Insight



ย่านเศรษฐกิจเมืองเชียงใหม่อยู่ที่ไหน?

20/01/2022

จากบทความ “พลวัติเมืองเชียงใหม่: ช่วงเวลาของการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงเมือง” เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงและการเติบโตของเมืองเชียงใหม่แล้ว คงจะเห็นได้ว่าการพัฒนาเมืองของเชียงใหม่จากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การก่อสร้างบ้านเรือน หรือบริเวณที่มีสิ่งปลูกสร้างเกิดขึ้นทั้งที่เป็นที่อยู่อาศัย ย่านมหาวิทยาลัย เป็นย่านธุรกิจหรือ ย่านการค้าของเมือง ซึ่งมีความหลากหลายและแตกต่างกันไป บทความนี้เราจะพาทุกท่านมาเจาะลึกย่านที่เรียกว่า ย่านเศรษฐกิจเมืองเชียงใหม่ กันว่าอยู่ที่ไหนกันบ้าง ย่านเศรษฐกิจเมืองในที่นี้ไม่ได้หมายความเฉพาะพื้นที่ เศรษฐกิจศูนย์กลางเมือง หรือเรียกสั้นๆว่า CBD ของเมืองเท่านั้น หากแต่เมืองที่มีความหลากหลายและมีความซับซ้อนของกิจกรรมและผู้คน จะมีพื้นที่หรือย่านเศรษฐกิจของเมืองมากกว่า 1 แห่ง และมีลักษณะและบทบาทที่แตกต่างกัน เราจึงชวนทุกท่านมาสำรวจดูกันว่า ย่านเศรษฐกิจเมืองเชียงใหม่อยู่ตรงไหนกันบ้าง และแค่ไหนถึงเรียกได้ว่าเป็นย่านเศรษฐกิจของเมือง อะไรคือ ย่านเศรษฐกิจเมือง ย่านเศรษฐกิจเมือง ที่เราจะกล่าวถึงในบทความนี้ คงหมายรวมถึงย่านเพื่อการค้าปลีก การบริการ และย่านเศรษฐกิจศูนย์กลางเมือง (Central Business District: CBD) ซึ่งในกลุ่มย่านเศรษฐกิจเมืองนี้อาจแยกย่อยหรือมีบทบาทที่เฉพาะตัวไป อาทิ ย่านการค้าปลีก ย่านการค้าส่ง ย่านสำนักงานธุรกิจต่างๆ เป็นต้น ดังนั้น คำว่าย่านเศรษฐกิจเมืองในบทความนี้ จึงมิได้หมายถึงเพียงแต่ย่าน CBD เท่านั้นยังหมายถึงย่านเศรษฐกิจอื่นๆ ด้วย แต่คงปฏิเสธไม่ได้ว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดหรือมีพลังที่สุดในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของเมือง คงหนีไม่พ้น เขตธุรกิจการค้าใจกลางเมืองหรือศูนย์กลางเศรษฐกิจเมือง หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ CBD ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของเมืองเป็นบริเวณที่มีลักษณะพิเศษ […]

