนให้กลายเป็นพื้นที่สีเขียวสาธารณะ เพื่อรองรับกิจกรรมทางเลือกสำหรับคน ทุกเพศ ทุกวัยในชุมชน เมืองของเราจะเป็นอย่างไร? วัด: โอกาสในการเพิ่มพื้นที่สีเขียวสาธารณะ หากพูดถึง pain point ของคนกรุงเทพฯ ในปัจจุบัน คิดว่าการขาดแคลนพื้นที่สีเขียวสาธารณะใกล้บ้าน ที่ผู้คนสามารถเข้าไปเดินเล่น ออกกำลังกาย หรือพักผ่อนหย่อนใจ คงเป็นหนึ่งในนั้น โดยจากข้อมูลของสำนักสิ่งแวดล้อม ปี พ.ศ. 2566 กรุงเทพมหานครมีพื้นที่สีเขียวต่อประชากรอยู่ที่ 7.63 ตร.ม./คน ซึ่งถือว่ายังต่ำกว่าเกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ที่ระบุไว้ที่ 9 ตร.ม./คน นอกจากนี้ หากดูจากแผนที่แสดงตำแหน่งสวนสาธารณะด้านล่าง จะเห็นได้ว่าบางเขตของกรุงเทพมหานครนั้นไม่มีสวนสาธารณะเลย และมีระยะการเข้าถึงอยู่ที่ 4.5 กิโลเมตรซึ่งถือว่าเป็นระยะที่คนไม่สามารถเดินไปได้ อย่างไรก็ตาม จากการวิเคราะห์ข้อมูลของวัดที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จะเห็นได้ว่ากรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะบริเวณเขตเมืองชั้นในนั้นมีการกระจุกตัวของวัดอยู่มาก ทั้งนี้ หากมีแนวคิดหรือแนวทางในการพัฒนาพื้นที่บางส่วนของวัด ซึ่งเป็นพื้นที่กึ่งสาธารณะอยู่แล้ว ให้เป็นพื้นที่สีเขียว […]

คนเมือง สนามกีฬา สวนสาธารณะ และการออกกำลังกาย

21/06/2023

“ทำไมปัจจุบันเราต้องจ่ายเงินมากมายเพื่อแลกกับการบริการเพื่อสุขภาพ ทั้งที่เราควรจะมีพื้นที่สวนสาธารณะ สนามกีฬา และสถานที่ออกกำลังกายอย่างเพียงพอ” การออกกำลังกายในปัจจุบันนั้นมีความนิยมมากขึ้นหลังเกิดเหตุการณ์แพร่ระบาดของโควิด ทำให้ผู้คนหันมาสนใจการดูแลตัวเองมากขึ้น แต่จากการสำรวจพฤติกรรมของผู้คนพบว่าในปี 2564 นั้นผู้คนส่วนใหญ่นั้นมักจะนิยมการออกกำลังที่ฟิตเนส และที่บ้านตนเองเป็นส่วนใหญ่ แต่การออกกำลังกายที่ฟิตเนสนั้นต้องเสียค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ทำให้เห็นว่าพื้นที่สาธารณะนั้นมีไม่เพียงพอครอบคลุมพื้นที่สำหรับการออกกำลังกาย ทำให้ผู้คนหันไปเลือกการใช้ฟิตเนสและการออกกำลังกายที่บ้านเป็นส่วนมาก ดังนั้นควรจะมองหาโอกาสในการพัฒนาพื้นที่เหล่านี้ เพื่อสร้างทางเลือกในการออกกำลังกายมากขึ้น สถานที่การออกกำลังกับความนิยมในปัจจุบัน? พบว่า ผู้คนส่วนใหญ่เลือกการออกกำลังกายที่ฟิตเนสมากที่สุด คิดเป็น 63.4% โดยผู้คนส่วนใหญ่นั้นกลับมาสนใจการออกกำลังกายในฟิตเนสสูงจากช่วงก่อนโควิด-19 แพร่ระบาดอีกครั้ง รองลงมาคือบ้าน คิดเป็น 36.6% ซึ่งผู้คนมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหลังจากที่มีการแพร่ระบาดโควิด-19 จากที่เคยไปสวนสาธารณะหรือสนามกีฬาเปลี่ยนมาเป็นการออกกำลังกายที่หน้าบ้านมากขึ้น (การกีฬาแห่งประเทศไทย, 2564) ข้อดีของการวิ่งที่ฟิตเนส และ สวนสาธารณะ โดยจะเป็นการเปรียบเทียบข้อดีสถานที่ระหว่างที่ฟิตเนสและที่สวนสาธารณะ ซึ่งประเภทของการออกกำลังกายจะเป็นการวิ่ง ซึ่งเป็นเทรนด์ที่มาแรงในปัจจุบัน ข้อดีของการวิ่งในฟิตเนส 1. ความสะดวกสบาย 2. กำหนดการวิ่งได้ 3. ก้าวขาอัตโนมัติ ลดการออกแรง 4. ปลอดภัย ไร้คน เด็ก และรถ 5. บังคับตัวเองให้มีวินัยในการออกกำลังกาย ข้อดีของการวิ่งในสวนสาธารณะ 1. บรรยากาศที่ดีกว่า 2. พื้นที่ในการวิ่งแตกต่างกันไป […]

