Insight



จากบาซูก้าการคลัง สู่บาซูก้าผังเมือง ข้อเสนอฟื้นฟูเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน

05/06/2020

บอล 3 ลูกในเมืองหลัง COVID-19 บทความชิ้นนี้เป็นข้อเสนอเชิงออกแบบและบริหารจัดการพื้นที่เมือง โดยศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) เพื่อเน้นย้ำว่า ในเมืองกรุงเทพฯนี้ยังเป็นพื้นที่แห่งโอกาสและโอกาสนั้นมีอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรมให้ทุกคน โดยเฉพาะโอกาสในการทำกินและการประกอบสัมมาอาชีพ ทั้งนี้ สืบเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ซึ่งคงปฎิเสธไม่ได้ว่าเราทุกคนล้วนได้รับผลกระทบทั้งทางตรงในความเสี่ยงสุขภาพ ความหวาดระแวงว่าจะติดโรคระบาดหรือไม่ นี่คือผลกระทบด้านด้านสาธารณสุข ตลอดจนการปรับเปลี่ยนรูปแบบวิถีชีวิต และผลกระทบสืบเนื่องสำคัญที่ตามมาคือ ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเศรษฐกิจในระดับปากท้องซึ่งกำลังปรากฎชัดและรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จากช่วงเวลาที่แน่นิ่งของเศรษฐกิจที่มาพร้อมกับการการกักตัวที่ยาวนานกว่าครึ่งปี ดังนั้น จากสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้น เป็นที่แน่ชัดว่าเรากำลังจะต้องเผชิญรวมถึงตระเตรียมวิธีการจัดการกับลูกบอล 3 ลูกที่จะตามมาหลังการผ่านพ้นไปของการระบาดใหญ่ของ COVID-19 ในครั้งนี้ ประกอบด้วย หนึ่ง-สาธารณสุข สอง-การเงินการคลัง และสาม-ปากท้อง อาชีพ และรายได้ แม้ว่าสถานการณ์ในการควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในบ้านเราจะดีขึ้นตามลำดับ และอยู่ในอันดับต้นๆ ที่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้เป็นที่น่าพอใจ ทำให้มีอัตราผู้ติดเชื้อต่อแสนประชากรที่ค่อนข้างน้อย แม้ว่าเราจะเป็นประเทศแรกที่พบผู้ติดเชื้อนอกพื้นที่จีนแผ่นดินใหญ่ และนี่คือความสำเร็จขั้นที่ 1 ในมาตรการด้านสาธารณสุข หากแต่สถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงหลังจากนี้ นอกเหนือไปจากการเยียวยาจากภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นนโยบายระดับมหาภาคในการกระตุ้นเศรษฐกิจ และการเยียวยาในระดับครัวเรือน ในมาตรการเงินเยียวยา 5,000 บาท และเงินเยียวยาเกษตรกร ซึ่งรวมเรียกได้ว่าเป็นมาตรการด้านการเงินการคลัง เราจะเรียกกว่าเป็น […]