ย่านเศรษฐกิจล้มลุก: สำรวจย่านเศรษฐกิจเมืองเชียงใหม่ในช่วงโควิดกลืนเมือง

14/01/2022

ย่านแต่ละย่านต่างมีเรื่องราว เอกลักษณ์เฉพาะของตัวเอง ที่ประกอบสร้างขึ้นจากความคิด ความรู้สึก ตลอดจนความสัมพันธ์ พฤติกรรม หรือกิจกรรมที่เกิดในพื้นที่ กลายเป็นภาพสะท้อนที่แสดงให้เห็นความเชื่อมโยงร้อยเรียงผู้คนในพื้นที่ เมืองเชียงใหม่ กับความเป็นย่านหลากมิติ จากรายงานศึกษาเรื่องราวความเป็นย่านผ่านประวัติศาสตร์ และโครงสร้างของเมืองเชียงใหม่แสดงให้เห็นว่าแต่ละย่านของเมืองเชียงใหม่ มักเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม พลวัตทางการเมือง และการพัฒนาเมือง ที่แตกต่างและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวกันออกไป (ปรานอม ตันสุขานันท์ และวิทยา ดวงธิมา, 2556) ซึ่ง “ย่านเศรษฐกิจ” ที่เห็นได้ในปัจจุบัน ถือเป็นหนึ่งในภาพสะท้อนของเมืองเชียงใหม่ ที่มีการพัฒนาจนกลายเป็นเมืองศูนย์กลางทางค้าและการท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศและของโลก บทความนี้เราจะชวนผู้อ่านทุกท่านสำรวจ “7 ย่านเศรษฐกิจ” ณ ห้วงเวลาการเเพร่ระบาด COVID -19 ของเมืองเชียงใหม่ ที่ต้องเผชิญกับมาตรการล็อกดาวน์ (ปี 2563) ไร้วี่เเววของนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติ ดังนั้น ย่านใดบ้างที่ธุรกิจหยุดชะงัก หรือสามารถดำเนินต่อไปได้ เพื่อสะท้อนให้เห็นผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของย่านเศรษฐกิจเชียงใหม่ ย่านห้วยแก้ว -นิมมานเหมินท์ ย่านเศรษฐกิจสำคัญของเมืองเชียงใหม่ ครอบคลุมถนนห้วยแก้ว และถนนนิมมานเหมินท์ เป็นถนนสายเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวที่สำคัญของเมืองเชียงใหม่ ใกล้สถานศึกษาหลายแห่ง อีกทั้งยังเป็นแหล่งที่พักอาศัยที่สำคัญอีกด้วย “ถนนห้วยแก้ว” หรือที่ชาวเชียงใหม่เรียกติดปากว่า “ถนนหน้ามอ(ชอ)” […]

พลวัติเมืองเชียงใหม่: ช่วงเวลาของการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงเมือง

17/12/2021

เมืองเชียงใหม่ในปัจจุบันกับอายุร่วม 725 ปี เมืองที่มีพลวัติทางการเมืองและการพัฒนาเมืองมาอย่างยาวนาน จากการเปลี่ยนผ่านรูปแบบการปกครอง ระบบความคิดความเชื่อ วัฒนธรรม และโครงสร้างทางกายภาพของเมือง จนตอนนี้กลายเป็นเมือง มีวิถีชีวิตแบบเมือง ทีมีความหลากหลายสลับซับซ้อนของผู้คนและปัญหาที่เกิดขึ้นภายในเมือง ดังนั้น รูปแบบการพัฒนาเมืองและลักษณะทางกายภาพ อาคาร รูปแบบกิจกรรม กิจการของเมืองจึงเป็นเครื่องสะท้อนเรื่องราว ความเป็นมาของเมือง ซึ่งผ่านห้วงของการพัฒนา การเปลี่ยนแปลงที่หลากหลายและยาวนาน เชียงใหม่ในฐานะหัวเมืองมณฑลพายัพ เริ่มต้นตั้งแต่เชียงใหม่ในการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล ซึ่งเน้นการพัฒนาพื้นที่ในระบบที่สนับสนุนการทำงานของราชการ โครงสร้างพื้นที่ฐาน มีการสร้างโรงเรียน สถานีรถไฟ โรงพยาบาล ตลาด และโรงสี เชียงใหม่ในหน้าตาของเมืองสมัยใหม่ เข้าสู่ความเปลี่ยนแปลงเมืองในขั้นถัดมาภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในรูปแบบการบริหารราชการในรูปแบบ จังหวัด และเป็นช่วงที่เชียงใหม่กลายเป็นเมืองสมัยใหม่ จากการสร้างและพัฒนาระบบสาธารณูปโภคสาธารณูปการที่ทันสมัยมากขึ้น การก่อตั้งโรงเรียนแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีการรื้อกำแพงเมืองชั้นในบางส่วนเพื่อขยายถนน (เหลือทิ้งไว้เพียงแจ่ง และประตูเมือง) มีการตัดถนนวงแหวนรอบใน (ถนนมหิดล-ซูปเปอร์ไฮเวย์) เกิดศูนย์การค้าขนาดใหญ่ สร้างสถานีขนส่งผู้โดยสาร (อาเขต) และการเกิดขึ้นของตลาดในฐานะพื้นที่เศรษฐกิจ พื้นที่จับจ่ายใช้สอยของเมือง อาทิ ตลาดนวรัฐ ตลาดประตูเชียงใหม่ ตลาดประตูข้างเผือก เชียงใหม่ในฐานะเมืองท่องเที่ยวและเมืองอนุรักษ์ ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 5- 6 […]