ปทุมวัน ปทุมWALK: เข้าใจ 5 พฤติกรรมการเดินชาวปทุมวัน

20/06/2023

ปทุมวัน เขตที่เปรียบเสมือนหัวใจอีกดวงหนึ่งของกรุงเทพฯ ด้วยการเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายการคมนาคมที่สำคัญ เป็นแหล่งรวมย่านพาณิชยกรรมและพักผ่อนหย่อนใจที่พร้อมรองรับผู้คนทุกเพศทุกวัย เป็นศูนย์กลางแหล่งงานที่สำคัญจากการเป็นที่ตั้งของสำนักงานจำนวนมากทั้งภาครัฐและเอกชน เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญของเมืองจากการเป็นที่ตั้งของสถานศึกษาและสถานที่ส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้ อีกทั้งเป็นย่านที่อยู่อาศัยของคนที่หลากหลาย จากการวิเคราะห์ข้อมูลย่านเดินได้ของโครงการเมืองเดินได้-เดินดี (Goodwalk) พบว่า ปทุมวันเป็นเขตที่มีค่าดัชนีเมืองเดินได้สูงเป็นอันดับต้น ๆ ของกรุงเทพฯ หมายถึง คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่แห่งนี้ สามารถเข้าถึงสาธารณูปการในชีวิตประจำวันได้โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพารถยนต์ แล้วเมืองเดินได้นี้ มีคนเดินมากแค่ไหน บทความนี้จะพาทุกท่านมาพบกับ 5 พฤติกรรมการเดินชาวปทุมวัน จากการลงพื้นที่สำรวจกลุ่มตัวอย่าง 200 คน ทั้งผู้อยู่อาศัย คนสัญจรผ่านไปมา นิสิต/นักศึกษา และคนทำงาน Fact ที่ 1: ชาวปทุมวันเดินไกลกว่าค่าเฉลี่ย ผลการสำรวจพฤติกรรมการเดินจากโครงการเมืองเดินได้-เดินดี พบว่า ระยะทางเฉลี่ยที่คนกรุงเทพฯ เต็มใจที่จะเดินในแต่ละครับ คือ ประมาณ 800 เมตร แต่สำหรับเขตปทุมวันคนส่วนใหญ่เดินไกลกว่านั้น โดยมีระยะทางเฉลี่ยอยู่ที่ 925 เมตร หรือไกลกว่าระยะทางเฉลี่ยของคนกรุงเทพฯ 15% และสามารถจำแนกคนเดินได้เป็น 3 กลุ่ม ตามระยะทาง คือ คนเดินสั้น คือ คนเดินไม่เกิน 400 […]