สุขาอยู่หนใด : ความเป็นสาธารณะของสุขา

16/04/2020

อดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ สุขาควรเป็นบริการสาธารณะของเมือง ? แน่นอนว่าสุขาหรือห้องน้ำในพื้นที่สาธารณะ ย่อมถือเป็นหนึ่งในบริการสาธาณณะของเมือง แม้จะไม่ได้เป็นข้อบังคับชัดเจนว่าเมืองต้องมีบริหารห้องน้ำสาธาณณะในทุกระยะทางเท่าไหร่หรือกระจายตัวแค่ไหนก็ตาม จริงๆ แล้ว มีการกำหนดมาตรฐานห้องน้ำสาธารณะเอาไว้ โดยกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น แต่ไม่ได้ระบุไว้ว่าเมืองควรต้องมีห้องน้ำสาธาณณะมากน้อยแค่ไหนก็ตาม  นอกจากนี้ ในมาตรฐานด้านผังเมืองของกรุงเทพมหานคร ก็ไม่ปรากฎประเด็นเรื่องห้องน้ำสาธาณณะ ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดมาตรฐานหรือการออกแบบด้านสาธารณูปการของเมือง จึงดูเหมือนว่า ห้องน้ำสาธารณะเป็นเพียงองค์ประกอบย่อย ของสถานที่หรือสาธารณูปการสาธารณะอื่นๆ เช่น สวนสาธารณะ ศาสนสถาน สถานที่ราชการ เป็นต้น ดังนั้น ในเมืองอย่างกรุงเทพฯ เราจึงเห็นห้องน้ำสาธารณะที่อยู่โดดๆ ในเมืองกรุงเทพฯ น้อยมาก สุขา อยู่หนใด แม้ว่าสุขาสาธาณณะในเมืองจะมีน้อยมาก แต่ดูเหมือนว่าเราแทบไม่เคยหยิบยกประเด็นสุขาสาธารณะมาพิจารณากันเท่าไหร่ ว่ามันขาดเเคลนหรือมีน้อยเกินไปเพราะอะไร หากมีเพื่อนต่างชาติถามว่าเขาควรไปเข้าห้องน้ำที่ไหนเวลาอยู่บนรถไฟฟ้า หรือเวลาอยู่ในเมืองกรุงเทพฯ คำตอบที่อาจจะให้ได้ก็น่าจะมี ห้างสรรพสินค้า ร้านค้า/ร้านอาหาร วัด ปั้มน้ำมัน หรือสถานที่ราชการอื่นๆ  จากผลการสำรวจของกรมอนามัย ในปี 2558 พบว่า สุขาสาธารณะที่คนทั่วไปเลือกใช้มากที่สุด 3 อันดับเเรก คือ ห้างสรรพสินค้า 86.64% ปั๊มน้ำมัน 73.09% และแหล่งท่องเที่ยว […]

ตลาด แหล่งอาหารและพื้นที่ชีวิตของเมือง

13/12/2019

ในวัยเด็ก เวลาเล่นกับเพื่อนๆ หลายคนคงเคยเล่นบทบาทสมมติต่างๆ  ที่ฮิตที่สุด คงหนีไม่พ้นการเล่นเป็นคนซื้อ-ขายของในตลาด คนขายต้องเอาของอะไรก็ไม่รู้มาวางเรียงๆ กัน สมมติขึ้นมาว่าคือผักผลไม้หรือเครื่องใช้ประจำวันที่ตัวเองคิดจะขาย คนซื้อก็อาจจะไปหาตะกร้ามาถือ ทำเป็นเดินผ่าน แล้วให้พ่อค้าแม่ค้าตะโกนชักชวนให้ซื้อของ หลังจากนั้นการต่อราคาก็จะเกิดขึ้น การเล่นบทบาทสมมติยังมีเรื่อยมาถึงปัจจุบัน แต่เด็กๆ ในวันนี้เปลี่ยนไป ถ้าสังเกตดู จะเห็นเด็กๆ เล่นเป็นคนขับมอเตอร์ไซค์ส่งอาหารที่สั่งออนไลน์ คนซื้อก็ทำแค่เปิดประตูบ้านมารับของ คนส่งของทำทีเป็นกดมือถือยืนยันการส่ง เรื่องของการซื้อขายฝังอยู่ในการละเล่นของเด็กๆ ก็เพราะ ‘ความเป็นเมือง’ ของเราเริ่มต้นมาแบบนั้น เมืองทั่วโลกมีจุดเริ่มต้นมาจากการเป็นที่กระจุกตัวของพานิชยกรรม ทำให้พื้นที่เหล่านั้นกลายเป็นศูนย์รวมการแลกเปลี่ยนสินค้า และเป็นแหล่งรวมวัตถุดิบและอาหารที่หลากหลายไปในตัว การรวมตัวของคนและชุมชนยังทำให้เกิดย่านและตลาดขนาดย่อมตามมา พลวัตเหล่านี้ทำให้ตลาดและชุมชนในเมืองกลายเป็นพื้นที่ที่คู่กันไปโดยปริยาย โดยที่ตลาดสดไม่ได้มีเพียงบทบาทเป็นแหล่งวัตถุดิบที่สำคัญต่อชีวิตคนเมืองเพียงอย่างเดียว แต่ตลาดสดยังเป็นพื้นที่ที่ทำให้คนเมืองในชุมชนโดยรอบได้มาพบปะและสร้างสัมพันธ์กันระหว่างการจับจ่ายใช้สอย ใน 30 ปีที่ผ่านมา รูปแบบวิถีชีวิต สังคม และเศรษฐกิจของกรุงเทพฯ เปลี่ยนแปลงอย่างมาก วัฒนธรรมตลาดสดที่มีแผงขายผัก ผลไม้ ปลา และเขียงหมู เริ่มมีคู่แข่งเป็นซุปเปอร์มาร์เก็ตที่มีพื้นที่โล่งกว้างภายในอาคาร เปิดไฟสว่างสไว เปิดแอร์เย็นฉ่ำ เต็มไปด้วยชั้นวางสินค้า เหล่าผัก ผลไม้ และอาหารสดก็ถูกจัดวางอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย ตลาดสดที่เราเคยเข้าอยู่เป็นประจำก็เริ่มที่จะถูกแย่งลูกค้าไป มากไปกว่านั้น ภายใน 5 ปีที่ผ่านมา วิถีชีวิตคนเมืองเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น […]