มองเมืองเชียงใหม่ ผ่านป้ายโฆษณาและชายคาอาคาร

26/11/2021

ในบทความนี้เราจะพาทุกท่านไปดูพัฒนาการเปลี่ยนแปลงของเมืองผ่านป้ายโฆษณา และรูปแบบชายคาอาคารของเมืองเชียงใหม่ ในช่วงปี 2010 – 2020 มีคนกล่าวเอาไว้ว่าป้ายโฆษนาบอกอะไรมากกว่าสิ่งที่มันกำลังบอกฝ่านตัวหนังสือ หากมองในภาพรวมป้ายโฆษณาคือ “หน้าตาของเมือง” ที่สังเกตุได้ง่ายที่สุดจากการใช้ชีวิตสาธารณะ ตามถนน ตรอก ซอก ซอย อาคาร ที่ว่าง ในบางสำนักวิชาการ มองว่าป้ายโฆษณาในย่านหรือในเมือง กำลังสะท้อนว่าเมืองให้ความสนใจกับอะไรอยู่ ทั้งลักษณะ ขนาด และเนื้อหาของป้าย  ดังนั้น สิ่งที่เมืองกำลังสนใจ ผู้คนในเมืองกำลังเคลื่อนไหว จึงถูกสะท้อนผ่านป้ายโฆษณาและรูปแบบหน้าตาชายคาอาคาร และที่สำคัญคือเบื้องหลังสิ่งเหล่านี้สัมพันธ์กับเรื่องเศรษฐกิจ และชีวิตของเมืองท้้งสิ้น มันอาจบอกถึงความเร็วและระยะในการรับรู้ของผู้คน เมืองที่มีแต่ป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ตามทางหลวง นั่นถือเป็นเมืองสำหรับรถยนต์โดยแท้ เพราะขนาดป้ายที่สัมพันธ์กับความเร็วของการเคลื่อนที่ 50 กม.ชม. หรือหากเป็นนย่านขนาดเล็ก มีร้านลวงขายสินค้า อาหาร คาเฟ่ ป้ายโฆษณา หรือป้ายร้านเหล่านี้ก็จะมีขนาดเล็ก มีรายละเอียดที่มากขึ้น น่าหลงไหล ในย่านแบบนี้ก็ดูท่าว่าจะเป็นมิตรกับคนเดินเท้า ด้วยขนาดป้ายกับความเร็วของคนเดินเท้า ที่ดูมีเรื่องเล่าประหนึ่งลายเเทงที่กำลังรอการตามหา บทความนี้เราจะพาผู้อ่านทุกท่านลองมา “อ่านเมือง-เข้าใจเมือง” จากรูปแบบป้ายโฆษณาและชายคาอาคารของเมืองเชียงใหม่ ย้อนกลับไป 1 ทศวรรษ ซึ่งเป็นทั้งช่วงที่ “พีคสุดๆ” ของเมืองและช่วงที่เมืองดูเงียบเหงาหลังผลกระทบของโควิด-19 เพราะเชียงใหม่ที่ได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งการท่องเที่ยว […]