ถ้ากรุงเทพฯ อยากเขียว จะเขียวได้แค่ไหน

09/06/2023

กรุงเทพมหานคร เมืองใหญ่ที่พบเจอกับภัยพิบัติอยู่เป็นประจำ เช่น ฝุ่นควัน PM2.5 น้ำรอระบาย ปรากฏการณ์เกาะความร้อนในเมือง ตลอดจนปัญหาสุขภาพของคนเมือง ในทางกลับกัน กรุงเทพฯ ยังเป็นเมืองที่มีพื้นที่สีเขียว ซึ่งมีบทบาทช่วยบรรเทาปัญหาดังกล่าวให้ทุเลาลงในปริมาณน้อยกว่ามาตรฐาน ทำให้ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ การเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมืองกลายเป็นประเด็นสำคัญลำดับต้น ๆ ในการพัฒนาเมือง ที่ทุกคนให้ความสนใจหรืออาจจะอยากมีส่วนร่วม แต่เราเคยลองจินตนาการดูไหมว่า กรุงเทพที่กำลังทำให้ตัวเองเขียวขึ้นนั้น จะเขียวได้มากแค่ไหน? เขียวน้อย เขียวไกล แต่เขียวได้เท่าลอนดอน ปัจจุบัน พื้นที่สีเขียวสาธารณะในกรุงเทพมหานครถูกแบ่งเป็น 7 ประเภท ได้แก่ สวนระดับเมือง สวนระดับย่าน สวนหมู่บ้าน สวนชุมชน สวนหย่อมขนาดเล็ก สวนถนน และสวนเฉพาะทาง (เช่น สวนบริเวณอนุสาวรีย์) ซึ่งส่วนใหญ่สำนักสิ่งแวดล้อม กทม. เป็นผู้ดูแล พื้นที่สีเขียวสาธารณะทั้งหมดนี้ มีพื้นที่รวม 42 ตารางกิโลเมตร เพียงแค้ 2.7% ของพื้นที่กรุงเทพฯ หรือเทียบเท่าพื้นที่เขตบางเขน และเมื่อพิจารณาจากขนาดต่อประชากร พบว่ากรุงเทพฯ นั้น มีพื้นที่สีเขียว 7.7 ตารางเมตรต่อคน และเข้าถึงได้ในระยะทางเฉลี่ยประมาณ […]

4 ความท้าทายสู่การพัฒนาเมืองน่าอยู่ของกรุงเทพมหานคร

09/06/2023

เมืองมีความซับซ้อน หลากหลาย เป็นพื้นที่แห่งโอกาสและความเหลื่อมล้ำ กรุงเทพมหานครเองก็เป็นเช่นนั้น เป็นเมือง VUCA ที่รายล้อมไปด้วยความผันผวน (Volatility) ความไม่แน่นอน (Uncertainty) ความซับซ้อน (Complexity) และความคลุมเครือ (Ambiguity) ดังนั้น การเข้าใจเมืองจึงไม่ควรมองเพียงมิติทางกายภาพเพียงอย่างเดียว แต่ควรมีแว่นกรองหรือมุมมองที่หลากหลาย ทั้งมิติกายภาพ สังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม ที่จะช่วยสร้างการขับเคลื่อนเมืองให้เกิดการพัฒนาไปได้อย่างยั่งยืน กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงของประเทศไทย มีลักษณะเป็น “เมืองโตเดี่ยว” เป็นเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศ มีสัดส่วนของเศรษฐกิจร้อยละ 36.3 ของ GDP ทั้งประเทศ เต็มไปด้วยผู้คนที่หลากหลายรวมกว่า 9 ล้านคน มีกิจกรรมที่ซับซ้อน ผู้คนที่หลากหลายนำมาซึ่งกิจกรรมการใช้ชีวิตและกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่หลากหลายตามมา ทั้งย่านการอยู่อาศัย ย่านพาณิชยกรรม ย่านประวัติศาสตร์ ที่กระจายตัวและผสมผสานกันอยู่ทั่วเป็น อีกทั้ง เป็นเมืองที่มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ทั้งระบบขนส่งมวลชน โครงการขนาดใหญ่ พื้นที่สวน พื้นที่นันทนาการ และอีกมากมาย ตลอดจนเป็นเมืองที่มีความวุ่นวายและชีวิตชีวาทั้งกลางวันและกลางคืน จึงทำให้กรุงเทพฯ มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อประเทศไทยทั้งในทางเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม นอกจากนี้ กรุงเทพฯ ยังเป็นหมุดหมายของการเดินทางท่องเที่ยวจากทุกมุมโลก […]