ทำวินมอเตอร์ไซค์ให้ Win : เหตุผลที่ พี่วิน ครองใจคนกรุงเทพฯ

02/12/2019

ว่าน ฉันทวิลาสวงศ์ วินมอเตอร์ไซค์คือระบบขนส่งที่มีประสิทธิภาพสูงมาก โดยเฉพาะหากมองว่า  “พี่วิน” คือทางออกของปัญหาซอยลึกและการเดินทางระยะสั้นสำหรับเมืองกรุงเทพฯ (ราว 1-5 กิโลเมตร)  ที่จริงแล้ว ระบบนี้เป็นนวัตกรรมทางสังคมรูปแบบหนึ่งที่มาตอบโจทย์ปัญหาของสังคมได้อย่างตรงไปตรงมา และกลายเป็นหนึ่งในทางเลือกในการเดินทางของคนเมืองหลายต่อหลายคน นอกจากนี้ ระบบมอเตอร์ไซค์รับจ้างยังเหมาะสมต่อสภาพอากาศในเมืองร้อนด้วย  การให้บริการเช่นนี้มีปรากฏอยู่ในหลากหลายประเทศและทวีปทั่วโลก ทั้งนี้ ประเทศไทยเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่มีกฎหมายรองรับการบริการประเภทนี้ จนกลายเป็นอาชีพในระบบตามกฎหมายขึ้นมา ที่มาภาพ (ไทยโพสต์) การใช้บริการพี่วินจากบ้านเพื่อมาต่อบริการขนส่งสาธารณะขนาดใหญ่ แล้วต้องใช้บริการพี่วินอีกครั้งเพื่อไปยังจุดหมายปลายทาง ถูกเรียกว่า First/Last-Mile Connectivity หรือการเชื่อมต่อที่กิโลเมตรแรกหรือกิโลเมตรสุดท้าย  บทบาทของพี่วินจึงเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการเดินทางที่ผสมผสานระหว่างหลายระบบเพื่อนำเราไปสู่จุดหมาย ทำให้ระบบขนส่งมวลชนในภาพรวมสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น โดยวินมักจะทำหน้าที่ในกิโลเมตรแรกหรือสุดท้ายของการเดินทางนั้นๆ เชื่อมต่อกับขนส่งมวลชนระบบราง เช่น รถไฟฟ้า รถใต้ดิน เรือโดยสาร หรือ รถ BRT  ในขณะเดียวกัน ในพื้นที่ที่ระบบขนส่งมวลชนยังเข้าไม่ถึงหรือยังทำงานได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ วินก็จะทำหน้าที่หลักในการให้บริการการเดินทางในระยะสั้น ขับพาเราจากต้นทางสู่สถานที่ปลายทางโดยตรง หรือที่เรียกว่า door-to-door service ด้วยการพัฒนาระบบรางที่แผ่กระจายไปทั่วกรุงเทพฯ การเชื่อมต่อในทุกๆ กิโลเมตรสุดท้ายจึงกลายเป็นบทบาทที่วินรับหน้าที่มากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่ติดกับสถานีการเดินทางต่างๆ จากมุมมองนี้ วินจึงกลายเป็นหนึ่งในกลไกธรรมชาติของเมืองที่ทำให้การขนส่งมวลชนรางสามารถรองรับคนได้อย่างกว้างขวางและมีประสิทธิภาพมากขึ้น  จากข้อมูลสะสมจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2561 ของ […]