เมืองเคลื่อนคนขยับ: เข้าใจการเปลี่ยนแปลงเมืองเชียงใหม่ผ่านภาคประชาสังคมเมือง

22/11/2021

การมีส่วนร่วมของผู้คนที่อยู่ในเมือง นั้นกำลังเป็นที่สนใจในกระบวนการหรือทิศทางของการพพัฒนาเมืองในปัจจุบัน เพราะเมืองนั้นเป็นเรื่องที่ทถกคนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้ ไม่จำกัดเฉพาะเหล่าผู้บริหารเมือง นักผังเมือง หรือผู้ออกแบบเมืองเท่านั้น สำหรับในประเทศไทยถือว่าในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 (พ.ศ.2540-2544) เป็นจุดเริ่มต้นการใช้แนวความคิดของประชาสังคมที่เน้นการเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมของประเทศไทย เพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาท้องถิ่นในทุกระดับไม่ว่าจะเป็นภาคธุรกิจ นักวิชาการ และองค์กรประชาชนในท้องถิ่นโดยใช้ชื่อว่า “เวทีประชาคม” ซึ่งถือเป็นรากฐานของการพัฒนาไปสู่สังคมพลเมืองหรือประชาสังคม (civil Society) ในฐานะที่เป็นทางเลือกเพื่อหาทางออกของปัญหาทั้ง ทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง โดยมีความเชื่อพื้นฐานว่าหากสังคมใดที่การรวมตัวของ ประชาคมมีความเข้มแข็ง และสามารถเข้าไปมี ส่วนร่วมในการปกครองหรือกําหนดนโยบายสําคัญๆ ของประเทศแล้วสังคมนั้นก็จะได้รับการพัฒนาไปในทิศทางที่ถูกต้องยั่งยืนและตอบสนองความต้องการของคนส่วนใหญ่ในสังคมได้ ทั้งนี้ การก่อตัวและพัฒนาการของประชาสังคม อาจกล่าวได้ว่าเกิดขึ้นเนื่องจากประชาชนต้องเผชิญกับปัญหา หรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่มีความสําคัญ (critical events) และได้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพการดํารงชีวิต คุณภาพ สิ่งแวดล้อม ต่อชุมชน และ/หรือสังคมฯ เกิดการรวมตัว รวมกลุ่มกันเพื่อผลักดันการแก้ไขปัญหาของตน ขณะเดียวกันความซับซ้อนของปัญหา ก็ไม่อาจดําเนินการโดยลําพังองค์กรใดองค์กรหนึ่งได้ หากแต่ต้อง รวมกลุ่ม รวมพลังกันของทุกส่วนในสังคม จึงจะแก้ปัญหาได้ เกิดเป็นภาคประชาสังคมขึ้น (ชูชัย ศุภวงศ์, 2541) การขยายตัวของเมือง ปัญหา และประชาสังคม เป็นที่ทราบกันดีว่านโยบายและแนวทางการพัฒนาเมืองแบบกระแสหลักของประเทศไทยจากอดีตจนถึงปัจจุบัน มีรากฐานมาจากระบบราชการ และการดำเนินงานโดยอำนาจรัฐเป็นต้นธารเสมอมา […]