รู้จักเมือง รู้จักย่านกะดีจีน-คลองสาน

19/01/2023

ย่านกะดีจีน-คลองสาน ย่านเก่าแก่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ราชธานีสมัยกรุงธนบุรี ที่มีหลักฐานการตั้งถิ่นฐาน และการทำการค้าของผู้คนจากหลากหลายชาติพันธุ์เกิดเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม สู่ย่านที่มีความหลากหลายมากขึ้นทั้งวิถีชีวิต พื้นที่ และกิจกรรมไม่ว่าจะเป็น แหล่งที่พักอาศัย ชุมชนดั้งเดิม แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ที่อุดมไปด้วยมรดกวัฒนธรรม ที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ (Tangible and Intangible Cultural Heritage) รวมไปถึงมีการใช้งานเป็นสถานที่ราชการ สถานศึกษามากมาย เรียกได้ว่า มีศักยภาพในการเปิดเป็นย่านที่ส่งเสริมให้เข้ามาเรียนรู้ของเมือง เปรียบเสมือนพิพิธภัณฑ์มีชีวิต ที่ถือเป็นหนึ่งในพื้นที่ยุทธศาสตร์ของกรุงเทพมหานครในการพัฒนาเป็นพื้นที่อนุรักษ์มรดกวัฒนธรรม จากสินทรัพย์ทางมรดกวัฒนธรรมดั้งเดิมกว่า 121 รายการ วันนี้ The Urbanis จะพาผู้อ่านทุกท่านมาส่องข้อมูลการวิเคราะห์ในย่านประวัติศาสตร์แห่งนี้ เพื่อทำความเข้าใจและค้นพบศักยภาพของย่านที่เราอาจจะยังไม่เคยรู้มาก่อน เศรษฐกิจในย่าน เศรษฐกิจภายในย่านกะดีจีน-คลองสาน มีการกระจุกตัวอยู่ที่บริเวณถนนใหญ่ เช่น ถนนอิสรภาพ และบริเวณท่าดินแดง ที่ใกล้กับท่าเรือข้ามฟากไปยังฝั่งพระนคร โดยเศรษฐกิจภายในย่านส่วนใหญ่จะเป็น ธุรกิจขนาดเล็กที่ตอบสนองความต้องการของคนในย่านเป็นหลัก ยังไม่มีการเชื่อมโยงเข้ากับเศรษฐกิจฐานความรู้ รวมถึงยังไม่ดึงดูดให้คน ภายนอกเข้ามาจับจ่ายใช้สอย พื้นที่สีเขียวในย่าน  จากข้อมูลพบว่าพื้นที่สีเขียวต่อหัวประชากรในย่านเท่ากับ 3.3 ตารางเมตร/คน ซึ่งต่ํากว่ามาตราฐานองค์การอนามัยโลกที่ระบุว่า ค่าเฉลี่ยอัตราพื้นที่สีเขียวต่อจํานวนประชากรควรอยู่ที่ 9 ตารางเมตรต่อคนหรือมากกว่า อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการเพิ่มพื้นที่สีเขียวสามารถเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น จากการเปลี่ยนพื้นที่รกร้างสู่สวนสาธารณะที่สามารถใช้งานได้จริงอย่าง […]

อ่านเมืองร้อยเอ็ดด้วยข้อมูล: ฟื้นใจเมืองร้อยเอ็ดด้วยเมืองเดินได้เมืองเดินดี

21/10/2022

เมืองร้อยเอ็ด เคยเป็นเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรืองในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งรู้จักกันในชื่อ “สาเกตนคร” หรือ เมืองร้อยเอ็ดประตู อันเนื่องมาจากเป็นเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรื่องโดยที่มีเมืองขึ้นจํานวนมาก ชื่อของเมืองร้อยเอ็ดนั้นได้มาจากเป็นเมืองที่มีประตูล้อมรอบเป็นกําแพง การตั้งชื่อเมืองให้มีความใหญ่เกินเพื่อให้เป็นสิริมงคล ถือเป็นเรื่องธรรมดาของการตั้งชื่อเมืองโบราณ ในบทความนี้ทีมงาน TheUrbanis จะพาทุกท่านมาทำความรู้จักเมืองร้อยเอ็ดด้วยการเล่าเรื่องผ่านข้อมูล ว่าเหตุใดเมืองร้อยเอ็ดจึงมีศักยภาพเป็น “เมืองเดินได้-เมืองเดินดี” ซึ่งบทความนี้เป็นผลการศึกษาบางส่วนจากโครงการ ฟื้นใจเมืองร้อยเอ็ดด้วยเมืองเดินได้เมืองเดินดี ภายใต้ชุดโครงการห้องปฎิบัติการเมืองเดินได้เมืองเดินดีประเทศไทย (Good Walk Lab Thailand) เมืองเก่าที่ถูกออกแบบและวางผังมาแต่โบราณ เมืองเก่าร้อยเอ็ดมีลักษณะโดดเด่นคือเป็นชุมชนที่มีคูน้ำคันดินล้อมรอบซึ่งยังคงหลงเหลือร่องรอยอย่างชัดเจนในปัจจุบัน ทำให้สามารถจะกำหนดขอบเขตของวัฒนธรรมในสมัยโบราณได้ไม่ยากนัก สัญนิษฐานว่าภายในเมืองเก่าอาจมีร่องรอยการอยู่อาศัยของมนุษย์ในอดีต ตั้งแต่ช่วงก่อนประวัติศาสตร์ และน่าจะมีการใช้พื้นที่นี้มากขึ้นในช่วงสมัยทวารวดี ซึ่งอาจมีการขุดคูน้ำคันดินขึ้น เพื่อประโยชน์ในการจัดการน้ำและการอุปโภค-บริโภค ร่องรอยหลักฐานของศิลปะทวารวดีนั้น พบกระจายอยู่ตามวัดหลายแห่ง คือ ใบเสมาหินทราย ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของวัฒนธรรมทวารวดีในภาคอีสาน กำหนดอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 – 16 หรือราว ปี พ.ศ. 1100 – 1500.เมืองร้อยเอ็ด มีกำแพงเมือง–คูเมือง ลักษณะเป็นคูน้ำคันดินในผังรูปสี่เหลี่ยมมุมมนล้อมรอบ ขนาด 1,700 x 1,800 เมตร โดยคูเมืองอยู่ด้านนอก และด้านในมีคันดินก่อสูงเป็นกำแพงเมือง อย่างไรก็ตาม […]