สุสานคนเป็น : ความเสี่ยงในการเข้าถึงบริการสาธารณสุขของผู้สูงวัยในเมือง

04/11/2019

กรณีศึกษา: คุณยายของฉันอายุเก้าสิบเศษ ท่านเป็นคนร่างเล็กแต่แข็งแรงและร่าเริง คุณยายชอบย้ายไปพักบ้านลูกหลานเพื่อเปลี่ยนบรรยากาศ บ้านของฉันเป็นบ้านหนึ่งที่คุณยายชอบมา วันนั้น ฉันกลับบ้านมาราวๆ หกโมงเย็น กำลังเดินขึ้นไปชั้นบนของบ้าน ทันใดนั้นฉันก็ได้ยินเสียงโครมครามตามด้วยเสียงร้องของคุณยาย เมื่อวิ่งลงมาดูเหตุการณ์ ฉันเห็นคุณยายล้มหงายอยู่บนพื้นคอนกรีตที่จอดรถ ที่หน้าผากมีแผลลึกอาบเลือดที่ไม่มีท่าทีว่าจะหยุด คุณยายเล่าให้ฟังด้วยสีหน้าที่ยังตกใจอยู่ว่าพลาดล้มจากบันไดหน้าบ้าน สิ่งเดียวที่ฉันต้องทำให้เร็วที่สุด คือพาคุณยายไปยังโรงพยาบาล แต่คำถามก็คือ โรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดอยู่ที่ไหน และฉันควรใช้เส้นทางไหน ถึงจะพาคุณยายไปถึงมือหมอให้ได้เร็วที่สุด คำถามเหล่านี้ เกิดขึ้นภายใต้กรอบของเวลาหกโมงเย็น หรือช่วงเวลาที่รถติดที่สุดในกรุงเทพฯ คุณยายในกรณีศึกษาข้างต้น เป็นเพียงหนึ่งในผู้สูงอายุของสังคมกรุงเทพฯ และประเทศไทย ซึ่งเราทราบกันดีว่ากำลังกลายเป็นสังคมที่มีประชากรสูงวัยมากขึ้นเรื่อยๆ แผนที่ด้านล่างแสดงให้เห็นถึงพื้นที่เขตต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร ตามสัดส่วนประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป โดยพื้นที่ที่มีสีแดงเข้มหมายถึงพื้นที่ที่มีสัดส่วนผู้สูงอายุจดทะเบียนอาศัยอยู่มาก และลดน้อยลงเรื่อยๆ ตามความจางของสี แผนที่ดังกล่าวทำให้เราทราบว่าพื้นที่ใจกลางเมือง มีผู้สูงอายุอาศัยอยู่ในสัดส่วนที่มากที่สุดและลดน้อยลงเรื่อยๆ เมื่อห่างออกไปในพื้นที่ชานเมือง จะว่าไป คนแก่กับสถานพยาบาลถือเป็นของคู่กัน เพราะนอกจากสถานการณ์ฉุกเฉินแล้ว ผู้สูงวัยหลายคนยังต้องเข้าสถานพยาบาลเพื่อตรวจร่างกายตามที่หมอนัด บางคนยังมีนัดพิเศษกับหมอเฉพาะทางเพิ่มเติมจากการนัดทั่วไปด้วย บางคนที่มีโรคร้ายแรง และต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิด สถานพยาบาลอาจกลายเป็นบ้านหลังที่สองเลยก็เป็นได้ ดังนั้น เมื่อสังคมกลายเป็น Aging Society ที่มีประชากรสูงวัยเพิ่มขึ้น สถานบริการสาธารณสุขต่างๆ จึงมีบทบาทในเมืองและชุมชนเพิ่มขึ้น ถ้าเราศึกษาพื้นที่ของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เราจะพบว่า […]

1 3 4 5