มาแล้วลูกจ๋า “พื้นที่สีเขียว” ที่หนูอยากได้

04/11/2021

เรื่อง/วิเคราะห์ข้อมูล/แมพวิชวล โดย อดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ หากนี่คือเกมที่ว่าด้วยการจัดสรรและการกระจายสวนสาธารณะให้กับเมือง ในเมื่อเมืองเรากำลังให้ความสำคัญกับเรื่องสวนสาธารณะ และคนที่อาศัยอยู่ในเมืองกำลังต้องการพื้นที่สาธารณะเพิ่ม เราในฐานะนักวางแผน/นักวางผังเมืองจะมีส่วนช่วยในการจัดการสถานการณ์เช่นนี้อย่างไร ถือเป็นเรื่องน่าชื่นชมยินดี หากเมืองของเราจะมีการพัฒนา หรือฟื้นฟูพื้นที่สวนสาธารณะ เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับผู้คนที่อยู่ในเมือง แต่คำถามสำคัญมากกว่านั้น หากเราเป็นนักวางผังหรือความจริงเป็นคำถามที่ใครก็สามารถตั้งคำถามได้ ไม่ว่าประชาชนคนธรรมดา ทั้งที่เป็นประชาชนตามทะเบียนราษฎร์หรือเป็นประชาชนชั้น 2 (ประชากรแฝง) ที่เข้ามาทำงาน มาเรียนอยู่ในมหานครแห่งนี้ ว่า “สวนสาธารณะ” นั้นเป็นสิ่งที่เราควรได้รับการให้บริการจากเมืองหรือไม่ หากคำตอบคือ ใช่ คำถามถัดมาที่เราควรถามหรือมีในใจ คือ ควรจะมีที่ไหน มีให้เท่าไหร่ และมีอย่างไร?  คำถามว่าด้วยความเหลื่อมล้ำและหลุมพรางของเรื่องที่ดี มาถึงตรงนี้ คงปฏิเสธไม่ได้ว่า นี่คงเป็นศตวรรษของกรุงเทพฯ สีเขียวจริงๆ แต่หลุมพรางที่ตามมาของการพัฒนาพื้นที่สีเขียวหรือสวนสาธารณะ ที่ดูเหมือนว่าจะทำอย่างไรมันก็ดูเป็นเรื่องดีไปหมดนี้ ทำให้เกิดคำถามฉุดขึ้นในใจว่า หากเมืองจะมีนโยบายที่เด็ดเดี่ยวและตั้งใจเช่นนี้ คำถามของผมในฐานะนักผังเมืองที่เป็นประชากรแฝงคนหนึ่ง ก็คือ การตัดสินใจในการสร้างหรือพัฒนาโครงการเหล่านี้ หากพิจารณาตามหลักพื้นฐานของการวางผังหรือแผนของเมือง ซึ่งว่าด้วยศาสตร์ของการออกแบบและการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดนี้อย่างเท่าเทียมและทั่วถึง พื้นที่เหล่านี้มันควรมีการกระจายตัวหรือมีการจัดสรรทรัพยากรนี้อย่างไร เพื่อไม่ให้เป็น “หลุมพรางของเรื่องที่ดี” และจะไม่สร้างความเหลื่อมล้ำในเชิงพื้นที่ให้เกิดขึ้นไปมากกว่านี้ ดังนั้น หากสมมุติว่าเราสามารถเลือกหรือมีโอกาสได้เลือก เราจะจัดสรรทรัพยากรนี้อย่างไร ในเมื่องบประมาณในเรื่องนี้มีอยู่อย่างจำกัด เพราะคงมีเรื่อง หรือปัญหาทุกข์ร้อนในเมืองอีกมากโข ที่เมืองจะต้องเร่งแก้ปัญหาด้วยเช่นกัน […]

10 data insight เชียงใหม่ เมืองขับได้ขี่ดี vs เมืองเดินได้เดินดี

03/05/2021

วิเคราะห์ข้อมูลโดย อดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ รองผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ช่วงเข้าใกล้หน้าหนาวทีไร เชียงใหม่คงเป็นตัวเลือกแรกของใครหลายๆ คน แต่นอกจากความสวยงามของวัฒนธรรมและธรรมชาติที่เผยโฉมให้นักท่องเที่ยวได้เห็นแล้ว เมืองเชียงใหม่ยังมีประเด็นหลากหลาย โดยเฉพาะเกี่ยวกับเมืองที่ถูกซุกซ่อนอยู่ The Urbanis ชวนอ่านเมืองผ่านข้อมูล Data Insight “10 ข้อเท็จจริงของเชียงใหม่: จากเมืองขับได้ขับดี สู่เมืองเดินได้เดินดี” ที่ผ่านการวิเคราะห์ โดยคุณอดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ รองผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง ฝ่าย Urban Intelligence เพื่อทำความเข้าใจเมืองเชียงใหม่ในอีกรูปแบบหนึ่ง มาชวนทุกคนได้อ่านเมืองเชียงใหม่ไปพร้อมๆ กัน ข้อมูลนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาย่านเดินได้เดินดี เพื่อยกระดับสุขภาวะคนเมือง นำร่องในพื้นที่เขตเทศบาลนครเชียงใหม่ ดำเนินการโดยศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านยุทธศาสตร์เมือง (CE.US) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับเทศบาลนครเชียงใหม่ หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ ใจบ้านสตูดิโอ บริษัท ระฟ้า จำกัด กลุ่มเขียวสวยหอม เครือข่ายชุมชนเมืองรักษ์เชียงใหม่ กรรมาธิการสถาปนิกผังเมืองล้านนา สมาคมสถาปนิกผังเมืองไทย (TUDA) และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมการส่องสว่าง (LRIC) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ […]