อ่านเมืองลำพูนด้วยข้อมูล: ฟื้นใจเมืองลำพูนด้วยเมืองเดินได้เมืองเดินดี

27/07/2022

เมืองลำพูน หรือที่รู้จักกันในท้องถิ่นว่า “เมืองหละปูน” เมืองขนาดเล็ก ที่มีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนาน รู้จักกันชื่อในนาม “นครหริภุญชัย” ซึ่งถือเป็นเมืองที่เก่าแก่ที่สุดของภาคเหนือ อายุราว 1,400 ปี อาณาจักรหริภุญชัย รุ่งเรืองในยุคพุทธศตวรรษที่ 15 ในฐานะราชธานีแห่งแรกของภาคเหนือ เป็นรากฐานความเจริญรุ่งเรืองในทุกด้านต่ออาณาจักรล้านนา ทั้งด้านเศรษฐกิจ การทหาร ประเพณี วัฒนธรรม และเป็นรากฐานทางด้านภาษา โดยมีต้นแบบจากวัฒนธรรมทวารวดีทางฝั่งลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เมืองลำพูนจึงถือเป็นเมืองที่มีคุณค่าทั้งในเชิงประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรมที่ถูกสืบทอดมาอย่างยาวนาน จวบจนถึงปัจจุบัน ในบทความนี้ทีมงาน The Urbanis จะพาทุกท่านมาทำความรู้จักเมืองลำพูนด้วยการเล่าเรื่องผ่านข้อมูล ว่าเหตุใดเมืองลำพูนจึงมีศักยภาพเป็น “เมืองเดินได้-เมืองเดินดี” ซึ่งบทความนี้เป็นผลการศึกษาบางส่วนจากโครงการ ฟื้นใจเมืองลำพูนด้วยเมืองเดินได้เมืองเดินดี ภายใต้ชุดโครงการห้องปฎิบัติการเมืองเดินได้เมืองเดินดีประเทศไทย (Good Walk Lab Thailand) เวียงหละปูน ภายหลังการเติบโตของเมืองลำพูน ถูกขับเคลื่อนด้วยเศรษฐกิจฐานอุตสาหกรรม ซึ่งเข้ามาทำให้มีการขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะบริเวณพื้นที่โดยรอบนิคมอุตสาหกรรม ประกอบกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ซึ่งเชื่อมโยงไปยังเมืองเชียงใหม่ ซึ่งเป็นศูนย์กลางระดับภูมิภาคในปัจจุบัน แต่ทว่า เมืองลำพูนในฐานะ “เมืองแฝดเชียงใหม่-ลำพูน” ยังคงความมีอัตลักษณ์ของพื้นที่ วิถีชีวิตของผู้คน และวัฒนธรรมที่มีความเฉพาะตัว กอปรกับเมืองเก่าลำพูน ถือเป็น 1 […]