กรุงเทพฯ สู่การเป็นมหานครแห่งการเรียนรู้

09/04/2021

เมื่อโลกก้าวสู่ยุคดิจิตอล ทุกสิ่งทุกอย่างต่างหมุนเร็วขึ้นในทุกมิติ ความรู้เดิมที่เคยมี ไม่สามารถนำเราก้าวไปข้างหน้าได้อีกต่อไป การเรียนรู้ตลอดชีวิตจึงไม่ได้ถูกจำกัดเพียงเเค่ในระบบการศึกษา แต่ยังมีความสำคัญมากขึ้นต่อโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นเพื่อสร้างโอกาสในการเกิดการเรียนรู้ในทุกรูปแบบที่ไม่จำกัดเพียงการเรียนรู้ตามหลักสูตรของโรงเรียน มหาวิทยาลัย เเต่ยังรวมไปถึงการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์จากชุมชน ที่ทำงาน พื้นที่สาธารณะ และการศึกษาผ่านรูปแบบแพลทฟอร์มออนไลน์  จึงเกิดเป็นเเนวคิด “เมืองเเห่งการเรียนรู้” (Learning City) ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงการเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต สอดคล้องกับเเนวทาง (UNESCO Institute for Lifelong Learning- UIL) ที่จัดตั้งเครือข่ายระดับโลกด้านเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโก (The UNESCO Global Network of Learning Cities – GNLC) เพื่อเน้นย้ำถึงความสำคัญของการเรียนรู้ตลอดชีวิต อันเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม สังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ ตอบโจทย์การพัฒนาอย่างยั่งยืนตามกรอบ SDGs เพราะการเรียนรู้ > การศึกษา  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ฉายภาพเปรียบความแตกต่างระหว่าง การศึกษา (Education) กับ “การเรียนรู้” (Learning) […]

เมืองคนแช่แอร์

01/09/2020

ตลอดเดือนที่ผ่านมา แทบทุกครั้งที่เราเจอคนอื่น คำว่าร้อนมักขึ้นมาเป็นส่วนหนึ่งของบทสนทนาอยู่เสมอๆ ทั้งที่ประเทศไทยมีภูมิอากาศร้อนชื้นเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว แต่อุณหภูมิเฉลี่ยก็ยังคงสูงขึ้นเรื่อยๆ ด้วยภาวะโลกร้อนที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น นอกไปจากนี้ปีนี้เป็นปีที่มหาสมุทรแปซิฟิกมีภาวะเอลนีโญ่ ซึ่งทำให้ประเทศไทยรวมถึงประเทศต่างๆ ทางฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแห้งและร้อนกว่าปกติ หลายต่อหลายหนความร้อนในประเทศไทยมีพลังสูงส่งทำให้ความคิดอยากเดิน อยากวิ่ง หรืออยากปั่นจักรยานต้องยอมแพ้ไปโดยปริยาย บางครั้งเมื่อเราอยากจะอาบน้ำก็ยังต้องรอให้น้ำที่ตากแดดอยู่ในแทงค์น้ำบนหลังคาบ้านหายร้อนก่อนจึงอาบได้ มิหนำซ้ำพออาบน้ำเสร็จแล้วก็กลับมาเหงื่อชุ่มอีกเหมือนเดิม โฆษณาการท่องเที่ยวต่างๆ ก็มักจะไม่พ้นคำโปรยว่า “หนีร้อน” เพื่อที่จะชักจูงคนไทยไปเที่ยวต่างประเทศที่มีอากาศเย็นกว่าบ้านเราและแม้คำว่า ”แช่แอร์” จะฝืนธรรมชาติแค่ไหนมันก็เริ่มกลายเป็นความจำเป็นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในวิถีชีวิตคนไทย จะว่าไปฤดูกาลที่แพงที่สุดก็คงหนีไม่พ้นฤดูร้อน ไหนจะค่าหนีร้อนไปเที่ยวทะเลหรือเที่ยวต่างประเทศ ค่าเดินทางที่เพิ่มขึ้นจากการใช้รถยนต์ส่วนตัวหรือแท็กซี่สำหรับคนที่ปกติไม่ได้ใช้หรือค่าน้ำจากสงกรานต์และการอาบน้ำที่ถี่ขึ้น แต่ค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดที่สุดในช่วงฤดูร้อนก็คงหนีไม่พ้นค่าไฟฟ้าจากการใช้เครื่องทำความเย็นทั้งหลาย เมื่อ 20-30 ปีที่แล้ว การติดเครื่องปรับอากาศหรือที่เรามักเรียกกันว่าแอร์ในบ้านเป็นเรื่องที่หาได้ยาก ส่วนมากถ้าจะติดแอร์ก็มักจะติดอยู่ในห้องนอนสำหรับตอนนอนเท่านั้น แต่ด้วยความร้อนในปัจจุบันแอร์จึงกลายเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่แพร่หลายมากขึ้นเรื่อยๆ และบ้านคนชนชั้นกลางในเมืองต่างๆ จึงมักจะมีแอร์ในอยู่ทุกๆ ห้อง แม้การมีแอร์จะเป็นความจำเป็นที่สูงขึ้นแต่แอร์หนึ่งตัวอาจใช้ไฟฟ้าเป็นสิบเท่าสูงกว่าพัดลมเลยทีเดียว นั่นหมายความว่าราคาของค่าไฟฟ้าก็จะพุ่งสูงขึ้นหากเราเปิดแอร์บ่อยขึ้นและที่สำคัญที่สุดประเทศเราในภาพรวมก็ใช้ไฟฟ้าสูงขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน ประเด็นสำคัญของการใช้ไฟฟ้าสูงขึ้นคือเรื่องของกำลังและวิธีการผลิต ปัจจุบันโรงไฟฟ้าในประเทศไทยยังคงพึ่งการเผาไหม้ถ่านหินและก๊าซธรรมชาติมากกว่าการใช้พลังงานหมุนเวียนทางธรรมชาติ ดังนั้นนอกจากที่การเปิดแอร์จะสร้างความร้อนสู่พื้นที่ภายนอกผ่านการระบายความร้อนของเครื่องคอนเดนเซอร์แล้ว การที่เราใช้ไฟฟ้ามากขึ้นต่อครัวเรือนจริงๆ แล้วก็ยังคงมีความสัมพันธ์โดยตรงกับการส่งเสริมภาวะโลกร้อนอยู่ในมุมมองนี้ เมื่อร้อนมากขึ้นเราจึงเปิดแอร์มากขึ้นซึ่งแอร์ก็ทำให้อากาศรอบข้างร้อนขึ้นและไฟฟ้าทีต้องผลิตมากขึ้นก็ทำให้อุณหภูมิโลกสูงและทำให้ร้อนมากขึ้น กลายเป็นว่าเรากำลังสร้างวงจรที่วนลงสู่ความร้อนมากขึ้นเรื่อยๆ การปรับคงมีทั้งในภาพใหญ่คือการเปลี่ยนวิธีการผลิตไฟฟ้ามาเป็นพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังแสงอาทิตย์ พลังลม พลังน้ำ ฯลฯ แต่กับตัวเราเองเราสามารถทำอะไรได้บ้าง มันคงจะฝืนใจเกินไปถ้าจะบอกให้ทุกคนเลิกใช้แอร์ท่ามกลางอากาศที่ร้อนขนาดนี้ เพราะก็ต้องยอมรับว่าฉันก็นั่งเขียนบทความนี้ในห้องติดแอร์เช่นกัน