พระโขนง-บางนา ย่านโอกาสแห่งใหม่ใกล้ศูนย์กลางเมือง

20/07/2022

​จบกันไปแล้วกว่า 1 เดือนกับงานนำเสนอสาธารณะพระโขนง-บางนา 2040: อนาคต ความฝัน ย่านของเรา ที่ทางศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านยุทธศาสตร์เมือง (UddC-CEUS) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้นำเสนอถึงยุทธศาสตร์ โครงการพัฒนา และแนวทางความร่วมมือสำหรับการพัฒนาขับเคลื่อนย่านพระโขนง-บางนา วันนี้ The Urbanis จึงอยากพาผู้อ่านทุกท่านมาเก็บตกเนื้อหาการนำเสนอที่ผ่านมาเสียหน่อย โดยในบทความนี้ จะขอนำเสนอเนื้อหาการบรรยายช่วงต้น ในประเด็นชิงพื้นที่ และภาพอนาคตของย่านพระโขนง-บางนา โดยผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล อาจารย์ประจำภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่จะทำให้ทุกท่านรู้จักย่านพระโขนง-บางนามากขึ้น กรุงเทพมหานคร ย่านศักยภาพ และการพัฒนา ​ขณะนี้กรุงเทพมหานครของเราได้เดินทางมาถึงครึ่งหนึ่งของวิสัยทัศน์การพัฒนากรุงเทพฯ 20 ปี เพื่อมุ่งสู่การเป็น “มหานครแห่งเอเชีย” เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมืองที่มีประชากรตามทะเบียนกว่า 5.5 ล้านคน และ 15 ล้านคนหากนับถือรวมประชาการแฝงในพื้นที่ปริมณฑลร่วมด้วย มหานครแห่งนี้จึงมีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องพัฒนาพื้นที่โดยรอบให้สามารถรองรับการขยายตัวของเมือง ตลอดจนกระจายกิจกรรมทางเศรษฐกิจออกสู่พื้นที่โดยรอบเพื่อลดความแออัดของเมือง นี่จึงเป็นสาเหตุที่พื้นที่ย่านทั่วทั้งกรุงเทพฯ จะต้องถูกศึกษา และวางยุทธศาสตร์ในการพัฒนาอย่างจริงจัง “ย่านพระโขนง-บางนาในอดีตเรียกได้ว่าเป็นย่านชายขอบ ย่านที่อยู่อาศัย และย่านอุตสาหกรรมที่ห่างไกล แต่สถานการณ์กำลังจะเปลี่ยนไปเพราะย่านชายขอบแห่งนี้กำลังที่จะพลิกบทบาทของตนเองเป็นเกตเวย์ของกรุงเทพ” ประโยคนี้คือใจความสำคัญซึ่งผศ.ดร. นิรมล เสรีสกุล […]

ขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ: ฮาร์ดแวร์ (Where?) ที่มีไม่ครบ

18/07/2022

กรุงเทพฯ เมืองใหญ่ที่ขึ้นชื่อเรื่องรถติดจนกลายเป็นภาพจำของทั้งต่อผู้อยู่อาศัยและนักท่องเที่ยว สภาพการจราจรที่สาหัส ส่งผลเสียต่อคุณภาพชีวิตคนกรุงมาอย่างยาวนาน โดย TomTom Traffic Index ระบุว่า ในปี 2562 กรุงเทพเป็นเมืองที่มีสภาพการจราจรติดขัดมากเป็นอันดับ 11 ของโลก และเป็นอันดับ 3 ของอาเซียน รองจากกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ และกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างก็พยายามแก้ปัญหานี้มาทุกยุคสมัย เพื่อหวังจะยกระดับคุณภาพชีวิตด้านการเดินทางสัญจรในเมือง และไม่ต้องเจอกับปัญหารถติดอีกต่อไป ทั้งการตัดถนนสายใหม่ ขยายถนนสายเดิม หรือการพัฒนาขนส่งสาธารณะ ทำให้กรุงเทพฯ และปริมณฑล เป็นเมืองที่มีรูปแบบการเดินทางให้เลือกหลากหลาย ทั้งขนส่งสาธารณะระบบหลัก (mass transport) เช่น รถไฟฟ้า รถเมล์ และเรือ และขนส่งสาธารณะระบบรอง (feeder) เช่น รถตู้ รถสองแถว แท็กซี่ ตุ๊กตุ๊ก และวินมอเตอร์ไซค์ ซึ่งในบทความนี้ จะขอกล่าวถึงเฉพาะขนส่งสาธารณะระบบหลักหรือขนส่งมวลชน ซึ่งสามารถขนส่งคนได้ครั้งละมาก ๆ มีการกำหนดเส้นทาง จุดรับ-ส่ง เวลาให้บริการ และค่าโดยสารที่แน่นอน นับตั้งแต่รถไฟฟ้า BTS […]

1 2 3 5