มหานครซอยตัน

01/09/2020

เมื่อสิ้นปี 2018 ที่ผ่านมาคุณเสาวนิธิ อยู่โพธิ์ ได้ทำการศึกษาส่วนตัวเพื่อไขข้อสังเกตของตนเรื่องซอยตันของกรุงเทพมหานคร เขาพบว่ากรุงเทพฯมีถนนที่เป็นซอยตันกว่า 37% ของความยาวถนนทั้งหมดตามภาพที่เขาเผยแพร่ ทั้งนี้ถึงแม้ความรู้เรื่องประวัติศาสตร์การพัฒนาเมืองผ่านการตัดถนน สร้างความเป็น superblock เป็นความรู้ที่มีมานานแล้วในวงการการวางแผนและพัฒนาเมือง แต่การศึกษาดังกล่าวมีส่วนสำคัญในการจุดประกายความสนใจให้สังคมโดยกว้างหันมาเห็นความสำคัญของลักษณะโครงถนนแบบก้างปลา หรือที่นักผังเมืองมักใช้คำว่า cul-de-sacs ที่มีส่วนก่อให้เกิดการจราจรติดขัดในกรุงเทพฯมากขึ้น ถนน cul-de-sacs เป็นศัพท์จากภาษาฝรั่งเศสที่แปลว่าก้นถุง หมายถึงซอยตันตามผังการออกแบบชานเมืองในยุคต้น 1920’s ซึ่งในบทความนี้จะเรียกว่าเป็นแบบก้างปลาเนื่องจากถนนในกรุงเทพฯ ส่วนที่เป็น cul-de-sacs มักเป็นถนนหลักที่ตรงและมีซอยตรงที่เชื่อมเข้าแต่ตัน ลักษณะแบบก้างปลาจึงน่าจะมีความตรงไปตรงมากับลักษณะของโครงถนนในกรุงเทพฯมากกว่า [1] พัฒนาการของ มหานครซอยตัน โครงข่ายถนนดังกล่าวเกิดขึ้นในสมัยที่กรุงเทพฯกำลังเติบโตเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม เมืองจึงเริ่มขยายตัวเข้าสู่พื้นที่ดินในแถบชานเมือง ซึ่งเดิมทีเป็นที่ดินที่มักมีแปลงขนาดใหญ่สำหรับการเกษตร โดยที่รัฐเป็นผู้ตัดถนนเส้นหลักนำร่องการพัฒนาไปก่อน แม้แผนการพัฒนาของรัฐจะมีความต้องการการตัดถนนแบบเครือข่ายที่มีจุดเชื่อมต่อและทางเลือกมากมาย แต่เนื่องจากปัญหาการเวนคืนที่ดินและข้อจำกัดด้านงบประมาณและอื่นๆ รัฐจึงทำตามแผนได้อย่างกระท่อนกระแท่น ถนนเส้นรองที่มารองรับการเข้าถึงถนนเส้นหลักจึงมักถูกสร้างด้วยเจ้าของแปลงที่ดิน เพื่อสร้างการเข้าถึงและรองรับการแบ่งแปลงที่ดินให้มีขนาดเล็กลง ซึ่งแปลงที่เล็กลงดังกล่าวมักถูกจัดสรรให้ตอบรับกับความต้องการด้านที่อยู่อาศัยและกิจกรรมคนเมืองอื่นๆ ที่เพิ่มขึ้นมาจากการเติบโตของเนื้อเมือง [2] ประเด็นสำคัญของโครงถนนก้างปลา ที่สำคัญก็คงจะหนีไม่พ้นเรื่องของประสิทธิภาพในการรองรับความหนาแน่นของการเดินทางในเมือง หากเราเทียบกับโครงถนนที่ตัดเป็นตาข่ายแบบในย่านเมืองเก่า ย่านคูเมือง หรือโครงถนนแบบตารางในยุคโมเดิร์น เราจะเห็นได้ว่าเรามีเส้นทางให้เลือกใช้ในการไปยังสถานที่หนึ่งๆ มากกว่าการมีโครงถนนแบบก้างปลา เมืองก้างปลากับข้อจำกัดการเดินทาง หากจะยกตัวอย่างให้ชัดเจนมากขึ้น เรามาลองนึกถึงตัวเลือกต่างๆ ในการเดินทางทุกเช้าจากบ้านของเราแต่ละคนไปยังที่ทำงานหรือโรงเรียน ฉันเชื่อว่าหลายคนคงมีทางเลือกอยู่เพียง 3-5 ทางเท่านั้น […]

1 2 3 4 5